หลังจากที่เราได้จัดหาตัว KPI (Key Performance Indicators) หรือตัวชี้วัดของกระบวนการธุรกิจต่าง ๆ ทั้งกระบวนการหลักและกระบวนการย่อยต่าง ๆ แล้ว กิจกรรมในการเอาตัว KPI เหล่านั้นมาใช้งานคงจะไม่ใช่เรื่องที่ง่ายกว่าการจัดทำ KPI เพราะถ้าไม่มีกระบวนการวัดสมรรถนะที่ดีและเป็นระบบ แล้ว KPI ที่ได้มาก็จะไม่มีประโยชน์อันใดและเราจะไม่รู้ได้เลยว่า KPI ตัวไหนมีอิทธิพลกระบวนการมากที่สุด เพราะว่าถ้าเรารู้และเข้าใจในความสัมพันธ์กับกระบวนการอื่น ๆ แล้วเราจะสามารถควบคุมและปรับปรุงกระบวนการธุรกิจได้
การคำนวณหาราคาขายจากฐานต้นทุนที่กล่าวถึงก่อนหน้านี้ มีจุดเริ่มต้นจากการที่กิจการได้ทำการวิจัย พัฒนา หรือปรับปรุงผลิตภัณฑ์หรือการบริการ หลังจากนั้นจะคำนวณหาต้นทุนในการดำเนินงานที่เกิดขึ้นเพื่อนำมาใช้เป็นฐานข้อมูลในการกำหนดราคาขาย อย่างไรก็ตามกิจการอีกหลาย ๆ แห่งมีแนวทางที่ตรงกันข้ามกับที่กล่าวถึงข้างต้น ซึ่งเรียกว่า ต้นทุนเป้าหมาย
เมื่อพูดถึงงานเศรษฐศาสตร์วิศวกรรมแล้ว ก็มักจะเป็นงานที่เกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์ทางการเงินในงานวิศวกรรมหรือโครงการต่าง ๆ ทางอุตสาหกรรม เช่น การวิเคราะห์การลงทุนในโครงการ, การหาระยะเวลาคืนทุนของโครงการ, การหาระยะเวลาที่ดีที่สุดในการเปลี่ยนเครื่องจักร เป็นต้น โดยผู้ที่ทำการวิเคราะห์หรือมีหน้าที่ที่ต้องตัดสินใจนั้น จะต้องเลือกในสิ่งที่คุ้มค่ากับเงินที่จะเสียไป อาจจะอยู่ในรูปมูลค่าเงินปัจจุบันที่มีกำไรมากที่สุด หรือมีค่าใช้จ่ายน้อยที่สุด, ระยะเวลาคืนทุนของโครงการที่เร็วที่สุด, หรือโครงการที่มีผลประโยชน์ตอบแทนมากที่สุด
ในวงการการจัดการกระบวนการธุรกิจ (Business Process Management) มักจะมีการกล่าวถึง Business Rules หรือ กฎธุรกิจอยู่เสมอ แน่นอนว่าสำหรับแนวคิดใหม่อย่าง BPM ที่ย่างก้าวเข้ามาในวงการ IT ย่อมมีมุมมองหรือคำนิยามที่แตกต่างกันออกไป บางคนให้ความหมายไปในทางการสร้างข้อจำกัดต่าง ๆ (Constraints) และที่สำคัญ Business Rules นั้นมีความสัมพันธ์กับกระบวนการธุรกิจอย่างไร
นักวิเคราะห์ธุรกิจ (Business Analyst) มักจะพูดว่าบริษัทจะแข่งขันได้จะต้องเป็นคนแรกในตลาด (เร็วกว่า) ต้องสามารถนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพที่เหนือกว่า (ดีกว่า) และต้องเป็นผู้นำตลาดในด้านราคา (ถูกกว่า) ในอดีตบริษัทต่าง ๆ อาจจะมีคุณสมบัติต่าง ๆ เหล่านั้นได้ แต่คงจะไม่ได้ครบทั้งสามอย่างในเวลาเดียวกัน แต่ในปัจจุบันบริษัทหลาย ๆ บริษัทกำลังมุ่งมั่นที่จะมีองค์ประกอบทั้งสามให้ได้
