โดยทั่วไปมูลค่าธุรกิจโดยรวมในระบบมักไม่ผันแปรตามสัดส่วนจำนวนองค์กรในอุตสาหกรรม จากข้อมูลสถิติการจ้างแรงงานของบางประเทศราว 70 เปอร์เซ็นต์เกิดจากการดำเนินงานขององค์กรเพียง 15 เปอร์เซ็นต์ในอุตสาหกรรม เช่นเดียวกับกรณีธุรกิจที่พบว่าอัตราการหมุนรอบสินค้าราว 80 เปอร์เซ็นต์เกิดจากยอดขาย 20 เปอร์เซ็นต์ของสายผลิตภัณฑ์ ปรากฏการณ์ดังกล่าวได้ถูกเรียกว่ากฏ 80/20 หรือกฎพาเรโต้
การบำรุงรักษาเชิงวางแผน คือ กิจกรรมที่มุ่งให้เกิดระดับการบำรุงรักษาที่เหมาะสมและเครื่องจักรมีสภาพพร้อมใช้งาน โดยใช้ข้อมูลที่บันทึกเพื่อจัดทำตารางกำหนดการบำรุงรักษาและตรวจจับความบกพร่องที่เกิดในช่วงต้น ดำเนินการโดยบุคลากรฝ่ายบำรุงรักษาร่วมกับแรงงานสายการผลิต ดังนั้นจึงมีการฝึกอบรมให้กับพนักงานเกี่ยวข้องประกอบด้วยกิจกรรมหลัก
ช่วงกว่าสองทศวรรษที่ผ่านมาองค์กรชั้นนำระดับโลกต่างดำเนินกลยุทธ์เพื่อสร้างความสามารถการแข่งขันให้กับธุรกิจ โดยเฉพาะกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาได้มีความพยายามสร้างศักยภาพด้วยการเพิ่มกำลังการผลิตภายในประเทศด้วยเป้าหมายบางประการ เช่น การจ้างงาน การสร้างรายได้จากการค้าระหว่างประเทศและการสร้างฐานอุตสาหกรรม ดังกรณีอุตสาหกรรมยานยนต์ในประเทศไทยได้มีการพัฒนาเพื่อผลิตชิ้นส่วนและตัวถังรถอย่างจริงจังเพื่อมุ่งส่งออกให้กับประเทศเพื่อนบ้านและส่งมอบให้กับอุตสาหกรรมประกอบรถยนต์ญี่ปุ่น
ด้วยความเปลี่ยนแปลงในปัจจัยการแข่งขันทางการค้าและอุปสงค์ที่หลากหลายของลูกค้า ได้ส่งผลผลักดันให้องค์กรต้องปรับตัวเพื่อรองรับกับสภาวะดังกล่าวด้วยกลยุทธ์ลดต้นทุนดำเนินงาน การลดความผิดพลาด ลดรอบเวลาทำงาน และการตอบสนองต่ออุปสงค์อย่างทันเวลา ทำให้องค์กรชั้นนำประยุกต์แนวคิดลีนเพื่อผลิตภาพการดำเนินงาน ด้วยเหตุนี้แนวคิดลีนที่มีจุดกำเนิดจากภาคการผลิตจึงได้แพร่หลายไปยังภาคธุรกิจต่าง ๆ
ด้วยสภาวะการแข่งขันไร้พรมแดน ทำให้องค์กรทุกภาคธุรกิจต้องมุ่งเสนอคุณค่าหรือสิ่งที่สามารถตอบสนองและสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า ด้วยเหตุนี้กระบวนการพัฒนาออกแบบผลิตภัณฑ์จึงเป็นปัจจัยขับเคลื่อนให้เกิดนวัตกรรมที่สนับสนุนความสำเร็จให้กับธุรกิจ กระบวนการออกแบบจะเริ่มจากการศึกษาความต้องการของลูกค้าเพื่อทำข้อกำหนดผลิตภัณฑ์ (Specification)
ปัจจุบันเป็นที่ทราบกันดีว่าการปรับปรุงผลิตภาพกระบวนการได้มีบทบาทลดต้นทุนและสร้างผลกำไรให้กับธุรกิจ ดังนั้นเป้าหมายสำหรับการพัฒนาผลิตภาพกระบวนการจึงมุ่งลดอัตราของเสียและลดรอบเวลาการทำงานเพื่อสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าซึ่งส่งผลต่อการเพิ่มส่วนแบ่งตลาด (Market Share) ด้วยเหตุนี้การประเมินวัดผลด้วยมาตรวัดกระบวนการ (Process Metric) จึงถูกเชื่อมโยงกับปัจจัยมาตรวัดคุณภาพผลิตภัณฑ์และผลตอบแทนการลงทุน
