เนื้อหาวันที่ : 2009-08-14 17:29:52 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 9684 views

มารู้จักสายใยแก้วนำแสง (ตอนจบ)

จุดสไปล์ซโดยปกติจะอยู่ในตำแหน่งที่เรียกว่าสไปล์ซิ่งเซนเตอร์ (Splicing Center) สไปล์ซิ่งเทรย์ถูกออกแบบเพื่อเป็นสถานที่ที่สะดวกในการจัดเก็บป้องกันสายใยแก้วนำแสงรวมทั้งจุดสไปล์ซและยังการลดความเครียดเมื่อมีการขยับของจุดสไปล์ซ สไปล์ซิ่งเทรย์สามารถถูกติดตั้งเป็นจุดจุดระหว่างช่วงแนวเดินสายใยแก้วนำแสง ที่ต้องถูกเชื่อมต่อเข้าหากันหรือเข้าหัวสายใยแก้วนำแสงและตำแหน่งแพทช์พาเนลที่ปลายของสายใยแก้วนำแสง

การสื่อสารข้อมูลในงานอุตสาหกรรม 
ตอนที่ 5 มารู้จักสายใยแก้วนำแสง (ตอนจบ)

.

พิชิต จินตโกศลวิทย์
pichitor@yahoo.com

.

.
สไปล์ซิ่งเทรย์/ตัวออร์กาไนเซอร์ และ ตู้เทอร์มิเนชั่น

การจัดเก็บสายใยแก้วนำแสงที่ถูกสไปล์ซและเข้าหัวสายให้มีความเรียบร้อยมีส่วนประกอบดังต่อไปนี้

.
1. สไปล์ซิ่งเทรย์

จุดสไปล์ซโดยปกติจะอยู่ในตำแหน่งที่เรียกว่าสไปล์ซิ่งเซนเตอร์ (Splicing Center) สไปล์ซิ่งเทรย์ถูกออกแบบเพื่อเป็นสถานที่ที่สะดวกในการจัดเก็บป้องกันสายใยแก้วนำแสงรวมทั้งจุดสไปล์ซและยังการลดความเครียดเมื่อมีการขยับของจุดสไปล์ซ

.

สไปล์ซิ่งเทรย์สามารถถูกติดตั้งเป็นจุดจุดระหว่างช่วงแนวเดินสายใยแก้วนำแสง ที่ต้องถูกเชื่อมต่อเข้าหากันหรือเข้าหัวสายใยแก้วนำแสงและตำแหน่งแพทช์พาเนลที่ปลายของสายใยแก้วนำแสง สายเคเบิลขาเข้าหรืออินคัมมิ่ง (Incoming) จะถูกนำเข้าไปในสไปล์ซิ่งเซนเตอร์โดยที่ชีทหรือเปลือกหุ้มของสายใยนำแสงถูกปลอกออกเหลือแต่ใยแก้วนำแสงและถูกขดเป็นวงตามแนวเทรย์เข้าไปในตัวสไปล์ซิ่งโฮล์เดอร์ (Splicing Holder) สำหรับยึดใยแก้ว ชนิดการสไปล์ซิ่งที่แตกต่างจะใช้ชนิดของโฮล์เดอร์ที่แตกต่างกัน สายใยแก้วนำแสงจะถูกสไปล์ซเข้ากับสายใยแก้วนำแสงขาออก (Ongoing Cable) ที่ตัวสไปล์ซิ่งโฮล์เดอร์ 

.

รูปที่ 6 สไปล์ซิ่งเทรย์

.

ทางกายภาพ สายใยแก้วนำแสงถูกจัดเก็บไว้ในเทรย์เพื่อลดแรงดึงสาย โดยปกติสายใยแก้วนำแสงจะเข้าไปในเทรย์ด้านหนึ่งด้านใดเพื่อความสะดวกในการเคลื่อนย้ายตู้เทรย์ สายใยแก้วนำแสงจะถูกขดเก็บไว้ตามเทรย์เพื่อสำรองความยาวสายในกรณีที่ต้องการความเปลี่ยนแปลงตำแหน่งในอนาคต และยังช่วยลดแรงดึงที่จุดที่ทำการสไปล์ซสาย แต่ละจุดต่อสไปล์ซจะถูกหุ้มด้วยตัวสไปล์ซโปรเทคเตอร์ (ซึ่งเป็นท่อพลาสติก) หรือในท่อหด (Heat Shrink) ก่อนที่ถูกยึดติดกับตัวโฮล์เดอร์ สไปล์ซิ่งเทรย์อาจจะมีแผ่นแพทช์ซึ่งมีไว้สำหรับการทำไขว้สาย หรือ การทดสอบลูปแบ็ค (Looped Back) สายสัญญาณ

.
2. สไปล์ซิ่งเอนโคลสเซอร์ (Splicing Enclosure)

สไปล์ซิ่งเทรย์ไม่ได้ถูกออกแบบเพื่อให้อยู่ในสภาพแวดล้อมเปิดดังนั้นมันต้องถูกเก็บภายในเอนโคลสเซอร์ ชนิดเอนโคลสเซอร์ที่ถูกใช้จะขึ้นอยู่กับชนิดระบบงานดังต่อไปนี้ 

.
• ท่อไซลินเดอร์แบบฝังโดยตรง  (Direct Buried Cylinder)

จุดสไปล์ซระหว่างกลางสายสัญญาณถูกเชื่อมต่อเพื่อให้สายสัญญาณยาวตลอดทั้งเส้นสามารถถูกฝังในดินโดยตรงด้วยการติดตั้งสไปล์ซเทรย์ในตัวเอนโคลสเซอร์ที่ถูกปิดผนึกอย่างดี โดยทั่วไปเอนโคลสเชอร์ถูกสร้างพลาสติกคุณภาพสูงหรืออลูมิเนียม ตัวคอนเทนเนอร์ (Container) จะถูกปิดผนึกอย่างสมบูรณ์จากความชื้นและยังมีสารดูดความชื้น (Desiccant Pack) เพื่อกำจัดความชื้นใด ๆ ที่อาจหลุดลอดเข้าไปด้านในได้ โดยทั่วไปจะมีรูปร่างเป็นท่อทรงกระบอกที่สามารถฝังโดยตรงดังรูปที่ 7 จำไว้ว่าโดยปกติแล้วสายใยแก้วนำแสงจะเข้าออกตัวเอนโคลสเซอร์ทางด้านใดด้านหนึ่งซึ่งเป็นด้านเดียวกันเท่านั้นเพื่อที่จะยกเอนโคลสเชอร์จากดินได้โดยง่ายกว่า

.

