ปัจจัยที่สำคัญที่สุด 3 ประการต่อการทำการปลูกสร้างสินทรัพย์ดำเนินระยะยาวเพื่อการดำเนินธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นที่ดิน อาคาร โรงงาน หรือสิ่งปลูกสร้างในลักษณะอื่นใดก็ตามนั่นคือ ที่ตั้งที่ลูกค้าเข้าถึงได้ง่าย ไปมาสะดวก เช่น คลินิก ร้านทำผม ร้านตัดเสื้อผ้า หรือที่ตั้งใกล้กับกิจการคู่แข่งขันที่เป็นแหล่งชุมชนซึ่งมีกลุ่มลูกค้าเป้าหมายอาศัยอยู่
ผศ.วิวัฒน์ อภิสิทธิ์ภิญโญ |
. |
. |
ปัจจัยที่สำคัญที่สุด 3 ประการต่อการทำการปลูกสร้างสินทรัพย์ดำเนินระยะยาวเพื่อการดำเนินธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นที่ดิน อาคาร โรงงาน หรือสิ่งปลูกสร้างในลักษณะอื่นใดก็ตามนั่นคือ ที่ตั้งที่ลูกค้าเข้าถึงได้ง่าย ไปมาสะดวก เช่น คลินิก ร้านทำผม ร้านตัดเสื้อผ้า หรือที่ตั้งใกล้กับกิจการคู่แข่งขันที่เป็นแหล่งชุมชนซึ่งมีกลุ่มลูกค้าเป้าหมายอาศัยอยู่ เช่น เซเว่นอีเลฟเว่น กับ โลตัสเอ็กเพรส หรือ แฟมิลี่มาร์ท เป็นต้น และที่ตั้งของซัพพลายเออร์ เช่น ร้านเครื่องมือหรืออุปกรณ์ทางการแพทย์ที่มักจะตั้งอยู่ใกล้กับโรงพยาบาล ซึ่งจะทำให้สามารถดึงดูดลูกค้าได้ดีกว่า เป็นต้น |
. |
จากตัวอย่างที่กล่าวถึงในกรณีข้างต้นนั้นจะเห็นได้ว่าทำเลที่ตั้งเป็นการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ที่มีความสำคัญมากซึ่งเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปของการดำเนินในแต่ละธุรกิจว่าสามารถช่วยทำให้การดำเนินงานนั้นมีประสิทธิภาพมากขึ้นได้ถ้าทำเลที่ตั้งนั้นเหมาะสม แต่ถ้าทำเลที่ตั้งนั้นอยู่ในที่ที่ไม่เหมาะสมแล้ว กิจการอาจจะต้องประสบกับปัญหาที่ยุ่งยากหรือใช้เวลาที่นานมากขึ้นจึงจะประสบความสำเร็จได้ |
. |
ความแตกต่างในแต่ละประเภทจะเน้นปัจจัยในลักษณะที่มีความแตกต่างกันไปเมื่อจะทำการตัดสินใจกำหนดทำเลที่ตั้งของกิจการ กิจการให้การบริการ เช่น ร้านอาหาร โรงภาพยนตร์ ธนาคาร เป็นต้น จะเน้นปัจจัยของทำเลที่ตั้งที่ใกล้กับลูกค้า กิจการอุตสาหกรรมจะเน้นทำเลที่ตั้งใกล้ที่สะดวกต่อการขนส่งวัตถุดิบ หรือใกล้แหล่งวัตถุดิบ หรือแหล่งที่มีทรัพยากรด้านแรงงานมากเพียงพอ อย่างไรก็ตามมีปัจจัยอื่น ๆ อีกหลายประการที่จำเป็นต่อการพิจารณาตัดสินใจเพื่อเลือกทำเลที่ตั้ง |
. |
ทำเลที่ตั้งคืออะไร |
ทำเลที่ตั้งเป็นการประเมินถึงทำเลหรือพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ที่มีสิ่งอำนวยความสะดวกทางธรรมชาติที่จะช่วยอำนวยความสะดวกในการดำเนินงาน การตัดสินใจเกี่ยวกับทำเลที่ตั้งที่สามารถอำนวยความสะดวกได้เป็นเรื่องที่มีความสำคัญอย่างหนึ่งโดยเฉพาะด้วยเหตุผลที่สำคัญ 2 ประการ คือ ประการแรกกิจการเหล่านั้นต้องดำเนินการสร้างพันธะระยะยาวทั้งในส่วนของอาคาร โรงงาน เครื่องจักร และสิ่งอำนวยความสะดวกในลักษณะอื่น ๆ เพื่อการดำเนินงานเพิ่มเติม |
. |
ซึ่งหมายความว่าถ้ามีความผิดพลาดเกี่ยวกับทำเลที่ตั้งเหมาะสมเป็นสิ่งที่ยุ่งยากมากต่อการดำเนินการแก้ไขให้ถูกต้องได้ ประการที่สอง การตัดสินใจในเรื่องนี้มีความต้องการเงินลงทุนสูงมากที่สามารถจะส่งผลกระทบต่อต้นทุนในการดำเนินที่สูงมาก |
. |
รวมไปถึงส่วนของรายได้ด้วย ทำเลที่ตั้งไม่เหมาะสมสามารถส่งผลต่อต้นทุนในการขนส่งที่สูงขึ้น ซัพพลายเออร์ที่จัดหาวัตถุดิบมีไม่เพียงพอ การขาดแคลนแรงงาน สูญเสียความได้เปรียบในการแข่งขัน และสูญเสียเงินทุน กิจการต่าง ๆ จึงต้องใช้เวลาในการตัดสินใจที่นานเพียงพอและทบทวนปัจจัยในเรื่องต่าง ๆ ด้วยความระมัดระวังเมื่อต้องทำการกำหนดทำเลที่ตั้งใหม่ในแต่ละครั้ง |
. |
โดยส่วนมากแล้วจะไม่มีทำเลที่ตั้งใดที่มีสิ่งอำนวยความสะดวกครบถ้วนในทุกด้าน ทำให้การเลือกทำเลที่ตั้งมักจะยอมรับความสำคัญในด้านใดเป็นหลักในการกำหนดทำเลที่ตั้งมากกว่า ทำเลที่ตั้งแห่งหนึ่งอาจจะมีสิ่งอำนวยความสะดวกอย่างหนึ่งที่เป็นที่น่าพึงพอใจมากกว่า ในขณะที่ในอีกทำเลที่ตั้งหนึ่งจะมีสิ่งอำนวยความสะดวกในอีกลักษณะหนึ่งที่สร้างความพึงพอใจได้ในอีกมุมมองหนึ่ง |
. |
