เนื้อหาวันที่ : 2010-01-12 17:45:07 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 4007 views

ปรับกระบวนทัศน์รับมือการเปลี่ยนแปลง

การปรับปรุงกระบวนการธุรกิจ (Business Process Improvement) สามารถให้ผลลัพธ์เป็นที่น่าพอใจและมีคุณค่าทางธุรกิจในเชิงการปรับตัวของ องค์กร ยิ่งปัจจุบันไม่ว่าจะดำเนินการเรื่องอะไรก็ตามจำเป็นต้องมีการนำเอา เทคโนโลยีมาใช้ สำหรับการจัดการกระบวนการธุรกิจเองก็มี เทคโนโลยีการจัดการกระบวนการธุรกิจ (BPM Technology) แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าความสามารถของกระบวนการ (Process Competency) ขึ้นอยู่กับเทคโนโลยีแต่เพียงอย่างเดียว

ดร.วิทยา สุหฤทดำรง
ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
 .

.

การปรับปรุงกระบวนการธุรกิจ (Business Process Improvement) สามารถให้ผลลัพธ์เป็นที่น่าพอใจและมีคุณค่าทางธุรกิจในเชิงการปรับตัวของ องค์กร ยิ่งปัจจุบันไม่ว่าจะดำเนินการเรื่องอะไรก็ตามจำเป็นต้องมีการนำเอา เทคโนโลยีมาใช้

 .

สำหรับการจัดการกระบวนการธุรกิจเองก็มี เทคโนโลยีการจัดการกระบวนการธุรกิจ (BPM Technology) แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าความสามารถของกระบวนการ (Process Competency) ขึ้นอยู่กับเทคโนโลยีแต่เพียงอย่างเดียว    ในทางตรงกันข้าม บุคคลที่นำเอาเทคโนโลยีไปปฏิบัติใช้กลับกลายเป็นองค์ประกอบที่สำคัญ เหมือนกับการซื้อรถมาใช้งานก็ขึ้นอยู่กับคนที่จะขับด้วย   

 .

เครื่องมือทางเทคโนโลยีสารสนเทศที่ดีมีมากมายและได้ถูกนำไป ใช้งานในหลายส่วนขององค์กร บ้างก็ประสบผลสำเร็จ บ้างก็ประสบความล้มเหลว ทั้ง ๆ ที่เป็นเครื่องมือตัวเดียวกัน ใช้ทีมงานที่ปรึกษาเดียวกัน ใช้กระบวนการดำเนินงานเดียวกัน แต่ทำไมไม่ถึงที่หมายเดียวกัน ด้วยเหตุผลนี้พอจะกล่าวได้ว่า

 .

องค์ประกอบที่มีผลต่อความสำเร็จการดำเนินการนั้น คือบุคคลนั่นเอง การนำเอา (BPM Technology) ไปใช้งานอย่างมีประสิทธิผลนั้นจะต้องมีบุคลากรที่มีความสามารถเชิงการจัดการ กระบวนการ การสร้างความสามารถเชิงการจัดการกระบวนการธุรกิจ (BPM Competency) จะต้องมี 3 องค์ประกอบดังนี้

 .

(1) ผู้บริหารระดับสูงมีความเข้าใจเป็นอย่างดีในความสำคัญเชิงกลยุทธ์ของ BPM ต่อธุรกิจ (2) การตั้งเป้าหมายอย่างชัดเจนด้วยการกำหนดอย่างแน่นอนว่า BPM จะถูกนำไปใช้อย่างไร (3) การมีบุคลากรที่มีความชำนาญที่เหมาะสมเพื่อที่จะได้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล   

 .

ความชำนาญทั้งสามนี้จะเสริมซึ่งกันและกันพร้อมกับการพัฒนาไป ร่วมกัน บริษัทควรจะสร้างวงจรของผู้เชี่ยวชาญซึ่งมีความเข้าใจเป้าหมายและการเสริม ความชำนาญให้คนอื่น ๆ แข็งแกร่งด้วยการสาธิตให้เห็นถึงประโยชน์ของการริเริ่มโครงการของ BPM ทีมดำเนินการเหล่านี้ต้องการให้ทุกคนที่มีส่วนร่วมในโครงการได้มีความ ตระหนักในการสร้างความเข้าใจร่วมกันและสามารถนำเอาการจัดการกระบวนการมาใช้ ให้เกิดผล

 .

