ในปัจจุบันนี้การจัดการโซ่อุปทาน ผู้จัดการจะต้องพยายามลดช่วงเวลานำ ที่ยาวนาน ค่าใช้จ่ายในการขนส่งทางอากาศสูง มีสินค้าคงคลังระดับสูง ความแม่นยำในการประมาณยอดขายต่ำ และการแก้ไขปัญหาทางด้านเทคนิคมีความล่าช้าและเกิดความเสียหาย อย่างไรก็ตาม การจัดการและการเปลี่ยนแปลงวิธีการกับสิ่งเหล่านี้สามารถจัดการได้
ในปัจจุบันนี้การจัดการโซ่อุปทาน ผู้จัดการจะต้องพยายามลดช่วงเวลานำ (Lead time) ที่ยาวนาน ค่าใช้จ่ายในการขนส่งทางอากาศสูง มีสินค้าคงคลังระดับสูง ความแม่นยำในการประมาณยอดขายต่ำ และการแก้ไขปัญหาทางด้านเทคนิคมีความล่าช้าและเกิดความเสียหาย อย่างไรก็ตาม การจัดการและการเปลี่ยนแปลงวิธีการกับสิ่งเหล่านี้สามารถจัดการได้ด้วยแนวคิดแบบลีน ซึ่งจะทำให้สร้างเสถียรภาพในโซ่อุปทานได้ จากการที่บริษัทต่าง ๆ ตอบสนองต่อการเป็นธุรกิจในยุคโลกาภิวัตน์ โดยการพัฒนาระบบโซ่อุปทานด้วยกิจกรรมที่เพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป และการนำระบบการผลิตแบบลีนมาใช้ โดยมีเป้าหมายต่าง ๆ รวมกันไว้ เช่น การส่งสินค้าแบบ Just-in-Time (JIT) ระดับสินค้าคงคลังที่ต่ำ ไม่มีของเสีย มีการผลิตที่ยืดหยุ่นและเทคนิคการประสานงานกับผู้จัดส่งวัตถุดิบ |
. |
. |
บทนำ |
แนวทางหรือวิถีแห่งลอจิสติกส์ (Logistics) นั้นมีแนวทางที่มีวิวัฒนาการมาตลอด มีการเปลี่ยนแปลงและปรับตัวตามความเปลี่ยนแปลงตามสภาพของสังคมและเศรษฐกิจตามแนวความคิดพื้นฐานของมนุษย์ในแต่ละสังคม บางกลุ่มบางสังคมฟุ่มเฟือย บางกลุ่มบางสังคมประหยัด นั่นแสดงว่าองค์ประกอบพื้นฐานประกอบกับแนวความคิดของบุคคลเป็นตัวกำหนดพฤติกรรมของสังคมหรือระบบตรงนั้นหรือสถานที่นั้น เช่นเดียวกับโซ่อุปทาน (Supply Chain) ที่ในปัจจุบันถูกเทคโนโลยีต่าง ๆ โดยเฉพาะเทคโนโลยีสารสนเทศทำให้สังคมโลกถูกกลืนและรวมตัวกันเป็นสังคมเดียว วัฒนธรรมเดียว คือ วัฒนธรรมแห่งการบริโภค ทุนนิยมและวัตถุนิยมเป็นส่วนใหญ่ ดังนั้นการจัดการบริหารธุรกิจในปัจจุบันก็จะต้องสอดคล้องกับสภาพสังคมดังกล่าว |
. |
ในปัจจุบันสภาพโดยรวมของโลกในมุมมองของอุปสงค์และอุปทานนั้น ไม่มีความพอดีกัน หลักการของการจัดการโซ่อุปทาน คือ การปรับตัวขององค์กรธุรกิจหรือกลุ่มองค์กรธุรกิจ เพื่อที่จะประสานรวมกันหรือเป็นตัวเชื่อมหรือตัวถ่วงดุลระหว่างอุปสงค์และอุปทาน และลักษณะหนึ่งของโซ่อุปทานในยุคปัจจุบันจะต้องมีลักษณะแบบลีน (Lean) ที่เป็นการพัฒนาสายธารคุณค่า (Value Stream) เพื่อที่จะกำจัดความสูญเปล่ารวมทั้งเวลาที่สูญเสียไปโดยเปล่าประโยชน์เพื่อสร้างคุณค่าให้กับผลิตภัณฑ์และบริการให้ได้ตรงกับความต้องการของลูกค้า ซึ่งแนวคิดนี้ต้องการช่วงเวลานำที่น้อยลง