ถ้าการพิจารณาเลือกทำเลที่ตั้งใหม่เป็นกรณีของการขยายกำลังการผลิตเพิ่มขึ้นกิจการอาจจำเป็นต้องเลือกความพึงพอใจในสิ่งอำนวยความสะดวกต่อการดำเนินในอีกลักษณะหนึ่งที่มีความแตกต่างไปจากทำเลที่ตั้งเดิมซึ่งมีสิ่งอำนวยความสะดวกที่น่าพึงพอใจในอีกลักษณะหนึ่งอยู่ก่อนแล้ว ทั้งนี้เพื่อเป็นเพิ่มศักยภาพของกำลังการผลิตที่จำเป็นต่อการดำเนินงานให้ครบถ้วน ๆ ได้มากยิ่งขึ้น |
. |
ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการตัดสินใจเลือกทำเลที่ตั้ง |
ปัจจัยหลายประการสามารถมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเกี่ยวกับทำเลที่ตั้งได้ รวมถึงความสะดวกในการเข้าถึงลูกค้า การขนส่ง แหล่งแรงงาน ทัศนคติของชุมชน ความสะดวกในการจัดหาวัตถุดิบ และปัจจัยอื่น ๆ อีกหลายประการ โดยพื้นฐานแล้วธุรกิจของกิจการหนึ่งมักจะมีการกำหนดปัจจัยที่ถือเป็นประเด็นสำคัญลำดับแรกต่อการเลือกทำเลที่ตั้งของกิจการนั้น |
. |
อย่างที่ได้กล่าวถึงไว้ก่อนหน้านี้แล้วว่าธุรกิจการให้บริการและธุรกิจอุตสาหกรรมนั้นจะมุ่งให้ความสำคัญในปัจจัยหลักที่มีผลต่อการกำหนดทำเลที่ตั้งในลักษณะที่แตกต่างกันไป กิจการที่แสวงหากำไรมีแนวโน้มที่จะให้ความสำคัญในการเลือกทำเลที่ตั้งใกล้กับกลุ่มลูกค้าเป้าหมายที่กิจการต้องให้การบริการ ในขณะที่องค์กรที่ไม่แสวงหากำไรโดยทั่วไปแล้วจะมุ่งให้ความสำคัญกับปัจจัยในด้านอื่นมากกว่า |
. |
การที่จะกำหนดปัจจัยหลักในการเลือกทำเลที่ตั้งเป็นสิ่งที่จะมีอิทธิพลต่อเป้าหมายเชิงกลยุทธ์ของกิจการด้วย จึงถือว่าเป็นเรื่องที่มีความสำคัญมาก เช่น แม้ว่ากิจการให้การบริการจะให้ความสำคัญเกี่ยวกับประเด็นของการมีที่ตั้งใกล้กับลูกค้า แต่ถ้ากิจการมีการนำเสนอการให้บริการแบบจัดส่งถึงที่ ปัจจัยเกี่ยวกับทำเลที่ตั้งใกล้กับกลุ่มลูกค้าจะมีความสำคัญลดลงไป เป็นต้น แต่ถ้าเป็นองค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไร อาจเลือกทำเลที่ตั้งใกล้กับแหล่งที่ให้เงินทุนหรือบุคคลที่ให้ความช่วยเหลือหรือสนับสนุนงานขององค์กรมากกว่า |
. |
* ที่ตั้งใกล้แหล่งวัตถุดิบ |
กิจการหลาย ๆ แห่งต้องการทำเลที่ตั้งใกล้แหล่งวัตถุดิบ การให้ความสำคัญกับปัจจัยในประเด็นนี้ด้วยเหตุผลที่มีความแตกต่างกันไป ในหลาย ๆ กรณีเนื่องจากบางกิจการไม่มีทางเลือก เช่น กิจการโรงสีข้าว กิจการเฟอร์นิเจอร์ที่จากไม้จริง กิจการเหมืองแร่ การมีที่ตั้งของกิจการเหล่านี้ใกล้แหล่งวัตถุดิบถือว่าเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นมากกว่าปัจจัยอื่น เป็นต้น ในกรณีอื่น ๆ ทำเลที่ตั้งอาจจะถูกกำหนดด้วยลักษณะธรรมชาติเกี่ยวกับความเน่าเสียได้ง่ายของวัตถุดิบที่จะถูกนำมาแปรสภาพเป็นสินค้าต่อไป |
. |
เหตุผลในลักษณะอื่น ๆ ที่ทำเลที่ตั้งควรอยู่ใกล้แหล่งวัตถุดิบคือ เพื่อหลีกเลี่ยงต้นทุนการขนส่งที่สูง เช่น อุตสาหกรรมที่ทำการผลิตกระดาษ การขนย้ายท่อนไม้ขนาดใหญ่เพื่อไปยังโรงงานผลิตเป็นสิ่งที่ทำได้ยุ่งยากมากกว่าไม่ว่าจะเป็นพาหนะที่ใช้ในการขนย้าย เวลาในการท่อนขนไม้ขนาดใหญ่จากนอกเมืองเข้ามายังในเมืองซึ่งมีข้อจำกัดเกี่ยวกับเวลาการวิ่งของรถบรรทุก ถ้าปรับเปลี่ยนจากการมีโรงงานในแหล่งปลูกต้นไม้แล้วทำการขนกระดาษสำเร็จรูปในลักษณะต่าง ๆ เข้าเมืองจะทำได้สะดวกกว่า ต้นทุนในการขนย้ายจะถูกกว่าด้วย เป็นต้น |
. |
* ที่ตั้งใกล้กลุ่มลูกค้า |
ทำเลที่ตั้งที่อยู่ในพื้นที่ของการให้การบริการต่าง ๆ แก่ลูกค้าเป็นปัจจัยที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งที่เป็นที่วิพากษ์วิจารณ์กันมากในการตัดสินใจเพื่อเลือกทำเลที่ตั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเป็นกิจการที่ทำธุรกิจในการให้การบริการ เนื่องจากการที่จะมีส่วนแบ่งทางการตลาดได้มากน้อยเพียงใดนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเข้าถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมายให้ได้มากกว่า ด้วยเหตุผลนี้ธุรกิจให้การบริการจึงมักจะกำหนดทำเลที่ตั้งในพื้นที่ที่จำนวนประชากรอยู่อย่างหนาแน่นมากกว่าเพื่อให้การเข้าถึงลูกค้าทำได้สะดวกกว่านั่นเอง |
