ในกรณีของกิจการซื้อมาขายไป ข้อมูลพื้นฐานสำหรับการกำหนดต้นทุนสินค้าที่ขายคือมูลค่าที่ปรากฏในใบกำกับสินค้าที่ผู้ขายสินค้าเป็นผู้ออกเอกสารกำกับมาพร้อมกับการส่งมอบ ซึ่งข้อมูลของราคาสินค้าที่รายงานในเอกสารดังกล่าวจะได้ถูกนำไปทำการจดบันทึกเข้าบัญชีซื้อสินค้าหรือบัญชีสินค้าตั้งแต่แรกเมื่อรับสินค้าเข้ามาแล้ว
ปัจจัยทางผลิตภาพ ได้มีบทบาทในการสร้างศักยภาพการแข่งขันให้กับทุกองค์กร โดยเฉพาะองค์กรที่ดำเนินธุรกิจในภาคการผลิตที่เกิดความสูญเปล่าในกระบวนการมากมาย และส่งผลต่อผลิตภาพโดยรวมขององค์กร ด้วยเหตุนี้องค์กรจึงต้องมุ่งสร้างคุณค่าเพิ่ม ด้วยการปรับปรุงกระบวนการที่มุ่งเน้นประสิทธิผลจากกระบวนการ (Process Effectiveness) ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาบรรดาผู้บริหารองค์กรชั้นนำได้ให้ความสนใจกับการลดต้นทุนดำเนินงานและการเพิ่มส่วนแบ่งทางการตลาด
ปัจจุบันระบบการผลิตแบบลีน (Lean Manufacturing) เป็นเป้าหมายสำคัญของบริษัทส่วนใหญ่ใน 2-3 ปีที่ผ่านมา ลีนเสนอให้เห็นว่าอะไรที่บริษัทต้องการอย่างแท้จริงในสภาวการณ์ที่มีการแข่งขันสูง ซึ่งการนำลีนเข้ามาใช้ส่งผลให้บริษัทนั้นมีเวลานำ (Lead Time) น้อยกว่า, ช่วยในการปรับปรุงคุณภาพ, ลดต้นทุน, เพิ่มกำไร, ปรับปรุงผลผลิต และช่วยการบริการลูกค้าได้ดีกว่า
ศตวรรษที่ 21 ที่เพิ่งเริ่มต้นนี้ เป็นช่วงเวลาที่องค์กรบริษัททั้งหลายกำลังเผชิญกับยุคแห่งการเปลี่ยนแปลง และการปฏิรูปครั้งใหญ่ เพื่อให้สามารถตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมได้อย่างทันท่วงที องค์กรทั้งหลายจึงได้เลิกล้มแนวทางเดิมคือ ทำทุกอย่างเอง (การบริหารที่มีทุกอย่างเอง) ไปสู่การบริหารที่มีการสร้างเครือข่ายกับบริษัทองค์กรอื่นและเปลี่ยนไปเป็นองค์กรยุคใหม่ โดยทำเองเท่าที่จำเป็น
การคำนวณผลแตกต่างต้นทุนไม่ว่าจะเป็นส่วนของวัตถุดิบทางตรง ค่าแรงงานทางตรงหรือค่าใช้จ่ายในการผลิตก็ตาม ถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการบริหารต้นทุน และเนื่องจากบัญชีผลแตกต่างนั้นมีลักษณะเป็นบัญชีชั่วคราว (Temporary Accounts) ดังนั้น เมื่อสิ้นรอบระยะเวลาบัญชีหนึ่ง ๆ กิจการโดยส่วนใหญ่จึงทำการปิดบัญชีผลแตกต่างทั้งหมดเข้าสู่บัญชีต้นทุนสินค้าที่ขาย
คุณรู้จักลีนดีแค่ไหน ? คุณสามารถนำเอาแนวคิดแบบลีนนี้ไปใช้งานให้เกิดเป็นระบบลีนทั่วทั้งองค์กรหรือไม่ ? หลายบริษัทอยากที่จะนำเอาแนวคิดแบบลีนมาใช้ในองค์กร แต่ก็มีปัญหาในการดำเนินงาน เพราะดำเนินงานไปแล้วไม่ได้ตามที่คาดหวังไว้ ปัญหาส่วนใหญ่ในการดำเนินงานเป็นเพราะผู้นำองค์กรไม่เข้าในแนวคิดแบบลีนอย่างลึกซึ้งพอ
บทความนี้จะนำเสนอ กลยุทธ์การบริการหลังการขาย ของบริษัทชั้นนำ 3 บริษัท ที่ได้รับชัยชนะการบริการหลังการขาย ที่สามารถเพิ่มระดับความพึงพอใจของลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว เพื่อเป็นแนวทางให้บริษัท องค์กร ธุรกิจ ของประเทศไทยได้ประยุกต์ ใช้เป็นแนวทางในการบริหาร จัดการการบริการหลังการขาย
