เทคนิคระยะเวลาคืนทุนที่ได้กล่าวไว้ถึงก่อนหน้านี้ได้ละเลยในเรื่องของมูลค่าเงินตามเวลาไป เพื่อที่จะหลีกเลี่ยงประเด็นของความเสียเปรียบที่จะเกิดขึ้นจากการนำเทคนิคระยะเวลาคืนทุนไปใช้ นักวิเคราะห์สามารถที่จะเลือกนำมูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินสดรับสุทธิไปใช้ในการคำนวณหาระยะเวลาเงินสดคืนทุนที่เป็นมูลค่าปัจจุบันได้ อาจจะเรียกวิธีการดังกล่าวนี้ได้อีกอย่างหนึ่งว่าระยะเวลาคุ้มทุน (Breakeven time: BET)
ผศ.วิวัฒน์ อภิสิทธิ์ภิญโญ |
.. |
. |
การแปลความหมายมูลค่าปัจจุบันสุทธิ |
โครงการลงทุนที่ให้ผลตอบแทนได้เท่ากับอัตราผลตอบแทนที่ต้องการ โครงการเหล่านั้นจะมีมูลค่าปัจจุบันสุทธิมากกว่าศูนย์ แต่ถ้าโครงการลงทุนใดให้ผลตอบแทนน้อยกว่าอัตราผลตอบแทนที่ต้องการโครงการนั้นจะมีมูลค่าปัจจุบันสุทธิเป็นค่าติดลบหรือน้อยกว่าศูนย์ |
. |
ในกรณีของตัวอย่างนี้ โครงการ ก และ ข ต่างมีมูลค่าปัจจุบันสุทธิมากกว่าศูนย์ทั้งสิ้นซึ่งมีความหมายว่าทั้งสองโครงการสามารถให้ผลตอบแทนได้มากกว่า 10% โครงการ ข มีมูลค่าปัจจุบันสุทธิเท่ากับ 281,857.20 บาท ซึ่งสูงกว่ามูลค่าปัจจุบันสุทธิของโครงการ ข ที่มีมูลค่าปัจจุบันสุทธิเท่ากับ 264,151.65 บาท |
. |
ระยะเวลาคืนทุนมูลค่าปัจจุบัน (Present Value Payback Period) |
เทคนิคระยะเวลาคืนทุนที่ได้กล่าวไว้ถึงก่อนหน้านี้ได้ละเลยในเรื่องของมูลค่าเงินตามเวลาไป เพื่อที่จะหลีกเลี่ยงประเด็นของความเสียเปรียบที่จะเกิดขึ้นจากการนำเทคนิคระยะเวลาคืนทุนไปใช้ นักวิเคราะห์สามารถที่จะเลือกนำมูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินสดรับสุทธิไปใช้ในการคำนวณหาระยะเวลาเงินสดคืนทุนที่เป็นมูลค่าปัจจุบันได้ อาจจะเรียกวิธีการดังกล่าวนี้ได้อีกอย่างหนึ่งว่าระยะเวลาคุ้มทุน (Breakeven time: BET) |
. |
วิธีระยะเวลาคืนทุนมูลค่าปัจจุบันจะใช้มูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินสดรับสุทธิแทนที่กระแสเงินสดรับสุทธิที่คาดว่าจะเกิดขึ้น โดยจะทำการปรับมูลค่ากระแสเงินสดรับในอนาคตให้เป็นปัจจุบันด้วยการใช้ค่า PV Factor ที่อัตราผลตอบแทนที่ต้องการในการปรับลดมูลค่า ส่วนหลักการคำนวณหาระยะเวลายังคงเหมือนกับระยะเวลาคืนทุนที่กล่าวไว้ก่อนหน้านี้แล้ว |
. |
ตัวอย่างที่ 5 |
จากตัวอย่างที่ 4 สามารถคำนวณหาระยะเวลาคืนทุนมูลค่าปัจจุบันของโครงการ ก และโครงการ ข ได้ดังนี้ |
. |
ระยะเวลาคืนทุนมูลค่าปัจจุบันของโครงการ ก |
. |
. |
ระยะเวลาคืนทุนมูลค่าปัจจุบันของโครงการ ข |
