การทำงานขององค์กรธุรกิจมีการแบ่งออกเป็นหน่วยงานต่าง ๆ และแต่ละหน่วยงานยังได้แบ่งออกเป็นแผนก เป็นฝ่าย และเป็นส่วน ในอดีตการแบ่งองค์กรแบบนี้อาจจะเหมาะสม เพราะทุกหน่วยงานทำงานประจำ พนักงานขององค์กรทำหน้าที่ประจำของตนเองให้เสร็จก็ถือว่าสมบูรณ์แล้ว โดยที่องค์กรมักจะไม่มุ่งเน้นเรื่องกลยุทธ์ในการบริหารงานมากนัก เพราะคู่แข่งขันทางธุรกิจยังมีจำนวนที่น้อยราย
การบริหารองค์กรในปัจจุบัน นิยมใช้แนวคิดของการบริหารงานในลักษณะของการบูรณาการความคาดหวัง ความต้องการของผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียกับองค์กร ทั้งนี้ก็เพื่อให้สามารถตอบสนองต่อความต้องการของเขาเหล่านั้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ ความต้องการของผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียกับองค์กรก็คือ เป้าหมายในการดำเนินงานขององค์กร ที่องค์กรจะต้องตอบสนอง และเพื่อให้การบริหารงานขององค์กรบรรลุเป้าหมายดังกล่าว องค์กรจึงควรนำเอาแนวคิดของการบริหารเชิงกลยุทธ์มาใช้ในการบริหารงานขององค์กร
อัตราผลตอบแทนตามมูลค่าทางบัญชีเป็นอีกเทคนิควิธีการหนึ่งที่ใช้กันอย่างกว้างขวางในการนำมาประเมินค่าโครงการลงทุน อัตราผลตอบแทนตามมูลค่าทางบัญชีของโครงการลงทุนเป็นการนำกำไรสุทธิที่ได้จากโครงการลงทุนมาเปรียบเทียบกับมูลค่าตามบัญชีของโครงการลงทุนหรือเงินลงทุนเฉลี่ยเพื่อแสดงผลตอบแทนเป็นเปอร์เซ็นต์หรือร้อยละ
การบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่ผ่านมาจะมุ่งเน้นไปที่การวิเคราะห์งาน (Job Analysis) ซึ่งเป็นกระบวนการที่มีการระบุถึงงานที่จะต้องทำ โดยมีเป้าหมายที่สำคัญคือ (1) ทำให้พนักงานรับรู้ว่าตนเองจะต้องทำหน้าที่อะไรบ้าง (2) ทำให้คนอื่นรับรู้ว่าตำแหน่งงานหนึ่ง ๆ จะต้องรับผิดชอบงานอะไร (3) ทำให้หัวหน้างานโดยตรงสามารถตรวจสอบได้ว่าพนักงานควรทำงานอะไรในตำแหน่งงานนั้น ๆ (4) ทำให้หัวหน้างานรู้ว่าพนักงานควรจะต้องทำอะไรเพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับงานที่จะได้รับมอบหมายต่อไปในอนาคต
โครงการงบประมาณการจ่ายลงทุนใด ๆ มักจะเริ่มต้นที่กระแสเงินสดจ่ายออกซึ่งจ่ายเป็นเงินลงทุนครั้งแรก จ่ายเป็นค่าใช้จ่าย หรือจ่ายตามเงื่อนไขที่เป็นพันธะผูกพัน หลังจากนั้นจึงเป็นรายการประเภทรายจ่ายที่จ่ายเป็นเงินสดในจำนวนที่ลดลงกว่าเดิม การเพิ่มขึ้นของจำนวนเงินสดที่ได้รับเข้ามา ตลอดรอบระยะเวลาที่มีความสืบเนื่องกันในการดำเนินโครงการ เงินลงทุนที่ต้องจ่ายเพิ่มขึ้นอาจจำเป็นต้องนับรวมเพิ่มอยู่ในโครงการจ่ายลงทุนในระหว่างช่วงอายุที่กำลังดำเนินโครงการจ่ายลงทุนเหล่านั้นด้วย