หมายถึง เวลาที่เริ่มตั้งแต่ลูกค้าสั่งของ จนถึงลูกค้าได้รับสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ การลดเวลานำนั้น ถือว่าเป็นหนึ่งในกิจกรรมลดความสูญเปล่า ในปัจจุบันการแข่งขันและความต้องการของลูกค้าที่หลากหลาย ทำให้ไม่สามารถปรับราคาได้มากนัก หนทางที่จะสร้างผลกำไรได้ดีก็คือ การลดต้นทุน และการลดต้นทุนที่ถูกหลักการก็คือ การกำจัดความสูญเปล่าในแนวคิดแบบลีน (Lean Concepts) หรือการกำจัดกิจกรรมที่ไม่เพิ่มคุณค่าออกไป (Waste Reduction) |
. |
โซ่อุปทาน (Supply Chain) |
ก่อนอื่นเรามาดูกันก่อนว่า โซ่อุปทานคืออะไร โซ่อุปทานคือ อนุกรมของเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่มีจุดมุ่งหมายที่จะทำให้ลูกค้าพอใจ โดยที่ โซ่อุปทานจะรวมเอาการจัดหา การผลิต การจัดส่ง การกำจัดของเสีย เข้าไว้ด้วยกันโดยใช้ร่วมกับการขนส่ง การจัดเก็บและเทคโนโลยีสารสนเทศ หรืออาจจะบอกได้ว่าโซ่อุปทาน คือ การเอาระบบลอจิสติกส์ของแต่ละบริษัทมาเชื่อมต่อกัน เพื่อให้การไหลของวัตถุดิบและสินค้าเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังรูปที่ 1 |
. |
รูปที่ 1 ความสัมพันธ์ของกระบวนการในโซ่อุปทาน |
. |
ทฤษฎีของการจัดการโซ่อุปทานอยู่บนผลิตภัณฑ์หรือบริการที่เป็นข้อได้เปรียบทางการค้าที่องค์กรมีส่วนเกี่ยวข้อง คุณค่าจะถูกใส่ลงไปในกระบวนการรวดเร็วกว่าราคา คุณค่าจะได้มาจากลูกค้าและเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ต้นน้ำของกระบวนการ อย่างไรก็ตาม ก่อนความสัมพันธ์ระหว่างลูกค้าและผู้จัดส่งแบบลีน (Lean Supply) ภายในนั้น (เช่น ผู้จัดส่งวัตถุดิบไปสู่การผลิต ผู้จัดส่งข้อมูลสู่นักบัญชี ผู้จัดส่งข้อมูลลักษณะความต้องการที่ได้จากการขายไปสู่ฝ่ายวางแผนการผลิต เป็นต้น) มีผลกระทบจากการจัดฟังก์ชั่นหน้าที่การทำงานขององค์กร และยังมีต่อความสัมพันธ์ระหว่างลูกค้าและผู้จัดส่งแบบลีนภายนอก ดังนั้นการปฏิบัติระหว่างองค์กรและผู้จัดส่งจะมีขอบเขตในประเด็นเรื่องกลไกทางการจัดซื้อ (การค้าขาย) และผลกระทบในโซ่อุปทาน เป็นเรื่องความสำคัญ |
. |
การพัฒนาโซ่อุปทาน |
ในสภาพธุรกิจปัจจุบัน ในหลาย ๆ การดำเนินการจะพยายามเพิ่มคุณค่าภายนอกขอบเขตขององค์กร ทำให้สิ่งเหล่านี้ขึ้นอยู่กับผู้จัดส่งที่จะสร้างสรรค์และนำส่งคุณค่าที่ดีที่สุดแก่ลูกค้า การรวมความสัมพันธ์ทางธุรกิจจึงเป็นสิ่งจำเป็น จากการเริ่มต้นบนการผลิตแบบลีน จะให้ความสำคัญบนบทบาทของโซ่อุปทาน (ต้นกำเนิดของลีนจะมาจากอุตสาหกรรมยานยนต์ที่ซึ่งมีผู้จัดส่งส่วนประกอบหลากหลายมากมาย) การผลิตแบบลีนแสดงถึงมุมมองทั้งหมดของกระบวนการจากวัตถุดิบไปสู่ผู้บริโภคขั้นสุดท้าย ทฤษฎีการจัดการโซ่อุปทานซึ่งแท้จริงแล้วมีพื้นฐานมาจากลอจิสติกส์ ที่เกี่ยวข้องกับการไหลของสินค้าจากผู้จัดส่งผ่านการผลิตและกระจายไปสู่ผู้บริโภคขั้นสุดท้าย ดังนั้นโซ่อุปทานแบบลีนจึงเป็นการขยายของการผลิตแบบลีน โดยการกำจัดความสูญเปล่าจากทั้งหมดของโซ่คุณค่าหรือสายธารคุณค่า |
