การค้นหาจุดอ่อน และหาสาเหตุแห่งปัญหา แล้วระดมปัญญาแก้ไข ปรับปรุงและวางแผนคุณภาพอย่างเป็นระบบ โดยนำกลุ่มควบคุมคุณภาพ (Quality Control Circle: QCC) มาใช้ร่วมกับ Kaizen เพื่อการสร้างสายการผลิตแบบลีนให้มีความสมบูรณ์กว่าเดิม
บูรณะศักดิ์ มาดหมาย Buranasak_dip@hotmail.com |
. |
. |
การค้นหาจุดอ่อน และหาสาเหตุแห่งปัญหา แล้วระดมปัญญาแก้ไข ปรับปรุงและวางแผนคุณภาพอย่างเป็นระบบ โดยนำกลุ่มควบคุมคุณภาพ (Quality Control Circle: QCC) มาใช้ร่วมกับ Kaizen เพื่อการสร้างสายการผลิตแบบลีนให้มีความสมบูรณ์กว่าเดิม |
. |
จากการที่ Kaizen เป็นเครื่องมือที่สามารถนำมาใช้ในการดำเนินกิจกรรมการผลิตแบบลีน โดยเน้นการปรับปรุงกระบวนการผลิตในทางที่ดีขึ้นให้เกิดขึ้นอยู่ตลอด ตั้งแต่ การปรับปรุงเพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดความผิดพลาดของงาน การปรับปรุงวิธีการทำงาน ฯลฯ จึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะนำกลุ่มควบคุมคุณภาพ (Quality Control Circle: QCC) มาใช้ร่วมกัน เพื่อให้การสร้างสายการผลิตแบบลีนมีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น |
. |
กลุ่มควบคุมคุณภาพ (Quality Control Circle: QCC) |
Quality Control Circle (QCC) คือ "กลุ่มควบคุมคุณภาพ" หรือ "วงคุณภาพ" ความหมายของ QCC ก็คือ กลุ่มย่อยกลุ่มหนึ่งที่ดำเนินงานปรับปรุงคุณภาพในสถานที่ทำงานโดยดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ดำเนินงานเป็นทีม ใช้วิธีการและขั้นตอนการแก้ปัญหาอย่างเป็นวิทยาศาสตร์ ถูกนำมาใช้กับการตรวจคุณภาพของผลิตภัณฑ์ในประเทศสหรัฐอเมริกาโดย C.N.,Frazee แห่งบริษัท Telephone Laboratories |
. |
ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1916 ต่อมาในปี ค.ศ. 1924 Dr.Walter A. Shewhart แห่งบริษัท Western Electric ก็นำวิชาสถิติประยุกต์และแผนภูมิควบคุมมาใช้ในการควบคุมการผลิต ต่อมาในปี ค.ศ.1940 กลุ่มพัฒนากระบวนการผลิต |
. |
ประกอบด้วย Dr.Whewhart Dr.Hary G. Roming และ Harold F.Dooge ก็นำเสนอผลงานการควบคุมคุณภาพโดยแผนภูมิและการควบคุมคุณภาพของการตรวจสอบวัสดุต่อสมาคมทดสอบวัสดุ นับตั้งแต่นั้นมามีการพัฒนาและค้นคว้าการควบคุมคุณภาพเชิงสถิติ ซึ่งได้รับการสนับสนุนและมีเอกสารเกิดขึ้นจำนวนมาก |
. |
ต่อมามีการพัฒนากิจกรรม QCC ของประเทศญี่ปุ่น ช่วงที่ 1 พ.ศ. 2489 - 2493 ดร.เดมมิ่ง ได้นำความรู้ด้านการควบคุมคุณภาพเชิงสถิติมาเผยแพร่ในประเทศญี่ปุ่น ทำให้ JUSE ขยายแนวคิดการควบคุมคุณภาพจากผลิตภัณฑ์สู่คุณภาพของการทำงาน ช่วงที่ 2 พ.ศ. 2494–2497 มีการใช้ SQC (Statistic Quality Control) อย่างแพร่หลายในประเทศญี่ปุ่น มีการมอบรางวัล Demming Prize ช่วงที่ 3 พ.ศ. 2498–2503 พัฒนาการควบคุมคุณภาพให้เป็นความรับผิดชอบของพนักงานทุกคน ช่วงที่ 4 พ.ศ. 2504 เป็นต้นมาถึงปัจจุบัน ใช้ระบบ QCC แล้วพัฒนามาเป็น TQC (Total Quality Control) |
