การทำงานในปัจจุบันของเรา มีความสะดวกสบายมากขึ้น เพราะได้มีการพัฒนาเครื่องไม้เครื่องมือ เครื่องจักร เข้ามาช่วยให้ทำงานได้ง่ายและรวดเร็วขึ้น แต่ในทางกลับกัน หากมีการใช้เจ้าบรรดา เครื่องทุ่นแรง เหล่านั้นอย่างผิดวิธี หรือขาดความระมัดระวัง ก็อาจจะทำให้เกิดเรื่องน่าสลดหดหู่ได้อย่างง่ายดายเช่นเดียวกัน
ท่านผู้อ่านคงเคยได้รับทราบข่าวหรือรายงาน ท่านอาจจะถึงกับเคยประสบพบเจอด้วยตัวเอง กับเหตุการณ์สารเคมีรั่วไหลจากกระบวนการต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการผลิต การใช้ การจัดเก็บ หรือการเคลื่อนย้าย เป็นที่ทราบกันดีว่า อุตสาหกรรมประเภทนี้ มีโอกาสที่จะเกิดอุบัติเหตุได้ตลอดเวลา หากไม่มีมาตรการควบคุมอันตรายที่ดีเพียงพอ หรือมีแต่ไม่เหมาะสม ซึ่งผลลัพธ์ที่ออกมาอาจจะเป็นโศกนาฏกรรมที่ยากจะลืมเลือน
หลังจากที่มวลมนุษยชาติได้เผชิญกับการระบาดของโรคซารส์ และไข้หวัดนกครั้งที่ผ่านมา ซึ่งทำให้มีผู้ป่วยเสียชีวิตจำนวนหนึ่งอีกทั้งต้องสังเวยชีวิตไก่เป็นจำนวนกว่าหลายล้านตัว ซ้ำยังส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อภาคธุรกิจและการท่องเที่ยวในหลายประเทศ แต่เหมือนเคราะห์กรรมของมวลมนุษยชาติยังไม่จบง่าย ๆ มหันตภัยตัวใหม่ก็มาปรากฏโฉมหน้าให้ต้องผวากันอีกครั้ง เมื่อองค์การอนามัยโลก (WHO) ได้รายงานการระบาดของโรคปอดบวมในประเทศเม็กซิโก ตั้งแต่วันที่ 18 มี.ค. 2552 และทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ จนลุกลามไปทั่วโลก
สิ่งจำเป็นในการปฐมพยาบาลและการให้บริการ เจ้าหน้าที่ปฐมพยาบาลเป็นผู้ที่ถูกคัดเลือกและได้รับการฝึกอบรมอย่างเป็นทางการ ในด้านการปฐมพยาบาลผู้บาดเจ็บหรือเจ็บป่วย ณ สถานที่ ประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจและสามารถนำไปเป็นแนวทางเพื่อประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับประเภทของสถานที่ปฏิบัติงานของตนต่อไป และเพราะเราไม่สามารถที่จะคาดเดาสิ่งที่จะเกิดขึ้นได้ทั้งหมดดังนั้นการเตรียมการที่ดีจะเป็นวิธีหนึ่งที่จะลดความสูญเสียและความเสียหายลงได้บ้าง
ในสถานที่ปฏิบัติงานแต่ละแห่งต้องมีอันตรายและความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุที่มากบ้างน้อยบ้าง แตกต่างกันออกไป และผลลัพธ์หรืออาการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ ก็จะมีความรุนแรงแตกต่างกันตามลักษณะของการเกิดอุบัติเหตุ และมาตรการฉุกเฉินในการช่วยชีวิต หนึ่งในมาตรการฉุกเฉินคือ การปฐมพยาบาล เป็นภาระหน้าที่ของนายจ้างที่จะต้องจัดหาและดำเนินการเพื่อให้มั่นใจว่า สิ่งแวดล้อมในการทำงานของผู้ปฏิบัติงานมีความปลอดภัย และปราศจากความเสี่ยงต่อสุขภาพในการทำงาน
