พลังงานที่ใช้ผลิตไฟฟ้าทุกรูปแบบมีทั้งข้อดีและข้อเสีย การเลือกใช้พลังงานแต่ละชนิดจึงต้องพิจารณาความเหมาะสมจากหลายองค์ประกอบ รวมถึงต้องมีความสอดคล้องกับนโยบายการจัดหาไฟฟ้าของประเทศ
โดย:อาจารย์ เทียนไชย จงพีร์เพียร |
. |
. |
พลังงานที่ใช้ผลิตไฟฟ้าทุกรูปแบบมีทั้งข้อดีและข้อเสียอย่างที่กล่าวไปแล้ว (ตอนที่ 2) ดังนั้นการเลือกใช้พลังงานแต่ละชนิดจึงต้องพิจารณาความเหมาะสมจากหลายองค์ประกอบ รวมถึงต้องมีความสอดคล้องกับนโยบายการจัดหาไฟฟ้าของประเทศด้วย |
. |
ถ้านโยบายฯให้ความสำคัญกับความมั่นคงของการจัดหา และราคาพลังงานที่ต่ำและไม่ผันผวน การจัดหาก็อาจเน้นการใช้พลังงานฟอสซิลบางรูปแบบมากขึ้น เช่นการใช้ถ่านหินในสัดส่วนที่สูงขึ้น ซึ่งจะได้ประโยชน์จากการที่ไม่ต้องพึ่งพาก๊าซธรรมชาติมากเกินไป |
. |
แต่ถ้านโยบายให้น้ำหนักกับผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และคำนึงถึงผลกระทบจากก๊าซเรือนกระจก รวมถึงการลดการพึ่งพาการนำเข้าพลังงานจากต่างประเทศ การสนับสนุนพลังงานหมุนเวียน รวมถึงการพัฒนาโรงไฟฟ้านิวเคลียร์จะเป็นทางเลือกที่น่าสนใจ |
. |
อย่างไรก็ตาม ในทางปฏิบัติ นโยบายการจัดหาไฟฟ้าของไทยก็คงจะเป็นนโยบายที่ผสมผสานระหว่างความมั่นคงทางด้านพลังงานและราคา การกระจายความเสี่ยงของการจัดหาโดยมีปัจจัยทางด้านสิ่งแวดล้อมเข้ามาประกอบและคาดว่าปัจจัยทางด้านสิ่งแวดล้อมจะมีน้ำหนักมากขึ้นในการกำหนดนโยบายทางเลือกของเชื้อเพลิงในอนาคต และที่สำคัญคือการสร้างความเข้าใจและความยอมรับของประชาชน เกี่ยวกับความจำเป็นของการขยายกำลังการผลิตไฟฟ้า |
. |
ซึ่งประเด็นหลังนี้ได้เป็นปัจจัยสำคัญในการกำหนดชนิดพลังงานและที่ตั้งโรงไฟฟ้าเป็นอย่างมาก และมีส่วนทำให้เชื้อเพลิงบางรูปแบบ เช่น ก๊าซธรรมชาติและพลังงานหมุนเวียนมีการขยายตัวในอัตราที่สูงกว่าพลังงานรูปแบบอื่นๆ เพราะเป็นที่ยอมรับของประชาชนมากกว่า |
. |
อย่างไรก็ตามขบวนการตรวจสอบของประชาชนซึ่งนับวันจะมีความเข้มแข็งขึ้น ก็มีข้อดีในการที่ทำให้ผู้พัฒนาโรงไฟฟ้ารวมถึงผู้กำหนดนโยบายจำเป็นจะต้องมีความรอบคอบมากขึ้นในการวางแผนและการดำเนินการรวมถึงการเพิ่มมาตรการลดผลกระทบต่อภาวะแวดล้อมและชุมชนให้มีความเข้มข้นมากยิ่งขึ้น |
. |
ในระยะยาวแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ. 2551-2564 (PDP 2007 ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2) กำหนดให้มีการขยายกำลังผลิตไฟฟ้าโดยลดสัดส่วนการใช้ก๊าซธรรมชาติในการผลิตไฟฟ้าลง และเพิ่มสัดส่วนของพลังงานรูปแบบอื่นๆ เช่น ถ่านหินนำเข้า พลังงานหมุนเวียนรวมถึงนิวเคลียร์ เพื่อกระจายชนิดเชื้อเพลิงให้มีความหลากหลายมากยิ่งขึ้น |
. |
ซึ่งเป็นแนวทางที่ถูกต้องในด้านการเพิ่มความมั่นคงของระบบแต่ถ้าดูจากกระแสความยอมรับของประชาชนแล้ว คงจะไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะผลักดันเชื้อเพลิงประเภทถ่านหินและนิวเคลียร์ ถึงแม้จะมีความเหมาะสมที่จะใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับโรงไฟฟ้าประเภท Base load ที่ช่วยเพิ่มความมั่นคงของระบบ |
. |
ในขณะที่กระแสการยอมรับโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนอาจดีกว่า และรัฐบาลก็ผลักดันโครงการนี้อย่างเต็มที่โดยให้แรงจูงใจด้านราคารับซื้อไฟ (Adder) ที่สูงแต่โรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนสามารถพัฒนาให้เป็น Base load ได้เพียงบางรูปแบบ เช่น ชีวมวล ซึ่งอย่างที่กล่าวไว้ข้างต้น เริ่มมีปัญหาการจัดหาวัตถุดิบส่วนการซื้อไฟฟ้าจากประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการผลิตไฟฟ้าจากพลังน้ำ ก็ยังมีคำถามด้านความมั่นคงของการผลิตไฟฟ้าว่าจะมีความเชื่อมั่นได้เพียงใด |
. |
ดังนั้น ถ้าดูจากแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าปัจจุบันและถ้าไม่สามารถผลักดันโรงไฟฟ้าที่ใช้ถ่านหินหรือนิวเคลียร์ให้เกิดขึ้นได้ตามแผนการกระจายความเสี่ยงในการจัดหาเชื้อเพลิงเพื่อผลิตไฟฟ้า เราก็คงจะต้องนำเข้าไฟฟ้าจากประเทศเพื่อนบ้านมากขึ้นและพึ่งพาการใช้ก๊าซธรรมชาติในสัดส่วนที่สูงอยู่ต่อไปในระยะยาว |
. |
การกระจายเชื้อเพลิงของประเทศไทยในอนาคต |
. |
สัดส่วนการใช้เชื้อเพลิงเพื่อผลิตไฟฟ้าของไทยในระยะยาว |
ที่มา : สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน |
. |
บทความเป็นไปตามความเห็นของผู้เขียน คุณเทียนไชย จงพีร์เพียร |
. |
ที่มา : สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน |