การทำงานขององค์กรธุรกิจมีการแบ่งออกเป็นหน่วยงานต่าง ๆ และแต่ละหน่วยงานยังได้แบ่งออกเป็นแผนก เป็นฝ่าย และเป็นส่วน ในอดีตการแบ่งองค์กรแบบนี้อาจจะเหมาะสม เพราะทุกหน่วยงานทำงานประจำ พนักงานขององค์กรทำหน้าที่ประจำของตนเองให้เสร็จก็ถือว่าสมบูรณ์แล้ว โดยที่องค์กรมักจะไม่มุ่งเน้นเรื่องกลยุทธ์ในการบริหารงานมากนัก เพราะคู่แข่งขันทางธุรกิจยังมีจำนวนที่น้อยราย
สนั่น เถาชารี |
. |
. |
เนื่องจากการทำงานขององค์กรธุรกิจได้มีการแบ่งออกเป็นหน่วยงานต่าง ๆ และแต่ละหน่วยงานยังได้แบ่งออกเป็นแผนก เป็นฝ่าย และเป็นส่วน ซึ่งในอดีตการแบ่งองค์กรแบบนี้อาจจะเหมาะสม เพราะทุกหน่วยงานทำงานประจำ พนักงานขององค์กรทำหน้าที่ประจำของตนเองให้เสร็จก็ถือว่าสมบูรณ์แล้ว โดยที่องค์กรมักจะไม่มุ่งเน้นเรื่องกลยุทธ์ในการบริหารงานมากนัก เพราะคู่แข่งขันทางธุรกิจยังมีจำนวนที่น้อยราย ดังนั้น พนักงานขององค์กรในหน่วยงานต่าง ๆ ทำงานประจำตามหน้าที่ของตนเองเสร็จก็ถือว่าเป็นพอ |
. |
ซึ่งปัญหาที่เกิดขึ้นภายในองค์กรต่าง ๆ ส่วนใหญ่ไม่ได้เกิดจากว่าหน่วยงานทำงานไม่ดี หน่วยงานทุกหน่วยงานตั้งใจทำงาน มุ่งมั่นที่จะทำงานให้บรรลุเป้าหมายของหน่วยงานนั้น ๆ เป็นหลัก แต่สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือการมุ่งเน้นผลงานของหน่วยงานมากจนเกินไปนั้น บางครั้งอาจจะทำให้เกิดผลกระทบต่อภาพรวมขององค์กรได้ |
. |
เช่น อาจจะมีหน่วยงาน 10 หน่วยงานที่สามารถทำยอดขายได้ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ แต่มีเพียง 1 หน่วยงานที่ไม่สามารถทำยอดขายได้ตามเป้าหมายที่ได้กำหนด ซึ่งเมื่อนำผลงานของทุกหน่วยงานในองค์กรนั้นมารวมกันแล้ว ปรากฏว่าไม่สามารถเพิ่มยอดขายขององค์กรได้ตามเป้าหมายที่ตั้งเอาไว้ ซึ่งอย่างนี้ 10 หน่วยงานที่มีผลงานได้ตามเป้าหมาย ควรจะได้รับโบนัสหรือไม่ ? แน่นอนคงไม่มีองค์กรไหนยอมจ่ายโบนัสให้ |
. |
การบริหารงานขององค์กรยุคใหม่ควรจะเปลี่ยนจากการเน้นเอาหน่วยงานเป็นหลัก (Business Function Oriented) มาสู่การเน้นไปที่เป้าหมายและกระบวนการเป็นหลัก (Objective and Process Oriented) ให้มากขึ้น การเน้นเอาหน่วยงานเป็นหลักนั้นเป็นการทำงานแบบไม่ยืดหยุ่น เนื่องจากสถานการณ์และกลยุทธ์ขององค์กรเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา องค์กรจะไม่สามารถปรับเปลี่ยนผังการบริหารงานได้บ่อย ๆ |
. |
ดังนั้น การมุ่งเน้นไปที่เป้าหมายและกระบวนการเป็นหลักในการบริหารงานขององค์กร จะมีความยึดหยุ่นในการบริหารงานมากกว่า ยกตัวอย่างเช่น ในปีนี้องค์กรให้ความสำคัญกับกระบวนการในการก่อสร้างโรงงานใหม่ ทุกหน่วยงานก็จะส่งคนในสายงานเข้ามาร่วมทำงานด้วย และเป้าหมายของแต่ละคนก็จะเปลี่ยนจากเป้าหมายของหน่วยงาน มาเป็นเป้าหมายของงานโครงการแทน |
. |
จากที่กล่าวมาข้างต้นสามารถอธิบายความแตกต่างของการบริหารงานในอดีต และการบริหารขององค์กรยุคใหม่ ได้ดังแสดงในตารางที่ 1 ข้างล่างนี้ |
. |
ตารางที่ 1 แสดงความแตกต่างของการบริหารงานขององค์กรในอดีต และขององค์กรยุคใหม่ |
. |
สามารถแสดงแนวทางในการเปลี่ยนรูปแบบการบริหารงานจากรูปแบบเดิมที่เน้นหน่วยงานเป็นหลัก มาสู่รูปแบบใหม่ที่มุ่งเน้นไปที่เป้าหมายและกระบวนการขององค์กรเป็นหลัก ได้ดังต่อไปนี้ |