. |
จำนวนเงินสดที่ต้องการในปีที่ 4 = 1,110,000 บาท - 1,078,027.80 บาท = 31,972.30 บาท |
. |
เทคนิคระยะเวลาคืนทุนมูลค่าปัจจุบันเป็นวิธีที่มีข้อได้เปรียบมากกว่าวิธีระยะเวลาคืนทุนอย่างง่ายที่ได้กล่าวถึงในตอนต้น เนื่องจากเทคนิคระยะเวลาคืนทุนมูลค่าปัจจุบันให้ความสำคัญกับการพิจารณาถึงมูลค่าเงินในปัจจุบันมากกว่ามูลค่าเงินในอนาคต แต่ข้อเสียที่ยังคงเหมือนแนวคิดเดิม (วิธีระยะเวลาคืนทุนอย่างง่าย) เทคนิคระยะเวลาคืนทุนทั้งในกรณีที่มีปรับมูลค่าเงินและไม่ปรับมูลค่าเงินต่างยังคงมุ่งเน้นกับการจ่ายคืนทุนเร็วและละเลยกับความสามารถในการทำกำไร และกระแสเงินสดรับหลังจากระยะเวลาคืนทุนผ่านไปแล้ว |
. |
อัตราผลตอบแทนภายใน (Internal Rate of Return: IRR) |
เทคนิคอัตราผลตอบแทนภายในเป็นวิธีการประมาณการหาอัตราคิดลดที่ทำให้มูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินสดรับในอนาคตมีมูลค่าเท่ากับเงินจ่ายลงทุนเริ่มแรก ถ้าใช้อัตราคิดลดในการคำนวณหามูลค่าปัจจุบันสุทธิของโครงการจะได้มูลค่าปัจจุบันสุทธิของโครงการลงทุนเท่ากับศูนย์ การที่มูลค่าปัจจุบันสุทธิที่อัตราคิดลดเท่ากับศูนย์แสดงให้เห็นถึงอัตราผลตอบแทนที่แท้จริงของโครงการลงทุนนั้น ๆ |
. |
ค่าอัตราผลตอบแทนภายในที่คำนวณได้จะถูกนำไปใช้ประเมินค่าโครงการลงทุนโดยการนำไปเปรียบเทียบกับอัตราผลตอบแทนที่เป็นต้องการ หรืออัตราต้นทุนของเงินลงทุน หรืออัตราอื่น ๆ เพื่อการตัดสินใจเลือกลงทุนในโครงการที่ให้ผลตอบแทนได้ดีที่สุดภายใต้สถานการณ์หนึ่ง ๆ |
. |
การคำนวณหาค่าอัตราผลตอบแทนภายใน |
เทคนิคอัตราผลตอบแทนภายในพิจารณาเรื่องของมูลค่าเงินตามเวลาของเงินจ่ายลงทุนเริ่มแรก และกระแสเงินสดรับทั้งหมดที่จะได้รับจากการลงทุนเช่นเดียวกับเทคนิคมูลค่าปัจจุบันสุทธิ แต่ประเด็นที่มีความแตกต่างไปจากเทคนิคมูลค่าปัจจุบันสุทธิคือ ไม่ได้ใช้อัตราผลตอบแทนที่ต้องการในการคำนวณมูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินสดรับสุทธิในอนาคต |
. |
วิธีการในการคำนวณอัตราผลตอบแทนภายในที่ต้องการขึ้นอยู่กับรูปแบบกระแสเงินสดรับในอนาคตที่จะได้รับตลอดอายุโครงการลงทุน |
. |
เมื่อกระแสเงินสดรับเป็นรูปแบบเดียวกัน วิธีการอัตราผลตอบแทนภายในเป็นการประมาณการค่าอัตราคิดลดที่ทำให้มูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินสดรับเท่ากับเงินสดจ่ายลงทุนเริ่มแรก ซึ่งในขั้นแรกของการใช้วิธีการนี้คือ การคำนวณหาเงินสดจ่ายลงทุนเมื่อเริ่มโครงการ และกระแสเงินสดรับสุทธิในแต่ละปีที่จะได้รับจากการลงทุน |
