เนื้อหาวันที่ : 2009-08-13 18:35:51 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 7899 views

เทคนิคการประเมินค่าโครงการลงทุน (ตอนที่ 2)

อัตราผลตอบแทนตามมูลค่าทางบัญชีเป็นอีกเทคนิควิธีการหนึ่งที่ใช้กันอย่างกว้างขวางในการนำมาประเมินค่าโครงการลงทุน อัตราผลตอบแทนตามมูลค่าทางบัญชีของโครงการลงทุนเป็นการนำกำไรสุทธิที่ได้จากโครงการลงทุนมาเปรียบเทียบกับมูลค่าตามบัญชีของโครงการลงทุนหรือเงินลงทุนเฉลี่ยเพื่อแสดงผลตอบแทนเป็นเปอร์เซ็นต์หรือร้อยละ

ผศ.วิวัฒน์ อภิสิทธิ์ภิญโญ
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน นครราชสีมา,
wiwatapi@gmail.com

.

.
อัตราผลตอบแทนตามมูลค่าทางบัญชี (Book Rate of Return)

อัตราผลตอบแทนตามมูลค่าทางบัญชีเป็นอีกเทคนิควิธีการหนึ่งที่ใช้กันอย่างกว้างขวางในการนำมาประเมินค่าโครงการลงทุน อัตราผลตอบแทนตามมูลค่าทางบัญชีของโครงการลงทุนเป็นการนำกำไรสุทธิที่ได้จากโครงการลงทุนมาเปรียบเทียบกับมูลค่าตามบัญชีของโครงการลงทุนหรือเงินลงทุนเฉลี่ยเพื่อแสดงผลตอบแทนเป็นเปอร์เซ็นต์หรือร้อยละ เขียนเป็นสูตรการคำนวณได้ดังนี้

.
.

จากสูตรการคำนวณข้างต้น จะเห็นได้ว่าตัวเลขที่จะนำมาแทนในสูตรเป็นตัวเลขที่รายงานในงบการเงินหรือรายงานทางการเงินของกิจการอยู่แล้ว ดังนั้นอัตราผลตอบแทนดังกล่าวจึงถูกเรียกว่าเป็นอัตราผลตอบแทนตามมูลค่าทางบัญชี สำหรับชื่อเรียกของอัตราผลตอบแทนตามมูลค่าทางบัญชีเป็นที่รู้จักกันทั่วไปในชื่อเรียกอื่น ๆ อีกไม่ว่าจะเป็นอัตราผลตอบแทนทางบัญชี (Accounting Rate of Return) อัตราผลตอบแทนเฉลี่ย (Average Rate of Return) หรืออัตราผลตอบแทนอย่างง่าย (Simple Rate of Return) 

.

ตัวเลขที่เป็นเศษตัวตั้งคือกำไรสุทธิรายปีถัวเฉลี่ยที่ได้จากโครงการลงทุนครอบคลุมโดยตลอดอายุโครงการ ตัวเลขที่เป็นส่วนตัวหารนั้นเป็นอย่างใดอย่างหนึ่งระหว่างเงินลงทุนเริ่มแรกของโครงการลงทุน หรือเงินลงทุนตามมูลค่าทางบัญชีถัวเฉลี่ยครอบคลุมตลอดอายุโครงการลงทุน

.

สำหรับกิจการบางแห่งที่เลือกใช้มูลค่าเริ่มแรกเมื่อเริ่มต้นโครงการลงทุนเนื่องจากต้องการลดผลกระทบที่เกิดขึ้นจากวิธีการเลือกปฏิบัติเกี่ยวกับการคำนวณค่าเสื่อมราคาทางบัญชีหรือการประเมินมูลค่าที่เหลือเมื่อสิ้นสุดโครงการลงทุน แต่ไม่ว่าจะเลือกใช้ค่าใดในการประเมินค่าโครงการลงทุน สิ่งสำคัญอย่างหนึ่งที่พึงตระหนักไว้คือจะต้องใช้วิธีการเดียวกันกับทุก ๆ โครงการลงทุนที่ต้องการทำการประเมินค่าโครงการลงทุน

