ในการผลิตสินค้าและบริการอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า ย่อมต้องการวัตถุดิบหรือชิ้นส่วนจากผู้ขายมาเป็นปัจจัยนำเข้า เพื่อให้ฝ่ายผลิตใช้ทำการผลิตให้เป็นสินค้าสำเร็จรูปแล้วส่งให้ลูกค้า ซึ่งกิจกรรมการป้อนวัตถุดิบกิจกรรมการแปรสภาพและกิจกรรมการจัดจำหน่ายสินค้าสำเร็จรูปแก่ลูกค้าได้บังเกิดขึ้นในเครือข่ายที่โยงใยหลายกิจการมาเกี่ยวข้องกัน
บูรณะศักดิ์ มาดหมาย |
. |
. |
ในการผลิตสินค้าและบริการอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า ย่อมต้องการวัตถุดิบหรือชิ้นส่วนจากผู้ขายมาเป็นปัจจัยนำเข้า เพื่อให้ฝ่ายผลิตใช้ทำการผลิตให้เป็นสินค้าสำเร็จรูปแล้วส่งให้ลูกค้า ซึ่งกิจกรรมการป้อนวัตถุดิบกิจกรรมการแปรสภาพและกิจกรรมการจัดจำหน่ายสินค้าสำเร็จรูปแก่ลูกค้าได้บังเกิดขึ้นในเครือข่ายที่โยงใยหลายกิจการมาเกี่ยวข้องกัน |
. |
โดยมีการดำเนินการต่อเนื่องกันเป็นห่วงโซ่ของสินค้า (Supply Chain) การปรับปรุงพัฒนาห่วงโซ่ของสินค้าให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นจะนำมาซึ่งความพึงพอใจของลูกค้าที่ได้รับสินค้าที่เขาต้องการ ในเวลาที่ต้องการ และมีปริมาณตามที่กำหนดไว้ โดยเสียค่าใช้จ่ายโดยรวมตลอดสายห่วงโซ่ที่ต่ำซึ่งจะมีผลให้องค์การธุรกิจมีกำไรเพิ่มมากขึ้นด้วยในที่สุด ดังนั้นการบริหารห่วงโซ่ของสินค้าจึงก่อประโยชน์ร่วมกันทั้งตัวลูกค้าและธุรกิจ |
. |
. |
การเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของห่วงโซ่อุปทานของสินค้า |
การจัดการห่วงโซอุปทาน (Supply Chain Management) มีความสำคัญอย่างยิ่งในธุรกิจ ทำให้สถานประกอบการทั้งด้านการผลิต ด้านการค้าและบริการต่างให้ความตระหนักและความสำคัญที่จะพัฒนาการจัดการซึ่งเป็นการพัฒนาองค์ประกอบหน้าที่ในการดำเนินธุรกิจทุกด้าน โดยการปรับปรุงกระบวนการของการดำเนินธุรกิจให้ดีมีประสิทธิภาพมากขึ้น สามารถที่จะมีเครือข่ายที่เชื่อมโยงกันระหว่างองค์กรในแต่ละห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) นั้นถือได้ว่ามีคุณค่ามหาศาลและอาจถือเป็นเรื่องความอยู่รอดขององค์กร |
. |
วัตถุประสงค์หนึ่ง ต้นทุนการผลิตต่ำสุดโดยในทุกกระบวนการตั้งแต่กระบวนการจัดซื้อ (Procurement) การผลิต (Manufacturing) การจัดเก็บ (Storage) การจัดจำหน่วย (Distribution) และการขนส่ง (Transportation) ซึ่งกระบวนการทั้งหมดนี้จะจัดระบบให้ประสานกันอย่างคล่องตัว ทำให้ลูกค้าเกิดความพอใจมาก (Customer Need) |
. |
ความร่วมมือภายในองค์กรและนอกองค์กรในการจัดการโซ่อุปทาน |
ในการเชื่อมโยงการทำงานของธุรกิจต่าง ๆ เข้าด้วยกันนั้น เป็นการสะท้อนให้เห็นถึงปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งในการบริหารโซ่อุปทาน (Supply Chain Management) นั่นคือ ความร่วมมือระหว่างกัน ซึ่งหมายความรวมไปถึงความร่วมมือทั้งภายในและภายนอกองค์กร ความร่วมมือภายในองค์กรนั้น ได้แก่ การเชื่อมโยงของการไหลของวัสดุข้อมูล และข้อมูลทางการเงินระหว่างฝ่าย |
. |
