บริษัทต่าง ๆ กำลังมองหาทางในการเพิ่มประสิทธิภาพของไอทีและการปรับใช้ทรัพยากรไอทีเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของธุรกิจ ระบบซอฟต์แวร์ในการจัดการกระบวนการธุรกิจจึงกลายเป็นหนึ่งในกลยุทธ์ในการตรวจสอบกระบวนการธุรกิจทั้งหมดขององค์กรธุรกิจ ทำให้กระบวนการธุรกิจเหล่านั้นผูกเข้าด้วยกันและทำให้เป็นอัตโนมัติ เพื่อให้การทำงานร่วมกันนั้นไม่ติดขัด
ในขณะที่บริษัทต่าง ๆ กำลังมองหาทางในการเพิ่มประสิทธิภาพของ IT และการปรับใช้ทรัพยากร IT เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของธุรกิจ ระบบซอฟต์แวร์ในการจัดการกระบวนการธุรกิจ (BPMS: Business Process Management System) จึงกลายเป็น
|
. |
Web Services |
ปัจจุบันอินเทอร์เน็ตได้สร้างการเชื่อมต่อแบบครอบจักรวาล (Universal)ให้กับโครงข่ายคอมพิวเตอร์ องค์กรขยายผล (Extended Enterprises) ได้ใช้อินเทอร์เน็ตในการเชื่อมต่อกับลูกค้า หุ้นส่วนและผู้จัดส่งวัตถุดิบ (Suppliers) Web Services ได้เปลี่ยนแปลงวิธีที่เราคิดในเรื่องที่เกี่ยวกับซอฟต์แวร์ประยุกต์ของวิสาหกิจ (Enterprise Applications) และสถาปัตยกรรม Web Services ทำให้ ภาษา แพลตฟอร์ม (Platform) และการเชื่อมต่อที่ไม่ขึ้นกับสถานที่ตั้ง โดยใช้มาตรฐานที่ใช้ได้ทั่วไปเหมือนกับ HTTP Web Services ทำให้ซอฟต์แวร์ประยุกต์ที่ไม่เป็นมาตรฐานกันได้สื่อสารกันโดยไม่ต้องใช้ซอฟต์แวร์ประเภท (EAI: Enterprise Application Integration) ที่มีราคาแพง Web Services ทำให้ซอฟต์แวร์ประยุกต์ทำงานในลักษณะเป็นการบริการ (Services) มากขึ้น |
. |
SOA (Service Oriented Architecture) เป็นการรวบรวมเอา Web Services ที่เกาะตัวกันอย่างหลวม ๆ (Loosely Coupled) โดยมีการสื่อสารกันไปมา SOA ซึ่งเป็นเหตุผลเชิงธุรกิจและกระบวนการธุรกิจได้ถูกสร้างให้กระบวนการอื่น ๆ และซอฟต์แวร์เข้าถึงได้โดยผ่านกระบวนการการบริการที่เป็นมาตรฐาน คำว่าเกาะตัวกันอย่างหลวม ๆ บอกเป็นนัยถึงว่า Web Services นั้นเป็นอิสระต่อโปรแกรมภาษาต่าง ๆ แพลตฟอร์ม (Platform) และแบบจำลองวัตถุต่าง ๆ (Object Models) การใช้อินเทอร์เน็ตที่มีราคาถูกและมีอยู่ทุกหนแห่งทำให้ Web Services สามารถทำให้ฟังก์ชันของซอฟต์แวร์ทำงานระหว่างกันได้ผ่านทางอินเทอร์เน็ต |
. |
ในมุมมองของการประมวลผลแบบกระจาย (Distributed Computing) Web Services จะมีลักษณะสถาปัตยกรรมแบบเชิงบริการ และสถาปัตยกรรมแบบองค์ประกอบฐานซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Components based Application) ส่วนในมุมของแนวคิดและมุมมองเชิงธุรกิจนั้น Web Services จะเป็นเหมือนเทคโนโลยีที่ทำให้เกิดผลที่อาจทำให้เกิดเป็นแบบจำลองของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-Business Model) ที่เป็นพลวัตร (Dynamics) กระบวนการธุรกิจของ e-Business ที่มีความเกี่ยวโยงกันจะประกอบไปด้วยกิจกรรมย่อย ๆ ที่ดำเนินงานด้วย Web Services และถูกกระจายออกไปผ่านโครงข่ายของการบริการที่เพิ่มคุณค่า (Value added Services) |
. |
Web Services เป็นกลุ่มของมาตรฐานต่าง ๆ เช่น XML, SOAP (Simple Object Access Protocol), WSDL (Web Services Description Language) ฯลฯ เพื่อที่จะกำหนดว่าข้อมูลจะถูกส่งผ่านจากซอฟต์แวร์ประยุกต์
