การออกแบบซัพพลายเชน คือ การเติมสินค้าอย่างต่อเนื่อง (Continuous Replenishment) ซึ่งเกี่ยวข้องกับผู้ขายสินค้า โดยใช้ยอดขายที่เชื่อมต่อผ่านอินเตอร์เน็ต เพื่อลดสินค้าคงคลัง การเพิ่มความเร็วในการส่งสินค้าให้ลูกค้า วิธีการนี้การตอบสนองลูกค้าอย่างรวดเร็ว ซึ่งการเติมเต็มสินค้าคงเหลือให้เพียงพอตลอดเวลา (Replenishment) ในห่วงโซ่อุปทานจำเป็นอย่างยิ่งที่จะมีการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในกระบวนการของ SCM ทำให้งานบริหารสินค้าคงเหลือมีประสิทธิภาพที่ดีกว่า
บูรณะศักดิ์ มาดหมาย |
. |
. |
การออกแบบซัพพลายเชน คือ การเติมสินค้าอย่างต่อเนื่อง (Continuous Replenishment) ซึ่งเกี่ยวข้องกับผู้ขายสินค้า โดยใช้ยอดขายที่เชื่อมต่อผ่านอินเตอร์เน็ต เพื่อลดสินค้าคงคลัง การเพิ่มความเร็วในการส่งสินค้าให้ลูกค้า วิธีการนี้การตอบสนองลูกค้าอย่างรวดเร็ว ซึ่งการเติมเต็มสินค้าคงเหลือให้เพียงพอตลอดเวลา (Replenishment) ในห่วงโซ่อุปทานจำเป็นอย่างยิ่งที่จะมีการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในกระบวนการของ SCM ทำให้งานบริหารสินค้าคงเหลือมีประสิทธิภาพที่ดีกว่า |
. |
เทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาใช้ในการบริหารสินค้าคงคลัง |
เทคโนโลยีรหัสแท่ง (Barcode) เมื่อกล่าวถึง เทคโนโลยีรหัสแท่ง (Barcode) หรือบาร์โค้ด นั้นจะหมายถึง แท่งขนานดำและขาวที่อ่านได้ด้วยเครื่องอ่านรหัสแท่ง (Barcode Scanner) มีความกว้างของแท่งแตกต่างกันออกไป โดยทั่วไปแล้ว สัญลักษณ์รหัสแท่ง หมายถึง เครื่องหมายที่พิมพ์หรือแสดงบนวัตถุใด ๆ ประกอบด้วยรหัสแท่ง ขอบเผื่อ และตัวเลข เพื่อใช้เป็นสัญลักษณ์แทนเลขหมายประจำตัวที่ใช้แทนวัตถุนั้น ๆ การใช้รหัสแท่งจะช่วยให้เกิดความสะดวกและความถูกต้องในการอ่านข้อมูล |
. |
เรามักจะเห็นการใช้รหัสแท่งในห้างซูเปอร์มาร์เก็ต แต่ความจริงแล้ว การใช้รหัสแท่งมีมากมายกว่าที่เห็น เช่น การใช้รหัสแท่งเพื่อจัดการวัสดุคงคลัง การยืมและคืนหนังสือในห้องสมุด ใช้ติดตามการผลิตและการส่งสินค้า ในบางประเทศมีการนำรหัสแท่งมาใช้ในบัตรประจำตัว หรือใช้ในการตอกบัตรเข้าออก และใช้แสดงตัวผู้เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล ในบางงานวิจัยมีการพิมพ์รหัสแท่งขนาดเล็กติดบนตัวผึ้ง เพื่อใช้ติดตามการพัฒนาของผึ้งเหล่านั้น |
. |
. |
