ด้วยสภาวะการแข่งขันยุคใหม่และความผันผวนราคาน้ำมันได้ส่งผลกระทบให้องค์กรธุรกิจต้องเร่งปรับตัวให้ทันกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง ดังนั้นการปฏิบัติการที่เป็นเลิศจึงเป็นปัจจัยสนับสนุนความสามารถการแข่งขันให้กับธุรกิจที่มุ่งตอบสนองลูกค้า ซึ่งการปฏิบัติการที่เป็นเลิศประกอบด้วยการจัดสรรทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพและความสอดคล้องทางคุณภาพด้วยระดับต้นทุนเหมาะสม
โกศล ดีศีลธรรม |
. |
. |
ด้วยสภาวะการแข่งขันยุคใหม่และความผันผวนราคาน้ำมันได้ส่งผลกระทบให้องค์กรธุรกิจต้องเร่งปรับตัวให้ทันกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง ดังนั้นการปฏิบัติการที่เป็นเลิศจึงเป็นปัจจัยสนับสนุนความสามารถการแข่งขันให้กับธุรกิจที่มุ่งตอบสนองลูกค้า ซึ่งการปฏิบัติการที่เป็นเลิศประกอบด้วยการจัดสรรทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพและความสอดคล้องทางคุณภาพด้วยระดับต้นทุนเหมาะสม |
. |
โดยทั่วไปการดำเนินงานของธุรกิจส่วนใหญ่มักเกิดต้นทุนความบกพร่องทางคุณภาพ (Cost of Poor Quality) ด้วยสัดส่วนสูงถึงราว 20-30%เมื่อเทียบกับรายได้รวมขององค์กร ซึ่งต้นทุนความสูญเสียเหล่านี้ประกอบด้วยต้นทุนการป้องกัน (Prevention Cost), ต้นทุนการประเมิน (Appraisal Costs), ต้นทุนความผิดพลาดภายใน(Internal Failure Costs) |
. |
และต้นทุนความผิดพลาดภายนอก (External Failure Costs) นอกจากนี้ยังเกิดต้นทุนจากความไร้ประสิทธิภาพและการเสียโอกาส (Opportunity Cost) เช่น รายได้ที่สูญเสียจากลูกค้าที่เปลี่ยนใจหรือความสูญเสียโอกาสจากการขายสินค้าหรือการให้บริการ |
. |
รูปที่ 1 ต้นทุนความบกพร่องทางคุณภาพ (COPQ) |
. |
ดังนั้นการปฏิบัติงานที่เป็นเลิศจึงต้องขจัดลดความสูญเปล่าจากการดำเนินงานและความผันแปรจากกระบวนการ (Process Variation) ด้วยเหตุนี้โครงการคุณภาพจึงได้มีบทบาทปรับปรุงกระบวนการเพื่อลดความสูญเสีย โดยพัฒนาจากแนวคิดการบริหารคุณภาพโดยรวมหรือ TQM ที่ให้ความสำคัญกับการป้องกันการเกิดปัญหาล่วงหน้า การแก้ปัญหาด้วยวิธีการทางสถิติ และการใช้ศักยภาพพนักงานทุกคน เพื่อสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าสูงสุด ซึ่งมีปัจจัยความสำเร็จ ดังนี้ |
. |
รูปที่ 2 ความสูญเสียจากความผันแปร |
. |
* การมุ่งทำสิ่งที่ถูกต้องตั้งแต่เริ่มแรก (Right First Time) เพื่อให้เกิดการลดต้นทุน |
. |
ดังนั้นการดำเนินโครงการคุณภาพจึงมุ่งแนวทางปรับปรุงอย่างต่อเนื่องหรือไคเซ็น (Kaizen) ตามวงจรคุณภาพเดมมิง (PDCA) และการวิจัย&พัฒนา (R&D) เพื่อปรับปรุงคุณภาพผลิตภัณฑ์ที่สามารถตอบสนองและสร้างความพึงพอใจสูงสุดทั้งลูกค้าภายในกับคู่ค้าหรือลูกค้าภายนอก ตามปรัชญา TQM ได้มุ่งแนวทางแบบล่างไปบน (Bottom-up) และการบริหารแบบวิทยาศาสตร์ (Scientific Management) ดังนั้นประเด็นหลักสำคัญของการดำเนินโครงการคุณภาพ ประกอบด้วย |
. |
รูปที่ 3 กระบวนการตามวงจรคุณภาพเดมมิง |
. |
* คุณภาพจะต้องสามารถควบคุมและบริหารจัดการได้ |
. |
รูปที่ 4 ความสัมพันธ์ระหว่างผลิตภาพกับปัจจัยคุณภาพ |
. |