. |
เช่น ร้านค้าปลีก ภัตตาคารหรือร้านอาหาร สถานีบริการน้ำมัน ร้านขายของชำ ร้านซักรีด–ซักแห้ง และร้านขายดอกไม้ เป็นต้น โดยเฉพาะเมื่อเป็นผู้ค้าปลีกรายใหญ่มักจะมีทำเลที่ตั้งใจกลางเมืองใหญ่ซึ่งเป็นศูนย์กลางทางการตลาดที่ดี เป็นผลทำให้กิจการให้การบริการขนาดเล็กในลักษณะต่าง ๆ ตัดสินใจเลือกทำเลที่ตั้งในบริเวณเดียวกันเพราะผู้ค้าปลีกขนาดใหญ่มีความสามารถดึงดูดใจลูกค้าได้เป็นอย่างดี |
. |
เหตุผลอื่น ๆ ของการเลือกทำเลที่ตั้งใกล้กลุ่มลูกค้าอาจจะรวมไปถึงลักษณะโดยธรรมชาติของสินค้าที่เน่าเสียได้ง่าย หรือต้นทุนการขนส่งในการส่งมอบให้กับลูกค้าที่มีมูลค่าสูง เช่น สินค้าประเภทอาหารต้องสดหรือใหม่ ไม่หมดอายุ ดอกไม้ที่จะต้องสดไม่เหี่ยวเฉา หรือ สินค้าประเภทยาที่จำเป็นต้องส่งมอบถึงลูกค้าเนื่องจากมีอายุการใช้งานที่จำกัด หรือสินค้าที่เป็นโลหะหนักประเภทเหล็ก ท่อ หรือปูนซีเมนต์ที่ต้นทุนการขนส่งค่อนข้างสูง เป็นต้น |
. |
* ที่ตั้งใกล้แหล่งแรงงาน |
พื้นที่ที่สามารถจัดหาแรงงานที่มีคุณลักษณะที่ต้องการได้อย่างเพียงพอเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญในหลาย ๆ ธุรกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มแรงงานที่ต้องทำงานหนักซึ่งไม่ได้ใช้ทักษะความรู้ในด้านใดด้านหนึ่งมากนัก กิจการต่าง ๆ จำเป็นต้องคำนึงถึงความสามารถในการจัดหาแรงงานที่กิจการมีความต้องการ ไม่ว่าจะเป็นแรงงานอุตสาหกรรม แรงงานที่มีทักษะเฉพาะด้านอย่างใดอย่างหนึ่ง |
. |
เช่น โรงงานบางแห่งมีความต้องการแรงงานที่ทำการประกอบชิ้นส่วน ในขณะที่บางโรงงานมีความต้องการแรงงานที่มีความทางด้านช่างเทคนิคหรือความรู้ทางด้านคอมพิวเตอร์ เป็นต้น ดังนั้นกิจการต่าง ๆ นั้นจึงควรเลือกทำเลที่ตั้งในพื้นที่ที่สามารถจะช่วยสนับสนุนหรือส่งเสริมการจัดหาแรงงานที่ต้องการในลักษณะดังกล่าวได้ด้วย |
. |
เหตุผลอื่น ๆ ของการให้ความสำคัญกับปัจจัยในเรื่องของพื้นที่ที่จัดหาแรงงาน เช่น อัตราค่าจ้างแรงงานในแต่ละพื้นที่ การมีกลุ่มสหภาพแรงงาน หรือทัศนคติของคนงานในพื้นที่ เป็นต้น ความเชื่อ หรือทัศนคติของคนงานในแต่ละพื้นที่ระหว่างคนในเมืองกับคนชนบทที่มีต่องานต่าง ๆ นั้นมีความแตกต่างกันอย่างมาก ทัศนคติเป็นปัจจัยที่มีผลโดยตรงต่องาน เช่น การมาทำงาน ความกระตือรือร้น ความคล่องแคล่วในการทำงาน และการลาออกจากงาน เป็นต้น ทัศนคติของคนงานในลักษณะต่าง ๆ ดังกล่าวนั้นสามารถจะส่งผลกระทบที่สำคัญต่อผลผลิตของงานได้ |
. |
* ปัจจัยในเรื่องของชุมชนหรือสังคม |
ความสำเร็จของกิจการในบางทำเลที่ตั้งนั้นสามารถจะได้รับผลกระทบจากปัจจัยในเรื่องความเป็นที่ยอมรับของชุมชนหรือสังคมในพื้นที่ว่าเป็นที่ยอมรับในระดับมากน้อยเพียงใดเป็นสำคัญ ชุมชนหลาย ๆ แห่งให้การยอมรับธุรกิจใหม่ที่จะเข้ามาในมุมมองที่ว่าอาจจะเป็นแหล่งในการเก็บภาษีเพื่อการนำไปบำรุงท้องที่ การมีโอกาสในการทำงานที่มากขึ้น หรือดีขึ้น หรือสะดวกมากขึ้น |
. |
รวมไปถึงสิ่งดี ๆ ที่ชุมชนโดยภาพรวมจะได้รับ อย่างไรก็ตามชุมชนหรือสังคมจะไม่ให้การต้อนรับกิจการใดที่อาจจะนำมาซึ่งมลภาวะที่เป็นพิษในลักษณะต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นน้ำเน่าเสีย เสียงดัง การจราจรติดขัด หรือกิจการที่จะทำให้ชุนชนในสังคมแห่งนั้นมีคุณภาพชีวิตที่แย่ลงไปกว่าเดิม เช่น การสร้างโรงงานไฟฟ้า การสร้างบ่อบำบัดนำเสีย การสร้างสนามบิน เป็นต้น |
. |
* ปัจจัยเกี่ยวกับพื้นที่ที่ตั้ง |
การพิจารณาพื้นที่ของทำเลที่ตั้งเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ต้องคำนึงถึง เช่น ต้นทุนในเรื่องของสาธารณูปโภคพื้นฐานต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น น้ำประปา ไฟฟ้า ถนน สภาพของดิน หรือการมีภูเขาล้อมรอบ เป็นต้น พื้นที่ที่มีข้อจำกัดในลักษณะต่าง ๆ จะส่งผลกระทบทำให้กิจการต้องใช้เงินลงทุนในจำนวนที่มากขึ้นเพื่อปรับปรุงสาธารณูปโภคหรือทรัพยากรในการดำเนินงานขั้นพื้นฐานให้มีความพร้อมสมบูรณ์เสียก่อนจึงจะสามารถดำเนินธุรกิจได้คล่องตัวมากขึ้น |