. |
1. วางแผนโดยเน้นเป้าหมายและกลยุทธ์ร่วมกัน |
องค์กรควรเริ่มต้นจากการวางแผนกลยุทธ์ร่วมกัน ซึ่งลักษณะของกลยุทธ์การบริหารที่ทรงประสิทธิภาพ จะทำให้การบริหารงานขององค์กรสามารถประสบความสำเร็จได้เป็นอย่างดีในทุกสถานการณ์ และทุกเงื่อนไขของสภาพแวดล้อมนั้น ซึ่งจะมีลักษณะที่สำคัญดังต่อไปนี้คือ |
. |
1) เป็นการบริหารเชิงรวมที่กระทำอย่างเป็นระบบที่มีการบริหารครบสมบูรณ์ทุกด้าน |
3) เป็นการบริหารที่พร้อมสมบูรณ์ด้วย เทคนิคการจัดทำแผน การวัดผล การจูงใจ การควบคุม การพัฒนานักบริหาร และสามารถแสวงหาผลประโยชน์จากสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง |
. |
และเนื่องจากผู้บริหารนั้นเป็นบุคคลที่มีความสำคัญต่อความอยู่รอดและความก้าวหน้าขององค์กร และเป็นผู้ที่มีความรู้ ความสามารถที่จะกำหนดวิสัยทัศน์ เป้าหมาย กลยุทธ์ รวมทั้งกระตุ้น ผู้ใต้บังคับบัญชาให้ทำงานเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันจนสามารถสร้างผลงานตามเป้าหมายที่องค์กรกำหนดไว้ได้ ซึ่งถ้าเปรียบองค์กรเป็นเสมือนเรือ ผู้บริหารก็เปรียบเสมือนนายท้ายที่คอยควบคุมหางเสือให้เรือแล่นไปในทิศทางที่ต้องการ |
. |
ดังนั้นกลุ่มบุคคลที่มีบทบาทสำคัญต่อการกำหนดเป้าหมายและกลยุทธ์ขององค์กร จึงควรเป็นกลุ่มผู้บริหาร เพื่อให้เป็นเป้าหมายร่วมของทุกคนในองค์กร หลังจากนั้นจึงกระจายเป้าหมายร่วมดังกล่าวลงไปสู่หน่วยงานและตำแหน่งงานให้ทั่วถึงและเป็นระบบ สามารถตรวจสอบได้ว่าเป้าหมายแต่ละเรื่องแต่ละด้านไปอยู่ในความรับผิดชอบของใครบ้าง เป้าหมายที่กระจายไปแล้วจะต้องสัมพันธ์กันทั้งในแนวดิ่ง (หัวหน้างานกับพนักงาน) และในแนวนอน (ระหว่างหน่วยงานด้วยกัน ภายในองค์กร) |
. |
2. ฝึกอบรมโดยเน้นกลยุทธ์องค์กร |
การฝึกอบรม ไม่สามารถแก้ไขปัญหาขององค์กรได้เสมอไป แต่การฝึกอบรมอาจจัดขึ้นเพื่อเพิ่มศักยภาพให้แก่บุคลากร หรือหน่วยงานให้สามารถปฏิบัติหน้าที่หรือให้บริการที่มีคุณภาพแก่หน่วยงานหรือลูกค้าให้ดีขึ้น อันจะนำมาซึ่งศักยภาพและประสิทธิภาพขององค์กรโดยรวม โดยมีกระบวนการเตรียมการฝึกอบรมที่สำคัญ 5 ขั้นตอนด้วยกันคือ |
. |
1) พิจารณาเลือกกำหนดว่าหน้าที่ หรือกิจกรรมใดบ้าง ที่มีความสำคัญต่อองค์กร หน่วยงาน หรือลูกค้า |
. |
การฝึกอบรมในลักษณะดังกล่าวนี้ ถ้าหมุนเวียนไปใช้กับกิจกรรมอื่น ๆ ในหน่วยงานด้วย ก็จะเป็นกระบวนการที่ก่อให้เกิดการปรับปรุงคุณภาพ และประสิทธิภาพของหน่วยงานอย่างต่อเนื่อง |
. |
เพื่อที่จะให้กระบวนการฝึกอบรมที่กล่าวมาข้างต้นเกิดผลแก่องค์กรอย่างแท้จริง ผู้จัดการฝึกอบรมจะต้องสามารถอธิบายคำถามต่อไปนี้ได้ คือ |
. |
* ทราบได้อย่างไรว่าหน้าที่หรือกิจกรรมใดบ้าง ที่มีความสำคัญมากที่สุดต่อองค์กร ? |
. |
3. ติดตามงานโดยเน้นกระบวนการ |
การติดตามผลการดำเนินงานหรือผลการปฏิบัติงานตามเป้าหมายและกลยุทธ์หลักนั้น ควรจะติดตามใน 2 ประเด็นคือ |
1) ผลที่ได้เทียบกับเป้าหมายเป็นอย่างไรพร้อมเหตุผลอธิบาย ยกตัวอย่างเช่น ต้นทุนการผลิตต่อหน่วยสินค้าที่สามารถลดลงได้จริงเปรียบเทียบกับเป้าหมายที่ได้ตั้งไว้ พร้อมระบุสาเหตุหรือเหตุผลที่ทำให้สามารถลดต้นทุนการผลิตลงได้ และ/หรือ ที่ทำให้ไม่สามารถลดต้นทุนการผลิตลงได้ |
