โดยทั่วไปเป้าหมายหลักของการดำเนินธุรกิจคือการมุ่งสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผู้ถือหุ้น (Shareholder) ที่มีส่วนร่วมลงทุนกับธุรกิจโดยคาดหวังที่จะได้ผลตอบแทนสูงกว่าต้นทุนของเงินลงทุน (Cost of Capital) หรืออาจกล่าวได้ว่าผู้ถือหุ้นจะมีความมั่งคั่งขึ้นเมื่อโครงการลงทุนมีมูลค่าปัจจุบันสุทธิ (Net Present Value) เป็นบวก
โกศล ดีศีลธรรม |
. |
. |
โดยทั่วไปเป้าหมายหลักของการดำเนินธุรกิจคือการมุ่งสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผู้ถือหุ้น (Shareholder) ที่มีส่วนร่วมลงทุนกับธุรกิจโดยคาดหวังที่จะได้ผลตอบแทนสูงกว่าต้นทุนของเงินลงทุน (Cost of Capital) หรืออาจกล่าวได้ว่าผู้ถือหุ้นจะมีความมั่งคั่งขึ้นเมื่อโครงการลงทุนมีมูลค่าปัจจุบันสุทธิ (Net Present Value) เป็นบวก |
. |
ซึ่งองค์กรสามารถใช้แบบจำลองกระแสเงินสดอิสระ (Free Cash Flow Model) เพื่อประเมินมูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV) จากการลงทุนในโครงการต่าง ๆ ที่เชื่อมโยงกับการวัดผลการดำเนินงาน (Performance Measurement) แต่ปัญหาอยู่ที่ว่าองค์กรจะมีแนวทางดำเนินการอย่างไรเพื่อสร้างการเติบโตทางรายได้สูงสุด (Earning Growth) ให้กับผู้ถือหุ้น |
. |
ปัจจุบันได้มีการพัฒนาเครื่องมือทางการเงินแบบใหม่ที่สามารถลดความบกพร่องของตัวชี้วัดทางการเงินแบบเดิม เรียกว่า การบริหารที่มุ่งเน้นมูลค่า (Value Based Management) หรือ VBM ซึ่งถูกนำมาใช้เป็นแนวทางสร้างมูลค่าให้กับผู้ถือหุ้นอย่างเป็นระบบดังนิยามที่กล่าวว่า “Systematic Approach to Creating Shareholder Value“ ด้วยเหตุนี้ VBM จึงมุ่งสร้างความมั่งคั่งสูงสุดให้กับผู้ถือหุ้น โดยเฉพาะการใช้ต้นทุนของเงินลงทุนสำหรับการคำนวณและวัดผลด้วยผลตอบแทนที่ไม่ได้เป็นตัวเงิน (Non-financial) |
. |
อย่างเช่นการประเมินวัดผลทางปัจจัยคุณภาพ โดยทั่วไปวิธีการที่นิยมใช้ตัดสินใจในการลงทุน (Capital Investment Decision) คือการวิเคราะห์ส่วนลดกระแสเงินสด (Discounted Cash Flow) ซึ่งมีการวิเคราะห์ผลกระทบตลอดช่วงอายุของโครงการด้วยทีมงานข้ามสายงานจากฝ่ายงานต่าง ๆ เพื่อตรวจสอบผลกระทบจากความเปลี่ยนแปลงด้วยปัจจัยแวดล้อม เช่น กฎระเบียบ เทคโนโลยี และพฤติกรรมลูกค้า เป็นต้น |
. |
รูปที่ 1 แสดงอัตราผลตอบแทนภาคธุรกิจ |
. |