. |
ทฤษฎีธุรกิจในปัจจุบันดูเหมือนจะตรงกับแนวคิดของลีน ซึ่งป็นการสนับสนุนความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดท่ามกลางส่วนประกอบของโซ่คุณค่า(Value Chain) (ลูกค้าและผู้จัดส่ง) และอ้างอิงถึงการเป็นพันธมิตรกับผู้จัดส่ง ถ้ามองแบบผิวเผินนั้น ทฤษฎีธุรกิจในปัจจุบันบนการจัดการผู้จัดส่งวัตถุดิบจะดูเหมือนว่าจะตรงกับแนวคิดแบบลีนในการสนับสนุนความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดท่ามกลางส่วนประกอบโซ่คุณค่าภายนอก (ลูกค้าและผู้จัดส่ง) และอ้างอิงไปถึงการเป็นเช่น โดยพันธมิตรกับผู้จัดส่งจะเน้นย้ำการพัฒนาผู้จัดส่งและการออกแบบเพื่อช่วยเน้นในความสัมพันธ์ระยะยาวระหว่างกับลูกค้า/ผู้จัดส่ง |
. |
Lean Supply Chain |
ในโซ่อุปทานแบบลีน (Lean Supply Chain) จะรวมถึงการไหลทั้งหมดตั้งแต่จากผู้จัดส่งวัตถุดิบไปสู่ผู้บริโภคจะถูกพิจารณาในภาพรวมทั้งหมดภายในทุกจุดสัมผัส (ระหว่างบริษัท ผู้จัดส่งและลูกค้า) โดยจุดเชื่อมระหว่างผู้จัดส่งและลูกค้าที่ยังคงอยู่ (เป็นการดำเนินการที่สร้างคุณค่าให้กับการไหลของวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์) โดยจะกำจัดความสูญเปล่า (Waste) และการเปลี่ยนแปลงการเพิ่มคุณค่าของการไหลของกิจกรรมนั้น ๆ ยกตัวอย่าง การสำรวจตรวจสอบควรจะมีความชัดเจนในเรื่องความสูญเปล่า (มูดะ-Muda) ซึ่งความล้มเหลวของ JIT จะเกิดขึ้นเมื่อมีความสูญเปล่าเคลื่อนย้ายไปสู่อีกสถานที่ (หรือกิจกรรม) หนึ่งของโซ่คุณค่า จากการผ่านคงคลังในโซ่อุปทานไปลูกค้าโดยผู้จัดส่ง ดังนั้นเราจะเห็นได้ว่าโซ่อุปทานแบบลีน คือแนวคิดของผู้จัดส่งวัตถุดิบหรือสินค้าที่มีมุมมองความคิดว่าเราเป็น “เรือลำเดียวกัน” และแน่นอนว่ามีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดของการพัฒนาทิศทางของกระบวนการมากกว่ามุมมองทางฟังก์ชั่นการทำงาน โดยมีการรักษาไว้ซึ่งคุณค่าตลอดการส่งผ่านระหว่างกัน |
. |
รูปที่ 2 ยุทธวิธีของโซ่อุปทานแบบลีน |
. |
การจัดการโซ่อุปทานแบบลีน คือการวางแผน และการออกแบบ ระหว่างในหลาย ๆ พันธมิตรของโซ่อุปทานเพื่อนำส่งผลิตภัณฑ์ที่ถูกต้องตามการออกแบบ ถูกต้องตามปริมาณ ตามสถานที่และเวลา โซ่อุปทานลีนใช้กฎการผลิตของลีน และจะช่วยบริษัทในการตอบสนองในความต้องการโดยประมาณอัตราเฉลี่ยของความต้องการทั้งผลิตภัณฑ์ขั้นสุดท้ายและชิ้นส่วนประกอบ ตามรูปที่ 2 |
ปัจจัยหลักของ Lean Supply Chain |
1) การรักษาความร่วมมือของคุณค่าในการส่งผ่าน |
ในความพยายามดั้งเดิมเพื่อการสร้างความสัมพันธ์ระยะยาว ลูกค้า (บริษัทลำดับถัดไปในโซ่อุปทาน) อาจจะให้มีพารามิเตอร์ในการเปลี่ยนแปลง (เรียกว่า เป็นการแปรเทคนิค) ดังเช่น “การเปิดการเจรจาค้าขาย” นี่เป็นการแปรเพื่อการเพิ่มผลกำไรที่มากขึ้น ตามทฤษฎีจะเกิดขึ้นเมื่อลูกค้ามีผู้เชี่ยวชาญ (เช่น วิศวกรฝ่ายผลิต) หากผู้จัดส่งเปิดเผยข้อมูลทั้งหมดในด้านราคาที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการที่มีผลต่อผลิตภัณฑ์หรือบริการที่จะจัดส่งไปสู่ลูกค้า ก็เป็นไปได้ที่จะก่อให้เกิดการปรับปรุง พัฒนาและการแก้ปัญหา โซ่อุปทานแบบลีนจะมีการพัฒนาความสัมพันธ์ระยะยาวกับผู้จัดส่ง โดยเฉพาะการพัฒนาของผลิตภัณฑ์หรือบริการในระยะยาวไปสู่การเชื่อมต่อสายธารคุณค่าด้วยตนเอง (เช่น 5ส การพัฒนาลูกจ้าง และ คัมบัง เป็นต้น) |
. |
การค้นหาสำหรับการปรับปรุงเป็นส่วนหนึ่งที่มีประสิทธิผลของโซ่อุปทานแบบลีน การปรับปรุงนี้จะอยู่ในส่วนของสายธารคุณค่า (โซ่อุปทาน) และความต้องการที่เกี่ยวข้องกับลูกค้าในกระบวนการของผู้จัดส่ง สำหรับโซ่อุปทานแบบลีนจะเกิดขึ้นจริงได้ ลูกค้าจะต้องแบ่งปันข้อมูลกระบวนการกับผู้จัดส่งและยอมรับคำแนะนำจากต้นน้ำด้วย และพร้อมที่จะให้พวกเขาคาดหวังอิทธิพลต่อพันธมิตรโซ่อุปทาน ดังนั้นในโซ่อุปทานแบบลีน ผู้จัดส่ง (ลูกค้าลำดับถัดไป) จะร่วมกันป้องกันของคุณค่าในการส่งผ่านสินค้าสู่มือลูกค้าคุณ สุดท้าย |
. |
2) ประเมินความสัมพันธ์การร่วมมือระหว่างกัน |
การประเมินผู้จัดส่ง หรือโปรแกรมการรับประกันผู้จัดส่ง บ่อยครั้งที่ไปพร้อมกับพันธมิตรผู้จัดส่ง การประเมินนี้บ่อยครั้งจะมาจากจุดที่ได้เปรียบของลูกค้า จากมุมมองนี้ ลูกค้าอาจจะสามารถวิเคราะห์และการปรับปรุงสมรรถนะผู้จัดส่งโดยมีพื้นฐานโครงสร้างประเมินผู้ขาย โซ่อุปทานแบบลีน เน้นย้ำความร่วมมือระหว่างกัน ซึ่งจะสนับสนุนการประเมิน 2 แนวทาง ถามผู้จัดส่งในเรื่องผลกระทบ สำหรับผลสะท้อนกลับว่าสินค้าดีอย่างไร ดังนั้นโซ่อุปทานแบบลีนจะต้องการกระบวนการประเมินผลความสัมพันธ์ ตามความเน้นย้ำในลักษณะของการนำส่ง เส้นทางที่คุณค่าจะไหลจากองค์กรหนึ่งไปสู่องค์กรหนึ่ง ลูกค้าในโซ่อุปทานแบบลีน ข้อตกลงในความร่วมมือระหว่างกันมีความสำคัญเท่า ๆ กับการพัฒนา |
. |
3) คำขอโทษและข้อร้องเรียนถือเป็นความสูญเปล่า |