. |
2) แผนงานหรือแนวทางการดำเนินงานในเดือนต่อ ๆ ไป จะทำอย่างไรจึงจะช่วยให้บรรลุเป้าหมายได้ดีขึ้น เร็วขึ้น หรือแนวทางการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น |
. |
4. องค์กรสร้างแรงจูใจในการทำงาน |
องค์กรสร้างแรงจูงใจในการทำงานของบุคลากร โดยการบริหารจัดการที่สามารถตอบสนองความต้องการของบุคลากร และสร้างแรงผลักดันให้เกิดขึ้นภายในตัวของบุคลากร เพื่อให้บุคลากรเหล่านั้นเกิดความต้องการทำงานด้วยความกระตือรือร้นและด้วยความพยายามเอาชนะอุปสรรคต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ |
. |
4.1 แรงจูงใจด้วยผลตอบแทน องค์กรต้องมีระบบผลตอบแทนที่เหมาะสมและยุติธรรมกับบุคลากรในระดับต่าง ๆ และตามสภาพการทำงาน เช่น ความยาก-ง่าย ความใกล้-ไกล ความเสี่ยงอันตราย เป็นต้น ระบบผลตอบแทนนอกจากจะหมายถึงค่าจ้างเงินเดือนแล้ว ยังครอบคลุมถึงค่าตอบแทนพิเศษนอกเหนือจากค่าจ้างเงินเดือน เช่น โบนัสผลงาน โบนัสปลายปี ค่าตอบแทนการทำงานล่วงเวลา ค่าตอบแทนการทำงานนอกสถานที่ ค่าตอบแทนพิเศษในกรณีต่าง ๆ ที่องค์กรได้กำหนดขึ้น เพื่อเป็นแรงจูงใจให้บุคลากรสร้างผลงานให้กับองค์กรธุรกิจ |
. |
4.2 การจัดสวัสดิการ ได้แก่ รถรับ-ส่ง การรักษาพยาบาล ที่พักอาศัย เป็นต้น ซึ่งสวัสดิการจะเป็นสิ่งที่อำนวยความสะดวก ความมั่นคง ปลอดภัย และความเอาใจใส่ต่อสุขภาพของบุคลากร ทำให้บุคลากรเหล่านั้นเกิดความเชื่อมั่นในองค์กร และนำไปสู่การตอบแทนองค์กรด้วยความรู้ ความสามารถเต็มกำลัง |
. |
4.3 การเลื่อนระดับหรือเลื่อนตำแหน่ง เพื่อตอบสนองความต้องการความก้าวหน้า ในงานอาชีพ และความรู้สึกว่าตนเองมีคุณค่า องค์กรต้องมีระบบการเลื่อนระดับหรือเลื่อนตำแหน่งโดยพิจารณาจากความสามารถในการทำงานอย่างแท้จริง ถ้าการเลื่อนระดับหรือเลื่อนตำแหน่งเกิดขึ้นจากเหตุผลอื่น ๆ เช่น ระบบเครือญาติ ระบบค่าตอบแทน หรือความพึงพอใจส่วนตัว เป็นต้น จะทำให้องค์กรเกิดความแตกแยกและเกิดปัญหาการบริหาร |
. |
ดังนั้นองค์กรต้องมีเกณฑ์การพิจารณา การเลื่อนระดับ หรือเลื่อนตำแหน่งที่ชัดเจน ครอบคลุมลักษณะการทำงานและผลงาน มีหลักการและวิธีการประเมินผลงานตามเกณฑ์ที่มีประสิทธิภาพ มีข้อมูลเอกสาร/หลักฐาน ยืนยันได้ว่า การพิจารณาเลื่อนระดับ/ตำแหน่งเป็นไปด้วยความบริสุทธิ์ ยุติธรรม และโปร่งใส |
. |
4.4 การขยายความรับผิดชอบ เป็นการขยายขอบข่ายหน้าที่ความรับผิดชอบของบุคลากร โดยองค์กรพิจารณาความสามารถของบุคลากรแล้วเห็นว่า บุคลากรยังมีความสามารถแฝงอยู่ คือ มีความสามารถกว่างานที่รับผิดชอบ จึงขยายขอบข่ายหน้าที่และความรับผิดชอบเพิ่มขึ้น |
. |
4.4 การขยายความรับผิดชอบ เป็นการขยายขอบข่ายหน้าที่ความรับผิดชอบของบุคลากร โดยองค์กรพิจารณาความสามารถของบุคลากรแล้วเห็นว่า บุคลากรยังมีความสามารถแฝงอยู่ คือ มีความสามารถกว่างานที่รับผิดชอบ จึงขยายขอบข่ายหน้าที่และความรับผิดชอบเพิ่มขึ้น |
. |
โดยไม่ต้องเลื่อนระดับหรือเลื่อนตำแหน่ง ทำให้องค์กรได้รับประโยชน์ 2 ด้าน คือ ด้านบุคลากร ทำให้บุคลากรได้ทำงานเต็มศักยภาพของตนเอง มีความภูมิใจ และรู้สึกว่าตนเองมีความสำคัญต่อองค์กร ด้านองค์กรทำให้องค์กรได้ขยายงานเพิ่มคุณภาพหรือเพิ่มคุณค่าให้กับผลิตภัณฑ์/งานบริการขององค์กร |
