เนื้อหาวันที่ : 2009-07-08 23:07:12 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 8984 views

การวิเคราะห์ต้นทุน ปริมาณ กำไร (ตอนที่ 2)

การวิเคราะห์ต้นทุน ปริมาณ กำไรสามารถนำมาใช้เพื่อการประเมินค่าระดับยอดขายที่ทำให้สามารถบรรลุเป้าหมายกำไรที่ต้องการได้ แนวทางที่เป็นไปได้ 2 ประการคือ การวางแผนรายได้และการวางแผนต้นทุน เช่นการวางแผนรายได้ ผู้บริหารสามารถนำแนวคิดต้นทุน ปริมาณ กำไรมาใช้เพื่อการวางแผนรายได้ โดยนำแนวคิดดังกล่าวมาทำการประเมินค่าหาระดับรายได้ ว่าระดับยอดขายที่เท่าไหร่จึงจะทำให้กิจการสามารถบรรลุเป้าหมายกำไรที่ต้องการได้

ผศ.วิวัฒน์ อภิสิทธิ์ภิญโญ
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน นครราชสีมา,
wiwatapi@gmail.com

.

.
การวิเคราะห์ต้นทุน ปริมาณ กำไรสำหรับการวางแผนรายได้และต้นทุน

การวิเคราะห์ต้นทุน ปริมาณ กำไรสามารถนำมาใช้เพื่อการประเมินค่าระดับยอดขายที่ทำให้สามารถบรรลุเป้าหมายกำไรที่ต้องการได้ แนวทางที่เป็นไปได้ 2 ประการคือ การวางแผนรายได้และการวางแผนต้นทุน

.
* การวางแผนรายได้

ผู้บริหารสามารถนำแนวคิดต้นทุน ปริมาณ กำไรมาใช้เพื่อการวางแผนรายได้ โดยนำแนวคิดดังกล่าวมาทำการประเมินค่าหาระดับรายได้ ว่าระดับยอดขายที่เท่าไหร่จึงจะทำให้กิจการสามารถบรรลุเป้าหมายกำไรที่ต้องการได้

.
ตัวอย่างที่ 8

จากข้อมูลของกิจการ ABC อุตสาหกรรม ถ้ากิจการตั้งเป้าหมายกำไรที่ต้องการสำหรับปีไว้เท่ากับ 135,000 บาท ถามว่าจะต้องขายสินค้าให้ได้จำนวนกี่หน่วยจึงจะบรรลุเป้าหมายกำไรที่ต้องการได้ 

.
.

ถ้าทราบหน่วยขายแล้วและต้องการคำนวณเป็นยอดขาย คำนวณได้ดังนี้
ยอดขาย = 2,800 หน่วย x 150 บาท
= 420,000 บาท
หรือถ้าต้องการคำนวณเป็นยอดขายจากสูตรวิธีกำไรส่วนเกิน สามารถทำได้ดังนี้

.
กิจการต้องขายสินค้าให้ได้ 2,800 หน่วยหรือคิดเป็นยอดขายเท่ากับ 420,000 บาท จึงจะสามารถทำกำไรตามเป้าหมายที่ต้องการได้
.
* การวางแผนต้นทุน

การตัดสินใจในเรื่องของการวางแผนต้นทุน ผู้บริหารต้องทราบปริมาณการขายและเป้าหมายกำไรที่ต้องการ เพื่อจะนำมาทำการคำนวณหาค่าต้นทุนผันแปรและต้นทุนคงที่ที่จะทำให้สามารถบรรลุเป้าหมายที่ต้องการได้

.
ตัวอย่างที่ 9

จากข้อมูลของกิจการ ABC อุตสาหกรรม สมมติว่าถ้ากิจการขายสินค้าได้ 2,800 หน่วยต่อปี ผู้บริหารกำลังพิจารณาที่จะซื้อเครื่องจักรใหม่มาใช้ซึ่งคาดการณ์ว่าจะช่วยทำให้ต้นทุนผันแปรต่อหน่วยลดลงไปได้แต่ต้นทุนคงที่จะเพิ่มขึ้นเท่ากับ 2,100 บาทต่อเดือน ซึ่งจะเท่ากับ 25,200 บาทต่อปี ต้นทุนผันแปรต่อหน่วยจะต้องลดลงเหลือเท่าใดจึงจะทำให้กิจการมีกำไรตามเป้าหมายที่ต้องการจำนวน 135,000 บาทที่ระดับหน่วยขายดังกล่าว สมมติให้ปัจจัยอื่น ๆ นอกเหนือจากต้นทุนผันแปรและต้นทุนคงที่ยังคงไม่เปลี่ยนแปลง

.

