ลองเปลี่ยนมุมมองจากกระบวนการธุรกิจเชิงพาณิชย์มาเป็นเชิงการทหารบ้าง เพราะนวัตกรรมต่าง ๆ ในโลกนี้เป็นผลมาจากการค้นคว้าวิจัยทางการทหาร กระบวนการธุรกิจของทหารนั้นไม่ได้มุ่งเน้นที่ผลกำไรเชิงพาณิชย์ แต่เน้นที่การได้ชัยชนะเหนือสมรภูมิรบด้วยการสูญเสียน้อยที่สุด การทำสงครามนั้นเป็นธุรกิจที่ลงทุนสูงและมีความเสี่ยงสูงโดยมีผลกระทบต่อสังคมในทุกด้าน
ดร.วิทยา สุหฤทดำรง |
. |
. |
ลองเปลี่ยนมุมมองจากกระบวนการธุรกิจเชิงพาณิชย์มาเป็นเชิงการทหารบ้าง เพราะนวัตกรรมต่าง ๆ ในโลกนี้เป็นผลมาจากการค้นคว้าวิจัยทางการทหาร กระบวนการธุรกิจของทหารนั้นไม่ได้มุ่งเน้นที่ผลกำไรเชิงพาณิชย์ แต่เน้นที่การได้ชัยชนะเหนือสมรภูมิรบด้วยการสูญเสียน้อยที่สุด การทำสงครามนั้นเป็นธุรกิจที่ลงทุนสูงและมีความเสี่ยงสูงโดยมีผลกระทบต่อสังคมในทุกด้าน ข้อปฏิบัติในการปฏิบัติการเชิงทหารหลายอย่างได้ถูกนำมาใช้ในกระบวนการธุรกิจเชิงพาณิชย์ เช่น การจัดการลอจิสติกส์ ฯลฯ |
. |
สงคราม อดีต ปัจจุบัน และอนาคต |
เมื่อพูดถึงสงครามแล้ว ภาพของสงครามปัจจุบันคงจะเปลี่ยนไปจากอดีตมาก จากภาพของสงครามแห่งการทำลายล้างทั้งชีวิตและทรัพย์สิน มาเป็นสงครามทางการค้าและสงครามวัฒนธรรมที่ผู้แพ้จะตกเป็นผู้ใช้สินค้าหรือวัฒนธรรมเหล่านั้นไป เจ้าของผลิตภัณฑ์หรือวัฒนธรรมนั้นก็ได้ค่าลิขสิทธิ์ตอบแทนไป อาวุธที่สำคัญที่สุดในยุคนี้คือ ข้อมูลสารสนเทศ (Information) แทนที่จะเป็นอาวุธในการทำลายล้างแต่เพียงอย่างเดียว |
. |
ยุทธศาสตร์ที่สำคัญกลับกลายเป็นการใช้ข้อมูลสารสนเทศเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการทำสงคราม แต่ที่จริงแล้วในสงครามในอดีตก็ให้ความสำคัญของข่าวสารข้อมูลอยู่แล้ว เช่น ในเรื่องข่าวกรอง (Intelligences) เรามักจะได้ยินอยู่เสมอในนามของหน่วยข่าวกรองของแต่ละประเทศหรือกองทัพ ข่าวสารข้อมูลประเภทนี้มักถูกนำไปใช้ในการตัดสินใจในเชิงยุทธศาสตร์ (Strategic) ยุทธวิธี (Tactical) ในการปฏิบัติการต่าง ๆ (Operational) |
. |
ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องแปลกสำหรับการใช้ข้อมูลข่าวกรองในการทำสงคราม แต่สงครามในปัจจุบันนั้นมีความแตกต่างจากอดีตเพราะมีความซับซ้อน (Complexity) ในตัวเองมากขึ้น ถึงแม้ว่าจะมีสงครามใหญ่ ๆ เกิดขึ้นในโลกไม่มากครั้งนักในระยะนี้ การตัดสินใจในการทำสงครามแต่ละครั้งคงจะต้องคำนึงถึง เร็วกว่า (Faster) ดีกว่า (Better) และประหยัดกว่า (Cheaper) ดังนั้นแนวคิดในการบริหารจัดการทางการทหารก็สามารถนำเอามาประยุกต์ใช้ได้ในการดำเนินงานเชิงธุรกิจอะไรก็ได้ |
. |
ประเด็นของข้อมูลสารสนเทศในการดำเนินงานเป็นเรื่องที่มีความสำคัญและผู้นำองค์กรต่าง ๆ ควรให้ความสำคัญอย่างยิ่ง สำหรับในวงการทหารแล้วข้อมูลสารสนเทศนั้นไม่ได้มีผลแค่แพ้ชนะในการปฏิบัติการเท่านั้น แต่หมายถึงชีวิตของทหารที่อยู่ในปฏิบัติการนั้น แนวคิดใหม่ที่เกิดขึ้นมาในวงการข้อมูลสารสนเทศด้านทหาร คือ Network Centric Warfare (NCW) ซึ่งมีการกล่าวถึงและมีการพัฒนาแนวคิดนี้กันอยู่ตั้งแต่ทศวรรษที่ผ่านมา หลายคนพอได้ยินคำว่า Network ก็มักจะนึกถึงเรื่องของ โครงข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer Network) |
. |
ที่จริงแล้ว Network Centric Warfare ไม่ใช่เรื่องทั้งคอมพิวเตอร์หรือเทคนิคในการสงคราม แต่เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการต่อสู้หรือแข่งขันกันด้วยความเป็นเลิศทางด้านข้อมูลสารสนเทศ (Information Superiority) และเชื่อมต่อระบบกันทั้งกองทัพรวมทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์เพื่อเป็นแนวทางในการจัดการยุทโธปกรณ์และกำลังพลมุ่งไปยังเป้าหมายโดยที่แม้กระทั่งศัตรูก็ไม่มีทางรู้ว่าอะไรหรือใครได้โจมตีพวกมันแล้ว |
. |
แนวคิดของ Network Centric Warfare ได้เตรียมความพร้อมให้กับนายทหารยุคใหม่ ให้มีความเข้าใจและลึกซึ้งกับพลังของความเป็นเลิศของข้อมูลสารสนเทศในการสงครามจากมุมมองของความร่วมมือ (Collaboration) ของทุกเหล่าทัพ แนวคิดนี้จึงเหมาะกับกองทัพหรือกิจการทางทหารที่จะต้องให้ความสนใจอย่างใกล้ชิดในวิธีการที่พวกเขาควรใช้เทคโนโลยีสารสนเทศได้ใกล้เคียงหรือม่งสู่กับความเป็นเลิศทางด้านสารสนเทศ. |
. |
สงครามแห่งโครงข่ายและความร่วมมือ |
ยุทธศาสตร์ในการสงครามในอดีตนั้นอาศัยความสอดคล้องและประสานงานกันของทางบก ทางเรือ และทางอากาศ แต่ก็ไม่มีการกล่าวถึงการนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ให้เกิดประโยชน์เพื่อชัยชนะในสมรภูมิด้วยต้นทุนที่ต่ำที่สุด แนวคิด Network Centric Warfare (NCW) นี้ได้นำเสนอมุมมองที่น่าสนใจในการศึกษาแนวคิดใหม่ในการทำสงคราม |
. |
และยังมีการวิเคราะห์ที่มุ่งเน้นไปที่การไขความลึกลับของ NCW ในส่วนที่จะทำอย่างไรในการเชื่อมต่อกันเพื่อที่จะใช้ความได้เปรียบของยุคสารสนเทศ องค์กรในยุคสารสนเทศที่ผลักดันแนวคิดของวิสาหกิจแบบโครงข่ายศูนย์กลาง (Netcentric Enterprise) กองทัพจะใช้แนวคิดเกิดใหม่นี้ในการขับเคลื่อนกองทัพอย่างไรและอะไรควรจะเป็นการเปลี่ยนแปลงกระบวนทัศน์ในการก้าวเข้าสู่ NCW สำหรับกองทัพ |
. |
นอกจากนั้นแล้วยังมีหลักเกณฑ์ต่าง ๆ สำหรับการเปลี่ยนแปลงหรือการเคลื่อนตัว (Shift)อย่างประสบความสำเร็จไปสู่หนทางใหม่ในการทำสงคราม แนวคิดของ NCW จึงเป็นการเตรียมพร้อมสำหรับ หนทางข้างหน้า เพื่อที่จะรับเอาแนวคิดเกิดใหม่นี้ไปสู่ศิลปะแห่งการปฏิบัติการ (Operational Art) |
. |
NCW: นิยาม |
โดยทั่วไปนั้นคำนิยาม NCW คือ ความเป็นเลิศที่สุดของสารสนเทศที่เป็นแนวคิดที่สนับสนุนการปฏิบัติการซึ่งจะทำให้เพิ่มพลังอำนาจให้กับกำลังพลในยุทธการด้วยการใช้เครือข่ายของตัวรับสัญญาณต่าง ๆ (Networking Sensors), ผู้ตัดสินใจ (Decision Makers) ต่าง ๆ และกำลังพล (Forces) ที่เข้าโจมตี ในการมีส่วนร่วมในสถานการณ์และรับรู้สภาวะแวดล้อมของสมรภูมิ, |
. |
เพิ่มความรวดเร็วในการสั่งการ, มีจังหวะที่เร็วขึ้นในการปฏิบัติการ, เพิ่มอำนาจในการทำลาย, เพิ่มโอกาสในการรอดชีวิตและระดับของความสอดคล้องกัน ดูไปแล้วคำนิยามนี้ค่อนข้างยาว แต่สิ่งสำคัญในคำนิยามนั้นคือ การแปล ความเป็นเลิศที่สุดของข้อมูลสารสนเทศ ไปสู่ ความสามารถในการรบโดยการเชื่อมโยงหน่วยงานที่มีความรู้ต่าง ๆ ในสมรภูมิอย่างมีประสิทธิผล |
. |
ที่จริงแล้วสิ่งน่าสนใจอยู่ไม่น้อย คือ ในการที่นำเอาแนวคิดเกิดใหม่นี้มาใช้ในรูปแบบศิลปะแห่งการปฏิบัติการ (Operational Arts) ซึ่งจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรม (Culture Change) ในวิธีการที่เราทำสงครามในกองทัพ NCW ไม่ใช่เรื่องที่เกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่กับองค์กรและโครงสร้างทางเทคโนโลยีที่มีอยู่ รวมทั้งแนวทางในการดำเนินการรบ |
. |
NCW มองไปไกลกว่านั้นอีก มีเรื่องราวต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับเคล็ดลับต่าง ๆ ของ NCW ที่มีการอ้างถึงกันทั่วโลก แต่ก็ยังไม่ปรากฏว่ามีใครแสดงตนเป็นผู้เชี่ยวชาญในเรื่องนี้ |
. |
แต่หลังจากได้พินิจพิเคราะห์แล้วก็พบว่า NCW ยังไม่ใช่คำตอบสุดท้ายในการที่จะชนะสงคราม NCW เป็นเรื่องที่เราจะทำอย่างไรที่จะได้สิ่งที่ดีที่สุดจากกำลังพลและทรัพย์สินของกองทัพโดยการใช้ประโยชน์จากความเป็นเลิศที่สุดของสารสนเทศ |
. |
การรับรู้แบบทันทีทันใด (Real-Time Awareness) |
ลองมองจากประสบการณ์และบทเรียนในธุรกิจทั้งหลาย เราจะพบว่ายุคข้อมูลข่าวสารได้เปลี่ยนแปลงโลกและวิถีการดำเนินชีวิตของเรา ซึ่งเราควรจะใช้ประโยชน์จากพลังอำนาจของเทคโนโลยีสารสนเทศในการบรรลุความได้เปรียบเชิงการแข่งขัน ในยุคข้อมูลข่าวสารนี้เองทำให้เวลาและระยะทางลดลง |
. |
องค์กรต่าง ๆ เริ่มถูกขับเคลื่อนด้วยข้อมูลสารสนเทศ พลังอำนาจในการดำเนินงานขึ้นอยู่กับการรับรู้แบบทันทีทันใด (Real-Time Awareness) ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในโลกธุรกิจ และในเชิงการทหารก็เช่นกัน ถ้าเรารู้ว่าศัตรูกำลังดำเนินการอะไรอยู่และมีจุดมุ่งหมายอย่างไร เราจะคงจะตั้งเป้าหมายไปยังศัตรูนั้นได้อย่างรวดเร็วก่อนที่พวกมันจะเคลื่อนไหว |
. |
เราสามารถอธิบายถึงความสามารถของการมีการรับรู้แบบทันทีทันใดโดยการเปรียบเทียบกับสถาปัตยกรรมเชิงการปฏิบัติการขององค์ธุรกิจที่มีการทำธุรกรรมประจำวัน และธุรกิจเหล่านั้นรวบรวมข้อมูลสารสนเทศทางธุรกิจประจำวันอย่างไร เพื่อที่จะนำมาตัดสินใจเพื่อเพิ่มความได้เปรียบเหนือคู่แข่งขันในธุรกิจ สถาปัตยกรรมเชิงการปฏิบัติการประกอบไปด้วยองค์ประกอบที่สำคัญ 3 องค์ประกอบ คือ |
. |
• ความสามารถในการรับรู้ข้อมูลซึ่งจะต้องรวบรวมและสรุปรวบยอดมาจากแหล่งข้อมูลสาธารณะ (Public Domain) ในธุรกิจ |
. |
ในทิศทางเดียวกันอาจมีคนโต้แย้งว่า NCW นั้นใช้ความเป็นศูนย์กลางของข้อมูลสารสนเทศที่มีความสำคัญและศักยภาพของข้อมูลสารสนเทศนั้นในฐานะของแหล่งพลังอำนาจของกองทัพ ดังนั้น NCW จึงถูกสร้างขึ้นมาด้วยแนวคิดของการแบ่งปันและการใช้ข้อมูลและทรัพยากรร่วมกัน (Collaboration) |
. |
โดยการสร้างโครงข่ายให้กับกองทัพเพื่อที่จะสร้างความสัมพันธ์ชนิดใหม่กับเหล่าทัพอื่น ๆ และปฏิบัติตัวเป็นผู้ประสานงานเชื่อมโยงเพื่อที่จะใช้ข้อมูลสารสนเทศแบบทันทีทันใดในสมรภูมิรบสมัยใหม่ หนทางข้างหน้าก็คือ สร้างกองทัพให้เป็นวิสาหกิจแบบเน้นโครงข่าย (Netcentric Enterprise) เหมือนกับในโลกธุรกิจ โดยเริ่มจากการสร้างโครงสร้างพื้นฐานของข้อมูลสารสนเทศที่จะทำให้เกิดการแบ่งปันและใช้สมรภูมิและข่าวสารความรู้ร่วมกัน |
. |
การตระหนักในเรื่องข่าวสารความรู้นี้ถูกดำเนินการโดยแนวทางใหม่ในการสั่งการและควบคุมแบบปรับเปลี่ยนได้ (Adaptive Command and Control) ที่สุดแล้ว NCW จะมีความสามารถในการเพิ่มจังหวะของปฏิบัติการ เพิ่มการตอบสนอง ลดความเสี่ยง ลดค่าใช้จ่าย และเพิ่มประสิทธิผลในการปฏิบัติการในสมรภูมิ |
. |
มีแนวคิดสนับสนุนหลักอยู่ 3 แนวคิดในการเชื่อมโครงข่ายของกองทัพ |
. |
ประเด็นสำคัญ NCW จะเป็นเรื่องการสร้างศูนย์กลางของข้อมูลสารสนเทศโดยการกำหนดทรัพยากรหรือกำลังพลที่มีความรู้ความสามารถและเชื่อมโยงกำลังทหารเข้าเป็นหนึ่งเดียว NCW มุ่งเน้นไปที่ความสำคัญของปฏิสัมพันธ์ในท่ามกลางหน่วยสมรภูมิรบซึ่งมีความจำเป็นที่จะต้องสร้างปรากฏการณ์การผนึกกำลังของกำลังพล ดังนั้น NCW จึงมีคุณสมบัติในการจัดการกับธรรมชาติที่เป็นพลวัตรของการสงคราม |
. |
รวมกันเราอยู่ แยกกันเราตาย |
เราสามารถเห็นถึงความแตกต่างของ NCW และการสงครามแบบดั้งเดิม ใน NCW ผู้ปฏิบัติการในสมรภูมิไม่ได้เป็นผู้ใช้ตัวรับข้อมูล (Sensors) และผู้ตัดสินใจก็ไม่เป็นคนควบคุมผู้ปฏิบัติการ ทุกคนจะต้องทำงานร่วมกันในการตอบสนองต่อพลวัตรของพื้นที่สมรภูมิเพื่อที่จะบรรลุจุดมุงหมายของผู้บังคับบัญชา ทั้งหมดนี้มีต้นทุน |
. |
แต่ทรัพยากรทั้งหมดจะต้องถูกใช้อย่างยืดหยุ่นเพื่อให้กำลังพลมีความคล่องตัวมากขึ้น สิ่งนี้ถือว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมหลักที่เกิดขึ้นในสายบังคับบัญชาที่มีอยู่หลายชั้นในการทำสงครามแบบดั้งเดิม ผู้บังคับบัญชาไม่มีตัวรับข้อมูล ผู้ปฏิบัติการหรือฐานกำลังอาวุธได้ถูกมอบหมายตามคำสั่งหรือภายใต้การควบคุมการปฏิบัติการในการพิชิตชัยตามภารกิจ |