. |
4.5 การหมุนเวียนหรือสับเปลี่ยนหน้าที่ เป็นการสร้างความกระตือรือร้นให้กับบุคลากรเพราะการเปลี่ยนหน้าที่ไปจากเดิมทำให้บุคลากรต้องมีการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ทำงานกับเพื่อนใหม่ มีสิ่งแวดล้อมใหม่และเกิดความหวังขึ้นใหม่ในใจด้วยว่างานใหม่อาจจะเหมาะสมกับตนเอง ระบบการหมุนเวียนหรือสับเปลี่ยนหน้าที่ในองค์กรเกิดขึ้นเมื่อมีการศึกษาพบว่า เมื่อบุคลากรทำงานซ้ำซากจำเจ บุคลากรจะเกิดความเบื่อหน่าย ขาดความกระตือรือร้น การทำงานจนเกิดความชำนาญทำให้บุคลากรขาดการปรับปรุงงาน เพราะคิดว่าสิ่งที่ทำอยู่ดีแล้ว |
. |
ดังนั้นการหมุนเวียนสับเปลี่ยนหน้าที่จะเกิดการปรับปรุงระบบการทำงานด้วย เพราะการเรียนรู้วิธีการทำงานใหม่ ทำให้บุคลากรต้องปรับระบบการทำงานให้เข้ากับตนเอง ให้เกิดคุณภาพตามเป้าหมาย และยังทำให้องค์กรเกิดการเปรียบเทียบผลงานระหว่างของบุคลากรเดิมกับบุคลากรใหม่ด้วย การเปรียบเทียบงานขององค์กรนี่เองจะเป็นแรงผลักดันให้บุคลากรที่รับงานใหม่ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องปรับปรุงงานให้ดีขึ้นกว่าเดิม |
. |
5.วัดผลงานโดยเน้นผลลัพธ์สุดท้าย |
การสรุปผลเพื่อกำหนดระดับผลงาน ควรจะเน้นที่ผลของงานเป็นหลัก เพราะองค์กรที่ประกอบธุรกิจเพื่อแสวงหากำไรก็ย่อมต้องการที่จะอยู่รอด และเติบโตต่อไปในอนาคต ถึงแม้คาดการณ์ว่าในอนาคตผลประกอบการขององค์กรธุรกิจนี้จะดีขึ้น แต่ถ้า ณ ขณะนี้ ผลประกอบการขององค์กรธุรกิจยังขาดทุน ไม่มีเงินทุนเพียงพอที่จะดำเนินการต่อไปได้ |
. |
ผลประกอบการที่ดีในอนาคตก็คงจะเกิดขึ้นยาก ดังนั้นจึงต้องมีการประเมินผลการปฏิบัติงาน เพื่อให้องค์กรธุรกิจมีผลประกอบการที่ดีในวันนี้ ซึ่งการประเมินผลการปฏิบัติงานควรจะประเมินใน 3 ระดับด้วยกันคือ การประเมินผลงานขององค์กร การประเมินผลงานของหน่วยงาน และการประเมินผลงานของตำแหน่งงานในท้ายที่สุด โดยมีรายละเอียดการประเมินในแต่ละระดับที่สำคัญ ดังต่อไปนี้ |
. |
5.1 ประเมินผลงานขององค์กร โดยการประยุกต์ใช้ตามแนวทางการประเมินผลงานขององค์กรแบบสมดุล (Balance Scorecard: BSC) ซึ่งการประยุกต์ใช้ Balance Scorecard จะทำให้ผู้บริหารงานขององค์กรสามารถมองเห็นภาพขององค์กรใน 4 มุมมอง ซึ่งประกอบด้วย |
. |
1) มุมมองด้านการเรียนรู้และการเติบโต (The Learning and Growth Perspective) ซึ่งจะประกอบด้วย การพัฒนาความรู้ ความสามารถของพนักงาน ความพึงพอใจของพนักงาน และการพัฒนาระบบอำนวยความสะดวกในการทำงาน |
. |
2) มุมมองด้านกระบวนการทำงานภายในองค์กร (The Business Process Perspective) ซึ่งจะประกอบด้วย การคิดค้นนวัตกรรมใหม่ ๆ การจัดโครงสร้างองค์กรที่มีประสิทธิภาพ การประสานงานภายในองค์กร และการจัดการด้านสายงานผลิตที่มีประสิทธิภาพ |
. |
3) มุมมองด้านลูกค้า (The Customer Perspective) ซึ่งจะประกอบด้วย ความพึงพอใจของลูกค้าต่อภาพลักษณ์ขององค์กร กระบวนการด้านการตลาด และการจัดการด้านลูกค้าสัมพันธ์ |
. |
