ช่วงทศวรรษ 1970 นักฟิสิกส์ชาวอิสราเอลนามว่า Dr. Eliyahu Goldratt คือ ผู้ไม่มีความรู้ทฤษฎีกระบวนการผลิตแต่ได้ใช้สามัญสำนึกถึงการหยั่งรู้การจัดทำกำหนดการผลิตเพื่อแก้ปัญหาสายการผลิตและได้สร้างซอฟต์แวร์ที่ใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์เพื่อสร้างสถานการณ์จำลอง (Simulation) ซึ่งถูกนำมาใช้ในองค์กรกว่า 100 แห่งในสหรัฐอเมริกาช่วงต้นทศวรรษ 1980 และประสบความสำเร็จในการจัดทำกำหนดการผลิต Dr.Goldratt เรียกแนวทางดังกล่าวว่าทฤษฎีข้อจำกัด (Theory of Constraint) หรือ TOC ได้มีการพัฒนาจาก Optimized Production Technology (OPT) เพื่อใช้วางแผนและควบคุมระดับสายการผลิต
โกศล ดีศีลธรรม |
||||||||||||||||||||||||||||||||
. | ||||||||||||||||||||||||||||||||
. | ||||||||||||||||||||||||||||||||
ช่วงทศวรรษ 1970 นักฟิสิกส์ชาวอิสราเอลนามว่า Dr. Eliyahu Goldratt คือ ผู้ไม่มีความรู้ทฤษฎีกระบวนการผลิตแต่ได้ใช้สามัญสำนึกถึงการหยั่งรู้การจัดทำกำหนดการผลิตเพื่อแก้ปัญหาสายการผลิตและได้สร้างซอฟต์แวร์ที่ใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์เพื่อสร้างสถานการณ์จำลอง (Simulation) ซึ่งถูกนำมาใช้ในองค์กรกว่า 100 แห่งในสหรัฐอเมริกาช่วงต้นทศวรรษ 1980 และประสบความสำเร็จในการจัดทำกำหนดการผลิต |
||||||||||||||||||||||||||||||||
. | ||||||||||||||||||||||||||||||||
Dr.Goldratt ได้เรียกแนวทางดังกล่าวนี้ว่าทฤษฎีข้อจำกัด (Theory of Constraint) หรือ TOC ได้มีการพัฒนาจาก Optimized Production Technology (OPT) เพื่อใช้วางแผนและควบคุมระดับสายการผลิต ซึ่งเป็นแนวทางมุ่งแก้ปัญหาโดยมีเป้าหมายการมุ่งสร้างรายได้สูงสุดด้วยการควบคุมทรัพยากรและกำหนดการผลิตเพื่อให้เกิดสมดุลการไหลและการผลิตที่สอดคล้อง (Synchronous Manufacturing) ซึ่งก่อให้เกิดประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากร |
||||||||||||||||||||||||||||||||
. | ||||||||||||||||||||||||||||||||
ดังเช่น แรงงาน วัสดุ อัตราการใช้เครื่องจักร (Machine Utilization) รวมทั้งเป็นสารสนเทศที่บ่งบอกถึงผลลัพธ์การดำเนินงานทั้งการวัดประสิทธิผลทางการเงิน (Financial Effectiveness) และประสิทธิภาพการดำเนินกิจกรรม (Operation Efficient) เนื่องจากการตัดสินใจในสายการผลิตมีความยุ่งยากเนื่องจากขนาดและความซับซ้อนของปัญหาที่เกิดขึ้น |
||||||||||||||||||||||||||||||||
. | ||||||||||||||||||||||||||||||||
ดังนั้น Dr.Goldratt จึงได้พิจารณาตัวแปรต่าง ๆ โดยเฉพาะทรัพยากรการผลิต (Manufacturing Resource) และจำแนกได้เป็นทรัพยากรคอขวด (Bottleneck Resource) กับทรัพยากรที่ไม่เป็นคอขวด (Non-Bottleneck Resource) |
||||||||||||||||||||||||||||||||
. | ||||||||||||||||||||||||||||||||
โดย Dr.Goldratt ระบุว่าการไหลทั้งระบบจะถูกควบคุมโดยทรัพยากรที่เป็นคอขวดซึ่งทรัพยากรเหล่านี้ควรใช้เวลาเพียงเล็กน้อยกับกิจกรรมที่ไม่ก่อให้เกิดผลิตผล (Non-Productive Activities) ดังเช่น การตั้งเครื่อง การรอคอยงาน และความสูญเสียในเวลาการผลิตที่จุดคอขวดนี้ได้ส่งผลต่อการลดทอนปริมาณผลิตผลของระบบ ขณะที่เวลาสูญเสียกับ Non-Bottleneck นั้นไม่มีผลต่อผลิตผลของระบบ |
