โดยทั่ว ๆ ไปแล้ว เมื่อพูดถึงเรื่องของความปลอดภัย เรามักจะพูดกันถึงเรื่องวิธีการทำงานอย่างปลอดภัย การใช้เครื่องมือเครื่องจักรอย่างปลอดภัย มาตรการควบคุมต่าง ๆ ที่กำหนดขึ้นเพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานสามารถทำงานได้อย่างปลอดภัย ตลอดไปจนถึงการเลือกใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลที่เหมาะสม
การจัดเตรียม และบำรุงรักษาเครื่องมือสอบเทียบ/ทดสอบในข้อกำหนดนี้ ระบุถึงเรื่องการจัดเตรียมเครื่องมือเพื่อดำเนินการสอบเทียบ และทดสอบ และสำหรับใช้สุ่มตัวอย่าง ถ้าห้องปฏิบัติการทดสอบของท่าน จำเป็นต้องสุ่มตัวอย่างมาทดสอบเอง เครื่องมือที่ว่านี้ อาจเป็นเครื่องมือที่ห้องปฏิบัติการซื้อหามาเป็นเจ้าของเอง หรือเช่ามาเป็นครั้งคราวก็ไม่ว่ากันนะครับ ความหมายของคำว่าเครื่องมือในข้อกำหนดนี้ก็คือ เครื่องมือมาตรฐานสำหรับใช้ในการสอบเทียบ เครื่องมือวัด หรือเครื่องมือทดสอบต่าง ๆ ที่ใช้ในการปฏิบัติการทดสอบนั่นเองครับ เครื่องมือที่จัดหามาใช้ในการสอบเทียบ/ทดสอบ และสุ่มตัวอย่าง ต้องมีคุณสมบัติสามารถดำเนินการสอบเทียบ/ทดสอบ และสุ่มตัวอย่างให้ได้ผลตามที่ได้ตกลงกับลูกค้า เช่น หากเป็นห้องปฏิบัติการสอบเทียบ และรับงานสอบเทียบเครื่องมือวัด เครื่องมือมาตรฐานที่จัดหามาใช้สอบเทียบให้ลูกค้า ต้องมีความสามารถ เช่น มีความถูกต้องสูงกว่าเครื่องมือที่ถูกสอบเทียบ หรือเป็นห้องปฏิบัติการทดสอบ เครื่องมือที่ใช้ก็ต้องมีความถูกต้อง และแม่นยำสูง อยู่ในระดับที่วิธีการอ้างอิงกำหนด เป็นต้น
ในกลุ่มของกระบวนการส่งมอบการบริการ จะประกอบด้วยกระบวนการต่าง ๆ ได้แก่ การจัดการระดับการให้บริการ (Service Level Management) การจัดทำรายงานการบริการ (Service Reporting) การบริหารความต่อเนื่องและความพร้อมในการบริการ (Service Continuity and Availability Management) การจัดทำงบประมาณ และงานบัญชีสำหรับการบริการ (Budgeting and Accounting for Services) การบริหารขีดความสามารถ (Capacity Management) การบริหารความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ (Information Security Management)
ทั่วไป ห้องปฏิบัติการ ต้อง ใช้วิธีการ ที่ใช้ในการทดสอบ และหรือสอบเทียบ และขั้นตอนดำเนินงาน (ดู อธิบายความหมายคำ) ที่เหมาะสมสำหรับการทดสอบและ/หรือสอบเทียบวิธีการเหล่านี้รวมถึงการชักตัวอย่าง กรณีที่ห้องปฏิบัติการ มีการดำเนินการกิจกรรมนี้ หากไม่มีก็ข้ามไป หมายถึงการสุ่มตัวอย่างที่จะสอบเทียบ หรือทดสอบ จากกองผลิตภัณฑ์ที่มีปริมาณมาก การเคลื่อนย้าย ระหว่างการปฏิบัติงาน การขนย้าย จากลูกค้ามาห้องปฏิบัติการ หรือส่งกลับลูกค้า การเก็บรักษา ระหว่างรอการดำเนินการ หรือส่งคืนลูกค้า และการเตรียมตัวอย่าง ก่อน ที่จะทดสอบ และ/หรือสอบเทียบและในกรณีที่เหมาะสม รวมถึงวิธีการประมาณค่าความไม่แน่นอนของการวัด ตามข้อกำหนดที่ 5.4.6 ที่จะกล่าวต่อไปรวมทั้งเทคนิคต่าง ๆ ทางสถิติ ที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ผลการสอบเทียบ หรือทดสอบที่ได้ เพื่อจะมั่นใจว่าปริมาณของความผิดพลาด หรือความไม่แน่นอน ที่รวมอยู่กับผล การทดสอบ และ/หรือสอบเทียบ นั้น