. |
* คุณภาพชีวิต |
ปัจจัยที่สำคัญอีกประการหนึ่งในการเลือกทำเลที่ตั้งคือ คุณภาพชีวิตในแต่ละพื้นที่ที่มีให้กับพนักงานของกิจการ ปัญหานี้อาจจะกลายเป็นปัญหาที่มีความสำคัญในอนาคตได้เมื่อกิจการจัดจ้างพนักงานชุดใหม่หรือทีมงานใหม่เข้ามาทำงานซึ่งอาจจะเป็นคนในต่างพื้นที่ คุณภาพชีวิตนี้มีความหมายรวมถึง สภาพอากาศโดยปกติในพื้นที่ |
. |
สภาพของการดำรงชีวิตโดยปกติทั่วไป สถานศึกษาไม่ว่าจะเป็นโรงเรียน วิทยาลัย สถาบัน หรือมหาวิทยาลัย และอัตราการเกิดอาชญากรรม เป็นต้น แน่นอนว่าคุณภาพชีวิตไม่ได้เป็นปัจจัยหลักในการเลือกทำเลที่ตั้ง อย่างไรก็ตามเมื่อปัจจัยในด้านอื่น ๆ ไม่ได้มีความแตกต่างกันในแต่ละทำเลที่ตั้งแล้ว ปัจจัยในเรื่องของคุณภาพชีวิตอาจจะกลายเป็นปัจจัยหลักที่สำคัญต่อการตัดสินใจในท้ายที่สุดก็เป็นไปได้ |
. |
* ปัจจัยอื่น ๆ |
นอกจากปัจจัยต่าง ๆ ที่ได้กล่าวถึงข้างต้นแล้วนั้นอาจจะมีปัจจัยในลักษณะอื่น ๆ เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจได้เช่นกัน ปัจจัยอื่น ๆ เหล่านี้อาจจะหมายความรวมไปถึง พื้นที่ว่างที่เหลือสำหรับเป็นสวนสาธารณะของลูกค้าในชุมชน ทัศนียภาพในพื้นที่ที่อยู่อาศัยของกลุ่มลูกค้า ความสะดวกในการเดินทาง หรือพื้นที่เพื่อการขยายกำลังการผลิตของกิจการในอนาคต ต้นทุนการก่อสร้าง ค่าเบี้ยประกันภัยในพื้นที่ การแข่งขันในพื้นที่ การจราจรในพื้นที่ ถนนที่ตัดผ่านในพื้นที่ หรือการเมืองในพื้นที่ เป็นต้น |
. |
โลกไร้พรมแดน |
นอกเหนือจากจะต้องทำการพิจารณาเกี่ยวกับปัจจัยเฉพาะด้านที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกทำเลที่ตั้งตามที่ได้กล่าวข้างต้นนั้นแล้ว กิจการจำเป็นต้องพิจารณาถึงผลกระทบหลักที่สำคัญอีกประการหนึ่งอันเนื่องมาจากแนวโน้มของการทำธุรกิจในโลกในปัจจุบันนี้ประกอบด้วย โลกไร้พรมแดนในที่นี้หมายถึงกระบวนการการวิเคราะห์ทำเลที่ตั้งเพื่อการจัดเตรียมกำลังการผลิตในการดำเนินงานของกิจการกระจายไปยังพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วโลก |
. |
ตลอดช่วงระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมาความยากลำบากในการทำธุรกิจนั้นไม่ใช่แต่เฉพาะประเด็นในส่วนของแนวโน้มเท่านั้น แต่ยังมีข้อเท็จจริงเกี่ยวกับวิถีทางหรือแนวทางในการติดต่อสื่อสารเพื่อการทำธุรกิจร่วมกัน เทคโนโลยีต่าง ๆ เช่น แฟกซ์ จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (E-mail) การประชุมทางไกล (Video Conference) หรือการจัดส่งสินค้าในทันทีได้ตลอดเวลาแม้ในเวลากลางคืน เป็นต้น |
. |
จากที่กล่าวมาจึงเห็นได้ว่าการติดต่อสื่อสารในระยะทางไกลนั้นไม่เป็นปัญหาในการดำเนินธุรกิจแต่อย่างใดเมื่อเปรียบกับในอดีตที่ผ่านมา ด้วยเหตุนี้จึงทำให้การตลาดและการแข่งขันกันทางธุรกิจในระดับโลกจึงได้ทวีความสำคัญและมีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น |
. |
จากแต่เดิมความมีประสิทธิผลในการทำธุรกิจจะมุ่งเน้นไปที่ประเด็นของต้นทุนเป็นสำคัญ แต่ในปัจจุบันนี้กิจการหลาย ๆ แห่งได้ขยายความสำคัญในการดำเนินธุรกิจไปในหลาย ๆ ด้านมากขึ้นซึ่งรวมถึงการจัดหาแหล่งทรัพยากรระดับโลก ทำให้ปัจจัยอื่น ๆ ที่นอกเหนือไปจากเรื่องของความห่างไกลจึงกลายเป็นสิ่งที่ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์มากขึ้นในการเลือกทำเลที่ตั้งในทางภูมิศาสตร์ |
. |
การตัดสินใจที่จะขยายการดำเนินงานในระดับโลกนั้นไม่ใช่สิ่งที่จะทำการตัดสินใจได้ง่าย มีหลายสิ่งหลายอย่างที่จะต้องทำการพิจารณาเพื่อการตัดสินใจ และปัญหาต่าง ๆ ในการดำเนินงานจะต้องได้รับการถ่วงดุลกันถึงผลประโยชน์ต่าง ๆ ที่พึงจะได้รับ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องทำการพิจารณาถึงข้อดีและข้อเสียในการดำเนินธุรกิจระดับโลกเป็นเบื้องต้นเสียก่อน |
. |
