ในโรงงานอุตสาหกรรมโดยทั่วไปแล้วนั้นจะต้องใช้หม้อไอน้ำ (Boiler) ซึ่งนับเป็นอุปกรณ์สำคัญชิ้นหนึ่งของกระบวนการผลิตในอุตสาหกรรมโดยในระบบหม้อไอน้ำนั้นถือได้ว่ามีการใช้พลังงานค่อนข้างมากทีเดียวในด้านพลังงานความร้อน การใช้งานหม้อไอน้ำให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดนั้นก็เท่ากับเป็นการอนุรักษ์พลังงานซึ่งแนวทางกว้าง ๆ ก็คือลดพลังงานความร้อนสูญเสีย (Loss)
การออกแบบซัพพลายเชน คือ การเติมสินค้าอย่างต่อเนื่อง (Continuous Replenishment) ซึ่งเกี่ยวข้องกับผู้ขายสินค้า โดยใช้ยอดขายที่เชื่อมต่อผ่านอินเตอร์เน็ต เพื่อลดสินค้าคงคลัง การเพิ่มความเร็วในการส่งสินค้าให้ลูกค้า วิธีการนี้การตอบสนองลูกค้าอย่างรวดเร็ว ซึ่งการเติมเต็มสินค้าคงเหลือให้เพียงพอตลอดเวลา (Replenishment) ในห่วงโซ่อุปทานจำเป็นอย่างยิ่งที่จะมีการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในกระบวนการของ SCM ทำให้งานบริหารสินค้าคงเหลือมีประสิทธิภาพที่ดีกว่า
ช่วงทศวรรษ 1970 นักฟิสิกส์ชาวอิสราเอลนามว่า Dr. Eliyahu Goldratt คือ ผู้ไม่มีความรู้ทฤษฎีกระบวนการผลิตแต่ได้ใช้สามัญสำนึกถึงการหยั่งรู้การจัดทำกำหนดการผลิตเพื่อแก้ปัญหาสายการผลิตและได้สร้างซอฟต์แวร์ที่ใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์เพื่อสร้างสถานการณ์จำลอง (Simulation) ซึ่งถูกนำมาใช้ในองค์กรกว่า 100 แห่งในสหรัฐอเมริกาช่วงต้นทศวรรษ 1980 และประสบความสำเร็จในการจัดทำกำหนดการผลิต Dr.Goldratt เรียกแนวทางดังกล่าวว่าทฤษฎีข้อจำกัด (Theory of Constraint) หรือ TOC ได้มีการพัฒนาจาก Optimized Production Technology (OPT) เพื่อใช้วางแผนและควบคุมระดับสายการผลิต
หลายทศวรรษที่ผ่านมาแนวคิดและเครื่องมือคุณภาพได้มีบทบาทสนับสนุนการพัฒนาองค์กร โดยเฉพาะประเด็นการพัฒนาผลิตภาพ ผู้ประกอบการทั้งภาคการผลิตและบริการต่างให้ความสนใจกับประเด็นการลดต้นทุน ด้วยการจัดสรรทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ และส่งมอบสินค้าหรือการให้บริการที่เหนือกว่าคู่แข่งขัน ดังนั้น เพื่อสร้างความพึงพอใจสูงสุดให้กับลูกค้าเป็นอันดับแรกจึงได้เกิดแนวคิดการประกันคุณภาพ (Quality Assurance) แทนแนวคิดแบบเดิมที่มุ่งการควบคุมคุณภาพ
การบริหารองค์กรในปัจจุบัน นิยมใช้แนวคิดของการบริหารงานในลักษณะของการบูรณาการความคาดหวัง ความต้องการของผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียกับองค์กร ทั้งนี้ก็เพื่อให้สามารถตอบสนองต่อความต้องการของเขาเหล่านั้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ ความต้องการของผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียกับองค์กรก็คือ เป้าหมายในการดำเนินงานขององค์กร ที่องค์กรจะต้องตอบสนอง และเพื่อให้การบริหารงานขององค์กรบรรลุเป้าหมายดังกล่าว องค์กรจึงควรนำเอาแนวคิดของการบริหารเชิงกลยุทธ์มาใช้ในการบริหารงานขององค์กร
แนวคิดที่เกี่ยวกับการพัฒนาระบบอุตสาหกรรมที่เป็นมิตรกับชุมชนและสิ่งแวดล้อมกำลังอยู่ในความสนใจของประชาคมโลก ไม่ว่าจะเป็นชาติอุตสาหกรรมที่พัฒนาแล้ว หรือชาติอุตสาหกรรมใหม่ที่กำลังพัฒนา ต่างกำลังทุ่มเทความพยายามในการปรับโครงสร้างของระบบอุตสาหกรรมในชาติของตนให้มีความยั่งยืนขึ้นทุกด้าน ทั้งเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม และหนึ่งในแนวทางการพัฒนาแผนใหม่ที่กำลังได้รับความสนใจอย่างกว้างขวางในขณะนี้ก็คือ การพัฒนาอุตสาหกรรมเชิงเศรษฐนิเวศ
