เนื้อหาวันที่ : 2006-09-11 18:50:20 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 8850 views

LEAN LOGISTICS : ก้าวสู่การปรับปรุงโครงสร้างธุรกิจที่พอเพียง

ปัจจุบันนี้ หลายบริษัทกำลังอยู่ในช่วงการเปลี่ยนแปลงเรื่องการปรับปรุงโครงสร้างใหม่ และเริ่มมีกระแสนิยมกันมากขึ้น ซึ่งการปรับเปลี่ยนนี้เกิดจากมุมมองของกิจกรรมด้านลอจิสติกส์ แต่สิ่งที่จะทำให้ประสบสำเร็จตามมุมมองนี้ ต้องมีการเปลี่ยนแปลงขนาดใหญ่ซึ่งมีผลกระทบต่อองค์กรและต้องปรับปรุงกระบวนการลอจิสติกส์หลัก

ในปัจจุบันนี้ หลาย ๆ บริษัทกำลังอยู่ในช่วงการเปลี่ยนแปลงเรื่องการปรับปรุงโครงสร้างใหม่ (Restructuring) และเริ่มมีกระแสนิยมกันมากขึ้น ซึ่งการปรับเปลี่ยนนี้เกิดจากมุมมองของกิจกรรมด้านลอจิสติกส์ แต่สิ่งที่จะทำให้ประสบสำเร็จตามมุมมองนี้ ต้องมีการเปลี่ยนแปลงขนาดใหญ่ซึ่งมีผลกระทบต่อองค์กรและต้องปรับปรุงกระบวนการลอจิสติกส์หลัก รวมทั้งความสามารถของกระบวนการ เพื่อที่จะเป็นระบบนวัตกรรมที่พอเพียงหรือลอจิสติกส์แบบลีน (Lean Logistics) ด้วยความคิดของผมในการพัฒนากระบวนการด้านลอจิสติกส์ในองค์กร จะต้องมีองค์ประกอบ 3 ประการคือ การเปลี่ยนแปลง สิ่งท้าทายและโอกาส โดยองค์ประกอบต่าง ๆ เหล่านี้เป็นหัวใจในการพัฒนาภายใต้แนวคิดลอจิสติกส์แบบลีน และการที่จะเป็นนักลอจิสติกส์ที่ดี ควรต้องมีการปรับปรุงด้านลอจิสติกส์อย่างต่อเนื่อง ครอบคลุมตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำด้วยองค์ประกอบนี้

.

 .
ลอจิสติกส์แบบลีน : ยุคใหม่แห่งการเปลี่ยนแปลง

จากสภาการจัดการลอจิสติกส์ (Council of Logistics Management : CLM) ของสหรัฐอเมริกา ได้ให้คำจำกัดความของลอจิสติกส์ (Logistics) ไว้ดังนี้ "ลอจิสติกส์ คือ กระบวนการ การวางแผน การนำไปใช้งาน พร้อมกับควบคุมการไหลอย่างมีประสิทธิภาพ และการเคลื่อนที่พร้อมด้วยการจัดเก็บของวัตถุดิบสินค้าคงคลังระหว่างกระบวนการ สินค้าสำเร็จรูป และข้อมูลที่เกี่ยวข้องจากจุดเริ่มต้นของการจัดหาจนถึงจุดของการบริโภค โดยมีความมุ่งหมายที่จะให้ตรงกับความต้องการของลูกค้า" ซึ่งเราสามารถอธิบายลักษณะของลอจิสติกส์ได้คือ กิจกรรมต่าง ๆ ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการไหลของวัตถุดิบและสินค้า ข้อมูล และการชำระเงิน ระหว่างผู้จัดส่งวัตถุดิบ ผู้ผลิต และผู้บริโภคจากจุดเริ่มต้นของวัตถุดิบจนไปถึงมือลูกค้า ยิ่งไปกว่านั้นลอจอสติกส์ยังขยายขอบเขตออกไปจนถึงการกำจัดทิ้งหรือการนำมาใช้ใหม่ด้วย มีหลายคนคงสงสัยว่ากิจกรรมใดบ้างเป็นลอจิสติกส์ กิจกรรมอะไรไม่ได้เป็นลอจิสติกส์ มีข้อสังเกตได้ง่าย คือ ลอจิสติกส์ เป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนที่การไหลของทรัพยากรวัตถุดิบหรือผลิตภัณฑ์ (Flow of Material) กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการวางแผน การนำเอาไปใช้และควบคุมการเคลื่อนที่ของวัตถุดิบที่เข้าสู่กระบวนการเพิ่มคุณค่าในตัวสินค้า การเคลื่อนที่เหล่านี้ถือว่าเป็นกิจกรรมลอจิสติกส์ เพราะเป็นการเคลื่อนที่อย่างมีคุณค่าเพิ่ม

.

