ภายหลังจากการศึกษาเกี่ยวกับ Toyota มาเป็นเวลาเกือบ 20 ปี และได้สังเกตการณ์บริษัทต่าง ๆ ที่ดิ้นรนในการประยุกต์ใช้การผลิตแบบลีน จึงเกิดความเข้าใจอย่างถ่องแท้ สิ่งที่ครู Toyota ได้พร่ำบอกคือ วิถีแห่งโตโยต้า นั้น มิใช่เพียงแค่ชุดของเครื่องมือการผลิตแบบลีนเช่น ระบบการผลิตแบบทันเวลาพอดี (Just-in-time Manufacturing)
วิถีแห่งโตโยต้าและระบบการผลิตแบบโตโยต้า เปรียบเสมือนเป็นขดเกลียวคู่พันธุกรรมหรือ DNA ของ Toyota คือ มีการกำหนดรูปแบบในการจัดการและสิ่งที่เป็นเอกลักษณ์ของบริษัท รูปแบบแห่งความสำเร็จของ Toyota สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในองค์กรใด ๆ เพื่อปรับปรุงกระบวนการทางธุรกิจ จากการขาย สู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์ การตลาด ลอจิสติกส์ และการจัดการ
ในการผลิตอุปกรณ์แลกเปลี่ยนความร้อนในปัจจุบันนั้น บริษัทผู้ผลิตได้หันมาให้ความสนใจในการเพิ่มประสิทธิภาพการแลกเปลี่ยนความร้อนของอุปกรณ์แลกเปลี่ยนความร้อน เพื่อสามารถแข่งขันและมีส่วนแบ่งการตลาด ตลอดจนทำกำไรให้ได้สูงสุด ในการผลิตอุปกรณ์แลกเปลี่ยนความร้อนนั้นท่อที่ใช้มีอย่างผลมากในกระบวนการถ่ายโอนความร้อน
ระบบขนถ่ายวัสดุด้วยลมเป็นระบบขนถ่ายวัสดุที่เหมาะสำหรับใช้ขนวัสดุที่อยู่ในรูปของเมล็ด ผงยังเป็นระบบที่ทำให้สภาพแวดล้อมสะอาดอีกด้วย เนื่องจากระบบขนถ่ายวัสดุด้วยลมเป็นระบบขนถ่ายวัสดุที่ใช้พลังงานในการขนถ่ายวัสดุค่อนข้างสูง เลือกระบบขนถ่ายวัสดุด้วยลมระบบขนถ่ายวัสดุด้วยลมแบบใดจะมีค่าใช้จ่ายโดยรวมต่ำที่สุด
ท่านผู้อ่านคงจะได้สัมผัสกับกรณีศึกษาและมุมมองในหลายรูปแบบของโซ่อุปทาน อนาคตของโซ่อุปทานนั้นจะเป็นอย่างไรบ้าง ซึ่งได้นำเอาข้อเสนอเชิงแนวคิด (Proposition) ของ Dr. John Langley แสดงปาฐกถาไว้ในงานสัมมนา Supply Chain World แนวคิดของอนาคตของโซ่อุปทานไว้ 8 มุมมองด้วยกัน เป็นมุมมองที่น่าสนใจและมีประโยชน์ต่อวงการธุรกิจอุตสาหกรรม
Toyota เริ่มเป็นที่จับตามองในช่วงทศวรรษที่ 80 เมื่อเริ่มเป็นที่ประจักษ์ถึงความพิเศษเกี่ยวกับคุณภาพและประสิทธิภาพขององค์กรญี่ปุ่น รถญี่ปุ่นมีอายุที่ยืนยาวกว่ารถอเมริกัน และต้องการการซ่อมแซมที่น้อยกว่ามาก มีกระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เร็วที่สุดในโลก การออกแบบรถยนต์และรถบรรทุกใหม่ใช้เวลา 12 เดือนหรือน้อยกว่านั้น
กระบวนการลอจิสติกส์และโซ่อุปทานถือได้ว่าเป็นส่วนสำคัญของกระบวนการสร้างสรรค์คุณค่า ที่ต้องนำมาพิจารณาในระดับกลยุทธ์นี้ เพราะเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับโครงสร้างขององค์กรและผลตอบแทนในการลงทุนค่อนข้างจะยาวนาน กิจกรรมและผลลัพธ์ทุกอย่างต้องมีการเชื่อมต่อกันไปยังองค์กรอื่น ๆ ในโซ่อุปทาน