. |
สำหรับการพัฒนากิจกรรม QCC ในประเทศไทย บริษัทในเครือของนักลงทุนจากประเทศญี่ปุ่น คือ บริษัทไทยบริดสโตนและบริษัทไทยฮีโน่ นำระบบ QCC มาใช้ บริษัทอุตสาหกรรมใช้กิจกรรม QCC อย่างแพร่หลาย มีการจัดตั้งชมรม QCC และจัดการประกวดระดับโรงงาน ระดับกลุ่มอุตสาหกรรม และระดับชาติ และกิจกรรม QCC ถูกนำมาใช้ในวงการรัฐวิสาหกิจ เช่น การไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯ และหน่วยงานราชการบางหน่วย |
. |
นอกจากนี้ QCC ยังเป็นส่วนหนึ่งของการควบคุมคุณภาพทั่วทั้งองค์กร เพื่อให้เกิดการเคารพความเป็นมนุษย์ซึ่งกันและกันในสถานที่ทำงาน สร้างบรรยากาศในการทำงานให้มีชีวิตชีวา ให้พนักงานได้มีโอกาสแสดงความรู้ความสามารถอย่างไม่มีขีดจำกัด สร้างความเป็นผู้นำ พัฒนาพนักงานให้มีความรู้ความสามารถสูงขึ้น ให้พนักงานมีส่วนร่วมกับผู้บริหารในการแก้ปัญหาและปรับปรุงงาน เพื่อยกระดับมาตรฐานการทำงาน ตลอดจนลดความสูญเสียต่างๆ ที่เกิดขึ้นในระบบ |
. |
QCC จึงเป็นส่วนหนึ่งของงานประจำให้พนักงานเข้าใจว่าการแก้ปัญหาที่กลุ่ม QCC ได้เลือกขึ้นมาดำเนินการ คือ การแก้ปัญหาในงานประจำ โดยสร้างมาตรฐานในการทำงาน พัฒนาความรู้และทักษะของพนักงานที่หน้างาน ให้สามารถสังเกตและวินิจฉัยสาเหตุของปัญหาได้ด้วยตนเอง ตลอดจนมีจิตสำนึกด้านคุณภาพที่จะสามารถป้องกันปัญหาความผิดพลาด |
. |
หลักการกิจกรรม QCC |
* พัฒนาคน |
- ผู้บริหารและพนักงานทุกคนมีส่วนร่วมรับผิดชอบ |
. |
* พัฒนางาน |
- ใช้วงจรคุณภาพ PDCA |
. |
* พัฒนาทีมงาน |
- การรวมกลุ่มที่มีเป้าหมายคุณภาพ |
. |
. |
โครงสร้างในการบริหาร QCC |
การจัดโครงสร้างในการบริหารงาน QCC ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของแต่ละองค์กร ในที่นี้จะเสนอเป็นเพียงรูปแบบหนึ่ง |
. |
. |
หน้าที่ของฝ่ายต่างๆ ในการบริหาร QCC |
กรรมการผู้จัดการ |
มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการกำหนดนโยบายเรื่อง QCC พร้อมทั้งให้ให้การสนับสนุนทั้งด้านเงินและเวลา เพื่อให้เกิด QCC ทั่วทั้งองค์กร โดยมีการจัดตั้งเป็นคณะกรรมการบริหาร QCC |
. |
คณะกรรมการบริหาร QCC |
มีบทบาทในการกำหนดนโยบายหลักและแผนระยะยาวในการบริหารงาน QCC การกำหนดแผนการฝึกอบรม กำหนดแผนการส่งเสริม QCC กำหนดแผนการนำเสนอผลงาน ตลอดจนรายงานผลการดำเนินการ อุปสรรค และปัญหาต่อกรรมการผู้จัดการ |
. |
คณะทำงาน QCC |