4) มุมมองด้านการเงิน (The Financial Perspective) ซึ่งจะประกอบด้วย การเพิ่มรายได้ ประสิทธิภาพในการผลิตที่มีต้นทุนต่ำและมีการสูญเสียระหว่างการผลิตน้อย และการแสวงหาแหล่งเงินกู้-เงินทุนที่มีดอกเบี้ยต่ำ |
. |
ซึ่งการประเมินผลงานขององค์กร โดยการประยุกต์ใช้ Balance Scorecard ดังกล่าวมาแล้วข้างต้นจะทำให้ผู้บริหารองค์กร มองเห็นภาพรวมในการทำงาน และเพื่อให้ได้ผลที่ตรงตามเป้าหมายทางด้านการเงินมากที่สุด ซึ่งแนวทางนี้สามารถทอนลงมาตามลำดับขั้นของงานในองค์กร เพื่อให้การทำงานของพนักงานทุกคนในองค์กรเป็นไปตามนโยบายหลัก และมีส่วนเป็นแรงผลักดันให้กลยุทธ์ในระดับองค์กรบรรลุผลสำเร็จ |
. |
5.2 ประเมินผลงานของแผนก/ฝ่าย โดยให้หัวหน้าแผนก/ฝ่ายทุกคนร่วมกันประเมิน โดยใช้ดัชนีชี้วัดที่มีนัยสำคัญต่อการดำเนินงานกระบวนการทางธุรกิจของแผนก/ฝ่ายนั้น ๆ เป็นสำคัญ เช่น แผนกจัดซื้อ |
. |
ตารางที่ 2 แสดงดัชนีชี้วัดการดำเนินงานในกิจกรรมการจัดซื้อ |
. |
แผนกผลิต |
ตารางที่ 3 แสดงดัชนีชี้วัดการดำเนินงานในกิจกรรมการผลิต |
. |
แผนกคลังสินค้า |
ตารางที่ 4 แสดงดัชนีชี้วัดการดำเนินงานในกิจกรรมการคลังสินค้า |
. |
แผนกขาย |
ตารางที่ 5 แสดงดัชนีชี้วัดการดำเนินงานในกิจกรรมการขาย |
. |
หลังจากนั้นก็จะเป็นการประยุกต์ใช้กลยุทธ์ระดับฝ่าย (Departmental Strategies) ซึ่งเป็นโปรเจกต์ (Project) หรือโปรแกรม (Programme) ที่ฝ่ายต่าง ๆ จะต้องร่วมมือ ร่วมใจ และร่วมกันรับผิดชอบ เนื่องจากใน BSC จะระบุชัดเจนเลยว่า ใครเป็นผู้รับผิดชอบหลัก ใครที่ต้องเข้ามามีส่วนร่วมรับผิดชอบเพื่อผลักดันและสนับสนุนให้โปรเจกต์ หรือโปรแกรมนั้นสำเร็จลุล่วงตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ |
. |
และถ้ามีผู้รับผิดชอบหลายฝ่าย BSC จะกำหนดว่า ฝ่ายใดเป็นผู้นำทีมกลยุทธ์ริเริ่ม (Strategic Initiatives) จะทำให้เราแยกแยะได้ว่า อะไรเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดที่จะต้องทำก่อนหลัง เนื่องจากทุกฝ่ายจะต้องมานั่งด้วยกัน ทำงานด้วยกัน และกำหนดวัตถุประสงค์ของทีม (Cross Functional Team Objective) เพื่อที่จะช่วยกันพิจารณาว่า มีสิ่งใดที่ต้องปรับปรุงร่วมกัน ทำให้เกิดการเรียนรู้ข้ามสายงาน (Cross Functional Learning) |
. |
ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งขององค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization) การปรับปรุงที่เกิดจากการทำงานร่วมกันของฝ่ายต่าง ๆ จึงเป็นการปรับปรุงที่มุ่งเน้นประโยชน์ขององค์กรธุรกิจในภาพรวม มากกว่าที่จะเป็นการปรับปรุงเฉพาะภายในฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง (Sub-optimize) ซึ่งเป็นปัญหาระดับคลาสสิกในหลายองค์กร |
. |
การทำงานเป็นทีมโดยทุกส่วนทุกฝ่ายร่วมมือร่วมใจกันอย่างจริงจังและมีการกำหนดวัตถุประสงค์ไว้อย่างชัดเจน จะทำให้พนักงานทราบว่า องค์กรกำลังทำอะไร มุ่งไปทางไหน และพนักงานจะมีส่วนร่วมอย่างไร พนักงานจะรู้บทบาทหน้าที่ของตนเองมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะส่งผลในแง่ขวัญและกำลังใจของพนักงานอีกส่วนหนึ่งด้วย สุดท้ายจะทำให้เกิดผลลัพธ์กลยุทธ์ (Strategic Outcomes) ที่ทุกคนในองค์กรต่างต้องการ ก็คือการบรรลุภารกิจที่องค์กรธุรกิจได้ตั้งไว้ ได้แก่ |
. |
1) ทำให้ผู้ถือหุ้นพอใจ |