Q = 2,800 หน่วย
p = 150 บาทต่อหน่วย
v = ไม่ทราบค่า (แต่เดิมเท่ากับ 60 บาทต่อหน่วย)
f = ต้นทุนคงที่เดิม + ต้นทุนคงที่ที่จะเพิ่มขึ้น
f = 117,000 + 25,200 = 142,200 บาทต่อปี
O = 135,000 บาทต่อปี

.
จากข้อมูลข้างต้น สามารถใช้สูตรวิธีกำไรส่วนเกินเพื่อคำนวณหาต้นทุนผันแปรต่อหน่วยได้ดังนี้
.

ถ้าต้นทุนคงที่มีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นดังกล่าว ที่ระดับปริมาณการขายเท่าเดิม กิจการจะต้องควบคุมให้ต้นทุนผันแปรต่อหน่วยลดลงเหลือเพียง 51 บาทต่อหน่วยจึงจะสามารถบรรลุกำไรตามเป้าหมายที่ตั้งไว้เท่าเดิมได้

.
ตัวอย่างที่ 10

จากข้อมูลของกิจการ ABC อุตสาหกรรม สมมติว่าผู้บริหารกำลังพิจารณาทบทวนเงินเดือนและค่านายหน้าของพนักงาน แต่เดิมนั้นพบว่าต้นทุนคงที่เดือนละ 9,750 บาทนั้นมีเงินเดือนพนักงานรวมอยู่ด้วย 4,000 บาท ส่วนต้นทุนผันแปรต่อหน่วย 60 บาทมีค่านายหน้ารวมอยู่ด้วย 15 บาท หรือเท่ากับ 10% ของราคาขาย              

.

พนักงานขายขอให้ขึ้นเงินเดือนให้อีกเดือนละ 560 บาท ผู้บริหารจะขึ้นเงินเดือนให้ถ้าอัตราค่านายหน้าที่ต้องจ่ายลดลงเท่านั้น ผู้บริหารควรจะลดค่านายหน้าให้เหลือเท่าใด กิจการจึงจะมีกำไรตามเป้าหมายที่ต้องการจำนวน 135,000 บาทเหมือนเดิม โดยที่กิจการยังคงขายสินค้าได้เท่ากับ 2,800 หน่วยเท่าเดิม

.

v = อัตราค่านายหน้า x ราคาขายต่อหน่วย + ต้นทุนผันแปรอื่น ๆ ต่อหน่วย
v = c x 150 + 45
f = ต้นทุนคงที่เดิม + เงินเดือนพนักงานที่จะเพิ่มขึ้น
f = 117,000 + 6,720 = 123,720 บาทต่อปี
กำหนดให้
c = อัตราค่านายหน้า

.
จากข้อมูลข้างต้น สามารถใช้สูตรวิธีกำไรส่วนเกินเพื่อคำนวณหาต้นทุนผันแปรต่อหน่วยได้ดังนี้
.

ในสถานการณ์นี้ผู้บริหารต้องปรับลดค่านายหน้าจาก 10% เหลือเพียง 8.40% เท่านั้น กิจการจึงจะสามารถรักษาระดับความสามารถในการทำกำไรไว้เท่าเดิมได้ และสามารถจ่ายเงินเดือนพนักงานขายเพิ่มขึ้นได้เดือนละ 560 บาทตามที่ต้องการ

.
ตัวอย่างที่ 11

จากข้อมูลของกิจการ ABC อุตสาหกรรม สมมติว่ากิจการเสียภาษีเงินได้ที่อัตรา 20% ผู้บริหารยังคงต้องการให้มีกำไรตามเป้าหมายหลังหักภาษีเงินได้เท่ากับ 135,000 บาทเหมือนเดิม ในกรณีนี้กิจการจะต้องขายสินค้ากี่หน่วยจึงจะบรรลุเป้าหมายที่ต้องการ ถ้าข้อมูลเกี่ยวกับราคาขาย ต้นทุนคงที่และต้นทุนผันแปรยังคงเท่าเดิม

.

ถ้ากิจการต้องการให้ได้กำไรหลังหักภาษีเท่ากับ 135,000 บาท ดังนั้นจะต้องทำกำไรก่อนหักภาษีเงินได้ให้ได้เท่ากับ 168,750 บาท แสดงได้ดังนี้

กำไรก่อนหักภาษี [135,000/(1 – 0.20)] 168,750 100%
หัก ภาษีเงินได้ 33,750 20%
กำไรสุทธิหลังหักภาษี 135,000 80%
.

ดังนั้นเมื่อค่าภาษีเงินได้ถูกรวมไว้ในการพิจารณาเพื่อการตัดสินใจเกี่ยวกับต้นทุน และราคาขายด้วยแล้ว รูปแบบสูตรต้นทุน ปริมาณ และกำไรจึงสามารถแสดงใหม่ได้ดังนี้

.
.

เมื่อเปรียบเทียบกับตัวอย่างที่ 8 พบว่ากิจการต้องขายสินค้าให้ได้เพิ่มขึ้นอีก 375 หน่วย จากเดิม 2,800 หน่วย นั่นคือต้องขายสินค้าให้ได้ 3,175 หน่วยจึงจะมีกำไรหลังหักภาษีเงินได้เท่ากับ 135,000 บาท

.
การประยุกต์ใช้ต้นทุนฐานกิจกรรมในการวิเคราะห์ต้นทุน ปริมาณ กำไร

วิธีการที่สะดวกในการวิเคราะห์ต้นทุน ปริมาณ กำไรคือการใช้การวัดค่าต้นทุนฐานปริมาณ นั่นคือการวัดค่าต้นทุนจะใช้ฐานหน่วยผลิตและขาย แนวคิดที่กล่าวถึงข้างต้นนั้นเป็นการวิเคราะห์ภายใต้ข้อสมมติการวัดค่าฐานปริมาณ ทางเลือกอีกวิธีการหนึ่งที่ใช้ในการวัดค่าต้นทุนคือ วิธีการต้นทุนฐานกิจกรรม     

.

ต้นทุนฐานกิจกรรมจะทำการอธิบายค่าตัวผลักดันต้นทุนที่มีรายละเอียดมากขึ้นสำหรับระดับกิจกรรมที่เป็นต้นทุนทางอ้อม เช่น การติดตั้งเครื่องจักร การขนย้ายวัตถุดิบ การตรวจสอบ และงานทางวิศวกรรม เป็นต้น ในทางตรงกันข้ามวิธีการต้นทุนฐานปริมาณจะรวมรายการต้นทุนทางอ้อมของกิจกรรมในลักษณะดังกล่าวที่เป็นต้นทุนคงที่ซึ่งจะไม่ผันแปรไปตามหน่วยผลิตและขาย

.

ต้นทุนฐานกิจกรรมจะทำให้ได้มาซึ่งรายละเอียดในการประเมินค่าต้นทุนที่มีความถูกต้องมากขึ้น เนื่องจากแนวคิดต้นทุนฐานกิจกรรมจะอธิบายและทำการติดตามต้นทุนทางอ้อมเข้าสู่หน่วยผลิตภัณฑ์มากกว่าที่จะรวมคำนวณไปในกลุ่มต้นทุนคงที่ทั้งหมดในลักษณะเดียวกับที่ปฏิบัติตามต้นทุนฐานปริมาณ การวิเคราะห์ต้นทุน ปริมาณ กำไรโดยนำแนวคิดต้นทุนฐานกิจกรรมมาประยุกต์ใช้ร่วมด้วยนั้นมีวิธีการอย่างไรพิจารณาได้จากตัวอย่างที่ 12

.
ตัวอย่างที่ 12

จากข้อมูลของกิจการ ABC อุตสาหกรรมในตัวอย่างที่ 8 ซึ่งเป็นการวิเคราะห์ต้นทุน ปริมาณ กำไรที่ทำได้ไม่ยากภายใต้ระบบต้นทุนฐานปริมาณ ทำให้ทราบว่ากิจการจะต้องขายสินค้าเท่าใดจึงจะมีกำไรตามเป้าหมายที่ต้องการ สูตรการคำนวณที่ใช้และผลลัพธ์ที่ได้คือ 

.