เมื่อกล่าวถึงคำว่า คุณค่าเพิ่ม ก็คงจะต้องไม่พ้นการใช้แนวคิดแบบลีน ซึ่งแนวคิดนี้เน้นถึงการสร้างคุณค่าเพิ่มโดยการกำจัดความสูญเปล่า (Waste) อย่างมีระบบแบบแผน และเข้ามามีบทบาทที่สำคัญสำหรับนักลอจิสติกส์สมัยใหม่ ในเรื่องการเปลี่ยนแปลงการดำเนินงานทางธุรกิจ ดังนั้นเรามาดูคำจำกัดความของลอจิสติกส์แบบลีนกันก่อนดีกว่า "ลอจิสติกส์แบบลีนเป็นลำดับของการเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างกิจกรรมซึ่งสนับสนุนความสามารถทางด้านการเพิ่มคุณค่า กำจัดความสูญเปล่าและเพิ่มความสามารถสำหรับการดำเนินงานของระบบ ช่วยลดพื้นที่ที่ใช้สำหรับลอจิสติกส์และปรับโครงสร้างพื้นฐาน" เป้าหมายของลอจิสติกส์แบบลีนก็คือเพื่อที่จะสนับสนุนและเพิ่มความสามารถทางด้านกระบวนการเพิ่มคุณค่า ในขณะที่สามารถลดต้นทุนในการปฏิบัติงานขององค์กร จากวิธีการปรับปรุงการฝึกปฏิบัติทางธุรกิจที่ใช้เทคโนโลยีที่ก้าวหน้า มีความเหมาะสมและกระบวนการที่สอดคล้องกัน และอาศัยหลักการปรับโครงสร้างพื้นฐานตลอดทั้งกลุ่มลอจิสติกส์ขององค์กร

.

กฎพื้นฐานสามประการของแนวคิดนี้ที่นำมาใช้กับธุรกิจทั่วไป อย่างแรก ความพร้อมสำหรับการทำ "Benchmarks" ขององค์กรและความพร้อมใช้งานของระบบ ซึ่งมีความจำเป็นสำหรับองค์กร อย่างที่สอง คือการฝึกแนวทางปฏิบัติทางธุรกิจสำหรับลอจิสติกส์แบบลีนและกระบวนการต่าง ๆ ควรเหมาะสมและมีประสิทธิผลในช่วงเวลาที่มีออร์เดอร์ (Order) น้อย และระหว่างเหตุการณ์ที่ไม่แน่นอนต่าง ๆ ในวิสาหกิจ และ อย่างสุดท้าย คือ การปรับโครงสร้างพื้นฐานของลอจิสติกส์จากการใช้ลอจิสติกส์แบบลีนเพื่อทำให้องค์กรปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิผล ใช้ทรัพยากรน้อยลงแต่ยังสนับสนุนและเตรียมความพร้อมการดำเนินงานขององค์กรในช่วงเวลาที่มีออร์เดอร์เปลี่ยนแปลงไป

.

ตารางที่ 1 การเปลี่ยนแปลงกระบวนการลอจิสติกส์

.

ลอจิสติกส์แบบลีนเปลี่ยนวิธีการปฏิบัติงานของเราในปัจจุบันไปสู่แก่นของลอจิสติกส์ได้อย่างไร จากตารางที่ 1 จะแสดงให้เห็นถึงการปรับปรุงเริ่มแรกเพื่อนำไปสู่ลอจิสติกส์ที่ดีขึ้น และความพร้อมที่เพิ่มมากขึ้น โดยตำแหน่งแรกที่สำคัญในสถาปัตยกรรมลอจิสติกส์แบบลีน ก็คือการบำรุงรักษาแบบที่ทุกคนมีส่วนร่วม การริเริ่มอันนี้มีความสำคัญในการปฏิบัติงานขณะที่ในเวลาเดียวกันนั้นจะลดพื้นที่สำหรับการเคลื่อนที่ภายในองค์กรและต้นทุนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการสนับสนุนกิจกรรมการเคลื่อนย้ายวัตถุดิบ/จัดส่งสินค้า และการบำรุงรักษาแบบที่ทุกคนมีส่วนร่วม ไม่เพียงแต่จะประหยัดทรัพยากร แต่ยังช่วยเพิ่มศักยภาพในการสนับสนุนเหตุการณ์ความไม่แน่นอนต่าง ๆ โดยวิธีการลดพื้นที่การเคลื่อนที่ และช่วยผ่อนแรงจากการจัดเตรียมอุปกรณ์ด้านการซ่อมบำรุง

.