มีบทบาทในการกำหนดแผนระยะกลางและระยะสั้นในการบริหารงาน QCC ให้สอดคล้องกับแผนระยะยาวของคณะกรรมการบริหาร QCC จัดทำแผนฝึกอบรม รวมถึงหลักสูตรต่างๆ ที่ใช้ในการฝึกอบรมให้แก่ที่ปรึกษากลุ่ม QCC, กลุ่ม QCC กำหนดวิธีการในการส่งเสริม QCC เช่น การแสดงนิทรรศการ, การถ่ายทำวีดีโอผลงานของ QCC, การมอบรางวัล, การตรวจประเมินผลงาน ฯลฯ จัดให้มีการนำเสนอผลงาน และประสานงาน ควบคุมติดตามและรายงานผลการดำเนินงานต่อคณะกรรมการบริหาร QCC |
. |
ที่ปรึกษากลุ่ม QCC |
มีบทบาทในการดูแลและผลักดันให้กลุ่มดำเนินกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง เข้าร่วมประชุมกับกลุ่ม QCC ช่วยเหลือและให้คำแนะนำกับกลุ่ม QCC |
. |
กลุ่มย่อย QCC |
มีบทบาทในการปรับปรุงและแก้ไขปัญหาที่กลุ่มเกี่ยวข้อง และดำเนินการตามขั้นตอนการดำเนินงานของกลุ่ม QCC |
. |
. |
หัวหน้ากลุ่ม |
• มีความรูเรื่อง QCC เป็นอย่างดี |
. |
สมาชิกกลุ่ม |
• ทำความเข้าใจปัญหาและเสนอหัวข้อเรื่องที่จะดำเนินการแก้ไข |
. |
เลขานุการกลุ่ม |
• ช่วยจัดเตรียมการประชุมและจดบันทึกการประชุมกลุ่ม/รายงานการประชุม |
. |
หลักการจัดกิจกรรม QCC |
* การใช้หลักสถิติในการควบคุมคุณภาพ (Statistic Quality Control) |
รูปที่ 1 การใช้หลักสถิติในการควบคุมคุณภาพ |
. |
กิจกรรม QCC ใช้ข้อเท็จจริงในการแก้ปัญหา ต้องมีข้อมูลสาเหตุของปัญหาที่ชัดเจนและมีหลักฐานเชื่อถือได้ จึงทำให้การเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาได้รับการยอมรับ เช่น แผนภูมิที่ 1 ต้องแสดงสถิติจำนวนตัวอย่างสินค้าประเมินค่าคุณสมบัติของสินค้าต่ำกว่าหรือสูงกว่ามาตรฐานเท่าใด การประเมินใช้สถิติแสดงผลการเปรียบเทียบกับตัวเลขมาตรฐานที่มีอยู่ ดังนั้นขั้นตอนการดำเนินกิจกรรม QCC ที่สำคัญคือ การเก็บสถิติข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับปัญหาอย่างละเอียด |
. |
รูปที่ 2 การนำเสนอข้อมูลเพื่อการปรับปรุงงาน |
. |
* การบริหารแบบมีส่วนร่วม (Participative Management) |
กิจกรรม QCC เป็นกิจกรรมกลุ่มที่เริ่มจากปรัชญา "พนักงานทุกคนมีส่วนร่วมพัฒนาองค์กร" ดังนั้นการวางระบบบริหารงานขององค์กรก็ต้องเป็นการบริหารแบบมีส่วนร่วม การร่วมบริหารองค์กรของพนักงานระดับล่าง เป็นการนำเสนอข้อมูลและแนวทางปรับปรุงงานให้บรรลุเป้าหมายคุณภาพขององค์กร เพื่อให้ฝ่ายบริหารพิจารณาและอำนวยการให้แนวทางการปรับปรุงงานบังเกิดผลตามที่พนักงานเสนอ |
. |
การบริหารแบบมีส่วนร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการบริหารงานคุณภาพ แต่ความร่วมมือภายในองค์กรหรือหน่วยงานไม่ได้เกิดขึ้นเอง ความร่วมมือขององค์กรเกิดจากระบบการบริหารที่ประกอบด้วย |