จุดสไปล์ซโดยปกติจะอยู่ในตำแหน่งที่เรียกว่าสไปล์ซิ่งเซนเตอร์ (Splicing Center) สไปล์ซิ่งเทรย์ถูกออกแบบเพื่อเป็นสถานที่ที่สะดวกในการจัดเก็บป้องกันสายใยแก้วนำแสงรวมทั้งจุดสไปล์ซและยังการลดความเครียดเมื่อมีการขยับของจุดสไปล์ซ สไปล์ซิ่งเทรย์สามารถถูกติดตั้งเป็นจุดจุดระหว่างช่วงแนวเดินสายใยแก้วนำแสง ที่ต้องถูกเชื่อมต่อเข้าหากันหรือเข้าหัวสายใยแก้วนำแสงและตำแหน่งแพทช์พาเนลที่ปลายของสายใยแก้วนำแสง
อัตราผลตอบแทนตามมูลค่าทางบัญชีเป็นอีกเทคนิควิธีการหนึ่งที่ใช้กันอย่างกว้างขวางในการนำมาประเมินค่าโครงการลงทุน อัตราผลตอบแทนตามมูลค่าทางบัญชีของโครงการลงทุนเป็นการนำกำไรสุทธิที่ได้จากโครงการลงทุนมาเปรียบเทียบกับมูลค่าตามบัญชีของโครงการลงทุนหรือเงินลงทุนเฉลี่ยเพื่อแสดงผลตอบแทนเป็นเปอร์เซ็นต์หรือร้อยละ
เทคนิคการวิเคราะห์ด้วยวิธีระเบียบไฟไนต์อิลิเมนต์ร่วมกับการหาค่าความเครียดช่วงไม่ยืดหยุ่นโดยวิธี Neubers law สามารถนำค่าที่ได้ใช้ในการออกแบบในส่วนแลกเปลี่ยนความร้อน (Heat Exchange Tube) ของเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ และนำไปประยุกต์ใช้ในการหาความแข็งแรงล้าของชิ้นงานอื่นได้เช่นกัน
สำหรับเป้าหมายกิจกรรมการผลิต คือ การมุ่งสร้างคุณค่าเพิ่มให้กับทรัพยากรซึ่งเป็นปัจจัยนำเข้าสำหรับแปรรูปเป็นผลิตผล ดังนั้นระบบวางแผนทรัพยากรการผลิต (Manufacturing Resource Planning หรือ MRPII) จึงได้มีบทบาทสนับสนุนการวางแผนและควบคุมการผลิต MRPII เป็นระบบสารสนเทศการผลิตที่สนับสนุนการเชื่อมโยงข้อมูลภายในองค์กรและสร้างประสิทธิผลการวางแผนทรัพยากรให้กับธุรกิจ
การบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่ผ่านมาจะมุ่งเน้นไปที่การวิเคราะห์งาน (Job Analysis) ซึ่งเป็นกระบวนการที่มีการระบุถึงงานที่จะต้องทำ โดยมีเป้าหมายที่สำคัญคือ (1) ทำให้พนักงานรับรู้ว่าตนเองจะต้องทำหน้าที่อะไรบ้าง (2) ทำให้คนอื่นรับรู้ว่าตำแหน่งงานหนึ่ง ๆ จะต้องรับผิดชอบงานอะไร (3) ทำให้หัวหน้างานโดยตรงสามารถตรวจสอบได้ว่าพนักงานควรทำงานอะไรในตำแหน่งงานนั้น ๆ (4) ทำให้หัวหน้างานรู้ว่าพนักงานควรจะต้องทำอะไรเพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับงานที่จะได้รับมอบหมายต่อไปในอนาคต
เทคโนโลยีสมัยใหม่ที่ก้าวล้ำ ได้นำไปสู่การสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ใหม่ ๆ ซึ่งไม่เพียงช่วยให้เรามีชีวิตที่ง่ายขึ้นและสะดวกขึ้นเท่านั้น แต่ยังช่วยตอบสนองความต้องการด้านรสนิยม ที่เกินกว่าคำว่า "ความจำเป็น" อีกด้วย ลองเดินเข้าไปในแผนกเครื่องใช้ไฟฟ้าของห้างสรรพสินค้า เราจะเห็นสินค้ามากมาย ที่บรรจุความสามารถหลากหลาย จนไม่แน่ใจว่า ถ้าซื้อไปแล้วเราจะใช้งานได้ครบทุกฟังก์ชันหรือไม่
ในปัจจุบันผู้ใช้งานในโรงงานอุตสาหกรรมกระบวนการผลิตส่วนใหญ่ได้หันมาใช้ระบบเครื่องมือวัดและการควบคุมแบบอัตโนมัติในการควบคุมการทำงานของอุตสาหกรรมกระบวนการผลิตมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น ขณะเดียวกันในการใช้งานก็จะให้ความไว้วางใจบนระบบเครื่องมือวัดและการควบคุมแบบอัตโนมัติมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นด้วย
ด้วยการเติบโตทางด้านอุตสาหกรรมและเศรษฐกิจในปัจจุบันที่เป็นไปอย่างต่อเนื่อง จึงทำให้ความต้องการใช้พลังงานเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วด้วยเช่นกัน ที่ผ่านมาสถานการณ์ทางด้านพลังงานมีความเสี่ยงที่จะเกิดความวิกฤติ แนวคิดและวิธีการของพลังงานทดแทนจึงถูกกล่าวถึงบ่อย ๆ เพื่อนำมาใช้เป็นทางเลือกในการทดแทนพลังงานหลักอย่างพลังงานน้ำมันดังกล่าว