. |
อัตราคิดลดที่ทำให้เงินสดจ่ายลงทุนเริ่มแรกและมูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินสดรับสุทธิที่จะเกิดขึ้นในอนาคตเท่ากันคือ อัตราผลตอบแทนภายในของโครงการลงทุนนั้น ๆ กรณีที่กระแสเงินสดรับในอนาคตมีลักษณะที่เป็นรูปแบบเดียวกัน อัตราผลตอบแทนภายในซึ่งเป็นอัตราคิดลดค่าเงินของโครงการลงทุนสามารถคำนวณหาได้จากสมการดังนี้ |
. |
. |
เมื่อกระแสเงินสดรับไม่เป็นรูปแบบเดียวกัน การคำนวณหาอัตราผลตอบแทนภายในในกรณีนี้จะใช้วิธีการสุ่มทดลองเพื่อให้ได้ค่าของมูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินสดรับสุทธิเท่ากับเงินสดจ่ายลงทุนเริ่มแรก |
. |
ตัวอย่างที่ 6 |
จากตัวอย่างที่ 4 สามารถคำนวณหาค่าอัตราผลตอบแทนภายในของโครงการลงทุนทั้งสองโครงการได้ดังนี้ |
. |
. |
นำค่า PVA Factor ที่ 2.5606 ไปเปิดตารางปัจจัยดอกเบี้ย ณ งวดเวลาปีที่ 4 ไม่พบว่าค่าดังกล่าวตรงกับอัตราดอกเบี้ยที่เท่าใด แต่มีค่าใกล้เคียงที่อัตราดอกเบี้ย 20% ถ้าต้องการทราบค่าที่ชัดเจนมากขึ้นสามารถทำได้โดยการเปรียบเทียบส่วนต่างของอัตราดอกเบี้ยและค่า PVA Factor ที่อยู่ระหว่างกัน |
. |
. |
เมื่อพิจารณาตารางปัจจัยดอกเบี้ยบางส่วนที่ยกมาข้างต้น จะเห็นได้ว่าค่า PVA Factor ที่ 2.5606 อยู่ระหว่างอัตราดอกเบี้ยที่ 20% - 25% ส่วนต่างของอัตราดอกเบี้ยและค่า PVA Factor ระหว่างนั้นแสดงได้ดังนี้ |
. |
จากค่าส่วนต่างที่คำนวณไว้ข้างต้นสามารถแสดงการคำนวณเพื่อให้ทราบค่าอัตราดอกเบี้ยที่ใกล้เคียงมากขึ้นซึ่งเป็นค่าอัตราผลตอบแทนภายในของโครงการลงทุน ข ได้ดังนี้ |
. |
โครงการ ก เมื่อกระแสเงินสดรับไม่เป็นรูปแบบเดียวกัน ในที่นี้ได้ทำการสุ่มทดลองที่อัตราดอกเบี้ย 20% และ 18% แสดงมูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินสดรับสุทธิรวมได้ดังนี้ |
. |
ตารางปัจจัยดอกเบี้ย (บางส่วน) สำหรับการปรับมูลค่าเงินในอนาคตให้เป็นปัจจุบัน |
. |
จากการคำนวณข้างต้น ค่าผลลัพธ์ของมูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินสดรับสุทธิรวมที่อัตราดอกเบี้ย 20% เท่ากับ 1,236,090.20 บาท และที่อัตราดอกเบี้ย 18% เท่ากับ 1,290,628.80 บาท แต่มูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินสดรับสุทธิรวมที่ต้องการคือ 1,270,000 บาท ซึ่งเท่ากับจำนวนเงินสดจ่ายลงทุนเริ่มแรก ดังนั้น จึงต้องทำการคำนวณหาอัตราดอกเบี้ยที่ต้องการจากค่าส่วนต่างของมูลค่าปัจจุบันและอัตราดอกเบี้ยที่ทำการสุ่มทดลองข้างต้น |
. |