|
. |
. |
ตัวอย่างหนึ่งของบริษัท Fujitsu ที่นำเสนอกรอบการทำงาน (Framework) ของ IT ที่เรียกเป็น Business Process Management เพื่อที่จะปรับปรุงกระบวนการธุรกิจโดยใช้วัฏจักรดังนี้ 1) การทำให้เห็นภาพของกระบวนการ (Visualization of a Business Process) 2) การวิเคราะห์และประเมินกระบวนการธุรกิจ 3) การออกแบบการปรับปรุงกระบวนการธุรกิจ 4) การดำเนินการของกระบวนการที่ถูกปรับปรุงแล้ว เพื่อที่จะสนับสนุนกรอบการทำงานนี้ บริษัท Fujitsu ได้นำเสนอ Middleware ที่เป็นการบูรณาการเชิงการบริการที่ใช้เทคโนโลยีการบูรณาการ Web Services เพื่อที่เชื่อมโยงซอฟต์แวร์ประยุกต์ต่าง ๆ บนระบบที่แตกต่างกัน |
. |
. |
การรวมกันที่ทรงพลังระหว่าง BPM และ Web Services |
BPM และ Web Services ต่างก็เป็นส่วนเติบเต็มซึ่งกันและกัน (Complementary) ต่างก็ถูกออกแบบมาสำหรับงานที่เหมือนกัน คือ การบูรณาการกระบวนการหรือซอฟต์แวร์ประยุกต์ที่แตกต่างกัน และทำให้สิ่งที่แตกต่างกันนั้นสามารถสื่อสารกันได้ในลักษณะอัตโนมัติ เมื่อนำมารวมกันได้แล้วเราก็สามารถแก้ไขปัญหาระบบ IT ที่เก่าเกินไป ไม่ว่าจะเป็นการเขียนกันขึ้นมาเองภายในบริษัทหรือระบบซอฟต์แวร์สำเร็จรูป เราสามารถที่จะรวมเอาคุณลักษณะพิเศษต่าง ๆ ของทั้งสองกลุ่มนั้นมาผสมผสานกันได้ |
. |
Web Services สามารถที่จะใช้ได้ในสองลักษณะ คือ 1) Web Services สามารถใช้โดยระบบ BPM ในลักษณะที่จะบูรณาการระบบต่าง ๆ ของวิสาหกิจ เมื่อมีระบบ IT ที่มีความแตกต่างกันต้องการที่จะเชื่อมต่อผ่านระบบ BPM ที่การบูรณาการจะสำเร็จได้โดยเทคโนโลยี Web Services 2) ระบบ BPM เองสามารถเป็น Web Services ได้ และสามารถเปิดรับซอฟต์แวร์ประยุกต์หรือระบบต่าง ๆ ผ่านระบบ BPM เช่น การเรียกดูรายงานหรือการเข้าถึงสถานะของกระบวนการ Web Services จึงได้กลายเป็นสิ่งสำคัญต่อ BPM เมื่อวิสาหกิจที่แตกต่างกันกันพยายามที่จะสร้างความเป็นอัตโนมัติระหว่างกันให้เกิดขึ้นระหว่างกัน |
. |
BPM และ Web Services จะขึ้นมามีอิทธิพลต่อวงการ IT และการจัดการกระบวนการธุรกิจในปัจจุบันนี้ การรวมตัวกันของทั้งสองนี้จะสร้างโครงข่ายของกระบวนการที่น่าจะเป็นไปได้หรือที่มีศักยภาพ ซึ่งอาจจะพูดได้ว่า กระบวนการในทุกที่ BPM และ Web Services จะให้ความสะดวกสำหรับการทำกระบวนการให้เป็นอัตโนมัติและนวัตกรรมในวิสาหกิจขยายผล (Extended Enterprises) ความเป็นพลวัตของ BPM และ Web Services สามารถที่จะสร้างกระบวนการที่น่าจะเป็นไปได้ ดังนี้ |
. |
• สถาปัตยกรรมของกระบวนการจ่ายค่าบริการต่อผู้ใช้งาน • สถาปัตยกรรมของกระบวนการ Plug and Play • กระบวนการที่ฝังตัวอยู่กระบวนการต่าง ๆ • กระบวนการธุรกิจที่ครอบจักรวาล (Universal Business Process) • กระบวนการธุรกิจเฉพาะเรื่อง • การบริการเชิงกระบวนการ (Process Services) • การทำงานร่วมกันชิงกระบวนการ (Process Collaboration) |
. |