. |
5.3 ประเมินผลงานของตำแหน่งงาน ซึ่งในปัจจุบันนิยมใช้แนวคิดการวัดผลการปฏิบัติงานด้วยรูปแบบผสม (Mixed Model) ระหว่าง Key Performance Indicators (KPIs) และ Competency โดยมีรายละเอียดที่สำคัญ ดังต่อไปนี้ |
. |
Key Performance Indicators: KPIs |
เป็นการวัดผลการปฏิบัติงานจากผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น ที่ต้องสามารถวัดได้ในเชิงรูปธรรม หรือตัวเลข หรืออาจเป็นพฤติกรรมที่จะต้องสังเกตเห็นได้ การกำหนด KPIs จะกำหนดจากเป้าหมายการทำงานที่หัวหน้างานต้องการหรือคาดหวังให้เกิดขึ้น โดยหัวหน้างานและพนักงานจะต้องพิจารณาร่วมกันในการกำหนด KPIs ที่เชื่อมโยงกับกลยุทธ์ของหน่วยงานและองค์กร เป็นตัวชี้วัดผลงานหลักที่สามารถตอบสนองต่อเป้าหมาย และกลยุทธ์ที่องค์กรกำหนดขึ้น ดังนั้นรูปแบบการวัดผลงานโดยการพิจารณาจากตัวชี้วัดผลงานหลัก หรือ Key Performance Indicators (KPIs) ควรจะต้องครอบคลุมถึง |
. |
* เป้าหมาย (Goals) เป็นผลงานหรือสิ่งที่หัวหน้างานคาดหวังหรือต้องการจากพนักงานผู้ปฏิบัติงาน ทั้งนี้เป้าหมายของหัวหน้างานแต่ละคนจะต้องเชื่อมโยงกับเป้าหมายของหน่วยงาน และเป้าหมายของพนักงานจะถูกกำหนดขึ้นจากขอบเขตหน้าที่ความรับผิดชอบในการทำงาน หรือใบกำหนดหน้าที่งาน (Job Description) |
. |
* ตัวชี้วัดผลงานหลัก (Key Performance Indicators) เป็นปัจจัยวัดผลการทำงานที่ถูกกำหนดขึ้นมาจากเป้าหมายในการทำงาน ซึ่งตัวชี้วัดผลงานหลักที่กำหนดขึ้นมานั้นจะต้องยึดหลักของ S-M-A-R-T ได้แก่ |
. |
Specific ตัวชี้วัดต้องเฉพาะเจาะจงเกี่ยวข้องกับขอบเขตหน้าที่งานที่ปฏิบัติ |
. |
* ผลสำเร็จ (Achievement) ความสำเร็จของผลงานที่เกิดขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับระดับเป้าหมาย (Goals) ที่กำหนดขึ้นมา |
. |
Competency |
เป็นการวัดผลงานโดยพิจารณาจากความสามารถของตำแหน่งงาน ซึ่งเป็นการวัดพฤติกรรมการทำงานที่ถือว่าเป็นปัจจัยนำเข้า (Input) และวิธีการหรือกระบวนการทำงาน (Process) โดยสะท้อนให้เห็นถึงพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับความรู้ (Knowledge) ทักษะ (Skills) และคุณลักษณะส่วนบุคคล (Personal Attributes) ทั้งนี้ปัจจัยที่ใช้วัดความสามารถของตำแหน่งงานจะแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่มคือ |
. |
* ความสามารถหลัก (Core Competency) ขององค์กร จะถูกกำหนดขึ้นจากคุณค่าร่วม (Core Values) หรือวัฒนธรรมองค์กร (Corporate Culture) ทั้งนี้ความสามารถหลักจะเป็นพฤติกรรมที่องค์กรต้องการให้พนักงานทุกคนและทุกระดับตำแหน่งงานมีพฤติกรรมหรือความสามารถร่วมที่เหมือนกัน |
. |
* ความสามารถในงาน (Job Competency) เป็นความสามารถที่ถูกกำหนดขึ้นให้เหมาะสมและสอดคล้องกับลักษณะงานที่ปฏิบัติ พนักงานไม่จำเป็นต้องมีความสามารถในงานที่เหมือนกัน ทั้งนี้ความสามารถในงานของตำแหน่งงานนั้นจะกำหนดขึ้นมาจากขอบเขตหน้าที่งานของตำแหน่งงาน (Job Description) ซึ่งความสามารถในงานที่กำหนดขึ้นมานั้น สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทหลัก ได้แก่ |
. |