มาตรการป้องกันอันตรายจากสารเคมี การปฐมพยาบาล แผนรับเหตุฉุกเฉิน การกำจัดและการจัดเก็บ และเรื่องการขนส่ง ซึ่งทำให้สามารถอยู่รอดปลอดภัยเมื่อใช้สารเคมีได้อย่างครบถ้วนทุกกระบวนความ โดยไม่ต้องรอให้ใครมาทำรายการ Reality Show เพื่อสาธิตวิธีการจัดการกับสารเคมีอันตรายแต่อย่างใด และงานแบบนี้ถ้าต้องรอ Reality กันละก็ เจ้าของกิจการ ผู้จัดการ หัวหน้างาน และก็เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยด้วยซึ่งแนวทางที่นำไปปรับใช้ให้ทั้งตัวเองและสมาชิกทุกคนในสถานประกอบการได้
เมื่อมีการผลิตสารเคมีเพิ่มขึ้น ก็ย่อมต้องมีการใช้งาน จัดเก็บ ขนส่ง และกำจัดเพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัวไปด้วย แต่ก่อนที่ผลิตภัณฑ์จะไปถึงมือผู้บริโภค ก็ต้องผ่านกระบวนการผลิต และบรรจุในโรงงานอุตสาหกรรม รวมถึงผ่านเส้นทางของการขนส่งด้วย ดังนั้นผู้ ต้องเข้ามาเกี่ยวข้องในกระบวนการต่าง ๆ คือ ผู้ปฏิบัติงานซึ่งถือว่าเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงในการสัมผัสกับสารอันตรายต่าง ๆ ซึ่งจะมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับหลาย ๆ ปัจจัยประกอบกัน
แผนป้องกันอัคคีภัย คือ แผนงานสำหรับป้องกันเหตุเพลิงไหม้ที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งนอกจากการฝึกอบรม และทำความเข้าใจกับผู้ปฏิบัติงานให้ทราบถึงแผนการอพยพหรือหลบภัยแล้ว ยังต้องมีการเฝ้าระวัง และจัดเก็บสารเคมี วัตถุไวไฟ หรือเชื้อเพลิงต่าง ๆ ให้เป็นระเบียบแยกเป็นสัดส่วน รวมทั้งต้องมีการเตรียมแผนรับเหตุฉุกเฉินในกรณีเกิดเหตุเพลิงไหม้อีกด้วย โดยทำการพิจารณาถึงระบบป้องกันอัคคีภัย ไม่ว่าจะเป็นการพื้นฐานความรู้ต่างในการใช้เครื่องดับเพลิง ชนิดของเครื่องดับเพลิง เป็นต้น
แผนงานที่จะทำให้ผู้ปฏิบัติงานมั่นใจได้ว่า จะได้รับความปลอดภัยในยามเกิดเหตุฉุกเฉิน เมื่อได้รับการพัฒนา และฝึกอบรมผู้ปฏิบัติงานให้เข้าใจถึงบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบที่พึงกระทำ ในยามเกิดเหตุฉุกเฉินตามแผนที่วางไว้ ก็จะส่งผลให้ความเสียหายอันจะเกิดขึ้นทั้งกับตัวผู้ปฏิบัติงานเอง โครงสร้างอาคาร และทรัพย์สินนั้น มีความรุนแรงน้อยลง รวมถึงสามารถที่จะทำการอพยพผู้คนออกจากพื้นที่อันตรายได้อย่างรวดเร็ว เป็นระเบียบ และมีประสิทธิภาพ
