การวิเคราะห์จุดคุ้มทุนเป็นเทคนิควิธีการอย่างหนึ่งที่ใช้เพื่อการกำหนดจำนวนสินค้าที่จะต้องขายให้ได้เพื่อให้สามารถชดเชยต้นทุนในการดำเนินงานได้ทั้งหมด ซึ่งแน่นอนว่าจุดคุ้มทุนคือปริมาณสินค้าที่กิจการจำเป็นต้องขายเพื่อให้คุ้มทุนในการดำเนินงาน เมื่อใดก็ตามที่ขายสินค้าได้มากกว่าปริมาณการขายที่จุดคุ้มทุนจะทำให้กิจการมีกำไรจากการดำเนินงาน
การทำงานธุรกิจหรืองานอุตสาหกรรมเป็นงานที่จะต้องคำนึงถึงผลได้ผลเสีย กำไรขาดทุน ทั้งการดำเนินงานยังเต็มไปด้วยการแข่งขันในทุกเรื่อง ไม่ว่าจะด้านคุณภาพของสินค้าและบริการ การโฆษณาประชาสัมพันธ์ การตลาด รวมไปถึงการควบคุมต้นทุนการผลิต และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง แต่ปัญหาที่ต้องประสบกันมาทุกยุคทุกสมัย คือการทำงานของคนในองค์กร ซึ่งจัดเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีค่าขององค์กร ทำอย่างไรจะให้ทรัพยากรบุคคลเหล่านั้นทำงานเต็มที่ เต็มความสามารถเพื่อให้ได้งานที่มีคุณภาพดีที่สุด และด้วยปริมาณมากที่สุด
ปัจจัยที่สำคัญที่สุด 3 ประการต่อการทำการปลูกสร้างสินทรัพย์ดำเนินระยะยาวเพื่อการดำเนินธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นที่ดิน อาคาร โรงงาน หรือสิ่งปลูกสร้างในลักษณะอื่นใดก็ตามนั่นคือ ที่ตั้งที่ลูกค้าเข้าถึงได้ง่าย ไปมาสะดวก เช่น คลินิก ร้านทำผม ร้านตัดเสื้อผ้า หรือที่ตั้งใกล้กับกิจการคู่แข่งขันที่เป็นแหล่งชุมชนซึ่งมีกลุ่มลูกค้าเป้าหมายอาศัยอยู่
กลยุทธ์การบริหารความเสี่ยงเชื่อมโยงกับการกำหนดนโยบาย/กลยุทธ์/การวางแผน/การลงทุนขององค์กร ธุรกิจ ซึ่ง ได้แก่ การมีหลักฐานที่ชัดเจนที่แสดงถึงการพิจารณาความเสี่ยงต่าง ๆ ทั้งความเสี่ยงทางการเงิน และไม่ใช่ทางการเงิน ประกอบในการกำหนดนโยบาย/กลยุทธ์/การวางแผน /การลงทุน
มาตรฐาน ISO9001:2000 เป็นมาตรฐานทางด้านการพัฒนาระบบบริหารคุณภาพ ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ทั้งในองค์กรประเภทอุตสาหกรรมการผลิต และการบริการ ปัจจุบันองค์กรต่าง ๆ ในภาคบริการจำนวนมาก ได้มีการนำมาตรฐาน ISO9001:2000 มาประยุกต์ใช้แล้ว ไม่ว่าจะเป็นงานบริการด้านสาธารณสุขโรงพยาบาล โรงแรม ห้างสรรพสินค้า ร้านอาหาร ศูนย์การประชุม การสื่อสาร การขนส่ง คลังสินค้า รวมไปถึงศูนย์บริการรถยนต์
การสร้างวิสาหกิจแบบลีนนั้น ต้องการแนวทางใหม่ ๆ ในการคิดเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างบริษัทกับบริษัท ซึ่งเป็นหลักการเบื้องต้นทั่ว ๆ ไปสำหรับพฤติกรรมการกำหนดข้อปฏิบัติระหว่างบริษัท และต้องการความโปร่งใสในทุก ๆ ขั้นตอนที่ปฏิบัติตลอดสายธารคุณค่า เพื่อให้ผู้เข้าร่วมแต่ละคนสามารถที่จะตรวจสอบว่าบริษัทอื่น ๆ ประพฤติตัวตามหลักการที่ได้ตกลงกันไว้หรือไม่