เมื่อองค์กรใด ๆ เริ่มมีการนำเอาเครื่องมือต่าง ๆ เข้ามาใช้งาน ต่างก็มีข้อสมมุติร่วมกันว่า จะต้องมีการฝึกอบรม (Training) แล้วก็จะมีภาพของผู้ที่ได้รับการฝึกอบรมและผู้ที่ไม่ได้รับการฝึกอบรม นั่นเป็นความคิดที่ผิด การดำเนินการโครงการริเริ่มต่าง ๆ ในวงการธุรกิจปัจจุบันไม่ใช่แค่การฝึกอบรมและได้รับการรับรอง แต่เป็นการปฏิวัติความคิดของคนในองค์กรเพื่อสร้างมาตรฐานทางความคิดกันใหม่

 .

เรื่องอย่างนี้ควรจะต้องอยู่ในกิจกรรมที่ควรทำในลำดับต้น ๆ ของ CEO หรือ CIO ซึ่ง Meilir Page-Jones ได้พัฒนาแบบจำลองของผู้เชี่ยวชาญขึ้นมา เพื่อที่จะอธิบายถึงสิ่งต่าง ๆ ที่คนทั่วไปจะต้องเผชิญในขณะที่พวกเขาได้เรียนรู้และพัฒนาความเชี่ยวชาญที่ เกี่ยวข้องกับกระบวนทัศน์ใหม่ Howard Smith and Peter Fingar ได้ประยุกต์ใช้แบบจำลองนี้กับการนำ BPM ไปใช้ปฏิบัติ โดยแบ่งออกเป็น 7 ระยะ

 .
ระยะที่ 1 ไร้เดียงสา (Innocent): ไม่เคยได้ยินเกี่ยวกับ BPM มาก่อน

บางคนอาจจะไม่เคยได้ยินเรื่องราวของ BPM มาก่อน บางคนอาจจะเคยได้ผ่านหูผ่านตามาบ้าง แต่ไม่ได้เคยรู้ว่ามีการใช้ BPM อยู่ในวงการ และอาจจะคิดว่าเป็นเรื่องไกลตัว บางคนอาจจะได้รับรู้ ได้อ่าน ได้ยินมาก่อน แต่ถูกจัดอยู่ในกลุ่มไร้เดียงสาเพราะว่าไม่รู้ว่า BPM นั้นจะมีความเกี่ยวข้องอย่างไรกับตัวเอง

 .

รวมทั้งต้นทุนและผลประโยชน์ต่าง ๆ หรือไม่ได้ตระหนักว่าเมื่อไรและที่ไหนควรจะประยุกต์ใช้ BPM อย่างเหมาะสม กระบวนการธุรกิจได้เพิ่มความซับซ้อนมากขึ้นเรื่อย ๆ อย่างน่าเป็นห่วงและคงจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงแบบหักมุมเกิดขึ้นได้

 .

การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นทีละน้อยเรื่อย ๆ โดยไม่รู้ตัวและอาจจะเกิดผลร้ายภายหลัง Page-Jones เรียกลักษณะอย่างนี้ว่า กบในกระทะ เพราะว่า เมื่อกบอยู่ในกระทะที่ถูกเร่งความร้อนที่ละน้อย กบจะไม่รู้ตัว จนกบโดนต้มจนสุกไปในที่สุด กลุ่มคนไร้เดียงสาเหล่านี้มีประสบการณ์แบบ กบในกระทะ และพยายามที่จะแก้ปัญหาในยุคศตวรรษที่ 21 ด้วยเครื่องมือในอดีต 

 .