. |
จากค่าส่วนต่างที่คำนวณไว้ข้างต้นสามารถแสดงการคำนวณเพื่อให้ทราบค่าอัตราดอกเบี้ยที่ใกล้เคียงมากขึ้นซึ่งเป็นค่าอัตราผลตอบแทนภายในของโครงการลงทุน ก ได้ดังนี้ |
. |
เปรียบเทียบเทคนิคมูลค่าปัจจุบันสุทธิกับเทคนิคอัตราผลตอบแทนภายใน |
การวิเคราะห์การลงทุนด้วยเทคนิคการลดค่ากระแสเงินสดเป็นเทคนิควิธีการทางทฤษฎีที่นำมาใช้บ่อยครั้งมากกว่า โดยส่วนใหญ่แล้วทั้งสองเทคนิควิธีการจะให้ค่าผลลัพธ์เพื่อการตัดสินใจเลือกลงทุนในโครงการใด ๆ ไปในแนวทางเดียวกัน อย่างไรก็ตาม ในบางครั้งทั้งสองเทคนิควิธีการอาจจะให้ค่าผลลัพธ์ในแนวทางที่มีความแตกต่างกันไปอย่างมีนัยสำคัญ |
. |
การเลือกใช้เทคนิคการวิเคราะห์ลงทุนวิธีการใดนั้นจำเป็นจะต้องตระหนักให้ดีถึงสถานการณ์แวดล้อมที่มีผลต่อการให้ข้อสรุปของผลลัพธ์และเหตุผลเพื่อการตัดสินใจลงทุนในลักษณะที่มีความแตกต่างกันไป |
. |
ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อผลลัพธ์ของการวิเคราะห์การลงทุนโดยใช้วิธีมูลค่าปัจจุบันสุทธิและอัตราผลตอบแทนภายใน เช่น จำนวนเงินลงทุนเริ่มแรก จำนวนและระยะเวลาของกระแสเงินสดรับ อายุโครงการลงทุน |
. |
จำนวนเงินลงทุนเริ่มแรก |
เทคนิคมูลค่าปัจจุบันสุทธิและเทคนิคอัตราผลตอบแทนภายในจะใช้กระแสเงินสดรับเพื่อการประเมินค่าโครงการลงทุนในลักษณะที่มีความแตกต่างกันไป มูลค่าปัจจุบันสุทธิจะพิจารณาเพื่อตรวจสอบว่าโครงการลงทุนใดมีมูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินสดรับในอนาคตสูงกว่าเงินจ่ายลงทุนเริ่มแรก โครงการใดที่มีมูลค่าปัจจุบันสุทธิสูงสุดจะเป็นโครงการที่จะได้รับพิจารณาลงทุนมากกว่า |
. |
โครงการที่มีเงินจ่ายลงทุนเริ่มแรกสูงกว่ามีความเป็นไปได้มากกว่าที่มูลค่าปัจจุบันสุทธิของโครงการนั้นจะสูงกว่าโครงการที่มีเงินจ่ายลงทุนเริ่มแรกน้อยกว่า |
. |
ตัวอย่างที่ 7 |
ต่อไปนี้เป็นโครงการลงทุน 2 โครงการซึ่งมีมูลค่าเงินจ่ายลงทุน กระแสเงินสดรับสุทธิรายปี อายุโครงการลงทุน ดังต่อไปนี้ |
. |
จากข้อมูลข้างต้นได้คำนวณหามูลค่าปัจจุบันสุทธิและอัตราผลตอบแทนภายในของแต่ละโครงการ ได้ผลสรุปดังนี้ |
. |
. |
เมื่อพิจารณาค่าผลลัพธ์ของมูลค่าปัจจุบันสุทธิและอัตราผลตอบแทนภายในของทั้งสองโครงการแล้ว จะเห็นได้ว่า โครงการ A1 มีมูลค่าปัจจุบันสุทธิสูงกว่าโครงการ A2 ถ้าใช้เทคนิคมูลค่าปัจจุบันในกรณีนี้ควรจะเลือกลงทุนในโครงการ A1 อย่างไรก็ตาม ถ้าพิจารณาอัตราผลตอบแทนภายในจะพบว่าโครงการ A2 มีค่า IRR สูงถึง 20% ในขณะที่โครงการ A1 มีค่า IRR เพียง 15% เท่านั้น ถ้าใช้เทคนิคอัตราผลตอบแทนภายใน โครงการ A2 เป็นโครงการที่น่าสนใจลงทุนมากกว่า |