การบริหารงานด้านบุคคลนับได้ว่าเป็นเรื่องสำคัญ ซึ่งเป็นเรื่องราวที่มีเทคนิค วิธีการที่จำเป็นต้องศึกษาให้เข้าใจเพื่อประโยชน์ในการดำเนินการให้ได้ผล ในแง่ของประสิทธิภาพของการใช้พนักงานในทางการผลิต ความสำคัญของงานด้านการบริหารงานบุคคลในองค์กร ปัจจุบันนับได้ว่ามีขอบเขตที่กว้างขวางและมีความหมายที่มีคุณค่ามากกว่าแต่ก่อน กระทั่งได้มีการใช้ชื่อใหม่ที่มีความหมายกว้างและลึกซึ้งกว่า ว่าเป็นเรื่องราวทางด้านการจัดการที่เกี่ยวกับทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource Management)
หลักการให้บริการคำปรึกษาเป็นหลักการทางวิชาชีพ (Professional) โดยให้บริการคำปรึกษาเพื่อการป้องกันปัญหา มิให้เกิดขึ้น หรือเมื่อเกิดปัญหาขึ้นแล้วก็ให้สามารถที่จะแก้ปัญหาร่วมกันได้ โดยจะต้องระดมความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ดังนั้นบทบาทของผู้ที่ทำหน้าที่ให้บริการคำปรึกษาจึงเป็นบทบาทในฐานะผู้แทนของการเปลี่ยนแปลง (Agent of Change)
การตัดสินใจเกี่ยวกับราคาขายเป็นสิ่งที่ฝ่ายบริหารจะต้องทำการตัดสินใจว่าจะคิดราคาสำหรับผลิตภัณฑ์หรือการบริการที่จะส่งมอบให้กับลูกค้าอย่างไร การตัดสินใจในเรื่องเหล่านี้จะส่งผลกระทบต่อปริมาณของผลิตภัณฑ์ที่ขายและรายได้ของผลิตภัณฑ์เหล่านั้น เพื่อที่จะทำให้กิจการมีกำไรจากการดำเนินงานสูงสุด กิจการจะต้องผลิตและขายผลิตภัณฑ์หรือการบริการให้มากพอที่จะมีรายได้เพิ่มขึ้นเกินกว่าต้นทุนของผลิตภัณฑ์หรือการบริการเหล่านั้น
การดำเนินกระบวนการทางธุรกิจของวิสาหกิจส่วนใหญ่โดยเฉพาะวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (Small and Medium Enterprises: SMEs) ในปัจจุบันได้แยกเป็นแผนก ส่วนงานที่สำคัญคือ แผนกขาย ผลิตจัดซื้อ-จัดหา คลังสินค้า บัญชี-การเงิน ทรัพยากรบุคคล และแผนกซ่อมบำรุง ทำให้เกิดความล่าช้าและความผิดพลาดสูง โดยมีสาเหตุสำคัญขึ้นอยู่กับวิธีการทำงานเป็นหลัก คือการจัดเก็บข้อมูลด้อยประสิทธิภาพ การจัดสรรงานไม่เหมาะสม ไม่มีการประสานงานระหว่างแผนก
เทคนิคระยะเวลาคืนทุนที่ได้กล่าวไว้ถึงก่อนหน้านี้ได้ละเลยในเรื่องของมูลค่าเงินตามเวลาไป เพื่อที่จะหลีกเลี่ยงประเด็นของความเสียเปรียบที่จะเกิดขึ้นจากการนำเทคนิคระยะเวลาคืนทุนไปใช้ นักวิเคราะห์สามารถที่จะเลือกนำมูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินสดรับสุทธิไปใช้ในการคำนวณหาระยะเวลาเงินสดคืนทุนที่เป็นมูลค่าปัจจุบันได้ อาจจะเรียกวิธีการดังกล่าวนี้ได้อีกอย่างหนึ่งว่าระยะเวลาคุ้มทุน (Breakeven time: BET)
การประเมินองค์กรด้วยตนเอง เป็นกิจกรรมหนึ่งที่องค์กรใช้ทบทวนประสิทธิผลและประสิทธิภาพของการดำเนินธุรกิจของตน สามารถทำได้โดยผู้เชี่ยวชาญภายนอกเป็นผู้ทำการประเมินให้ หรือการประเมินองค์กรด้วยบุคลากรภายในของตนเองก็ได้ โดยการประเมินจะทบทวนสิ่งที่องค์กรได้ดำเนินการอยู่ในปัจจุบัน กำลังจะดำเนินการ หรือผลของการดำเนินการเทียบกับเกณฑ์ที่ตั้งไว้
