Toyota เริ่มเป็นที่จับตามองในช่วงทศวรรษที่ 80 เมื่อเริ่มเป็นที่ประจักษ์ถึงความพิเศษเกี่ยวกับคุณภาพและประสิทธิภาพขององค์กรญี่ปุ่น รถญี่ปุ่นมีอายุที่ยืนยาวกว่ารถอเมริกัน และต้องการการซ่อมแซมที่น้อยกว่ามาก มีกระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เร็วที่สุดในโลก การออกแบบรถยนต์และรถบรรทุกใหม่ใช้เวลา 12 เดือนหรือน้อยกว่านั้น
ก่อนอื่นต้องขออภัยท่านผู้อ่านทุกท่านที่หายหน้าหายตาไปสักพักหนึ่ง ผมมีภารกิจแน่นพอสมควรในเรื่องที่เกี่ยวกับลีน และในงานบรรยายตามสัมมนาต่าง ๆ พบว่าความตื่นตัวในเรื่องแนวคิดแบบลีนยังไม่ได้รับความนิยมมากเท่าไรนัก ผิดกับความนิยมเรื่อง Six Sigma ที่ได้รับการตอบรับจากอุตสาหกรรมได้ง่ายกว่า เพราะมีกรณีศึกษาจากความสำเร็จในการนำไปใช้ของบริษัท GE และมีหนังสือและตัวอย่างการใช้งานมากมาย อาจเป็นเพราะขอบเขตของการใช้งาน (Implementation) ของ Six Sigma นั้นเล็กและปฏิบัติงานเป็นโครงงานเล็ก ๆ ได้ง่ายกว่า ยิ่งในปัจจุบันแนวคิดของ Six Sigma ได้มาอยู่รวมกับ Lean แล้วยิ่งทำให้เกิดความสับสนกันมากขึ้น ผมจึงพยายามหาแนวทางในการแสดงให้เห็นถึงความสำเร็จในการนำเอาแนวคิดของต้นฉบับของ “ลีน” โดยบริษัท โตโยต้า ในรูปแบบของ The Toyota Way (วิถีแห่งโตโยต้า) ที่จริงแล้ว The Toyota Way (วิถีแห่งโตโยต้า) เป็นหนังสือที่ Dr. Jeffery Liker ผู้เชี่ยวชาญเรื่อง ลีน เขียนขึ้นมาเพื่ออธิบายความเป็นมาและวิธีการพัฒนาแนวคิดแบบลีน (ต้นฉบับ) จนประสบผลสำเร็จเป็นวัฒนธรรมที่ฝังรากลึกในบริษัท โตโยต้า จนเป็น The Toyota Way (วิถีแห่งโตโยต้า) และเป็นหนังสือที่ผมกำลังแปลอยู่เพื่อเป็นการถ่ายทอดความรู้ของแนวคิดแบบลีนสู่อุตสาหกรรมไทย |
. |
ความจริงเกี่ยวกับ |
Toyota เริ่มเป็นที่จับตามองในช่วงทศวรรษที่ 80 เมื่อเริ่มเป็นที่ประจักษ์ถึงความพิเศษเกี่ยวกับคุณภาพและประสิทธิภาพขององค์กรญี่ปุ่น รถญี่ปุ่นนั้นมีอายุที่ยืนยาวกว่ารถอเมริกัน และต้องการการซ่อมแซมที่น้อยกว่ามาก และในช่วงทศวรรษที่ 90 Toyota นั้นเริ่มมีความพิเศษเมื่อเทียบกับผู้ผลิตรถยนต์รายอื่นของญี่ปุ่นอย่างเด่นชัด (Womack, Jones และ Roos, 1991) สิ่งที่พิเศษนั้นมิใช่การออกแบบรถยนต์ที่สะดุดตาหรือสมรรถนะที่ยอดเยี่ยม ถึงแม้ว่ารถยนต์ Toyota มีลักษณะการขับขี่เป็นไปอย่างนุ่มนวลและมีการออกแบบที่ประณีต แต่สิ่งนั้นคือแนวทางที่ Toyota สร้างและผลิตรถยนต์ ซึ่งนำไปสู่กระบวนการผลิตและผลิตภัณฑ์ที่มีความสม่ำเสมออย่างไม่น่าเชื่อ Toyota ออกแบบรถยนต์ได้รวดเร็วกว่า โดยมีความน่าเชื่อถือได้ที่มากกว่า แต่ยังคงไว้ซึ่งต้นทุนที่สามารถแข่งขันในตลาดได้ ถึงแม้ว่าบางช่วงเวลาอาจจะต้องจ่ายค่าแรงที่ค่อนข้างสูงให้กับคนงานญี่ปุ่นก็ตาม ที่น่าทึ่งอีกอย่างหนึ่งคือ ทุก ๆ ครั้งที่ Toyota แสดงให้เห็นถึงจุดอ่อนและดูเหมือนจะเป็นเป้าให้คู่แข่งสามารถโจมตีได้ Toyota ก็แก้ไขปัญหาและกลับมาแข็งแกร่งยิ่งกว่าเก่าได้อย่างน่าอัศจรรย์ ปัจจุบันนี้ Toyota เป็นผู้ผลิตรถยนต์ขนาดใหญ่เป็นอันดับที่สามในโลก รองจาก General Motors (GM) และ Ford