โดยทั่วไปเป้าหมายหลักของการดำเนินธุรกิจคือการมุ่งสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผู้ถือหุ้น (Shareholder) ที่มีส่วนร่วมลงทุนกับธุรกิจโดยคาดหวังที่จะได้ผลตอบแทนสูงกว่าต้นทุนของเงินลงทุน (Cost of Capital) หรืออาจกล่าวได้ว่าผู้ถือหุ้นจะมีความมั่งคั่งขึ้นเมื่อโครงการลงทุนมีมูลค่าปัจจุบันสุทธิ (Net Present Value) เป็นบวก
ความสอดคล้องที่สามารถลงตัวกันได้ระหว่างกำลังการผลิตของกิจการกับความต้องการของลูกค้าเป็นอีกภาระหน้าที่หนึ่งที่ท้าทายความสามารถของผู้บริหาร เนื่องจากกำลังการผลิตที่มีมากเกินไปสามารถก่อให้เกิดปัญหาได้เช่นเดียวกันเมื่อพิจารณาเปรียบเทียบกับสถานการณ์ของการมีกำลังการผลิตไม่เพียงพอ การวางแผนกำลังการผลิตเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับอัตราผลผลิตที่ทรัพยากรการดำเนินงานของกิจการสามารถให้ผลประโยชน์ในลักษณะที่เป็นหน่วยนับประเภทต่าง ๆ ได้
เนื้อหาในส่วนนี้จะมุ่งประเด็นไปที่การประเมินมูลค่าต้นทุน และผลประโยชน์สำหรับการตัดสินใจที่ไม่ได้เกิดขึ้นเป็นประจำ คำว่า การศึกษาปัญหาพิเศษ (Special Studies) เป็นคำที่ถูกนำมาใช้ในบางครั้งเพื่ออ้างถึงการตัดสินใจในกรณีดังกล่าวข้างต้น ซึ่งมักจะเกิดขึ้นบ่อยครั้งในระหว่างการดำเนินงานช่วงหนึ่ง ๆ การศึกษาปัญหาพิเศษในที่นี้ต้องการนำข้อมูลต้นทุนและรายได้ที่มีความเกี่ยวข้องในระหว่างทางเลือกอย่างใดอย่างหนึ่งโดยเฉพาะเท่านั้นมาพิจารณา เพื่อประกอบการตัดสินใจดำเนินการแนวทางที่มีความเหมาะสมภายใต้เงื่อนไขที่เกี่ยวข้องในขณะนั้นต่อไป
ในปัจจุบัน ประเด็นทางด้านสิ่งแวดล้อมได้มีการพัฒนาขึ้นจากความสนใจในบางองค์กร มาสู่ความรับผิดชอบขององค์กรส่วนใหญ่ในการดำเนินธุรกิจ และกิจกรรมต่าง ๆ ที่จะต้องคำนึงถึงผลกระทบที่มีต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม รวมถึงการพัฒนาสินค้าและการบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพราะปัญหาทางด้านสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นทุกวันนี้ ล้วนส่งผลกระทบอย่างมากต่อทุก ๆ ภาคส่วน
มาตรฐาน ISO9001:2000 เป็นมาตรฐานทางด้านการพัฒนาระบบบริหารคุณภาพ ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ทั้งในองค์กรประเภทอุตสาหกรรมการผลิต และการบริการ ปัจจุบันองค์กรต่าง ๆ ในภาคบริการจำนวนมาก ได้มีการนำมาตรฐาน ISO9001:2000 มาประยุกต์ใช้แล้ว ไม่ว่าจะเป็นงานบริการด้านสาธารณสุขโรงพยาบาล โรงแรม ห้างสรรพสินค้า ร้านอาหาร ศูนย์การประชุม การสื่อสาร การขนส่ง คลังสินค้า รวมไปถึงศูนย์บริการรถยนต์
การบริหารจัดการของเสีย ของมีตำหนิ และเศษซากเป็นงานที่ท้าทายสำหรับหลาย ๆ องค์กร ไม่ว่าจะเป็นกิจการขนาดเล็กหรือขนาดใหญ่ หรือจะทำการผลิตสินค้าหรือการบริการใด ๆ ก็ตาม ผู้บริหารนั้นมุ่งเป้าหมายไปที่การปรับปรุงและการเพิ่มคุณภาพ และการลดของเสียที่อาจจะเกิดขึ้นในผลิตภัณฑ์ การบริการ หรือกิจกรรมใด ๆ ให้มีจำนวนน้อยที่สุด