ส่วนความร่วมมือภายนอกองค์กร ได้แก่ การรวมกันของพันธมิตรทางธุรกิจ เช่น ผู้จำหน่ายวัตถุดิบในการผลิต ลูกค้า และส่วนของโลจิสติกส์ เป็นต้น ซึ่งถ้ามีการร่วมมือกันทั้งภายในองค์กรและนอกองค์กรแล้ว จะทำให้เกิดความสามารถทางการแข่งขันเชิงยุทธศาสตร์มากกว่าการดำเนินการเพียงลำพัง ซึ่งจะทำให้การดำเนินงานของบริษัทจะเป็นไปอย่างราบรื่น |
. |
ความล่าช้าและความไม่แน่นอนลดน้อยลง การไหลของผลิตภัณฑ์ในโซ่อุปทานก็เป็นไปได้รวดเร็วมากขึ้น ดังนั้นการที่จะบริหารโซ่อุปทาน และกิจกรรมโลจิสติกส์ของบริษัทให้มีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลมากขึ้น ควรเริ่มจัดการโซ่อุปทานจากหน่วยย่อยในองค์กรตั้งแต่ระดับเล็กสุด ซึ่งได้แก่ |
. |
- โซ่อุปทานในแผนก กล่าวคือ ในแผนกเดียวกันในองค์กรนั้นมีการเชื่อมโยงหรือแบ่งปันข้อมูลซึ่งกันและกันหรือไม่ |
. |
ฉะนั้น Internal Supply Chain เป็นองค์ประกอบส่วนกลางของห่วงโซ่อุปทาน เริ่มตั้งแต่ขั้นตอนการรับวัตถุดิบจากผู้ค้า (Supplier) ขั้นตอนการผลิต ไปจนถึงการบรรจุหีบห่อ และจัดเก็บในคลังสินค้า |
. |
. |
สำหรับ External Supply Chain จะประกอบด้วย 2 ส่วน คือ Upstream เป็นองค์ประกอบแรกสุดของห่วงโซ่อุปทาน เกี่ยวข้องกับวัตถุดิบ รวมถึงการเคลื่อนที่ของวัตถุดิบ จนเป็นวัตถุดิบในการผลิตและเข้าสู่กระบวนการผลิตขององค์กร และ Downstream เป็นองค์ประกอบส่วนท้ายของห่วงโซ่ จะเริ่มต้นที่ผู้กระจายสินค้า ผู้ค้าปลีก ผู้ขายตรง จนถึงผู้บริโภคคนสุดท้าย |
. |
ฉะนั้น เราจะพบว่า Internal Supply Chain เป็นส่วนที่เริ่มตั้งแต่หลังจากที่ได้รับคำสั่งซื้อจากลูกค้าแล้ว ทางฝ่ายขายและฝ่ายการตลาดจะส่งข้อมูลให้ฝ่ายวางแผนการผลิตหลัก (Master Production Scheduling-MPS) และจัดประชุมการผลิตสินค้าใหม่ (New Products) เพื่อเตรียมแผนการผลิตว่าจะผลิต “อะไร” “เมื่อไร” “เท่าไร” |
. |
จากนั้นทำการแตกโครงสร้างผลิตภัณฑ์ (Bill of Materials-BOM) เพื่อคำนวณแผนความต้องการวัสดุ (Material Requirement Planning-MRP) และพิจารณากำลังการผลิตเพื่อออกแบบแผนกำลังการผลิต (Capacity Requirement Planning-CRP) เมื่อพร้อมที่จะผลิตแล้วจึงทำการจัดลำดับการผลิต (Scheduling) เพื่อเป็นการกำหนดว่าจะลงสายการผลิตหรือเครื่องจักรใด “เมื่อไร” “เท่าไร” |
. |
หลังจากนั้น ฝ่ายวางแผนจะแจ้งความต้องการวัตถุดิบไปยังแผนกจัดซื้อ เพื่อทำการสั่งซื้อวัตถุดิบ (Purchase Order) โดยมีการตรวจสอบปริมาณวัตถุดิบคงคลัง รวมถึง Lead Time ของ Supplier เมื่อ Supplier มาส่งวัตถุดิบ ทางคลังสินค้าก็จะทำการรับวัตถุดิบเข้าคลังสินค้า โดยมีการ Key ข้อมูลเข้าในระบบ Express เป็นระบบ IT ที่เชื่อมโยงภายในองค์กร เพื่อให้ทุกฝ่ายได้รับทราบข้อมูล |
. |
ในระหว่างการผลิตจะมีการควบคุมและตรวจสอบสถานะของการผลิต พร้อมทั้งมีการแจ้งปัญหาด้านการผลิต หรือการขาดแคลนวัตถุดิบไปยังฝ่ายวางแผนการผลิต ตลอดจนสถานะสินค้าสำเร็จรูปที่มีการผลิตเสร็จแล้ว หลังจากที่ผลิตเป็นสินค้าสำเร็จรูปแล้ว จะมีการตรวจสอบคุณภาพสินค้าในพื้นที่ตรวจสอบ |
. |
ซึ่งถ้าสินค้าไม่มีปัญหาคุณภาพก็จะถูกนำไปเก็บไว้ยังคลังสินค้าสำเร็จรูป รอการจัดส่งไปยังลูกค้าต่อไป ด้านที่ติดต่อกับซัพพลายเออร์ คือ เมื่อมีการคำนวณแผนความต้องการวัสดุ (Material Requirement Planning-MRP) และทำการจัดลำดับการผลิต (Scheduling) แล้วจะมีการส่งคำสั่งซื้อไปยัง Supplier และคอยติดตามจนกระทั่ง Supplier ส่งสินค้าเข้าโรงงาน |