รูปที่ 7 สไปล์ซิ่งเอนโคลสเชอร์แบบฝังดินโดยตรง

.
• เทอร์มิเนชั่นคาบิเนต (Termination Cabinet)

เป็นจุดเชื่อมต่อจังค์ชั่น (Junction Point) ที่มีสายสัญญาณหลาย ๆ เส้นเข้ารวมตัวกัน สไปล์ซิ่งเทรย์จะถูกจัดเก็บไว้ช่องด้านในที่มีขนาดใหญ่กว่า (ประมาณ 500 mm x 500mm x 10 mm) พร้อมด้วยฝาบานพับ (Hinged Door) สำหรับการเปิดทำการบำรุงรักษาจากภายนอก โดยปกติตู้คาบิเนตต้องถูกปิดผนึกเพื่อป้องกันสภาพอากาศหรือสภาพแวดล้อมเลวร้าย ดังรูปที่ 8 แสดงสไปล์ซิ่งเทรย์ในเทอร์มิเนชั่นคาบิเนต

.
• แพทช์พาเนลและดิสทริบิวชั่นเฟรม (Patch Panel and Distribution Frame)

สไปล์ซเทรย์สามารถถูกติดตั้งในฝาข้างในของแพทช์พาเนลและดิสทริบิวชั่นเฟรมถูกใช้เพื่อเชื่อมต่อสายแพทซ์คอร์ดไปยังสายสัญญาณหลัก (Incoming Cable)

.
3. เทอร์มิเนชั่นในแพทช์พาเนลและดิสทริบิวชั่นเฟรม

สามวิธีการหลักในการเชื่อมต่อสายอินคัมมิ่งเข้ากับแพทช์พาเนลหรือดิสทริบิวชั่นเฟรม อันดับแรกถ้าสายอินคัมมิ่งเป็นสายใยแก้วนำแสงที่มีรัศมีการงอที่มากกว่า (Bending Radius) จะเป็นการดีที่จะทำการสไปล์ซใยแก้วแต่ละคอร์เข้ากับแพทช์คอร์ดที่มีรัศมีการงอน้อยกว่า วิธีการนี้สามารถลดความเครียดของสายใยแก้วอินคัมมิ่ง แต่มันสามารถสร้างการสูญเสียขนาดเล็ก ๆ ได้ วิธีการนี้สามารถแทนที่ใยแก้วที่แตกง่ายของสายอินคัมมิ่งด้วยสายใยแก้วของแพทช์คอร์ดที่ยืดหยุ่นและแข็งแรงกว่า รูปที่ 8 แสดงรูปของแพทช์พาเนล

.

รูปที่ 8 เทอร์มิเนชันคาบิเนคที่มีสไปล์ซิ่งเทรย์

.

วิธีการที่สองคือการต่อใยแก้วนำแสงจากสายอินคัมมิ่งเข้าไปในตัวเบรกเอาต์ (Breakout) ตัวเบรกเอาท์จะทำการแยกใยแก้วนำแสงออกจากกันและยังสามารถการหุ้มใยแก้วนำแสงด้วยท่อพลาสติกเพื่อให้การป้องกันและความแข็งแรง โดยวิธีการนี้จะไม่มีการทำสไปล์ซิ่งดังนั้นมันจึงทำให้มีการสูญเสียต่ำดังแสดงในรูปที่ 10

.

รูปที่ 9 แพทช์พาเนลพร้อมตัวเบรกเอาท์

.

ถ้าสายอินคัมมิ่งเป็นแบบสายใยแก้วแบบบัฟเฟอร์หนาแน่นที่ยืดหยุ่นและแข็งแรงจะสามารถนำไปต่อด้านหน้าของแพทช์พาเนลได้โดยตรง ดังตัวอย่างการทำเทอร์มิเนชั่นโดยตรง รูปที่ 10

.

รูปที่ 10 การทำเทอร์มิเนชั่นโดยตรงในแพทช์พาเนล

.
การแก้ไขปัญหา (Trouble shooting)
1. ข้อมูลเบื้องต้น

ปัญหาที่เกิดในสายใยแก้วนำแสงสามารถเกิดขึ้นได้จากขั้นตอนการติดตั้งที่ไม่เหมาะสมโดยปกติจะเกิดจากการตึงของสายหรือการงอของสายใยแก้วนำแสงมากเกินไป วิธีการทดสอบพื้นฐานสำหรับทดสอบสายใยแก้วนำแสงและการหาตำแหน่งผิดปกติบนระบบที่ใช้สายใยแก้วนำแสงมีดังต่อไปนี้

.
2. วิธีการแก้ไขปัญหามาตรฐาน (Standard Troubleshooting Approach) 
วิธีการมาตรฐานในการแก้ไขปัญหาในระบบที่ใช้สายใยแก้วนำแสงมีดังต่อไปนี้

1. สังเกตุตัวบ่งบอกสถานะ และ ตรวจสอบว่ามีสัญญาณที่ถูกส่งและรับที่เทอร์มินอลหรือไม่
2. ตรวจสอบว่าสายใยแก้วนำแสงทำงานถูกต้องหรือไม่ โดยการทดสอบความต่อเนื่องของสายแบบง่าย ๆ เช่น ใช้ไฟฉาย หรือ ใช้เครื่องมือทดสอบเฉพาะ.

.

3. เมื่อพบใยแก้วนำแสงที่มีปัญหาให้ทำความสะอาดใยแก้วนำแสงรวมทั้งตัวคอนเน็คเตอร์และทำการทดสอบซ้ำอีกครั้ง
4. ถ้ายังใช้การไม่ได้ให้ทำการสลับสายไปใช้สายสแปร์ (Spare) หรือสายสำรองโดยการจัดการสร้างพาท (path) ใหม่ทั้ง 2 ปลายของเส้นทางการสื่อสาร

.

5. ลงบันทึกว่าสายใยแก้วคอร์ไหนมีปัญหาเพื่อความสะดวกในการบำรุงรักษาในอนาคต
6. เมื่อจะทำการลิงค์ (Link) ใหม่แล้วพบว่าไม่มีสายใยแก้วสแปร์เพียงพอ ให้ทำการหาตำแหน่งที่ผิดปกติด้วยวิธีการ OTDR ถ้ามีสมเหตุสมผลเพียงพอ เช่น ราคาแพงเกินไปในการลากสายสัญญาณใหม่

.