ข้อดีของโลกไร้พรมแดน มีเหตุผลหลาย ๆ ประการว่าทำไมกิจการต่าง ๆ จึงต้องการขยายการดำเนินงานให้เป็นการทำธุรกิจระดับโลก ประเด็นหลักอย่างหนึ่ง ทำให้ได้มาซึ่งความได้เปรียบจากการทำการตลาดระหว่างประเทศ ความต้องการในการนำสินค้าเข้าประเทศนับวันจะมีการขยายตัวไปในภาคธุรกิจต่าง ๆ มากยิ่งขึ้น จึงทำให้ต้องมีการนำเสนอกิจกรรมทางการตลาดที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะชน |
. |
ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ในการแข่งขัน ดังนั้นการที่เข้าไปเลือกทำเลที่ตั้งเพื่อการผลิตในต่างประเทศที่มีการนำเข้าสินค้าของกิจการจะช่วยทำให้สามารถลดผลกระทบต่อความรู้สึกที่ไม่ดีของประชากรในพื้นที่ต่างประเทศเกี่ยวกับการเป็นสินค้านำเข้าได้ในระดับหนึ่งด้วย |
. |
ข้อดีในลักษณะอื่น ๆ ได้แก่ การลดการผูกขาดทางการค้า การเลือกที่จะเข้ามาตั้งกิจการเพื่อทำการผลิตสินค้าในพื้นที่ต่างประเทศที่เป็นลูกค้าของกิจการ จะช่วยทำให้สามารถหลีกเลี่ยงปัญหาเกี่ยวกับโควต้าการนำเข้าสินค้าได้ นอกจากนี้การขยายกิจการไปยังต่างประเทศนั้นยังมีประเด็นในเรื่องของค่าจ้างแรงงานที่ถูกกว่าในบางประเทศเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย เช่น แรงงานในประเทศจีน ลาว เวียดนาม ไทย เป็นต้น |
. |
ซึ่งถือเป็นสิ่งดึงดูดใจให้กิจการต่าง ๆ ต้องการเข้ามาตั้งโรงงานผลิตสินค้าในพื้นที่ต่างประเทศมากยิ่งขึ้น หรือบ่อยครั้งที่จะทำให้มีต้นทุนที่ถูกกว่าจากการส่งวัตถุดิบหรือชิ้นส่วนประกอบต่าง ๆ เพื่อนำไปทำการประกอบต่อก่อนจะนำส่งสินค้าสำเร็จรูปที่ได้ไปยังสถานที่อื่น ๆ ที่เป็นประเทศคู่ค้าต่อไป ซึ่งแน่นอนว่าต้นทุนของค่าจ้างแรงงานจะช่วยให้สามารถประหยัดไปได้มากกว่าต้นทุนในการขนส่งที่จะเพิ่มขึ้น |
. |
แม้ว่าจะมีข้อดีหลายประการในยุคโลกาภิวัตน์ แต่ยังมีข้อเสียหลายประการที่จะต้องพิจารณาควบคู่กันไป การเมืองเป็นปัจจัยที่มีความเสี่ยงอย่างมากต่อการทำธุรกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบางประเทศที่การเมืองยังไม่มีความชัดเจน หรือขาดเสถียรภาพทางการเมือง เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในแต่ครั้งอาจจะมีการออกกฎหมาย หรือมาตรการทางภาษีใหม่ ๆ ที่อาจเป็นการสร้างเงื่อนไข หรือข้อจำกัดในการทำธุรกิจของกิจการได้ ซึ่งกิจการจะต้องยอมรับหลักเกณฑ์เหล่านั้นไปโดยปริยาย |
. |
การเข้าไปลงทุนตั้งกิจการในต่างประเทศซึ่งเป็นแหล่งซัพพลายเออร์ที่จัดหาวัตถุดิบของกิจการ ในบางครั้งอาจจะทำให้ต้องมีการแลกเปลี่ยนความรู้หรือเทคโนโลยีทางการผลิตหรือการบริหารจัดการใหม่ร่วมกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปัจจุบันนี้ความสำคัญเกี่ยวกับแนวคิดของการบริหารคุณภาพโดยรวมที่สนับสนุนให้ทุกฝ่ายที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการได้มาซึ่งผลผลิตในลักษณะเป็นตัวสินค้าหรือการบริการนั้นจำเป็นต้องมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางธุรกิจระหว่างกันทั้งนี้เพื่อประโยชน์ในการทำธุรกิจร่วมกันของทุกฝ่าย อย่างไรก็ตามกิจการที่อยู่ในฐานะที่เป็นฝ่ายผลิตโดยตรงอาจจะต้องพิจารณาทบทวนด้วยความระมัดระวังในการแลกเปลี่ยนหรือแบ่งปันข้อมูลใด ๆ ระหว่างกัน |
. |
สำหรับประเด็นในเรื่องของการใช้แรงงานในพื้นที่ต่างประเทศที่เข้าไปลงทุนนั้น กิจการอาจจะให้ความสนใจในเรื่องของอัตราค่าจ้างแรงงานที่ถูกกว่า แต่อย่างไรก็ตามกิจการอาจจะเผชิญกับทัศนคติ พฤติกรรมของคนงานที่มีความแตกต่างกันออกไปในพื้นที่ต่าง ๆ โดยเฉพาะในต่างประเทศ |
. |
นอกจากนี้ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับงานก่อสร้างที่เป็นระบบการให้บริการพื้นฐานแก่ประชาชนในประเทศของแต่ละประเทศก็เป็นอีกประเด็นหนึ่งที่มีความสำคัญไม่น้อย หลาย ๆ ประเทศที่ยังไม่ได้ทำการพัฒนาปัจจัยพื้นฐานเหล่านี้ซึ่งรวมถึงทุกอย่างตั้งแต่ถนน ระบบการขนส่งมวลชน ตลอดจนสาธารณูปโภคพื้นฐานทั้งหมดซึ่งถือได้ว่าเป็นสิ่งจำเป็นขั้นพื้นฐานในการดำเนินธุรกิจ |
. |