โครงการงบประมาณการจ่ายลงทุนใด ๆ มักจะเริ่มต้นที่กระแสเงินสดจ่ายออกซึ่งจ่ายเป็นเงินลงทุนครั้งแรก จ่ายเป็นค่าใช้จ่าย หรือจ่ายตามเงื่อนไขที่เป็นพันธะผูกพัน หลังจากนั้นจึงเป็นรายการประเภทรายจ่ายที่จ่ายเป็นเงินสดในจำนวนที่ลดลงกว่าเดิม การเพิ่มขึ้นของจำนวนเงินสดที่ได้รับเข้ามา ตลอดรอบระยะเวลาที่มีความสืบเนื่องกันในการดำเนินโครงการ เงินลงทุนที่ต้องจ่ายเพิ่มขึ้นอาจจำเป็นต้องนับรวมเพิ่มอยู่ในโครงการจ่ายลงทุนในระหว่างช่วงอายุที่กำลังดำเนินโครงการจ่ายลงทุนเหล่านั้นด้วย
เทคนิควิธีการที่นิยมใช้กันทั่วไปสำหรับการประเมินค่าโครงการลงทุนมี 3 วิธี แต่ละวิธีล้วนแต่มีข้อได้เปรียบและข้อเสียเปรียบแตกต่างกันไป แต่ในทางปฏิบัติจริงมักจะพบว่ากิจการมักจะเลือกใช้เทคนิควิธีการประเมินค่าโครงการลงทุนมากกว่าหนึ่งวิธี ยิ่งไปกว่านั้นกิจการมักจะเลือกใช้เทคนิควิธีการที่แตกต่างกันไปสำหรับประเภทของโครงการลงทุนที่มีความแตกต่างกันด้วย
เกมคือสถานการณ์ที่มีการแข่งขันหรือการขัดแย้งระหว่างผู้เล่นสองฝ่ายขึ้นไป ทำให้มีฝ่ายชนะและฝ่ายแพ้ ฝ่ายชนะผลจะออกมาเป็นบวก ส่วนฝ่ายแพ้ผลจะออกมาเป็นลบ ในการเล่นเกม ผู้เล่นแต่ละคนมีทางหรือวิธีให้เลือกหลาย ๆ วิธีต่างกัน ทางให้เลือกนี้เรียกว่า "กลยุทธ์" (ผลการเล่นเกม ผู้ที่ได้จะได้รับค่าตอบแทนจากผู้เสีย)
กิจการที่มีสภาพแวดล้อมในการผลิตแบบร่วมสมัยซึ่งรวมถึงการปรับปรุงเทคนิคการผลิตให้มีลักษณะการทำงานแบบอัตโนมัตินั้นย่อมมีความแตกต่างไปจากกิจการที่มีสภาพแวดล้อมในการดำเนินงานแบบดั้งเดิม เช่น สภาพแวดล้อมในการผลิตที่มีเครื่องจักรทำงานแบบอัตโนมัติย่อมส่งผลทำให้สัดส่วนของต้นทุนค่าแรงงานมีความสำคัญลดลง และต้นทุนผันแปรอาจจะเหลือเพียงต้นทุนวัตถุดิบเท่านั้น ภายใต้สภาพแวดล้อมการผลิตแบบร่วมสมัยในลักษณะดังกล่าวนั้นการวิเคราะห์ต้นทุน ปริมาณ กำไรเป็นสิ่งที่มีบทบาทสำคัญอย่างมาก
การพรรณนางาน (Job Description) คือ ชุดของข้อมูลหรือรายละเอียดที่ได้มาจากการวิเคราะห์งาน ข้อมูล ซึ่งรายละเอียดดังกล่าวจะถูกนำเสนออย่างเป็นขั้นตอนเพื่อชี้ให้เห็นและอธิบายถึงสาระสำคัญหรือลักษณะของงาน หรือตำแหน่งงานนั้น ๆ การพรรณนางานที่ดีนั้นจะต้องสามารถใช้เปรียบเทียบกับงานอื่น ๆ ในหน่วยงานเดียวกันได้ ทั้งนี้เพื่อที่จะได้ใช้ประโยชน์ในการสำรวจอัตราค่าจ้าง หรือใช้เปรียบเทียบกับงานใหม่ที่ตั้งขึ้น
การวิเคราะห์ต้นทุน ปริมาณ กำไรสามารถนำมาใช้เพื่อการประเมินค่าระดับยอดขายที่ทำให้สามารถบรรลุเป้าหมายกำไรที่ต้องการได้ แนวทางที่เป็นไปได้ 2 ประการคือ การวางแผนรายได้และการวางแผนต้นทุน เช่นการวางแผนรายได้ ผู้บริหารสามารถนำแนวคิดต้นทุน ปริมาณ กำไรมาใช้เพื่อการวางแผนรายได้ โดยนำแนวคิดดังกล่าวมาทำการประเมินค่าหาระดับรายได้ ว่าระดับยอดขายที่เท่าไหร่จึงจะทำให้กิจการสามารถบรรลุเป้าหมายกำไรที่ต้องการได้
โดยทั่วไปผู้บริหารองค์กรธุรกิจ มักจะมองเรื่องการบริหารความเสี่ยงในมุมมองด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัย แต่ในสภาพของการบริหารงานจริงนั้น ความเสี่ยงไม่ได้ถูกจำกัดอยู่แค่ในเรื่องความปลอดภัยและอาชีวอนามัยเท่านั้น แต่ความเสี่ยงยังครอบคลุมถึงการปฏิบัติงานด้านต่าง ๆ ขององค์กรด้วย การบริหารความเสี่ยงก็เป็นอีกแนวทางหนึ่งในการประยุกต์ใช้ยุทธศาสตร์เชิงรุก บางครั้งเหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ยังไม่เกิดขึ้น ซึ่งองค์กรจำเป็นต้องเฝ้าระวังและติดตามไม่ให้เกิดสิ่งที่ไม่คาดคิดเกิดขึ้นเสมอ
จากสภาพแวดล้อมในการแข่งขันขององค์กร ธุรกิจมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ทำให้องค์กร ธุรกิจต้องมีการปรับตัวให้ทันกับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป องค์กรที่มีประสิทธิภาพในการจัดการการเปลี่ยนแปลงสูง จะต้องเป็นองค์กรที่มีความยืดหยุ่น และมีการพัฒนาเตรียมพร้อมเพื่อรองรับกับการเปลี่ยนแปลง ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับผู้บริหารองค์กร ธุรกิจที่จะต้องมีความตื่นตัว เฉลียวฉลาดในการที่จะบริหารจัดการการเปลี่ยนแปลงอย่างได้ผล
กิจการหลายแห่งมักจะมีการนำเสนอผลิตภัณฑ์หรือการบริการใหม่ ๆ ที่มีความแตกต่างกันไป ซึ่งผลิตภัณฑ์หรือการบริการรูปแบบใหม่เหล่านั้นมักจะนำเสนอถึงโอกาสของความสามารถในการทำกำไรที่อาจจะเกิดขึ้นได้ แต่การวางแผนงานด้วยความระมัดระวังเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการที่จะบรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้ได้ กุญแจที่สำคัญอย่างหนึ่งของการวางแผนงานคือ การใช้แนวคิดของการวิเคราะห์ต้นทุน ปริมาณ กำไร
การดำเนินธุรกิจในปัจจุบันที่เต็มไปด้วยการแข่งขัน ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี สินค้าหลากหลายรูปแบบ และทุนที่พร้อมจะทุ่มลงสู่สนามธุรกิจ ทำให้หลาย ๆ องค์กรพบว่าความได้เปรียบในการแข่งขัน (Competency Advantage) ที่สำคัญมาจากความสามารถของพนักงาน จากงานวิจัยหลายชิ้นให้ผลที่ตรงกันว่า การสร้างความสามารถในการแข่งขันจะใช้เวลาในการเลียนแบบต่าง ๆ กัน โดยมีปัจจัยเรื่องคนเป็นสิ่งที่สำคัญและใช้เวลานานที่สุดและยากที่สุดในการเลียนแบบ หลาย ๆ องค์กรจึงเริ่มให้ความสนใจในเรื่องการนำ Competency Model มาช่วยกำหนดทักษะ ความรู้ และลักษณะของบุคคลที่จำเป็นต่อการทำงานแต่ละประเภท เพื่อให้ประสบผลสำเร็จโดยสอดคล้องกับกลยุทธ์ และวัฒนธรรมขององค์กร
การบริหารฐานกิจกรรมสามารถที่จะให้ประโยชน์ได้ทั้งกิจการที่ให้การบริการและกิจการอุตสาหกรรม ศูนย์การวิจัยของ NASAs Lewis พบว่าการบริหารฐานกิจกรรมเป็นสิ่งที่มีความสำคัญอย่างมากต่อการที่จะช่วยให้การใช้ทรัพยากรทางการเงินทำได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ช่วยให้ระบุถึงกิจกรรมและทรัพยากรที่ต้องใช้ในปริมาณที่เหมาะสมตามแนวทางที่ก่อให้เกิดความประหยัดและการดำเนินงานของกิจการยังคงความมีประสิทธิภาพไว้ได้
