หลายคนมีความเข้าใจและมีมุมมองของโซ่อุปทานและลอจิสติกส์แตกต่างกันออกไป บางคนจะนึกถึงการจัดการสินค้าคงคลังหรือเป็นการใช้ซอฟต์แวร์ในการวางแผนการดำเนินงานต่าง ๆ ขององค์กร บ้างก็นึกถึงการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับทั้งลูกค้า (CRM) และผู้จัดส่งวัตถุดิบ (SRM) ดังนั้นกิจกรรมโซ่อุปทานจึงมีได้ในหลายลักษณะตามแต่ละตำแหน่งในโซ่คุณค่าของแต่ละผลิตภัณฑ์ แต่หัวใจที่สำคัญในการจัดการโซ่อุปทาน คือ การทำงานร่วมกันของหุ้นส่วนทุกคนในโซ่อุปทาน
การวางแผนการขายและการปฏิบัติการ ไม่ใช่กิจกรรมที่แยกกันอยู่ แต่กลับเป็นกิจกรรมที่แสดงถึงความเชื่อมโยงกันอย่างการจัดการโซ่อุปทาน กระบวนการ S&OP เป็นกระบวนการที่สำคัญของบริษัทหลาย ๆ บริษัทเพราะเป็นหนึ่งในกิจกรรมที่ทำให้ธุรกิจหลายกลุ่มนั้นมารวมตัวกันเพื่อที่จะบรรลุให้ถึงเป้าหมายร่วมกัน
ปัจจุบันนี้ระบบ IT มีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในชีวิตประจำวันและในกระบวนการธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจขนาดใหญ่หรือเล็กอย่างร้านโชห่วยก็ยังต้องมีระบบ IT รองรับเช่นกัน ดังนั้น IT จึงได้รับบทบาทเหมือนเป็นพระเอกด้วยค่าตัวที่ค่อนข้างสูง สำหรับลอจิสติกส์และโซ่อุปทานนั้น IT มีความจำเป็นอย่างยิ่งในการดำเนินงานและการจัดการ แต่ยังไม่ใช่สิ่งสำคัญที่สุดในการจัดการลอจิสติกส์และโซ่อุปทาน
เมื่อไม่กี่ปีมานี้ประเทศไทยเราได้มีการเปิดใช้สนามบินพาณิชย์นานาชาติแห่งใหม่ ที่ชื่อว่า สนามบินสุวรรณภูมิ ซึ่งในสนามบินก็มีกิจกรรมต่าง ๆ ที่เป็นลอจีสติกส์อยู่แทบทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมการขนย้ายผู้ใช้บริการจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง สำหรับการขนส่งสินค้าก็เป็นกิจกรรมลอจิสติกส์เช่นเดียวกัน ซึ่งก็เกี่ยวข้องกับการกระจายสินค้าในการที่จะดำเนินการจัดส่งด้านการขนส่งทางอากาศ ซึ่งการขนส่งสินค้าเป็นกิจกรรมหลักที่สำคัญของธุรกิจ
มีหนังสือด้านการจัดการหลายเล่มที่กล่าวถึงการจัดการเชิงพุทธ โดยการนำเอาแนวคิดทางพุทธศาสนามาประยุกต์ใช้ในการจัดการ แม้แต่ในทางเศรษฐศาสตร์ก็ยังมีเศรษฐศาสตร์เชิงพุทธด้วยเหมือนกัน ผู้เขียนจึงมีแนวคิดว่าน่าจะมีการนำเอาแนวคิดทางพุทธศาสนามาอธิบายความเป็นองค์รวมของการจัดการโซ่อุปทานบ้าง ถึงแม้ว่าแนวคิดของการจัดการโซ่อุปทานที่นำเสนอจะไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่ลองมามองเรื่องเดิมในมุมมองของพุทธศาสนาบ้าง เพื่อว่าจะได้แนวคิดเพิ่มมากขึ้นจากเดิมที่เป็นอยู่ เพื่อทำให้เรามีความเข้าใจโซ่อุปทานอย่างลึกซึ้งยิ่งขึ้น
คำว่า Inventory หรือ Stock มีคำแปลเป็นภาษาไทยได้หลากหลาย เช่น สินค้าคงคลัง พัสดุคงคลัง วัสดุคงคลัง หรืออาจเรียกเป็นทับศัพท์ตรง ๆ ว่า สต็อก คำเหล่านี้สามารถใช้แทนกันได้ตามความเหมาะสมของบริบทที่กำลังกล่าวถึง ในบริบทของการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน และการจัดการการผลิตและปฏิบัติการ นั้น Inventory มักหมายถึง สินค้าคงคลังที่เก็บไว้เพื่อใช้ในการผลิต ขายหรือส่งมอบให้กับลูกค้าทั้งลูกค้าภายในและลูกค้าภายนอก
ในช่วง 10 กว่าปีที่ผ่านมาคำว่าเอาต์ซอร์ส (Outsource) เป็นคำที่เราเริ่มได้ยินบ่อยและคุ้นหูมากขึ้นเรื่อย ๆ ทั้งในแวดวงธุรกิจทั่วไป และโดยเฉพาะอย่างยิ่งในวงการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน ทั้งนี้ก็เนื่องมาจากว่าการเอาต์ซอร์สนั้นเป็นองค์ประกอบที่สำคัญและโดดเด่นในการจัดการโซ่อุทาน
การจัดการคลังสินค้า (Warehouse Management) เป็นการจัดการในการรับ การจัดเก็บ หมายถึง การจัดส่งสินค้าให้ผู้รับเพื่อกิจกรรมการขาย เป้าหมายหลักในการบริหารดำเนินธุรกิจ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับคลังสินค้าก็เพื่อให้เกิดการดำเนินการเป็นระบบให้คุ้มกับการลงทุน การควบคุมคุณภาพของการเก็บ การหยิบสินค้า การป้องกัน ลดการสูญเสียจากการ ดำเนินงานเพื่อให้ต้นทุนการดำเนินงานต่ำที่สุด และการใช้ประโยชน์เต็มที่จากพื้นที่
ถึงแม้ว่าประเทศเราจะมียุทธศาสตร์ลอจิสติกส์ที่ประกาศใช้เพื่อสร้างความได้เปรียบเชิงการแข่งขัน แต่ก็ยังมีความไม่เข้าใจในความแตกต่างระหว่างโซ่อุปทานและลอจิสติกส์ ซึ่งประเด็นนี้ยังเป็นความคิดที่ยังต้องถูกพัฒนาออกไปในวงกว้าง แต่มีข้อสังเกตว่า ถ้าไม่มีการกล่าวถึงลอจิสติกส์และโซ่อุปทานเลย ธุรกิจก็ยังคงที่จะดำเนินไปได้ และก็คงจะต้องมีผู้ชนะและผู้แพ้เหมือนเดิม
ในการผลิตสินค้าและบริการอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า ย่อมต้องการวัตถุดิบหรือชิ้นส่วนจากผู้ขายมาเป็นปัจจัยนำเข้า เพื่อให้ฝ่ายผลิตใช้ทำการผลิตให้เป็นสินค้าสำเร็จรูปแล้วส่งให้ลูกค้า ซึ่งกิจกรรมการป้อนวัตถุดิบกิจกรรมการแปรสภาพและกิจกรรมการจัดจำหน่ายสินค้าสำเร็จรูปแก่ลูกค้าได้บังเกิดขึ้นในเครือข่ายที่โยงใยหลายกิจการมาเกี่ยวข้องกัน
ถึงเวลานี้คงจะไม่มีใครไม่รู้จักลอจิสติกส์และการจัดการโซ่อุปทาน แต่ถ้าจะถามว่าแล้วเขาเหล่านั้นเข้าใจในความสัมพันธ์นั้นมากน้อยขนาดไหน นั่นเป็นเรื่องที่จะต้องเอาใจใส่และเรียนรู้ให้ลึกซึ้งในความหมายที่จะต้องสื่อสารออกไปให้ผู้ที่อยู่ในโซ่อุปทานเดียวกับเราหรือผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ยิ่งผู้ที่เกี่ยวข้องมีความเข้าใจมากเท่าไร ก็ยิ่งมีประสิทธิภาพในการทำงานเชิงลอจิสติกส์ในโซ่อุปทานมากขึ้นเท่านั้น
มีผู้บริหารคลังสินค้าหลายท่านประสบปัญหาในการหาสินค้า (Picking) เพื่อจัดเตรียมจัดส่งให้ลูกค้า นับเป็นปัญหาคลาสสิกของการจัดการคลังสินค้าปัญหาหนึ่งเลยก็ว่าได้ บางท่านก็บ่นว่ามีรายการสินค้าที่มีสถานะภาพทั้งที่มีอยู่ (Inventory) และขาดส่ง (Shortage)ในเวลาเดียวกัน นั่นหมายความว่า คุณภาพของข้อมูลเชิงลอจิสติกส์ของสินค้าคงคลังไม่ดีพอ
เนื่องจากสภาพปัจจัยแวดล้อมทางธุรกิจได้มีความเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง ทำให้องค์กรธุรกิจส่วนใหญ่ประสบปัญหาความผันผวนต่าง ๆ โดยเฉพาะการส่งมอบที่ล่าช้า ด้วยเหตุนี้ผู้บริหารฝ่ายปฏิบัติการขององค์กรชั้นนำหลายแห่งได้ปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ด้วยแนวทางบูรณาการทั้งกระบวนการภายในกับองค์กรภายนอกเพื่อมุ่งสร้างประสิทธิผลสูงสุดกับการตอบสนองความเปลี่ยนแปลงในสภาวะการแข่งขัน