ประเด็นอื่น ๆ ที่ควรพิจารณาในการเลือกทำเลที่ตั้งในต่างประเทศ นอกเหนือจากข้อดีข้อเสียในลักษณะต่าง ๆ ที่กล่าวถึงในขั้นต้นนั้นแล้ว กิจการจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องคำนึงถึงผลกระทบในลักษณะอื่น ๆ ประกอบกันด้วย ทั้งนี้เนื่องจากกฎเกณฑ์ที่เป็นที่ยอมรับกันได้โดยทั่วไปในประเทศหนึ่งอาจจะไม่เป็นที่ยอมรับของอีกประเทศหนึ่งก็เป็นไปได้ |
. |
1.ความแตกต่างในเรื่องของวัฒนธรรมในแต่ละท้องที่ ซึ่งแน่นอนว่าคนในแต่ละประเทศ แต่ละภูมิภาคย่อมมีทัศนคติ ความเชื่อ ค่านิยม มาตรฐานของเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่มีความแตกต่างกันซึ่งบางครั้งอาจจะเป็นการยากที่จะพยายามทำความเข้าใจให้ตรงกัน |
. |
2.ภาษาที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารในแต่ละประเทศเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่มีศักยภาพสำคัญต่อการตัดสินใจเลือกทำเลที่ตั้ง พนักงานและหัวหน้างานจะต้องสามารถทำการติดต่อสื่อสาร ประสานงานกันเพื่อให้การดำเนินงานนั้นบรรลุวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายในการทำงาน การที่ไม่สามารถสื่อสารให้เข้าใจกันได้อย่างแท้จริงอาจจะส่งผลเสียหายที่ร้ายแรงตามมาได้ |
. |
3.ความแตกต่างในเรื่องของกฎหมายและหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ซึ่งรวมความถึงกฎหมายในทุกด้านที่เกี่ยวข้องกับประชากรในประเทศนั้น โดยเฉพาะในส่วนของกฎหมายแรงงานที่อาจจะทำให้ต้องมีการเปลี่ยนแปลงกฎเกณฑ์ข้อปฏิบัติในการทำงานได้ |
. |
กระบวนการสำหรับการตัดสินใจเลือกทำเลที่ตั้ง |
เมื่อผู้บริหารต้องทำการวางแผนการผลิตจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องดำเนินการตามขั้นตอน 3 ขั้นตอนดังต่อไปนี้ ขั้นที่ 1 กำหนดปัจจัยที่เป็นประเด็นหลักสำคัญในการเลือกทำเลที่ตั้ง ขั้นที่ 2 การพิจารณาเพื่อหาทางเลือกของทำเลที่ตั้งที่สามารถบรรลุผลที่น่าพึงพอใจสอดคล้องกับประเด็นหลักสำคัญที่ได้กำหนดไว้ในขั้นที่ 1 |
. |
ขั้นที่ 3 การประเมินค่าหรือวัดค่าของแต่ละทางเลือกเพื่อสรุปผลลัพธ์ในการตัดสินใจว่าจะเลือกทำเลที่ตั้ง การตัดสินใจในขั้นนี้เป็นสิ่งที่ทำได้ยาก เนื่องจากทางเลือกหนึ่งอาจจะให้ค่าผลลัพธ์ที่น่าพึงพอใจในปัจจัยที่เป็นประเด็นหลักอย่างหนึ่ง ในขณะที่อีกทางเลือกหนึ่งอาจจะให้ค่าผลลัพธ์ที่น่าพึงพอใจในปัจจัยที่เป็นประเด็นหลักอีกอย่างหนึ่ง |
. |
* กระบวนการของการประเมินค่าหรือวัดค่าของแต่ละทางเลือก |
การประเมินค่าหรือวัดค่าผลลัพธ์ในแต่ละทางเลือกจำเป็นต้องอาศัยเครื่องมือที่จะช่วยสนับสนุนกระบวนการในการตัดสินใจเนื่องจากปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการกำหนดทำเลที่ตั้งที่ได้กล่าวถึงมาทั้งหมดข้างต้นนั้นจะเห็นได้ว่ามีลักษณะที่เป็นนามธรรมไม่สามารถทำการประเมินหรือวัดค่าได้ง่าย และผู้บริหารตระหนักดีถึงข้อเท็จจริงประการหนึ่งว่ากิจการจะต้องดำเนินงาน ณ ทำเลที่ตั้งนี้เป็นระยะเวลาที่ยาวนาน ดังนั้นการตัดสินใจเกี่ยวกับการกำหนดทำเลให้มีความเหมาะสมถูกต้องจึงเป็นสิ่งที่มีความสำคัญมากอย่างหนึ่ง |
. |
การจัดอันดับปัจจัย (Factor Rating) จากที่ได้กล่าวมาข้างต้นนั้นจะเห็นได้ว่ามีปัจจัยหลายประการที่ผู้บริหารต้องทำการพิจารณาเมื่อจะทำการประเมินค่าทางเลือกในการตัดสินใจ วิธีการอย่างหนึ่งที่สามารถนำมาใช้เพื่อทำให้ได้มาซึ่งโครงสร้างของกระบวนการตัดสินใจในระดับหนึ่งคือ การจัดอันดับปัจจัย |
. |
การจัดอันดับปัจจัยเป็นกระบวนการที่สามารถใช้เพื่อการประเมินค่าทางเลือกที่หลากหลายซึ่งขึ้นอยู่กับจำนวนของปัจจัยที่ถูกคัดเลือกเป็นประเด็นในการกำหนดทำเลที่ตั้ง เครื่องมือนี้สามารถช่วยให้สามารถทำการหาค่าปัจจัยที่ถูกกำหนดขึ้นมาเป็นประเด็นสำคัญของการกำหนดทำเลที่ตั้งได้ ลำดับขั้นตอนในการดำเนินการทำได้ดังนี้ |
. |
ขั้นที่ 1 ระบุปัจจัยหลักที่ใช้เพื่อการกำหนดทำเลที่ตั้ง เช่น ใกล้กลุ่มตลาดเป้าหมาย ความสะดวกในการเข้าถึงพื้นที่ การแข่งขัน หรือคุณภาพชีวิต เป็นต้น |
. |