. |
โรงงานการผลิต ได้สร้างความสัมพันธ์อันดีกับ Supplier โดยดำเนินกิจกรรม SRM (Supplier Relationship Management) โดยเน้นเข้าไปมีส่วนร่วมและจัดการกับกระบวนการต่าง ๆ เพื่อให้ Supplier มีความพร้อมในการเตรียมและจัดส่งวัตถุดิบได้ทันตามความต้องการของบริษัทได้ตลอดเวลา โดยมีการแบ่งปันข้อมูลของซัพพลายเออร์ร่วมกันดังนี้ |
. |
ในขณะที่ซัพพลายเออร์ก็สามารถทราบถึงข้อมูลของบริษัทได้คือ |
. |
ฉะนั้น การสร้างความร่วมมือกันระหว่างภายในและภายนอกองค์กร มีส่วนสำคัญอย่างยิ่งที่จะทำให้การจัดการโซ่อุปทานสามารถดำเนินการเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ การพัฒนาโซ่อุปทาน ต้องอาศัยข้อมูลซึ่งกันและกันและสามารถเชื่อมโยงกันให้เป็นเนื้อเดียวกันระหว่างองค์กร และด้วยสภาพการแข่งขันทางการตลาดที่สูงขึ้น องค์กรก็ควรมีระบบการตัดสินใจที่ดี เพื่อให้ได้เปรียบกับคู่แข่งขันและเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องและเพียงพอ |
. |
ควรมีการจัดการทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีความสัมพันธ์กันตลอดสายโซ่ เริ่มตั้งแต่ ลูกค้า ผู้ผลิต ตลอดจนถึงคู่ค้าอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อช่วยให้อุตสาหกรรมได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง และครบถ้วนอันจะนำไปสู่การตัดสินใจได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม ทั้งเพิ่มศักยภาพทางการแข่งขันต่อไป |
. |
การจัดการคลังสินค้าในโซ่อุปทาน |
คลังสินค้า (Warehouses) เป็นสิ่งที่จำเป็นที่ต้องมีในโรงงานอุตสาหกรรม และเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ในทุก ๆ โรงงานในประเทศไทยนั้นไม่ค่อยให้ความสนใจในเรื่องของคลังสินค้าเท่าที่ควร การจัดการคลังสินค้านั้น มีส่วนช่วยในการเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานของโรงงานหลาย ๆ ด้าน |
. |
ดังนั้น ในโซ่อุปทานของสินค้าคงคลัง (Inventory) เพื่อให้สามารถเพิ่มประสิทธิภาพของการจัดการสินค้าคงคลังในสายการผลิต จึงเป็นเรื่องที่ต้องทำการพิจารณา คลังสินค้า (Warehouse) จึงเป็นพื้นที่ที่ได้วางแผนแล้วเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการใช้สอยและการเคลื่อนย้ายสินค้าและวัตถุดิบ โดยคลังสินค้าทำหน้าที่ในการเก็บสินค้าระหว่างกระบวนการเคลื่อนย้าย เพื่อสนับสนุนการผลิตและการกระจายสินค้า ซึ่ง |
. |
สินค้าที่เก็บในคลังสินค้า (Warehouse) สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ |
. |
คลังสินค้า (Warehouse) จึงเป็นกระบวนการรับสินค้า (Receiving) ระบบเก็บสินค้า (Put-away) กระบวนการแปลงหน่วย (Let-down) การจ่ายสินค้า (Picking) การตรวจนับคลังสินค้า (Counting) ซึ่งเป็นสถานที่สำหรับวาง จัดเก็บ พัก กระจายสินค้าคงคลัง |
. |
คลังสินค้ามีชื่อเรียกได้ต่าง ๆ กัน อาทิ ศูนย์กระจายสินค้า, ศูนย์จำหน่ายสินค้า และโกดัง ฯลฯ คำว่าคลังสินค้าจึงเป็นคำที่มีความหมายรวม ๆ ส่วนจะเรียกว่าอะไร ก็ขึ้นอยู่กับฟังก์ชันของคลังสินค้าแต่ละประเภท คลังสินค้าที่รับสินค้าเข้ามาทำการคัดแยกแล้วกระจายออกไป เรียกว่า ศูนย์กระจายสินค้า (Distribution Center) และกระบวนการดังกล่าว เรียกว่า Cross Docking |