ปัจจุบัน Lean และ Six Sigma ได้เป็นที่ยอมรับว่าเป็นแนวทางสนับสนุนการพัฒนาผลิตภาพทั่วทั้งองค์กรโดยมุ่งการปรับปรุงกระบวนการ ซึ่งส่งผลต่อการลดต้นทุนจากความสูญเปล่าและการยกระดับคุณภาพ สำหรับแนวทาง Six Sigma จะมุ่งเน้นการลดความผันแปรและปรับปรุงค่ายีลด์ในกระบวนการ (Process Yield) ด้วยการใช้เครื่องมือทางสถิติสำหรับการแก้ปัญหา (Statistical Tools) ส่วนแนวทางลีนจะมุ่งการลดความสูญเปล่าและปรับปรุงการไหลให้เกิดความต่อเนื่อง
สำหรับองค์กรแห่งลีนจะมุ่งแนวทางปรับปรุงผลิตภาพอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะองค์กรที่ดำเนินธุรกิจภาคการผลิตจะมุ่งพัฒนาปรับปรุงผลิตภาพ แต่หากการปฏิบัติงานไม่สามารถสร้างคุณค่าเพิ่มให้กับผลิตผลแล้วก็จะเกิดความสูญเปล่า ตามแนวคิดการผลิตแบบลีนได้มุ่งดำเนินการผลิตที่ไร้ความสูญเปล่าหรือ Manufacturing Without Waste
โดยทั่วไปการดำเนินงานของทุกหน่วยงานมักเกิดความสูญเปล่าที่แฝงในกระบวนการ ดังเช่นสายการผลิตที่มักเกิดปัญหาต่าง ๆ ในขณะดำเนินกิจกรรมการผลิต ด้วยเหตุนี้แนวคิดลีนจึงมีบทบาทสนับสนุนการสร้างผลิตภาพและผลตอบแทนให้กับธุรกิจ โดยมุ่งความสามารถการทำกำไรที่เป็นเป้าหมายหลักของธุรกิจด้วยการสร้างสมดุลการใช้ประโยชน์จากปัจจัยทรัพยากร เพื่อสร้างผลิตผลที่ตอบสนองความต้องการกับลูกค้า
ปัจจุบันองค์กรที่มุ่งสู่ความเป็นเลิศจะต้องมุ่งสร้างผลิตภาพการดำเนินงานและความยืดหยุ่นเพื่อตอบสนองความเปลี่ยนแปลงในปัจจัยที่มีผลกระทบต่อศักยภาพการแข่งขัน ดังนั้นองค์กรยุคใหม่ที่มุ่งสู่ความเป็นเลิศจึงไม่เพียงแค่ปรับปรุงผลิตภาพเฉพาะในสายการผลิตเท่านั้น แต่ควรให้ความสำคัญกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเพื่อส่งมอบคุณค่าและสร้างความพึงพอใจสูงสุด ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดลีนที่มุ่งการผลิตให้ตรงตามความต้องการลูกค้า
ปัจจัยทางผลิตภาพ ได้มีบทบาทในการสร้างศักยภาพการแข่งขันให้กับทุกองค์กร โดยเฉพาะองค์กรที่ดำเนินธุรกิจในภาคการผลิตที่เกิดความสูญเปล่าในกระบวนการมากมาย และส่งผลต่อผลิตภาพโดยรวมขององค์กร ด้วยเหตุนี้องค์กรจึงต้องมุ่งสร้างคุณค่าเพิ่ม ด้วยการปรับปรุงกระบวนการที่มุ่งเน้นประสิทธิผลจากกระบวนการ (Process Effectiveness)
ปัจจุบันผู้ประกอบการได้มุ่งสร้างความสามารถการแข่งขันและผลกำไรให้กับธุรกิจโดยรักษาระดับต้นทุนการผลิตในระดับที่เหมาะสมด้วยการลดความสูญเสียต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในกระบวนการ เช่น การลดรอบเวลาการผลิต การลดความผันแปรที่ก่อให้เกิดของเสียหรืองานแก้ไข การปรับให้เกิดการไหลอย่างราบเรียบ และการค้นหาปัญหาซ่อนเร้นที่เกิดความสูญเปล่าในรูปกิจกรรมที่ไม่สร้างมูลค่าเพิ่ม