||||||||||||||||||||||||||||||||
. | ||||||||||||||||||||||||||||||||
รูปที่ 1 ตัวอย่างปัญหาข้อจำกัดในสายการผลิต |
||||||||||||||||||||||||||||||||
. | ||||||||||||||||||||||||||||||||
ดังนั้น แนวคิด TOC จึงมุ่งระบุข้อจำกัดและปรับปรุงผลกำไรจากการดำเนินงานด้วยการใช้ทรัพยากรที่ไม่เป็นคอขวดสนับสนุนกิจกรรมที่เป็นคอขวด (Bottleneck Activity) เพื่อให้ทั้งกระบวนการเกิดความสอดคล้องกันทั้งระบบ นอกจากนี้ ยังคำนึงถึงรูปแบบข้อจำกัดอื่นที่นอกเหนือจากข้อจำกัดทางเครื่องจักร (Machine Constraint) ดังเช่น ตลาด แรงงาน การเงิน โดยมีแนวคิดลดข้อจำกัดหรือสิ่งที่ขัดขวางการบรรลุเป้าหมายระดับองค์กร ซึ่งเป้าหมายหลักประกอบด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||
. | ||||||||||||||||||||||||||||||||
* การเพิ่มผลิตผลสูงสุด (Maximizing Throughput) ที่มักแสดงด้วยยอดการขาย |
||||||||||||||||||||||||||||||||
. | ||||||||||||||||||||||||||||||||
|
||||||||||||||||||||||||||||||||
. | ||||||||||||||||||||||||||||||||
ดังนั้น แนวคิดการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องที่พัฒนาโดย Dr.Eliyahu M.Goldratt เพื่อสนับสนุนการแก้ปัญหาที่เกิดจากข้อจำกัดของระบบ ประกอบด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||
. | ||||||||||||||||||||||||||||||||
* การบริหารการผลิต (Production Management) โดยช่วงเริ่มต้นของการพัฒนา TOC ได้มีการประยุกต์เพื่อแก้ปัญหาในสายการผลิต เช่น ปัญหาคอขวด กำหนดการผลิต และการลดระดับสต็อก เป็นต้น |
||||||||||||||||||||||||||||||||
. | ||||||||||||||||||||||||||||||||
* วิเคราะห์ผลิตผล (Throughput Analysis) การประยุกต์ TOC ได้ส่งผลให้เกิดการปรับกระบวนทัศน์เพื่อการตัดสินใจจากรูปแบบตัดสินใจตามฐานต้นทุน (Cost-Based Decision Making) สู่การตัดสินใจที่มุ่งการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง โดยพิจารณาจากองค์ประกอบหลัก นั่นคือ ผลิตผลของระบบ (System Throughput) ข้อจำกัดของระบบ (System Constraints) และกำลังความสามารถที่จุดวิกฤติ (Capacities at Critical Points) | ||||||||||||||||||||||||||||||||
. | ||||||||||||||||||||||||||||||||
* กระบวนการโลจิกของทฤษฎีข้อจำกัด (Theory of Constraints Logical Processes) โดยมุ่งแก้ปัญหาจากกระบวนการภายในองค์กร ดังนั้นกระบวนการ TOC จึงถูกใช้ระบุปัจจัยที่เป็นข้อจำกัดขององค์กรเพื่อระบุแนวทางแก้ปัญหา |
||||||||||||||||||||||||||||||||
. | ||||||||||||||||||||||||||||||||
. | ||||||||||||||||||||||||||||||||
โดยทั่วไปข้อจำกัดจำแนกได้เป็น 2 ประเภท คือ | ||||||||||||||||||||||||||||||||
* ข้อจำกัดทางกายภาพ (Physical Constraint) ประกอบด้วยข้อจำกัดที่เกิดจากกำลังการผลิตของเครื่องจักร กระบวนการ วัตถุดิบ และความพร้อมทางแรงงาน |