นอกจากนี้ยังได้มีการคาดการณ์กระแสเงินสดที่ไหลเข้าและออกของโครงการ (Cash Inflows and Outflows) เพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจแต่ละทางเลือก ดังนั้นการวิเคราะห์ส่วนลดกระแสเงินสดหรือมูลค่าสุทธิปัจจุบันจึงถูกเรียกว่า การวิเคราะห์มูลค่าผู้ถือหุ้น (Share Value Analysis) ซึ่งเป็นเครื่องมือสนับสนุนให้ผู้บริหารตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิผลกว่าแนวทางการเงินแบบเดิมที่วัดผลตอบแทนจากรายได้ต่อหุ้น (Earning per Share) หรือ ผลตอบแทนจากการลงทุน (Return on Investment) |
. |
โดย SVA ทำให้ผู้บริหารสามารถประเมินผลกระทบทางเศรษฐศาสตร์จากการตัดสินใจในกลยุทธ์ทางธุรกิจ นั่นคือ ผู้บริหารสามารถใช้ SVA เพื่อประเมินมูลค่าสำหรับการควบรวมกิจการ (Mergers & Acquisitions) หรือแม้แต่การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่และการลงทุนในสินทรัพย์ทุน |
. |
สำหรับการประเมินมูลค่าผู้ถือหุ้นประกอบด้วยองค์ประกอบหลักคือ กระแสเงินสดตลอดรอบเวลาที่กำหนด และความเสี่ยงซึ่งเกิดจากต้นทุนของเงินลงทุน โดยทั่วไปผู้บริหารจะวางแผนล่วงหน้าประมาณ 3-5 ปี รวมทั้งพิจารณาปัจจัยต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อความผันผวนกระแสเงินสด |
. |
ดังนั้นการคาดการณ์กระแสเงินสดอิสระอาจเริ่มจากการใช้ปัจจัยเกี่ยวข้องประกอบด้วย ราคา ยอดขาย GNP ปัจจัยทางเศรษฐศาสตร์เพื่อประมาณรายได้และต้นทุนค่าใช้จ่าย ซึ่งการคาดการณ์จะดำเนินการในระดับหน่วยธุรกิจ (Business Unit) และการวางแผนกระแสเงินสดตลอดช่วงอายุโครงการขึ้นกับอัตราผลตอบแทนภายใน (Internal Rates of Return) หรือ IRR เทียบกับต้นทุนของเงินลงทุนเฉลี่ย (Weighted Average Cost of Capital) หรือ WACC |
. |
รูปที่ 2 การเชื่อมโยงระหว่างโครงสร้างงบการเงินกับ VBM |
. |
ปัจจุบันผู้ประกอบการได้ใช้ทรัพยากรทางการเงินเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานและลงทุนในสินทรัพย์ทุนแต่เป็นที่น่าเสียดายว่าองค์กรส่วนใหญ่ไม่สามารถจำแนกต้นทุนได้อย่างเหมาะสมและส่งผลให้เกิดต้นทุนซ่อนเร้น ด้วยเหตุนี้บริษัทที่ปรึกษา Stern Stewart จึงได้พัฒนาเครื่องมือประเมินมูลค่าผู้ถือหุ้น นั่นคือ มูลค่าเพิ่มทางเศรษฐศาสตร์ (Economic Value Added) หรือ EVA เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจลงทุนทางการเงิน |
. |
วัตถุประสงค์หลัก คือ การสร้างมูลค่าสูงสุดให้กับผู้ถือหุ้นและมูลค่ากิจการในอนาคตสำหรับนักลงทุนที่คาดหวังผลตอบแทนจากการลงทุนซึ่งสะท้อนจากผลประกอบการที่แสดงด้วยมูลค่าหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ ซึ่ง EVA มีแนวทางแตกต่างกับการวัดผลกำไรทั่วไป ดังนี้ |