.
ตัวอย่างที่ 3

จากตัวอย่างที่ 1 ได้ทำการคำนวณค่ากำไรสุทธิถัวเฉลี่ยรายปีของโครงการลงทุน ข มีค่าเท่ากับ 186,000 บาทต่อปีเป็นระยะเวลา 4 ปีครอบคลุมโดยตลอดอายุโครงการลงทุน แสดงการคำนวณโดยสรุปใหม่ได้ดังนี้

.
กำไรสุทธิ = รายได้ – ค่าใช้จ่ายที่เป็นเงินสด – ค่าใช้จ่ายที่ไม่เป็นเงินสด – ค่าภาษีเงินได้
.
สำหรับเงินลงทุนเฉลี่ยของโครงการ ข สามารถแสดงการคำนวณได้ดังนี้

.
.

จากมูลค่ากำไรสุทธิถัวเฉลี่ยและเงินลงทุนตามมูลค่าทางบัญชีถัวเฉลี่ยที่คำนวณได้ข้างต้น สามารถนำมาคำนวณหาอัตราผลตอบแทนตามมูลค่าทางบัญชีของโครงการ ข ได้ดังนี้

.
.

ในกรณีที่กิจการคำนวณค่าเสื่อมราคาโดยวิธีเส้นตรง สามารถทำการคำนวณหาเงินลงทุนตามมูลค่าทางบัญชีถัวเฉลี่ยด้วยวิธีการที่ง่ายขึ้นได้โดยการหาค่าเฉลี่ยของเงินลงทุนเริ่มแรกกับมูลค่าที่เหลือเมื่อสิ้นสุดโครงการ ดังนี้

.

การคำนวณเงินลงทุนถัวเฉลี่ยอย่างง่ายในลักษณะข้างต้นไม่สามารถจะนำไปใช้ได้ในกรณีที่กิจการไม่ได้คำนวณค่าเสื่อมราคาวิธีเส้นตรง ทั้งนี้เนื่องจากการลดลงของมูลค่าตามบัญชีในแต่ละปีนั้นไม่มีความสม่ำเสมอกัน สมมติว่าในกรณีนี้ถ้ากิจการเลือกใช้ค่าเสื่อมราคาวิธีผลรวมจำนวนปีกับโครงการ ข การคำนวณค่าเสื่อมราคาวิธีผลรวมจำนวนปี และเงินลงทุนตามมูลค่าทางบัญชีถัวเฉลี่ยแสดงได้ดังนี้

.

.
หมายเหตุ: เลขเศษตัวบนของอัตราส่วนค่าเสื่อมราคาคือจำนวนปีที่เหลือของโครงการ
               เลขส่วนตัวล่างของอัตราส่วนค่าเสื่อมราคาคือผลรวมของจำนวนตัวเลขทั้งหมดของอายุโครงการ
.

.
.

จากการคำนวณข้างต้นจะเห็นได้ว่าการคิดค่าเสื่อมราคาด้วยวิธีการที่แตกต่างกันไปจะทำให้เงินลงทุนตามมูลค่าทางบัญชีถัวเฉลี่ยของโครงการลงทุนมีค่าที่แตกต่างกันไปด้วย

.

บางกิจการอาจเลือกใช้เงินลงทุนเริ่มแรกเพื่อการคำนวณหาอัตราผลตอบแทนตามมูลค่าทางบัญชี ซึ่งในกรณีของกิจการนี้เมื่อใช้เงินลงทุนเริ่มแรก จะได้อัตราผลตอบแทนตามมูลค่าทางบัญชีดังนี้ 

.
.