. |
ในขณะที่คลังสินค้าบางแห่งมีฟังก์ชันเพิ่มขึ้นมาคือ หลังรับสินค้าเข้ามาแล้ว ก็เก็บสินค้าไว้และทำหน้าที่จัดสรรสินค้าก่อนส่งมอบตามคำสั่งซื้อจึงมีขั้นตอนย่อยประกอบด้วย รับสินค้าเข้า จัดเก็บ จัดสินค้าตามใบสั่งซื้อ (Order Picking) อันเป็นขั้นตอนที่ใช้เวลาและกำลังคนมากที่สุด ตรวจสอบ หีบห่อ และจัดส่ง กล่าวคือ รับหน้าที่ในการจำหน่ายไว้ด้วย จึงเรียกว่าศูนย์จำหน่ายสินค้า การลดเวลาและขั้นตอนในศูนย์จำหน่ายสินค้าทำได้ด้วยการนำคอมพิวเตอร์ช่วยออกใบสั่งซื้อ |
. |
ทั้งนี้ ควรคำนึงถึงคลังสินค้าและประเด็นเกี่ยวกับความเป็นเจ้าของสายการผลิต การจำหน่าย และการกระจายสินค้าที่ไม่มีคลังสินค้าเป็นของตัวเอง ไม่ต้องการสร้างคลังสินค้าเองอาจใช้บริการเช่าคลังสินค้าสาธารณะ และประเด็นเกี่ยวกับสถานที่ตั้งคลังสินค้า ควรตั้งในจุดที่ตอบสนองผู้ใช้ได้อย่างลงตัว ในสินค้าคงคลังมีหลายประเภท Input ของคลังสินค้าจึงแตกต่างกันไป อาจมีจุดเริ่มต้นจากซัพพลายเออร์นำวัตถุดิบมาป้อนให้คลังสินค้า |
. |
หรือฝ่ายพัสดุนำ MRO (Maintenance Repair and Operation Supply ชิ้นส่วนอุปกรณ์ที่ใช้ในการบำรุงรักษาและสนับสนุนการผลิต) มามอบให้ฝ่ายผลิต ผู้ผลิตสินค้านำสินค้าสำเร็จส่งเข้าคลังสินค้าและกระจายไปยังผู้บริโภค ฯลฯ วงจรดังกล่าวเป็น Spec ทั่วไปของสินค้าคงคลัง ความไม่แน่นอนของอุปสงค์ทำให้ผู้ผลิตต้องวางแผนและคำนวณว่า จะจัดสรรปันส่วนการผลิตเป็นจำนวนเท่าใด เพื่อนำสินค้าคงคลังมาสร้างคุณค่าโดยการผลิตให้เป็นสินค้า |
. |
การวางแผนจะทำให้ทราบว่าควรผลิตจำนวนเท่าใด ควรจัดเตรียมวัตถุดิบแต่ละชนิดจำนวนเท่าไร ในวัตถุดิบที่มีอายุสั้นอย่างผักผลไม้ การวางแผนสั่งวัตถุดิบค่อนข้างจำเป็นมาก เพราะสินค้าไม่มีความเป็นอิสระ มีเงื่อนไขด้านเวลาเป็นข้อจำกัด หากต้องการให้อิสระอาจนำเข้าห้องเย็นแต่เป็นการเพิ่มต้นทุน |
. |
การทราบอุปสงค์ทำให้ได้ข้อมูลของวัตถุดิบที่สินค้าคงคลังส่งผลต่อเนื่องต่อระบบการผลิตและจำหน่ายสินค้า คลังสินค้ามีความสำคัญในแง่ที่เป็นทั้งทางเข้าและทางออกของวัตถุดิบไปจนถึงสินค้าสำเร็จรูป ดังนั้นก่อนการพยากรณ์อุปสงค์ จึงจำเป็นต้องเข้าใจการจัดหาวัตถุดิบ/สินค้า (Supply) เข้าใจแนวคิดการจัดการวัตถุดิบและแนวคิดการกระจาย |
. |
เมื่อสินค้าคงคลังถือว่าเป็นแหล่งของวัตถุดิบหรือสินค้าสำเร็จรูปที่ใช้ในการผลิต จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งที่จะต้องมีการจัดการโซ่อุปทานให้เกิดประสิทธิภาพ การจัดการคลังสินค้า (Objective of Warehouse Management) จึงเข้ามามีบทบาทในห่วงโซ่ของคลังสินค้า โดยการจัดการคลังสินค้าจะสามารถช่วยลดระยะทางในการปฏิบัติการในการเคลื่อนย้าย มีการจัดการใช้พื้นที่และปริมาตรในการจัดเก็บให้เกิดประโยชน์สูงสุด |
. |
สร้างความมั่นใจว่าแรงงาน เครื่องมือ อุปกรณ์ สาธารณูปโภคต่าง ๆ มีเพียงพอและสอดคล้องกับระดับของธุรกิจที่ได้วางแผนไว้สร้างความพึงพอใจในการทำงานในแต่ละวันแก่ผู้เกี่ยวข้องในการเคลื่อนย้ายสินค้า ทั้งการรับเข้าและการจ่ายออก โดยใช้ปริมาณจากการจัดซื้อและความต้องการในการจัดส่งให้แก่ลูกค้าเป็นเกณฑ์ ตลอดจนสามารถวางแผนได้อย่างต่อเนื่อง ควบคุม และรักษาระดับการใช้ทรัพยากรต่าง ๆ เพื่อให้เกิดการบริการภายใต้ต้นทุนที่เกิดประสิทธิภาพคุ้มค่าในการลงทุนตามขนาดธุรกิจที่กำหนด |