การบริหารสินค้าคงเหลือเป็นปัจจัยอย่างหนึ่งที่มีความสำคัญต่อความสำเร็จในการดำเนินงานของธุรกิจโดยส่วนใหญ่ซึ่งรวมไปถึงห่วงโซ่คุณค่าของการจัดหาสินค้าของธุรกิจเหล่านั้นด้วย การดำเนินกิจกรรมการดำเนินงานในหลากหลายส่วนงานของธุรกิจไม่ว่าจะเป็นการตลาด การเงิน ล้วนแต่มีความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกันกับการบริหารสินค้าคงเหลือ
ในสภาวะที่ประเทศไทยกำลังเผชิญกับปัญหาเศรษฐกิจซบเซาอยู่ในปัจจุบัน บริษัทต่าง ๆ ต้องประสบกับปัญหา ยอดขายลดลง ต้นทุนในการผลิตสินค้าและบริการอยู่ในระดับสูงและประสบกับการขาดทุนจากการดำเนินงาน อาจจะทำให้บริษัทไม่สามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้ในที่สุด แต่ขณะเดียวกันบริษัทต้องเผชิญกับปัญหาความได้เปรียบในการแข่งขันที่ลดลงซึ่งเป็นปัญหาระยะยาวที่มีความสำคัญในการกำหนดความอยู่รอดและการเติบโตของบริษัทในอนาคต ทำให้ธุรกิจต่าง ๆ ต้องปรับตัวอย่างรวดเร็วในการแก้ปัญหาระยะสั้นและปัญหาระยะยาวเพื่อให้บริษัทสามารถอยู่รอดได้และเติบโตอย่างมั่นคงต่อไปในอนาคต
รู้เขา-รู้เรา รบร้อยครั้ง ชนะร้อยครั้ง เป็นหลักสุภาษิตจีนที่เป็นประโยคสำคัญในพิชัยสงคราม 13 บทของซุนวู ซึ่งเป็นภูมิปัญญาที่องค์กรในปัจจุบันยังคงนำมาใช้กำหนดกลยุทธ์การบริหาร ไม่เว้นแม้แต่ในแวดวงของ "คนบริหารคน" เพราะองค์กรสามารถเรียนรู้วิธีการจัดการทรัพยากรบุคคลขององค์กรอื่น และนำมาพัฒนาองค์กรของตนไปสู่การเป็นนายจ้างที่คนอยากเข้าทำงานด้วย (Employer of Choice) ปัจจุบันเราเรียกกระบวนการดังกล่าวว่า การเทียบเคียงมาตรฐานการบริหารทรัพยากรบุคคล (HRM Benchmarking)
โดยทั่วไปวัตถุประสงค์หลักของการบัญชีบริหารได้ถูกใช้เป็นเครื่องมือสนับสนุนการตัดสินใจให้กับผู้บริหารที่เชื่อมโยงกับกลยุทธ์ระดับองค์กร ซึ่งแนวทางระบบบัญชีบริหารได้แตกต่างจากบัญชีการเงินที่มุ่งจัดทำรายงานทางภาษี จึงทำให้เกิดข้อจำกัดในการวัดประสิทธิภาพและผลประกอบการ ด้วยเหตุนี้ผู้บริหารองค์กรญี่ปุ่นจึงมุ่งปัจจัยอันนำไปสู่การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
Thomas Pyzdex ผู้เชี่ยวชาญทางด้านคุณภาพ เคยกล่าวไว้ว่า ในการส่งมอบผลิตภัณฑ์หรือบริการที่มีคุณภาพให้กับลูกค้า จะประกอบด้วยองค์ประกอบที่สำคัญ 2 ประการหรือที่เรียกว่า สมการคุณภาพ (Quality การทำในสิ่งที่ถูกต้อง จะหมายถึงการผลิตสินค้าหรือบริการที่ทำให้ลูกค้าเกิดความพึงพอใจหรือประทับใจต่อผลิตภัณฑ์หรือบริการนั้น ๆ ในทางกลับกัน การไม่ทำในสิ่งที่ผิด จะหมายถึงการไม่ทำให้เกิดสิ่งบกพร่องหรือหลีกเลี่ยงการเกิดสิ่งบกพร่อง ที่จะทำให้ลูกค้าเกิดความไม่พึงพอใจ
การดำเนินกระบวนการทางธุรกิจของวิสาหกิจส่วนใหญ่โดยเฉพาะวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (Small and Medium Enterprises: SMEs) ในปัจจุบันได้แยกเป็นแผนก ส่วนงานที่สำคัญคือ แผนกขาย ผลิตจัดซื้อ-จัดหา คลังสินค้า บัญชี-การเงิน ทรัพยากรบุคคล และแผนกซ่อมบำรุง ทำให้เกิดความล่าช้าและความผิดพลาดสูง โดยมีสาเหตุสำคัญขึ้นอยู่กับวิธีการทำงานเป็นหลัก คือการจัดเก็บข้อมูลด้อยประสิทธิภาพ การจัดสรรงานไม่เหมาะสม ไม่มีการประสานงานระหว่างแผนก
เมื่อมีความแตกต่างระหว่างค่าใช้จ่ายโรงงานคิดเข้างานกับค่าใช้จ่ายโรงงานที่เกิดขึ้นจริงควรจะดำเนินการอย่างไรต่อไป เนื่องจากต้นทุนการผลิตที่เกิดขึ้นจริงควรจะถูกนำไปรายงานในงบการเงินสำหรับงวดที่มีการผลิต ต้นทุนผลิตภัณฑ์รวม ณ วันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชีจึงควรจะอยู่บนฐานข้อมูลที่เกิดขึ้นจริงมากกว่าที่จะใช้ข้อมูลค่าใช้จ่ายโรงงานคิดเข้างาน
ระบบการขนส่งแบบ Milk Run เลียนแบบมาจากระบบการขนส่งนมในประเทศสหรัฐอเมริกา โดยที่ในทุก ๆ เช้าของวัน ฟาร์มนมจะจัดรถรับส่งนมไปจอดรออยู่ที่หน้าบ้านในแต่ละหลัง ที่มีการนำขวดนมเปล่ามาวางไว้หน้าบ้านตามจำนวนที่ต้องการเพื่อเป็นสัญลักษณ์ว่าบ้านหลังนี้ต้องการรับนมจำนวนกี่ขวด หลังจากนั้นรถรับ-ส่งนมจะนำขวดนมใหม่มาเปลี่ยนให้กับลูกค้า แล้วทำการเก็บขวดนมเปล่ากลับขึ้นรถไปยังฟาร์มนม
ในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับสารอันตราย และก๊าซ ซึ่งต้องผ่านการทำงานในกระบวนการที่มีความหลากหลายสูง จำเป็นต้องมีการคำนึงถึงความปลอดภัยของบุคลากร ทั้งในส่วนของพนักงาน และชุมชนโดยรอบ รวมถึงการปกป้องดูแลรักษาสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ และความต่อเนื่องในการดำเนินธุรกิจ ดังนั้นระดับของความถูกต้องในการปฏิบัติงานจะต้องสูงมากด้วย องค์ประกอบที่สำคัญในการสร้างความมั่นใจและความถูกต้องให้กับผลิตภัณฑ์ที่ได้ ก็คือการสร้างระบบการบริหารคุณภาพที่ดี
ปัจจุบันเงื่อนไขและปัจจัยต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกองค์กรได้เข้ามามีบทบาทที่สำคัญเป็นอย่างมากต่อการดำเนินกระบวนการทางธุรกิจขององค์กรธุรกิจ ส่งผลให้องค์กรธุรกิจต่างก็พยายามทุกวิถีทางในการที่จะให้ได้มาซึ่งความสามารถและความได้เปรียบในการแข่งขันที่เหนือกว่าคู่แข่งขันทางธุรกิจ ซึ่งมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้บริหารระดับสูงขององค์กรธุรกิจจะต้องหันมาทบทวนถึงกลยุทธ์หรือวิธีการที่ใช้ในการดำเนินงานว่ามีประสิทธิภาพและความเหมาะสมต่อสภาวการณ์ที่เกิดขึ้นมากน้อยเพียงใด
การประเมินมูลค่าข้อมูลต้นทุนผลิตภัณฑ์หรือการบริการที่มีความถูกต้องเป็นสิ่งที่มีบทบาทอย่างมากต่อความสำเร็จขององค์กรธุรกิจ วิธีการต้นทุนผลิตภัณฑ์ที่แต่ละองค์กรนำมาใช้เป็นสิ่งที่จะทำให้ได้มาซึ่งข้อมูลต้นทุนที่ถูกต้อง เพื่อนำมาใช้ในการกำหนดราคาขายที่สามารถแข่งขันกันได้ รวมถึงลูกค้าสามารถเข้าใจและยอมรับต้นทุนเหล่านั้นได้ด้วยว่ามีมูลค่าตลาดที่ยุติธรรม