7. ถ้าเป็นสายใยแก้วนำแสงที่มีระยะสั้น การเปลี่ยนสายใยแก้วนำแสงทั้งเส้นอาจจะเหมาะสมกว่าการหาตำแหน่งที่ผิดปกติและซ่อมแซม โดยเฉพาะในกรณีที่ท่อร้อยสายมีพื้นที่เพียงพอในการร้อยสายใยแก้วนำแสงใหม่

.
3. เครื่องมือทดสอบที่ต้องการ
• เครื่องมือทดสอบความต่อเนื่องของสายใยแก้วนำแสง (Continuity Tester)

เป็นอุปกรณ์ที่มีตัวทรานสมิตเตอร์กำเนิดแสงยิงเข้าไปในสายใยแก้วนำแสง พร้อมด้วยตัวคอนเน็คเตอร์ที่เหมาะสมกับสายแต่ละประเภท ทรานมิตเตอร์จะส่งแสงสีแดง (650 nm) ซึ่งสามารถส่งแสงสีแดงที่เห็นได้เป็นระยะทางหลาย ๆ กิโลเมตร แสงสีแดงถูกใช้สำหรับการทดสอบความต่อเนื่องเพื่อหาตำแหน่งแตกร้าวในใยแก้วนำแสง หรือ ตำแหน่งที่สไปล์ซไม่ดีโดยสังเกตุแสงสีแดงอาจกำลังลีค (Leak) หรือรั่วออกจากใยแก้วนำแสง และยังสามารถตรวจสอบว่าคอร์ใดเป็นคอร์ใดที่ปลายของสายที่มีใยแก้วหลายหลายคอร์

.
• ตัวกำเนิดแสง (Optical Source)

ตัวกำเนิดแสงหรือออปติคอลซอร์สนั้นมีตัวทรานสมิตเตอร์ที่สอบเทียบแล้วจะทดสอบร่วมกับตัวออปติคอลพาวเวอร์มิเตอร์หรือมิเตอร์วัดพลังงานแสง (Optical Power Meter) สำหรับการทดสอบการสูญเสียของพลังงานแสงในสายใยแก้วนำแสง

.
• ออปติคอลเพาเวอร์มิเตอร์ (Optical Power Meter)

ออปติคอลเพาเวอร์มิเตอร์นั้นมีตัวรีซีฟเวอร์ที่รับสัญญาณแสงและจะแสดงระดับของกำลังของแสงที่มันได้รับ ออปติคอลเพาเวอร์มิเตอร์ถูกใช้พร้อมกับตัวออปติคอลซอร์สสำหรับทดสอบการสูญเสียของสัญญาณแสง

.
• ออปติคอลไทม์โดเมนรีเฟล็คโทมิเตอร์ (Optical Time Domain Reflect meter : OTDR)

OTDR จะส่งสัญญาณพัลส์ของแสงเข้าไปในสายใยแก้วนำแสง และทำการวัดและบันทึกพลังงานของแสงที่สะท้อนกลับมา การสะท้อนของสัญญาณอาจจะเกิดจากตัวคอนเน็คเตอร์ , การสไปล์ซ , การแตกร้าว , ความไม่บริสุทธิ์ของแก้วหรือการแตกหักของใยแก้วนำแสง ด้วยวิธีการวัดเวลาที่จากแสงที่สะท้อนกลับมาหลังจากยิงลำแสงเข้าไป หลังจากนั้นก็จะได้ค่าตัวชี้การสะท้อนของใยแก้วนำแสง (Reflective index) ซึ่งจะนำมาคำนวนหาระยะทางจากจุดสะท้อน

.
4. กฎการติดตั้งสายใยแก้วนำแสง (Fiber Installation Rule) 

กฎการติดตั้งสายใยแก้วนำแสงนั้นควรถูกนำไปปฎิบัติเมื่อมีการติดตั้งสายใยแก้วนำแสงเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อความเชื่อถือได้ในการใช้งานระยะยาว สายใยแก้วนำแสงสามารถแตกหักได้ทุก ๆ ส่วนถ้ามีแรงหักงอมากระทำภายใต้ความเครียดที่สูง

.
4.1 รัศมีการหักงอของสายสัญญาณ (Cable bending Radius)

• สิ่งที่สำคัญในการพิจารณาเมื่อติดตั้งสายใยแก้วนำแสงนั้นคือความมั่นใจตลอดเวลาว่าการติดตั้งมีรัศมีการงอของสายสัญญาณไม่น้อยกว่าค่ารัศมีการงอต่ำสุดที่ผู้ผลิตระบุไว้

.

• หลีกเลี่ยงการเดินแบบโค้งหักมุมตลอดแนวการเดินสายซึ่งเป็นเรื่องที่สำคัญ โค้งหักมุมของเทรย์หรือท่อสามารถทำให้เกิดการงอทั้งแบบมาโครเบนด์ หรือ ไมโครเบนด์ (Macro bend หรือ Micro bend) ในสายใยแก้วนำแสง และสามารถนำไปสู่การแตกของสายใยแก้วนำแสง หรือ เพิ่มค่าอัตราลดทอนของสัญญาณในที่สุด

.

• มั่นใจว่าสายสัญญาณถูกวางราบ และไม่มีวัตถุหนักวางทับสายสัญญาณไม่ว่าจะเป็น ณ ปัจจุบัน หรือในอนาคต
• หลีกเลี่ยงการเกิดปมสายหรือการบิดของสายสัญญาณ วิธีการที่ดีที่สุดคือการดึงสายใยแก้วนำแสงออกจากรีล (Reel) โดยตรงเมื่อมีการใช้งาน และมีทีมงานที่คอยตัวสอบการเกิดปมหรือการบิดเกลียวของสายสัญญาณในขณะทำการลากสาย

.

• ผู้ผลิตสายใยแก้วนำแสงจะต้องระบุรัศมีการงอที่ต่ำที่สุดที่สามารถใช้กับสายใยแก้วนำแสงแล้วไม่ทำให้เกิดปัญหาในระยะยาวนั้นก็คือค่าลองเทอมเรเดียส (Long - term radius) ซึ่งมีความสำคัญที่ต้องใหญ่กว่ารัศมีที่ทำการติดตั้ง ถ้ารัศมีถูกติดตั้งมากกว่าที่ผู้ผลิตกำหนด จะเกิดมาโครเบนดิ้งในใยแก้วนำแสงซึ่งจะเพิ่มอัตราการลดทอนของสัญญาณได้

.