||||||||||||||||||||||||||||||||
. | ||||||||||||||||||||||||||||||||
* ข้อจำกัดที่ไม่ใช่ทางกายภาพ (Non-Physical Constraint) ดังเช่น ความต้องการของลูกค้า ระเบียบวิธีปฏิบัติงาน นโยบายองค์กร กระบวนทัศน์ ความคิดเห็น และการฝึกอบรม |
||||||||||||||||||||||||||||||||
. | ||||||||||||||||||||||||||||||||
สำหรับการควบคุมข้อจำกัดประกอบด้วยกระบวนการหลัก ดังนี้ | ||||||||||||||||||||||||||||||||
1. การระบุปัจจัยที่ก่อให้เกิดปัญหาข้อจำกัดขึ้นในระบบ |
||||||||||||||||||||||||||||||||
. | ||||||||||||||||||||||||||||||||
3. จัดสรรทรัพยากรเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย เนื่องจากข้อจำกัดได้ส่งผลให้เกิดการขัดจังหวะการไหลในระบบและจัดสรรทรัพยากรเพื่อสนับสนุนการแก้ปัญหาให้งานเกิดการไหลอย่างต่อเนื่อง |
||||||||||||||||||||||||||||||||
. | ||||||||||||||||||||||||||||||||
4. ลดผลกระทบจากข้อจำกัดของระบบ โดยดำเนินการตั้งแต่ขั้นตอน 1-3 |
||||||||||||||||||||||||||||||||
. | ||||||||||||||||||||||||||||||||
รูปที่ 2 กระบวนการตามแนวทาง TOC |
||||||||||||||||||||||||||||||||
. | ||||||||||||||||||||||||||||||||
โดยทั่วไปข้อจำกัดองค์กรส่วนใหญ่มักเป็นเกี่ยวกับนโยบาย (Policy Constraints) มากกว่าข้อจำกัดทางกายภาพ ดังนั้นจึงไม่น่าแปลกใจเลยเมื่อการแก้ไขปัญหาเสร็จสิ้นก็มักเกิดปัญหาเดิมซ้ำอย่างต่อเนื่อง หากไม่ดำเนินการทบทวนแก้ไขระเบียบและวิธีการทำงานที่เป็นสาเหตุข้อจำกัดขององค์กร |
||||||||||||||||||||||||||||||||
. | ||||||||||||||||||||||||||||||||
ปัจจัยวัดผลการดำเนินงาน | ||||||||||||||||||||||||||||||||
การประกอบธุรกิจไม่ว่าจะเป็นการผลิตสินค้าหรือการให้บริการผู้ประกอบการทุกราย ได้มุ่งสร้างผลกำไรสูงสุด ดังคำกล่าวว่า "The goal of a firm is to make profit" ซึ่งเป็นตัวชี้วัดผลการดำเนินธุรกิจ ดังนั้นผู้บริหารองค์กรจึงมุ่งให้ความสนใจต่อการบริหารทรัพยากรที่เป็นปัจจัยนำเข้าให้เกิดการแปรรูปเป็นสินค้า ส่วนการวัดผลการดำเนินงานตามแนวทาง TOC ประกอบด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||
. | ||||||||||||||||||||||||||||||||
* ปริมาณมูลค่าผลิตผล (Throughput) คือ รายได้หรือผลกำไรที่ไหลเข้าสู่ระบบซึ่งเกิดจากการขายสินค้า ตามแนวคิดห่วงโซ่คุณค่าของ Porter ได้กล่าวถึงส่วนต่างระหว่างรายได้กับต้นทุนหรือผลกำไร (Profit Margin) ที่เกิดจากผลการดำเนินงานได้ขึ้นกับความสามารถบริหารกิจกรรมห่วงโซ่คุณค่าให้มีความเชื่อมโยงระหว่างกันหรืออาจกล่าวได้ว่าผลตอบแทนจากการดำเนินงานขององค์กร โดยพิจารณาจากกำไรขั้นต้น นั่นคือ ราคาขาย - ค่าวัตถุดิบ สำหรับค่าแรงงานได้ถูกจำแนกไว้ในส่วนของต้นทุนดำเนินงาน |
||||||||||||||||||||||||||||||||
. | ||||||||||||||||||||||||||||||||
* สินค้าคงคลัง (Inventory) คือ เงินทุนที่ถูกใช้เพื่อลงทุนในกิจกรรมการผลิตแต่ยังไม่เกิดการสร้างรายได้จากการขาย ซึ่งแสดงด้วยสินค้าสำเร็จรูปหรืองานระหว่างผลิตและสินทรัพย์ต่าง ๆ เช่น เครื่องจักร โรงงาน ที่ดิน และอาคาร เป็นต้น |
||||||||||||||||||||||||||||||||
. | ||||||||||||||||||||||||||||||||
* ต้นทุนดำเนินงาน (Operating Expenses) คือ เงินทุนที่ถูกใช้สำหรับแปรสภาพสินค้าคงคลังให้เป็น Throughput ประกอบด้วย ค่าแรงงานทางตรงและทางอ้อม ค่าวัสดุสิ้นเปลือง ค่าบริหารจัดการ ค่าน้ำ ค่าไฟฟ้า และค่าโสหุ้ยการผลิต |
||||||||||||||||||||||||||||||||
. | ||||||||||||||||||||||||||||||||
. | ||||||||||||||||||||||||||||||||
โดยทั่วไปการวัดผลประกอบการขององค์กรได้ใช้ตัววัดผลหลัก ประกอบด้วย | ||||||||||||||||||||||||||||||||
|
||||||||||||||||||||||||||||||||
. | ||||||||||||||||||||||||||||||||
ความสัมพันธ์สำหรับวัดผลประกอบการได้แสดงว่าหากต้องการบรรลุเป้าหมายจะต้องดำเนินการเพิ่ม Throughput ด้วยการลดระดับสต็อกสินค้าคงคลังและต้นทุนดำเนินงาน หากเกิดการปรับเปลี่ยนมาตรวัด TOC นั่นคือ Throughput Inventory และ Operating Expense ก็จะส่งผลกระทบโดยตรงกับมาตรวัดผลทางการเงิน นั่นคือ ผลกำไรสุทธิและผลตอบแทนจากสินทรัพย์ (Return on Assets) หรือ ROA แสดงด้วยความสัมพันธ์ดังนี้ |
||||||||||||||||||||||||||||||||
. | ||||||||||||||||||||||||||||||||
Net Profit = (Throughput-Operating Expense) ROA = (Throughput-Operating Expense)/Investment |
||||||||||||||||||||||||||||||||
. | ||||||||||||||||||||||||||||||||
รูปที่ 3 การวัดผลตามแนวทาง TOC |
||||||||||||||||||||||||||||||||
. | ||||||||||||||||||||||||||||||||
สำหรับมาตรวัดสำคัญที่สุดสำหรับ TOC ประกอบด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||
. | ||||||||||||||||||||||||||||||||
โดยอัตราส่วนตัวนี้ได้มีความสัมพันธ์ใกล้เคียงกับอัตราหมุนของสินทรัพย์ (Asset Turnover) แต่มีจุดแตกต่าง นั่นคือ TOC ได้ใช้ค่า Throughput แทนยอดขายที่ถูกแสดงด้วยอัตราส่วนทางการเงินทั่วไป นั่นหมายถึง TOC ได้ให้ความสำคัญกับ Throughput มากกว่ายอดขาย เนื่องจาก Throughput เป็นส่วนที่สร้างคุณค่าเพิ่มทางการเงินหรืออาจกล่าวว่า "Throughput is the financial value-added portion of sales" |
||||||||||||||||||||||||||||||||
. | ||||||||||||||||||||||||||||||||
ตามหลักการ TOC ได้กล่าวว่าผลลัพธ์ของระบบใด ๆ ก็ตาม ประกอบด้วยหลายขั้นตอน (Multiple Steps) โดยผลลัพธ์จากขั้นตอนหนึ่งอาจผ่านขั้นตอนก่อนมากกว่าหนึ่งขั้นตอน แต่อย่างน้อยจะต้องประกอบด้วยหนึ่งขั้นตอนที่สร้างผลิตผล (Productive Steps) หรือกล่าวได้ว่าความแข็งแกร่งของกระบวนการได้ขึ้นกับจุดเชื่อมต่อที่อ่อนแอที่สุด (Weakest Link) |
||||||||||||||||||||||||||||||||
. | ||||||||||||||||||||||||||||||||
ซึ่งหากต้องการปรับปรุงสมรรถนะกระบวนการจะต้องเพิ่ม Throughput โดยลดระดับสินค้าคงคลังและต้นทุนดำเนินงานลงเนื่องจากองค์กรส่วนใหญ่ได้ให้ความสำคัญกับปัจจัยภายในองค์กรโดยไม่คำนึงถึงองค์ประกอบภายนอกโดยเฉพาะองค์กรคู่ค้า ซึ่งแต่ละองค์กรได้ใช้ประโยชน์จากสินทรัพย์ (Asset Utilization) สูงสุดจึงทำให้เกิดการผลิตแต่ละรุ่นปริมาณมาก (Large Batch) และส่งผลให้เกิดปัญหาความผันผวนในการตอบสนองอุปสงค์ของตลาด |
||||||||||||||||||||||||||||||||
. | ||||||||||||||||||||||||||||||||
ดังนั้นการบริหารกระบวนการเพื่อสร้างสมดุลระหว่างอุปสงค์กับอุปทานจึงไม่ใช่เพียงแค่มุ่งใช้ประโยชน์จากการเดินเครื่องจักรอย่างเต็มกำลังการผลิต แต่ควรสร้างความยืดหยุ่นในกำลังการผลิตและความหลากหลายในผลิตภัณฑ์เพื่อตอบสนองความเปลี่ยนแปลงอุปสงค์และสร้างโอกาสขยายช่องทางตลาด |
||||||||||||||||||||||||||||||||
. | ||||||||||||||||||||||||||||||||
มาตรวัดประสิทธิผลการดำเนินงาน | ||||||||||||||||||||||||||||||||
เนื่องจากองค์ประกอบการวัดผล เป็นมาตรวัดพื้นฐานสำหรับการตัดสินใจ โดยเฉพาะความร่วมมือระหว่างคู่ค้าเพื่อการตัดสินใจระยะสั้นหรือแบบรายวัน (Day-to-Day) โดยใช้ Throughput เป็นเป้าหมายวัดผลและตัดสินใจให้เกิดความสอดคล้องทั้งอุปสงค์กับอุปทาน ส่วนมาตรวัดที่ใช้ตัดสินใจปฏิบัติการ (Operational Metrics) แสดงด้วยอัตราส่วน ดังนี้ |
||||||||||||||||||||||||||||||||
. | ||||||||||||||||||||||||||||||||
1. ผลิตผลหรือผลตอบแทนเทียบกับต้นทุนดำเนินงาน (T/OE) เป็นการวัดผลิตภาพโดยรวม (Total Productivity) โดยแสดงผลตอบแทนทางการเงินที่ได้รับจากต้นทุนดำเนินงาน หากผลลัพธ์แสดงด้วยอัตราส่วนสูงขึ้นและเกิดต้นทุนดำเนินงานต่ำ นั่นหมายถึง เกิดผลกำไรขั้นต้นสูงและเกิดความสูญเปล่าจากการดำเนินงานต่ำ |
||||||||||||||||||||||||||||||||
. | ||||||||||||||||||||||||||||||||
2. ผลิตผลหรือผลตอบแทนเทียบกับสินค้าคงคลัง (T/I) แสดงด้วยความเร็วการหมุนรอบสินค้าคงคลัง นั่นคือ อัตราส่วน T/I ได้ใช้วัดประสิทธิผลการแปลงระดับสินค้าคงคลังให้เกิดผลตอบแทนและหากอัตราส่วนดังกล่าวสูงขึ้น นั่นคือ ผลิตภัณฑ์ได้มีความรวดเร็วในการเข้าสู่ตลาดหรือสามารถตอบสนองต่อตลาดได้รวดเร็วด้วยช่วงเวลานำการผลิตที่สั้น |
||||||||||||||||||||||||||||||||
. | ||||||||||||||||||||||||||||||||
. | ||||||||||||||||||||||||||||||||
แต่หากพิจารณาการวัดผลตามมุมมองทางการเงิน จะพบว่าการประหยัดต้นทุนดำเนินงานหรือผลตอบแทนที่ได้รับจะมีผลกระทบต่อกำไรสุทธิ (Net Profit) และผลตอบแทนจากสินทรัพย์ (ROA) เท่ากัน แต่การวัดผลด้วยความสัมพันธ์ขององค์ประกอบ T, I และ OE จะมีมุมมองแตกต่างกัน นั่นคือ ค่า Throughput จะมีผลต่อความเปลี่ยนแปลงกำไรสุทธิและอัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์หรือมีความไวสูงกว่าความเปลี่ยนแปลงจากต้นทุนดำเนินงานและสินค้าคงคลังหรือระดับการลงทุน |
||||||||||||||||||||||||||||||||
. | ||||||||||||||||||||||||||||||||
รูปที่ 4 ผลการดำเนินงานทางการเงิน |
||||||||||||||||||||||||||||||||
. | ||||||||||||||||||||||||||||||||
โดยรูปที่ 4 แสดงตัวอย่างผลลัพธ์ทางการเงินทั่วไป หากพิจารณาความไวของผลกำไรสุทธิ (Net Profit Sensitivity) ด้วยการลดต้นทุนค่าวัสดุพบว่าผลกำไรสุทธิ คือ $5,750,000 ซึ่งสูงกว่าผลกำไรเดิม 15% นั่นแสดงถึง Throughput มีผลต่อความไวจากความเปลี่ยนแปลงกำไรสุทธิสูงกว่า I และ OE ดังรูปที่ 5 |
||||||||||||||||||||||||||||||||
. | ||||||||||||||||||||||||||||||||
รูปที่ 5 ผลลัพธ์หลังการวิเคราะห์ความไว |
||||||||||||||||||||||||||||||||
. | ||||||||||||||||||||||||||||||||
เนื่องจากช่วงเวลาที่ผ่านมา มาตรฐานระบบบัญชีต้นทุนได้ถูกใช้สนับสนุนการตัดสินใจ แต่เนื่องจากระบบบัญชีต้นทุนแบบเดิม (Traditional Accounting) ได้ทำให้เกิดความบิดเบือนซึ่งไม่สามารถสะท้อนต้นทุนแท้จริงจึงไม่เหมาะกับการตัดสินใจ โดยเฉพาะการวัดผลด้วยระบบต้นทุนแบบเดิม ได้ถูกใช้เมื่อค่าแรงงานทางตรงเป็นองค์ประกอบหลักของต้นทุนการผลิต |
||||||||||||||||||||||||||||||||
. | ||||||||||||||||||||||||||||||||
ดังนั้นมาตรฐานจึงได้ถูกพัฒนาสำหรับควบคุมกิจกรรมแรงงานทางตรงและต้นทุนทางอ้อมได้ถูกจัดสรรให้กับหน่วยผลิตภัณฑ์ ซึ่งแนวทางดังกล่าวเหมาะกับการผลิตแบบปริมาณมาก (Mass Production) ที่มีรูปแบบผลิตภัณฑ์ไม่หลากหลายด้วยเหตุนี้ระบบบัญชีต้นทุนสำหรับ TOC จึงถูกเรียกว่า "Throughput Accounting" ซึ่งความแตกต่างจากระบบบัญชีต้นทุนแบบเดิม (ต้นทุนมาตรฐาน) |
||||||||||||||||||||||||||||||||
. | ||||||||||||||||||||||||||||||||
โดย TOC สนับสนุนให้เกิดการปรับเปลี่ยนจากการบริหารต้นทุนระดับจุลภาคสู่การบริหาร Throughput เพื่อให้เกิดประสิทธิผลต่อการตัดสินใจกับทรัพยากรคอขวดให้เกิดผลิตผลสูงสุด โดยระบุให้วัสดุเป็นต้นทุนผันแปร |
||||||||||||||||||||||||||||||||
. | ||||||||||||||||||||||||||||||||
. | ||||||||||||||||||||||||||||||||
ดังนั้น TOC จึงไม่ได้มุ่งจัดสรรต้นทุนคงที่ให้กับผลิตภัณฑ์ แต่ใช้ผลกำไรต่อหน่วยเวลาของทรัพยากรที่เป็นข้อจำกัดสำหรับตัดสินใจการดำเนินงานและการตั้งราคาผลิตภัณฑ์ (Product Pricing) โดยใช้ต้นทุนแรงงานทางตรงรวมเข้ากับต้นทุนดำเนินงาน โดยผู้บริหารได้พิจารณาปัจจัยนอกเหนือจากต้นทุนทางตรงสำหรับการตั้งราคาให้สอดคล้องกับราคาตลาดและเกิดประสิทธิผลกลยุทธ์แข่งขันด้วยราคา |
||||||||||||||||||||||||||||||||
. | ||||||||||||||||||||||||||||||||
ซึ่งเป็นแนวทางที่มีประสิทธิผลกว่าการใช้เพียงต้นทุนค่าวัสดุสำหรับตั้งราคา ดังนั้นหลายกรณีของการตัดสินใจที่กำลังการผลิตได้ถูกกำหนดไว้คงที่และส่งผลให้ต้นทุนรวมเกี่ยวกับกำลังการผลิตมีค่าคงที่ด้วยจึงมีเพียงต้นทุนวัสดุเท่านั้นที่สามารถผันแปรได้ |
||||||||||||||||||||||||||||||||
. | ||||||||||||||||||||||||||||||||
ด้วยเหตุนี้ผลลัพธ์จากการตัดสินใจระยะสั้นจึงมุ่งสร้างรายได้สูงสุดบนข้อจำกัดเหล่านี้ โดยมุ่งเป้าหมายที่ประสิทธิผลสูงสุดด้วยการใช้ TOC สนับสนุนการวัดผลิตผล(Throughput Measurement) อย่างไรก็ตามต้นทุนเหล่านี้ได้รวมถึงต้นทุนดำเนินงานที่อาจมีความผันแปรสำหรับการดำเนินงานระยะยาว โดย TOC ได้มุ่งเน้นปริมาณผลิตผลสูงสุดที่จุดคอขวดในช่วงระยะสั้นและดำเนินการขจัดข้อจำกัดเหล่านี้ตามแผนระยะยาว |
||||||||||||||||||||||||||||||||
. | ||||||||||||||||||||||||||||||||
สำหรับองค์กรที่ผลิตสินค้าซึ่งประกอบด้วยชิ้นส่วนซับซ้อนมักพิจารณาปัจจัยต้นทุนเพื่อตัดสินใจว่าจะผลิตเองหรือจัดซื้อจากผู้รับจ้าง (Make or Buy Decision) สมมติให้องค์กรแห่งหนึ่งผลิตสินค้า X และ Y พิจารณาให้มีการรับช่วงชิ้นส่วน Y ที่ใช้เวลาแปรรูป 15 นาที่จากรอบเวลารวม 65 นาที แสดงกระบวนการตัดสินใจด้วยต้นทุนมาตรฐานโดยกำหนดกำไรต่อหน่วยเป็นเกณฑ์ตัดสินใจและค่าแรงงาน $10 ต่อชั่วโมง |
||||||||||||||||||||||||||||||||
. | ||||||||||||||||||||||||||||||||
(a) ต้นทุนแบบเดิม (Traditional Costing) |
||||||||||||||||||||||||||||||||
ข้อมูลแสดงในตารางสนับสนุนการตัดสินใจโดยเลือกที่จะผลิตเองสำหรับ Y เนื่องจากให้ผลกำไรต่อหน่วยสูงกว่าการจ้างผลิตจากภายนอก |
||||||||||||||||||||||||||||||||
. | ||||||||||||||||||||||||||||||||
(b) แนวทางแบบ TOC |
||||||||||||||||||||||||||||||||
1แทนด้วยผลกำไรที่สร้างขึ้นโดยข้อจำกัดเวลา (Profit generated by unit constraint time) |
||||||||||||||||||||||||||||||||
. | ||||||||||||||||||||||||||||||||
เมื่อพิจารณาตามแนวทาง TOC จึงตัดสินใจจ้างผู้ผลิตภายนอกแม้ว่ากำไรต่อหน่วยต่ำกว่าก็ตามแต่เมื่อเทียบอัตราผลกำไรต่อข้อจำกัดเวลาแล้วแสดงว่าการจัดจ้างให้อัตรากำไรสูงกว่าเมื่อพิจารณาจากปัจจัยเวลา |
||||||||||||||||||||||||||||||||
. | ||||||||||||||||||||||||||||||||
. | ||||||||||||||||||||||||||||||||
การประยุกต์ Throughput Accounting เพื่อการตัดสินใจลงทุน | ||||||||||||||||||||||||||||||||
* บริษัท TOC จำกัด ได้ดำเนินธุรกิจขนส่งเพื่อส่งมอบสินค้าให้ลูกค้าปลายทาง โดยมีมาตรวัดคุณภาพการให้บริการประกอบด้วย a).เวลาที่ถูกใช้ในการขนส่ง b).การส่งมอบที่ตรงเวลา และc).ปริมาณของเสียหายระหว่างจัดส่ง ดังนั้น TOC จึงได้พิจารณาการลงทุนจัดซื้อระบบติดตามที่มีค่าใช้จ่ายต่อปี 1.6 ล้านบาท เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงาน ตามมาตรวัด b). และ c). โดยแสดงข้อมูลเปรียบเทียบผลลัพธ์จากการติดตั้งระบบใหม่เทียบกับระบบปัจจุบัน ดังนี้ |
||||||||||||||||||||||||||||||||
. | ||||||||||||||||||||||||||||||||
. | ||||||||||||||||||||||||||||||||
ผลลัพธ์ข้อมูลดังกล่าวทำให้ TOC คาดหวังว่าสัดส่วนแต่ละเปอร์เซ็นต์ที่เพิ่มขึ้นจากการส่งมอบตรงเวลาได้ส่งผลลัพธ์ต่อรายได้ที่เพิ่มขึ้น 200,000 บาทต่อปี ตามรายงานผลการดำเนินงานของ TOC พบว่ามีกำไรขั้นต้น 45 % จากข้อมูลเหล่านี้ให้พิจารณาว่า |
||||||||||||||||||||||||||||||||
. | ||||||||||||||||||||||||||||||||
Sol. 1. ต้นทุนที่เพิ่มขึ้นจากการใช้ระบบติดตาม คือ 1.6 ล้านบาทต่อปี โดยผลตอบแทนรายปีที่ควรได้รับจากระบบใหม่นี้ คือ | ||||||||||||||||||||||||||||||||
|
||||||||||||||||||||||||||||||||
. | ||||||||||||||||||||||||||||||||
ผลตอบแทนที่ได้รับจากการติดตั้งระบบติดตามสูงกว่าเงินลงทุน ดังนั้นจึงตัดสินใจลงทุนระบบติดตามที่ได้เสนอ | ||||||||||||||||||||||||||||||||
. | ||||||||||||||||||||||||||||||||
Sol. 2. ผลต่างจากการลงทุนที่เกิดขึ้น 400,000 บาท เกิดจากการลงทุนติดตั้งระบบ 1.6 ล้านบาท หักกับ ต้นทุนผันแปรลดลงเนื่องจากความเสียหายลดลง 1.2 ล้านบาท ดังนั้นรายได้ขั้นต่ำเพื่อให้คุ้มค่ากับการลงทุน คือ 400000/0.45 = 888,888 บาท |
||||||||||||||||||||||||||||||||
. | ||||||||||||||||||||||||||||||||
กรณีศึกษา: การประยุกต์ Throughput Accounting สำหรับอุตสาหกรรม | ||||||||||||||||||||||||||||||||
ผู้ผลิตชิ้นส่วนให้กับธุรกิจยานยนต์แห่งหนึ่งได้มีแผนปรับเปลี่ยนรูปแบบการผลิตเพื่อให้ผลิตภัณฑ์มีความหลากหลายและผลิตตามอุปสงค์ตลาด ดังนั้นผู้เชี่ยวชาญฝ่ายบัญชีจึงได้ออกแบบระบบบัญชีให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงด้วยแนวทาง Throughput Accounting สนับสนุนการตัดสินใจ โดยแสดงรายละเอียดรายได้จากการดำเนินงาน (Throughput Operating Income Statement) ดังนี้ |
||||||||||||||||||||||||||||||||
. | ||||||||||||||||||||||||||||||||
|
||||||||||||||||||||||||||||||||
. | ||||||||||||||||||||||||||||||||
ดังนั้นเพื่อสร้างผลกำไรให้กับธุรกิจทางผู้บริหารจึงได้ปรับเปลี่ยนขนาดรุ่นการผลิตให้เหมาะสม (Optimized the Batch Size) เพื่อลดภาระการเดินเครื่องจักรที่เป็นคอขวด (Bottleneck Machines) ด้วยการย้ายภาระงานส่วนเกินไปยังเครื่องที่มีกำลังการผลิตส่วนเกิน สำหรับแรงงานประจำเครื่องประเภท Non-Bottleneck Operations จะไม่ดำเนินการผลิตเกินกว่าที่ระบุไว้ในกำหนดการเพื่อให้เกิดการผลิตแบบสอดคล้อง (Synchronous Manufacturing) และป้องกันไม่ให้เกิดงานค้างระหว่างผลิต (WIP) |
||||||||||||||||||||||||||||||||
. | ||||||||||||||||||||||||||||||||
นอกจากนี้ยังได้ฝึกอบรมพัฒนาทักษะผู้ปฏิบัติงานและปลูกฝังแนวคิดการบริหารคุณภาพแบบ TQM รวมทั้งการนำระบบวัดผลที่ใช้ตัวชี้วัดทาง Non-Financial ดังเช่น ต้นทุนคุณภาพ อัตราการส่งมอบให้ลูกค้า อัตราการหมุนสินค้าคงคลังและช่วงเวลานำการผลิตเพื่อสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าสูงสุด รวมทั้งพัฒนาผลิตภาพให้กับองค์กร ซึ่งทำให้กระแสเงินสด ความสามารถทำกำไรและผลตอบแทนจากการลงทุนสูงขึ้น |
||||||||||||||||||||||||||||||||
. | ||||||||||||||||||||||||||||||||
. |
สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2539 www.thailandindustry.com
Copyright (C) 2009 www.thailandindustry.com All rights reserved.
ขอสงวนสิทธิ์ ข้อมูล เนื้อหา บทความ และรูปภาพ (ในส่วนที่ทำขึ้นเอง) ทั้งหมดที่ปรากฎอยู่ในเว็บไซต์ www.thailandindustry.com ห้ามมิให้บุคคลใด คัดลอก หรือ ทำสำเนา หรือ ดัดแปลง ข้อความหรือบทความใดๆ ของเว็บไซต์ หากผู้ใดละเมิด ไม่ว่าการลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดของบทความนี้ไปใช้ ดัดแปลง โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร จะถูกดำเนินคดี ตามที่กฏหมายบัญญัติไว้สูงสุด