การวิเคราะห์ต้นทุน ปริมาณ กำไรโดยใช้ต้นทุนฐานกิจกรรมจะทำได้อย่างไร ถ้าสมมติว่าฝ่ายบัญชีต้นทุนสามารถระบุได้ว่าต้นทุนคงที่ประมาณ 15,000 บาทเป็นต้นทุนในการดำเนินกิจกรรมระดับกลุ่มการผลิต เช่น การติดตั้งเครื่องจักรและการตรวจสอบคุณภาพ เป็นต้น ต้นทุนเหล่านี้สามารถระบุเข้าสู่แต่ละกลุ่มการผลิตได้โดยตรง แม้ว่าจะไม่สามารถระบุเข้าสู่หน่วยการผลิตแต่ละหน่วยได้ก็ตาม 

.

ฝ่ายบัญชีต้นทุนประมาณการว่าถ้าทำการผลิตประมาณ 3,000 หน่วย จำนวนหน่วยในกลุ่มการผลิตหนึ่ง ๆ เท่ากับ 30 หน่วย คิดเป็นจำนวนกลุ่มการผลิตได้เท่ากับ 100 กลุ่ม ต้นทุนการผลิตต่อกลุ่มจะเท่ากับ 150 บาทต่อกลุ่ม (15,000 บาท/100 กลุ่ม) จากข้อมูลดังกล่าวสามารถแสดงลำดับขั้นในการวิเคราะห์ต้นทุน ปริมาณ กำไรโดยการนำระบบต้นทุนฐานกิจกรรมมาประยุกต์ใช้ได้ดังนี้

.

ขั้นที่ 1 กำหนดรูปแบบต้นทุนคงที่ใหม่ได้ว่า
ต้นทุนคงที่ = ต้นทุนคงที่ฐานปริมาณ + ต้นทุนคงที่ฐานกิจกรรม
f = fVB + fAB

.

กำหนดให้
fVB = ต้นทุนคงที่ฐานปริมาณ ต้นทุนคงที่ในส่วนนี้ไม่ผันแปรไปตามตัวผลักดันต้นทุนฐานกิจกรรม ในที่นี้เหลือเพียง 102,000 บาท (117,000 บาท - 15,000 บาท)

.

fAB = ต้นทุนคงที่ฐานกิจกรรม ต้นทุนคงที่ในส่วนนี้ผันแปรไปตามตัวผลักดันต้นทุนฐานกิจกรรม ในที่นี้เท่ากับ 15,000 บาท ซึ่งเป็นส่วนที่ระบุได้ว่าเป็นต้นทุนที่จำเป็นต่อหน่วยการผลิตจำนวน 3,000 หน่วย คิดเป็นกลุ่มการผลิตจำนวน 100 กลุ่มโดยทุก ๆ 1 กลุ่มการผลิตจะทำการผลิตได้เท่ากับ 30 หน่วย

.

ขั้นที่ 2 คำนวณต้นทุนผันแปรต่อตัวผลักดันที่เกี่ยวข้องตามฐานกิจกรรม สำหรับกรณีของกิจการ ABC อุตสาหกรรม กำหนดได้ดังนี้
vAB = ต้นทุนผันแปรต่อกลุ่มสำหรับตัวผลักดันต้นทุนฐานกิจกรรม โดยนำต้นทุนคงที่ฐานกิจกรรมในขั้นที่ 1 คือ 15,000 บาท หารด้วยจำนวนตัวผลักดันตามฐานกิจกรรม ในที่นี้เท่ากับ 150 บาทต่อกลุ่ม (15,000 บาท/100 กลุ่ม)

.

b = จำนวนหน่วยการผลิตต่อกลุ่ม ในที่นี้เท่ากับ 30 หน่วย (3,000 หน่วย/100 กลุ่ม)
vAB/b = ต้นทุนผันแปรต่อหน่วยผลิตสำหรับต้นทุนที่สัมพันธ์กับกลุ่มการผลิต ในที่นี้เท่ากับ 5 บาทต่อหน่วยผลิต (150 บาท/30 หน่วย)

 .
ขั้นที่ 3 กำหนดรูปแบบสูตรการคำนวณต้นทุน ปริมาณ กำไรตามวิธีกำไรส่วนเกินโดยประยุกต์ใช้ร่วมกับต้นทุนฐานกิจกรรม ได้ดังนี้
 .
ขั้นที่ 4 จากข้อมูลข้างต้นสามารถนำมาแทนค่าเพื่อคำนวณหาปริมาณการขายที่จะทำให้กิจการมีกำไรก่อนหักภาษีเท่ากับ 135,000 บาทได้ดังนี้
จำนวนหน่วยการผลิตดังกล่าวต้องใช้จำนวนกลุ่มการผลิตเท่ากับ 92.94 กลุ่มการผลิต (2,788.24 หน่วย/30 หน่วยต่อกลุ่มการผลิต) หรือ 93 กลุ่มโดยประมาณ
 .