ปัจจุบันได้มีองค์กรมากมายที่สนับสนุนให้พนักงานทุกคนได้มีส่วนร่วมซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในกลยุทธ์ธุรกิจ (Business Strategy) ส่วนลูกค้าเปรียบเสมือนสินทรัพย์ที่มีคุณค่ากับองค์กร แม้ว่าสินทรัพย์ดังกล่าวไม่ได้แสดงไว้ในงบดุลก็ตาม ดังนั้นเพื่อสร้างศักยภาพระยะยาวให้กับองค์กรจึงต้องให้ความสำคัญกับปัจจัยคุณภาพ ประกอบด้วย |
. |
o ความเป็นผู้นำ (Leadership) โดยกำหนดทิศทางขององค์กรอย่างชัดเจนประกอบด้วย วิสัยทัศน์ขององค์กรในอนาคต (Vision of the future) เพื่อถ่ายทอดให้พนักงานทุกระดับได้รับทราบและความมีส่วนร่วมกับการดำเนินภารกิจอย่างทั่วทั้งองค์กร โดยผู้บริหารระดับสูงจะต้องให้คำมั่น (Commitment) กับการสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง |
. |
o การฝึกอบรม (Training) เป็นการพัฒนาทักษะให้กับบุคลากรซึ่งเป็นปัจจัยหลักที่สร้างความสามารถการแข่งขันให้กับองค์กร โดยมีการเทียบเคียงหรือ Benchmark กับผู้ปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) เพื่อดำเนินการฝึกอบรมให้กับบุคลากรให้เกิดความคิดแบบ Lateral Thinking |
. |
ตามรายงานประจำปีของโตโยต้าได้มีการรับข้อเสนอแนะเพื่อการปรับปรุงจากพนักงานถึง 1.91 ล้านข้อเสนอแนะและประมาณ 95% ของข้อเสนอแนะเหล่านี้ได้รับการยอมรับและได้มีการดำเนินการในเวลาต่อมา นั่นคือ การเปิดโอกาสให้พนักงานมีส่วนร่วมกับการแสดงความคิดเห็นเพื่อการปรับปรุง นอกจากนี้ยังมอบหมายให้พนักงานระดับปฏิบัติการสามารถตัดสินใจในงานประจำวัน ทำให้ลดภาระงานของผู้บริหารระดับกลางและมีเวลาสำหรับการวางแผนมากขึ้น |
. |
นอกจากนี้เครื่องมือคุณภาพได้มีบทบาทสนับสนุนองค์กรที่ดำเนินตามแนวทาง TQM โดยเฉพาะทีมงานคุณภาพได้ใช้เครื่องมือเหล่านี้เพื่อติดตามทบทวนสาเหตุปัญหาการเกิดของเสียในสายการผลิตและดำเนินการแก้ไข (Corrective Section) ตามวงจรปรับปรุงได้อย่างมีประสิทธิผล สำหรับเครื่องมือที่ถูกใช้สนับสนุนการแก้ปัญหา ประกอบด้วย |
. |
รูปที่ 5 ต้นแบบกระบวนการทางคุณภาพ |
. |
* เครื่องมือวิเคราะห์ข้อมูลและแสดงผล ประกอบด้วย แผนภูมิก้างปลา, ฮิสโตแกรม (Histogram), การวิเคราะห์พาเรโต้ (Pareto Analysis) แผนภูมิการกระจาย (Scatter Diagram), แผนภูมิใยแมงมุม (Spider Diagram), แผนภูมิการไหล (Flowchart) และการวิเคราะห์ต้นทุน-ผลประโยชน์ (Cost-benefit Analysis) |
. |
* เครื่องมือสนับสนุนการสร้างความคิด ประกอบด้วย การระดมสมอง (Brainstorming), แผ่นใบงานการตรวจสอบ (Check Sheet), การสัมภาษณ์/สำรวจ (Interviewing/Surveying) |
. |
รูปที่ 6 การแสดงข้อมูลด้วยแผนภูมิฮิสโตแกรม |
. |
โดยมีผู้กล่าวว่าหากลูกค้าที่ไม่พึงพอใจจากการได้รับบริการเพิ่มขึ้น 5 % อาจส่งผลกระทบต่อการสร้างผลกำไรที่ลดลงกว่า 25% ด้วยการบอกกล่าวถึงประสบการณ์ที่ได้รับให้กับบุคคลข้างเคียงอย่างน้อย 9-10 คน ส่วนลูกค้าที่ได้รับความพึงพอใจได้บอกกล่าวกับบุคคลข้างเคียงเพียง 5 คนเท่านั้น |
. |
ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ได้มีบทบาทสนับสนุนการปรับปรุงธุรกิจภาคบริการด้วยการปรับปรุงกระบวนการที่เพิ่มคุณค่าการตอบสนองความต้องการให้กับลูกค้าโดยมีพนักงานทุกระดับตั้งแต่ระดับผู้บริหารจนถึงระดับปฏิบัติการร่วมดำเนินการ |
. |
รูปที่ 7 ปัจจัยการสร้างคุณค่าให้กับลูกค้า (Customer Value) |
. |