ขั้นที่ 3 การให้ค่าน้ำหนักในการจัดลำดับเพื่อการประเมินค่าแต่ละทำเลที่ตั้งที่มีความเกี่ยวข้องกับปัจจัยทำเลที่ตั้งในอีกลักษณะหนึ่ง โดยปกติทั่วไปใช้ค่า 5 ค่าเพื่อการจัดลำดับคือ เลข 1 แสดงค่าน้ำหนักที่น้อยที่สุด ไล่ลำดับขึ้นไปจนถึงเลข 5 แสดงค่าน้ำหนักมากที่สุด |
. |
ขั้นที่ 5 ให้นำค่าน้ำหนักคะแนนกับค่าน้ำหนักที่ใช้จัดลำดับของแต่ละปัจจัยและแต่ละทำเลที่ตั้งมาคูณกันเพื่อสรุปผลลัพธ์ของแต่ละทางเลือก วิธีการในลักษณะนี้ค่าคะแนนของแต่ละทางเลือกจึงขึ้นอยู่กับค่าน้ำหนักคะแนนและค่าน้ำหนักการจัดลำดับของแต่ละปัจจัยทำเลที่ตั้งว่าเป็นอย่างไรบ้าง |
. |
ตัวอย่างที่ 1 |
บัณฑิตกำลังทำการพิจารณาเพื่อการประเมินค่าทางเลือกของทำเลที่ตั้ง 3 แห่งซึ่งแตกต่างกันในการประกอบธุรกิจร้านอาหาร บัณฑิตได้ทำการระบุถึงปัจจัยที่สำคัญ 5 ปัจจัยที่จะนำมาใช้เพื่อเลือกทำเลที่ตั้งที่เหมาะสม โดยได้ทำการให้น้ำหนักที่เป็นค่าคะแนนของแต่ละปัจจัยในแต่ละทำเลที่ตั้งไว้ดังนี้ |
. |
. |
ส่วนค่าน้ำหนักที่ใช้ในการจัดลำดับนั้นกำหนดให้มี 5 ช่วงเริ่มจากน้อยที่สุดคือ 1 ไล่ลำดับมากที่สุดคือ 5 แสดงได้ดังนี้ |
. |
ผลลัพธ์ที่ได้จากการจัดลำดับปัจจัยเมื่อดำเนินการตามขั้นที่ 1–ขั้นที่ 6 แสดงได้ดังนี้ |
จากผลการคำนวณในตารางข้างต้นจะเห็นได้ว่านายบัณฑิตควรจะเลือกทำเลที่ตั้ง ค ในการทำร้านอาหาร |
. |
* รูปแบบค่าน้ำหนักและระยะทาง (The Load–Distance Model) |
รูปแบบค่าน้ำหนักและระยะทางเป็นกระบวนการสำหรับการประเมินค่าเพื่อเลือกทำเลที่ตั้งของแต่ละทางเลือกโดยเกณฑ์การตัดสินใจนั้นจะขึ้นอยู่กับระยะทาง ระยะทางเป็นการวัดค่าถึงความใกล้ไกลจากกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย ความใกล้ไกลจากซัพพลายเออร์ ความใกล้ไกลจากแรงงาน หรือสิ่งอำนวยความสะดวกอื่น ๆ ซึ่งจะถูกนำไปใช้เป็นปัจจัยสำคัญในการพิจารณา |
. |
วัตถุประสงค์ของรูปแบบนี้คือเพื่อต้องการเลือกทำเลที่ตั้งที่มีจำนวนรวมของน้ำหนักที่ทำการขนย้ายระหว่างระยะเวลาในการเดินทางให้มีจำนวนที่น้อยที่สุด รูปแบบค่าน้ำหนักและระยะทางสามารถแสดงอยู่ในรูปของสมการที่ 1 เพื่อนำมาใช้เปรียบเทียบกันโดยจะทำการคำนวณน้ำหนัก และระยะทางของแต่ละทำเลที่ตั้ง สมการที่ 1 แสดงได้ดังนี้ |
. |
จำนวนรวมค่าน้ำหนักและระยะทางของทำเลที่ตั้งหนึ่ง ๆ = |
กำหนดให้ LAB = น้ำหนักการขนย้ายระหว่างทำเลที่ตั้ง A และ B DAB = ระยะทางระหว่างทำเลที่ตั้ง A และ B |
. |
จากสูตรข้างต้นจะเห็นได้ว่าจำนวนรวมของน้ำหนักและระยะทางของทำเลที่ตั้งหนึ่ง ๆ สามารถหาได้จากผลคูณของค่าน้ำหนักการขนย้ายระหว่างทำเลที่ตั้ง (LAB) กับระยะทาง (DAB) และรวมผลคูณทั้งหมดของทุกทำเลที่ตั้ง โดยเป้าหมายของจำนวนรวมที่ต้องการคือค่าที่ต่ำที่สุดเท่าที่จะสามารถเป็นไปได้เพื่อที่จะลดการเดินทางสำหรับทำเลที่ตั้งที่มีภาระน้ำหนักการขนย้ายมากให้ลดลง |
. |
ลำดับขั้นตอนในการจัดทำเพื่อให้ได้มาซึ่งจำนวนรวมของน้ำหนักและระยะทางที่จะใช้ในการตัดสินใจเลือกทำเลที่ตั้ง มีดังนี้ |
ขั้นที่ 1 คำนวณระยะทาง ขั้นแรกนี้เป็นการระบุระยะห่างระหว่างตำแหน่งที่ตั้ง ๆ ต่าง บ่อยครั้งที่การวัดค่าระยะทางจะทำการวัดค่าในลักษณะที่เป็นเส้นตรง ระยะห่างที่เป็นเส้นตรงคือระยะทางที่สั้นที่สุดระหว่างตำแหน่ง 2 ตำแหน่งโดยทำการวัดระยะการเคลื่อนที่ในแนวทิศเหนือหรือทิศใต้ และทิศตะวันออกหรือทิศตะวันตก |
. |
การวัดค่าระยะทางในลักษณะที่เป็นเส้นตรงจะถูกกำหนดเป็นพิกัดแสดงจุดเชื่อมต่อเป็นแผนที่และใช้แผนที่นั้นเพื่อการประเมินค่าระยะห่างระหว่าง 2 ทำเลที่ตั้ง ระยะทางในลักษณะที่เป็นเส้นตรงระหว่าง 2 ทำเลที่ตั้งสามารถทำการคำนวณหาได้จากผลรวมของค่าสัมบูรณ์ของความแตกต่างระหว่าง 2 ทำเลที่ตั้ง เขียนเป็นสูตรการคำนวณได้ดังนี้ |
. |
กำหนดให้ DAB = ระยะทางระหว่างทำเลที่ตั้ง A และ B XA = ค่าพิกัดในแนวแกน X ของทำเลที่ตั้ง A XB = ค่าพิกัดในแนวแกน X ของทำเลที่ตั้ง B YA = ค่าพิกัดในแนวแกน Y ของทำเลที่ตั้ง A YB = ค่าพิกัดในแนวแกน Y ของทำเลที่ตั้ง B |