. |
- นโยบายการบริหารงานแบบมีส่วนร่วม |
. |
* กิจกรรมที่ต้องทำอย่างต่อเนื่อง (Continuous Improvement) |
รูปที่ 3 การปรับปรุงงานอย่างต่อเนื่อง |
. |
กิจกรรม QCC จะทำให้พบปัญหาหลายด้านที่เกี่ยวข้องกันหรือต่อเนื่องกัน แต่การปรับปรุงงานแก้ไขจะต้องทำส่วนที่จำเป็นเร่งด่วนก่อน เสร็จแล้วจึงพิจารณาแก้ไขด้านอื่นๆ ต่อไปเรื่อยๆ |
. |
ขั้นตอนและวิธีการดำเนินกิจกรรม QCC |
1. การจัดตั้งกลุ่มกิจกรรม QCC ประกอบด้วย |
1.1 พนักงานรวมตัวกัน 3 -10 คน การรวมตัวเป็นกลุ่มกิจกรรม QCC มีเป้าหมายสำคัญคือ คุณภาพการทำงาน ดังนั้นพนักงานจึงควรเป็นพนักงานที่มีการทำงานร่วมกันและมีเป้าหมายเดียวกัน |
. |
1.3 แม้ว่าสมาชิกของกลุ่มจะเท่าเทียมกันทุกคน แต่ก็ควรจัดตำแหน่งหน้าที่ที่จำเป็นในการทำงาน เช่น |
. |
1.4 กำหนดสัญลักษณ์และคำขวัญประจำกลุ่ม |
. |
2. ค้นหาปัญหา |
กิจกรรม QCC เป็นกิจกรรมที่มุ่งสู่คุณภาพตามข้อกำหนด หรือมาตรฐาน ดังนั้นกลุ่มกิจกรรม QCC จึงต้องค้นหาปัญหาที่เป็นอุปสรรคต่อการสร้างคุณภาพ แต่การมองปัญหาหรือเห็นความสำคัญของปัญหาของพนักงานมักจะแตกต่างกัน ดังนั้นจึงต้องเริ่มจากการวิเคราะห์ปัญหา (Problem Solving Oriented) ได้แก่ |
. |
2.1 การเสนอประเด็นปัญหาว่าจะดำเนินการในส่วนใดก่อน เช่น วิธีการทำงาน ผลงาน ความปลอดภัย เครื่องจักร สิ่งแวดล้อม ฯลฯ |
. |
รูปที่ 4 ความปลอดภัยของหน่วยงาน |
. |
2.3 ทำการวิเคราะห์ลำดับความสำคัญของปัญหาด้วยตาราง ดังต่อไปนี้ |
. |
ตารางที่ 1 การจัดลำดับความสำคัญของปัญหา |
. |
2.4 เลือกปัญหาที่มีคะแนนรวมสูงที่สุด 1 ปัญหา |
. |
3. รวบรวมข้อมูล |
ในการเสนอปัญหาและวิเคราะห์ปัญหา สมาชิกทุกคนจะต้องดำเนินการโดย 3.1 รวบรวมข้อมูลจากความเป็นจริง สถานการณ์จริง ถูกต้อง เชื่อถือได้ 3.2 บันทึกข้อมูลด้วยแผ่นข้อมูล (Data Sheet) 3.3 นำเสนอข้อมูลด้วยพาลาโตไดอะแกรม (Palato Diagram) |
. |
รูปที่ 5 ตัวอย่างแผ่นข้อมูลการตรวจสอบกระบวนการขัดเลนส์ของพนักงาน |
. |
ตัวอย่างแผ่นข้อมูล (Data Sheet) เพื่อใช้ในการรวบรวมข้อมูลของปัญหาที่เกิดขึ้น โดยผู้ทำการบันทึกสามารถออกแบบเอง หรือหน่วยงานมีบันทึกอยู่แล้ว นำมาใช้วิเคราะห์ได้ |
. |
รูปที่ 6 พาลาโตไดอะแกรม (Palato Diagram) |
. |
จากแผนภูมิที่ 5 ตัวอย่าง พาลาโตไดอะแกรม หรือกราฟแท่ง นำตัวเลขจากตารางคู่ที่ 1 แสดงการเปรียบเทียบด้วยการสร้างกราฟแท่ง เพื่อให้สมาชิกของกลุ่มเห็นปัญหาที่ชัดเจน |
. |
4. ใช้แผนภูมิก้างปลาในการวิเคราะห์และแก้ปัญหา (Cause-Effect Diagrams) |
ผังแสดงเหตุและผล (Cause and Effect Diagram) ผังก้างปลา (Fish Diagram) หรือผังอิชิกาวา สามารถนำมาใช้เพื่อหาสาเหตุของปัญหาอันก่อให้เกิดผล โดยปกติจะใช้เป็นเครื่องมือในการประชุมระดมความคิดจากระดับหัวหน้างานและคนงาน ผังก้างปลามีลักษณะคล้ายก้างปลา กล่าวคือ ที่ปลายด้านหนึ่งจะเป็นผลที่กำลังประสบอยู่ และในส่วนของก้างที่แตกกิ่งออกไปจะแทนปัจจัยหรือสาเหตุต่างๆ ที่ทำให้เกิดผลอันนั้นขึ้น |
. |
รูปที่ 7 ตัวอย่างโครงสร้าง Cause-Effect Diagrams |
. |
เมื่อนำปัญหาที่วิเคราะห์ได้จากตาราง จะเห็นว่าควรแก้ไขเร่งด่วนที่สุดมาวิเคราะห์หาสาเหตุบนแผนภูมิก้างปลา ซึ่งสาเหตุแห่งปัญหามักจะเกิดจากพนักงานเอง เครื่องจักร อุปกรณ์ วัตถุดิบ หรือวิธีการทำงาน เขียนสาเหตุลงในก้างปลาย่อย เมื่อเราเขียนสาเหตุแต่ละสาเหตุลงในก้างปลาย่อยจะทำให้เราเห็นต้นเหตุของปัญหาอย่างชัดเจน |
. |
เมื่อระดมความคิดค้นหาสาเหตุแห่งปัญหาได้แล้ว ก็ช่วยกันระดมความคิดหาวิธีแก้ปัญหาต่อไปเลย โดยพิจารณาในแต่ละก้าง หาวิธีแก้ และเขียนวิธีแก้ลงไปในก้างปลาตัวใหม่ จะได้แผนภูมิก้างปลา 2 ตัว ตัวแรกแสดงสาเหตุของปัญหา ตัวที่สองแสดงวิธีการแก้ปัญหา สำหรับแผนภูมิ เป็นแผนภูมิตัวอย่าง สาเหตุอาจจะเป็นลักษณะอื่นๆ ได้ |
. |
รูปที่ 8 ตัวอย่างโครงสร้าง Cause-Effect Diagrams ที่มีการระดมความคิดเห็นแล้ว |
. |
อย่างไรก็ตามการดำเนินงานของกลุ่ม QCCเรื่องที่กลุ่ม QCC เลือกมาดำเนินการ ต้องไม่ขัดต่อนโยบายของบริษัท/หน่วยงานสามารถทำได้เองและต้องทำเป็นกลุ่ม โดยใช้เทคนิคต่างๆ ที่ใช้ในการทำกลุ่ม QCC ให้มีประสิทธิผล โดยเน้นการพัฒนาความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ (Creative Thinking) คือการเชื่อมโยงความคิด และประสบการณ์เดิมที่มีอยู่ เพื่อสังเคราะห์ เป็นความคิดใหม่ เพื่อแก้ไขปัญหา ปรับปรุง ในลักษณะเฉพาะหน้า โดยการเปิดใจกว้างที่จะรับรู้สิ่งที่อยู่รอบตัว เหตุการณ์ต่างๆ |
. |
ฝึกคิดในเรื่องเดียวกันให้ได้ในหลายๆ แง่มุม สร้างทัศนคติในเชิงสร้างสรรค์และค้นหาสิ่งใหม่ๆอย่างไม่ลดละ ฝึกเป็นคนช่างสังเกต จดจำสิ่งที่พบเห็นรวบรวมมาใช้ประโยชน์ เป็นคนชอบอ่าน ชอบค้นคว้า ขี้สงสัยในส่วนที่ยังสงสัย ชอบคิดหาความแปลกใหม่ ชอบหาเหตุผลมาอธิบาย ตอบคำถาม ต้องรู้จักคิดแปลงความคิดเป็นการกระทำ และการระดมสมอง (Brain Storming) คือความพยายามในการกระตุ้นให้เกิดความคิดริเริ่ม หรือแสดงความคิดอย่างเสรีต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยพยายามรวบรวมความคิดให้มากที่สุด อย่างรวดเร็วต่อเนื่อง โดยต้องไม่มีการวิพากษ์วิจารณ์ความคิดเห็นของคนอื่นๆ |
. |
การปล่อยความคิดอย่างเป็นอิสระและเป็นกันเอง มุ่งเน้นปริมาณความคิดเป็นสำคัญ และกระตุ้นให้ทุกคนพยายามเสริมต่อความคิดของผู้อื่น จึงจะทำให้การทำกิจกรรมกลุ่ม QCC ประสบผลสำเร็จ |
. |
กิจกรรมกลุ่มควบคุมคุณภาพ (Quality Control Circle:QCC) ก็สามารถนำมาประยุกต์ใช้ร่วมกับกระบวนการของ PDCA ได้เหมือนกับ KAIZEN จากความสัมพันธ์ระหว่าง QCC และ PDCA จะพบว่า ประกอบด้วย |
. |
การวางแผน (Plan) |
กิจกรรมกลุ่มควบคุมคุณภาพ (Quality Control Circle:QCC) จะมีการดำเนินการในเรื่ององการเลือกงาน ตั้งเป้าหมายกิจกรรม การรวบรวมข้อมูล และมีการมองปัญหาให้ตรงกับความต้องการขององค์กรที่ต้องการแก้ไข และวางแผนการแก้ไขปัญหาดังกล่าว ทั้งนี้ การวางแผน (Plan) นั้นประกอบด้วย |
. |
ขั้นตอนที่ 1 : การกำหนดเป้าหมาย |
ต้องระบุเป้าหมายของการควบคุมคุณภาพอย่างชัดเจน โดยระบุให้ได้ว่า "จะทำอะไร" เป้าหมายที่เป็นรูปธรรมหรือเป็นตัวเลข กำหนดการที่จะให้บรรลุเป้าหมายนั้น |
. |
ขั้นตอนที่ 2 : การจัดทำแผน |
จัดทำแผนให้บรรลุเป้าหมายที่วางไว้ แผนที่จัดทำจะต้องสอดคล้องกับสภาวะที่เป็นอยู่และสามารถปฏิบัติได้ ซึ่งหมายถึง จะต้องมีข้อมูลรองรับที่ชัดเจนนั่นเอง |
. |
ขั้นตอนที่ 3 : ตรวจสอบ 5W1H |
ถ้าแผนขาดสาระที่จำเป็นก็จะเป็นแผนที่ไร้ประโยชน์ และเนื่องจากผู้ที่จะต้องปฏิบัติตามแผนไม่ใช่คนเพียงคนเดียว แต่ประกอบด้วยผู้คนที่เกี่ยวข้องอีกจำนวนมาก แผนที่จัดทำขึ้นจึงต้องมีความชัดเจน รัดกุม ใครอ่านแล้วก็สามารถเข้าใจได้ทันที การตรวจสอบด้วย 5W1H จึงเป็นเรื่องที่จำเป็น |
. |
การปฏิบัติตามแผนที่จัดทำไว้ (DO) |
การปฏิบัติตามแผนที่จัดทำไว้ จะต้องทำความเข้าใจแผน เนื่องจากผู้ที่ต้องดำเนินการตามแผน คือ ผู้ปฏิบัติงานจึงต้องมีการอธิบายแผนให้เป็นที่เข้าใจตรงกันและทั่วถึงกัน และมีการติดตามการปฏิบัติงาน ผู้ปฏิบัติงาน คือ ผู้ที่ดำเนินการตามแผนเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ ผู้บริหารหรือผู้จัดการจึงมีหน้าที่ต้องคอยสอดส่อง และติดตามการปฏิบัติงานของทุกคน และคอยให้คำปรึกษาเมื่อจำเป็น |
. |
การตรวจสอบ (CHECK) |
ถือว่าเป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุด โดยตรวจสอบสภาพของดำเนินงาน เป็นการตรวจสอบว่า การดำเนินงานได้เป็นไปตามแผนที่วางไว้หรือไม่ การตรวจสอบนี้จะมัวแต่รอให้ผู้ปฏิบัติงานมารายงานไม่ได้ ผู้บริหารจะต้องลงไปตรวจสอบด้วยตนเอง และตรวจสอบคุณภาพของงาน เป็นการตรวจสอบคุณภาพของการดำเนินงาน (คุณภาพของผลิตภัณฑ์หรือคุณภาพของงานที่ได้) จะต้องมีการวิเคราะห์ข้อมูลว่ามีเหตุผิดปกติเกิดขึ้นหรือไม่ นอกจากนั้นการตรวจสอบคุณภาพของ "ผลงาน" ด้วยตนเอง และการสอบถามผู้ปฏิบัติงานว่าประสบปัญหาอะไรหรือไม่ ก็เป็นเรื่องสำคัญที่มองข้ามไม่ได้ |
. |
การดำเนินการ (Action) |