- ความสามารถด้านการบริหาร/จัดการงาน (Managerial Competency) ที่เน้นทักษะในการบริหารหรือจัดการงาน ซึ่งโดยส่วนใหญ่ระดับผู้จัดการจะมีมากกว่าระดับพนักงาน เช่น ความสามารถในการวานแผนงาน (Planning) ความคิดเชิงกลยุทธ์ (Strategic Thinking) การแก้ไขปัญหาและการตัดสินใจ (Problem Solving and Decision Making) ความเป็นผู้นำ (Leadership) เป็นต้น |
. |
- ความสามารถด้านเทคนิคเฉพาะงาน (Technical Competency) ที่เน้นทักษะในการทำงานเฉพาะตำแหน่งงาน เช่น หัวหน้างานขาย จะมีความรู้เกี่ยวกับสินค้า (Product Knowledge) ทักษะในการขาย (Selling Skills) การเจรจาต่อรอง (Negotiation) เป็นต้น |
. |
ความสามารถจะต้องกำหนด "พฤติกรรม" อย่างชัดเจนว่าจะวัดพฤติกรรมอะไร โดยจะประเมินผลงานจากพฤติกรรมที่กำหนดขึ้นมา เพราะหากไม่มีการกำหนดพฤติกรรมที่ต้องการวัดตามความสามารถแต่ละตัว จะทำให้การวัดผลนั้นเหมือนกับการวัดผลตามรูปแบบเดิม ๆ ที่แบ่งระดับการวัดเป็นระดับต่าง ๆ เช่น ดีมาก ดี พอใช้ ต้องปรับปรุง โดยไม่มีการชี้ให้เห็นชัดเจนว่าพฤติกรรมอะไรที่ต้องการวัด |
. |
6. จ่ายผลตอบแทนโดยเน้นผลงานรวม |
การจ่ายผลตอบแทนจะต้องเน้นเอาผลงานเป็นหลัก ไม่ใช่ใช้ความรู้สึกหรือดุลยพินิจเหมือนอดีต การจ่ายผลตอบแทนควรจะเน้นหลักการจ่ายที่ไม่สร้างปัญหาระยะยาว เช่น พนักงานทำงานให้เราดีเพียงหนึ่งปี (รอบปีที่ผ่านมา) ควรจะจ่ายผลตอบแทนที่ไม่ผูกพันระยะยาว เช่น จ่ายเป็นโบนัส เงินจูงใจ ฯลฯ ไม่ใช่จ่ายให้โดยการขึ้นเงินเดือนให้กับพนักงาน |
. |
เพราะถ้าขึ้นเงินเดือนให้กับพนักงานที่มีผลงานดีในปีนี้ องค์กรจะมั่นใจได้อย่างไรว่าปีต่อ ๆ ไปผลงานของพนักงานที่ได้รับการปรับขึ้นเงินเดือนสูง ๆ จะยังคงทำงานดีเหมือนปีที่ผ่านมา การจ่ายผลตอบแทนอาจจะจ่ายโดยพิจารณาจากปัจจัยหลาย ๆ อย่าง เช่น ผลงานขององค์กร ผลงานของหน่วยงาน และผลงานของของบุคคลร่วมกัน |
. |
โดยมีแนวทางในการกำหนดค่าตอบแทน ที่สำคัญดังต่อไปนี้ |
1) กำหนดระเบียบปฏิบัติ เกี่ยวกับการดำเนินการบริหารค่าจ้างเงินเดือน |
. |
2) ทบทวนประเมินผลการปฏิบัติงาน (Performance Review) เป็นการติดตามพิจารณาผลการปฏิบัติงานของพนักงานตำแหน่งต่าง ๆ ที่ต้องทำเป็นประจำ เพื่อจะให้ทราบว่า “มาตรฐานผลงาน” ที่พนักงานต่าง ๆ ตามตำแหน่ง และตามอัตราการจ่ายที่ควรทำได้ ควรจะเป็นเท่าใด เพื่อให้มาตรฐานที่ใช้มีประสิทธิภาพและเหมาะสมเสมอ และขณะเดียวกันก็เพื่อให้ทราบว่า ระบบการจ่ายค่าตอบแทนมีความสัมพันธ์กับผลงานถูกต้องเพียงใด |
. |
3) พิจารณากำหนดค่าจ้างเงินเดือนให้กับพนักงานแต่ละคน ให้แตกต่างกันไปตามความสามารถที่พิจารณาจากแต่ละคน ที่ทำได้สูงหรือต่ำกว่ามาตรฐานผลงานที่ได้กำหนดไว้ ทั้งนี้เพื่อกำหนดค่าจ้างให้แตกต่างกันออกไปเป็นเฉพาะกรณี โดยยึดถือและอ้างอิงโครงสร้างอัตราค่าจ้างเงินเดือนเป็นหลัก |
. |
ประโยชน์ที่จะได้รับจากการบริหารงานโดยมุ่งเน้นเป้าหมาย และกระบวนการทำงานขององค์กร |
1. องค์กรธุรกิจสามารถปรับเปลี่ยนผังการบริหารงานบุคคลได้ตามความเหมาะสม |
. |
สรุป |
การบริหารงานโดยเน้นวัตถุประสงค์และกระบวนการในการทำงานเป็นหลัก จะช่วยให้องค์กรสามารถปรับเปลี่ยนการบริหารงานให้สอดคล้องกับกลยุทธ์ที่ปรับเปลี่ยนไปในแต่ละช่วงเวลาได้ง่าย และเป็นการถ่ายโอนอำนาจเบ็ดเสร็จเด็ดขาดของการยึดติดกับหน่วยงานตนเอง ลงไปสู่การเป็นทีมงาน โครงการ คณะกรรมการที่รับผิดชอบเป้าหมายย่อย ๆ ในส่วนต่าง ๆ โดยใช้แนวทาง |
