ปัจจุบัน Lean และ Six Sigma ได้เป็นที่ยอมรับว่าเป็นแนวทางสนับสนุนการพัฒนาผลิตภาพทั่วทั้งองค์กรโดยมุ่งการปรับปรุงกระบวนการ ซึ่งส่งผลต่อการลดต้นทุนจากความสูญเปล่าและการยกระดับคุณภาพ สำหรับแนวทาง Six Sigma จะมุ่งเน้นการลดความผันแปรและปรับปรุงค่ายีลด์ในกระบวนการ (Process Yield) ด้วยการใช้เครื่องมือทางสถิติสำหรับการแก้ปัญหา (Statistical Tools) ส่วนแนวทางลีนจะมุ่งการลดความสูญเปล่าและปรับปรุงการไหลให้เกิดความต่อเนื่อง
โกศล ดีศีลธรรม |
. |
. |
ปัจจุบัน Lean และ Six Sigma ได้เป็นที่ยอมรับว่าเป็นแนวทางสนับสนุนการพัฒนาผลิตภาพทั่วทั้งองค์กรโดยมุ่งการปรับปรุงกระบวนการ ซึ่งส่งผลต่อการลดต้นทุนจากความสูญเปล่าและการยกระดับคุณภาพ สำหรับแนวทาง Six Sigma จะมุ่งเน้นการลดความผันแปรและปรับปรุงค่ายีลด์ในกระบวนการ (Process Yield) ด้วยการใช้เครื่องมือทางสถิติสำหรับการแก้ปัญหา (Statistical Tools) |
. |
ส่วนแนวทางลีนจะมุ่งการลดความสูญเปล่าและปรับปรุงการไหลให้เกิดความต่อเนื่อง แต่องค์กรชั้นนำหลายแห่งที่ได้นำแนวทางของลีน หรือ Six Sigma ไปดำเนินการพบว่าแนวทางทั้งสองนี้มีข้อจำกัด ดังเช่น โครงการ Six Sigma จะมุ่งการขจัดของเสีย (Eliminate Defect) แต่ไม่กำหนดแนวทางกระบวนการไหลอย่างเหมาะสมที่สุด |
. |
รูปที่ 1 เป้าหมายสำหรับการบูรณาการสู่ Lean Six Sigma |
. |
สำหรับแนวทางลีนไม่เน้นเครื่องมือทางสถิติขั้นสูงเพื่อสนับสนุนการบรรลุความสามารถกระบวนการ (Process Capabilities) จึงทำให้นักปฏิบัติการหลายท่านมีแนวคิดผนวกจุดเด่นของทั้งสองแนวทางนี้สำหรับการระบุ/จำแนกประเภทปัญหาของกระบวนการด้วยเครื่องมือที่เหมาะสม |
. |
ดังเช่น การแก้ปัญหาสต็อกหรืองานระหว่างผลิตอาจไม่ใช่เพียงแค่นำหลักการลีนโดยมุ่งลดขนาดรุ่นการผลิต (Batch Size) แต่จะต้องลดความผันแปรที่เกิดจากกระบวนการ (Process Variation) ด้วยเครื่องมือทาง Six Sigma เพื่อสนับสนุนการแก้ปัญหา ดังนั้นแนวคิดบูรณาการแนวทาง Lean กับ Six Sigma เพื่อปรับปรุงกระบวนการจึงมีความจำเป็นด้วยเหตุผล ดังนี้ |
. |
• เนื่องจากลีนไม่สามารถนำกระบวนการสู่การควบคุมทางสถิติ (Statistical Control) จึงไม่สามารถวัดผลให้เป็นรูปธรรม (Tangible) |
รูปที่ 2 ความผันแปรกระบวนการสาเหตุแห่งการเกิดของเสีย |
. |
• สำหรับการประยุกต์แนวทาง Six Sigma อย่างเดียวคงไม่สามารถปรับปรุงกระบวนการได้ภายในระยะเวลาอันสั้น |
รูปที่ 3 วงจรการปรับปรุงกระบวนการตามแนวทาง Lean Six Sigma |
. |
• เนื่องจากแผนภูมิกระบวนการ (Process Mapping) ซึ่งเป็นเครื่องมือหนึ่งของ Six Sigma ไม่ได้ระบุรายละเอียดกิจกรรมที่สร้างความสูญเปล่าเหมือนอย่างแผนภาพสายธารแห่งคุณค่า (Value Stream Mapping) ของ Lean ที่ถูกใช้จำแนกความสูญเปล่าซึ่งเป็นเครื่องมือสำหรับปรับปรุงกระบวนการ |
. |
รูปที่ 4 ตัวอย่างแผนภูมิกระบวนการ |
. |