ภายใต้วิธีต้นทุนฐานกิจกรรมนี้จะสมมติให้ขนาดของกลุ่มการผลิตมีค่าคงที่คือ 1 กลุ่มการผลิตเท่ากับ 30 หน่วยผลิต และต้นทุนรวมระดับกลุ่มการผลิตจะผันแปรไปตามจำนวนกลุ่มการผลิต เมื่อทราบจำนวนกลุ่มการผลิตที่ชัดเจนแล้วให้ทำการวิเคราะห์จำนวนหน่วยการผลิตที่จะทำให้มีกำไรตามเป้าหมายก่อนหักภาษี 135,000 บาทที่ระดับกลุ่มการผลิต 93 กลุ่มใหม่อีกครั้ง เนื่องจากกลุ่มการผลิต 93 กลุ่มจะมีต้นทุนระดับกลุ่มเกิดขึ้นโดยรวมเท่ากับ 13,950 บาทเท่านั้น (93 กลุ่มการผลิต ? 150 บาทต่อกลุ่ม) ซึ่งถือได้ว่าเป็นต้นทุนคงที่ถ้าหน่วยการผลิตยังคงไม่เกินไปกว่า 2,790 หน่วย

 .
 .

หน่วยผลิตและขายที่ทำให้มีกำไรก่อนหักภาษี 135,000 บาทตามระบบต้นทุนฐานกิจกรรมมีค่าเท่ากับ 2,788 หน่วยโดยประมาณ เมื่อนำไปเปรียบเทียบกับหน่วยผลิตและขายที่ทำให้มีกำไรก่อนหักภาษี 135,000 บาทตามระบบต้นทุนฐานปริมาณซึ่งมีค่าเท่ากับ 2,800 หน่วย จะพบว่าผลลัพธ์ของหน่วยผลิตและขายตามระบบต้นทุนฐานกิจกรรมนั้นมีค่าน้อยกว่าเล็กน้อย

.

ทั้งนี้เป็นผลเนื่องมาจากระบบต้นทุนฐานกิจกรรมยอมให้รับรู้ต้นทุนคงที่รวมระดับกลุ่มในจำนวนที่น้อยกว่าได้ตามจำนวนกลุ่มการผลิต ถ้ากลุ่มการผลิตมีจำนวนลดลงต้นทุนรวมระดับกลุ่มการผลิตจะมีจำนวนที่ลดลงไปด้วย แต่ถ้าจำนวนกลุ่มการผลิตมีจำนวนเพิ่มขึ้น ต้นทุนโดยรวมระดับกลุ่มการผลิตจะมีจำนวนเพิ่มขึ้นด้วย สำหรับกรณีนี้คือรับรู้ต้นทุนรวมระดับกลุ่มการผลิตเพียง 13,950 บาท แทนที่จะเป็น 15,000 บาทตามระบบต้นทุนฐานปริมาณ

 .

ขนาดของกลุ่มการผลิตมีผลกระทบต่อการวิเคราะห์ต้นทุน ปริมาณ กำไรหรือไม่ อย่างไร สมมติว่าแผนการผลิตปรับให้ขนาดกลุ่มการผลิตมีจำนวนลดลงจากเดิม 30 หน่วยต่อกลุ่มการผลิตปรับลดเหลือเพียง 20 หน่วยต่อกลุ่มการผลิต แต่ต้นทุนต่อกลุ่มการผลิตยังคงเท่าเดิมคือ 150 บาท กิจการต้องผลิตและขายสินค้าจำนวนเท่าใดจึงจะมีกำไรก่อนหักภาษีเท่ากับ 135,000 บาท

 .
 .