โลจิสติกส์และโซ่อุปทาน เป็นสหวิชาการบริหารจัดการที่กำลังได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายทั้งในแวดวงวิชาการและในภาคปฏิบัติการ จึงมีการพูดและเขียนถึงศาสตร์ ๆ นี้ในบริบทต่าง ๆ กันอย่างกว้างขวาง ด้วยความใหม่ของโลจิสติกส์และโซ่อุปทานในประเทศไทยทำให้ยังมีความสับสนและเห็นไม่ถูกต้องตรงกันในการใช้คำศัพท์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน
ในการจัดการซัพพลายเชนของกระบวนการผลิตกิจกรรมพื้นฐานหนึ่งที่มีส่วนสำคัญในการสนับสนุนแนวคิดของการจัดการโซ่อุปทานของการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรมให้ประสบผลสำเร็จคือ กิจกรรม 5ส เป็นกิจกรรมขั้นต้นในการบริหารคุณภาพที่จะช่วยสร้างสภาพแวดล้อมที่ดีในที่ทำงาน เพื่อให้เกิดบรรยากาศที่น่าทำงาน เกิดความสะอาดเรียบร้อยในสำนักงาน ถูกสุขลักษณะ ลดความสูญเปล่าที่ก่อให้เกิดต้นทุนที่ไม่จำเป็น
เมื่อการจัดการห่วงโซอุปทาน (Supply Chain Management) มีความสำคัญอย่างยิ่งในธุรกิจ สถานประกอบการทั้งด้านการผลิต ด้านการค้าและบริการ ต่างให้ความตระหนักและความสำคัญที่จะพัฒนาการจัดการ ซึ่งเป็นการพัฒาองค์ประกอบหน้าที่ในการดำเนินธุรกิจทุกด้าน โดยการปรับปรุงกระบวนการของการดำเนินธุรกิจให้ดีมีประสิทธิภาพมากขึ้น สามารถที่จะมีเครือข่ายที่เชื่อมโยงกันระหว่างองค์กรในแต่ละห่วงโซอุปทาน (Supply Chain) นั้นถือได้ว่ามีคุณค่ามหาศาลและอาจถือเป็นเรื่องความอยู่รอดขององค์กร
กระแสของแนวคิดลอจิสติกส์ในปัจจุบันนั้นมาแรงอย่างต่อเนื่อง แต่ก็ยังมีความคิดและความไม่เข้าใจที่ไม่ค่อยจะตรงกันบ้าง แต่ก็มีการประชาสัมพันธ์กันมากมายว่า ถ้ามีการทำลอจิสติกส์หรือมีการนำเอาลอจิสติกส์มาใช้ในกระบวนการธุรกิจแล้วจะทำให้เกิดการลดต้นทุนและได้เปรียบเชิงการแข่งขัน
7 อุปนิสัยของโซ่อุปทาน เขียนจากแนวคิดของ Stephen Coveys ซึ่งเป็นหนังสือที่ขายดีทั่วโลกตั้งแต่ปี 1990 และได้มีการนำมาแปลเป็นภาษาไทยแล้วในชื่อว่า 7 อุปนิสัยของผู้ประสิทธิภาพสูง หนังสือเล่มนี้ได้นำเสนอสูตรสำเร็จสำหรับการสร้างความสำเร็จส่วนบุคคลและใน วิชาชีพโดยมีพื้นฐานจากการเปลี่ยนกรอบความคิด (Paradigm Shift) สำหรับบุคคลในการมองโลกและมองตัวเอง รวมทั้งการมุ่งเน้นไปที่คุณลักษณะและหลักการรวมทั้งหลักการ ในการนำไปปฏิบัติ
บริษัททั่วไปกำลังมองหาแนวทางในการลดจำนวนสินค้าหรือพัสดุคงคลังตามแนววิถีแห่งลอจิสติกส์และโซ่อุปทาน จนทำให้สินค้าคงคลังได้กลายเป็นผู้ร้าย (Evil) ในสายตาของผู้บริหารโซ่อุปทานส่วนใหญ่ เป้าหมายของการจัดการสินค้าคงคลังที่ดีก็คือ การตอบสนองต่อคำสั่งซื้ออย่างสมบูรณ์แบบด้วยการหลีกเลี่ยงการเก็บสินค้าคงคลังไว้มากเกินไป และไม่พลาดการส่งของให้ลูกค้าตามเวลานัดหมาย บริษัททั่วไปมักจะเตรียมรับมือกับสถานการณ์ธุรกิจต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ด้วยการเก็บสินค้าคงคลังไว้มากเกินไป เพราะมีประสบการณ์สินค้าขาดตลาด และส่งสินค้าได้ล่าช้า ทำให้สูญโอกาสในการขายไปอย่างน่าเสียดาย