. |
เทคนิคมูลค่าปัจจุบันไม่ได้พิจารณาถึงประเด็นของจำนวนเงินจ่ายลงทุนของแต่ละโครงการที่อาจจะมีความแตกต่างกันเมื่อต้องทำการตัดสินใจลงทุนในโครงการลงทุนใด ๆ แต่ให้ความสำคัญกับมูลค่าปัจจุบันสุทธิของกระแสเงินสดรับสุทธิที่มากกว่าเท่านั้น โครงการลงทุนหนึ่ง ๆ ต้องการมีกระแสเงินสดรับสุทธิจำนวนมาก ๆ |
. |
จึงเป็นไปได้ที่ต้องใช้เงินจ่ายลงทุนที่สูงมากขึ้นตามไปด้วย เช่นกรณีของโครงการ A1 มีความต้องการเงินจ่ายลงทุนมากกว่าโครงการ A2 ถึง 5 เท่า ดังนั้น โครงการ A1 จึงมีกระแสเงินสดรับจากโครงการลงทุนที่สูงมากด้วย มูลค่าปัจจุบันสุทธิของโครงการจึงมีค่าสูงตามไปด้วย |
. |
การเปรียบเทียบโครงการลงทุนโดยใช้เทคนิคมูลค่าปัจจุบันสุทธิต้องพึงตระหนักถึงจำนวนเงินจ่ายลงทุนของโครงการลงทุนที่นำมาเปรียบเทียบกันด้วยว่าขนาดหรือจำนวนเงินจ่ายลงทุนของโครงการที่นำมาเปรียบเทียบกันนั้นมีความแตกต่างกันมาก จนกระทั่งส่งผลต่อมูลค่าปัจจุบันสุทธิที่มีจำนวนแตกต่างกันอย่างเป็นสาระสำคัญด้วยหรือไม่ เทคนิควิธีการนี้ควรจะนำมาใช้เพื่อการประเมินค่าโครงการลงทุนที่มีจำนวนเงินจ่ายลงทุนเริ่มแรกเท่า ๆ กันโดยประมาณ |
. |
วิธีอัตราผลตอบแทนภายในใช้เปอร์เซ็นต์ในการประเมินค่าความสามารถในการทำกำไรของโครงการลงทุน ความแตกต่างในเรื่องของเงินจ่ายลงทุนเริ่มแรกจึงไม่ส่งผลกระทบต่อความสามารถในการทำกำไรของโครงการลงทุนเหล่านั้น วิธีอัตราผลตอบแทนภายในจึงมีความเหมาะสมมากกว่าสำหรับการนำไปใช้เพื่อการประเมินค่าโครงการลงทุนที่มีจำนวนเงินจ่ายลงทุนในจำนวนที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ |
. |
จำนวนและระยะเวลาของกระแสเงินสดรับสุทธิ |
โครงการจ่ายลงทุนระยะยาวของกิจการใด ๆ มักจะไม่ก่อให้เกิดกระแสเงินสดในลักษณะที่เหมือนกันได้ทั้งหมด ณ จุดเวลาต่าง ๆ บางโครงการอาจจะก่อให้เกิดกระแสเงินสดรับในช่วงแรก ๆ เป็นจำนวนมาก ในขณะที่บางโครงการอาจจะก่อให้เกิดกระแสเงินสดรับในช่วงแรกไม่มาก แต่จะมีกระแสเงินสดรับเข้ามาในช่วงปีหลัง ๆ ของโครงการลงทุนมากกว่า |
. |
หรือบางโครงการอาจจะมีกระแสเงินสดรับเกิดขึ้นอย่างสม่ำเสมอตลอดอายุโครงการลงทุน ในขณะที่บางโครงการอาจจะให้กระแสเงินสดรับที่ไม่มีรูปแบบที่ชัดเจน ความแตกต่างในเรื่องของช่วงเวลาและจำนวนเงินของกระแสเงินสดรับสุทธิล้วนแต่เป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกระทบต่ออัตราผลตอบแทนภายในของโครงการลงทุนทั้งสิ้น |