การจัดหาและจัดซื้อ (Procurement) เป็นหน้าที่สำคัญอีกหน้าที่หนึ่ง ที่องค์กรจะต้องดำเนินการและจะขาดกิจกรรมเหล่านี้ไม่ได้ มิฉะนั้นจะส่งผลให้การดำเนินงานต่าง ๆ ขององค์กรและโซ่อุปทานหยุดชะงักทันที เพราะการจัดหาและจัดซื้อวัตถุดิบและเครื่องมืออุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ใช้ในการผลิตหรือการบริการและกิจกรรมสนับสนุนในการดำเนินงานขององค์กรเปรียบเสมือนเป็นแหล่งจ่ายเลือดเข้าสู่เส้นเลือดในการหล่อเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ขององค์กร
การให้บริการคำปรึกษาเป็นวิชาชีพที่ต้องอาศัยประสบการณ์และความรู้ทางวิชาการเป็นองค์ประกอบสำคัญ ดังนั้นการให้บริการคำปรึกษาจึงจำเป็นจะต้องดำเนินการ โดยอาศัยหลักวิชาการและวิธีการที่ชัดเจนในทางปฏิบัติ ซึ่งที่ปรึกษาจะต้องทำความเข้าใจและยึดถือปฏิบัติอย่างมีแบบแผน ตามจรรยาบรรณวิชาชีพอย่างเคร่งครัด เทคนิคการให้บริการคำปรึกษาแก่ผู้ประกอบการ จึงต้องเข้าใจระบบและระดับการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ทุกขั้นตอนให้ชัดเจน
ด้วยความเปลี่ยนแปลงปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานของธุรกิจทำให้องค์กรยุคใหม่ต้องดำเนินการปรับตัวให้สามารถแข่งขันกับสภาวะอันขับเคี่ยว ด้วยเหตุนี้ การพัฒนาศักยภาพจากการเรียนรู้และประสบการณ์ที่สั่งสมจากกระบวนการทำงานจึงมีบทบาทพัฒนาผลิตภาพ ซึ่งผลลัพธ์จากการเรียนรู้แสดงด้วยเส้นโค้งแห่งการเรียนรู้ (Learning Curve)
พื้นฐานของการจัดการกระบวนการธุรกิจเพื่อให้ได้ตามเป้าหมายของธุรกิจหรือสมรรถนะในการดำเนินการของธุรกิจได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องจากอดีตจนถึงปัจจุบันและยังคงจะพัฒนาต่อไปตามพลวัตรของธุรกิจ ความเข้าใจในพลวัตรของธุรกิจหรือการเปลี่ยนแปลงของธุรกิจจะช่วยให้องค์กรธุรกิจคิดเชิงรุก (Proactive) จากมุมมองของการบ่งชี้จุดแข็งขององค์กรและการได้มีส่วนร่วมในความก้าวหน้าและการถดถอยทำให้เราได้วิวัฒน์ (Evolve) ผลิตภัณฑ์และการบริการของเรา
มีคำถามว่า ความสำเร็จขององค์กร ๆ หนึ่ง เกิดขึ้นจากปัจจัยอะไรบ้าง บางคนอาจบอกว่า เพราะองค์กรนั้นอยู่ถูกที่ และถูกสถานการณ์ ก็อาจใช่ บางคนอาจจะบอกว่าเพราะองค์กรนั้นมีบุคลากรที่มีความสามารถ ก็ใช่อีก บางคนอาจบอกว่าเพราะความสำเร็จจั้นมากจากผู้นำที่เข้มแข็. มีวิสัยทัศน์ ก็ไม่ผิด แต่เพียงเท่านี้คงไม่สามารถสร้างความมั่นในได้ถึงความสำเร็จที่ยั่งยืนขององค์กร
ธุรกิจอุตสาหกรรมทำการควบคุมต้นทุนค่าใช้จ่ายในการผลิตหลาย ๆ รายการที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิตได้อย่างไร เนื่องจากความสามารถในการติดตามต้นทุนค่าใช้จ่ายในการผลิตเข้าสู่แต่ละหน่วยผลิตภัณฑ์นั้นมีความแตกต่างไปจากการติดตามต้นทุนวัตถุดิบทางตรง และค่าแรงงานทางตรง นอกจากนี้ค่าใช้จ่ายในการผลิตซึ่งอยู่รวมกันเป็นกลุ่มนั้นยังประกอบด้วยต้นทุนหลายประเภทแตกต่างกันไปไม่ว่าจะเป็นวัตถุดิบทางอ้อม ค่าแรงงานทางอ้อม หรือต้นทุนการผลิตทางอ้อมอื่น ๆ
โดยปกติต้นทุนคงที่จะไม่สามารถเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขในเรื่องของกำลังการผลิตและมูลค่าต้นทุนได้โดยง่ายในช่วงเวลาสั้น ๆ ได้ทันที ดังนั้นรายการต้นทุนที่มีลักษณะเป็นพันธะผูกพันตามช่วงระยะเวลาหนึ่งที่อยู่ภายในช่วงขอบเขตของการตัดสินใจจึงเป็นต้นทุนที่ไม่มีความเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจ