หลายคนอาจจะมีคำถามว่า มีความแตกต่างระหว่าง การทำให้เป็นลีน (Doing Lean) และ การเป็นลีน (Being Lean) แล้วความหมายที่แท้จริงใน การเป็นลีน (Being Lean) คืออะไร ? ในปี 1990 James Womack และ Daniel Jones ได้คิดคำว่า ระบบการผลิตแบบลีน (Lean Production) ขึ้นในหนังสือของพวกเขาที่ชื่อว่า The Machine that Changed the World ระบบการผลิตแบบลีน จะพูดถึงกระบวนทัศน์ของการผลิต (Manufacturing Paradigm) ที่ยึดตามเป้าหมายพื้นฐานของระบบการผลิตแบบโตโยต้า (Toyota Production System: TPS) เป็นหลัก
วิธีการจัดการกระบวนการธุรกิจตามแนวคิด Six Sigma คือ แนวทางที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ โดยมุ่งเน้นการใช้เครื่องมือและพลังของ Lean Six Sigma ในกระบวนการธุรกิจที่สำคัญของคุณ เพื่อที่จะช่วยให้คุณค้นหาโอกาสในเชิงกลยุทธ์ (Strategic) และโอกาสในการมุ่งเน้นลูกค้าให้มากที่สุดสำหรับโครงการด้าน Lean Six Sigma ในองค์กรของคุณ
การออกแบบองค์กรที่บริหารตนเอง ต้องมีผู้นำหรือหัวหน้าเป็นผู้แนะนำ คอยประสาน หรือสนับสนุนการทำงานของกลุ่มให้บรรลุเป้าหมาย การทำงานของทีมจะมีการทำหน้าที่หลายอย่าง โดยจำลองมาจากโครงสร้างหน้าที่ขององค์กรทั้งหมด โดยแต่ละทีมอาจมีการปรับการทำงานเพื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์ของตนหรือพื้นที่ที่ทีมอยู่ ไม่จำเป็นที่ทุกกลุ่มต้องมีบรรทัดฐานเหมือนกันหมดในทุกเรื่อง
ต้นทุนบางรายการอาจจะไม่สามารถระบุปริมาณตัวผลักดันต้นทุนได้ง่าย หรือเป็นต้นทุนสำหรับการทำกิจกรรมสนับสนุนให้แก่กิจกรรมหลักอีกต่อหนึ่ง เช่น เงินเดือนผู้ควบคุมงานมีลักษณะเป็นต้นทุนงานสนับสนุน ในทางทฤษฎีอาจต้องทำการจดบันทึกว่าผู้ควบคุมงานใช้เวลาไปเพื่อการควบคุมดูแลงานในแต่ละกลุ่มงานอย่างไร เพื่อจะได้ทำการโอนต้นทุนไปยังหน่วยผลิตภัณฑ์หรือกลุ่มต้นทุนต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้อง
ในการทำงานหรือการบริหารงานนอกจากจะต้องมีความรู้ความสามารถในงานที่ปฏิบัติแล้ว สิ่งสำคัญประการหนึ่งของผู้ปฏิบัติงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหัวหน้างานหรือผู้บริหาร คือ การตัดสินใจ (Decision Making) เพราะการตัดสินใจเปรียบเสมือนหัวใจของการปฏิบัติงานและบริหารงาน ทั้งนี้เพราะการตัดสินใจจะมีอยู่ในแทบทุกขั้นตอนและทุกกระบวนการของการทำงาน
องค์ประกอบของต้นทุนการผลิตในปัจจุบันนี้มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมีนัยสำคัญมาก โครงสร้างต้นทุนในอดีตของกิจการส่วนใหญ่จะมีค่าแรงงานทางตรงเป็นส่วนประกอบหลัก ที่สำคัญบางครั้งอาจจะถึง 50 % ของต้นทุนรวมทั้งหมด หรืออาจจะมากกว่านั้น และจะมีวัตถุดิบทางตรงเป็นส่วนประกอบหลักที่สำคัญอีกหนึ่งรายการ ทำให้ระบบบัญชีต้นทุนถูกออกแบบมาโดยมุ่งประเด็นเพื่อการวัดมูลค่า การควบคุม และการประเมินผลงานในส่วนของแรงงานทางตรงและวัตถุดิบทางตรงมากกว่า