การเกิดคำขอโทษและข้อร้องเรียนจะเป็นการเพิ่มค่าใช้จ่าย และไม่ทำให้ทราบถึงสาเหตุที่แท้จริง สาเหตุของการเกิดปัญหาคำขอโทษและข้อร้องเรียนก็จะเกิดขึ้นมาอีก ถือเป็นความผิดพลาดที่สำคัญในจุดเชื่อมระหว่างโซ่อุปทาน โซ่อุปทานแบบลีนจะเรียก คำขอโทษและข้อร้องเรียนว่าเป็นมูดะ (ความสูญเปล่า) ซึ่งจะต้องถูกกำจัด ทฤษฎีพื้นฐานของโซ่อุปทานแบบลีนจะเรียกมุมมองในการซื้อขายและผู้จัดส่งจาก “พวกเขา” เป็น “พวกเรา” |
. |
กลยุทธ์ของโซ่อุปทานแบบลีน |
สำหรับโซ่อุปทานแบบลีนนั้น การส่งผ่านแนวคิดของลูกค้าไปสู่ตลอดสายโซ่อุปทานที่ถูกกลั่นกรองด้วยนโยบายเดียวกัน จะต้องการการประกอบไปด้วยยุทธวิธีที่เรียกว่า การแทรกแซง บนพื้นฐานความเชื่อที่ว่าลูกค้าสามารถแทรกแซงการดำเนินงานทางธุรกิจของผู้จัดส่งได้และนำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงที่ดีกว่า อย่างไรก็ตามการแทรกแซงในโซ่อุปทานแบบลีน ควรจะต้องมีการจำแนกและนำเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาในธุรกิจของผู้จัดส่ง และตรวจสอบการปฏิบัติของทีม (ในวันต่อ ๆ มา) และยังคงอยู่จนกระทั่งทุกคนพอใจ ในการพัฒนารวมเข้าไปในการทำงาน |
. |
และสิ่งที่มากกว่าการส่งผ่านแนวคิดของลูกค้าไปสู่ตลอดสายโซ่อุปทานก็คือกลยุทธ์ที่หลากหลาย ซึ่งประเภทความแตกต่างของการแทรกแซงจะนำประยุกต์ใช้ไปตามความเหมาะสม |
- ในโซ่อุปทานแบบลีน ลูกค้าจะต้องมั่นใจว่าผู้จัดส่งไม่อยู่นอกเหนือกฏเกณฑ์ทางการตลาด จะต้องเน้นย้ำความสนใจทั่วไปทำให้บริการโดยการแบ่งปันความรับผิดชอบจนไปสู่ภาวะกิจกรรมที่มีความกดดันทางการแข่งขัน - ความท้าทายสำหรับโซ่อุปทานแบบลีน คือการทบทวนการออกแบบเส้นทางใหม่ ซึ่งจะรับผิดชอบต่อการจัดการคุณค่าที่ถูกแบ่งปัน ตามที่การสำรวจผู้เชี่ยวชาญ (ที่ใดที่หนึ่งในโซ่อุปทาน) และการเน้นย้ำการตัดสินใจที่ส่งผลกระทบที่มีต่อหนึ่งส่วนของโซ่อุปทาน - ความเป็นผู้นำและการกระตุ้นยังเป็นสิ่งจำเป็น แต่ไม่ควรอยู่บนพื้นบนแนวคิดที่เด็ดขาดว่าใครควรมีบทบาทอย่างไร - โซ่อุปทานแบบลีนจะต้องนำเข้าสู่โครงสร้างทางบัญชี |
. |
การพัฒนาโซ่อุปทานแบบลีน |
การพัฒนาโซ่อุปทานแบบลีนมีการสมรรถนะที่สำคัญ 2 ประการ ซึ่งต้องการการพัฒนาโดยองค์กรดังต่อไปนี้ |
1. การประยุกต์เทคนิคของการผลิตแบบลีน ควรจะให้ความสำคัญอยู่บนการลดรอบเวลา ความสูญเปล่า และกิจกรรมที่ไม่เพิ่มคุณค่าในการวางแผนโซ่อุปทานและกระบวนการดำเนินงาน ดังเช่น การวางแผนคงคลัง การจัดการคลังสินค้าและการจัดซื้อ โดยจะมีผลในประสิทธิผลของกระบวนการที่มีการรวมตัวกันสูงกับกระบวนการอื่น ๆ สมรรถนะคงคลังคือผลลัพธ์ของประสิทธิผลของกระบวนการของคุณและการเรียนรู้กระบวนการที่หลากหลายจะช่วยลดรอบเวลาและความแปรปรวน ซึ่งถือเป็นตัวผลักดันสำคัญ 2 ประการของสินค้าคงคลัง |
. |