การบกพร่องที่ไม่จำเป็นไม่ใช้เฉพาะสร้างความเสียหายต่อใยแก้วนำแสง แต่ยังมีผลกระทบต่อประสิทธิภาพของสายสัญญาณอีกด้วย ดังนั้นเมื่อสายสัญญาณถูกติดตั้งควรผ่อนแรงตึงของสายสัญญาณและทำให้แน่ใจว่ารัศมีการงอของสายสัญญาณไม่น้อยกว่ารัศมีลองเทอมเรเดียสทุกทุกจุดตลอดแนวสายสัญญาณ

.
4.2 ความตึงของสายสัญญาณ (Cable Tension)

เมื่อมีแรงตึงสายตามแนวยาวบนสายใยแก้วนำแสง มันสามารถทำให้เกิดความเสียหายเล็ก ๆ บนผิวของใยแก้ว ศักยภาพของจุดเล็ก ๆ นี้ สามารถทำให้เกิดการแตกเล็ก ๆ ได้หรือไมโครแคร์ค (Micro crack) ที่อาจจะทำให้ใยแก้วนำแสงขาดในเวลาต่อมาเมื่อมีแรงตึงเท่ากับหรือมากกว่าแรงตึงที่กำหนดจากผู้ผลิต

.

สายใยแก้วนำแสงนั้นมีความยืดหยุ่น (Elasticity) บ้างแต่ก็ไม่มาก มันสามารถยืดออกได้ภายใต้โหลดเบา ๆ ก่อนที่มันจะกลับสู่ความยาวเดิมเมื่อโหลดได้ถูกปลดออก ภายใต้โหลดที่หนักมากสายใยแก้วนำแสงจะยืดได้มากสุด ประมาณ 9% ก่อนที่มันจะขาด อย่างไรก็ตามข้อแนะนำในทางปฎิบัติควรป้องกันไม่ให้เกิดการยืดของสายให้มากกว่า 0.2 % เพื่อหลีกเลี่ยงการล่มเหลวของระบบสื่อสารที่อาจเกิดขึ้นได้

.

• ถึงแม้สายใยแก้วนำแสงสมัยใหม่โดยทั่วไปแล้วจะมีความแข็งแรงกว่าสายทองแดง แต่อย่างไรก็ตามความเสียหายที่เกิดจากสายที่ตึงเกินไปของสายใยแก้วนำแสงจะมีมากกว่าสายทองแดงมาก 

.

• ความตึงสายสูงสุดที่อนุญาตให้ติดตั้งจะถูกระบุโดยผู้ผลิต ความตึงของสายควรไม่เกินค่าที่กำหนดไม่ว่าเวลาใดก็ตาม แต่ถ้าไม่รู้ค่าความตึงสายสูงสุดวิธีการทั่วไปที่ถูกใช้บางครั้งก็คือความตึงสายสูงสุดระหว่างการติดตั้งจะมีค่าโดยประมาณน้ำหนักของตัวสายใยแก้วนำแสงเองในระยะประมาณ 1 กิโลเมตร

.

• เมื่อทำการดึงสายระหว่างการติดตั้งหลีกเลี่ยงการดึงแบบกระตุกแรงแรง แรงกระทำแบบทันทีทันใด สามารถทำให้ความตึงของสายเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว สายสัญญาณควรถูกดึงอย่างนุ่มนวล

.

• เมื่อทำการดึงสายสัญญาณออกจากดรัมสาย (Drum) ขนาดใหญ่ ทำให้แน่ใจว่า ดรัมสายสามารถหมุนได้โดยง่ายโดยการดึงสายของแรงงานเพียงคนเดียว ถ้าสายสัญญาณถูกกระตุกจากดรัมก็สามารถเป็นสาเหตุทำให้ความตึงสายเกินได้

.

• เรื่องที่สำคัญมากคือการลดความเครียดของสายหลังจากได้ทำการติดตั้งเสร็จเป็นเรียบร้อยได้ สภาพของที่จัดเก็บสายที่เหลือจะช่วยทำให้แน่ใจสายใยแก้วนำแสงจะมีอายุการใช้งานยาวนาน แนะนำว่าความยาวสายที่เหลือควรถูกเก็บใจในกล่องจังค์ชั่น (Junction) ที่รับน้ำหนักได้อย่างสมบูรณ์เพื่อลดแรงเครียดของสายใยแก้วนำแสง

.
5. การทำความสะอาดคอนเน็คเตอร์ (Clean Optical Connector) 

ด้วยขนาดของคอร์ใยแก้วนำแสงแบบซิงเกิลโหมดมีขนาดเพียง 9 ไมครอนวัดจากเส้นผ่านศูนย์กลาง จำนวนผงฝุ่นเล็กๆ จำนวนมากสามารถปิดบริเวณเนื้อที่ส่วนปลายของคอนเน็คเตอร์ได้โดยง่าย

.

ข้อมูลเพิ่มเติม ความเสียหายของคอนเน็คเตอร์สามารถเกิดขึ้นได้ถ้าผงจากภายนอกจับบริเวณพื้นผิวของเชื่อมต่อของคอนเน็คเตอร์ เป็นเรื่องที่สำคัญมากที่ต้องทำให้แน่ใจว่าการทำความสะอาดของคอนเน็คเตอร์ถูกทำอย่างดีโดยผู้ปฎิบัติงานที่มีการฝึกปฎิบัติมาอย่างถูกต้อง เช่นการติดตั้งฝาครอบกันฝุ่น และไม่อนุญาตวัตถุใดที่ไม่ได้ผ่านการตรวจสอบนำมาทำความสะอาดตัวคอนเน็คเตอร์และหัวสายใยแก้วนำแสง

.

• วิธีการทำความสะอาดที่ถูกต้องคือการถูหน้าสำผัสและเฟอร์รูลของหัวคอนเน็คเตอร์ด้วยไอโซโพรพิลแอลกฮอลล์ด้วยผ้าที่ไม่มีขุย ผ้าทำความสะอาดควรถูกจัดเก็บไว้ในกล่องอย่างดี

.

• วิธีการทำความสะอาดอีกวิธีหนึ่งคือการใช้ตลับเทปทำความสะอาด (Cassette) วิธีการนี้จะไช้ตัวทำความสะอาดหรือดรายเทป (Dry tape) ที่ใหม่เสมอทุกครั้งที่ใช้ทำความสะอาด

.