ในกรณีของโครงการ ข นั้นจะเห็นได้ว่าได้คาดการณ์ไว้ว่ากำไรสุทธิรายปีแต่ละปีจะมีค่าสม่ำเสมอเท่ากันตลอดอายุโครงการลงทุน กำไรสุทธิถัวเฉลี่ยจึงมีค่าเท่ากับกำไรสุทธิรายปี ในทางตรงกันข้ามถ้ากำไรที่คาดการณ์ว่าจะเกิดขึ้นในแต่ละปีไม่เท่ากันเช่นกรณีของโครงการลงทุน ก กล่าวคือ 144,000 บาท 224,000 บาท 224,000 บาท และ 224,000 บาท สำหรับปีที่ 1- 4 ตามลำดับ ในกรณีนี้จำเป็นต้องทำการคำนวณหาค่ากำไรสุทธิถัวเฉลี่ยของโครงการลงทุน ดังนี้

.
.

โครงการ ก มีเงินลงทุนเมื่อเริ่มแรกเท่ากับ 1,030,000 บาท (จากตารางที่ 7) มูลค่าที่เหลือเมื่อสิ้นสุดอายุโครงการเท่ากับ 150,000 บาท กิจการคำนวณค่าเสื่อมราคาวิธีเส้นตรง จึงสามารถคำนวณหามูลค่าเงินลงทุนเฉลี่ยได้ดังนี้

.
.

จากมูลค่ากำไรสุทธิถัวเฉลี่ยและเงินลงทุนเฉลี่ยที่คำนวณได้ข้างต้น สามารถนำมาคำนวณหาอัตราผลตอบแทนตามมูลค่าทางบัญชีของโครงการ ข ได้ดังนี้

.
.

แต่ถ้าใช้เงินลงทุนเริ่มแรกในการคำนวณหาอัตราผลตอบแทนตามมูลค่าทางบัญชี สามารถนำมาคำนวณหาอัตราผลตอบแทนตามมูลค่าทางบัญชีของโครงการ ข ได้ดังนี้

.

.

ข้อได้เปรียบของเทคนิคอัตราผลตอบแทนตามมูลค่าทางบัญชี วิธีการนี้สามารถนำข้อมูลปกติทั่วไปที่รายงานในงบการเงินมาใช้ในการวิเคราะห์ได้ทันที ไม่ต้องยุ่งยากในคำนวณหาข้อมูลอื่นใดมาใช้อีก จึงเป็นวิธีการวิเคราะห์โครงการลงทุนที่ทำได้ง่ายเมื่อเปรียบเทียบกับวิธีการอื่น ๆ ข้อดีอีกประการหนึ่งคือค่าอัตราผลตอบแทนตามมูลค่าทางบัญชีมีความเป็นไปได้มากที่จะเป็นองค์ประกอบหนึ่งของวิธีการที่ใช้ในการประเมินผลการดำเนินงานตามโครงการลงทุนหนึ่ง ๆ และบ่อยครั้งที่ผู้บริหารมักจะถูกประเมินผลงานโดยใช้อัตราผลตอบแทนตามมูลค่าทางบัญชีด้วยเช่นกัน                        

.

การใช้วิธีการเดียวกันทั้งในส่วนของการตัดสินใจและการประเมินผลงานทำให้เป็นที่แน่ใจได้ในประเด็นของความสม่ำเสมอ ข้อเท็จจริงที่สำคัญประการหนึ่งของข้อมูลที่รายงานในงบการเงินคือ ข้อมูลเหล่านั้นจะได้ผ่านการตรวจสอบความถูกต้องว่าปฏิบัติตามหลักการบัญชีที่เป็นที่ยอมรับกันทั่วไปทำให้ข้อมูลที่นำมาใช้มีความเชื่อถือได้ในระดับหนึ่ง

.

นอกจากนี้อัตราผลตอบแทนตามมูลค่าทางบัญชียังสามารถนำไปใช้เป็นเครื่องมือเพื่อการพิจารณาถึงผลกระทบของโครงการลงทุนที่มีต่อรายงานผลการดำเนินงานของส่วนงานหรือของกิจการได้ การใช้วิธีการดังกล่าวทำให้ง่ายในการประเมินค่าผลกระทบของการลงทุนที่มีต่อความต้องการของผู้เป็นเจ้าหนี้หรือผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้องกับกิจการ

.

อัตราผลตอบแทนตามมูลค่าทางบัญชีมีข้อได้เปรียบกว่าระยะเวลาคืนทุนตามที่กล่าวข้างต้น รวมถึงยังได้ทำการวิเคราะห์ผลตอบแทนโดยตลอดอายุโครงการลงทุนด้วย ไม่เหมือนกับระยะเวลาคืนทุนที่พิจารณาเฉพาะช่วงเวลาที่ได้เงินสดคืนทุนเท่านั้น

.

ข้อจำกัดของเทคนิคอัตราผลตอบแทนตามมูลค่าทางบัญชี ข้อจำกัดของวิธีนี้มีลักษณะเช่นเดียวกับเทคนิคระยะเวลาคืนทุนคือไม่ได้พิจารณาถึงเรื่องของมูลค่าเงินตามเวลา ส่วนข้อจำกัดอื่นๆ คือการใช้ตัวเลขในทางบัญชีทั้งตัวเลขที่เป็นเศษตัวบน และตัวเลขที่เป็นส่วนตัวล่างที่ใช้ในการคำนวณหาค่าอัตราผลตอบแทนตามมูลค่าทางบัญชี                            

.

ตัวเลขทางบัญชีที่ใช้ในการคำนวณขึ้นอยู่กับทางเลือกของวิธีการปฏิบัติทางบัญชี วิธีการทางบัญชีที่แตกต่างกันไปสามารถนำมาสู่ความแตกต่างของตัวเลขกำไรและมูลค่าตามบัญชีที่มีนัยสำคัญได้ ดังแสดงเปรียบเทียบให้เห็นถึงผลกระทบของการคำนวณค่าเสื่อมราคาวิธีเส้นตรงกับค่าเสื่อมราคาวิธีผลรวมจำนวนปีของโครงการ ข ข้างต้น

.

นอกจากนี้แม้ว่ากำไรสุทธิสามารถนำมาใช้ประโยชน์เพื่อการประเมินค่าความสามารถในการทำกำไรในลักษณะภาพรวม แต่กระแสเงินสดสุทธิสามารถประเมินค่าผลงานของการดำเนินงานตามโครงการลงทุนได้ดีกว่า ยิ่งไปกว่านั้นมูลค่าตามบัญชีพิจารณาเฉพาะมูลค่าเงินลงทุนเริ่มแรกในสินทรัพย์เท่านั้น แต่ไม่ได้พิจารณากระแสเงินสดที่จ่ายไปในลักษณะอื่น ๆ เพื่อให้โครงการลงทุนนั้นสามารถดำเนินงานได้

.
การลดค่ากระแสเงินสด (Discounted Cash Flow)

เทคนิคการลดค่ากระแสเงินสดเป็นวิธีการประเมินค่าโครงการลงทุนโดยการเทียบเท่ามูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินสดรับในอนาคตและเงินลงทุนเริ่มแรก

.

โครงการลงทุนหนึ่ง ๆ มีกระแสเงินสดเกิดขึ้นตลอดอายุโครงการลงทุน จำนวนเงินของกระแสเงินสดที่เข้ามาในปีแรก ๆ ของโครงการลงทุนจะมีค่ามากกว่าจำนวนเงินของกระแสเงินสดที่เข้ามาในปีหลัง ๆ เทคนิคการวิเคราะห์การลงทุนที่กล่าวถึงข้างต้นไม่ว่าจะเป็นระยะเวลาคืนทุนหรืออัตราผลตอบแทนตามมูลค่าทางบัญชีต่างละเลยในเรื่องมูลค่าเงินตามเวลาดังกล่าวไป

.