จำนวนหน่วยการผลิตที่คำนวณได้ข้างต้นต้องการจำนวนกลุ่มการผลิตทั้งสิ้นเท่ากับ 144 กลุ่มโดยประมาณ (2,873 หน่วย/20 หน่วยต่อกลุ่ม) ต้นทุนรวมระดับกลุ่มการผลิตจะเท่ากับ 21,600 บาท ค่าต้นทุนรวมระดับกลุ่มที่คำนวณได้สามารถนำมาคำนวณหาค่าจำนวนหน่วยผลิตและขายใหม่อีกครั้งตามรูปแบบการวิเคราะห์ต้นทุน ปริมาณ กำไรฐานปริมาณได้ดังนี้

 .
 .

จะสังเกตได้ว่าจำนวนหน่วยที่ต้องทำการผลิตและขายเพื่อทำให้มีกำไรก่อนหักภาษี 135,000 บาทมีจำนวนเพิ่มขึ้นจาก 2,788 หน่วยโดยประมาณเป็น 2,873 หน่วยโดยประมาณ ซึ่งมีผลกระทบโดยตรงทำให้ต้นทุนรวมระดับกลุ่มการผลิตเพิ่มขึ้นจาก 13,950 บาทเป็น 21,600 บาททั้งนี้เนื่องมาจากขนาดการผลิตต่อกลุ่มมีขนาดลดลงเหลือเพียง 20 หน่วยต่อกลุ่มจากเดิม 30 หน่วยต่อกลุ่ม

 .

จากการวิเคราะห์ข้างต้นจะเห็นได้ว่าการวิเคราะห์ต้นทุน ปริมาณ กำไรตามระบบต้นทุนฐานกิจกรรมช่วยทำให้สามารถทำการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างต้นทุน ปริมาณ และกำไรได้ละเอียดมากยิ่งขึ้นทั้งนี้เนื่องจากได้ทำการพิจารณาการเปลี่ยนแปลงของมูลค่าต้นทุนตามตัวผลักดันต้นทุนในลักษณะอื่น ๆ ร่วมด้วยนอกเหนือจากการใช้ตัวผลักดันต้นทุนระดับหน่วยแต่เพียงอย่างเดียว

 .
การวิเคราะห์ค่าความไวจากผลการวิเคราะห์ต้นทุน ปริมาณ กำไร 

การวิเคราะห์ต้นทุน ปริมาณ กำไรเป็นสิ่งที่มีความสำคัญมากอย่างหนึ่งในการนำมาใช้เป็นเครื่องมือเพื่อกำหนดกลยุทธ์ขององค์กร เมื่อผู้บริหารจำเป็นต้องประเมินค่าความไวที่มีต่อผลกำไรที่จะมีการเปลี่ยนแปลงไปได้ เมื่อต้นทุนและปริมาณการขายมีการเปลี่ยนแปลงไป ถ้าต้นทุน ราคาขาย หรือปริมาณมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมีนัยสำคัญ ผู้บริหารอาจต้องทำการเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์การดำเนินงานเสียใหม่ เช่น ถ้าประเมินได้ว่ากิจการจะมีความเสี่ยงในการดำเนินงานอันเนื่องมาจากปริมาณการขายมีการเปลี่ยนแปลงลดลง ผู้บริหารอาจจะต้องดำเนินการปรับลดแผนการลงทุนในต้นทุนคงที่เพื่อเพิ่มกำลังการผลิต

 .

ทั้งนี้กำลังการผลิตที่จะจัดหาเพิ่มขึ้นนั้นไม่น่าจะเป็นสิ่งที่ต้องการอีกต่อไปถ้าปริมาณการขายมีแนวโน้มที่ลดลง แต่อย่างไรก็ตามการปรับลดต้นทุนคงที่ในระยะสั้นเป็นสิ่งที่ทำได้ยากเช่นกัน การวิเคราะห์ค่าความไวเป็นการประเมินเพื่อให้ทราบว่าจะเกิดผลอย่างไร ถ้าปัจจัยที่เป็นองค์ประกอบในการดำเนินงานที่ได้คาดการณ์ไว้มีการเปลี่ยนแปลงไป

 .