Muda เป็นคำคำหนึ่งในภาษาญี่ปุ่น และที่จริงแล้วคุณจะต้องรู้จักคำคำนี้แน่ เสียงที่เปล่งออกมาฟังดูแล้วอาจจะน่ากลัว และก็ควรเป็นเช่นนั้นจริง ๆ เพราะคำว่า Muda นี้ หมายถึง ความสูญเปล่า (Waste) โดยเฉพาะความสูญเปล่าที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์ซึ่งมีการนำทรัพยากรไปใช้แต่ไม่ได้สร้างคุณค่าให้เกิดขึ้น
การบริหาร คือ การหาทางทำงานให้สำเร็จ การทำงานให้สำเร็จได้นั้น มีวิธีการอยู่มากมายหลายวิธีที่ผู้บริหารทั้งหลายได้ใช้ความรู้ ความสามารถ เลือกวิธีที่เหมาะสมตามสภาพความรู้ ความสามารถ เลือกวิธีที่เหมาะสมตามสภาพความต้องการและสภาพแวดล้อมมาใช้ให้เป็นประโยชน์ได้
สิ่งที่ทุกคนในองค์กรต้องรู้คือ หลัก 5 ประการของแนวคิดแบบลีน (Lean Thinking) ซึ่ง Jim Womack และ Dan Jones ได้ถอดรหัสแนวคิดของความสำเร็จในการทำงานของบริษัทญี่ปุ่นอย่าง Toyota จนกลายมาเป็นหลักการ 5 ประการของแนวคิดแบบลีนที่สามารถสื่อสารได้ง่ายและให้ภาพรวมทั้งหมดของการดำเนินงานขององค์กรหรือวิสาหกิจ (Enterprise)
สำหรับความไม่แน่นอนทั้งหลายที่เกิดขึ้นภายในองค์กรธุรกิจ การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงหรือการจัดสรรทรัพยากรภายในองค์กรเองจะต้องมีความแน่นอนมากขึ้น ยิ่งภาวะภายนอกมีความไม่แน่นอนมากขึ้นเท่าไร โอกาสที่ภาวะภายในองค์กรธุรกิจจะมีความไม่แน่นอนก็มีมากขึ้น เพราะว่าองค์กรธุรกิจไม่สามารถสร้างคุณค่าให้ได้ตรงกับความต้องการของลูกค้าได้ ธุรกิจหรือการสร้างกำไรจึงไม่เกิดขึ้น
ข้อดีของการใช้อัตราต้นทุนทางอ้อมโดยประมาณและต้นทุนปกติแทนที่การใช้ระบบต้นทุนจริงคือต้นทุนทางอ้อมสามารถถูกโอนเข้าสู่งานแต่ละงานได้ทันเวลาและเป็นไปอย่างต่อเนื่องเพื่อให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ประโยชน์ได้ตามความต้องการของผู้บริหาร แทนที่จะต้องรอให้ทราบถึงต้นทุนที่เกิดขึ้นจริงเมื่อวันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชีเท่านั้น
ในขณะที่บริษัทต่าง ๆ กำลังมองหาทางในการเพิ่มประสิทธิภาพของ IT และการปรับใช้ทรัพยากร IT เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของธุรกิจ ระบบซอฟต์แวร์ในการจัดการกระบวนการธุรกิจ (BPMS: Business Process Management System) จึงกลายเป็นหนึ่งในกลยุทธ์ในการตรวจสอบกระบวนการธุรกิจทั้งหมดขององค์กรธุรกิจโดยการทำให้กระบวนการธุรกิจเหล่านั้นผูกเข้าด้วยกันและทำให้เป็นอัตโนมัติ เพื่อให้การทำงานร่วมกันนั้นไม่ติดขัด
เนื่องจากการดำเนินกระบวนการทางธุรกิจมีความไม่แน่นอนหลายประการที่อาจส่งผลกระทบต่อผลการดำเนินการทางธุรกิจ ซึ่งความไม่แน่นอนทางธุรกิจนี้เป็นเสมือนดาบสองคม คืออาจก่อให้เกิดผลลัพธ์ในทางบวกซึ่งเป็นการสร้างโอกาสให้แก่องค์กร หรืออาจก่อให้เกิดผลลัพธ์ในทางลบ ซึ่งถือว่าเป็นความเสี่ยง