การที่จะเปลี่ยนคนจากกลุ่มไร้เดียงสาไปสู่ระยะต่อไปจะต้อง ใช้การแนะนำที่นุ่มนวลในเรื่องต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ผ่านทางบทความ การนำเสนอ และเข้าไปมีส่วนร่วม โดยมีเป้าหมายที่จะให้ข้อมูลและให้ความรู้

 .
ระยะที่ 2 มีความตระหนัก (Aware): เคยได้อ่านเกี่ยวกับ BPM มาก่อน

คนในกลุ่มที่ 2 นั้นเริ่มสังเกตแล้วว่า น้ำในกระทะเริ่มร้อนขึ้น แต่ไม่มาก ดังนั้นพวกเขาจึงต้องค้นหาหนทางในการนำเอาวิธีการและเทคโนโลยีของ BPM มาใช้ เพื่อว่าพวกเขาจะได้ออกจากกระทะได้ หรืออย่างน้อยก็ได้ลดความร้อนลง ความสนใจใน BPM กลุ่มคนเหล่านี้มีค่อนข้างสูงแต่มีความรู้น้อย ได้ยินได้รู้มาเป็นบางคำและไม่ได้มีพื้นฐานมาจากประสบการณ์การใช้งาน BPM มาก่อน

 .

บุคคลในกลุ่มนี้จะมีความตระหนักในผลประโยชน์ที่จะได้รับหลัง จากลงทุน และยังสามารถที่จะอธิบายถึงสิ่งต่าง ๆ ที่จะต้องเข้ามาเกี่ยวข้องกับ BPM รวมทั้งยังสามารถเปรียบเทียบ BPM กับแนวทางเก่า บุคคลในกลุ่มนี้จะคุยกันในเรื่ององค์ความรู้ของ BPM ส่วนบุคคลที่มีความตระหนักในเชิงเทคนิคก็จะหาทางที่ตรวจสอบถึงความสัมพันธ์ ของ BPM กับระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีอยู่

 .

บุคคลในระยะนี้จะยังไม่ถึงขั้นของการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ ความตระหนักเชิงปัญญาต่างยังขึ้นอยู่กับการวาดภาพเปรียบเทียบการการปฏิบัติ ในอดีต บางครั้งอาจจะมีความผิดพลาดได้เมื่อคิดหรือตัดสินใจในเรื่อง BPM ในภาวการณ์ปัจจุบัน การพัฒนาคนในกลุ่มนี้จะเกี่ยวโยงกับการจัดตั้งและดำเนินโครงการ พัฒนาจากการอ่านเอกสารตำรา   การสัมมนา การสัมมนาเชิงปฏิบัติการในพื้นฐานของ BPM

 .
ระยะที่ 3 มือใหม่ (Apprentice): ได้ศึกษาเกี่ยวกับ BPM มาก่อน

ในระยะนี้คนที่เป็นมือใหม่จะมีความตระหนักในความสำคัญของ BPM สูง แต่อาจจะยังไม่มีการเปลี่ยนกระบวนทัศน์ก็ได้ แต่บุคคลในกลุ่มนี้ก็ยังไม่สามารถที่จะประยุกต์ใช้วิธีการและเทคโนโลยีได้ อย่างมีประสิทธิภาพด้วยตัวพวกเขาเอง คนมือใหม่นี้ได้ซึมซับเรียนรู้ทุกอย่างมาจากการฝึกอบรมและการสัมมนาจนมีความ รู้อย่างน้อยพอที่จะเข้าไปเจาะปัญหาจริงเต็มรูปแบบในองค์กร

 .

อย่างไรก็ตามแล้ว มือใหม่นี้ตามปกติจะไม่สามารถจับทุกสิ่งได้หมดหรือจะประสบปัญหาในการปรับ ขนาดของเทคนิคให้เข้ากับกรณีศึกษาเพื่อที่จะให้เป็นโครงการจริง หรือจะพูดได้ว่ามือใหม่ในระยะที่ 3 อยู่ในระดับที่รู้อะไรเป็นอะไรบ้างสำหรับองค์กร

 .
ระยะที่ 4 ผู้ปฏิบัติ (Practitioner): พร้อมที่จะใช้ BPM

จุดสำคัญของระยะที่ 4 คือ การนำเอาวิธีการและเทคนิคของ BPM ไปใช้อย่างน้อยสักโครงหนึ่งสำคัญ ๆ การที่จะผ่านด่านระยะที่ 4 นี้ถือว่ายากที่สุด จุดเปลี่ยนของระยะที่ 4 คือ การนำเอาความรู้และเทคนิคต่าง ๆ ที่ได้เรียนและสั่งสมมาตลอดโครงการไปใช้สำหรับโครงการขององค์กร

 .