จากแนวคิดนี้อะไรที่ทำให้การปรับความสอดคล้องกันเกิดความเป็นไปได้ ? คำตอบนั้น เรียบง่ายราวเหมือนภาพลวงตาก็คือ การทำงานทุกวันของการบำรุงรักษาแบบที่ทุกคนมีส่วนร่วม การส่งมอบที่ตรงต่อเวลา และการส่งคืนวัตถุดิบ/สินค้า การส่งมอบในแต่ละวันที่มีความแน่นอน โดยจะใช้โครงสร้างพื้นฐานของวิสาหกิจทางด้านการพาณิชย์ของการขนส่งวัตถุดิบและสินค้าในเวลาที่มีออร์เดอร์ที่ไม่แน่นอน และการส่งมอบสินค้าตามสายธารคุณค่าตั้งแต่ผู้จัดส่งวัตถุดิบจนถึงลูกค้าระหว่างเกิดเหตุการณ์ความไม่แน่นอนต่าง ๆ การส่งมอบสินค้าตามสายธารคุณค่าตั้งแต่ผู้จัดส่งวัตถุดิบจนถึงลูกค้านั้นเป็นการปรับปรุงเกี่ยวกับการเคลื่อนย้ายและส่งมอบแบบเร่งด่วนทางด้านการพาณิชย์ และพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานวิสาหกิจของผู้ขนวัตถุดิบและส่งสินค้า ระบบการกระจายส่งสินค้าแบบพิเศษ

.

องค์ประกอบต่าง ๆ ที่ทำให้การริเริ่มลอจิสติกส์แบบลีนนั้นมีคุณค่าประโยชน์ต่อวิสาหกิจ ( Enterprise ) คือการส่งมอบที่มีความรวดเร็วสูงและการจัดส่งวัตถุดิบต่าง ๆ ให้มีความน่าเชื่อถือสูงในช่วงมีออร์เดอร์น้อยหรือมาก อันที่จริงแล้วองค์ประกอบต่าง ๆ เหล่านี้ทำหน้าที่เสมือนเป็นรากฐานสำหรับการใช้แนวทางปฏิบัติทางธุรกิจสมัยใหม่ขององค์กรซึ่งมีการใช้เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เช่น สินค้าคงคลังแบบทันเวลาพอดี (JIT) การส่งมอบสินค้าตามสายธารคุณค่าตั้งแต่ผู้จัดส่งวัตถุดิบจนถึงลูกค้าและอื่น ๆ ดังแสดงใน "Building Chart" ของลอจิสติกส์แบบลีนในรูปที่ 1 แสดงถึงความสัมพันธ์ต่าง ๆ ขององค์ประกอบ

.

การริเริ่มลอจิสติกส์แบบลีนที่เป็นหัวใจอีกอย่างหนึ่งซึ่งเปลี่ยนวิถีทางที่เราใช้ดำเนินธุรกิจคือ การซ่อมและการส่งคืนบรรจุภัณฑ์ ซึ่งได้ถูกดำเนินการเป็นรูปธรรมร่วมกับการบำรุงรักษาแบบที่ทุกคนมีส่วนร่วม ซึ่งปฏิบัติงานเพื่อที่จะเพิ่มความเร็วในการเคลื่อนที่วัตถุดิบ (ที่มีราคาสูง, ขาดแคลน) โดยวิธีการทำให้จำนวนจุดปฏิบัติการมีจำนวนน้อยที่สุด ดังนั้นจากการทำเช่นนี้ จะทำให้วัตถุดิบต่าง ๆ เข้าไปสู่เส้นทางการลำเลียงการผลิต การซ่อมและการขนส่งเร็วขึ้น และผลสุดท้ายจะทำให้มีผลกำไรมากกว่า ใช้ต้นทุนน้อยกว่า และยังตอบสนองมากกว่าอีก มีการรับประกันและตรงเวลา

.
สิ่งท้าทายต่อนักลอจิสติกส์ : นวัตกรรม

สิ่งท้าทายในยุคใหม่ทำให้แนวคิดนี้สำคัญยิ่ง ซึ่งนักลอจิสติกส์ขององค์กรได้พบบทเรียนด้านลอจิสติกส์ขององค์กรในปีที่กำลังมาถึงโดยการสนับสนุนเรื่องนวัตกรรม (Innovation) และการพยายามในการดำเนินการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง ต่อแนวทางปฏิบัติธุรกิจและกระบวนการลอจิสติกส์เพื่อให้เป็นรูปธรรม

.