. |
เมื่อพิจารณาถึงคลังสินค้าในกระบวนการรับสินค้า (Receiving) ระบบเก็บสินค้า (Put-away) กระบวนการแปลงหน่วย (Let-down) การจ่ายสินค้า (Picking) การตรวจนับคลังสินค้า (Counting) ประเทศไทยนั้นมีคลังสินค้าซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่ม ดังนี้ |
. |
1. สินค้าสาธารณะ (Private Warehouse) |
คลังสินค้าสาธารณะ เป็นกิจการทางธุรกิจที่เป็นเอกเทศของตนเอง โดยจัดให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกในการเก็บรักษาสินค้า และรับทำการเก็บรักษาสินค้ารวมทั้งให้บริการต่าง ๆ เกี่ยวกับสินค้านั้น การประกอบกิจการคลังสินค้าสาธารณะ เป็นการค้าขายประเภทที่ถือว่ามีผลกระทบต่อความปลอดภัยและความผาสุกของสาธารณะชน โดยยังสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทคือ |
. |
• คลังสินค้าสาธารณะของบริษัทเอกชน เป็นธุรกิจการค้าของภาคเอกชนที่จัดขึ้นในรูปของบริษัทจำกัด หรือบริษัทมหาชนแล้วแต่กรณี กิจการสำคัญที่คลังสินค้าสาธารณะของบริษัทเอกชนดำเนินงาน ได้แก่ |
. |
1. รับฝากสินค้าโดยผู้ประกอบการคลังสินค้าได้รับเงินค่าตอบแทน หรือประโยชน์อื่นใด |
. |
3. ให้บริการด้านความเย็นในการเก็บรักษาสินค้า รับอบพืชลดความชื้น กะเทาะ คัดผสม หรือด้วยกรรมวิธีอย่างอื่น เพื่อประโยชน์ของผู้ฝาก โดยผู้ประกอบกิจการคลังสินค้าได้รับค่าตอบแทน หรือประโยชน์อย่างอื่นอย่างใด |
. |
4. กระทำการใด ๆ ตามแบบวิธีเกี่ยวกับการศุลกากร การนำเข้า การส่งออก การขนส่งสินค้า และอาจจะจัดให้มีการประกันภัย ซึ่งเป็นสินค้าที่ต้องพึงกระทำตามสัญญาเก็บของในคลังสินค้า เป็นต้น |
. |
โดยการจัดตั้งบริษัทจำกัดที่ประกอบกิจการคลังสินค้าสาธารณะ และการดำเนินงานทางธุรการของกิจการคลังสินค้า อยู่ภายใต้ข้อบังคับของกฏหมายว่าด้วยกิจการค้าขายที่มีผลกระทบต่อความปลอดภัยและผาสุกของสาธารณชน และเงื่อนไขควบคุมคลังสินค้าของกระทรวงพาณิชย์ |
. |
• คลังสินค้าสาธารณะขององค์การรัฐบาล องค์การของรัฐบาลที่ประกอบธุรกิจทางการค้า จะจัดตั้งขึ้นในรูปของรัฐวิสาหกิจ หรือรัฐพาณิชย์รูปอื่น จุดมุ่งหมายหรือนโยบายหลักในการประกอบกิจการขององค์การเหล่านี้ เพื่อสนองนโยบายของรัฐบาลในด้านต่าง ๆ ที่สำคัญ คลังสินค้าสาธารณะขององค์การรัฐบาลที่จัดตั้งขึ้นในรูปแบบของรัฐวิสาหกิจ มีจุดมุ่งหมายเพื่อสนองนโยบายของรัฐบาลด้านเศรษฐกิจ |
. |
เช่น องค์การคลังสินค้า องค์การอุตสาหกรรมห้องเย็น เป็นต้น การดำเนินธุรกิจคลังสินค้าสาธารณะขององค์การรัฐบาล จะประกอบกิจการเช่นเดียวกับคลังสินค้าสาธารณะของบริษัทเอกชนคือ การรับทำการเก็บรักษาสินค้า และให้บริการต่าง ๆ เกี่ยวกับสินค้าที่รับฝากเก็บรักษานั้นเป็นการค้าปกติ และเป็นการให้บริการแก่บุคคลทั่วไป |
. |