เทคนิคการลดค่ากระแสเงินสดที่ใช้กันโดยทั่วไปคือวิธีมูลค่าปัจจุบันสุทธิ (Net Present Value: NPV) และอัตราผลตอบแทนตามมูลค่าทางบัญชี (Internal Rate of Return: IRR) วิธีมูลค่าปัจจุบันสุทธิจะใช้อัตราคิดลดค่าเงินค่าใดค่าหนึ่งโดยเฉพาะสำหรับการปรับมูลค่ากระแสเงินสดรับในอนาคตหลังจากการจ่ายเงินลงทุนเริ่มแรกของโครงการแล้วให้เป็นมูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินสดรับสุทธิ วิธีมูลค่าปัจจุบันสุทธิมุ่งความสำคัญไปที่มูลค่าของเงินที่จุดเวลาเริ่มต้นโครงการลงทุน

.

ในทางตรงกันข้ามอัตราผลตอบแทนภายในเป็นวิธีการประมาณการอัตราคิดลดค่าเงินที่ทำให้มูลค่าปัจจุบันสุทธิของกระแสเงินสดรับเข้าทั้งหมดที่เกิดขึ้นหลังจากจุดเวลาของกระแสเงินสดจ่ายลงทุนมีค่าเท่ากับเงินสดจ่ายลงทุนหรือมูลค่าปัจจุบันของเงินสดจ่ายลงทุน วิธีอัตราผลตอบแทนภายในจึงเป็นวิธีที่มุ่งความสำคัญไปยังอัตราผลตอบแทนของโครงการลงทุน

.
* มูลค่าปัจจุบันสุทธิ (Net Present Value)

มูลค่าปัจจุบันสุทธิของเงินลงทุนคือผลต่างระหว่างผลรวมของมูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินสดรับสุทธิในอนาคตจากการลงทุนกับมูลค่าเงินจ่ายลงทุนเริ่มแรก มูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินสดรับสุทธิในอนาคตเป็นมูลค่าเทียบเท่ากับเงินปีที่ 0 ณ อัตราผลตอบแทนที่ต้องการ เช่น มูลค่าปัจจุบันของเงินสดรับจำนวน 10,000 บาทที่จะได้รับในอีก 1 ปีนับจากวันนี้ ซึ่งผู้ลงทุนต้องการผลตอบแทนจากการลงทุนเท่ากับ 10% จะมีค่าเท่ากับ 9,091 บาท คำนวณได้ดังนี้

.
จำนวนเงินสดรับอีก 1 ปีข้างหน้า 10,000 บาท
PV Factor ที่อัตราดอกเบี้ย 10% ปีที่ 1 0.9091 
มูลค่าปัจจุบันของเงินสดรับ ณ วันนี้   9,091 บาท
.

จากการคำนวณข้างต้นพิสูจน์ได้ โดยสมมติว่า ณ วันต้นปีหลังจากได้รับเงินสดเท่ากับ 9,091 บาท
เงินสดรับที่ได้รับ ณ วันนี้                             9,091 บาท
อัตราดอกเบี้ยรับสำหรับปี (9,091 x 10%)      909 บาท
เงินสดที่จะไดรับอีก 1 ปีนับจากวันนี้          10,000 บาท

.