. |
ในทางตรงกันข้ามผู้บังคับบัญชาก็รู้ว่าทรัพยากรทั้งหมดอยู่ในสมรภูมิ และคอยที่จะให้ความร่วมมือและประสานการปฏิบัติการเมื่อได้รับคำสั่ง การเปลี่ยนวิธีคิดนี้เป็นเรื่องสำคัญยิ่งต่อความเข้าใจและการยอมรับ NCW ในฐานะหนทางใหม่ในการตอบสนองต่อการสงครามในยุคข้อมูลสารสนเทศเป็นปัจจัยเชิงยุทธศาสตร์ |
. |
เมื่อพิจารณาโครงสร้างของการสงครามแล้วก็ไม่น่าจะแตกต่างกันไปจากอดีตมากนัก เพราะสงครามนั้นยังคงเกิดจากคนเพื่อทำลายคนเหมือนเดิม สิ่งที่แตกต่างคือเทคโนโลยีที่ช่วยให้เวลาลดลงและระยะทางสั้นลงตัวนั้นกรอบความคิดในการปฏิบัติการย่อมต้องเปลี่ยนไปตามการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี |
. |
จากอดีตเราใช้ข้อมูลข่าวกรองเพื่อ “สั่งการและควบคุม (Command and Control)” แต่ในปฏิบัติการเชิงโครงข่ายรวมศูนย์ (Netcentric Operation) เราควรจะเรียกให้เหมาะสมว่า “สั่งการและประสานงาน (Command and Coordinate)” เพื่อที่จะแสดงให้เห็นถึงความรวดเร็วของการสั่งการในแนวทางที่ NCW นำเสนอต่อผู้บังคับบัญชาในภาคพื้นดิน |
. |
สรุป |
เมื่อมองถึงอนาคตของ NCW แล้ว การลงทุนอย่างมหาศาลในรูปแบบต่าง ๆ ทั้งการสื่อสารข้อด้วยความเร็วสูงและเทคโนโลยีสนับสนุนต่าง ๆ เป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่เมื่อได้ติดตั้งระบบแล้ว NCW จะเปลี่ยนวิธีการทำสงครามในสมรภูมิที่มีพลวัตรและNCW ยังคงท้าทายวิธีการที่เราจัดการตัวเองเพื่อเผชิญหน้ากับอนาคตด้วยความมั่นใจ |
. |
ความท้าทายของ NCWได้ชี้ให้เห็นว่าการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ จะผลักดันเราให้เรียนรู้และคิดนวัตกรรมใหม่สำหรับสงครามในอนาคต สุดท้ายแนวคิดของ NCWก็ยังคงสร้างความมึนงงให้กับนายทหารที่ยึดติดกับเทคโนโลยีอย่างไม่มีความคิดริเริ่ม และยังคงท้าทายนายทหารรุ่นใหม่ที่กล้าจะเข้าสู่การเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่ แม้แต่การสงครามยังต้องปรับตัวและปรับความคิดเพื่อที่จะให้มีชีวิตอยู่ แล้วเราที่อยู่ในธุรกิจจะไม่ปรับตัวเพื่อความอยู่รอดในธุรกิจหรือ ? |
สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2539 www.thailandindustry.com
Copyright (C) 2009 www.thailandindustry.com All rights reserved.
ขอสงวนสิทธิ์ ข้อมูล เนื้อหา บทความ และรูปภาพ (ในส่วนที่ทำขึ้นเอง) ทั้งหมดที่ปรากฎอยู่ในเว็บไซต์ www.thailandindustry.com ห้ามมิให้บุคคลใด คัดลอก หรือ ทำสำเนา หรือ ดัดแปลง ข้อความหรือบทความใดๆ ของเว็บไซต์ หากผู้ใดละเมิด ไม่ว่าการลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดของบทความนี้ไปใช้ ดัดแปลง โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร จะถูกดำเนินคดี ตามที่กฏหมายบัญญัติไว้สูงสุด