ในสภาวะเศรษฐกิจปัจจุบันองค์กรต่าง ๆ ล้วนจำเป็นต้องปรับตัวเพื่อความอยู่รอด และความเจริญก้าวหน้า ซึ่งประสิทธิผล (Effectiveness) ขององค์กรขึ้นอยู่กับความสามารถขององค์กรในการที่จะเรียนรู้ถึงสถานการณ์ แนวคิด เทคนิคการดำเนินงาน และเทคโนโลยีต่าง ๆ จากภายนอก เรียนรู้จากประสบการณ์ซึ่งกันและกันภายในองค์กร แล้วนำมาพัฒนาสร้างสรรค์ให้ตนเองสามารถบริหารจัดการตนเองไปได้อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้องค์กรสามารถขับเคลื่อนตนเองไปได้อย่างมีประสิทธิภาพในกระแสของการแข่งขันในยุคโลกาภิวัฒน์
ตลอดระยะเวลาของประวัติศาสตร์ธุรกิจ บริษัทส่วนใหญ่ทั้งหลายจะสร้างกระบวนการ (Process) ของตัวเองสำหรับทุก ๆ สิ่งที่ต้องทำหรือดำเนินการ คุณคงจะพอนึกภาพของกระบวนการธุรกิจ (Business Process) ต่าง ๆ ได้บ้างจากชีวิตประจำวันไม่ว่าจะเป็นธุรกิจหรือเป็นเรื่องส่วนตัว แต่ละบริษัทต่างก็มีกระบวนการธุรกิจที่แตกต่างกัน มีความซับซ้อนที่แตกต่างกัน จนบริษัทหนึ่ง ๆ ไม่อาจดำเนินการกระบวนการธุรกิจได้ทั้งหมด จึงต้องจัดจ้างจากภายนอก (Outsourcing) หรือรับช่วงการผลิต (Sub-contract) ทำให้บริษัทที่ต้องจัดจ้างกิจกรรมการดำเนินงานจากภายนอกจะต้องคำนึงถึงคุณภาพหรือสมรรถนะของการดำเนินงานของผู้รับจ้าง
ตามแบบดั้งเดิมปรัชญาเกี่ยวกับการมุ่งเน้นอย่างต่อเนื่องต่อ Kaizen ซึ่งหมายถึงการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง และ Genchi Genbutsu ซึ่งหมายถึง ไปและดูให้เห็นจริง นี้และกลุ่มของข้อปฏิบัติถูกส่งผ่านจากครูสู่นักเรียนโดยถ้อยคำและการทำให้ดูเป็นตัวอย่าง มันไม่ได้ถูกเขียนบันทึกไว้ ในโรงงานมักรู้จักกันในนามของ TPS (Toyota Production System)
ลองเปลี่ยนมุมมองจากกระบวนการธุรกิจเชิงพาณิชย์มาเป็นเชิงการทหารบ้าง เพราะนวัตกรรมต่าง ๆ ในโลกนี้เป็นผลมาจากการค้นคว้าวิจัยทางการทหาร กระบวนการธุรกิจของทหารนั้นไม่ได้มุ่งเน้นที่ผลกำไรเชิงพาณิชย์ แต่เน้นที่การได้ชัยชนะเหนือสมรภูมิรบด้วยการสูญเสียน้อยที่สุด การทำสงครามนั้นเป็นธุรกิจที่ลงทุนสูงและมีความเสี่ยงสูงโดยมีผลกระทบต่อสังคมในทุกด้าน
Gary Convis ที่เป็นคนอเมริกันคนแรกที่ได้รับการถ่ายทอดวิถีแห่งโตโยต้าจนได้เป็นประธาน บริษัท Toyota Motor Manufacturing Kentucky (TMMK) คนแรกที่ไม่ใช่คนญี่ปุ่น มุมมองของ Gary Convis น่าสนใจในฐานะคนต่างชาติที่เข้าไปรับรู้และเรียนรู้วิถีแห่งโตโยต้า บทความนี้จึงขอนำเสนอปาฐกถาของ Gary Convis ในสัมมนาย่อยการจัดการ ที่ Grand Traverse Resort and Spa, Traverse City, รัฐ Michigan ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อ 8 สิงหาคม 2001
การปรับปรุงกระบวนการธุรกิจ (Business Process Improvement) สามารถให้ผลลัพธ์เป็นที่น่าพอใจและมีคุณค่าทางธุรกิจในเชิงการปรับตัวของ องค์กร ยิ่งปัจจุบันไม่ว่าจะดำเนินการเรื่องอะไรก็ตามจำเป็นต้องมีการนำเอา เทคโนโลยีมาใช้ สำหรับการจัดการกระบวนการธุรกิจเองก็มี เทคโนโลยีการจัดการกระบวนการธุรกิจ (BPM Technology) แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าความสามารถของกระบวนการ (Process Competency) ขึ้นอยู่กับเทคโนโลยีแต่เพียงอย่างเดียว
ปัจจุบันนี้ ถ้าใครท่านอยู่ในวงจรของการแข่งขันในธุรกิจระดับโลกคงจะเคยได้ยินถึงคำว่า Business Process Management (BPM) แต่ยังไม่มั่นใจว่าจะเข้ามาสู่วงจรการทำงานหรือการจัดการของคุณได้อย่างไร BPM จะเข้ามาเกี่ยวพันทั้งในวงการการจัดการการดำเนินงาน (Operation Management) และวงการการจัดการทางด้าน IT
ธุรกิจหรือแม้แต่ชีวิตเราเองย่อมมีการพัฒนาเจริญเติบโต การจัดการขององค์กรธุรกิจนั้นเราคงไม่หวังผลกันแค่ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันเท่านั้น แต่จะต้องวัดเปรียบเทียบระหว่างอดีต ปัจจุบันและอนาคตในภาพรวมขององค์กรว่ามีระดับวุฒิภาวะ (Maturity Level) ของการพัฒนาองค์กรอย่างไรบ้าง เหมือนกับคนเราเองที่มีสภาพเป็นเด็ก วัยรุ่น ผู้ใหญ่ที่บรรลุนิติภาวะแล้ว สภาพของวุฒิภาวะ (Maturity) ของผู้ใหญ่หรือคนที่มีอายุมากและผ่านประสบการณ์มามากย่อมมีความสามารถในการตัดสินใจได้มากกว่า
ในปัจจุบันหลายโรงงานที่มีโครงการ Six Sigma จะต้องมีจัดเตรียมบุคลากร การจัดองค์กรใหม่ การฝึกอบรมการใช้เครื่องมือ (Tools) ใหม่ ๆ สำหรับโรงงานที่การดำเนินการเรื่องลีน (Lean) ก็เช่นกัน จะมีการดำเนินโครงการในลักษณะที่คล้ายกัน แต่จะต่างกันก็ตรงรายละเอียดของการดำเนินโครงการ แต่สิ่งที่เห็นได้เด่นชัดว่ามีองค์กรจำนวนมากยังดำเนินโครงการปรับปรุงประเภทเหล่านี้อย่างแยกส่วนกันอยู่ ทั้ง ๆ ที่โครงการเหล่านี้ทั้งหมดนั้นเป็นเรื่องเดียวกัน
การเริ่มก่อตั้งธุรกิจใด ๆ จำเป็นต้องมีแผนธุรกิจที่ดี มีแผนการระดมทุน มีการสร้างทีมงานที่แข็งแกร่งและเชี่ยวชาญเฉพาะสาขา บทความนี้จึงนำเสนอข้อเสนอแนะดี ๆ สำหรับผู้ที่คิดจะสร้างธุรกิจใหม่ของตัวเอง จากประสบการณ์ของ David Parker ผู้ซึ่งเป็น CEO และผู้เชี่ยวชาญด้าน Fiber-laser จาก Southampton Photonics
ทรัพยากรมนุษย์ (Human Resources) หมายถึงบุคคลที่มีความพร้อม มีความจริงใจ และสามารถที่จะทำงานให้บรรลุเป้าหมายขององค์กร หรือเป็นบุคคลในองค์กรที่สามารถสร้างคุณค่าของระบบการบริหารงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามที่ต้องการได้ ดังนั้นการบริหารทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource Management: HRM)) จึงหมายถึง การใช้ประโยชน์จากทรัพยากรมนุษย์ของธุรกิจเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ขององค์กร
ในปัจจุบันมีการกล่าวถึงเศรษฐกิจพอเพียงกันอย่างกว้างขวางถึงกับใช้เป็นนโนบายหลักสำหรับรัฐบาลในการขับเคลื่อนแนวคิดนี้นับว่าเป็นการเปลี่ยนผ่านความคิดอย่างที่เรียกว่าแทบจะเลี้ยวกลับกันเลยก็ว่าได้สำหรับคนที่มีแนวคิดแบบทุนนิยม แต่ในระบบการค้าและเศรษฐกิจแบบทุนนิยมจะแบบรุนแรงหรือไม่ก็ตามก็มีการเปลี่ยนผ่านแนวคิดในการจัดการเช่นกัน แนวคิดที่กำลังเป็นที่กล่าวถึงในวงการอุตสาหกรรมโลกไม่แพ้เศรษฐกิจพอเพียงก็คือ แนวคิดแบบลีน (Lean Thinking)
การที่จะทำการคำนวณหาอัตราต้นทุนทางอ้อมที่เกิดขึ้นจริงโดยใช้ฐานข้อมูลรายสัปดาห์หรือรายเดือนเป็นเรื่องที่ยุ่งยาก นั่นหมายถึงว่าผู้บริหารไม่สามารถทำการคำนวณต้นทุนจริงของงานต่าง ๆ ได้ทันทีเมื่องานนั้นได้ทำเสร็จเรียบร้อยแล้ว อย่างไรก็ตามผู้บริหารมีความต้องการต้นทุนการผลิตของงานต่าง ๆ ที่ทำการผลิตขึ้นในระหว่างงวดมากกว่าที่จะต้องรอต้นทุนที่เกิดขึ้นจริง ณ วันสิ้นปี