การควบคุมสภาวะแวดล้อมข้อกำหนดนี้ ระบุถึงสิ่งที่ต้องปฏิบัติ ในการควบคุมสภาวะแวดล้อม ระหว่างดำเนินการสอบเทียบ ซึ่งพิจารณารวมไปถึงที่ตั้งของห้องปฏิบัติการด้วย เพราะมีหลายกรณีที่การควบคุมสภาวะแวดล้อมนี้ เกี่ยวกับที่ตั้ง หากเลือกที่ตั้งไม่เหมาะสม ก็ไม่สามารถควบคุมสภาวะแวดล้อมได้ สภาวะแวดล้อมนี้ หมายถึงปัจจัยสภาวะแวดล้อมต่าง ๆ ที่จะส่งผลให้ความถูกต้องของการทดสอบ/สอบเทียบผิดไป เงื่อนไขสภาวะแวดล้อมนั้น ๆ ต้องทำการเฝ้าติดตาม และควบคุม เพื่อให้อยู่ในระดับที่กำหนดตลอดเวลาระหว่างการทดสอบ และ/หรือสอบเทียบ นอกจากนั้นต้องควบคุมการเข้าพื้นที่ที่ดำเนินการทดสอบ/สอบเทียบ ซึ่งกำหนดให้เหมาะสมแล้วแต่ความจำเป็น
ข้อกำหนดนี้ เป็นข้อกำหนดที่ว่าด้วยเรื่องวิชาการในการทดสอบ/สอบเทียบ ซึ่งได้จัดแบ่งกล่าวถึงเฉพาะเรื่อง ที่เกี่ยวกับการจัดการภายในส่วนทดสอบ และ/หรือสอบเทียบ เป็นข้อ ๆ จัดว่าเป็นส่วนที่มีข้อกำหนดละเอียดที่สุด และโหดมากในแง่รายละเอียด และที่น่าสังเกตก็คือ ข้อกำหนดนี้ ใช้ความพยายามในการตีความน้อยกว่าข้อกำหนดด้านการจัดการมาก เพราะว่าระบุการปฏิบัติอย่างชัดเจนมาก ไม่ต้องตีความเลยนั่นเอง ก็เป็นข้อดีที่ไม่ต้องเสียเวลามาตีความข้อกำหนด ว่าควรกำหนดวิธีการปฏิบัติกันแค่ไหน ดังนั้น ด้วยตัวข้อกำหนด ได้อธิบายด้วยตัวมันเองแล้ว แต่ก็ไม่ใช่ว่าห้องปฏิบัติการทดสอบ/สอบเทียบ ต้องดำเนินการทั้งหมด ยังมีข้อกำหนดเฉพาะสำหรับห้องปฏิบัติการแต่ละชนิด เช่น ห้องปฏิบัติการทดสอบที่มีการสุ่มตัวอย่าง และที่ไม่มีการสุ่มตัวอย่าง หรือห้องปฏิบัติการทดสอบที่ต้องมีการตีความและแสดงความเห็น และไม่แสดงความเห็น ห้องปฏิบัติการสอบเทียบที่มีการพัฒนาวิธีการสอบเทียบ และที่ไม่มีการพัฒนาวิธีการสอบเทียบ ซึ่งหากห้องปฏิบัติการที่ขอการรับรอง ไม่มีกิจกรรม ก็สามารถละข้อกำหนดนั้นไปได้ ข้อกำหนดด้านเทคนิคนี้ ประกอบด้วย 1. การจัดการสรรหาบุคลากร ในส่วนปฏิบัติการ ให้เหมาะกับหน้าที่งาน รวมถึงการจัดการอบรม ให้สามารถปฏิบัติงานได้ และการควบคุมพนักงานที่ว่าจ้างเป็นสัญญา มาปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติการ
ปัจจุบันแนวคิดการบริหารองค์กรยุคใหม่ได้มุ่งเน้นการเชื่อมโยงเครือข่ายคู่ค้าเพื่อสร้างประสิทธิผลการตอบสนองได้ตามความต้องการของตลาด ดังนั้นประสิทธิภาพการตอบสนองลูกค้า (Efficient Consumer Response) หรือ ECR จึงเป็นปัจจัยหนึ่งที่มีบทบาทปรับปรุงระดับการให้บริการลูกค้า
ตรวจติดตาม เรื่องดี ๆ ที่ควรทำนานแล้ว คงเคยได้ยินกันมาแล้วบ้างว่า การเป็นที่หนึ่งนั้นไม่ยาก แต่การรักษาที่หนึ่งให้นานที่สุดนั้นยากกว่า ที่เห็นด้วยไม่ใช่ตรงที่การจะเป็นที่หนึ่ง แต่ตรงที่การรักษาสิ่งที่ทำไว้แล้วให้คงที่สม่ำเสมอ นี่สิครับยากมาก สิ่งหนึ่งที่ในข้อกำหนดมาตรฐานระบบต่าง ๆ ที่ผู้เขียนเห็นว่าเป็นหัวใจและถ้ามาตรฐานเหล่านั้นไม่ได้กำหนดไว้มาตรฐานเหล่านั้นจะไม่มีประโยชน์อะไรเลยก็คือเรื่องการตรวจติดตามภายในนี่เอง
ด้วยความเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีและความผันผวนของตลาดได้ส่งผลกระทบต่อวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์สั้นลง (Product Life Cycle) และผลักดันให้ธุรกิจต้องมุ่งสร้างคุณค่าเพิ่ม (Value-added) และความรวดเร็วในการส่งมอบคุณค่าด้วยการปรับปรุงกระบวนการ ดังนั้นองค์กรส่วนใหญ่จึงดำเนินการปรับกระบวนการธุรกิจโดยมุ่งความสามารถหลัก (Core Competency) ที่สร้างประสิทธิผลกระบวนการ (Process Effectiveness) ซึ่งประกอบด้วยปัจจัยคุณภาพ (Quality) ต้นทุน (Cost) การส่งมอบ (Delivery) หรือ QCD โดยมีปัจจัยเวลาเป็นมาตรวัดเพื่อปรับปรุงองค์ประกอบเหล่านี้