โดยเฉพาะในด้านการสื่อสาร และการดำเนินรายการทางการค้ากับลูกค้า ทั้งนี้เพราะหากการสื่อสารผิดพลาด ธุรกิจก็จะเสียโอกาสในการขายสินค้าให้แก่ลูกค้า อันเนื่องมาจากขายสินค้าผิดประเภท ขายสินค้าไม่ตรงตามปริมาณที่ลูกค้าต้องการ หรืออาจไม่มีสินค้าสำหรับขาย นอกจากนี้หากการตอบสนองต่อคำสั่งซื้อจากลูกค้าล่าช้า ก็จะทำให้คาดการณ์ปริมาณสินค้าคงคลังเพื่อรองรับการขายได้ยากขึ้น |
. |
ดังนั้น ยิ่งธุรกิจสามารถพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนกิจกรรมด้านการสื่อสาร และการดำเนินรายการทางการค้ากับลูกค้าได้ดีเท่าไร การคาดการณ์ปริมาณสินค้าคงคลังก็จะง่ายขึ้นเท่านั้น หรือรหัสสากลสำหรับผลิตภัณฑ์ (Universal Product Code หรือ UPC) ปิดบนสินค้าแล้วใช้เครื่องยิงสัญญาณเลเซอร์อ่านรหัส (Laser Scan) ซึ่งวิธีนี้นอกจากจะมีความถูกต้อง แม่นยำ เที่ยงตรงแล้ว สามารถใช้เป็นรากฐานข้อมูลของการบริหารสินค้าคงคลังในการบริหารห่วงโซ่ของสินค้า (Supply Chain Management) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ระบบ |
. |
รหัสแท่ง (Barcode) จะประกอบไปด้วย เครื่องพิมพ์รหัสแท่ง, เครื่องอ่านรหัสแท่ง และสัญลักษณ์รหัสแท่ง โดยที่เครื่องอ่านรหัสแท่งจะยิงแสงเลเซอร์ที่ไวต่อการสะท้อนของแสงไปยังสัญลักษณ์รหัสแท่ง และเครื่องอ่านจะแปลแสงที่สะท้อนกลับมาไปเป็นข้อมูลทางดิจิตอลเพื่อเก็บไว้ในคอมพิวเตอร์ หรือนำไปประมวลในทันที ซึ่งแสงที่สะท้อนกลับนี้จะขึ้นอยู่กับความหนาของแท่งดำและแท่งขาว |
. |
สำหรับเครื่องอ่านรหัสแท่งนั้นจะมีทั้งที่เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ และยังมีแบบพกพาที่ไม่เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ ซึ่งเครื่องแบบนี้จะเก็บข้อมูลไว้ในตัวเองจนกว่าจะถูกลบออกเมื่อข้อมูลเหล่านั้นถูกป้อนเข้ากับคอมพิวเตอร์ต่อไป |
. |
. |
Barcode เป็นรหัสแท่งที่สามารถช่วยจำแนกประเภทและชนิดของสินค้าได้ จากประเภท, ชนิด, ลักษณะ, ขนาด, สี ที่แตกต่างกัน ด้วยการสื่อความหมายระหว่างสื่ออิเล็กทรอนิกส์กับผู้ใช้ ทำให้เกิดความถูกต้อง รวดเร็ว แม่นยำ ระบบ Barcode เป็นระบบรหัสชนิดหนึ่งที่อยู่ในรูปสัญลักษณ์แท่งสีขาวสลับสีดำ ขนาดต่าง ๆ กัน ยาว, สั้น, หนา, บาง ต่าง ๆ กัน เพื่อที่เครื่องสแกนเนอร์ (Scanner) จะสามารถอ่านและแปลความหมายออกมาในรูปตัวเลข และเครื่องคอมพิวเตอร์สามารถรับรู้ได้ด้วยการแปลงเป็นสัญญาณดิจิตอล (Digital Signal) |
. |
. |
ในการใช้รหัสแท่งในซูเปอร์มาร์เก็ต ซึ่งในซูเปอร์มาร์เก็ตแต่ละแห่งจะมีสินค้ามากมายหลากหลายแตกต่างกันไป ดังนั้น เลขหมายประจำตัวของสินค้าแต่ละชนิดย่อมต้องแตกต่างตามกันไปด้วย และเลขหมายประจำตัวของสินค้าแต่ละชนิดอาจประกอบไปด้วยข้อมูลของสินค้าที่มากกว่าชนิดของสินค้า |
. |
เช่น อาจรวมไปถึงข้อมูลของแผนกของสินค้า และตำแหน่งชั้นวางของสินค้า เป็นต้น ซึ่งไม่สะดวกหากพนักงานขายจะต้องป้อนตัวเลขทั้งหมดทุกครั้งที่มีการขายเกิดขึ้น ดังนั้นจึงมีการนำระบบรหัสแท่งและเครื่องอ่านรหัสแท่งมาใช้ อย่างไรก็ตาม ข้อพิจารณาในการปรับใช้ ซึ่งมาตรฐานของสัญลักษณ์รหัสแท่งนั้นมีอยู่มากมายขึ้นอยู่กับการใช้งาน ตัวอย่างของมาตรฐานรหัสแท่ง ได้แก่ |
. |
- Uniform Product Code (UPC) มีการควบคุมโดย Uniform Code Council ซึ่งเป็นองค์กรที่ควบคุมรหัสแท่งที่ใช้กับผลิตภัณฑ์สำหรับร้านค้าทั่วไป |
. |
- European Article Numbering System (EAN) เป็นระบบมาตรฐานที่ใช้อยู่อย่างกว้างขวางในปัจจุบัน ในประเทศไทยนั้นมีสถาบันสัญลักษณ์รหัสแท่งไทย (EAN Thailand) ทำหน้าที่เป็นนายทะเบียนในการกำหนดเลขหมายประจำตัวบริษัทในระบบ EAN ให้แก่สมาชิก ระบบ EAN ได้รับการออกแบบโดย Joe Woodland ซึ่งเป็นผู้คิดค้นระบบรหัสแท่ง |
. |
- JAN (เหมือนกับ EAN ใช้ในประเทศญี่ปุ่น) |
. |
ฉะนั้น การใช้รหัสแท่ง (Barcode) ในกระบวนการเติมเต็มสินค้าคงเหลือให้เพียงพอตลอดเวลา (Replenishment) หรือ การเติมสินค้าอย่างต่อเนื่อง (Continuous Replenishment) เป็นเทคโนโลยีที่สามารถจัดการสินค้าคงคลังในห่วงโซ่อุปทานได้อย่างมีประสิทธิภาพ นั่นคือ ผู้ขายสินค้าสามารถรู้ยอดขายสินค้า และจำนวนสินค้าคงเหลือ หรือสินค้าคงคลัง สามารถสนองความต้องการสินค้าให้ลูกค้าได้ตลอดเวลา ทำให้งานบริหารสินค้าคงเหลือมีประสิทธิภาพที่ดีกว่า |
. |
เทคโนโลยีอาร์เอฟไอ (RFID) |
RFID (Radio Frequency Identification) คือเทคโนโลยีเพื่อชี้เฉพาะด้วยคลื่นวิทยุในการระบุหรือค้นหาวัตถุที่มีการติดรหัสหรือชิพไว้ มาทำสิ่งเดียวกันแต่ไม่ได้ความรวดเร็วที่มากกว่า วิธีการนี้ก็คือเอาป้าย RFID ที่มีชิพบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งที่ผูกติดอยู่นั้นฝังอยู่ หรือฝังชิพ RFID ไว้ในสินค้า ข้อมูลจากชิพจะส่งออกมาในรูปสัญญาณวิทยุไร้สายเหมือนกับการอ่านบาร์โค้ด และมีความสะดวกไม่ต้องเอาเครื่องไปอ่านบาร์โค้ด |
. |