ปัจจุบันเป็นโลกยุคโลกาภิวัตน์ มีการแข่งขันอย่างรุนแรง และรวดเร็ว ภาคอุตสาหกรรมต้องปรับตัวอย่างมาก เช่น การเปลี่ยนเทคโนโลยีการผลิตจาก Mass Production มาเป็น Mass Customization ซึ่งในปัจจุบัน ไม่ใช่การที่จะอาศัยเครื่องจักรเพื่อทำให้ได้ผลผลิตเป็นปริมาณมาก ๆ เพียงอย่างเดียว การตอบสนองความต้องการของลูกค้าทางด้าน QCD (Quality Cost Delivery) เป็นเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่ง ปัจจัยที่มีผลในการตอบสนองเป้าหมายขององค์การคือ บุคลากร ทรัพยากรมนุษย์เป็นปัจจัยที่สำคัญต่อการประกอบธุรกิจอุตสาหกรรมที่ช่วยผลักดันให้การประกอบธุรกิจดำเนินต่อไปได้อย่างมั่นคงในทุกสภาวการณ์
โดย เออร์โกโนมิก (Ergonomics) นี้ เป็นศาสตร์ที่ว่าด้วยเรื่องของการศึกษาความสัมพันธ์ ที่เหมาะสมระหว่างคนกับงานที่ทำรวมไปจนถึงเครื่องมือ อุปกรณ์และเงื่อนไขต่าง ๆ ตลอดจนสภาวะแวดล้อมในการทำงาน ที่จะช่วยให้ผู้ปฏิบัติงานสามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพและปลอดภัยยิ่งขึ้น ในปัจจุบันได้มีการนำเอาเออร์โกโนมิกมาประยุกต์ใช้กันในเกือบทุกสายงาน ไม่ว่าจะเป็นวิศวกรการออกแบบ วิศวกรการผลิต นักออกแบบอุตสาหกรรมและผู้เชี่ยวชาญด้านคอมพิวเตอร์ เป็นต้น
เรื่องเกี่ยวกับความปลอดภัยในการใช้และเลือกใช้หม้อไอน้ำหรือ Boiler เกี่ยวกับความเป็นมาของเจ้าหม้อไอน้ำ ซึ่งปัจจุบันได้มีการนำมาใช้กันอย่างแพร่หลายทั้งในโรงงานอุตสาหกรรม โรงแรม โรงไฟฟ้า และโรงพยาบาล เริ่มเอาไอน้ำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในการขับเคลื่อนเครื่องจักร เครื่องยนต์และถ่ายเทความร้อน วิศวกรชาวอังกฤษ ได้คิดค้นดัดแปลงเครื่องจักรไอน้ำที่เรารู้จักกันเป็นอย่างดี ก็คือ รถจักรไอน้ำ ซึ่งนับว่าเป็นยุคเริ่มต้นของวิวัฒนาการทางอุตสาหกรรมของโลกเลยก็ว่าได้
โดยปกติแล้ว กลไกร่างกายมนุษย์จะทำงานได้ดีในช่วงอุณหภูมิตามปกติของร่างกาย คือ 36 37.5oC ซึ่งจัดว่าเป็นอุณหภูมิหลักของร่างกาย ทั้งนี้รวมถึงสมอง หัวใจ และอวัยวะส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย โดยอุณหภูมิของผิวหนังจะแตกต่างจากอุณหภูมิหลักของร่างกายประมาณ 2-3 องศา เมื่ออุณหภูมิของร่างกายเพิ่มขึ้นมากกว่า 1 องศา หมายถึงร่างกายเริ่มมีปัญหาในการจัดการกับความร้อนในสภาวะแวดล้อม
ในโลกธุรกิจเคมีอุตสาหกรรมได้มีการนำสารเคมีหลากหลายชนิด มาเป็นสินค้าเชิงพาณิชย์และหนึ่งในนั้นก็ คือ กรดซัลฟุริก ซึ่งจัดได้ว่าเป็นสารเคมีเชิงพาณิชย์ที่มีการซื้อขายกันมาก และสำคัญที่สุดอีกชนิดหนึ่งก็คือถูกนำมาใช้ในเกือบจะทุกกระบวนการงานอุตสาหกรรมทั้งทางตรงและทางอ้อม จนอาจจะพูดได้ว่าปริมาณการซื้อขายกรดซัลฟุริก ถือเป็นเครื่องวัดกิจกรรมโดยรวมของระบบเศรษฐกิจอีกอย่างหนึ่งเลยก็ว่าได้ กรดซัลฟุริกมีความสำคัญอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งถูกนำมาใช้ในกระบวนการผลิตของหลายภาคอุตสาหกรรม เช่น แกสโซลีน, แบตเตอรี, ไฟเบอร์สังเคราะห์, สีและสารสี, เภสัชกรรม, เคมีอุตสาหกรรม, ตัวกึ่งนำไฟฟ้าหรือความร้อน, พลาสติก, เยื่อกระดาษและกระดาษ, โลหะ, ปุ๋ยและผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร เป็นต้น
