เนื้อหาวันที่ : 2010-06-08 16:49:54 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 12529 views

การประเมินผลิตภาพระดับสายการผลิต

ปัจจุบันเป็นที่ทราบกันดีว่าการปรับปรุงผลิตภาพกระบวนการได้มีบทบาทลดต้นทุนและสร้างผลกำไรให้กับธุรกิจ ดังนั้นเป้าหมายสำหรับการพัฒนาผลิตภาพกระบวนการจึงมุ่งลดอัตราของเสียและลดรอบเวลาการทำงานเพื่อสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าซึ่งส่งผลต่อการเพิ่มส่วนแบ่งตลาด (Market Share) ด้วยเหตุนี้การประเมินวัดผลด้วยมาตรวัดกระบวนการ (Process Metric) จึงถูกเชื่อมโยงกับปัจจัยมาตรวัดคุณภาพผลิตภัณฑ์และผลตอบแทนการลงทุน

โกศล ดีศีลธรรม
Koishi2001@yahoo.com

.

.

ปัจจุบันเป็นที่ทราบกันดีว่าการปรับปรุงผลิตภาพกระบวนการได้มีบทบาทลดต้นทุนและสร้างผลกำไรให้กับธุรกิจ  ดังนั้นเป้าหมายสำหรับการพัฒนาผลิตภาพกระบวนการจึงมุ่งลดอัตราของเสียและลดรอบเวลาการทำงานเพื่อสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าซึ่งส่งผลต่อการเพิ่มส่วนแบ่งตลาด (Market Share) ด้วยเหตุนี้การประเมินวัดผลด้วยมาตรวัดกระบวนการ (Process Metric) จึงถูกเชื่อมโยงกับปัจจัยมาตรวัดคุณภาพผลิตภัณฑ์และผลตอบแทนการลงทุน

.

โดยทั่วไปมาตรวัดกระบวนการได้มุ่งเน้นประเมินคุณลักษณะผลิตภัณฑ์ (Product Attribute) แต่อาจไม่ครอบคลุมถึงการวัดระดับคุณภาพผลิตภัณฑ์ โดยเฉพาะมาตรวัดเกี่ยวกับสมรรถนะผลิตภัณฑ์ เช่น ขนาด ความคงทน ความสะดวกใช้งานและความปลอดภัย เป็นต้น สำหรับการวัดผลิตภาพตามมุมมองทางเศรษฐศาสตร์ได้ถูกแสดงด้วยสัดส่วนผลิตผลเทียบกับปัจจัยนำเข้า ซึ่งตรงกับแนวคิดประสิทธิภาพ (Efficiency Concept)

.

ส่วนการวัดผลทางคุณภาพมักกล่าวถึงประสิทธิผล (Effectiveness) แต่ประเด็นหลังมักไม่ค่อยให้ความสนใจในการวัดผลสำหรับบางธุรกิจ เนื่องจากการวัดปัจจัยคุณภาพมีความยุ่งยากและไม่สามารถแสดงผลเป็นรูปธรรม ดังนั้นการประเมินผลงานระดับสายการผลิตจึงมักแสดงด้วยความถี่หรือจำนวนครั้งของความผิดพลาดที่ส่งผลให้เกิดของเสียและต้นทุนการแก้ไขงาน   

.

รูปที่ 1 การเชื่อมโยงปัจจัยสายการผลิต

.

โดยผู้จัดการโรงงานสามารถประเมินผลจากการปฏิบัติงานเทียบกับมาตรฐานด้วยการพิจารณาปัจจัยหลัก ดังนี้
* ปริมาณทรัพยากรที่ถูกใช้ในกระบวนการสร้างคุณค่าเพิ่ม เช่น ระยะเวลาทำงานของแรงงาน (Man-hours) ชั่วโมงการเดินเครื่องจักร (Machine-hours) เป็นต้น
* ปริมาณวัตถุดิบที่ถูกใช้สำหรับการแปรรูปตามคำสั่งผลิต
* เวลาที่ใช้สำหรับการตั้งเครื่องและค่าใช้จ่ายทางด้านเครื่องมือ
* ปริมาณงานเสียหรืองานที่ต้องส่งแก้ไข

.

รูปที่ 2 กระบวนการแปรรูปเพื่อสร้างผลิตผล

.

โดยทั่วไปผู้ประกอบการภาคการผลิตมักใช้อัตราการเกิดของเสีย (Defect Rate) เป็นตัวชี้วัดผลิตภาพกระบวนการ ซึ่งตัวชี้วัดดังกล่าวได้ถูกใช้เทียบเคียงระหว่างผลลัพธ์หรือผลิตผลจากกระบวนการกับเป้าหมายเพื่อประเมินต้นทุนกระบวนการและการกำหนดกิจกรรมไคเซ็น ดังนั้นการวัดผลิตภาพกระบวนการด้วยอัตราการเกิดของเสียจึงแสดงด้วยอัตราผลิตผลดี (Yield) ตามความสัมพันธ์ ดังนี้

.

.

จากความสัมพันธ์สมการ 1 และ 2 เป็นการวัดผลิตภาพจากปริมาณของเสียที่ตรวจพบจากผลิตภัณฑ์ขั้นสุดท้าย (Final Product) หรือชิ้นงานหลังจากผ่านขั้นตอนทุกกระบวนการ ดังนั้นการวัดอัตราผลิตผลที่มีคุณภาพหรือผลิตภาพกระบวนการ สามารถแทนด้วยความสัมพันธ์

 .

รูปที่ 3 ปัจจัยสนับสนุนการลดต้นทุน

 .
โดยต้นทุนรวมสำหรับผลิตภัณฑ์มีความสัมพันธ์กับอัตราการเกิดของเสีย นั่นคือ
             ต้นทุนรวม = (ต้นทุนต่อหน่วย) x (1 + อัตราการเกิดของเสีย)         ……………… (3)
 .

สำหรับการวัดความสูญเสียจากกระบวนการทั่วไปได้ใช้ข้อมูลของเสียหรือผลิตผลที่ผ่านกระบวนการขั้นสุดท้ายในรูปผลิตภัณฑ์จึงทำให้ไม่สามารถทราบถึงปัจจัยหลักหรือสาเหตุความสูญเสียที่เกิดขึ้นในแต่ละกระบวนการซึ่งส่งผลต่อต้นทุนคุณภาพสูงขึ้น แม้ว่าหลายองค์กรจะมีผลกำไรก็ตามแต่ได้เกิดความสูญเสียที่ซ่อนเร้นภายในกระบวนการหรือเรียกว่า Hidden Factory

 .

ดังนั้นเพื่อทำความเข้าใจความสูญเสียดังกล่าวจึงต้องประเมินค่าผลิตผลดีที่เกิดขึ้น (Throughput Yield) ซึ่งแสดงถึงความน่าจะเป็นหรือโอกาสที่จะเกิดผลิตผลไม่ตรงตามข้อกำหนดทางคุณภาพ (Non-conformance) โดยค่า Throughput สัมพันธ์กับความสูญเสียที่ซ่อนเร้น ดังนี้

 .

 รูปที่ 4 การแสดงความสูญเสียซ่อนเร้นในกระบวนการ

 .

* Rolled Throughput Yield (RTY) เป็นความน่าจะเป็นที่ผลิตภัณฑ์จะไม่เกิดความบกพร่องหรือของเสีย (Defect Free) เมื่อได้ผ่านขั้นตอนทุกกระบวนการ  โดยค่า RTY สามารถประเมินได้จากการหาค่า Yield ที่เกิดขึ้นในแต่ละกระบวนการ ดังนั้นผลรวมของ RTY จึงแสดงด้วยความสัมพันธ์ 

 YRTY = e-DPU   เมื่อ DPU = โอกาสการเกิดของเสียต่อหน่วย (Defect per Unit)

รูปที่ 5 การหาค่า Rolled Throughput Yield ทั้งกระบวนการ

 .

* ค่าผลิตผลดีทั่วไป (Normalized Yield) คือ ค่าเฉลี่ยของ Throughput Yield ที่เกิดขึ้นแต่ละกระบวนการ

รูปที่ 6 ตัวอย่างการแสดงค่า RTY ในสายผลิตภัณฑ์

 .

โดยทั่วไปค่า Rolled Throughput Yield ทั้งกระบวนการผลิตจะต่ำกว่าค่า Yield ของ Normalized Yield จากกระบวนการเดี่ยว นั่นคือ หากสายการผลิตหนึ่งประกอบด้วย 100 กระบวนการ โดยแต่ละกระบวนการมีค่า Yield 0.99 ดังนั้นค่า RTY ของทั้งสายการผลิต = (0.99)100 = 0.366

Yoverall = (Ystep)number of steps

 .

สำหรับข้อมูลต้นทุนความสูญเสียจากปัญหาความบกพร่องทางคุณภาพ (COPQ) ได้ถูกใช้ประเมินความสามารถทำกำไร (Profitability) โดยข้อมูลต้นทุนความสูญเสียได้ถูกจำแนกตามประเภท ดังนี้

 .

1. ต้นทุนป้องกัน (Prevention cost)  เป็นต้นทุนสำหรับป้องกันไม่ให้เกิดของเสียหรือความบกพร่อง (Non-conform to Specifications) ประกอบด้วย ค่าใช้จ่ายฝึกอบรม การวางแผน การส่งเสริมกิจกรรมคุณภาพ เป็นต้น
2.  ต้นทุนการประเมิน (Appraisal Costs) เป็นต้นทุนที่เกิดขึ้นจากการตรวจสอบหรือขั้นตอนประเมินคุณภาพผลิตภัณฑ์ที่ไม่ตรงตามข้อกำหนด เช่น การทดสอบวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์

 .

3.  ต้นทุนความเสียหายภายใน (Internal Failure Costs) เป็นต้นทุนที่เกิดขึ้นจากการแก้ไขงานก่อนที่จะดำเนินการส่งมอบให้กับลูกค้า
4. ต้นทุนความเสียหายภายนอก (External Failure Costs) เกิดขึ้นเมื่อตรวจพบความบกพร่องหรือของเสียหลังจากได้ส่งมอบสินค้าถึงมือลูกค้าแล้ว เช่น การซ่อมแซม การส่งของคืน ค่าประกัน และความเสื่อมเสียภาพพจน์ขององค์กร เป็นต้น

 .

รูปที่ 7 การจำแนกโครงสร้างต้นทุนทางคุณภาพ

 .

ส่วนการคำนวณต้นทุนต่อหน่วยผลิตภัณฑ์ประเมินได้จากผลรวมต้นทุนทางตรง (Direct Cost) กับต้นทุนงานแก้ไขหารด้วยค่า Yield แสดงด้วยความสัมพันธ์ ดังนี้

 .

 .
เมื่อ Kd = ต้นทุนทางตรงสำหรับการผลิตต่อหน่วย 
      I   = ปริมาณปัจจัยนำเข้า
      Kr = ต้นทุนสำหรับงานแก้ไขต่อหน่วย
      R  = จำนวนหน่วยชิ้นงานที่ต้องแก้ไข 
      Y  = ค่าผลิตผลดี (Yield)
 .

โดยทั่วไปการเก็บข้อมูลผลิตภาพกระบวนการเกี่ยวกับชิ้นงานที่มีคุณภาพดีอาจทำการสุ่มตัวอย่าง ซึ่งต้นทุนต่อหน่วยประกอบด้วย ค่าแรงงาน การตรวจสอบ การจัดสรรค่าโสหุ้ยในกระบวนการออกแบบ และระบบสนับสนุนกิจกรรมการผลิต

 .

รูปที่ 8 การนำเสนอข้อมูลต้นทุนความสูญเสียตามช่วงเวลา

 .

การวัดผลิตภาพสามารถเชื่อมโยงกับปัจจัยคุณภาพด้วยการบูรณาการดัชนีคุณภาพและค่า Product Yield เรียกว่า Quality-productivity Ratio (QPR) ซึ่งหาได้จากความสัมพันธ์

 .

 .

โดยดัชนีคุณภาพประกอบด้วยต้นทุนทางคุณภาพ ดังนั้นสัดส่วนค่า QPR จะเพิ่มขึ้นเมื่อต้นทุนกระบวนการหรืองานแก้ไขลดลง ซึ่งถูกใช้ประเมินผลประกอบการของธุรกิจตามความสัมพันธ์ ดังนี้

 .

 .

สำหรับ QPR ไม่เพียงแค่สะท้อนถึงคำมั่นขององค์กรที่ให้กับลูกค้าซึ่งประเมินจากความสามารถลดอัตราการคืนสินค้าจากลูกค้า แต่สัดส่วนดังกล่าวยังสะท้อนถึงปัจจัยภายนอกด้วยตัวชี้วัดทางคุณภาพที่ส่งผลให้เกิดการสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า  

 .

ช่วงเวลาหลายปีที่ผ่านมาอุตสาหกรรมที่มีสายการประกอบซับซ้อนอย่างผลิตภัณฑ์อิเลคทรอนิคส์ได้มีความพยายามลดต้นทุนต่อหน่วย (Cost per I/O) จากกิจกรรมแปรรูปในสายการประกอบโดยมุ่งปรับปรุงปัจจัยหลัก เช่น ปัจจัยทางคุณภาพ ลดรอบเวลาการผลิต ลดต้นทุนการทดสอบ ตลอดจนลดงานแก้ไขและอัตราการเกิดของเสีย เป็นต้น

 .

ดังนั้นหากผู้ประกอบการไม่สามารถปรับปรุงปัจจัยเหล่านี้ก็จะไม่สามารถลดต้นทุนได้ตามเป้าหมาย ซึ่งในสภาพแวดล้อมการผลิตจริงทางผู้ประกอบการส่วนใหญ่ได้เผชิญกับปัญหาและปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อกลยุทธ์ลดต้นทุนการผลิต เช่น ความซับซ้อนของสายการประกอบ อัตราค่า Yield ลดลง ต้นทุนการทดสอบ งานแก้ไขมากขึ้น และรอบเวลาสูงกว่าเป้าหมาย เป็นต้น 

.

รูปที่ 9 ปัจจัยผลักดันให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในอุตสาหกรรม

.

ดังนั้นองค์กรที่ดำเนินโครงการปรับปรุงคุณภาพจึงได้ใช้มาตรวัดผลิตภาพกระบวนการด้วยอัตราการเกิดของเสียต่อหน่วย (DPO) เพื่อกำหนดเป้าหมายลดต้นทุนสายการประกอบผลิตภัณฑ์ โดยเฉพาะการใช้ข้อมูล DPO ร่วมกับเอกสารแสดงรายการวัสดุ (Bill of Material) หรือ BOM เพื่อกำหนดเป้าหมายหรือระดับคุณภาพสำหรับการส่งมอบ วิธีการทดสอบ และประมาณค่า Yield

.

ในบางกรณีอาจใช้ข้อมูล DPO ประเมินคาดการณ์จำนวนของเสียที่อาจเกิดขึ้นในรุ่นการผลิตต่อไปและประมาณต้นทุนที่เกี่ยวข้อง เช่น การเกิดของเสีย การทดสอบและแก้ไขข้อบกพร่อง (Debug) เป็นต้น  สำหรับวิศวกรออกแบบอาจใช้ข้อมูล DPO

.

สำหรับปรับปรุงความน่าเชื่อถือผลิตภัณฑ์ (Product Reliability) และกำหนดแผนการทดสอบ (Test Plan) ได้อย่างเหมาะสมด้วยการนำข้อมูลมาสร้างแบบจำลองโอกาสที่พบความบกพร่องจากเครื่องทดสอบแต่ละเครื่อง ทำให้สามารถออกแบบผลิตภัณฑ์ที่สอดคล้องตามข้อกำหนด (Specification) และสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า ซึ่งเป็นปัจจัยหลักที่สนับสนุนการสร้างความน่าเชื่อถือและความสามารถในการแข่งขันให้กับธุรกิจ

สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2539 www.thailandindustry.com
Copyright (C) 2009 www.thailandindustry.com All rights reserved.

ขอสงวนสิทธิ์ ข้อมูล เนื้อหา บทความ และรูปภาพ (ในส่วนที่ทำขึ้นเอง) ทั้งหมดที่ปรากฎอยู่ในเว็บไซต์ www.thailandindustry.com ห้ามมิให้บุคคลใด คัดลอก หรือ ทำสำเนา หรือ ดัดแปลง ข้อความหรือบทความใดๆ ของเว็บไซต์ หากผู้ใดละเมิด ไม่ว่าการลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดของบทความนี้ไปใช้ ดัดแปลง โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร จะถูกดำเนินคดี ตามที่กฏหมายบัญญัติไว้สูงสุด