เพียงสิ่งของที่ติดป้าย RFID หรือสินค้าที่ฝังชิพผ่านหน้าจุดอ่าน ข้อมูลทั้งหมดจะถูกบันทึกทันที เช่น การใช้ป้าย RFID เมื่อขนสินค้าเข้าโรงงาน ทันทีที่รถบรรทุกขับผ่านจุดอ่านข้อมูล สต๊อกทั้งหมดก็จะถูกบันทึกทันทีรวดเร็วและไม่ยุ่งยากนอกจากนี้การใช้งาน RFID ในขณะนี้สามารถพบได้รอบ ๆ ตัว อาทิ ชิพประจำตัวในสัตว์เลี้ยง การใช้งานการขนส่ง และการรักษาระบบความปลอดภัย เช่น ธุรกิจการบิน เพื่อลดความสูญเสียเวลาที่เครื่องบินต้องเลื่อนเวลา |
. |
ออกไป เรามักได้เห็นความโกลาหลเวลาเครื่องบินใกล้ออก เมื่อพบว่ามีผู้โดยสารที่เช็คอินแล้ว และมีสัมภาระเช็คขึ้นเครื่องด้วยหายตัวไป ทำให้เครื่องบินนั้นออกบินไม่ได้ ตราบใดที่สัมภาระผู้เดินทางไม่ได้เดินทางไปด้วยกัน เจ้าหน้าที่จะต้องไปค้นหาสัมภาระมาให้จนได้และครบถ้วนจึงจะออกเดินทางได้ บางครั้งก็ทำการค้นหาอยู่นานเพราะกระเป๋าและสัมภาระวางซ้อนกันอยู่ในท้องเครื่องทำให้วุ่นวายโกลาหลและเสียเวลา |
. |
ตัวอย่างเช่น กองทัพเรือสหรัฐใช้การป้อนข้อมูลอาร์เอฟไอดี เพื่อลดเวลาในกระบวนการคลังสินค้าที่สำคัญได้ประมาณ 98% โดยในส่วนลอจิสติก TNT สามารถลดเวลาการตรวจสอบปริมาณรถบรรทุกได้ 24% ด้วยการใช้ระบบอาร์เอฟไอดีบันทึกสินค้าที่อยู่บนรถพ่วงโดยอัตโนมัติ นอกจากนี้ บริษัทอื่น ๆ นับร้อยแห่งทั่วโลกกำลังนำอาร์เอฟไอดีมาช่วยในกระบวนการจัดส่งสินค้า การรับ และแอพพลิเคชันการรู้ความเป็นไปของคลังสินค้า สำหรับกรณีศึกษาเกี่ยวกับระบบนี้และตัวอย่างการใช้งานขององค์กรอื่น ๆ |
. |
แต่ถ้าหากสัมภาระทุกชิ้นติดป้าย RFID และบนบัตรผ่านขึ้นเครื่องก็ติด RFID อยู่ด้วย ทันที่ผู้โดยสารขึ้นเครื่อง สัญญาณทั้งสองนี้ก็จะถูกตรวจพบ และถูกบันทึกไว้ในคอมพิวเตอร์ของเครื่องบินถ้าจับคู่กันครบหมดก็ออกเดินทางได้ ถ้าไม่ครบก็สามารถใช้เครื่องอ่านตามหาสัญญาณจากสัมภาระเจ้าปัญหานี้ได้ทันที |
. |
ไม่เพียงเท่านั้นเทคโนโลยี RFID ยังมีส่วนช่วยในด้านปศุสัตว์อีกด้วย เกษตรกรในหลายประเทศได้ติดชิปซึ่งมีข้อมูลเฉพาะของสัตว์แต่ละตัว เช่น วันเกิด ประวัติการรักษาพยาบาล การเคลื่อนย้ายจากปศุสัตว์อื่น ๆ และการตรวจหาเชื้อโรคไว้ที่ตัวสัตว์ เพื่อทำการติดตามข้อมูลเกี่ยวกับสัตว์ และโรคระบาดให้เป็นไปอย่างถูกต้องและแม่นยำ |
. |
ทั้งนี้ ในอนาคตอันใกล้ เราจะสามารถพบเห็นเทคโนโลยี RFID กันได้ตามทั่วไป โดยคาดหมายว่าจะถูกนำไปใช้ในเอกสารที่มีความสำคัญ เช่น ธนบัตร ใบอนุญาตขับขี่ หนังสือเดินทาง ใบแสดงหุ้น เอกสารที่เขียนด้วยลายมือ ปริญญาบัตร เอกสารประกอบวิชาชีพแพทย์สูติบัตร และเอกสารอื่น ๆ ที่มีความสำคัญมาก ๆ ไม่สามารถสูญหายได้ |
. |
ฉะนั้น ระบบอาร์เอฟไอดีจะทำหน้าที่เชื่อมโยงข้อมูลระหว่าง บุคคล วัตถุ และกระบวนการต่าง ๆ ดังนั้น อาร์เอฟไอดีจึงเป็นอุปกรณ์ที่มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการจัดเก็บข้อมูล (Data Collection) การระบุหรือชี้เฉพาะ (Identification) รวมถึงระบบการวิเคราะห์ (Analysis Systems) การนำระบบอาร์เอฟไอดี มาประยุกต์ใช้ในกระบวนการทางธุรกิจจึงไม่เพียงแต่ช่วยประหยัดเวลาในการทำงานเท่านั้น หากแต่ยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของกระบวนการทำงาน ทั้งในเรื่องของการลดความผิดพลาด การลดการสูญเสีย การลดต้นทุนการผลิต และการลดต้นทุนการบริหารจัดการ |
. |
จึงไม่เป็นที่น่าแปลกใจที่เทคโนโลยีอาร์เอฟไอดีเป็นหัวข้อที่ได้รับการกล่าวถึงในทุกอุตสาหกรรม RFID เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ทำหน้าที่ในการตรวจสอบ และติดตามข้อมูลของวัตถุโดยอาศัยสัญญาณความถี่วิทยุเป็นพาหะในการรับ-ส่งข้อมูล ระบบจะมีองค์ประกอบหลัก ๆ อยู่ 3 ส่วนด้วยกัน คือ |
. |
1. ป้าย (Tag/Transponder) |
. |
การใช้สัญญาณความถี่วิทยุในการรับ-ส่งข้อมูล ในระบบอาร์เอฟไอดี จะช่วยให้ระบบจัดเก็บข้อมูลมีความได้เปรียบในการใช้งานเป็นอย่างมาก เมื่อเทียบกับระบบอื่น ๆ เช่น ระบบรหัสแท่ง (Barcode) เนื่องจากเครื่องอ่านและป้ายไม่จำเป็นต้องอยู่ในแนวเส้นตรงเดียวกัน ขอเพียงแค่อยู่ในรัศมีที่เครื่องอ่านและป้ายสามารถส่งสัญญาณถึงกันได้ |
. |
ด้วยเหตุนี้เองระบบอาร์เอฟไอดี จึงได้รับความสนใจเป็นอย่างมากในการนำไปใช้ในกระบวนการที่ไม่สามารถใช้ระบบรหัสแท่งได้ เช่น ในพื้นที่ที่มีความชื้น มีความสกปรก และมีสิ่งแปลกปลอมที่มีผลต่อการอ่านข้อมูล เป็นต้น อีกทั้งระบบอาร์เอฟไอดียังมีความสามารถในการรับส่งข้อมูลได้อย่างรวดเร็วแม้ในสภาพแวดล้อมดังกล่าว |
. |
เทคโนโลยีการระบุหรือชี้เฉพาะโดยใช้คลื่นวิทยุ หรือที่รู้จักในชื่อ อาร์เอฟไอดี (RFID: Radio Frequency Identification) กำลังได้รับความสนใจจากประชาชนอย่างแพร่หลาย เนื่องจากอาร์เอฟไอดีสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวันได้เป็นอย่างมาก ตั้งแต่การเดินทาง การรักษาความปลอดภัย การซื้อขายสินค้า การติดตามการทำงาน รวมถึงระบบที่ซับซ้อนอื่น ๆ เช่น ในเรื่องของระบบการขนส่ง (Logistics) ระบบสินค้าคงคลัง (Inventory Control) เป็นต้น |