สำหรับความต้องการของลูกค้ามักคาดหวังการตอบสนองทางผลิตผลหรือผลลัพธ์ (Output Requirement) ซึ่งแสดงด้วยผลิตภัณฑ์ที่ส่งมอบ เช่น สถานะความเป็นสมาชิกของสนามกอล์ฟ ส่วนความต้องการได้รับบริการ(Service Requirement) เป็นสิ่งที่ลูกค้าคาดหวังว่าจะได้รับการตอบสนอง เช่น การได้รับบริการอย่างสุภาพ ความสะอาดของอาหาร รสชาติอาหาร เป็นต้น |
. |
โดยลูกค้ายินดีที่จะจ่ายแพงขึ้นเพื่อได้รับบริการอย่างเป็นมิตร (Friendly Service) ดังนั้นผู้ให้บริการจึงต้องให้ความสำคัญกับประเด็นดังกล่าว เนื่องจากลูกค้าส่วนใหญ่มักคาดหวังจากการได้รับบริการสูงกว่าความต้องการทางผลิตผล ดังกรณีธุรกิจ Fast- food ชั้นนำที่มีสาขาทั่วโลกได้ให้ความสำคัญกับปัจจัยการดำเนินธุรกิจอย่างเท่าเทียมกัน ประกอบด้วย อาหาร การบริการ และสุขอนามัย |
. |
ซึ่งปัจจัยการให้บริการที่เป็นเลิศสามารถประเมินวัดผลด้วยปัจจัย "ความเร็วจากการให้บริการ" ซึ่งมีผลต่อยอดขาย ดังนั้นจึงได้ดำเนินการศึกษาสภาพการทำงานและพบว่ายอดขายหลักแต่ละวันได้เกิดในช่วงพักอาหารกลางวันระหว่างเวลา 12.00-14.00 น. ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ลูกค้ารอคอยเพื่อรับประทานอาหารกลางวันอย่างคับคั่ง |
. |
ดังนั้นความรวดเร็วการให้บริการจึงเป็นปัจจัยหลักที่ตอบสนองความพึงพอใจให้กับลูกค้า นั่นคือหากรอบเวลาการให้บริการลดลงก็จะส่งผลต่อยอดขายที่เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามความรวดเร็วจากการให้บริการขึ้นกับปัจจัยความพร้อมของพนักงานเนื่องจากกระบวนการจัดเตรียมอาหารใช้แรงงานเป็นหลัก |
. |
นอกจากนี้ยังพบว่าปัจจัยที่สร้างความไม่พึงพอใจจากการรับบริการและทำให้ลูกค้าไม่สั่งอาหารหรือลุกเดินออกจากร้าน คือ เวลาการรอคอยในแถว (Queue Time) ดังนั้นทางผู้ประกอบการจึงได้ศึกษารอบเวลาการให้บริการเพื่อกำหนดกลยุทธ์ให้บริการให้สอดคล้องกับปริมาณความต้องการของลูกค้า รวมทั้งจัดทำคู่มือปฏิบัติงานให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน |
. |
รูปที่ 8 การประเมินความพึงพอใจ |
. |
ด้วยเหตุนี้หลายองค์กรจึงเชื่อมโยงผลตอบแทนผู้บริหารด้วยผลลัพธ์จากการดำเนินโครงการพัฒนาคุณภาพ ส่วนกรณีธุรกิจโรงพยาบาลได้กำหนดโครงการพัฒนาคุณภาพเพื่อสร้างประสิทธิภาพการให้บริการ เช่น การลดเวลารอคอย ลดความผิดพลาดจากการบำบัดด้วยยา ลดความผิดพลาดในกระบวนการประกันสุขภาพ เป็นต้น |
. |
แม้แต่องค์กรชั้นนำระดับโลกอย่าง IBM ยังให้ความสำคัญกับกระบวนการให้บริการลูกค้าเพื่อสร้างความประทับใจ และนี่ก็เป็นอีกผลหนึ่งที่ทำไมองค์กรชั้นนำหลายแห่งจึงให้ความสำคัญกับการปรัชญาคุณภาพ |
สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2539 www.thailandindustry.com
Copyright (C) 2009 www.thailandindustry.com All rights reserved.
ขอสงวนสิทธิ์ ข้อมูล เนื้อหา บทความ และรูปภาพ (ในส่วนที่ทำขึ้นเอง) ทั้งหมดที่ปรากฎอยู่ในเว็บไซต์ www.thailandindustry.com ห้ามมิให้บุคคลใด คัดลอก หรือ ทำสำเนา หรือ ดัดแปลง ข้อความหรือบทความใดๆ ของเว็บไซต์ หากผู้ใดละเมิด ไม่ว่าการลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดของบทความนี้ไปใช้ ดัดแปลง โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร จะถูกดำเนินคดี ตามที่กฏหมายบัญญัติไว้สูงสุด