Web Services ได้กลายเป็นตัวกระตุ้นหลักสำหรับการวิวัฒนการของ BPMS ความสามารถในการเรียกใช้งานอย่างพลวัตรในรูปแบบที่สอดคล้องกัน (Synchronous) และไม่สอดคล้องกัน (Asynchronous) ไปจากภายในกระบวนการธุรกิจในระหว่างการอำนวยกระบวนการ (Process Orchestration) จะทำให้เกิดการสร้างสรรค์อุตสาหกรรมใหม่และนวัตกรรมในกระบวนการ ที่จริงแล้วต้นทุนและความซับซ้อนของการแก้ปัญหาเชิง BPM สามารถถูกลดลงได้ผ่านการใช้ Web Services แต่ก็ยังมีสิ่งที่ท้าทายที่จะต้องระลึกอยู่เสมอสำหรับกระบวนการธุรกิจที่ซ้ำซ้อน คือ การประสานงานของการสื่อสารที่ไม่สอดคล้องกันระหว่างกระบวนการธุรกิจและWeb Services การทำรายการธุรกิจที่มีระยะเวลานานระหว่างการอำนวยกระบวนการ ข่าวสารที่มีความสัมพันธ์ร่วมกันที่แลกเปลี่ยนระหว่างกระบวนการธุรกิจและ Web Services |
. |
ในขณะที่ Web Services กำลังให้ความหวังกับ BPM และการบูรณาการวิสาหกิจ (Enterprise Integration) เป็นอย่างมาก แต่ก็ยังมีความเสี่ยงหลักสำหรับเทคโนโลยีที่บังเกิดขึ้นมาใหม่ (Emergence) นี้ |
. |
|
. |
Web Services คงจะต้องแบ่งการดำเนินการออกเป็นระยะ (Phases) และในที่สุดจะนำไปสู่การเคลื่อนตัวอย่างขนานใหญ่ (Massive Shift) ในโครงสร้างพื้นฐานของการประมวลผลและวิธีการที่บริษัทต่าง ๆ ดำเนินธุรกิจด้วยกันเองและกับลูกค้า ในระยะแรกนั้น บริษัทจะนำเอา Web Services มาใช้งาน และ SOAP จะถูกใช้เป็นสื่อกลางในการร้องขอการบริการเหล่านั้น |
. |
อย่างไรก็ตามการค้นพบ (Discovery) และการบูรณาการ (Integration) ก็ยังคงทำกันแบบปราศจากเครื่องมือช่วย (Manual) ในระยะที่สอง บริษัทต่าง ๆ ก็จะเริ่มส่งข่าวสาร (Publishing) และมีการใช้ WSDL เพื่อที่จะทำให้เกิดการบูรณาการอย่างอัตโนมัติ อย่างไรก็ตามการค้นพบและการคัดเลือกการบริการก็ยังคงดำเนินการโดยปราศจากเครื่องมือช่วย ในระยะสุดท้าย บริษัทจะเริ่มใช้ UDDI (Universal Description, Discovery and Integration) เพื่อที่จะค้นหาและเลือกการบริการที่พวกเขาต้องการ ซึ่งการใช้ WSDL เพื่อที่จะบูรณาการอย่างอัตโนมัติกับการบริการเหล่านี้และ SOAP เพื่อที่จะร้องขอการบริการเหล่านี้ |
. |
สรุป |
โลกของการจัดการได้เปลี่ยนไป แนวคิดและมุมมองเชิงกระบวนการเริ่มเข้ามามีบทบาทมากขึ้น และที่สำคัญการนำเอา IT เข้ามาประยุกต์ใช้ก็ต้องมีมุมมองเชิงกระบวนการมากขึ้น ดูเหมือนว่าทุกวันนี้โลกธุรกิจเราได้เริ่มมีความตระหนักในมุมมองเชิงกระบวนการ เพราะทุกอย่างเกิดขึ้นที่กระบวนการธุรกิจทั้งสิ้น จะเห็นได้ว่า BPM จึงมีบทบาทมากขึ้นทั้งกับบุคลากรทางด้านการจัดการและบุคลากรทางด้าน IT รวมทั้งความซับซ้อนของปัญหาก็มากขึ้นตามการเปลี่ยนแปลงของตลาด ดังนั้นองค์ประกอบและผู้เล่นใน BPM จึงมีอยู่มากมาย คงจะต้องรอดูต่อไปว่าจะมีอะไรเกิดขึ้นมาอีกและมีความสัมพันธ์และผลกระทบอย่างไรกับสิ่งที่มีอยู่ คราวหน้าผมคงจะหาองค์ประกอบตัวอื่น ๆ มาเล่าให้ฟังอีก! |
. |
เอกสารอ้างอิง |
|
สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2539 www.thailandindustry.com
Copyright (C) 2009 www.thailandindustry.com All rights reserved.
ขอสงวนสิทธิ์ ข้อมูล เนื้อหา บทความ และรูปภาพ (ในส่วนที่ทำขึ้นเอง) ทั้งหมดที่ปรากฎอยู่ในเว็บไซต์ www.thailandindustry.com ห้ามมิให้บุคคลใด คัดลอก หรือ ทำสำเนา หรือ ดัดแปลง ข้อความหรือบทความใดๆ ของเว็บไซต์ หากผู้ใดละเมิด ไม่ว่าการลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดของบทความนี้ไปใช้ ดัดแปลง โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร จะถูกดำเนินคดี ตามที่กฏหมายบัญญัติไว้สูงสุด