• ประสิทธิผลแห่งการบูรณาการ Lean กับ Six Sigma จะสนับสนุนต่อการลดต้นทุนและสร้างผลตอบแทนให้กับธุรกิจสูงสุด |
ตารางเปรียบเทียบระหว่างแนวทาง Lean กับ Six Sigma |
. |
สำหรับการพัฒนาโครงการเพื่อบูรณาการกลยุทธ์ Lean ร่วมกับ Six Sigma จะต้องพิจารณาปัจจัยที่สำคัญ ดังนี้ |
รูปที่ 5 ปัจจัยการบูรณาการสู่ Lean Six Sigma |
. |
• เนื่องจาก Six Sigma เป็นแนวทางที่ดำเนินการในรูปแบบโครงการ(Project-based methodology) ซึ่งดำเนินการตามวงจร DMAIC โดยมีผู้ชำนาญการ (Expert Practitioner) หรือ Black belts เป็นผู้นำโครงการและมีระยะเวลาการดำเนินโครงการหลายเดือน สำหรับลีนอาจใช้เวลาเพียงไม่กี่สัปดาห์และสามารถแสดงผลลัพธ์จากการดำเนินกิจกรรม ดังนั้นหากจะบูรณาการแนวทางทั้งสองเป็นกลยุทธ์สำหรับปรับปรุงกระบวนการก็อาจดำเนินกิจกรรมการปรับปรุงตามแนวทางลีนในช่วงเริ่มต้นของโครงการ |
. |
. |
แนวทางลีนจะมุ่งดำเนินการตามหลักการทั่วไป (Broad Principle) และข้อเสนอแนะตามแนวทางปฏิบัติ (Practical Recommendations) เพื่อมุ่งบรรลุผลลัพธ์ของกิจกรรมปรับปรุง ดังเช่น การลดเวลาปรับเปลี่ยนรุ่นการผลิต (Changeover Time) |
. |
รูปที่ 6 กระบวนการสู่ความเป็นลีน |
. |
สำหรับแนวทางลีนได้เสนอแนะวิธีการและเทคนิควิเคราะห์พื้นฐานที่ไม่เน้นความซับซ้อน ซึ่งบางกรณีอาจไม่เพียงพอสำหรับการแก้ปัญหาที่มีความซับซ้อนซึ่งต้องใช้เครื่องมือวิเคราะห์ขั้นสูง (Advanced Analysis) ดังนั้นเครื่องมือทาง Six Sigma จึงมีความจำเป็นในช่วงดำเนินโครงการเพื่อเป็น Roadmap สำหรับการปรับปรุงและแก้ปัญหาสำคัญที่เกิดขึ้น |
. |
รูปที่ 7 แผนภาพเครื่องมือสนับสนุน Lean Six Sigma |
. |
• ก่อนดำเนินโครงการปรับปรุงจะต้องกำหนดวิสัยทัศน์หรือสถานะในอนาคต (Vision of the future state ) และศึกษาสถานะปัจจุบัน (Current State) ตามแนวทางของลีนจะใช้แผนภูมิสายธารแห่งคุณค่า (Value Stream Mapping) เพื่อศึกษาขั้นตอนการทำงานซึ่งใช้จำแนกกิจกรรมที่สร้างคุณค่าเพิ่มและความสูญเปล่าที่เกิดขึ้นในแต่ละขั้นตอน (Non-value Adding Step) |
. |
ดังนั้นสายธารแห่งคุณค่าจึงแสดงภาพรวมของสถานะกระบวนการปัจจุบัน (Current State) ซึ่งถูกใช้เป็นเครื่องมือระบุช่องว่างหรือความแตกต่าง (Gap) ระหว่างสถานะปัจจุบันกับสถานะที่ควรจะเป็นในอนาคตและนำมาสู่การระบุโครงการ (List of Projects) |
. |
สำหรับการแก้ปัญหาตามแนวทาง Lean Six Sigma โดยผลลัพธ์จากการวิเคราะห์ด้วยสายธารแห่งคุณค่าจะแสดงสารสนเทศที่จำเป็นสำหรับการปรับปรุง ดังนี้ |
. |
o ขั้นตอนกระบวนการไหลของงานตั้งแต่การรับคำสั่งซื้อตลอดจนการส่งมอบสินค้าหรือการให้บริการกับลูกค้า |
. |
รูปที่ 8 ตัวอย่างแผนภูมิสายธารแห่งคุณค่า |
. |
• สำหรับการบูรณาการลีนร่วมกับกระบวนการ Six Sigma ได้มีการเชื่อมโยงแนวทางลีนกับวงจร DMAIC ประกอบด้วย |