โดยพิจารณาจากยอดขายยานพาหนะทั่วโลกซึ่งมีมากกว่าหกล้านคันต่อปีใน 170 ประเทศ อย่างไรก็ตาม Toyota นั้นทำกำไรได้มากกว่าผู้ผลิตรถยนต์รายอื่น ๆ เป็นอย่างมาก นักวิเคราะห์อุตสาหกรรมยานยนต์ได้ประเมินไว้ว่า ยอดขายของ Toyota จะแซงหน้ายอดขายของ Ford ที่ขายทั่วโลกได้ในปี 2005 และถ้าแนวโน้มดังกล่าวยังคงดำเนินอยู่ต่อไป Toyota จะแซงผ่าน GM ได้ และในที่สุดจะกลายมาเป็นผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ที่สุดในโลก |
. |
ผู้สันทัดกรณีในอุตสาหกรรมยานยนต์ทุกคนและผู้บริโภคจำนวนมากคุ้นเคยกับความสำเร็จในเชิงธุรกิจอย่างน่าทึ่ง และคุณภาพชั้นนำในระดับโลกของ |
. |
ผลกำไรรายปีของ |
. |
ในขณะที่มูลค่าหุ้นของ 3 บริษัทผู้ผลิตรถยนต์ยักษ์ใหญ่ (Big 3 ซึ่งหมายถึง GM, Ford และ Chrysler - ผู้แปล) นั้นตกลงมาในช่วงปี 2003 มูลค่าหุ้นของ Toyota นั้นเพิ่มขึ้นจากปี 2002 ถึง 24% มูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดของ Toyota (มูลค่าโดยรวมของราคาหุ้นของบริษัท) มีมูลค่า 105 พันล้านดอลลาร์ในปี 2003 ซึ่งมีค่าสูงกว่ามูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดของ Ford, GM และ Chrysler รวมกัน ซึ่งถือเป็นสถิติที่น่าทึ่งมาก อัตราผลตอบแทนจากทรัพย์สิน (Return on Assets-ROA) นั้นสูงกว่าค่าเฉลี่ยของอุตสาหกรรม 8 เท่า ตลอดช่วงเวลาเกินกว่า 25 ปีที่ผ่านมาบริษัททำกำไรได้ในทุกปี และมีเงินทุนสะสมอยู่ 2-3 หมื่นล้านดอลลาร์บนพื้นฐานที่มั่นคง |
. |
เป็นเวลานับทศวรรษที่ Toyota เป็นผู้ผลิตรถยนต์หมายเลขหนึ่งในญี่ปุ่น และเป็นผู้ผลิตลำดับที่สี่ตามหลังบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ 3 ยักษ์ใหญ่ (Big 3) ในอเมริกาเหนืออยู่อย่างห่าง ๆ แต่ทว่าในเดือนสิงหาคมของปี 2003 เป็นครั้งแรกที่ Toyota ขายยานพาหนะในอเมริกาเหนือได้มากกว่า Chrysler ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ผลิตรถยนต์ “3 ยักษ์ใหญ่” ดูเหมือนว่าในที่สุด Toyota ก็ได้กลายมาเป็นสมาชิกของผู้ผลิตรถยนต์ “3 ยักษ์ใหญ่” ของของสหรัฐอเมริกาอย่างถาวรแล้ว (จากรถยนต์ Toyota/Lexus 1.8 ล้านคันที่ขายในอเมริกาเหนือ ในปี 2002 นั้น รถยนต์จำนวน 1.2 ล้านคันได้ถูกผลิตขึ้นในอเมริกาเหนือ ในขณะเดียวกับที่ผู้ผลิตอเมริกันนั้นกำลังมองหาช่องทางในการปิดโรงงาน ลดกำลังการผลิต และย้ายสายการผลิตไปยังต่างประเทศ Toyota นั้นกลับกำลังขยายกำลังการผลิตอย่างรวดเร็วในสหรัฐอเมริกา) |
. |
ในปี 2003 |
. |
เมื่อไม่นานมานี้เป็นที่ทราบกันดีว่า |
. |
Toyota ได้คิดค้น “การผลิตแบบลีน” (หรือเป็นที่ทราบกันว่า “ระบบการผลิตแบบโตโยต้า” (Toyota Production System หรือ “TPS”) ซึ่งได้จุดประกายให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั่วโลกในเกือบทุกอุตสาหกรรม ให้ไปเป็นปรัชญาและวิธีการของการผลิตและโซ่อุปทานแบบโตโยต้า ในช่วงทศวรรษล่าสุด ระบบการผลิตแบบโตโยต้าเป็นจุดเริ่มต้นของหนังสือจำนวนมากที่เกี่ยวกับ ระบบการผลิตแบบลีน รวมไปถึงหนังสือที่ขายดีที่สุดสองเล่ม คือ The Machine that Changed the World : The Story of Lean Production (Womack, Jones, Roos, 1991) และ Lean Thinking (Womack, Jones, 1996) พนักงานของ Toyota นั้นเป็นที่ต้องการตัวจากบริษัทต่าง ๆ ในเกือบทุกอุตสาหกรรมทั่วโลก เนื่องมาจากความเชี่ยวชาญในด้านนี้ |