องค์การคลังสินค้า มีวัตถุประสงค์ตามที่บรรญัติไว้ในพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การคลังสินค้า พ.ศ. 2498 มาตรา 6 ว่า "องค์การมีวัตถุประสงค์ทำกิจกรรมทั้งปวงเกี่ยวกับ ข้าว พืชผล และสินค้าต่าง ๆ เพื่อให้จำนวนผลิต คุณภาพ ราคา เหมาะสม และเพียงพอกับความต้องการของรัฐบาลและประชาชนทั่วไป" |
. |
• คลังสินค้าสาธารณะของสหกรณ์ สหกรณ์เป็นองค์การของเอกชนที่อยู่ภายใต้การควบคุมและโดยการสนับสนุนของรัฐบาล จัดตั้งขึ้นตามหลักเกณฑ์ของกฎหมายสหกรณ์ เป็นการรวมตัวกันของกลุ่มอาชีพ หรือกลุ่มผลประโยชน์ที่มีเป้าหมายในการดำเนินกิจการร่วมกัน ช่วยเหลือสนับสนุนซึ่งกันและกันในทางเศรษฐกิจ |
. |
เช่น สหกรณ์การเกษตร สหกรณ์การประมง เป็นต้น คลังสินค้าสาธารณะของสหกรณ์ เป็นของสหกรณ์ที่ประกอบกิจการคลังสินค้าในลักษณะคลังสินค้าสาธารณะ คือ รับทำการเก็บรักษาสินค้าและให้บริการเกี่ยวกับสินค้าเพื่อบำเหน็จเป็นทางการค้าปกติ สินค้าที่รับทำการเก็บรักษาเป็นสินค้าของสมาชิก และเป็นสินค้าเฉพาะอย่างอันเป็นผลผลิตตามอาชีพของสมาชิกของสหกรณ์นั้น ๆ |
. |
ทั้งนี้เป็นการช่วยเหลือสมาชิกภายในกลุ่ม และเมื่อเกิดผลกำไรจากการประกอบกิจการคลังสินค้า ผลกำไรนั้นก็แบ่งสรรปันผลกลับคืนให้แก่สมาชิก คลังสินค้าสาธารณะของสหกรณ์จัดตั้งขึ้นโดยกฎหมายสหกรณ์กำหนดหลักเกณฑ์ในการจัดตั้งและดำเนินงานโดยเฉพาะ |
. |
2. คลังสินค้าเอกชน (Private Warehouse) |
เนื่องจากความสำคัญของคลังสินค้าในการดำเนินการประกอบกิจการค้าขายที่เกี่ยวกับสินค้าชนิดต่าง ๆ นั้น นับว่าเป็นธุรกิจที่มีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศเป็นอย่างมาก ไม่ว่านั่นจะเป็นผลผลิตทางการเกษตร หรือผลผลิตทางอุตสาหกรรมประเทศใดก็ตาม |
. |
กิจการคลังสินค้านับว่าเป็นอุปกรณ์หรือเครื่องมือที่สำคัญในอันที่จะให้การประกอบธุรกิจค้าขายเกี่ยวกับสินค้าบรรลุผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ได้ คลังสินค้ามีความสำคัญต่อกระบวนการในโซ่อุปทานเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากคลังสินค้าเป็นห่วงเชื่อมที่สำคัญในสายโซ่ (Supply Chain) ของการกระจายสินค้าจากผู้ผลิตไปยังผู้บริโภค |
. |
ในการเป็นห่วงเชื่อมนี้ คลังสินค้าทำหน้าที่รักษาสมดุลระหว่างการบริโภค ซึ่งมีอัตราความต้องการไม่สม่ำเสมอ และคาดการณ์ล่วงหน้าได้ยากเมื่อเปรียบเทียบกับการผลิตสินค้าซึ่งมีอัตราของการผลิตเป็นปริมาณที่ค่อนข้างแน่นอนกว่า แม้ว่าการวางแผนการผลิตสินค้าต้องอาศัยอัตราการบริโภคที่สามารถพยากรณ์ได้ล่วงหน้าก็ตาม |
. |
ความไม่คงที่แน่นอนของความต้องการในการบริโภคอาจทำให้เกิดความไม่สมดุลขึ้นได้ในระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง เนื่องจากระบบการผลิตต้องดำเนินไปอย่างต่อเนื่องตามที่วางแผนไว้ ถ้าในช่วงระยะเวลาหนึ่งเวลาใดที่ผลิตสินค้าออกมาเกินความต้องการในตลาดบริโภค คลังสินค้าก็จะถูกใช้เป็นเครื่องมือในการสะสมปริมาณส่วนที่เกินความต้องการนั้นไว้ |
. |
เมื่ออัตราความต้องการบริโภคสูงขึ้นเกินกว่าปริมาณการผลิตในห้วงเวลาใด คลังสินค้าก็จะทำหน้าที่ระบายสินค้าที่สะสมไว้นั้นออกสู่ตลาดเพื่อให้เพียงพอกับความต้องการสินค้า ทำให้เกิดความสมดุลย์โดยเฉลี่ยในระยะยาว แต่ในขณะที่การผลิตเกิดอุปสรรคขัดข้องต้องหยุดชะงักลงชั่วคราวด้วยสาเหตุใด ๆ ก็ตาม |
. |