1. การนิยามคุณค่า/การวัด (Define Value/Measure) โดยในช่วงแรกจะมีการเขียนสถานะกระบวนการที่ดำเนินการในปัจจุบันและกำหนดสถานะที่ควรจะเป็นในอนาคต ดังรายละเอียดที่กล่าวในช่วงก่อน |
. |
2. วิเคราะห์การไหลคุณค่า (Value Streamlining Analyze) ด้วยการจำแนกกิจกรรมความสูญเปล่าทางทรัพยากรที่สิ้นเปลืองโดยไม่สร้างคุณค่าเพิ่มและซ่อนเร้นในกระบวนการ ซึ่งต้องดำเนินการขจัดความสูญเปล่าเหล่านี้ด้วยแนวทาง เช่น การดำเนินกิจกรรมบำรุงรักษา การลดเวลาตั้งเครื่อง และการดำเนินกิจกรรม 5 ส |
. |
3. ปรับปรุงคุณภาพและระบบการไหล (Improve System Flow and Quality/Improve) โดยมุ่งลความผันแปรกระบวนการที่ส่งผลต่อการไหลของงานด้วยการใช้เครื่องมือทางสถิติ รวมทั้งการใช้เครื่องมือป้องกันความผิดพลาด (Poka Yoke) และระบบบริหารด้วยการมองเห็น (Visual Management) เพื่อให้การดำเนินการเป็นไปอย่างเกิดประสิทธิผลและลดความสูญเสียในกระบวนการ |
. |
รูปที่ 9 การจัดทำระบบบริหารด้วยการมองเห็น |
. |
1. ระบบดึง (Pull Systems/Improve) โดยมุ่งลดขนาดรุ่นการผลิต (Batch Size)ด้วยการใช้เทคนิคการผลิตแบบทันเวลาพอดี (JIT) ซึ่งส่งผลต่อการลดช่วงเวลานำการผลิต (Lead Time) และระดับการจัดเก็บสต็อก |
. |
2. สู่ความสมบูรณ์ของระบบ (Systems Perfection/Control) จะเกิดขึ้นเมื่อได้ดำเนินตามขั้นตอนที่ 1-4 อย่างต่อเนื่องจนบรรลุผล โดยมีการจัดทำมาตรฐานสำหรับปฏิบัติงานและการติดตามผลลัพธ์เพื่อใช้ปรับปรุงกระบวนการอย่างต่อเนื่อง |
. |
รูปที่ 10 การเชื่อมโยงกระบวนการ Lean Six Sigma |
. |
ความสำคัญของการฝึกอบรม |
สำหรับการฝึกอบรมจะเกิดประสิทธิผลเมื่อได้มีการจัดทำแผนฝึกอบรมอย่างเป็นระบบที่สอดคล้องกับการปฏิบัติงานจริง โดยทั่วไปช่วงแรกจะมีการฝึกอบรมเกี่ยวกับหลักการลีนและตามด้วยเทคนิค Six Sigma เพื่อสนับสนุนการแก้ปัญหา สำหรับการฝึกอบรมหลักการลีนจะมีการจัดทำ Workshop ร่วมกับการบรรยายพื้นฐานและเครื่องมือสนับสนุนลีน โดยแต่ละ Workshop ได้มุ่งการนำไปใช้ประยุกต์ในภาคปฏิบัติ |
. |
รูปที่ 12 ตัวอย่างแผนการฝึกอบรม |
. |
ส่วนการฝึกอบรมเทคนิคและเครื่องมือ Six Sigma จะมีการจำแนกหัวข้อในแต่ละช่วงตามวงจร DMAIC ซึ่งมีการกำหนดระยะเวลาการฝึกอบรมในแต่ละช่วง รวมทั้งการฝึก Workshop เพื่อนำแนวทางปฏิบัติใช้ร่วมกับลีนในช่วงดำเนินโครงการและสามารถใช้เครื่องมือ/เทคนิคสำหรับการแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิผล โดยบุคลากรในแต่ละระดับจะได้รับการฝึกอบรมในเนื้อหาและหัวข้อที่จำเป็นดังนี้ |
. |
1. Master Black Belt คือ ผู้นำในกระบวนการ Six Sigma จะได้รับการอบรมเทคนิคสถิติขั้นสูง(Advanced statistical) เพื่อนำเทคนิคมาถ่ายทอดให้กับสมาชิก รวมทั้งให้การสนับสนุนและเป็นพี่เลี้ยงให้กับทีมงาน |
. |
. |
3. Green Belts เป็นผู้ทำงานร่วมกับ Black Belt เพื่อร่วมแก้ปัญหา ซึ่งจะได้รับการฝึกอบรมทางเทคนิคแก้ปัญหาด้วยสถิติเพื่อนำความรู้มาประยุกต์ใช้กับโครงการ |