. |
รูปที่ 3 ข้อมูลสำหรับวัดผลทางการเงินแบบทั่วไป |
. |
* EVA พิจารณาถึงปัจจัยต้นทุนของเงินลงทุน (Cost of Capital) |
* EVA ไม่ขึ้นกับข้อจำกัดมาตรฐาน GAAP ดังนั้นตัวเลขรายได้สุทธิ (Net Income) จึงถูกรายงานเพื่อวัตถุประสงค์ขององค์กรที่แสดงประเภทต้นทุนของเงินลงทุนที่ครอบคลุมถึงดอกเบี้ยและต้นทุนในส่วนเจ้าของ เนื่องจากต้นทุนส่วนเจ้าของได้แสดงถึงต้นทุนทางโอกาส ที่ไม่สามารถติดตามวัดผลได้โดยตรง ดังนั้น EVA จึงมุ่งแสดงผลกำไรสุทธิที่แท้จริงของธุรกิจหลังจากหักต้นทุนของเงินลงทุนและแก้ปัญหาความบิดเบือนจากข้อมูลที่บันทึกทางบัญชี |
. |
ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่า EVA เป็นผลกำไรสุทธิจากการดำเนินงานหักด้วยผลรวมต้นทุนที่เกี่ยวกับการลงทุนขององค์กร ด้วยเหตุนี้ EVA จึงเป็นการประเมินผลกำไรที่แท้จริงทางเศรษฐศาสตร์ (Economic Profit) หรือกำไรส่วนที่เหลือ (Residual Income) ซึ่งประเมินความเสี่ยงด้วยรายได้จากผลประกอบการว่ามากกว่าหรือน้อยกว่าอัตราผลตอบแทนขั้นต่ำที่ผู้ถือหุ้นและเจ้าหนี้จะได้รับคืน |
. |
โดยกำไรทางเศรษฐศาสตร์ได้พัฒนาจากแนวความคิดกำไรขาดทุนแบบดั้งเดิมนั่นเอง แต่จะมีการปรับปรุงเพื่อให้สะท้อนถึงส่วนมูลค่าเพิ่มขององค์การอย่างแท้จริงและแสดงถึงต้นทุนค่าเสียโอกาสโดยเฉพาะต้นทุนทางการเงินในส่วนของเจ้าของ ซึ่งต้องนำกลับมาคิดคำนวณเป็นต้นทุนทางเศรษฐศาสตร์ด้วย |
. |
รูปที่ 4 การคำนวณกำไรทางเศรษฐศาสตร์ |
. |
สำหรับกำไรทางเศรษฐศาสตร์สามารถคำนวณด้วยกำไรจากผลการดำเนินงานสุทธิหลังหักภาษี (Net Operating Profits After Taxes) หักด้วยต้นทุนรวมของเงินลงทุนที่องค์กรได้ใช้ลงทุน ประกอบด้วยค่าดอกเบี้ยและต้นทุนของเงินลงทุนในส่วนของเจ้าของที่ได้ลงทุนไป โดยต้นทุนในส่วนของเจ้าของนั้นมักใช้ผลตอบแทนที่นักลงทุนต้องการจากองค์กรนั้น โดยพิจารณาว่าหากนำเงินไปลงทุนในองค์กรหรือธุรกิจอื่นที่มีความเสี่ยงเท่ากันจะได้ผลตอบแทนเท่าใด |
. |
ซึ่งผลตอบแทนตัวนี้ก็จะกลายเป็นต้นทุนค่าเสียโอกาสที่จะนำเข้ามาใช้คิดต้นทุนทางการเงินทั้งหมดขององค์การ ดังนั้นหลังจากหักต้นทุนทางการเงินทั้งหมดแล้ว (ต้นทุนของส่วนหนี้สินและส่วนของเจ้าของ) ได้เป็นส่วนของกำไรที่เพิ่มขึ้นจะสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับองค์กรอย่างแท้จริง ซึ่งนักวิเคราะห์ทางการเงินได้กล่าวว่ากำไรทางเศรษฐศาสตร์เป็นส่วนเพิ่มมูลค่าให้กับองค์กร |
. |
|
. |