. |
1. วางแผนโดยเน้นเป้าหมายและกลยุทธ์ร่วมกัน ระหว่างกลุ่มผู้บริหาร เพื่อให้เป็นเป้าหมายร่วมของทุกคนในองค์กร หลังจากนั้นจึงกระจายเป้าหมายร่วมดังกล่าวลงไปสู่หน่วยงานและตำแหน่งงานให้ทั่วถึงและเป็นระบบ โดยเป้าหมายที่กระจายไปแล้วจะต้องสัมพันธ์กันทั้งในแนวดิ่ง และในแนวนอน |
. |
2. ฝึกอบรมโดยเน้นกลยุทธ์องค์กร เป็นการพิจารณาเลือกหน้าที่ กิจกรรมที่มีความสำคัญต่อองค์กร และการพิจารณาความรู้ ทักษะ ทัศนคติ การจัดการที่จำเป็นต่อการเพิ่มคุณภาพ หรือประสิทธิผลขององค์กร แล้วจัดฝึกอบรมให้สอดคล้องประสานกัน |
. |
3. ติดตามงานโดยเน้นกระบวนการ ซึ่งจะเป็นการติดตามผลที่ได้เทียบกับเป้าหมาย และแผนงานหรือแนวทางการดำเนินงานในเดือนต่อ ๆ ไป |
. |
4. องค์กรสร้างแรงจูงใจในการทำงาน ของบุคลากร โดยการบริหารจัดการที่สามารถตอบสนองความต้องการของบุคลากร และสร้างแรงผลักดันให้เกิดขึ้นภายในตัวของบุคลากร เพื่อให้บุคลากรเหล่านั้นเกิดความต้องการทำงานด้วยความกระตือรือร้นและด้วยความพยายามเอาชนะอุปสรรคต่าง ๆ |
. |
5. วัดผลงานโดยเน้นผลลัพธ์สุดท้าย เป็นการสรุปผลเพื่อกำหนดระดับผลงาน โดยควรจะยึดที่ผลของงานเป็นหลัก เพื่อให้องค์กรธุรกิจมีผลประกอบการที่ดีในวันนี้ ซึ่งการประเมินผลการปฏิบัติงานควรจะประเมินใน 3 ระดับด้วยกันคือ การประเมินผลงานขององค์กร การประเมินผลงานของแผนก/ฝ่ายในหน่วยงาน และการประเมินผลงานของตำแหน่งงาน |
. |
6.จ่ายค่าตอบแทนโดยเน้นผลงานรวม โดยมีแนวทางในการกำหนดค่าตอบแทนที่สำคัญคือ กำหนดระเบียบปฏิบัติ เกี่ยวกับการดำเนินการบริหารค่าจ้างเงินเดือน ทบทวนประเมินผลการปฏิบัติงาน และพิจารณากำหนดค่าจ้างเงินเดือนให้กับพนักงานแต่ละคน ให้แตกต่างกันไปตามความสามารถที่พิจารณาจากแต่ละคน ที่ทำได้สูงหรือต่ำกว่ามาตรฐานผลงานที่ได้กำหนดไว้ |
. |
โดยทำตามแนวทางดังกล่าวมาข้างต้น ซ้ำแล้วซ้ำเล่าและพยายามปรับปรุงแก้ไขในแต่ละขั้นตอนให้ดียิ่งขึ้น จะช่วยให้องค์กรสามารถบริหารจัดการในเชิงกลยุทธ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันจะนำมาซึ่งประสิทธิผลและศักยภาพในการแข่งขันขององค์กร ธุรกิจในท้ายที่สุด |
. |
เอกสารอ้างอิง |
1. ณรงค์ศักดิ์ บุณยมาลิก. Balanced Scorecard [ออนไลน์] 2551 [อ้างเมื่อ 21 มิถุนายน 2551]. จาก http://tpa.or.th/writer/read_this_book_topic.php? |
. |
สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2539 www.thailandindustry.com
Copyright (C) 2009 www.thailandindustry.com All rights reserved.
ขอสงวนสิทธิ์ ข้อมูล เนื้อหา บทความ และรูปภาพ (ในส่วนที่ทำขึ้นเอง) ทั้งหมดที่ปรากฎอยู่ในเว็บไซต์ www.thailandindustry.com ห้ามมิให้บุคคลใด คัดลอก หรือ ทำสำเนา หรือ ดัดแปลง ข้อความหรือบทความใดๆ ของเว็บไซต์ หากผู้ใดละเมิด ไม่ว่าการลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดของบทความนี้ไปใช้ ดัดแปลง โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร จะถูกดำเนินคดี ตามที่กฏหมายบัญญัติไว้สูงสุด