• คอนเน็คเตอร์แบบพิเศษ เช่น Volition หรือ MTRJ โดยวิธีที่เหมาะสมในการทำความสะอาดก็คือการใช้ก๊าซกระป๋องอัดทำความสะอาด
ตัวอะแด็ปเตอร์ในการเชื่อมต่อสายต้องถูกรักษาความสะอาดเช่นกันก่อนที่ทำการใส่หรือติดตัวกันฝุ่นทุกทุกพอร์ตของแพทช์พาเนล กระป๋องแก๊ซอัดเป็นวิธีหนึ่งที่เหมาะสม   

.

อีกวิธีหนึ่งคือการใช้แท่งทำความสะอาดที่ชุบด้วยไอโซโพรพิล แอลกอฮอล์ จำไว้ว่าแท่งทำความสะอาดส่วนใหญ่จะมีลวดโลหะอยู่แกนกลางและปลายลวดจะสามารถทำความเสียหายตัวคอนเน็คเตอร์ได้ถ้ามันถูกสอดเข้าไปในอะแด็ปเตอร์ที่ยังมีคอนเน็คเตอร์ต่ออีกด้าน

.
6. การหาตำแหน่งสายใยแก้วแตกขาด (Locating Broken Fiber)
6.1 การทดสอบความต่อเนื่องของสาย (Continuity Testing)

วีธีพื้นฐานที่สุดในการทดสอบสายใยแก้วนำแสงนั้นคือ การทดสอบความต่อเนื่องของสายสัญญาณ การทดสอบความต่อเนื่องจะตรวจสอบว่าสายใยแก้วนำแสงมีความต่อเนื่องในการนำพาแสงจากปลายด้านหนึ่งไปยังอีกด้านหนึ่ง ลำแสงจะถูกยิงจากตัวกำเนิดแสงจากปลายด้านหนึ่งของใยแก้วนำแสงและสามารถสังเกตุการออกของแสงที่ปลายอีกด้านหนึ่ง  

.

วิธีการทดสอบนี้สามารถทำได้โดยใช้ไฟฉาย (หรือตัวยิงเลเซอร์ที่ใช้ในการเสนองาน) ยิงหรือส่องเข้าไปปลายด้านหนึ่งและสังเกตุการออกของแสงที่ปลายอีกด้านหนึ่ง การทดสอบแบบนี้เหมาะสมเป็นอย่างสำหรับสายมัลติโหมดที่ขนาดคอร์ใยแก้วใหญ่ และระยะทางประมาณ 500 เมตร แต่ใช้งานไม่ค่อยดีนักสำหรับสายซิงเกิลโหมด หรือ สายที่มีระยะทางยาว เพราะคอร์ขนาดเล็กทำให้ลำแสงเข้าไปในคอร์ค่อนข้างยากลำบาก

.

มีอุปกรณ์ทดสอบเฉพาะที่สามารถถูกใช้ในการทดสอบความต่อเนื่องของสายสัญญาณ เป็นอุปกรณ์ทดสอบที่ตัวทรานสมิตเตอร์กำเนิดแสงที่เหมาะสมกับตัวคอนเน็คเตอร์ชนิดต่างๆและส่งแสงสีแดงที่สังเกตุได้ในช่วงความยาวคลื่น 650 nm วิธีการนี้สามารถส่งสัญญาณแสงบนระยะทางหลาย ๆ กิโลเมตร และ สามารถถูกใช้ในการทดสอบความต่อเนื่อง และหาจุดแตกหรือจุดสไปล์ซที่ไม่ดีโดยการสังเกตุแสงที่รั่วออกมาหรือการแยกแยะคอร์สายที่ปลายอีกด้านเมื่อสายเคเบิลหนึ่งเส้นมีคอร์ใยแก้วนำแสงหลาย ๆ คอร์

.

อีกอย่างมันสามารถใช้เพื่อแยกแยะสายใยแก้วนำแสงตามแนวเดินสายสัญญาณ (ที่ที่ต้องการในการตัดสายสัญญาณเพื่อขยายระบบ) ด้วยการงอสายใยแก้วนำแสงและดูแสงสีแดงที่รั่วออกจากการงอ ชนิดการทดสอบสายใยแก้วนำแสงนี้ มีข้อจำกัดตามระบบงาน เช่น ไม่สามารถหาตำแหน่งผิดปกติในสายใยแก้วนำแสงที่ถูกฝังดินรวมทั้งสายอากาศ

.

คำเตือนผู้ปฏิบัติงานไม่ควรมองไปที่กลุ่มของสายใยแก้วนำแสงที่ปลายด้ายหนึ่งของสายด้วยตาเปล่า เพราะถ้ามีใยแก้วนำแสงเส้นใดเส้นหนึ่งกำลังถูกต่อกับตัวยิงเลเซอร์ ลำแสงอินราเรด (Infrared) จากเลเซอร์ซึ่งไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่าของมนุษย์แต่สามารถทำลายจอตาของมนุษย์ได้

.
6.2 การทดสอบการสูญเสียของแสง (Insertion Loss Test) 

วิธีการทดสอบที่มีคุณภาพที่ใช้กันมากที่สุดในระบบสายใยแก้วนำแสงตือการวัดค่าลดทอนตามระยะความยาวของสายใยแก้วนำแสง วิธีการนี้สามารถพิสูจน์ส่วนประกอบของสายใยแก้วนำแสงได้เป็นอย่างดี

.

การทดสอบความสูญเสียทำได้โดยใช้ตัวกำเนิดแสงและมิเตอร์วัดแสง ขั้นแรกมิเตอร์ที่จะใช้วัดแสงต้องถูกสอบเทียบ กับตัวกำเนิดแสงโดยการต่อเครื่องมือวัดเข้าด้วยสายใยแก้วนำแสงระยะสั้นประมาณ 2 เมตร โดยทั่วไปตัวกำเนิดแสงจะถูกตั้งค่าการส่งสัญญาณแสงที่ -10 dBm และมิเตอร์วัดแสงถูกปรับตั้งให้อ่านค่า -10dBm ได้อย่างถูกต้อง จุดสำคัญอีกสี่ขั้นตอนที่ต้องถูกตรวจสอบก่อนทำการทดสอบ    

.

ขั้นที่หนึ่งประเภทของสายใยแก้วนำแสงที่ถูกใช้สำหรับจุดประสงค์การสอบเทียบในสายใยแก้วเหมือนกันประเภทสายที่ต้องการทดสอบการสูญเสีย ขั้นที่สองมิเตอร์วัดแสงและตัวกำเนิดแสงต้องทำงานที่ความยาวคลื่นเดียวกัน 

.