ในระยะนี้มีกระแสความเคลื่อนไหวของการเอาแนวคิดแบบลีนมาใช้ในอุตสาหกรรมไทยเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นบริษัทไทย ๆ หรือบริษัทต่างประเทศ แต่ส่วนมากจะเริ่มจากบริษัทต่างชาติที่ได้มีโครงการริเริ่ม (Lean Initiative) ในเรื่อง ลีน สำหรับบริษัทในเครือทั่วโลก กระแสความรู้เรื่องลีนก็ได้หลั่งไหลเข้าสู่วงการอุตสาหกรรมไทยอย่างไม่ขาดสายทั้งหนังสือ บทความต่าง ๆ การฝึกอบรมจากทั้งวิทยากรจากภายในและภายนอกประเทศ นับว่าเป็นแนวโน้มที่ดีมากที่ อุตสาหกรรมไทยได้ตอบรับอย่างทันกระแส แต่การรับกระแสความรู้ที่ใช้ในการจัดการในยุคปัจจุบันไม่เหมือนกับการรับรู้หรือการเรียนรู้เครื่องมือต่าง ๆ ในอดีต
ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาองค์กรส่วนใหญ่ได้ดำเนินโครงการปรับ ปรุงคุณภาพ เพื่อสร้างศักยภาพการแข่งขันให้กับธุรกิจ แต่ผู้บริหารหลายท่านมีข้อข้องใจเกี่ยวกับแนวทางเลือกเครื่องมือที่สนับสนุน องค์กรสู่ความเป็นเลิศ โดยเฉพาะการเทียบเคียงระหว่างแนวคิดลีนกับ Six Sigma ปัจจุบันระดับราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นและปัจจัยสภาพแวดล้อมทางธุรกิจได้ ผลักดันให้องค์กรธุรกิจส่วนใหญ่ต้องปรับตัวเพื่อรักษาส่วนแบ่งทางการตลาดและ สร้างผลกำไรให้กับธุรกิจโดยรักษาระดับต้นทุนไม่ให้สูงขึ้น ดังนั้นแนวทางที่มีประสิทธิผลในสภาวะดังกล่าว นั่นคือ การลดความสูญเสียต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในกระบวนการ
ความสูญเปล่า (Waste) เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นในทุกองค์กรธุรกิจโดยเฉพาะความสูญเปล่าที่เกิดขึ้นจาก การดำเนินงานที่แฝงในรูป ของเสีย ความล่าช้า และรวมถึงกิจกรรมต่าง ๆ ที่ไม่สร้างคุณค่าเพิ่ม (Non-value added) หรือผลกำไรให้กับธุรกิจ ดังนั้นการจำแนกประเภทความสูญเปล่าจึงมีบทบาทสนับสนุนการพัฒนาผลิตภาพด้วย การขจัดความสูญเปล่า โดยมุ่งแนวคิดการเพิ่มคุณค่าจากการใช้ทรัพยากรและองค์ประกอบของระบบ
หลักการแนวคิดลีนได้ถูกประยุกต์ในองค์กรชั้นนำหลายแห่งทั่วโลกจนประสบความสำเร็จด้วยการสร้างศักยภาพการแข่งขันและผลตอบแทนให้กับองค์กร แม้ว่าลีนจะเป็นปัจจัยหลักที่สนับสนุนให้องค์กรก้าวสู่ความเป็นเลิศ แต่หากปราศจากกลยุทธ์และโครงสร้างสนับสนุนก็คงไม่อาจบรรลุประสิทธิผลในการดำเนินโครงการปรับปรุงผลิตภาพด้วยแนวคิดลีน