การวิเคราะห์ค่าความไวมีความสำคัญอย่างยิ่งเมื่อระดับความไม่แน่นอนเกี่ยวกับความเป็นไปได้ของปริมาณการขาย ราคาขาย และต้นทุนในการดำเนินงานที่จะเกิดขึ้นในอนาคตมีค่าสูงมาก ในที่นี้จะได้กล่าวถึงวิธีการวิเคราะห์ค่าความไวจากแนวคิดของการวิเคราะห์ต้นทุน ปริมาณ กำไรซึ่งเป็นที่รู้จักกันทั่วไป 3 วิธีการคือ การวิเคราะห์แบบ What–if (What–if Analysis) การวัดค่าส่วนเกินของความปลอดภัย (Margin of Safety) และการวัดค่าความเสี่ยงในการดำเนินงาน (Operating Leverage)   

 .
* การวิเคราะห์แบบ What -if

วิธีการอย่างหนึ่งที่บ่อยครั้งมักจะถูกนำมาใช้ประเมินค่าภายใต้สถานการณ์ของความไม่แน่นอนในการดำเนินงานคือ วิธีการวิเคราะห์แบบ What–if ในที่นี้จะกล่าวถึงในลักษณะของการประยุกต์ใช้แนวคิดต้นทุน ปริมาณ กำไรโดยการใช้กำไรส่วนเกินต่อหน่วยหรืออัตรากำไรส่วนเกินเพื่อประเมินผลการดำเนินงานที่คาดการณ์ว่าจะเกิดขึ้น สำหรับกำไรส่วนเกินต่อหน่วยใช้ประเมินค่ากำไรส่วนเกินที่จะมีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นหรือลดลงทุก ๆ 1 หน่วยการขาย ในขณะที่อัตรากำไรส่วนเกินใช้ประเมินค่ากำไรส่วนเกินที่จะมีการเปลี่ยนแปลงไปทุก ๆ มูลค่าการขาย 100 บาท

 .
ตัวอย่างที่ 13

จากข้อมูลของกิจการ ABC อุตสาหกรรม ค่ากำไรส่วนเกินต่อหน่วยเท่ากับ 90 บาท และอัตรากำไรส่วนเกินเท่ากับ 60% กิจการสามารถใช้ค่ากำไรส่วนเกินทั้งสองลักษณะเพื่อการประเมินค่าความไวของผลกำไรที่จะเกิดขึ้นที่ระดับกิจกรรมการขายต่าง ๆ ได้ สำหรับค่ากำไรส่วนเกินต่อหน่วยสามารถใช้ประเมินค่าได้ว่าทุก ๆ 1 หน่วยสินค้าที่ขายได้เพิ่มขึ้น กิจการจะมีกำไรเพิ่มขึ้นเท่ากับ 40 บาท

.

ส่วนอัตรากำไรส่วนเกินเท่ากับ 60% สามารถใช้ประเมินค่าได้ว่าทุก ๆ ยอดขายที่เพิ่มขึ้น 100 บาท กิจการจะมีกำไรส่วนเกินเพิ่มขึ้นเท่ากับ 60 บาท ทั้งนี้ต้นทุนคงที่ยังคงไม่มีการเปลี่ยนแปลง ดังนั้นกิจการสามารถสมมติระดับกิจกรรมหน่วยการขายที่คาดว่าจะเกิดขึ้นเพื่อการประเมินค่าผลกำไรที่ระดับกิจกรรมต่าง ๆ ได้ แสดงได้ดังตารางที่ 5 ดังนี้

 .
ตารางที่ 5 ผลการดำเนินงานที่คาดการณ์ ณ สถานการณ์สมมติค่าหน่วยการขาย

หน่วยขาย

กำไรส่วนเกินต่อหน่วย

ต้นทุนคงที่

กำไรจากการดำเนินงาน

1,000

90

117,000

-27,000

1,300

90

117,000

0

1,600

90

117,000

27,000

1,900

90

117,000

54,00

2,200

90

117,000

81,000

 .
ตัวอย่างที่ 14

จากข้อมูลของกิจการ ABC อุตสาหกรรม สมมติให้หน่วยขายมีค่าคงที่ที่ระดับกิจกรรม 1,300 หน่วย ต้นทุนคงที่เท่ากับ 117,000 บาท ราคาขายเท่ากับ 150 บาท ให้แสดงผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงต้นทุนผันแปรต่อหน่วยว่าส่งผลต่อกำไรจากการดำเนินงานอย่างไรบ้าง

 .
ในที่นี้เป็นสถานการณ์สมมติต้นทุนผันแปรต่อหน่วยที่ระดับต่าง ๆ เพื่อประเมินถึงผลกระทบที่มีต่อกำไรจากการดำเนินงาน แสดงได้ดังตารางที่ 6 ต่อไปนี้
 .
ตารางที่ 6 ผลการดำเนินงานที่คาดการณ์ ณ สถานการณ์สมมติค่าต้นทุนผันแปรต่อหน่วย