ขั้นที่สามมิเตอร์วัดแสงและตัวกำเนิดแสงต้องใช้ชนิดของตัวกำเนิดแสงและตัวตรวจจับแสงชนิดเดียวกัน (LED หรือ เลเซอร์) ขั้นที่สี่เพื่อหลีกเลี่ยงการสอบเทียบที่ไม่ถูกต้องทำให้แน่ใจว่าคอนเน็คเตอร์ที่ใช้เป็นประเภทเดียวกันกับประเภทที่ถูกใช้ในการทดสอบ และใช้สำหรับการติดตั้งระบบด้วยเช่นกัน

.

เมื่อมิเตอร์วัดแสงได้ถูกสอบเทียบแสร็จเรียบร้อยแล้ว มิเตอร์วัดแสงและ ตัวกำเนิดแสงสามารถถูกนำไปใช้งานในภาคสนาม การต่อเชื่อมสายใยแก้วที่ถูกติดตั้งใช้งานแล้ว ระดับของสัญญาณที่ถูกอ่านที่มิเตอร์สามารถถูกใช้คำนวนการสูญเสียตลอดแนวสายสัญญาณที่ถูกทดสอบ การสูญเสียนี้จะรวมการสูญเสียที่เกิดจากสาเหตุของใยแก้วนำแสงเอง การสไปล์ซและตัวคอนเน็คเตอร์ ขั้นตอนการทดสอบจะแสดงในรูปที่ 11

.

ถ้าตัวกำเนิดแสงและมิเตอร์วัดแสงถูกสอบเทียบในหน่วยมิลลิวัตต์ สูตรที่ใช้ในการแปลงการสูญเสียในรูปของเดซิเบล (Decibel) จะเป็นดังต่อไปนี้

.

ค่าการลดทอน (dB) = -10 Log (Po/Pi)
โดยที่
Po คือกำลังแสงที่ออกจากใยแก้วนำแสง
Pi คือกำลังแสงที่เข้าไปในใยแก้วนำแสง

.

การคำนวนการสูญเสียของสัญญาณแสงโดยวิธีการลบค่า dBm ที่อ่านจากมิเตอร์วัดแสงจากค่ากำลังที่ถูกส่งเข้าไปทดสอบ ตัวอย่าง แสดงในรูป 11 แสดงการสูญเสียที่ค่า 9.3 dB

.

แนะนำว่าการวัดการสูญเสียควรทดสอบทั้ง 2 ทิศทางของใยแก้วนำแสงที่ติดตั้ง การวัดความสูญเสียแต่ละทิศทางค่าที่ได้จะมีความแตกต่างเนื่องจากบางครั้งคอนเน็คเตอร์หรือ จุดสไปล์ซนั้นมีความแตกต่างในด้านเข้าและด้านออกและขนาดคอร์จะมีความแตกต่างกันเล็กน้อย ตัวอย่างถ้าขนาดของคอร์ของจุดสไปล์ซมีขนาด 49.5 mm และ 50.5 mm คลื่นแสงจะเดินทางจากสายใยแก้วที่บางกว่าไปยังใยแก้วที่หนากว่า  

.

แสงทั้งหมดจะเข้าไปในสายใยแก้วที่หนากว่า สำหรับการเดินทางของแสงจะใยแก้วที่ใหญ่กว่าไปยังใยแก้วที่เล็กกว่า จะมีแสงบางส่วนสูญหายที่ขอบของการเชื่อมต่อของคอร์ใยแก้ว ความไม่เข้ากันของชนิดใยแก้ว สามารถทำให้มีความแตกต่างของการสูญเสียในแต่ละทิศทางถึงขนาด 0.2 dB ถ้ามีความแตกต่างในการสูญเสียในแต่ละทิศทางแล้ว การเลือกใยแก้วนำแสงในการรับหรือส่งสัญญาณก็สามารถถูกประเมินว่าจะใช้ทิศทางใดที่ให้ประสิทธิภาพมากที่สุด

.

รูปที่ 11 การวัดการสูญเสียของสัญญาณแสง

.
.6.3 ออปติคอลไทม์โดเมนรีเฟล็คโตมิเตอร์ (Optical Time Domain Reflectometer) 

วิธีการเดียวในการวิเคราะห์ความสูญเสียตามเส้นทางของใยแก้วรวมทั้งหาตำแหน่งบกพร่อง นั้นคือการใช้ตัวออปติคอลไทม์โดเมนรีเฟลคโตมิเตอร์ (OTDR) การใช้เครื่องมือชนิดนี้สามารถวิเคราะห์หาตำแหน่งแตกร้าวของใยแก้วได้ OTDR จะส่งพัลส์สั้น ๆ ของแสงเข้าไปในใยแก้วนำแสงและวัดบันทึกพลังงานของแสงที่สะท้อนกลับมา

.

การสะท้อนของแสงอาจจะเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น ที่ตัวคอนเน็คเตอร์ , การสไปล์ซ , การร้าว , และความไม่บริสุทธิ์ของใยแก้วนำแสง ด้วยการวัดเวลาที่ใช้ในการสะท้อนกลับของแสงและ วัดบันทึกพลังงานของแสงที่สะท้อนกลับของแสง ก็สามารถจะทราบค่าดัชนีการสะท้อนกลับของใยแก้วนำแสงและนำมาคำนวนหาตำแหน่งการสะท้อนกลับของแสง

.

ความไม่บริสุทธิ์ของแก้วจะเป็นสาเหตุการสะท้อนอย่างต่อเนื่องในระดับต่ำตลอดการเดินของแสงในใยแก้วนำแสง เนื่องจากเกิดการกระจายของแสงแบบ Rayleigh โดยปกติเรียกว่ากระจายแสงสะท้อนกลับแบบแบ็คสแก็ตเตอร์ (Back scatter) ความเข้มของสัญญาณแบ็คสแก็ตเตอร์จะถูกรับที่ตัวกำเนิดสัญญาณและค่อย ๆ ลดระดับตามพัลส์ที่ถูกลดจากแหล่งกำเนิด

.

ค่าเหล่านี้สามารถดูได้จอแสดงผลของ OTDR เสมือนว่ามีการดรอปของสัญญาณเข้าใกล้สมการเชิงเส้นในสัญญาณที่สะท้อนกลับมาและจะมีสโลปหรือความชัน (Slope) ของเส้นตามอัตราการลดทอนของสัญญาณในหน่วย (dB/km) รูปที่ 12 แสดงเคิร์ฟการสะท้อนของสัญญาณโดยทั่วไปของ OTDR ที่วัดค่าของแบ็คสแก็ตเตอร์

.