. |
. |
ดังนั้นในช่วงต้นของการฝึกอบรมจึงดำเนินการบรรยายหลักการและเครื่องมือลีนด้วยการลองฝึกภาคปฏิบัติ(Lean workshop) กับโครงงานที่ไม่ซับซ้อน(Simpler project) โดยการสร้างแผนภูมิสายธารแห่งคุณค่าเพื่อลองฝึกจำแนกความสูญเปล่าใน Workshop ซึ่ง Black Belt จะนำแนวทางที่เรียนรู้จากการฝึก Workshop ไปใช้กับโครงงานลีน(Lean project) |
. |
เมื่อการฝึกอบรมเกี่ยวกับหลักการและเครื่องมือลีนเสร็จสิ้นก็จะดำเนินการฝึกอบรม Six Sigma โดยมุ่งการฝึกปฏิบัติตามกระบวนการ Six Sigma ร่วมกับการประยุกต์เครื่องมือลีนด้วยแผนภูมิสายธารแห่งคุณค่าเช่นเดียวกับช่วงแรกแต่จะมุ่งการนำไปใช้แก้ปัญหาที่เกิดขึ้นจริงในช่วงดำเนินโครงการ Lean Six Sigma |
. |
. |
สำหรับผู้ชำนาญการและหัวหน้าโครงการปรับปรุงด้วย Lean Six Sigma อย่าง Lean Black Belt จะได้รับการฝึกอบรมในชั้นเรียน(Classroom training) เป็นเวลา 30 วัน โดยจะมีส่วนร่วมในการฝึกภาคปฏิบัติ(Lean workshops) ทั้งหมด 5 ครั้ง |
. |
รวมทั้งดำเนินโครงการลีนและ Six Sigma อย่างละ 1 โครงการภายในระยะเวลา1 ปี หลังจากการฝึกอบรมเสร็จสิ้น ส่วน Black Belt จะมีทักษะความชำนาญในการประยุกต์เทคนิคและเครื่องมือของทั้ง Lean กับ Six Sigma สำหรับการแก้ปัญหาอันหลากหลายที่เกิดขึ้นในธุรกิจ |
. |
. |
สรุป |
สำหรับองค์กรที่มุ่งสู่ความเป็นเลิศหรือองค์กรแห่งลีน (Lean Enterprise) ได้ให้ความสำคัญกับแนวคิดการไหล โดยมุ่งให้เกิดการไหลของงานให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง ซึ่งมีการระบุนิยามคุณค่าไว้อย่างชัดเจนด้วยการใช้เครื่องมือและเทคนิคสนับสนุนให้เกิดการไหลในกระบวนการอย่างต่อเนื่อง ดังเช่น แผนภูมิสายธารแห่งคุณค่า ระบบการผลิตแบบดึง(Pull production systems) และการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องหรือ Kaizen |
. |
แต่ปัจจัยที่ขัดขวางการไหลของงานทั้งในส่วนของกระบวนการผลิตหรือกระบวนการทางธุรกรรม นั่นคือ ความผันแปรและการเกิดความบกพร่องหรือของเสีย(Defect) ดังนั้นแนวคิดบูรณาการ Lean Six Sigma จึงบทบาทและจำเป็นต่อการสนับสนุนให้กระบวนการปรับปรุงเกิดประสิทธิผลสูงสุด |
สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2539 www.thailandindustry.com
Copyright (C) 2009 www.thailandindustry.com All rights reserved.
ขอสงวนสิทธิ์ ข้อมูล เนื้อหา บทความ และรูปภาพ (ในส่วนที่ทำขึ้นเอง) ทั้งหมดที่ปรากฎอยู่ในเว็บไซต์ www.thailandindustry.com ห้ามมิให้บุคคลใด คัดลอก หรือ ทำสำเนา หรือ ดัดแปลง ข้อความหรือบทความใดๆ ของเว็บไซต์ หากผู้ใดละเมิด ไม่ว่าการลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดของบทความนี้ไปใช้ ดัดแปลง โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร จะถูกดำเนินคดี ตามที่กฏหมายบัญญัติไว้สูงสุด