ด้วยสภาวะการแข่งขันในตลาดยุคไร้พรมแดนแห่งศตวรรษใหม่นี้ได้ ผลักดันให้องค์กรธุรกิจพัฒนาศักยภาพเพื่อให้องค์กรอยู่รอดและสามารถแข่งขัน ได้อย่างยั่งยืน ดังนั้นแนวคิดการผลิตแบบลีน (Lean Manufacturing) จึงเป็นปัจจัยหลักที่สนับสนุนสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศ หรือองค์กรแห่งลีน (Lean Enterprise) โดยแนวคิดการผลิตแบบลีนได้มีพัฒนาการจากระบบการผลิตแบบโตโยต้าที่มุ่งขจัดความสูญเปล่าออกจากระบบการผลิตเพื่อสร้างคุณค่าเพิ่มให้กับ ลูกค้าซึ่งทำให้เกิดการเพิ่มผลิตภาพการดำเนินงานและส่งผลให้ต้นทุนโดยรวมลดลง ดังนั้นเป้าหมายสูงของระบบการผลิตแบบลีนจึงมุ่งสู่ความเป็นเลิศระดับ World Class ซึ่งมีมาตรวัดสู่ความเป็นเลิศทางการผลิต
ด้วยความเปลี่ยนแปลงจากปัจจัยการแข่งขัน เช่น ความเร็ว ต้นทุน คุณภาพ รวมถึงการเปิดเสรีทางการค้าและความต้องการที่หลากหลายของลูกค้าได้ผลักดันให้ทุกองค์กรต้องปรับตัวเพื่อรองรับกับสภาวะดังกล่าวด้วย การลดต้นทุนดำเนินงาน การลดความผิดพลาด ลดรอบเวลาปฏิบัติงาน และการตอบสนองต่ออุปสงค์อย่างทันเวลา ดังนั้นแนวทางองค์กรแห่งลีน (Lean Enterprise) จึงได้ถูกนำมาใช้ปฏิรูปองค์กรอย่างแพร่หลายในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมา
ด้วยสภาวะการแข่งขันยุคใหม่และความผันผวนราคาน้ำมันได้ส่งผลกระทบให้องค์กรธุรกิจต้องเร่งปรับตัวให้ทันกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง ดังนั้นการปฏิบัติการที่เป็นเลิศจึงเป็นปัจจัยสนับสนุนความสามารถการแข่งขันให้กับธุรกิจที่มุ่งตอบสนองลูกค้า ซึ่งการปฏิบัติการที่เป็นเลิศประกอบด้วยการจัดสรรทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพและความสอดคล้องทางคุณภาพด้วยระดับต้นทุนเหมาะสม
มาตรวัดเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ใช้ติดตามประเมินผลการปฏิบัติงานซึ่งเชื่อมโยงกับเป้าหมายหลักขององค์กร มาตรวัดสำคัญที่ถูกใช้ในสภาพการผลิตแบบลีน ประกอบด้วย อัตราการส่งมอบตรงเวลา และ ช่วงเวลานำการผลิต ดังนั้นผลรวมรอบเวลาจึงเป็นช่วงเวลาที่ชิ้นงานหนึ่งหน่วยถูกแปรรูปจนเสร็จสิ้น ส่วนอัตราการผลิตจะเท่ากับอัตรารอบเวลาของเครื่องจักรที่เป็นส่วนกลับของเวลาปฏิบัติการ ดังนั้นรอบเวลาสายการผลิตจึงเป็นผลรวมเวลาการขนถ่ายกับเวลาปฏิบัติงานนานที่สุดโดยไม่คำนึงถึงเวลาการตั้งเครื่อง
ด้วยสภาวะการเปิดเสรีทางการค้า (Liberalization) ที่ส่งผลต่อสภาวะการแข่งขันทางธุรกิจ ซึ่งรวมถึงธุรกิจอุตสาหกรรมที่ต้องปรับตัวให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงต่อกระแสแห่งโลกาภิวัฒน์ ดังนั้นในช่วงปลายศตวรรษที่แล้วจึงได้นำเทคนิคเครื่องมือต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนการปรับปรุงผลิตภาพปัจจุบันโรงงานต่าง ๆ ได้มุ่งปรับปรุงสมรรถนะทางธุรกิจเพื่อสร้างความได้เปรียบทางกลยุทธ์ให้เหนือคู่แข่งขันอย่างยั่งยืน ด้วยการบูรณาการแนวทางและเทคนิคต่าง ๆ ที่สนับสนุนการดำเนินงานโดยมุ่งการเพิ่มผลิตภาพกระบวนการในรูปแบบต่าง ๆ