โดยทั่วไป OTDR จะไม่สามารถให้ค่าที่แม่นยำสำหรับการหาการสูญเสียที่ระยะ 15 เมตรแรกของสายสัญญาณเป็นเพราะว่าระยะความกว้างของพัลส์และระยะเวลาขาขึ้นจาก OTDR เปรียบเทียบแล้วจะมีขนาดใหญ่มาก เมื่อเปรียบเทียบกับเวลาที่ใช้สำหรับพัลส์ที่เดินทางกลับในระยะทางสั้น ๆ จากจุดที่สะท้อนภายในระยะทาง 15 เมตร 

.

โดยทั่วไปแล้วสายใยแก้วนำแสงที่สั้นน้อยกว่า 200 เมตร จะไม่ได้รับประโยชน์จากการทดสอบ OTDR ยกเว้นมันมีคอนเน็คเตอร์ และจุดสไปล์ซตามแนวเดินสายจำนวนหลายจุด

.

จากการอ้างอิงของการพล๊อต (Plot) ในรูปที่ 12 แกน Y จะแสดงค่าแอมพลิจูด (Amplitude) ของสัญญาณแสงที่สะท้อนกลับมาสู่แหล่งกำเนิดและแกน X แสดงเวลา ฐานเวลาจะถูกแปรผันตรงและแสดงในรูปของระยะทางโดย OTDR 

.

รูปที่ 12 ตัวอย่างผลของ OTDR

.

การขึ้นลงของค่าแบบทันทีทันใด ที่ปรากฎตามสโลปคือจุดที่มีการกระท้อนเกิดขึ้นและแสงได้สะท้อนกลับสู่แหล่งกำเนิดโดยมีความเข้มมากกว่าความเข้มของแบ็คสแก็ตเตอร์

.

การเรียงลำดับการสะท้อนตามขนาดแมกนีจูด (Magnitude)  จากมากไปน้อย ตามจุดในรูปที่ 12
จุดที่ 1. การสะท้อนจากปลายที่ได้เข้าหัวสายของสายใยแก้วนำแสง
จุดที่ 2. การสะท้อนจากตัวคอนเน็คเตอร์
จุดที่ 3. การสะท้อนจากการสไปล์ซ
จุดที่ 4. การสะท้อนจากการแตกร้าวของใยแก้ว
จุดที่ 5. การสะท้อนแบบแบ็คสแก็คเตอร์

.

หลังจากแต่ละการสะท้อน สโลปของเคิร์ฟการลดทอนจะลดลงหรือดรอป (Drop) อย่างทันทีทันใด การดรอปเป็นตัวแทนของการสูญเสียเนื่องจากตัวคอนเน็คเตอร์, การสไปล์ซ และการไม่สมบูรณ์ของใยแก้ว

.

จุดที่ 6 ที่แสดงในรูปที่ 12 และจุดสไปล์ซที่คอร์ของใยแก้วมีขนาดเท่ากันสำหรับการเดินทางในทิศทางจากแหล่งกำเนิด จุดสไปล์ซนี้จะไม่มีการสะท้อนมีเพียงแต่การสูญเสียของสัญญาณจากการสไปล์ซ ชนิดของการดรอปที่จุดที่ 6 ในเส้นเคิร์ฟการลดทอนอาจจะเกิดจากการหักงอในสายใยแก้วนำแสงที่แสงสามารถหนีออกจากใยแก้วนำแสงที่จุดหักงอและไม่มีการสะท้อนกลับ บางชนิดของการบกพร่องจะให้ผลลัพท์ในรูปแบบเดียวกัน

.

จุดที่ 7 ที่แสดงในรูป 12 แสดงระดับของสัญญาณรบกวนของเครื่องมือวัดเอง และมันคือค่าต่ำสุดที่สามารถตรวจจับได้ของสัญญาณรับที่อุปกรณ์สามารถยอมรับได้ ค่าวัดที่ใกล้เคียงระดับนี้จะไม่มีความแม่นยำ

.

การทดสอบ OTDR สามารถให้ความแม่นยำสูงมากในการวิเคราะห์หาจุดบกพร่องตามแนวระยะสายใยแก้วนำแสง เครื่องมือวัดที่คุณภาพดีมากสามารถให้ความแม่นยำระดับคลาดเคลื่อน 1 เมตรในการหาตำแหน่งบกพร่อง และค่าการวัคการสูญเสียอยู่ที่ 0.01 dB บางเครื่องมือสามารถตรวจสอบสายระยะทางยาวถึง 200 กิโลเมตร 

.

โดยทั่วไป OTDR จะใช้งานค่อนข้างง่าย และมีซอฟท์แวร์ช่วยในการวิเคราะห์สำหรับการดาว์นโหลดผลการทดสอบและทำการวิเคราะห์รายละเอียด แต่โชคไม่ดีที่เทคโนโลยีของ OTDR โดยทั่วไปจะแพงมากมาก แม้แต่ตัวที่มีคุณสมบัติฟังก์ชั่นต่ำก็ยังราคาสูง

.

ควรต้องใช้ความระมัดระวังเมื่อมีการแปลผลจาก OTDR ความแตกต่างของใยแก้วนำแสงที่จะเชื่อมต่อเข้าด้วยกันอาจจะเป็นตัวที่สามารถเปลี่ยนแปลงดัชนีการสะท้อน เช่น ขนาดของคอร์, ชนิดของโหมด, ชนิดของวัสดุของใยแก้วนำแสง ตัวอย่างคือ หลังจากการทำสไปล์ซหรือการเชื่อมต่อ OTDR อาจแสดงจะเกิดสัญญาณแบบเกน (Gain) บนจอแสดงผล เนื่องจากโอกาสที่แสงสามารถเข้าไปในใยแก้วนำแสงที่ไม่บริสุทธิ์มีมากขึ้นและสามารถเพิ่มระดับสัญญาณแบ็คสแก็ตเตอร์

.

การทดสอบ OTDR ควรถูกกระทำบนทุกทุกใยแก้วนำแสงแม้แต่ขณะที่มันยังอยู่บนรีลสายก่อนที่จะนำมาติดตั้งเพื่อให้แน่ใจว่า สายใยแก้วนำแสงที่บกพร่องจะไม่ถูกติดตั้งแล้วอาจต้องถูกเปลี่ยนในเวลาต่อมา ผลของการทดสอบเหล่านี้ควรถูกจัดเก็บในคอมพิวเตอร์หรือถูกพิมพ์ออกมาเก็บไว้    

.