ด้วยเหตุนี้ EVA จึงถูกใช้วัดผลตอบแทนจากประสิทธิผลการดำเนินงานที่มุ่งเพิ่มมูลค่าให้กับผู้ถือหุ้นหรือนักลงทุนซึ่งคาดหวังผลตอบแทนจากการเติบโตทางธุรกิจด้วยมูลค่าที่แสดงในตลาดหลักทรัพย์ ทำให้ผู้บริหารสามารถประเมินผลกระทบทางเศรษฐศาสตร์เพื่อใช้ตัดสินใจทางกลยุทธ์ธุรกิจและการลงทุนในสินทรัพย์ทุน (Capital Investment) เช่น โรงงาน เครื่องจักรและปัจจัยสนับสนุนการผลิต ซึ่งสอดคล้องตามแนวคิด VBM และการวิเคราะห์มูลค่าเพิ่มผู้ถือหุ้น |
. |
ส่วนขั้นตอนการคำนวณหาค่า EVA ประกอบด้วย Turnover (Sales) - Operating Expenses (Wages, Material, General exp., depr., taxes) - Capital Costs (WACC x Invested Capital) Economic Value Added * คำนวณกำไรสุทธิจากการดำเนินงานหลังหักภาษี (Net Operating Profit After Tax) หรือ NOPAT * คำนวณผลรวมสินทรัพย์ที่ลงทุน (TC) * หาต้นทุนของเงินลงทุน (WACC) * คำนวณหา EVA = NOPAT – WACC% x (TC) |
. |
. |
ยอดขาย (Net Sales) - ต้นทุนดำเนินงาน (Operating Expenses) = กำไรจากการดำเนินงาน (Operating Profit) |
. |
โดยที่ : Capital Charge = Capital employed x Cost of capital |
. |
โดยที่ RONA คือ ผลตอบแทนสินทรัพย์สุทธิจากการดำเนินงาน (Return on Net Asset) ซึ่งเป็นอัตราส่วนที่เกิดจากกำไรสุทธิจากการดำเนินงานหลังหักภาษีหารด้วยมูลค่าเงินลงทุนที่ใช้ลงทุน (RONA = NOPAT/Capital) ดังนั้น EVA เป็นบวกเมื่อ RONA สูงกว่าอัตราผลตอบแทนขั้นต่ำซึ่งแสดงถึงมูลค่าที่เพิ่มขึ้น แต่หากผลลัพธ์เป็นลบนั่นหมายถึงมูลค่าที่ถดถอย (Declining Value) |
. |
จากผลการศึกษาพบว่าองค์กรข้ามชาติส่วนใหญ่ได้กำหนดเป้าหมาย EVA ไว้สูงกว่า 20 % สำหรับช่วงเวลาที่เศรษฐกิจขยายตัว แต่ในช่วงสภาพการณ์ลงทุนไม่เอื้ออำนวยผู้บริหารมักกำหนด EVA ไว้ราว 0 % |
. |
. |
สำหรับผลตอบแทนจากเงินลงทุน (Return on Capital) หรือ ROC อาจนิยามด้วยรายได้ก่อนหักค่าดอกเบี้ยและภาษี (EBIT) หารด้วยเงินลงทุนขั้นต้น (Initial Investment) โดย EBIT เป็นรายได้ที่แท้จริงจากการดำเนินงานโดยไม่พิจารณาค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่ส่งผลต่อผลประกอบการในอนาคต เช่น ค่าเช่า ค่าวิจัยและพัฒนา (R&D) ซึ่งแสดงด้วยความสัมพันธ์ ดังนี้ |
. |
. |
โดยที่มูลค่าปัจจุบันของค่าเสื่อมราคา (Depreciation) ครอบคลุมถึงมูลค่าปัจจุบันของเงินที่ลงทุน และแสดงด้วยความสัมพันธ์ |
|
. |