. |
องค์ประกอบในระบบ RFID |
จะมีอยู่ 2 ส่วนหลัก ๆ คือ ส่วนฉลาก (ป้ายขนาดเล็ก) ที่จะถูกผนึกอยู่กับวัตถุที่เราสนใจ โดยฉลากที่ว่าจะบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับวัตถุชิ้นนั้น ๆ เอาไว้ ฉลากดังกล่าวมีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า ทรานสพอนเดอร์ (Transponder, Transmitter & Responder) หรือจะเรียกว่า แทกส์ (Tags) ส่วนที่สองมีชื่อเรียกว่า ทรานสซิฟเวอร์ (Transceiver, Transmitter & Receiver) หรือจะเรียกว่า เครื่องอ่าน (Reader) |
. |
รูปที่ 1 แสดงระบบ RFID |
. |
ปัจจุบันมีการนำระบบ RFID มาใช้งานในงานหลายประเภท ไม่ว่าจะเป็นในบัตรชนิดต่าง ๆ เช่น บัตรประจำตัวประชาชน บัตรเอทีเอ็ม บัตรสำหรับผ่านเข้าออกสำนักงาน บัตรโดยสารของสายการบิน บัตรจอดถ จนกระทั่ง ฉลากสินค้าต่าง ๆ หรือแม้แต่ฝังลงในตัวสัตว์เพื่อบันทึกประวัติ เป็นต้น |
. |
การนำระบบ RFID มาใช้งานก็เพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบการผ่านเข้าออกบริเวณใดบริเวณหนึ่ง หรือเพื่ออ่านและเก็บข้อมูลบางอย่างเอาไว้ ยกตัวอย่างในกรณีที่เป็นฉลากสินค่า ระบบ RFID ก็จะถูกนำมาไปใช้เก็บข้อมูลเกี่ยวกับสินค้า เพื่อให้สามารถทราบที่มาที่ไปของสินค้าชิ้นนั้น ๆ ได้ เป็นต้น |
. |
สำหรับรูปแบบของเทคโนโลยี RFID ที่ใช้ดังกล่าวก็มีทั้งแบบสมาร์ตการ์ด ที่สามารถถูกเขียนหรืออ่านข้อมูลออกมาได้โดยไม่ต้องมีการสัมผัสกับเครื่องอ่านบัตร หรือคอนแทกเลสสมาร์ตการ์ด (Contractless Smartcard) เหรียญ (Coin) ป้าย (Tag) หรือฉลากซึ่งมีขนาดเล็กจนสามารถแทรกลงไปอยู่ในระหว่างชั้นของเนื้อกระดาษหรือฝังเอาไว้ในตัวสัตว์ได้เลยทีเดียว |
. |
แทกส์ (Tags) |
โครงสร้างภายในของแทกส์จะประกอบไปด้วย 2 ส่วนใหญ่ ๆ ได้แก่ ส่วนของไอซีหรือชิป และส่วนที่สองคือ ขดลวดซึ่งทำหน้าที่เป็นสาอากาศสำหรับรับส่งสัญญาณ แทกส์ที่มีการใช้งานอยู่นั้นจะมีอยู่ 2 ชนิดใหญ่ ๆ โดยแต่ละชนิดก็จะมีความแตกต่างกันในแง่ของการใช้งาน ราคา โครงสร้าง และหลักการทำงาน ซึ่งจะขอกล่าวและอธิบายแยกเป็นหัวข้อดังนี้ |
. |
รูปที่ 2 แสดงรูปแบบต่าง ๆ ของ Tags |
. |
Passive RFID Tags |
แทกส์ชนิดนี้ไม่จำเป็นต้องรับแหล่งจ่ายไฟใด ๆ เพราะมีวงจรกำเนิดไฟฟ้าเหนี่ยวนำขนาดเล็กเป็นแหล่งจ่ายไฟในตัวอยู่แล้ว ระยะการสื่อสารข้อมูลที่ทำได้สูงสุด 1.5 เมตร มีหน่วยความจำขนาดเล็ก (ทั่วไปประมาณ 32 - 128 บิต) มีขนาดเล็กและน้ำหนักเบา ราคาต่อหน่วยต่ำ |