. |
ขั้นที่ 2 ระบุน้ำหนักการขนย้าย เมื่อสามารถคำนวณระยะทางที่เป็นเส้นตรงได้แล้วขั้นต่อไปจึงทำการระบุน้ำหนักที่จะทำการขนย้ายระหว่างทำเลที่ตั้งหนึ่ง ๆ ค่าที่ได้คือ LAB |
. |
ตัวอย่างที่ 2 |
บริษัทสุนิสาอุตสาหกรรม กำลังทำการพิจารณาทำเลที่ตั้งคลังสินค้า 2 แห่งคือ พื้นที่ ก และพื้นที่ ข เพื่อกระจายสินค้าไปยังสาขาจำหน่ายใน 4 สาขา คือ สาขา A สาขา B สาขา C และสาขา D ซึ่งมีข้อมูลเกี่ยวกับพิกัดตำแหน่งของคลังสินค้าและสาขาที่จะต้องทำการกระจายสินค้าดังแสดงในแผนภาพต่อไปนี้ |
. |
. |
ขั้นที่ 1 คำนวณระยะทางระหว่างคลังสินค้าในแต่ละแห่งไปยังสาขาแต่ละสาขา ดังนี้ |
ระยะทางระหว่างสาขาแต่ละแห่งไปยังคลังสินค้าในพื้นที่ ก |
. |
ระยะทางระหว่างสาขาแต่ละแห่งไปยังคลังสินค้าในพื้นที่ ข |
. |
ขั้นที่ 2 ระบุน้ำหนักสินค้าที่ต้องขนย้ายระหว่างสาขาและคลังสินค้า |
. |
ขั้นที่ 3 คำนวณจำนวนรวมของน้ำหนักและระยะทางสำหรับแต่ละทำเลที่ตั้ง |
การคำนวณหาจำนวนรวมน้ำหนักและระยะทางระหว่างสาขาทั้ง 4 สาขากับคลังสินค้าในพื้นที่ ก แสดงได้ดังนี้ |
. |
การคำนวณหาจำนวนรวมน้ำหนักและระยะทางระหว่างสาขาทั้ง 4 สาขากับคลังสินค้าในพื้นที่ ข แสดงได้ดังนี้ |
. |
เมื่อเปรียบเทียบผลการคำนวณจำนวนรวมน้ำหนักและระยะทางระหว่างสาขาจัดหน่าย 4 สาขาไปยังคลังสินค้าทั้ง 2 แห่ง พบว่าค่าจำนวนรวมน้ำหนักและระยะทางระหว่างสาขาจัดหน่าย 4 สาขาไปยังคลังสินค้า ก นั้นสูงกว่าของค่าจำนวนรวมน้ำหนักและระยะทางระหว่างสาขาจัดหน่าย 4 สาขาไปยังคลังสินค้า ข ดังนั้น ทำเลที่ตั้งที่เหมะสมที่กิจการควรตั้งเป็นพื้นที่คลังสินค้าคือตำแหน่งพิกัดคลังสินค้าในพื้นที่ ข |
. |
* วิธีหาจุดศูนย์ถ่วง (The Center of Gravity Approach) |
การเลือกทำเลที่ตั้งโดยใช้รูปแบบจำนวนรวมน้ำหนักและระยะทางจะถูกนำไปใช้เมื่อมีเป้าหมายของทำเลที่ตั้งไว้ก่อนล่วงหน้าแล้ว อย่างไรก็ตามทำเลที่ตั้งที่กำหนดไว้ล่วงหน้าอาจจะไม่ใช่ตำแหน่งที่มีจำนวนรวมน้ำหนักและระยะทางที่มีค่าน้อยที่สุดก็เป็นไปได้ วิธีการอย่างหนึ่งที่จะช่วยในการหาตำแหน่งที่ทำให้จำนวนรวมน้ำหนักและระยะทางมีค่าน้อยที่สุดในบริเวณที่เป็นพื้นที่เป้าหมายโดยรวมคือ วิธีหาจุดศูนย์ถ่วง |
. |
ซึ่งอาจจะทำให้ได้ทำเลที่ตั้งอื่น ๆ ในบริเวณพื้นที่เป้าหมายได้ดีกว่า ค่าพิกัดแสดงตำแหน่งของระยะทางในแนวแกน X และ Y ซึ่งเป็นตำแหน่งของจุดศูนย์ถ่วงในบริเวณของพื้นที่เป้าหมายสามารถคำนวณหาได้จากสูตรดังนี้ |
. |
. |
กำหนดให้ C.G. = ตำแหน่งของจุดศูนย์ถ่วงในบริเวณของพื้นที่เป้าหมาย i = บริเวณใด ๆ ที่เป็นพื้นที่เป้าหมาย LA = น้ำหนักการขนย้ายในพื้นที่เป้าหมายใด ๆ XA = พิกัดแนวแกน X บริเวณใด ๆ ที่เป็นพื้นที่เป้าหมาย YA = พิกัดแนวแกน Y บริเวณใด ๆ ที่เป็นพื้นที่เป้าหมาย |
. |
ตัวอย่างที่ 3 |
จากตัวอย่างที่ 2 ให้ทำการหาตำแหน่งที่เป็นจุดศูนย์ถ่วงเพื่อการกำหนดทำเลที่ตั้งคลังสินค้าที่เหมาะสมต่อการขนย้ายสินค้าไปยังสาขาจัดจำหน่าย 4 สาขา |
. |
ก่อนการคำนวณตำแหน่งที่เป็นจุดศูนย์ถ่วงจะต้องหาค่าจำนวนรวมของน้ำหนักและระยะทางของแต่ละตำแหน่งในบริเวณที่เป็นพื้นที่เป้าหมายก่อน แสดงการคำนวณได้ดังนี้ |
. |
. |
จาการคำนวณ |
. |
จากตำแหน่งที่ได้ข้างต้นสามารถนำมาแสดงในแผนภาพเพื่อให้เห็นพิกัดเป้าหมายได้ดังนี้ |
สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2539 www.thailandindustry.com
Copyright (C) 2009 www.thailandindustry.com All rights reserved.
ขอสงวนสิทธิ์ ข้อมูล เนื้อหา บทความ และรูปภาพ (ในส่วนที่ทำขึ้นเอง) ทั้งหมดที่ปรากฎอยู่ในเว็บไซต์ www.thailandindustry.com ห้ามมิให้บุคคลใด คัดลอก หรือ ทำสำเนา หรือ ดัดแปลง ข้อความหรือบทความใดๆ ของเว็บไซต์ หากผู้ใดละเมิด ไม่ว่าการลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดของบทความนี้ไปใช้ ดัดแปลง โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร จะถูกดำเนินคดี ตามที่กฏหมายบัญญัติไว้สูงสุด