การสื่อสารข้อมูลโดยสายใยแก้วนำแสง จะใช้สัญญาณแสงยิงเข้าไปในแกนใยแก้ว (Fiber Core) สายใยแก้วนำแสงจะทำตัวเสมือนไกด์นำทางให้แสงเดินทาง แสงจะถูกนำทางให้วิ่งภายในแกนกลางของสายสัญญาณ ในทางทฤษฎีแสงจะถูกนำทางให้วิ่งตามแกนกลางของใยแก้วด้วยการควบคุมขอแคลดดิ้ง (Cladding) ที่มีดัชนีการหักเหของแสงที่ต่ำกว่า (Refractive Index) เคลือบรอบแกนกลางของใยแก้ว
ในปัจจุบันบทบาทของการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain Management) ถือได้ว่ามีความสำคัญอย่างมากต่อธุรกิจต่าง ๆ ทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศ มีผู้เกี่ยวข้องกับห่วงโซ่อุปทานจำนวนมาก โดยมีเป้าหมายเพื่อให้องค์กรต่าง ๆ เหล่านี้ทำงานประสานกันอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถผลิตสินค้า และส่งมอบไปยังแหล่งต่าง ๆ ได้ถูกต้องตามปริมาณ สถานที่และเวลาตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ เพื่อสร้างความพึงพอใจสูงสุดให้กับลูกค้าด้วยต้นทุนที่ต่ำที่สุด
โครงการงบประมาณการจ่ายลงทุนใด ๆ มักจะเริ่มต้นที่กระแสเงินสดจ่ายออกซึ่งจ่ายเป็นเงินลงทุนครั้งแรก จ่ายเป็นค่าใช้จ่าย หรือจ่ายตามเงื่อนไขที่เป็นพันธะผูกพัน หลังจากนั้นจึงเป็นรายการประเภทรายจ่ายที่จ่ายเป็นเงินสดในจำนวนที่ลดลงกว่าเดิม การเพิ่มขึ้นของจำนวนเงินสดที่ได้รับเข้ามา ตลอดรอบระยะเวลาที่มีความสืบเนื่องกันในการดำเนินโครงการ เงินลงทุนที่ต้องจ่ายเพิ่มขึ้นอาจจำเป็นต้องนับรวมเพิ่มอยู่ในโครงการจ่ายลงทุนในระหว่างช่วงอายุที่กำลังดำเนินโครงการจ่ายลงทุนเหล่านั้นด้วย
ปัจจุบันองค์กรธุรกิจส่วนใหญ่ประสบปัญหาความผันผวนที่เกิดจากปัจจัยสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ โดยเฉพาะปัญหาการส่งมอบล่าช้า ซึ่งส่งผลให้ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ดำเนินการแก้ปัญหาระยะสั้นด้วยการผลิตตามข้อมูลการพยากรณ์หรือการผลิตเพื่อจัดเก็บ แต่แนวทางดังกล่าวก่อให้เกิดความสูญเปล่า ด้วยเหตุนี้จึงได้เกิดการบูรณาการแนวคิดลีน เพื่อขจัดลดความสูญเปล่ากระบวนการลอจิสติกส์หรือลอจิสติกส์แบบลีน (Lean Logistics) โดยเฉพาะการมุ่งลดระดับจัดเก็บสต็อกและระยะเวลาการส่งมอบสินค้า
ภาวะโลกร้อน (Global Warming) หรือภาวะภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง (Climate Change) คือการที่อุณหภูมิเฉลี่ยของโลก เพิ่มขึ้นจากผลของภาวะเรือนกระจก หรือที่เรารู้จักกันดีในชื่อว่า Greenhouse Effect มีต้นเหตุจากการที่มนุษย์เพิ่มปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากการเผาไหม้เชื้อเพลิงต่าง ๆ พร้อม ๆ กับการตัดและทำลายป่าไม้จำนวนมหาศาลเพื่อสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกให้แก่มนุษย์
ในปัจจุบันบทบาทของการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain Management) ถือได้ว่ามีความสำคัญอย่างมากต่อธุรกิจต่าง ๆ ทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศ มีผู้เกี่ยวข้องกับห่วงโซ่อุปทานจำนวนมาก โดยมีเป้าหมายเพื่อให้องค์กรต่าง ๆ เหล่านี้ทำงานประสานกันอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถผลิตสินค้า และส่งมอบไปยังแหล่งต่าง ๆ ได้ถูกต้องตามปริมาณ สถานที่และเวลาตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ เพื่อสร้างความพึงพอใจสูงสุดให้กับลูกค้าด้วยต้นทุนที่ต่ำที่สุด