การที่เรามุ่งเน้นเรื่องการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องมากขึ้นนั้นหมายถึงเราควรละทิ้งแนวทางปฏิบัติธุรกิจขององค์กรและกระบวนการลอจิสติกส์ในปัจจุบันใช่หรือไม่ แน่นอน มันไม่ใช่เช่นนั้น เราควรประเมินสิ่งที่เราทำ พิจารณาว่าทำไมเราถึงทำแนวทางนี้ ประเมินสิ่งที่แนวทางนี้ให้แก่เราและตัดสินว่าปัจจัยขาออก (Output) ที่ได้นั้นคุ้มค่ากับปัจจัยขาเข้า (Input) ที่กำหนดหรือไม่ รวมทั้งความจำเป็นด้านความปลอดภัยในปัจจุบันและข้อจำกัดทางทรัพยากร ดังนั้นถ้าจำเป็นต้องมีการเปลี่ยนแปลง เราควรจะมองทุก ๆ วิธีและหาวิธีที่ดีกว่าโดยการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องหมายถึงการศึกษาสิ่งที่ใช้ได้ ใช้ไม่ได้ ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น และภายใต้เงื่อนไขอะไร หรือจะหมายถึงการมุ่งหวังไปสิ่งใหม่ ๆ เพื่อที่จะตอบปัญหาแบบเดิม ๆ ยกตัวอย่างสิ่งที่นักลอจิสติกส์ได้คิดไว้เมื่อ10 ปีที่แล้วว่า แนวทางปฏิบัติเชิงธุรกิจ "การติดป้ายส่งคืน (Return Labeling)" ของการสั่งของทางไปรษณีย์นั้นจะช่วยเราพัฒนาแนวความคิดการซ่อมและการส่งคืนบรรจุภัณฑ์ ซึ่งขณะนี้เราใช้การซ่อมและการส่งคืนบรรจุภัณฑ์ ในการสนับสนุนระบบการจัดการวัตถุดิบขององค์กรโดยใช้ต้นทุนลดน้อยลง

.

แล้วเราไปหาความคิดในการตรวจสอบและปรับปรุงจากที่ไหน ดูจากมุมมองแบบมหภาคและจุลภาค ? หลักการและหลักสูตรสองสามอย่าง น่าจะเป็นแหล่งกำเนิดของนวัตกรรมซึ่งส่งผลกระทบต่อแนวทางปฏิบัติลอจิสติกส์ และกระบวนการต่าง ๆ รายชื่อสั้น ๆ ของหลักสูตรนั้นจะเป็นเนื้อหาเกี่ยวกับวิศวกรรมอุตสาหการและการจัดการทรัพยากร รายชื่อของหลักการต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ในด้านเพิ่มการควบคุมและลดต้นทุนให้กับผู้ใช้ขณะที่การส่งมอบสินค้าอยู่ในระดับคุณภาพที่แน่นอน เช่น แนวทางปฏิบัติ JIT, แผนภาพการตัดสินใจในการปรับปรุง, การบริหารสินค้าที่มีความสอดคล้องกัน, และการผลิตแบบยืดหยุ่น รวมทั้งกระบวนการซ่อม ประเด็นสำคัญคือ ไม่ว่าเราจะใช้หลักสูตรทั้งหมด หรือเพียงหลักการเดียว ขณะนี้เรากำลังค้นพบความสามารถของตนเองสำหรับการปรับปรุงแนวทางปฏิบัติลอจิสติกส์ของเราและกระบวนการต่าง ๆ อย่างไรก็ตามความสามารถนี้จะต้องพัฒนาอย่างต่อเนื่องด้วยและเป็นหัวใจสำคัญสำหรับการเป็นผู้นำและถือได้ว่าเราเป็นนักลอจิสติกส์ระดับแถวหน้า

.
โอกาสต่าง ๆ สำหรับการเป็นผู้นำ : ประโยชน์ของนวัตกรรม

ด้วยการปรับโครงสร้างใหม่ของทีมปฏิบัติงานและการมีต้นทุนหรืองบประมาณสำรองลดลงนั้นกลายเป็นโอกาสที่ดีสำหรับนักลอจิสติกส์เพื่อที่จะปฏิบัติงานและกลายเป็นผู้นำในทุกระดับ มีการสนับสนุนและการดำเนินงานด้านนวัตกรรมเพื่อทำให้งานลอจิสติกส์เป็นรูปธรรม โอกาสของการเป็นผู้นำนั้นขึ้นอยู่กับข้อกำหนดเบื้องต้นเพื่อพัฒนาพื้นฐาน ประสบการณ์และทักษะความเป็นนักลอจิสติกส์มืออาชีพ

.

อย่างแรก นักลอจิสติกส์ต้องมีข้อกำหนดเบื้องต้นนี้จากผู้มีประสบการณ์ด้านลอจิสติกส์และการปฏิบัติงานระดับวิสาหกิจ โดยแรกเริ่มนี้จะต้องมีวิธีการหรือขั้นตอนในการปฏิบัติงานที่ประสบความสำเร็จตามแนวทางลอจิสติกส์เบื้องต้นขององค์กร พร้อมกับปฏิบัติให้เกิดความชำนาญและเกิดผลสำเร็จขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม การเพิ่มความชำนาญพิเศษด้านลอจิสติกส์อื่น ๆ นั้นเป็นเพียงแค่เพิ่มความสามารถของส่วนบุคคลเท่านั้น แต่สิ่งที่สำคัญอย่างนั้นขึ้นอยู่ว่าการเป็นนักลอจิสติกส์มืออาชีพนั้นต้องมีการสร้างและเลือกเครื่องมือต่าง ๆ ในการพัฒนาปรับปรุงองค์กรและกลายเป็นผู้นำนวัตกรรมในสภาพแวดล้อมลอจิสติกส์ปัจจุบันและอนาคต

.

และ อย่างที่สอง ที่เราควรจะต้องตระหนักคือ ต้องมีการสนับสนุนวิสัยทัศน์ขององค์กร ถึงแม้การฝึกอบรมจะทำให้นักลอจิสติกส์เป็นมืออาชีพได้ แต่หัวใจลอจิสติกส์ที่มีความสำคัญมากที่สุดในการปฏิบัติจริงคือเราต้องมีประสบการณ์สูง มีความรู้กว้างขวาง และต้องเพิ่มความสามารถเพื่อที่จะสนับสนุนวิสัยทัศน์ขององค์กร

.
บทสรุป 

เราจำเป็นที่จะต้องผลักดันองค์กรให้เจริญก้าวหน้าต่อไป และลอจิสติกส์แบบลีนนี้เป็นวิธีการที่สำคัญในการปฏิบัติเช่นนั้น เนื่องจากแนวคิดนี้เป็นระบบของการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องซึ่งนำโครงสร้างลอจิสติกส์ของเราไปสู่เส้นทางเดียวกับโครงสร้างขององค์กร นอกจากนี้เราต้องลดต้นทุนและเพิ่มความสามารถในการสนับสนุนลอจิสติกส์ สิ่งท้าทายของเราก็คือการปรับโครงสร้างพื้นฐานลอจิสติกส์ ให้มีขนาดเล็กที่สุด และมีความพร้อมรองรับการดำเนินธุรกิจขององค์กรได้

.

เมื่อเราสามารถรักษาระบบการผลิตให้อยู่ภายในงบประมาณของเรา เราทำสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้อย่างฉลาด มีประสิทธิภาพในกิจกรรมด้านต่าง ๆ ได้จากลอจิสติกส์แบบลีน นอกจากนี้ยังมีผลทำให้เรามีความพร้อมในจัดเตรียมเงินลงทุนเข้าสู่ระบบการผลิต ค่าใช้จ่ายสำหรับเจ้าหน้าที่ เครื่องมือและเทคโนโลยี โดยอาศัยการประเมินโครงการ มีแผนงานและวิธีการ และจัดการทรัพยากรลอจิสติกส์ขององค์กรอย่างรอบคอบ

สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2539 www.thailandindustry.com
Copyright (C) 2009 www.thailandindustry.com All rights reserved.

ขอสงวนสิทธิ์ ข้อมูล เนื้อหา บทความ และรูปภาพ (ในส่วนที่ทำขึ้นเอง) ทั้งหมดที่ปรากฎอยู่ในเว็บไซต์ www.thailandindustry.com ห้ามมิให้บุคคลใด คัดลอก หรือ ทำสำเนา หรือ ดัดแปลง ข้อความหรือบทความใดๆ ของเว็บไซต์ หากผู้ใดละเมิด ไม่ว่าการลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดของบทความนี้ไปใช้ ดัดแปลง โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร จะถูกดำเนินคดี ตามที่กฏหมายบัญญัติไว้สูงสุด