หน่วยขาย

ราคาขาย

ต้นทุนผันแปรต่อหน่วย

กำไรส่วนเกิน
ต่อหน่วย

ต้นทุนคงที่

กำไรจาก
การดำเนินงาน

1,300

150

50

100

117,000

13,000

1,300

150

55

95

117,000

6,500

1,300

150

60

90

117,000

0

1,300

150

65

85

117,000

-6,500

1,300

150

70

80

117,000

-13,000

 .

* ส่วนเกินที่ปลอดภัย
ส่วนเกินที่ปลอดภัยเป็นจำนวนเงินของยอดขายที่สูงเกินกว่ายอดขาย ณ จุดคุ้มทุน เขียนเป็นสูตรการคำนวณได้ดังนี้
หน่วยขายส่วนเกินที่ปลอดภัย = หน่วยขายตามแผนงาน – หน่วยขาย ณ จุดคุ้มทุน

 .

ค่าส่วนเกินที่ปลอดภัยที่มากกว่าแสดงว่าอยู่ห่างจากจุดคุ้มทุนมากกว่า นั่นหมายความว่า ณ ระดับกิจกรรมนั้นกิจการจะมีค่าความเสี่ยงในระดับที่ต่ำกว่า ในทางตรงกันข้ามค่าส่วนเกินที่ปลอดภัยที่น้อยกว่า แสดงว่าอยู่ใกล้จุดคุ้มทุนมาก กิจการมีความเสี่ยงที่อาจจะขาดทุนได้สูงกว่าเมื่อระดับหน่วยขายต่ำกว่าที่ได้คาดการณ์ไว้

 .

ส่วนเกินที่ปลอดภัยสามารถนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการเปรียบเทียบความเสี่ยงระหว่างผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ได้ เพื่อให้ทราบว่าผลิตภัณฑ์ใดมีส่วนเกินปลอดภัยอยู่เท่าใด มีความเสี่ยงที่จะขาดทุนได้มากน้อยเพียงใด ค่าส่วนเกินที่ปลอดภัยสามารถคำนวณหาได้ในลักษณะที่เป็นจำนวนเงินของส่วนเกินที่ปลอดภัยหรืออัตราส่วนเกินที่ปลอดภัยได้ด้วย ดังนี้

 .
จำนวนเงินส่วนเกินที่ปลอดภัย = หน่วยขายส่วนเกินที่ปลอดภัย x ราคาขายต่อหน่วย
 .
ตัวอย่างที่ 15

จากข้อมูลแผนการดำเนินงานในปีที่ 2 ของกิจการ ABC อุตสาหกรรม สามารถคำนวณหาส่วนเกินที่ปลอดภัยของแผนการดำเนินงานในปีที่ 2 ได้ดังนี้
     หน่วยขายส่วนเกินที่ปลอดภัย = หน่วยขายตามแผนงาน – หน่วยขาย ณ จุดคุ้มทุน
          = 3,000 หน่วย – 1,300 หน่วย
          = 1,700 หน่วย

.

จำนวนเงินส่วนเกินที่ปลอดภัย = หน่วยขายส่วนเกินที่ปลอดภัย x ราคาขายต่อหน่วย
           = 1,700 หน่วย x 150 บาท
           = 255,000 บาท

.
  = 0.5667 หรือ 56.67%
.

(กรุณาติดตามอ่านต่อฉบับหน้า)

สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2539 www.thailandindustry.com
Copyright (C) 2009 www.thailandindustry.com All rights reserved.

ขอสงวนสิทธิ์ ข้อมูล เนื้อหา บทความ และรูปภาพ (ในส่วนที่ทำขึ้นเอง) ทั้งหมดที่ปรากฎอยู่ในเว็บไซต์ www.thailandindustry.com ห้ามมิให้บุคคลใด คัดลอก หรือ ทำสำเนา หรือ ดัดแปลง ข้อความหรือบทความใดๆ ของเว็บไซต์ หากผู้ใดละเมิด ไม่ว่าการลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดของบทความนี้ไปใช้ ดัดแปลง โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร จะถูกดำเนินคดี ตามที่กฏหมายบัญญัติไว้สูงสุด