ความเดิมเมื่อตอนที่แล้ว ผู้เขียนได้กล่าวถึงปัญหาเศรษฐกิจ 9 ประการ ซึ่งผู้เขียนได้ขยายความไปแล้ว 2 ประการ คือ ปัญหาเงินเฟ้อรุนแรง และปัญหาเศรษฐกิจถดถอยครั้งใหญ่ สำหรับฉบับนี้เราจะมาว่ากันต่อถึงปัญหาการหดตัวของอุปทานการผลิต ปัญหาการขาดดุลการค้าครั้งมโหฬาร และปัญหาความผันผวนของค่าเงิน
นับตั้งแต่มีการชุมนุมของกลุ่ม นปช. หรือ กลุ่มคนเสื้อแดง ดูเหมือนว่ากระแสของคำว่า สงครามกลางเมือง จะอยู่ในความสนใจของคนส่วนใหญ่ ไม่เฉพาะคนไทยเท่านั้นนะครับ หากแต่นานาชาติต่างก็จับตาดูความขัดแย้งครั้งนี้ของประเทศเราว่าจะจบลงอย่างไร บทความนี้จะพาไปรู้จักเศรษฐศาสตร์ว่าด้วยการศึกษาเรื่องสงครามกลางเมือง
ปัญหาเรื่องค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่องเมื่อเทียบกับเงินสกุลดอลลาร์นับเป็นปัญหาที่คิดไม่ตกขบไม่แตกของเหล่านักเศรษฐศาสตร์ไทยทั้งภาคปฏิบัติการและภาควิชาการ ทั้งปัจจัยด้านเทคโนโลยีการสื่อสารยังมีส่วนทำให้โลกาภิวัตน์ทางการเงินไม่หยุดนิ่ง ความวุ่นวายในตลาดการเงินโลกจึงเป็นเรื่องที่นักลงทุน นักเก็งกำไร และนักเศรษฐศาสตร์ ยากที่จะคาดเดา
การศึกษาประวัติศาสตร์เศรษฐกิจไทย นักวิชาการส่วนใหญ่ได้ใช้ปี พ.ศ.2398 ซึ่งตรงกับสมัยรัชกาลที่ 4 เป็นจุดเริ่มต้นของการเปิดประเทศ โดยมีอิทธิพลจากปัจจัยภายนอก คือ การล่าอาณานิคมของชาติตะวันตกเป็นตัวกระตุ้นสำคัญ ซึ่งในปีดังกล่าวเป็นปีที่สยามทำ สนธิสัญญาบาวริ่ง (Bowring Treatise) กับอังกฤษ ผลของสนธิสัญญาทำให้โครงสร้างเศรษฐกิจไทยเปลี่ยนแปลงและก้าวเข้าสู่ระบบทุนนิยมโลกเต็มตัว