หรืออาจกล่าวได้ว่า มูลค่ากิจการ = เงินที่ลงทุนในสินทรัพย์ + มูลค่าปัจจุบันของ EVA จากสินทรัพย์ + ผลรวมมูลค่าปัจจุบันของ EVA ในโครงการใหม่ มูลค่าของกิจการ = มูลค่าสินทรัพย์ +มูลค่าการเติบโตในอนาคต = (การลงทุนในสินทรัพย์ปัจจุบัน + NPVสินทรัพย์) + NPV ของโครงการอนาคตทั้งหมด = (I + NPVAssets) + |
. |
เมื่อ I คือ เงินทุนที่ลงทุนขั้นต้น |
. |
แม้ว่าแนวคิด EVA ต้องนำหลักการทางบัญชีและเศรษฐศาสตร์ร่วมกันจึงทำให้การคำนวณค่อนข้างซับซ้อน แต่ปัจจุบัน EVA ได้ถูกใช้ประเมินประสิทธิผลการดำเนินงานอย่างแพร่หลายโดยเฉพาะองค์กรชั้นนำระดับโลกอย่าง AT&T, GE จอห์นสันแอนด์จอห์นสันและวอลล์มาร์ท ดังนั้น EVA จึงเป็นตัวชี้วัดทางการเงินสมัยใหม่ซึ่งผู้บริหารองค์กรไม่ควรมองข้าม |
. |
โดยเฉพาะบทบาทที่สนับสนุนการวัดผลการดำเนินงานทางการเงิน ซึ่งเป็นการสร้างคุณค่าให้กับองค์การโดยรวม นอกจากนี้ยังถูกใช้ร่วมกับดัชนีวัดผลสำเร็จที่ไม่ใช่ทางการเงินด้วย (Non-financial KPIs) ทำให้ผู้บริหารสามารถมองภาพรวมและประเมินวัดผลทางการเงินระดับองค์กรในแต่ละรอบการดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ |
. |
สรุป |
ปัจจุบันเครื่องมือวัดผลทางการเงินสมัยใหม่อย่าง EVA ได้รับความนิยมและแพร่หลายในองค์กรชั้นนำหลายแห่งแต่การดำเนินการวัดมูลค่าเพิ่มทางธุรกิจจะใช้เวลาและค่าใช้จ่ายมาก ดังนั้นการปรับเข้าสู่ระบบวัดผลแบบ EVA จึงต้องได้รับการสนับสนุนจากผู้บริหาร โดยเฉพาะการฝึกอบรมให้กับพนักงานภายในองค์กรเพื่อให้เกิดความเข้าใจและสามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิผล |
. |
อย่างไรก็ตามควรตระหนักว่า EVA คงไม่ใช่คำตอบทุกอย่างสำหรับการแก้ปัญหาทางธุรกิจ แต่เป็นเพียงเครื่องมือหนึ่งที่ใช้วัดผลการดำเนินงานเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผู้ถือหุ้นและสนับสนุนการตัดสินใจในการลงทุน รวมทั้งการประเมินมูลค่ากิจการซึ่งมีความสัมพันธ์ที่เชื่อมโยงกับมูลค่าหุ้นในตลาด |
สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2539 www.thailandindustry.com
Copyright (C) 2009 www.thailandindustry.com All rights reserved.
ขอสงวนสิทธิ์ ข้อมูล เนื้อหา บทความ และรูปภาพ (ในส่วนที่ทำขึ้นเอง) ทั้งหมดที่ปรากฎอยู่ในเว็บไซต์ www.thailandindustry.com ห้ามมิให้บุคคลใด คัดลอก หรือ ทำสำเนา หรือ ดัดแปลง ข้อความหรือบทความใดๆ ของเว็บไซต์ หากผู้ใดละเมิด ไม่ว่าการลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดของบทความนี้ไปใช้ ดัดแปลง โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร จะถูกดำเนินคดี ตามที่กฏหมายบัญญัติไว้สูงสุด