กรณีที่พบว่ามีปัญหา เมื่อตรวจพบว่าเกิดปัญหาขึ้นในการดำเนินงาน จะต้องตรวจหาสาเหตุของปัญหา เพื่อป้องกันไม่ให้ปัญหาเดียวกันเกิดซ้ำอีก และจะต้องทำรายงานสรุปในเรื่องดังกล่าว เพื่อเป็นข้อมูลยืนยันการดำเนินการแก้ไขแล้ว |
. |
กรณีที่ปฏิบัติงานบรรลุเป้าหมายที่วางไว้ เมื่อปฏิบัติงานบรรลุเป้าหมาย จะต้องมีการทบทวนว่า "เหตุใดจึงปฏิบัติงานบรรลุเป้าหมายที่ต้องการ" เพื่อสะสมเป็นประสบการณ์หรือองค์ความรู้ในองค์กร และในการปฏิบัติงานครั้งต่อไป ก็ให้ใช้ประสบการณ์และองค์ความรู้เหล่านี้ให้เป็น ประโยชน์ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่สูงขึ้นต่อไป โดยทั่วไป "Action" ในกรณีที่บรรลุเป้าหมาย มักจะถูกมองข้ามเสมอ ซึ่งทำให้องค์กรขาดการสะสมองค์ความรู้ แสดงจากภาพความสัมพันธ์ระหว่าง QCC และ PDCA |
. |
รูปที่ 9 ความสัมพันธ์ระหว่าง QCC และ PDCA |
. |
สรุป |
ในการนำกิจกรรมกลุ่มควบคุมคุณภาพ (Quality Control Circle: QCC) มาใช้ร่วมกันกับการสร้างสายการผลิตแบบลีน จะทำให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น จะส่งต่อการบริหารงานด้านวัตถุดิบ กระบวนการผลิต และผลผลิตให้ได้คุณภาพตามความต้องการของลูกค้า ผู้เกี่ยวข้องหรือข้อกำหนดมาตรฐานที่ตั้งไว้ โดยมีเป้าหมายและลดปัญหาการสูญเสียทั้งวัตถุดิบ ต้นทุนการผลิต เวลาการทำงานและผลผลิต และสามารถสร้างความร่วมมือร่วมใจในการทำงานหรือสร้างผลงานตามเป้าหมาย |
. |
ซึ่งประกอบด้วยผู้บริหาร พนักงาน วิธีการทำงาน เครื่องจักร เครื่องใช้ ระเบียบกฎเกณฑ์ และอื่นๆ โดยการค้นหาจุดอ่อน และหาสาเหตุแห่งปัญหา แล้วระดมปัญญาแก้ไข ปรับปรุงและวางแผนคุณภาพอย่างเป็นระบบ เพื่อการสร้างสายการผลิตแบบลีนบรรลุวัตถุประสงค์ได้ |
. |
เอกสารอ้างอิง |
* การปรับปรุงอย่างต่อเนื่องตามแบบ PDCA, บูรณะศักดิ์ มาดหมาย, วารสาร Productivity World ฉบับที่ 89 พ.ค.-มิ.ย. 51, สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งประเทศไทย |
. |
. |
สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2539 www.thailandindustry.com
Copyright (C) 2009 www.thailandindustry.com All rights reserved.
ขอสงวนสิทธิ์ ข้อมูล เนื้อหา บทความ และรูปภาพ (ในส่วนที่ทำขึ้นเอง) ทั้งหมดที่ปรากฎอยู่ในเว็บไซต์ www.thailandindustry.com ห้ามมิให้บุคคลใด คัดลอก หรือ ทำสำเนา หรือ ดัดแปลง ข้อความหรือบทความใดๆ ของเว็บไซต์ หากผู้ใดละเมิด ไม่ว่าการลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดของบทความนี้ไปใช้ ดัดแปลง โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร จะถูกดำเนินคดี ตามที่กฏหมายบัญญัติไว้สูงสุด