2. ในการสนับสนุนโซ่อุปทานลีน การตรวจติดตามคำสั่งซื้อแบบเรียลไทม์ การขนส่งและการมองเห็นคลังสินค้าถือเป็นจุดวิกฤต ชิ้นส่วนการให้บริการมีหลากหลายและแปรปรวน และไม่ขึ้นกับแหล่งข้อมูล ผลเหล่านี้ไม่สามารถทำนายการเปลี่ยนแปลงความต้องการได้ ซึ่งต้องการการตอบสนองในการดึงตลอดโซ่อุปทาน |
. |
การพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญ สามารถได้มาจากโซ่อุปทานแบบลีน สำหรับสินค้าที่ให้บริการ เพียงแต่หากคุณทำข้อตกลงกับระดับบริหาร เมื่อจะดำเนินการในขั้นตอนต่อไป คุณจะต้องมีความเข้าใจถึงว่า จะทำสิ่งต่อไปนี้ได้อย่างไร |
- ประยุกต์เทคนิคในขณะทำการพัฒนากลยุทธ์โซ่อุปทานของสินค้าการให้บริการ - แปลกลยุทธ์เข้าสู่เป้าหมายและวัตถุประสงค์เฉพาะ - จำแนกตัวชี้วัดสมรรถนะหลัก (KPI) และปัจจัยแห่งความสำเร็จที่วิกฤต ที่คุณต้องการจากผู้ใช้ของคุณ แบ่งและจัดองค์กรใหสามารถวัดได้ - สร้างแผนการปฏิบัติทั้งในระยะสั้นและระยะยาวเพื่อพัฒนาความสามารถที่คุณต้องการได้รับในการร่วมมือและการจัดแบ่งเป้าหมาย - นำเสนอการปรับปรุงกระบวนการและตรวจสอบว่าเป็นไปตามเป้าหมายและวัตถุประสงค์หรือไม่ - วัดสมรรถนะผ่านรายงานอัตราการเติมเต็ม และการหมุนเวียนสินค้าคงคลัง และ KPI ตัวอื่น ๆ - ตรวจติดตามสมรรถนะและปรับพฤติกรรมเพื่อคงไว้ซึ่งการเน้นย้ำและมั่นใจได้ว่าเป็นไปตามเป้าหมายและวัตถุประสงค์ที่ต้องการ |
. |
บทสรุป |
ผู้จัดการโซ่อุปทานจะรู้ถึงการรวบรวมและการปรับปรุง ดังเช่น การจัดการโซ่อุปทานลีน นำไปสู่ผลประโยชน์ทางการเงิน ผลกำไร และคุณค่าตลอดสายธารคุณค่า แต่การจะทำให้เกิดสิ่งเหล่านี้จะต้องมีความร่วมมือของทุกคนในองค์กร และจะทำให้ตอบสนองลูกค้าได้เป็นอย่างดี |
. |
ผู้ที่สนใจต้องการสอบถามเพิ่มเติม สามารถติดต่อสอบถามได้ที่ ดร.วิทยา สุหฤทดำรง กลุ่มวิจัยวิสาหกิจการผลิต ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ โทรศัพท์ 0-2913-2500 ต่อ 8135 หรือ E-mail: vithaya@vithaya.com |
สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2539 www.thailandindustry.com
Copyright (C) 2009 www.thailandindustry.com All rights reserved.
ขอสงวนสิทธิ์ ข้อมูล เนื้อหา บทความ และรูปภาพ (ในส่วนที่ทำขึ้นเอง) ทั้งหมดที่ปรากฎอยู่ในเว็บไซต์ www.thailandindustry.com ห้ามมิให้บุคคลใด คัดลอก หรือ ทำสำเนา หรือ ดัดแปลง ข้อความหรือบทความใดๆ ของเว็บไซต์ หากผู้ใดละเมิด ไม่ว่าการลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดของบทความนี้ไปใช้ ดัดแปลง โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร จะถูกดำเนินคดี ตามที่กฏหมายบัญญัติไว้สูงสุด