. |
โดยทั่วไปโครงสร้างภายในส่วนที่เป็นไอซีของแทกส์นั้นก็จะประกอบด้วย 3 ส่วนหลัก ๆ ได้แก่ ส่วนของหน่วยความจำ, ส่วนควบคุมภาคลอจิก และส่วนของควบคุมการทำงานของภาครับส่งสัญญาณวิทยุ |
. |
Active RFID Tags |
แทกส์ชนิดนี้จะใช้แหล่งจ่ายไฟจากแบตเตอรี่ขนาดเล็ก มีหน่วยความจำภายในขนาดใหญ่ได้ถึง 1 เมกะไบต์ มีระยะการสื่อสารข้อมูลที่ทำได้สูงสุดถึง 6 เมตร แม้ว่าแทกส์ชนิดนี้จะมีข้อดีอยู่หลายข้อแต่ก็มีข้อเสียอยู่ด้วยเหมือนกัน เช่น มีราคาต่อหน่วยแพง มีขนาดค่อนข้างใหญ่ และมีระยะเวลาในการทำงานที่จำกัด |
. |
นอกจากการแบ่งจากชนิดที่ว่ามาแล้วแทกส์ก็ยังถูกแบ่งประเภทจากรูปแบบในการใช้งานได้ 3 แบบ คือ แบบที่สามารถถูกอ่านและเขียนข้อมูลได้อย่างอิสระ (Read–write), แบบเขียนได้เพียงครั้งเดียวเท่านั้นแต่อ่านได้อย่างอิสระ (Write-once, Read-many หรือ WORM) และแบบอ่านได้เพียงอย่างเดียว (Read-only) ด้วย อย่างไรก็ตามเนื่องจากในการใช้งานเพื่อเป็นฉลาก นิยมใช้แทกส์ชนิดพาสซีฟมากกว่า ในที่นี้จึงจะขอกล่าวถึงเฉพาะแทกส์ชนิดนี้เป็นหลัก |
. |
เครื่องอ่าน (Reader) |
หน้าที่หลักของเครื่องอ่านก็คือการเชื่อมต่อเพื่อเขียน หรืออ่านข้อมูลจากแทกส์ด้วยคลื่นวิทยุ ดังรูปประกอบด้วย |
. |
การถอดรหัสสัญญาณ (Decoding) ที่ได้รับ กระทำโดย ไมโครคอนโทรเลอร์ อัลกอริทึ่มที่อยู่ในเฟิร์มแวร์ (Firmware) ของตัวไมโครคอนโทรเลอร์ จะทำหน้าที่ในการส่งสัญญาณ, ถอดรหัสสัญญาณที่ได้รับ และทำหน้าที่ติดต่อกับคอมพิวเตอร์ |
. |
รูปที่ 3 แสดงโครงสร้างของเครื่องอ่าน |
. |
รูปที่ 4 แสดงตัวอย่างเครื่องอ่านแบบต่าง ๆ |
. |
จะเห็นได้ว่า ระบบอาร์เอฟไอดีจะทำหน้าที่เชื่อมโยงข้อมูลระหว่าง บุคคล วัตถุ และกระบวนการต่าง ๆ ทำให้ระบบ RFID ได้รับความนิยมป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากความสามารถในการอ่านข้อมูลของฉลากที่ได้โดยไม่ต้องมีการสัมผัส และการอ่านค่าได้แม้ในสภาพที่ทัศนวิสัยไม่ดี ทนต่อความเปียกชื้น แรงสั่นสะเทือน การกระทบกระแทก ตลอดจน สามารถอ่านข้อมูลได้ถูกต้องรวดเร็ว จึงได้มีการนำมาใช้ในกระบวนการจัดการห่วงโซ่อุปทาน และ ลอจิสติกส์ (Supply Chain Management / Logistics) ในเรื่องของ |
. |