แม้โลกธุรกิจปัจจุบันซึ่งมีการแข่งขันกันสูง มีการนำเอาเทคโนโลยีทันสมัยมาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผล แต่ถึงอย่างไรก็ตาม แรงงานมนุษย์ ก็ยังเป็นปัจจัยหลักในการปฏิบัติงาน ดังนั้น จึงเลี่ยงไม่ได้เลยที่บุคคลเหล่านี้จะต้องเผชิญกับอันตรายและความเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุในการทำงาน ซึ่งเป็นเรื่องที่ผู้ประกอบการไม่ต้องการให้เกิดเป็นอย่างยิ่ง เพราะนั่นหมายถึงความสูญเสีย ทั้งงานที่ทำต้องสะดุด ไหนจะต้องจ่ายค่าชดเชยและปัญหาที่ตามมาอีกจิปาถะ ดังนั้น อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล จึงถูกหยิบยกขึ้นมาพิจารณา เพื่อเป็นสิ่งที่ช่วยสร้างความมั่นใจให้กับทั้งนายจ้างและตัวลูกจ้างเอง แม้ว่าจะต้องเจียดงบประมาณ ไปกับส่วนนี้ก็ตาม แต่สุภาษิตไทยที่ว่า กันไว้ดีกว่าแก้ ยังทันสมัยอยู่เสมอ
ต้องยอมรับกันว่า ไข้หวัดนก เป็น มหันตภัย ที่คุกคามทั้งสุขภาพพลานามัยของผู้คนและความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศโดยแท้ ที่พูดถึงขนาดนี้ ก็เพราะไทยเราส่งออกไก่มากเป็นอันดับ 3 ของโลกรองลงมาจากสหรัฐอเมริกาและบราซิล มีมูลค่าการส่งออกมาถึงปีละ 40,00050,000 ล้านบาท หรือในราว 3,3004,100 ล้านบาทต่อเดือน และเจ้าไก่นี่ละ ที่ถือเป็นพระเอก ของโครงการครัวของโลกของบ้านเรา เพราะการส่งออกไก่ถือเป็นอันดับ 1 ของการส่งออกอาหารทั้งหมดของเรา ซึ่งกระทรวงพาณิชย์ได้คาดว่าสถานการณ์ไข้หวัดนก จะทำให้ยอดส่งออกไก่ลดลงถึงเดือนละ 3,000 ล้านบาทเลยทีเดียว
นับแต่ได้มีการปฏิวัติอุตสาหกรรมในปลายศตวรรษที่ 18 เป็นต้นมา เครื่องจักร ก็ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในกระบวนการผลิตของโรงงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ มากยิ่งขึ้นทุกที ด้วยเหตุผลที่แตกต่างกันออกไป ไม่ว่าจะเป็นเพื่อเพิ่มกำลังการผลิต ใช้เป็นเครื่องทุ่นแรง ประหยัดค่าใช้จ่ายในการจ้างงาน ลดของเสียจากกระบวนการ หรือแม้แต่เพื่อสร้างภาพพจน์ที่ดีต่อตัวสินค้าและองค์กรเอง เป็นต้น แต่สิ่งหนึ่งที่เพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัวเช่นกันก็คือ อัตราการบาดเจ็บและความรุนแรงของอาการบาดเจ็บของผู้ปฏิบัติงาน แถมเป็นแบบชนิดที่เรียกได้ว่า ยิ่งมีเครื่องจักรเยอะเท่าไร ก็ยิ่งอันตรายมากเท่านั้น และยิ่งเครื่องจักรมีความทันสมัยมากขึ้นเท่าไหร่ ความรุนแรงของอาการบาดเจ็บก็จะยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้นเท่านั้น
หลอดฟลูออเรสเซนต์ (Fluorescent lamp) เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าที่นิยมใช้กันอยู่ทั่วไป มีส่วนประกอบหลัก คือ แก้ว 89 % ส่วนที่เหลือ ประกอบด้วย ขั้วหลอดทำจากอะลูมิเนียม 5 % ผงฟอสเฟอร์สำหรับเคลือบผิวหลอดเพื่อการเรืองแสง 6 %นอกจากนี้ ภายในหลอดยังบรรจุด้วยสารปรอท 0.005 % จึงทำให้ซากหลอดฟลูออเรสเซนต์ที่หมดอายุการใช้งานแล้ว ถือเป็นของเสียอันตราย ซึ่งสารปรอทจากซากหลอดฟลูออเรสเซนต์สามารถส่งผลกระทบต่อร่างกายมนุษย์
คงไม่ต้องแจกแจงกันให้มากมายว่าในปัจจุบัน วิถีชีวิตของคนเรา ช่างเฉียดเข้าใกล้การตายผ่อนส่งกันมากขนาดไหน ไม่ว่าจะเป็นจากมลภาวะ มลพิษ และสารปนเปื้อนที่มีอยู่รอบตัว ทั้งในน้ำ อากาศ หรือแม้กระทั่งในอาหาร ยา และสินค้าอุปโภคบริโภคที่เรากิน ใช้ กันอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน
ปัจจุบันจำนวนของคนใช้โทรศัพท์มือถือมีไม่ใช่น้อย แถมยังเพิ่มขึ้นทุกวัน ๆ ในขณะที่การควบคุมดูแลในเรื่องมาตรฐานความปลอดภัย ก็ดูจะหย่อนยานมาก แถมเมื่อเกิดเหตุอันตรายร้ายแรงแบบนี้ขึ้น ก็ยังไม่สามารถหาสาเหตุที่แท้จริง ตลอดจนผู้รับผิดชอบได้ แล้วทีนี้ผู้บริโภคตาดำ ๆ อย่างเรา จะหันหน้าไปพึ่งพาใครได้ นอกจากจะต้องเพิ่มความระมัดระวังทั้งในแง่การเลือกซื้อ การใช้งาน การส่งซ่อมและดูแลเครื่องให้ถูกต้อง ถูกวิธี และปลอดภัยที่สุด ทั้งนี้ก็เพื่อป้องกันปัญหาทั้งหลายทั้งปวงนั่นเอง
อาร์เอฟไอดี (Radio Frequency Identification : RFID) หรือระบบระบุตัวตนด้วยคลื่นวิทยุ หนึ่งในเทคโนโลยีที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็วและมีประโยชน์อย่างมากนั้น กำลังถูกนำมาใช้งานโดยภาคธุรกิจต่าง ๆ การรับเอาเทคโนโลยีการเก็บรวบรวมข้อมูลอัตโนมัติ (Automatic Data-Collection :ADC) ดังกล่าวมาใช้เป็นผลมาจากการจัดตั้งมาตรฐานหลัก และแรงกระตุ้นของผู้ค้าปลีก รวมถึงนโยบายสนับสนุนของรัฐบาลที่ทำให้เกิดการปรับปรุงประสิทธิภาพของเทคโนโลยีให้ดีขึ้น ตลอดจนลดต้นทุนการนำไปใช้ได้อย่างมาก อาร์เอฟไอดีสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับอุตสาหกรรมหลายแห่งและแอพพลิเคชั่นหลายอย่าง อย่างไรก็ตามยังมีความไม่เข้าใจเกี่ยวกับเทคโนโลยีอาร์เอฟไอดีว่า คืออะไร และอะไรเป็นอุปสรรคสำคัญที่ทำให้บางองค์กรไม่สามารถใช้ประโยชน์ของอาร์เอฟไอดีได้