ซึ่งจะต้องผ่านด่านการผจญกับแรงต่อต้านและการเมืองภายใน การเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้น ในขณะเดียวกันผู้ปฏิบัติในระยะที่ 4 ก็จะต้องนึกย้อนกลับไปถึงสิ่งที่ได้เรียนมาระหว่างการฝึกอบรมในชั้นเรียนและ จะต้องมาขยายผลให้เกิดประโยชน์อีกหลายเท่า

 .

ในระยะที่ 4 นี้ ผู้ปฏิบัติจะมีความพร้อมในการตัดสินใจเชิงการออกแบบกระบวนการด้วยตัวเอง ความผิดพลาดจากการตัดสินใจจะเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ในระยะนี้ ในระยะนี้โดยทั่วไปจะเป็นกระบวนการที่จัดการตัวเองได้ แต่ก็ยังต้องมีกุนซือ (Mentor) คอยให้คำแนะนำและดูผลลัพธ์ ผู้ปฏิบัติจะเป็นผู้รับผิดชอบในงานที่ได้รับมอบหมายและมีส่วนร่วมโดยตรงใน การทบทวนและประเมินโครงการ

 .

ผู้ปฏิบัติจะเริ่มพิจารณาที่จะเป็นเจ้าภาพในเรื่องดังต่อไป นี้ ความสัมพันธ์ของเชิงนัยของ BPM ต่อองค์กร ความจำเป็นสำหรับการบูรณาการเต็มรูปแบบของ BPM กับวิธีการที่มีอยู่ เช่น Six Sigma ความจำเป็นของการฝึกอบรมและใช้เครื่องมือสนับสนุน ความสัมพันธ์เชิงนัยสำหรับข้อมูลอุตสาหกรรมและความพยายามในการร่วมมือกัน สร้างความเป็นมาตรฐาน ตรวจสอบและประเมินผลประโยชน์ของการบูรณาการ (Integration) และการปรับเปลี่ยนของโซ่คุณค่า (Value Chain)

 .
ระยะที่ 5 นักเดินทาง (Journeyman): ใช้ BPM อย่างเป็นธรรมชาติและคล่องแคล่ว

ในระยะที่ 5 นักเดินทางได้มีพัฒนาการในการนำเอาวิธีการและความรู้ไปใช้ได้ไม่ต้องมีกุน ซือคอยดูแลเพื่อที่จะบรรลุผลสำเร็จของงานที่มีคุณภาพ ในระยะนี้นักเดินทางก็ยังคงใช้หลักการการเรียนรู้ได้ด้วยตัวเองในการเพิ่ม ความเข้าใจ แต่นักเดินทางก็ยังสามารถร้องขอความช่วยเหลือจากกุนซือได้ในกรณีที่มีปัญหา ที่ซับซ้อน

 .

อย่างไรก็ตามนักเดินทางก็ช่วยเหลือตัวเองได้ นักเดินทางเป็นผู้ให้มากกว่าผู้รับ นักเดินทางจะต้องใช้ความรู้และความชำนาญในการสร้างแบบจำลองของปัญหาใหม่ ๆ และค้นหาอย่างต่อเนื่องในการประยุกต์ใช้ BPM งานของตัวเอง

 .