เช่น เกิดการเสียหายของเครื่องจักร ต้องทำการซ่อมแซม หรือเกิดการขาดแคลนของวัสดุการผลิต หรืออาจจะเกิดกรณีพิพาททางด้านแรงงาน มีการหยุดงาน สินค้าที่เก็บสะสมอยู่ในคลังสินค้าก็จะถูกนำออกสู่ตลาดเป็นการชดเชย แม้ว่าอาจจะไม่เพียงพอกับความต้องการตามปกติที่กิจการผลิตยังดำเนินงานอยู่ แต่ก็เป็นส่วนหนึ่งที่จะบรรเทาความเดือดร้อนของผู้บริโภคลงได้บ้างในระดับหนึ่ง จนกว่าจะแก้ไขข้อขัดข้องของการผลิตลงได้ |
. |
คลังสินค้าที่ตั้งกระจายกันอยู่ในภูมิภาคต่าง ๆ หากได้มีการวางแผนอย่างเหมาะสมไว้ในการวางสินค้าในคลังสินค้าเหล่านั้นในเวลา ปริมาณ และตำแหน่งที่ถูกต้องแล้ว ก็จะเป็นที่เชื่อมั่นได้ว่า จะสามารถนำสินค้าออกจำหน่ายสนองความต้องการของผู้บริโภคได้อย่างต่อเนื่องไม่ขาดตอนอันเป็นผลดีแก่ทั้งผู้ผลิต และผู้บริโภค |
. |
• บทบาทคลังสินค้าในกระบวนการผลิต กิจการผลิตสินค้าทางอุตสาหกรรมสมัยใหม่ เป็นการผลิตด้วยเครื่องจักรกลที่มีกระบวนการผลิตที่เป็นสายงานอย่างต่อเนื่อง ทุกขั้นตอนของการผลิตต้องรับช่วงติดต่อกันไปตามลำดับ เริ่มตั้งแต่การป้อนวัสดุการผลิตเข้าไปจนได้ผลผลิตออกมาเป็นสินค้าสำเร็จรูป และเป็นการผลิตจำนวนมาก ๆ ที่เรียกว่า Mass Production หรือการผลิตแบบต่อเนื่อง |
. |
• บทบาทคลังสินค้าในกระบวนการผลิต กิจการผลิตสินค้าทางอุตสาหกรรมสมัยใหม่ เป็นการผลิตด้วยเครื่องจักรกลที่มีกระบวนการผลิตที่เป็นสายงานอย่างต่อเนื่อง ทุกขั้นตอนของการผลิตต้องรับช่วงติดต่อกันไปตามลำดับ เริ่มตั้งแต่การป้อนวัสดุการผลิตเข้าไปจนได้ผลผลิตออกมาเป็นสินค้าสำเร็จรูป และเป็นการผลิตจำนวนมาก ๆ ที่เรียกว่า Mass Production หรือการผลิตแบบต่อเนื่อง |
. |
การผลิตสินค้าในระบบนี้จำเป็นอย่างมากที่จะต้องมีวัสดุการผลิตอย่างเพียงพอที่จะป้อนเข้าสู่กระบวนการผลิตได้อย่างไม่ขาดตอน คลังสินค้ามีบทบาทสำคัญในการจัดให้มีการสะสมวัสดุการผลิตไว้อย่างเพียงพอ |
. |
เพื่อให้กระบวนการผลิตดำเนินการไปอย่างต่อเนื่องไม่ขาดสาย การเก็บรักษาวัสดุการผลิตสะสมไวเพื่อการนี้ ผู้ผลิตสินค้าอาจลงทุนจัดตั้งและดำเนินการคลังสินค้าของตนเองเป็นส่วนหนึ่งของระบบการผลิต ที่จัดอยู่ในจำพวกคลังสินค้าประเภทคลังเก็บพัสดุของกิจการผลิตสินค้า หรือผู้ผลิตสินค้าอาจเลือกใช้บริการของคลังสินค้าสาธารณะเพื่อการนี้ก็ได้ |
. |
• บทบาทคลังสินค้าในกระบวนการตลาด คลังสินค้าเป็นเครื่องมือในการกระจายสินค้าออกสู่ตลาดจากมือของผู้ผลิตไปยังผู้บริโภค ผู้ผลิตสินค้าใช้คลังสินค้าในการเก็บรักษาสินค้าสำเร็จรูปเป็นผลผลิตของตนในขั้นแรก ไม่ว่าจะเป็นผลผลิตทางการเกษตร หรือผลผลิตทางอุตสาหกรรมก็ตามและใช้คลังสินค้าที่กระจายอยู่ในภูมิภาคต่าง ๆ ในการกระจายสินค้าของตนเองออกสู่ผู้บริโภคอย่างทั่วถึงและต่อเนื่อง |
. |
คลังสินค้าเหล่านั้นอาจเป็นคลังสินค้าส่วนบุคคลของผู้ผลิต คลังสินค้าส่วนบุคคลของผู้จำหน่าย หรืออาจเป็นคลังสินค้าสาธารณะก็ได้ สำหรับผู้ประกอบการจำหน่ายสินค้าเอง |
. |
คลังสินค้าก็เป็นเครื่องมือสำคัญในการเก็บสะสมสินค้าไว้ในปริมาณที่เหมาะสม เพื่อสนับสนุนกิจการจำหน่ายให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิผล โดยให้มีสินค้าออกวางขายทดแทนจำนวนที่จำหน่ายออกไปในแต่ละวันได้อย่างทันท่วงทีอย่างไม่ขาดตอน เพื่อการนี้ผู้จำหน่ายสินค้าอาจใช้คลังสินค้าส่วนบุคคลของกิจการจำหน่ายนั้นเอง หรือเลือกใช้บริการของคลังสินค้าสาธารณะในการเก็บรักษาเป็นส่วนใหญ่ก็ได้ |