โซ่อุปทานในอดีตเป็นอย่างไร ในปัจจุบันก็คงจะมีเค้าโครงเหมือนเดิม แต่จะมีรายละเอียดและความซับซ้อนเพิ่มมากขึ้นตามพัฒนาการ เปรียบเสมือนกับโครงสร้างของตัวเรา เมื่อตอนเด็กเป็นอย่างไร ตอนเป็นวัยรุ่น เป็นผู้ใหญ่แล้วก็ยังคงมีโครงสร้างเหมือนเดิม แต่ผู้ใหญ่มีร่างกายใหญ่แข็งแรง มีความซับซ้อนของสติปัญญามากขึ้น
นัยหนึ่งโตโยต้าเป็นบริษัทใหญ่ แต่อีกนัยหนึ่งก็เป็นระดับบริษัทโลก ดังนั้นหนึ่งในการเปลี่ยนแปลงหลักที่ต่อเนื่องภายในโตโยต้าคือ ความพยายามที่จะก้าวไปให้ทันด้วยตัวเอง เพื่อที่จะเติบโตไปสู่ขนาดใหม่ และเรียนรู้ว่าจะลงทุนบนขอบเขตที่กว้างขวางในอุตสาหกรรมรถยนต์ระดับโลกได้อย่างไร
แนวคิดการปรับปรุงคุณภาพได้พัฒนา และกลายเป็นเรื่องพื้นฐานที่จำเป็นในการทำธุรกิจ โดยมีแนวคิดเกิดขึ้นมาใหม่นั่นก็คือ แนวคิดการผลิตแบบลีน การผลิตแบบ Just-in-Time หรือแนวคิดการผลิตแบบไม่มีการไม่จัดเก็บสินค้าคงคลังเลย แนวคิดเหล่านี้ล้วนได้รับความนิยมอย่างมากในช่วงเวลาดังกล่าว
บริษัททั่วไปกำลังมองหาแนวทางในการลดจำนวนสินค้าหรือพัสดุคงคลังตามแนววิถีแห่งลอจิสติกส์และโซ่อุปทาน จนทำให้สินค้าคงคลังได้กลายเป็นผู้ร้าย (Evil) ในสายตาของผู้บริหารโซ่อุปทานส่วนใหญ่ เป้าหมายของการจัดการสินค้าคงคลังที่ดีก็คือ การตอบสนองต่อคำสั่งซื้ออย่างสมบูรณ์แบบด้วยการหลีกเลี่ยงการเก็บสินค้าคงคลังไว้มากเกินไป
หลายบริษัทในโซ่อุปทานมีการสร้าง หรือนำตัวชี้วัดที่มีอยู่แล้วมาใช้เพื่อเฝ้าติดตาม และควบคุมผลการดำเนินงานให้เป็นไปตามที่ต้องการ แต่ว่าการมีตัวชี้วัดไว้แค่ดูเพียงอย่างเดียวคงไม่เกิดประโยชน์ ต้องมีการนำไปปรับปรุงถึงจะเกิดประโยชน์ แต่การที่จะปรับปรุงได้นั้นต้องทราบก่อนว่าปัญหาอยู่ที่ใด และอยู่ตรงส่วนไหน
บทบาท และอิทธิพลของเทคโนโลยีสารสนเทศของอินเทอร์เน็ต และอี-บิสซิเนสนั้น มีผลต่อการดำเนินธุรกิจอย่างมาก ความคาดหวังว่าปัญหาโซ่อุปทานต่าง ๆ จะถูกแก้ไขด้วยเทคโนโลยีใหม่ ๆ และแบบจำลองธุรกิจทางอีบิสซิเนสควรจะทำให้เกิดการลดต้นทุน เพิ่มระดับการให้บริการ เพิ่มความยืดหยุ่น และสร้างกำไร
ตลอดระยะกว่าทศวรรษที่ผ่านมา Professor Lee ได้ทำการศึกษาโซ่อุปทานของบริษัทชั้นนำของโลกที่พยายามจะมุ่งเน้นไปที่การสร้างและเสริมสร้างโซ่อุปทานใหม่เพื่อที่จะทำการสร้างหรือผลิต ผลิตภัณฑ์และการบริการอย่างรวดเร็ว และประหยัดต้นทุน มากที่สุด หลายบริษัทที่ได้ลงทุนไปทั้งในด้านบุคลากร ทรัพยากร และเทคโนโลยี
ผู้บริหารองค์กรธุรกิจหลายท่านคงนึกสงสัย และรู้สึกหนักใจอยู่ไม่น้อยกับการนำ Six Sigma มาปรับใช้กับองค์กรของท่านนั้นควรจะทำอย่างไร ยิ่งเป็นธุรกิจหรืออุตสาหกรรมทางด้านบริการด้วยแล้วคงครุ่นคิดว่าแนวทางการบริหารคุณภาพแบบ Six Sigma นี้จะสร้างวินัยให้กับงานของท่านได้อย่างไร หรือแม้แต่ผู้บริหาร
ในปัจจุบันนี้การจัดการโซ่อุปทาน ผู้จัดการจะต้องพยายามลดช่วงเวลานำ ที่ยาวนาน ค่าใช้จ่ายในการขนส่งทางอากาศสูง มีสินค้าคงคลังระดับสูง ความแม่นยำในการประมาณยอดขายต่ำ และการแก้ไขปัญหาทางด้านเทคนิคมีความล่าช้าและเกิดความเสียหาย อย่างไรก็ตาม การจัดการและการเปลี่ยนแปลงวิธีการกับสิ่งเหล่านี้สามารถจัดการได้
ในระยะนี้มีกระแสความเคลื่อนไหวของการเอาแนวคิดแบบลีนมาใช้ในอุตสาหกรรมไทยเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นบริษัทไทย ๆ หรือบริษัทต่างประเทศ แต่ส่วนมากจะเริ่มจากบริษัทต่างชาติที่ได้มีโครงการริเริ่ม ในเรื่อง ลีน สำหรับบริษัทในเครือทั่วโลก กระแสความรู้เรื่องลีนก็ได้หลั่งไหลเข้าสู่วงการอุตสาหกรรมไทยอย่างไม่ขาดสาย
ปัจจุบันนี้ หลายบริษัทกำลังอยู่ในช่วงการเปลี่ยนแปลงเรื่องการปรับปรุงโครงสร้างใหม่ และเริ่มมีกระแสนิยมกันมากขึ้น ซึ่งการปรับเปลี่ยนนี้เกิดจากมุมมองของกิจกรรมด้านลอจิสติกส์ แต่สิ่งที่จะทำให้ประสบสำเร็จตามมุมมองนี้ ต้องมีการเปลี่ยนแปลงขนาดใหญ่ซึ่งมีผลกระทบต่อองค์กรและต้องปรับปรุงกระบวนการลอจิสติกส์หลัก
ในสภาพอุตสาหกรรมที่มีการแข่งขันรุนแรงขึ้นทุกวันนี้ ความร่วมมือระหว่างกันตั้งแต่การเตรียมและจัดส่งวัตถุดิบ จนถึงการผลิตเป็นผลิตภัณฑ์สุดท้ายและส่งมอบให้กับลูกค้าหรือผู้บริโภคเป็นสิ่งสำคัญ การบริหารงานโดยไม่คำนึงถึงผู้จัดส่งวัตถุดิบ ผู้ร่วมธุรกิจหรือแม้แต่คู่แข่งขัน จะทำให้การจัดการและการอยู่รอดในธุรกิจเป็นไปได้ยาก
คนส่วนใหญ่ยังมีความเข้าใจในโจทย์ของธุรกิจน้อยมาก โดยที่คิดว่าต้นทุนที่ต่ำจะทำให้เกิดความได้เปรียบเชิงการแข่งขัน ต้นทุนต่ำนั้นไม่สามารถสร้างความมั่นคงให้กับธุรกิจอุตสาหกรรมได้อย่างยั่งยืน โดยปกติแล้วแนวคิดแบบลีนนั้นก็ไม่ได้มีจุดประสงค์ในการลดต้นทุนโดยตรง แต่โดยแนวคิดแบบลีนแล้วจะเป็นการกำจัดความสูญเปล่าที่ไม่จำเป็นเสียมากกว่า
ปัจจุบันลูกค้ามีความต้องการที่ซับซ้อน และเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เทคโนโลยีช่วยให้ลูกค้ามีตัวเลือก และรับทราบถึงข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ได้มาก และง่ายยิ่งขึ้น ขณะที่อำนาจได้เปลี่ยนไปอยู่ในกำมือของลูกค้า องค์กรต่าง ๆ ต้องพยายามทำความเข้าใจ และเข้าถึงลูกค้าของตัวเองให้ดีกว่าเดิม ทำให้เกิดแนวคิดการจัดการความสัมพันธ์ของลูกค้า
เบียร์เกม(Beer Game) เกมการบริหารโซ่อุปทาน โลกของเรากำลังขยายตัวอย่างต่อเนื่อง นับวันยิ่งมีความซับซ้อนจากเทคโนโลยี สังคมและสิ่งแวดล้อม การขับเคลื่อนกระสวยอวกาศจำเป็นต้องมีผู้ควบคุมเปรียบเสมือนนักบินจะต้องฝึกการบินในเครื่องจำลองการบิน เช่นเดียวกับผู้จัดการองค์กรที่จะต้องฝึกการบริหารองค์กร ให้เกิดความเข้าใจกระบวนการธุรกิจ