. |
Toyota มีกระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เร็วที่สุดในโลก การออกแบบรถยนต์และรถบรรทุกใหม่ใช้เวลาเพียง 12 เดือนหรือน้อยกว่านั้น ในขณะที่คู่แข่งโดยปกติแล้วจะต้องใช้เวลา 2-3 ปี |
. |
|
. |
ความสำเร็จของ |
ความสำเร็จอย่างมากของ Toyota มาจากชื่อเสียงเกี่ยวกับคุณภาพอันเป็นที่กล่าวขวัญ ผู้ใช้รถทราบดีว่าพวกเขาสามารถวางใจได้ว่ายานยนต์ Toyota นั้น เมื่อผ่านการใช้งานครั้งแรกแล้วจะสามารถใช้งานได้อย่างต่อเนื่อง ในขณะที่บริษัทรถยนต์ทางยุโรปและสหรัฐอเมริกาผลิตยานยนต์ที่อาจจะใช้งานได้ดีเมื่อยังใหม่อยู่ แต่สักปีหนึ่งผ่านไปจะต้องถูกนำไปเข้าอู่เป็นส่วนมาก (อย่างค่อนข้างแน่นอน) การเรียกคืน (Recall) รถยนต์ Toyota ในปี 2003 ในสหรัฐอเมริกา ต่ำกว่าการเรียกคืนของ Ford อยู่ 79% และน้อยกว่า Chrysler อยู่ 92% จากการศึกษาของนิตยสาร Consumer Reports ในปี 2003 ซึ่งเป็นหนึ่งในนิตยสารสำหรับผู้ที่ต้องการซื้อรถยนต์ที่มีผู้อ่านกว้างขวางที่สุด ระบุไว้ว่ามีรุ่นของรถยนต์ Toyota/Lexus จำนวน 15 รุ่นจากทั้งหมด 38 รุ่นของผู้ผลิตอื่น ๆ ที่ได้รับความน่าเชื่อถือมากที่สุด ในช่วงเจ็ดปีล่าสุดที่ผ่านมา ไม่มีผู้ผลิตรายอื่นใดที่สามารถทำได้ใกล้เคียงนี้เลย และไม่มีรถยนต์รุ่นใดของ ทั้ง GM, Mercedes และ BMW อยู่ในรายชื่อดังกล่าว ไม่มีรถยนต์ Toyota แม้แต่รุ่นเดียวที่อยู่ในรายชื่อ "ยานยนต์ที่ต้องหลีกเลี่ยง" (Vehicle to Avoid) ในขณะที่มีรถยนต์ Ford บางรุ่น รวมถึงเกือบครึ่งหนึ่งของ GM และกว่าครึ่งของ Chrysler นั้นควรต้องหลีกเลี่ยง |
. |
นิตยสาร Consumer Reports ปี 2003 ระบุถึงสถิติที่บ่งชี้ถึงสิ่งต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ |
. |
ในประเภทรถยนต์ขนาดเล็ก ( |
. |
สำหรับรถยนต์ครอบครัวสี่ประตู (Family |
. |
รถยนต์ |
. |
Toyota/Lexus ยังครองความเป็นหนึ่งในด้าน “คุณภาพแรกเริ่ม” และความทนทานในระยะยาวของ J.D. Powers ที่จัดลำดับมาแล้วหลายปี Lexus ของ |
. |
เคล็ดลับสู่ความเป็น ลีน |
อะไรคือเคล็ดลับที่นำไปสู่ความสำเร็จของ |
. |
สรุป |
ผมเชื่อว่าท่านอาจจะไม่เคยได้รับรู้เรื่องราวความสำเร็จของ |
สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2539 www.thailandindustry.com
Copyright (C) 2009 www.thailandindustry.com All rights reserved.
ขอสงวนสิทธิ์ ข้อมูล เนื้อหา บทความ และรูปภาพ (ในส่วนที่ทำขึ้นเอง) ทั้งหมดที่ปรากฎอยู่ในเว็บไซต์ www.thailandindustry.com ห้ามมิให้บุคคลใด คัดลอก หรือ ทำสำเนา หรือ ดัดแปลง ข้อความหรือบทความใดๆ ของเว็บไซต์ หากผู้ใดละเมิด ไม่ว่าการลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดของบทความนี้ไปใช้ ดัดแปลง โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร จะถูกดำเนินคดี ตามที่กฏหมายบัญญัติไว้สูงสุด