. |
• บทบาทคลังสินค้าในกระบวนการกิจกรรมการบริการ การประกอบกิจการธุรกิจบริการทุกประเภท ทั้งในภาคธุรกิจเอกชน และองค์การของรัฐบาล รวมไปถึงสหกรณ์และหน่วยงานราชการของรัฐ จำเป็นต้องมีการสะสมเก็บรักษาพัสดุสำหรับการใช้ในกิจการนั้นอย่างเพียงพอ คลังสินค้าจำพวกคลังเก็บพัสดุมีบทบาทสำคัญในฐานะเป็นเครื่องมือของกิจการบริการทุกประเภท ทำหน้าที่เก็บรักษาพัสดุสะสมเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง และบรรลุผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของกิจการบริการนั้น ๆ |
. |
• บทบาทคลังสินค้าในกระบวนการวงการธุรกิจ คลังสินค้าสาธารณะเป็นแหล่งให้เครดิตแก่นักธุรกิจที่สำคัญแหล่งหนึ่งเช่นเดียวกันกับสถาบันการเงินประเภทอื่น เช่น ธนาคาร โดยวิธีให้ผู้ฝากสินค้าไว้ในคลังสินค้านั้นกู้ยืมเงิน โดยใช้สินค้าที่ฝากไว้นั้นจำนำเป็นประกัน และได้ดอกเบี้ยเป็นผลตอบแทน |
. |
นอกจากนั้นผู้ฝากสินค้าอาจกู้ยืมเงินจากสถาบันทางการเงินอื่น ๆ หรือจากบุคคลใดโดยใช้ตราสารการรับฝากของคลังสินค้าจำนำเป็นประกันได้ด้วย วิธีการจำนำสินค้าในลักษณะนี้จะกระทำได้ก็เฉพาะสำหรับสินค้าที่ฝากไว้กับคลังสินค้าสาธารณะเท่านั้น ไม่ว่าจะเป็นคลังสินค้าสาธารณะของบริษัทเอกชน คลังสินค้าสาธารณะขององค์การรัฐบาล หรือคลังสินค้าสาธาณะของสหกรณ์ที่ประกอบกิจการคลังสินค้าฏ็สามารถทำได้ในทำนองเดียวกัน |
. |
• บทบาทคลังสินค้าในกระบวนการนโยบายทางเศรษฐกิจ ความสำคัญในเรื่องนี้อาจเป็นคลังสินค้าสาธารณะของบริษัทเอกชน คลังสินค้าสาธารณะขององค์การรัฐบาล คลังสินค้าส่วนบุคคลขององค์การรัฐบาล หรือคลังสินค้าของสหกรณ์ก็ได้ ที่ดำเนินกิจการเกี่ยวข้องกับสินค้าประเภทพืชผลทางการเกษตร และสินค้าอื่น ๆ ที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศ โดยรัฐบาลอาจใช้คลังสินค้าเหล่านี้ในการสะสมเก็บรักษาสินค้าที่รัฐบาลเข้าไปรับซื้อเพื่อแทรกแซงตลาด |
. |
สำหรับการรักษาระดับราคาในขณะที่สินค้านั้นมีปริมาณมากในฤดูกาลที่ผลิตผลออกสู่ตลาดใหม่ ๆ เป็นการช่วยเหลือผู้ผลิตให้สามารถขายสินค้าได้ในราคาที่เป็นธรรม และนำสินค้าที่เก็บรักษาไว้นั้นออกสู่ตลาดเมื่อถึงคราวขาดแคลน เพื่อรักษาระดับราคาและปริมาณให้อยู่ในระดับราคาที่ไม่เป็นการเดือดร้อนแก่ประชาชนโดยทั่วไป |
สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2539 www.thailandindustry.com
Copyright (C) 2009 www.thailandindustry.com All rights reserved.
ขอสงวนสิทธิ์ ข้อมูล เนื้อหา บทความ และรูปภาพ (ในส่วนที่ทำขึ้นเอง) ทั้งหมดที่ปรากฎอยู่ในเว็บไซต์ www.thailandindustry.com ห้ามมิให้บุคคลใด คัดลอก หรือ ทำสำเนา หรือ ดัดแปลง ข้อความหรือบทความใดๆ ของเว็บไซต์ หากผู้ใดละเมิด ไม่ว่าการลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดของบทความนี้ไปใช้ ดัดแปลง โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร จะถูกดำเนินคดี ตามที่กฏหมายบัญญัติไว้สูงสุด