เนื่องจากหัวหน้างานไม่ได้เป็นผู้ปฏิบัติงานทั้งหมดด้วยตัวเอง แต่เป็นผู้ควบคุมดูแลผู้ใต้บังคับบัญชาหรือคนงานปฏิบัติงานให้เป็นตามแผนงานที่วางไว้และได้ผลงานตามเป้าหมาย แต่การที่ผู้ใต้บังคับบัญชาหรือคนงานจะสามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพเพียงใดนั้น ขึ้นอยู่กับความรู้และความชำนาญงาน
ปัจจุบันองค์กรธุรกิจ ต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วและการแข่งขันที่รุนแรง จากสภาพแวดล้อมมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ก้าวสู่ยุคเศรษฐกิจที่เน้นองค์ความรู้องค์กรต่าง ๆ ต้องเผชิญกับภาวะของการแข่งขันที่รุนแรงยิ่งขึ้น และเพื่อความอยู่รอดขององค์กร ทำให้ต้องเริ่มหันมาตระหนักถึงความสำคัญในเรื่องของ "การบริหารจัดการคนในองค์กร" เพื่อสร้างคนในองค์กรให้สร้างคุณค่าและสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน
บ่อยครั้งที่องค์กรธุรกิจส่วนใหญ่จำเป็นต้องใช้เงินลงทุนจำนวนมากกับโครงการลงทุนขนาดใหญ่โดยคาดการณ์ไว้ว่าโครงการเหล่านั้นจะให้ผลตอบแทนหรือผลประโยชน์ในอนาคตที่คุ้มค่าในอนาคต ลักษณะโครงการที่กล่าวถึงนี้รู้จักกันในชื่อว่า งบประมาณการจ่ายลงทุน (Capital Budgeting) โครงการจ่ายลงทุนที่ดีจะก่อให้เกิดกระแสเงินสดรับที่เพิ่มขึ้น แต่หากการบริหารโครงการจ่ายลงทุนที่ไม่ดีพอสามารถทำให้องค์กรประสบปัญหาความยุ่งยากทางการเงินขึ้นได้
การดำเนินธุรกิจในสภาวะปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศได้เข้ามามีบทบาทที่สำคัญในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้ประกอบการในการบริหารงานขององค์กรวิสาหกิจ กระบวนการทางธุรกิจรูปแบบใหม่ถูกสร้างและควบคุมโดยใช้ระบบคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือหลักในการเชื่อมโยงสารสนเทศระหว่างฝ่าย แผนก ภายในและภายนอกองค์กรส่งผลให้ความสามารถในการสื่อสาร ควบคุม ตลอดจนการประมวลผลเพื่อตัดสินใจเป็นไปอย่างถูกต้อง รวดเร็ว
คำว่า ไคเซ็น เป็นคำที่เป็นอมตะที่มีการพูดกันมานานและฝังอยู่ในจิตใจชาวญี่ปุ่นแทบทุกคน ไคเซ็นสามารถปรับปรุงเปลี่ยนแปลงและยกระดับการดำเนินงาน หลายครั้งทีเดียวผลลัพธ์ที่ยิ่งใหญ่ก่อกำเนิดมาจากสิ่งหรือเรื่องเล็ก ๆ การทำงานที่ค่อยเป็นค่อยไปส่งผลก่อให้เกิดเป็นพลังในการแก้ปัญหาที่ยั่งยืน ดังนั้นแนวคิดและองค์ประกอบของไคเซ็นเป็นสิ่งที่ต้องเรียนรู้และประยุกต์ใช้
บริษัทต่าง ๆ กำลังมองหาทางในการเพิ่มประสิทธิภาพของไอทีและการปรับใช้ทรัพยากรไอทีเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของธุรกิจ ระบบซอฟต์แวร์ในการจัดการกระบวนการธุรกิจจึงกลายเป็นหนึ่งในกลยุทธ์ในการตรวจสอบกระบวนการธุรกิจทั้งหมดขององค์กรธุรกิจ ทำให้กระบวนการธุรกิจเหล่านั้นผูกเข้าด้วยกันและทำให้เป็นอัตโนมัติ เพื่อให้การทำงานร่วมกันนั้นไม่ติดขัด