. |
ตัวอย่างที่ 8 |
ต่อไปนี้เป็นโครงการลงทุน 2 โครงการ ซึ่งมีความต้องการเงินจ่ายลงทุนเริ่มแรกในจำนวนที่เท่ากันคือ 100,000 บาท ระยะเวลาการดำเนินโครงการลงทุนเท่ากันคือ 5 ปี แต่ทั้งสองโครงการมีกระแสเงินสดรับเข้าในแต่ละช่วงเวลาในจำนวนที่มีความแตกต่างกันไป ต้นทุนเงินลงทุนในแต่ละโครงการเท่ากันคือที่อัตราดอกเบี้ย 10% มูลค่าปัจจุบันสุทธิและอัตราผลตอบแทนภายในของแต่ละโครงการแสดงผลลัพธ์ดังนี้ |
. |
. |
เมื่อพิจารณาจากรายละเอียดของกระแสเงินสดของแต่ละโครงการลงทุน จะเห็นได้ว่าโครงการ B1 มีกระแสเงินสดรับเข้ามาในช่วงแรกด้วยจำนวนที่มากกว่า ในขณะที่โครงการ B2 จะมีกระแสเงินสดรับเข้ามาในช่วงหลังในจำนวนที่มากกว่า นอกจากนี้ รูปแบบกระแสเงินสดรับของโครงการ B1 มีจำนวนมากบ้างน้อยบ้างไม่แน่นอน |
. |
ในขณะที่โครงการ B2 มีรูปแบบของจำนวนเงินสดรับเริ่มจากจำนวนน้อยไปหามาก เมื่อพิจารณาที่ต้นทุนของเงินลงทุน 10% พบว่า มูลค่าปัจจุบันสุทธิของโครงการ B2 มีค่าเท่ากับ 32,622.10 บาท ซึ่งสูงกว่าโครงการ B1 ที่มูลค่าปัจจุบันสุทธิเพียง 28,147.60 บาท |
. |
ในขณะที่ถ้าพิจารณาตัดสินใจลงทุนโดยใช้อัตราผลตอบแทนภายในจะให้ค่าผลลัพธ์ที่มีผลต่อการตัดสินใจลงทุนในทางตรงกันข้าม เนื่องจากโครงการ B1 มีค่าอัตราผลตอบแทนภายในเท่ากับ 21.86% ซึ่งสูงกว่าโครงการ B2 ที่มีค่าอัตราผลตอบแทนภายในเพียง 19.76% |
. |
เทคนิคการลดค่ากระแสเงินสดทั้งสองวิธีการมีข้อสมมติฐานที่แตกต่างกันไปเกี่ยวกับกระแสเงินสดรับที่ได้จากโครงการลงทุน วิธีมูลค่าปัจจุบันสุทธิมีข้อสมมติว่ากระแสเงินสดที่ได้รับเข้ามาทั้งหมดตลอดอายุโครงการลงทุนจะสามารถให้ผลตอบแทนเท่ากับอัตราผลตอบแทนที่ต้องการหรืออัตราคิดลดที่ใช้ในการคำนวณมูลค่าปัจจุบันสุทธิ ในตัวอย่างนี้คือ 10% |
. |
ในทางตรงกันข้ามวิธีอัตราผลตอบแทนภายในมีข้อสมมติว่ากระแสเงินสดรับทั้งหมดของโครงการสามารถให้ผลตอบแทนได้เท่ากับอัตราผลตอบแทนภายในของโครงการลงทุน |
. |
โครงการ B1 มีอัตราผลตอบแทนภายในเท่ากับ 21.86% ดังนั้น วิธีการนี้จึงมีข้อสมมติว่ากระแสเงินสดรับเข้าสุทธิในแต่ละปีจะสามารถให้ผลตอบแทนได้ประมาณร้อยละ 21.86% ต่อปีต่อเนื่องกัน |
. |
โครงการลงทุนที่มีกระแสเงินสดรับสุทธิเข้ามาเร็วกว่าจึงให้ค่าอัตราผลตอบแทนภายในสูงกว่า ในที่นี้อัตราผลตอบแทนภายในของโครงการ B1 จึงสูงกว่าโครงการลงทุน B2 ด้วยเหตุผล 2 ประการคือ ประการแรกเงินสดรับสุทธิที่ได้รับมาเร็วกว่ามีระยะเวลาที่จะสามารถนำไปหาผลตอบแทนได้นานกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับเงินสดรับสุทธิที่ได้มาภายหลัง เช่น กระแสเงินสดรับสุทธิปีที่ 1 จำนวน 42,000 บาท ของโครงการ B1 สามารถนำไปลงทุนต่อโดยได้รับดอกเบี้ยเงินฝากอีก 4 ปีต่อเนื่องกันไป |
. |
ในทางตรงกันข้ามโครงการ B2 มีกระแสเงินสดรับสุทธิปีที่ 1 เพียง 19,000 บาท เท่านั้นที่จะไปลงทุนต่อเพื่อรับดอกเบี้ยเงินฝากอีก 4 ปีข้างหน้า สมมติให้อัตราดอกเบี้ยเท่ากับ 10% ต่อปีเท่ากันเหมือนโครงการ B2 โครงการ B1 ยังคงจะได้รับดอกเบี้ยมากกว่าโครงการ B2 |
. |
เหตุผลประการที่สองที่ทำให้อัตราผลตอบแทนภายในของโครงการ B1 สูงกว่าโครงการลงทุน B2 คือ จำนวนเงินกระแสเงินสดรับสุทธิรวมถึงผลตอบแทนที่ได้รับทั้งหมดของโครงการ B2 (จากผลสืบเนื่องของเหตุผลประการแรก) มีจำนวนเงินรวมกันทั้งสิ้นมากกว่าโครงการลงทุน B2 จึงสามารถให้ผลตอบแทนได้สูงกว่า |
. |
นอกจากนี้อัตราคิดลดค่าเงินภายใต้วิธีอัตราผลตอบแทนภายในและมูลค่าปัจจุบันสุทธิ ต่างก็สะท้อนความเป็นจริงของกระแสเงินสดจ่ายลงทุนและกระแสเงินสดรับสุทธิในลักษณะที่แตกต่างกันไป วิธีมูลค่าปัจจุบันสุทธิจะใช้อัตราผลตอบแทนที่ต้องการเป็นอัตราคิดลดค่าเงินซึ่งถ้าผู้บริหารกำหนดอัตราผลตอบแทนที่ต้องการไว้สูงมาก |
. |
โครงการเดียวกัน ณ วันเวลาเดียวกัน โครงการหนึ่ง ๆ อาจจะได้ผลลัพธ์ของการตัดสินใจที่แตกต่างกันไป เนื่องจากวิธีอัตราผลตอบแทนภายในเป็นอัตราผลตอบแทนที่แท้จริงของโครงการลงทุนนั้น ๆ ที่มีความเป็นไปได้จริง |
. |
ในขณะที่อัตราคิดลดของวิธีมูลค่าปัจจุบันสุทธิเป็นเพียงอัตราคิดลดตามข้อสมมติ ด้วยเหตุนี้เมื่อพิจารณาถึงอัตราคิดลดค่าเงินที่ใช้ภายใต้ทั้งสองเทคนิควิธีการลงทุนแล้วอัตราคิดลดของเทคนิคอัตราผลตอบแทนภายในน่าจะเป็นอัตราคิดลดค่าเงินที่สะท้อนความเป็นจริงของผลตอบแทนในแต่ละโครงการลงทุนได้มากกว่า |
สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2539 www.thailandindustry.com
Copyright (C) 2009 www.thailandindustry.com All rights reserved.
ขอสงวนสิทธิ์ ข้อมูล เนื้อหา บทความ และรูปภาพ (ในส่วนที่ทำขึ้นเอง) ทั้งหมดที่ปรากฎอยู่ในเว็บไซต์ www.thailandindustry.com ห้ามมิให้บุคคลใด คัดลอก หรือ ทำสำเนา หรือ ดัดแปลง ข้อความหรือบทความใดๆ ของเว็บไซต์ หากผู้ใดละเมิด ไม่ว่าการลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดของบทความนี้ไปใช้ ดัดแปลง โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร จะถูกดำเนินคดี ตามที่กฏหมายบัญญัติไว้สูงสุด