ระบบบริหารคลังสินค้า (Warehouse Management System) เป็นระบบที่ออกแบบและพัฒนาขึ้น เพื่อใช้งานการบริหารข้อมูลคลังสินค้า เพื่อให้มีการบริหารอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยจะทำการบริหารข้อมูล วัตถุดิบ ข้อมูลสินค้า และข้อมูลสินค้าระหว่างผลิต โดยระบบได้มีการพัฒนาโดยนำเทคโนโลยี RFID มาใช้สำหรับการทำธุรกรรมการเบิกจ่ายสินค้า และฐานข้อมูลสินค้าได้อีกด้วย |
. |
การจัดการลอจิสติกส์ (Logistics Management) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการจัดการโซ่อุปทานซึ่ง วางแผน นำไปปฏิบัติ และควบคุมการไหลทั้งไปและกลับอย่างมีประสิทธิภาพของสินค้า บริการและสารสนเทศที่เกี่ยวข้องในระหว่างจุดเริ่มต้น และจุดที่มีการบริโภค เพื่อที่จะให้ได้ตรงตามความต้องการของลูกค้า |
. |
. |
สรุป |
ซัพพลายเชนในกระบวนการเติมเต็มสินค้าคงเหลือให้เพียงพอตลอดเวลา (Replenishment) คือ การเติมสินค้าอย่างต่อเนื่อง (Continuous Replenishment) โดยใช้ระบบการควบคุมสินค้าคงคลังให้เกิดประสิทธิภาพ ซึ่งเชื่อมโยงกันระหว่างองค์กร ทรัพยากร และกิจกรรมต่าง ๆ ที่รวมถึงการก่อให้เกิดคุณค่าในรูปของสินค้าสำเร็จรูปหรือบริการให้แก่ลูกค้าทำให้คุณค่าเกิดมากที่สุด |
. |
มีสินค้าคงคลังที่เพียงพอสามารถตอบสนองความพึงพอใจของลูกค้าได้ทันเวลา โดยการใช้การบริหารปริมาณการสั่งซื้อแบบประหยัด (EOQ) ใช้ในการตัดสินใจเพื่อการพิจารณาเลือกในการลงทุนให้มีต้นทุนการสั่งซื้อต่ำสุด และสามารถลดต้นทุนสินค้าคงคลังทั้งระบบในซัพพลายเชนต่ำสุดด้วย นอกเหนือจากนั้นยังต้องมีการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในกระบวนการของ SCM ได้แก่ เทคโนโลยีรหัสแท่ง (Barcode) และเทคโนโลยีอาร์เอฟไอ (RFID) เพื่อให้งานบริหารสินค้าคงเหลือมีประสิทธิภาพที่เหนือกว่า |
. |
ข้อมูลอ้างอิง |
• www.tlcthai.com |
. |
. |
สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2539 www.thailandindustry.com
Copyright (C) 2009 www.thailandindustry.com All rights reserved.
ขอสงวนสิทธิ์ ข้อมูล เนื้อหา บทความ และรูปภาพ (ในส่วนที่ทำขึ้นเอง) ทั้งหมดที่ปรากฎอยู่ในเว็บไซต์ www.thailandindustry.com ห้ามมิให้บุคคลใด คัดลอก หรือ ทำสำเนา หรือ ดัดแปลง ข้อความหรือบทความใดๆ ของเว็บไซต์ หากผู้ใดละเมิด ไม่ว่าการลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดของบทความนี้ไปใช้ ดัดแปลง โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร จะถูกดำเนินคดี ตามที่กฏหมายบัญญัติไว้สูงสุด