สำหรับการเลื่อนขั้นไปสู่ระยะถัดไปจะต้องใช้ประสบการณ์และ เพิ่มความรู้ให้ลึกขึ้น และมีพัฒนาการกรอบการทำงานของการแก้ปัญหา โดยการประสานงานร่วมกันกับระดับอาจารย์ในสถานการณ์ใหม่หรือมีความซับซ้อน กว่า ในระยะนี้กระบวนการแก้ปัญหาสำคัญกว่ารายละเอียดของปัญหา

 .
ระยะที่ 6 ระดับอาจารย์ (Master): ได้เจาะลึกถึงภายใน BPM และรู้ทางหนีทีไล่

ระดับอาจารย์นั้นไม่เพียงแต่มีความเชี่ยวชาญกับเทคนิค BPM แต่ยังมีพื้นฐานของวิธีการที่ลึกซึ้งด้วย นอกจากรู้ว่าอะไร ? และอย่างไร ? แล้วยังรู้ว่าทำไม ? ด้วย ความลึกซึ้งของระดับอาจารย์ในบางครั้งทำให้ต้องแหกกฎเดิมไปในขณะที่ยังคงไว้ ซึ่งหลักการของวิธีขั้นพื้นฐานมากยิ่งขึ้น

 .

ระดับอาจารย์นั้นจะคอยปรับกลยุทธ์ขององค์กรและ BPM ให้ตรงกัน โดยจะพิจารณาว่าบริษัทจะแข่งขันกันได้อย่างไรด้วยการใช้กระบวนการธุรกิจ เพื่อที่จะแสดง, สื่อสารและสาธิตให้ทุกคนในองค์กรได้รับทราบ ระดับอาจารย์ใช้กระบวนการธุรกิจเป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์และแปรนโยบายไป สู่การปฏิบัติ     

 .

สำหรับในระดับอาจารย์นั้นจะต้องเป็นผู้สอนด้วยเพราะว่าความ รู้เชิงทฤษฎีและเชิงปฏิบัติของระดับอาจารย์จะเป็นประโยชน์กับคนอื่น ๆ ที่พยายามจะเพิ่มพูนความรู้ความสามารถของตัวเอง ยิ่งไปกว่านั้นระดับอาจารย์ยังคงจะต้องเรียนรู้อย่างต่อเนื่องเพื่อให้ทัน กับความรู้ใหม่ ๆ ของวิธีการและเทคโนโลยีของ BPM

 .

ทุกองค์กรจะต้องสร้างโอกาสให้ผู้ที่เกี่ยวข้องได้เข้าถึง ระดับอาจารย์ซึ่งสามารถจัดการกับปัญหาใหม่ ๆ หรือปัญหาที่มีความซับซ้อน คนระดับอาจารย์จะต้องพิจารณาประเมินผลงานการทำงานของบุคคลที่อยู่ในระยะนัก เดินทาง แสดงให้พวกเขาเห็นถึงทางเลือกต่าง ๆ ในการปรับปรุงกระบวนการเพื่อที่จะทำให้องค์กรนั้นทันกับการเปลี่ยนแปลงอยู่ ตลอดเวลา

 .

การที่บุคคลในระดับอาจารย์จะเลื่อนขั้นไปอยู่ในระยะของผู้ เชี่ยวชาญนั้นจะขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคลมากกว่า จะขึ้นอยู่กับกระบวนการคิดและประสบการณ์ของแต่ละบุคคล การที่จะเป็นผู้เชี่ยวชาญนั้นขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคลนั้นจะต้องอาศัยการเข้า ไปคลุกคลีทำการประยุกต์ใช้ BPM อย่างรอบด้านในสถานการณ์ใหม่และสถานการณ์ที่ไม่ปกติ

 .

ระยะที่ 7 ผู้เชี่ยวชาญ (Expert): เขียนเกี่ยวกับ การจำลองและขั้นตอนของ BPM ตีพิมพ์ผลงานการเรียนรู้   บรรยาย พัฒนาหนทางในการที่จะขยายผลวิธีการและเทคโนโลยีของ BPM

ผู้เชี่ยวชาญในระยะที่ 7 นี้จะเป็นจุดสูงสุดของการพัฒนาบุคลากร ผู้เชี่ยวชาญจะเป็นที่รู้จักและเป็นที่ยอมรับในผลงานที่ให้ประโยชน์วงการ ธุรกิจและอุตสาหกรรม

 .

ในหลายโอกาสผู้เชี่ยวชาญจะได้รับเชิญให้ไปบรรยายตามสถานที่ ต่าง ๆ พูดง่าย ๆ ว่าบทบาทของผู้เชี่ยวชาญ คือ การถ่ายทอดความรู้เป็นเคล็ดลับของความสำเร็จของการนำเอา BPM ไปใช้ปฏิบัติทั่วทั้งองค์กร คงไม่ใช่เกิดผลสำเร็จโดยทันที แต่จะต้องใช้เวลาในการปลูกฝังเหมือนการปลูกต้นไม้

 .

โดยเริ่มตั้งแต่การจัดตั้งโครงสร้าง การทำโครงการนำร่องเพื่อที่จะสร้างความเชี่ยวชาญในเรื่อง BPM เหมือนการสร้างเรือนเพาะชำเพื่อจะบ่มเพาะความเชี่ยวชาญบนพื้นฐานของการพัฒนา ใน 7 ระยะของความเป็นเยี่ยมของ BPM จากนั้นบริษัทก็สามารถที่จะพัฒนาและเจริญเติบโตไปเป็นโครงการที่มีขนาดใหญ่ ขึ้นได้

 .
ลกแห่งความเป็นจริง

องค์กรทั่วไปไม่สามารถปฏิบัติตัวเองเป็นเรือนเพาะชำต้นไม้ ได้เสมอไป โลกธุรกิจจำเป็นจะต้องหันกลับไปฝึกนักศึกษาที่จบการศึกษาใหม่ ๆ ให้สามารถใช้งาน BPM ทันที บางครั้งการพัฒนาจากความไร้เดียงสาไปสู่ระดับอาจารย์นั้นคงจะไม่ได้เกิดขึ้น อย่างรวดเร็ว คงไม่วิธีการและเทคโนโลยีใด ๆ ที่จะทำให้ BPM สำเร็จได้อย่างรวดเร็ว

 .

BPM จะมีประโยชน์อย่างมากก็ต้องเมื่อได้ถูกออกแบบตามความสมดุลที่อยู่บนพื้นฐาน ของหลักการของสถาปัตยกรรมของธุรกิจและเทคโนโลยี แม้ว่าแนวคิดของ BPM ที่ใช้กระบวนการธุรกิจเป็นตัวผลักดันจะยังค่อนข้างใหม่ในวงการธุรกิจและ IT

 .

แต่ในขณะที่บริษัทต่าง ๆ กำลังเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ความต้องการของ BPM และเครื่องมือต่าง ๆ ก็มากขึ้นเรื่อย ๆ BPM ได้มีส่วนทำให้การพัฒนาซอฟต์แวร์นั้นมีทิศทางที่ถูกต้องมากยิ่งขึ้น ไม่ใช่มุ่งแต่จะสร้างประสิทธิภาพทางการคำนวณหรือความเร็วแต่เพียงอย่างเดียว BPM ได้ทำให้โจทย์ของ IT ชัดเจนยิ่งขึ้น

 .

โดยเฉพาะถ้าได้บุคลากรที่มีความเข้าใจในกระบวนการธุรกิจ และวิธีการพร้อมกับเครื่องมือของ BPM เข้ามาจัดการกับปัญหาและความซับซ้อนของกระบวนการธุรกิจ ผลประโยชน์ก็จะตกกับองค์กรและลูกค้าอย่างสูงสุด นอกจากจะประเมินระบบและวุฒิภาวะของตัวองค์กรแล้ว เรายังต้องประเมินบุคคลที่จะเข้าใช้กระบวนการด้วย

สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2539 www.thailandindustry.com
Copyright (C) 2009 www.thailandindustry.com All rights reserved.

ขอสงวนสิทธิ์ ข้อมูล เนื้อหา บทความ และรูปภาพ (ในส่วนที่ทำขึ้นเอง) ทั้งหมดที่ปรากฎอยู่ในเว็บไซต์ www.thailandindustry.com ห้ามมิให้บุคคลใด คัดลอก หรือ ทำสำเนา หรือ ดัดแปลง ข้อความหรือบทความใดๆ ของเว็บไซต์ หากผู้ใดละเมิด ไม่ว่าการลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดของบทความนี้ไปใช้ ดัดแปลง โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร จะถูกดำเนินคดี ตามที่กฏหมายบัญญัติไว้สูงสุด