การทดสอบก่อนการติดตั้งโดยทั่วไปจะถูกกระทำเมื่อโอนย้ายการรับผิดชอบของสายสัญญาณจากเจ้าหนึ่งไปยังเจ้าถัดไป เมื่อสายสัญญาณได้ถูกติดตั้งเรียบร้อย การทดสอบ OTDR ควรถูกทำอีกครั้งทุกทุกใยแก้วนำแสง ผลของการทดลองหลังการติดตั้งสามารถถูกเปรียบเทียบผลการทดสอบก่อนติดตั้งเพื่อประเมินว่าสายสัญญาณเสียหายหรือมีการติดตั้งที่ดีพอหรือไม่

.

ผลของการทดสอบก่อนติดตั้ง และ หลังติดตั้งควรถูกเก็บไว้ในเอกสารการทดสอบคอมมิสชั่นนิ่ง (Commissioning Test) ถ้ามีจุดบกพร่องในระบบหลังจากติดตั้งแล้วผลของการคอมมิสชั่นนิ่งสามารถถูกใช้ในการประเมินหาตำแหน่งจุดบกพร่องที่เกิด สำหรับระบบที่มีระยะสายยาวและต้องการความมั่นคงสูงควรที่จะมีการตรวจสอบการทำงานและประสิทธิภาพหลังจากมีการใช้งานมาแล้วหลายปี แล้วนำมาเปรียบเทียบผลจากการทดสอบคอมมิสชั่นนิ่ง เพื่อตรวจสอบจุดที่เสื่อมหรือชำรุด

.

การทดสอบ OTDR นั้นยังสามารถถูกใช้สำหรับการหาอัตราการลดทอนแต่โดยทั่วไปแล้วจะไม่เป็นที่นิยม เพราะการวัดแบบ OTDR เป็นแบบวัดเชิงอ้างอิงเปรียบเทียบมากกว่าการวัดแบบค่าสมบูรณ์ ด้วยที่ OTDR ไม่สามารถวัดค่าคุณภาพของคอนเน็คเตอร์ที่ใยแก้วต่อเข้ากับคอนเน็คเตอร์ 

.

ดังนั้นขั้นตอนการวัดค่าการสูญเสียจะต้องใช้ขั้นตอนที่เหมาะสมและแม่นยำกว่า เพราะว่า OTDR ไม่สามารถวัดอัตราการลดทอนในเชิงความแม่นยำสูง แต่วัดค่าแบบเชิงสัมพันธ์ ความยาวคลื่นแสงที่ใช้งานจึงไม่มีความสำคัญ ระยะทางที่อ่านได้ , การสูญเสียจากสไปล์ซ และการสูญเสียจากคอนเน็คเตอร์ จะไม่ถูกกระทบจากการเปลี่ยนความยาวคลื่นแสงเพียงเล็กน้อยด้วยการเปลี่ยนตัวกำเนิดแสงแบบเลเซอร์หรือ LED

.

จำไว้ว่าการสูญเสียจากคอนเน็คเตอร์หรือการสไปล์ซจะมีความแตกต่างเมื่อทำการวัดจากทิศทางการวิ่งของแสงที่แตกต่างกันในสายใยแก้วนำแสง สำหรับสายสัญญาณที่มีความยาวมากกว่า 2 กิโลเมตร แนะนำให้ทำการทดสอบ OTDR ทั้ง 2 ปลายของสายสัญญาณ

.

บางสายใยแก้วนำแสงถูกสร้างโดยการพันใยแก้วรอบแกนเคเบิล ในกรณีนี้ความยาวของสายสัญญาณจะไม่เท่ากับความยาวของใยแก้ว ความแตกต่างนี้จะทำให้เกิดความยากในการประเมินตำแหน่งจุดบกพร่อง เพื่อจะชนะปัญหานี้

.

โดยทั่วไปผู้ผลิตสายใยแก้วนำแสงจะต้องให้อัตราส่วนระหว่างความยาวของใยแก้วกับความยาวของสายสัญญาณ แล้วอัตราส่วนนี้จะถูกใช้คำนวนระยะสายของจุดบกพร่องจากการอ่านค่าของ OTDR ถ้าไม่มีอัตราส่วนนี้จะใช้วิธีการวัดของ OTDR โดยทำการวัดสายสัญญาณที่ 1 km และอัตราส่วนดังกล่าวจะสามารถถูกคำนวนได้ดังนี้

.
.
สรุป

สายใยแก้วนำแสงเป็นสื่อในการส่งข้อมูลที่ดีที่สุดในปัจจุบันในเรื่องประสิทธิภาพและความเชื่อถือได้ แต่อย่างไรก็ดีถ้าระยะทางระหว่างอุปกรณ์เป็นระยะทางสั้นๆ และสภาพแวดล้อมโดยรวมไม่ถึงขั้นเลวร้าย การใช้สายใยแก้วก็อาจจะเกินความจำเป็น ในบทความถัดไปจะกล่าวถึงสายสัญญาณที่ทำจากทองแดงโปรดติดตามนะครับ

.
เอกสารอ้างอิง

1. J.E Goldman and P.T Rawles, Applied Data Communications. Addison-Wesley, New York,2001
2. J. Fulcher, An Introduction to Microcomputer Systems: Architecture and Interfacing. Addison-Wesley, Sydney,1989
3. S. Mackay, E. Wright, D. Reynders and .J Park, Practical Industrial Data Network: Design, Installation and Troubleshooting . IDC Technologies, Perth,2004
4. J.R. Vacca, High-speed Cisco Networks: Planning, Design, and Implemention. CRC Press LLC, Florida,2001       

.
.

สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2539 www.thailandindustry.com
Copyright (C) 2009 www.thailandindustry.com All rights reserved.

ขอสงวนสิทธิ์ ข้อมูล เนื้อหา บทความ และรูปภาพ (ในส่วนที่ทำขึ้นเอง) ทั้งหมดที่ปรากฎอยู่ในเว็บไซต์ www.thailandindustry.com ห้ามมิให้บุคคลใด คัดลอก หรือ ทำสำเนา หรือ ดัดแปลง ข้อความหรือบทความใดๆ ของเว็บไซต์ หากผู้ใดละเมิด ไม่ว่าการลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดของบทความนี้ไปใช้ ดัดแปลง โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร จะถูกดำเนินคดี ตามที่กฏหมายบัญญัติไว้สูงสุด