มูลค่าปัจจุบันสุทธิเป็นยอดคงเหลือของมูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินสดรับในอนาคตหลังจากหักจ่ายเงินสดจ่ายลงทุนเมื่อเริ่มโครงการลงทุนแล้ว

.
เงินจ่ายลงทุนเมื่อเริ่มโครงการ

การดำเนินการขั้นแรกในการประเมินค่ามูลค่าปัจจุบันสุทธิของโครงการลงทุนเป็นการประเมินค่ากระแสเงินสดรับสุทธิในแต่ละปีของโครงการ กระแสเงินสดรับสุทธิจะถูกเปลี่ยนเพื่อให้เป็นมูลค่าเทียบเท่าปัจจุบันโดยใช้ฐานอัตราผลตอบแทนที่ต้องการ มูลค่าปัจจุบันสุทธิเป็นส่วนที่เหลือของผลรวมของมูลค่าปัจจุบันรวมของกระแสเงินสดรับสุทธิในอนาคต ขั้นตอนในการคำนวณมูลค่าปัจจุบันสุทธิทำได้ดังนี้

.
ขั้นที่ 1ประมาณค่ากระแสเงินสดรับสุทธิในแต่ละปีของโครงการลงทุน
ขั้นที่ 2เลือกอัตราผลตอบแทนที่ต้องการ
.

ขั้นที่ 3หาค่าปัจจัยส่วนลดสำหรับแต่ละปีที่ระดับอัตราผลตอบแทนที่ต้องการในขั้นที่ 2
ขั้นที่ 4 นำค่ากระแสเงินสดรับสุทธิแต่ละปีในขั้นที่ 1 และค่าปัจจัยส่วนลดในแต่ละปีที่ระดับอัตราผลตอบแทนที่ต้องการในขั้นที่ 3 มาคูณเข้าด้วยกัน

.

ขั้นที่ 5 คำนวณหาผลรวมของผลคูณที่ได้ในแต่ละปีในขั้นที่ 4 ค่าที่ได้เรียกว่ามูลค่าปัจจุบันของเงินสดรับสุทธิ
ขั้นที่ 6 นำค่าเงินจ่ายลงทุนเริ่มแรกหักออกด้วยมูลค่าปัจจุบันของเงินสดรับสุทธิที่ได้ในขั้นที่ 5
กิจการจะตัดสินใจเลือกโครงการลงทุนที่มีมูลค่าปัจจุบันสุทธิเป็นบวก และจะปฏิเสธโครงการลงทุนที่มูลค่าปัจจุบันสุทธิเป็นลบ

.
ตัวอย่างที่ 4

จากตัวอย่างที่ 1 ถ้าอัตราผลตอบแทนที่ต้องการได้รับจากการลงทุนเท่ากับ 10% สามารถทำการคำนวณหามูลค่าปัจจุบันสุทธิได้ดังนี้

.
โครงการที่มีกระแสเงินสดรับสุทธิเป็นรูปแบบเดียวกัน: โครงการ ข

มูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินสดรับสุทธิ = เงินสดรับสุทธิรายปีที่เท่ากัน x PVA Factor ที่ i 10% n = 4
                    = 433,500 x 3.1699
                    = 1,374,151.65 บาท
มูลค่าปัจจุบันสุทธิ โครงการ ข             = มูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินสดรับสุทธิ - เงินสดจ่ายลงทุน
                    = 1,374,151.65 บาท -1,110,000 บาท
                    = 264,151.65 บาท

.
โครงการที่มีกระแสเงินสดรับสุทธิไม่เป็นรูปแบบเดียวกัน: โครงการ ก

.

.
โปรดอ่านต่อฉบับหน้า

สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2539 www.thailandindustry.com
Copyright (C) 2009 www.thailandindustry.com All rights reserved.

ขอสงวนสิทธิ์ ข้อมูล เนื้อหา บทความ และรูปภาพ (ในส่วนที่ทำขึ้นเอง) ทั้งหมดที่ปรากฎอยู่ในเว็บไซต์ www.thailandindustry.com ห้ามมิให้บุคคลใด คัดลอก หรือ ทำสำเนา หรือ ดัดแปลง ข้อความหรือบทความใดๆ ของเว็บไซต์ หากผู้ใดละเมิด ไม่ว่าการลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดของบทความนี้ไปใช้ ดัดแปลง โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร จะถูกดำเนินคดี ตามที่กฏหมายบัญญัติไว้สูงสุด