เมื่อสถานการณ์ของโลกมีความผันผวนอยู่ตลอดเวลา แนวคิดของลอจิสติกส์และโซ่อุปทานก็ได้รับการตอบรับมากขึ้นเป็นลำดับ และได้รับความสนใจในระดับนโยบายของชาติเลยทีเดียว แต่ละหน่วยงานในระดับกระทรวง หรือกรมต่าง ๆ รวมถึงสภาพัฒน์ ฯ ก็พยายามที่จะศึกษาและหาข้อมูลต่าง ๆ เพื่อที่จะกำหนดแนวทางและนโยบายด้านลอจิสติกส์และโซ่อุปทานในระดับกระทรวงเพื่อให้สอดรับกับยุทธศาสตร์ชาติทั้งหลาย
เราอาจจะสงสัยว่า ทำไมต้องมีปัญหา บางคนอาจจะน้อยอกน้อยใจว่าทำไมมีแต่ปัญหา แล้วทำไมปัญหาจึงไม่หมดไป และ Best practices ก็ไม่ได้ทำให้ปัญหาหมดไปอย่างสิ้นเชิง แต่ถ้าเราไม่ได้เข้าใจ Best Practices อย่างถ่องแท้แล้ว ปัญหาใหม่ก็จะเข้ามาในวงจรธุรกิจอีก เราคงไม่สามารถใช้ Best Practices เดิมแก้ไขปัญหาได้อีก แล้วเราจะทำอย่างไรดีล่ะ ?
เมื่อการจัดการซัพพลายเชนหรือการจัดการห่วงโซอุปทาน เป็นกระบวนการดูแลปริมาณการผลิต และจัดลำดับของกระบวนการทั้งหมดที่มีต่อการสร้างความพอใจให้กับลูกค้า โดยเริ่มต้นตั้งแต่กระบวนการจัดซื้อ (Procurement) การผลิต (Manufacturing) การจัดเก็บ (Storage) เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology) การจัดจำหน่วย (Distribution) และการขนส่ง (Transportation) ซึ่งกระบวนการทั้งหมดนี้จะจัดระบบให้ประสานกันอย่างคล่องตัวจนกระทั่งถึงที่สุดที่การบริการลูกค้า
จากกระแสของแนวคิดแบบลีนและหนังสือวิถีแห่งโตโยต้าได้สร้างกระแสความต้องการที่จะเรียนรู้และนำเอาแนวคิดแบบลีนไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์แก่องค์กรของตัวเอง แต่ด้วยความซับซ้อนของปัญหาในปัจจุบันได้ทำให้แนวทางการแก้ปัญหานั้นมีความซับซ้อนตามไปด้วย หลายคนพยายามที่จะให้ความหมายของลีนให้สั้นและกระชับที่สุด แต่ก็ไม่สามารถอธิบายความหมายและกิจกรรมได้ทั้งหมด
ความเข้าใจในระบบธุรกิจในยุคปัจจุบันของผู้ประกอบการทั่วไปยังน้อยอยู่มาก และที่สำคัญคือ เขาเหล่านั้นไม่เข้าใจและไม่ได้มีความตระหนักในการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา (Dynamics Change) ของธุรกิจ ผู้เขียนเชื่อว่าทุก ๆ เรื่องมีความเกี่ยวโยงกันอยู่ ไม่ทางตรงก็ทางอ้อม และทุกเรื่องที่เราเรียนรู้ และได้กระทำไป ถึงแม้ว่าแต่ละเรื่องที่ดำเนินการในปัจจุบัน อดีตและที่จะดำเนินการในอนาคตจะมีความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง แต่ทุกกิจกรรมย่อมมีเป้าหมายร่วมกันเสมอ ผมเลยอยากจะอธิบายภาพรวมต่าง ๆ ในโซ่คุณค่าอีกสักมุมมองหนึ่ง
ความรู้และความเข้าใจในแนวคิดของระบบลอจิสติกส์และโซ่อุปทานของธุรกิจนั้น ๆ การพัฒนาและสร้างระบบลอจิสติกส์และโซ่อุปทานเป็นโครงการการจัดการการเปลี่ยนแปลงขององค์กร ดังนั้นบุคคลใดบุคคลหนึ่ง หรือแผนกใดแผนกหนึ่งคงไม่สามารถผลักดันโครงการให้เกิดผลสำเร็จได้ บุคคลที่เป็นผู้นำองค์กรจะต้องเป็นตัวแทนการเปลี่ยนแปลง (Change Agent) โดยการทำความเข้าใจว่าธุรกิจนั้นจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงไปตามการเปลี่ยนแปลงของสังคมและธุรกิจ
กระแสของแนวคิดลอจิสติกส์ในปัจจุบันนั้นมาแรงอย่างต่อเนื่อง แต่ก็ยังมีความคิดและความไม่เข้าใจที่ไม่ค่อยจะตรงกันบ้าง แต่ก็มีการประชาสัมพันธ์กันมากมายว่า ถ้ามีการทำลอจิสติกส์หรือมีการนำเอาลอจิสติกส์มาใช้ในกระบวนการธุรกิจแล้วจะทำให้เกิดการลดต้นทุนและได้เปรียบเชิงการแข่งขัน ในความเป็นจริงแล้วในทุก ๆ กิจกรรมที่ดำเนินการอยู่ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมอะไรก็ตามย่อมมีกิจกรรมลอจิสติกส์อยู่เสมอ ความเข้าใจที่คิดว่า ลอจิสติกส์นั้น คือ การขนส่ง เป็นความเข้าใจผิดอย่างร้ายแรงด้วยกระแสของการเอาอย่าง
กิจกรรมของการจัดส่งกำลังบำรุงทางธุรกิจ (Logistics) เป็นส่วนหนึ่งของการบริหารโซ่อุปทาน และเป็นตัวการที่ทำให้กระบวนการจัดการโซ่อุปทานสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะการบริการลูกค้า (Customer Service) ซัพพลายเชนในกระบวนการขนส่ง (Logistics) จึงป็นเรื่องที่ขาดไปไม่ได้ในขั้นของกระบวนการจัดจำหน่าย (Distribution) ที่ต้องการให้เกิดประสิทธิภาพรวดเร็วและแม่นยำขึ้น สามารถสนองความต้องการของลูกค้าในตลาด สร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าได้
ในกระบวนการการดำเนินองค์กรธุรกิจสามารถนำการจัดการห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain Management) ในแง่ของฟังก์ชั่นการทำงานในด้าน กระบวนการจัดจำหน่าย (Distribution) วัตถุประสงค์หลักต้องการให้มีประสิทธิภาพรวดเร็วและแม่นยำขึ้น สามารถสนองความต้องการของลูกค้าในตลาด สร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าได้ ซึ่งเป็นเรื่องที่มีความเกี่ยวข้องกับลอจิสติกส์
ลอจิสติกส์ไม่ได้ครอบคุลมแค่การนำส่งคุณค่าแก่ลูกค้าเท่านั้น แต่ประเด็นที่หลายคนมองข้ามไปคือ การบำรุงรักษาทรัพยากรให้ใช้งานได้ตลอดวงจรชีวิตของทรัพยากร และทำให้มีความพร้อมใช้งานอยู่เสมอ มุมมองนี้เป็นมุมมองที่ประเทศเรายังขาดการให้ความสนใจอยู่มาก ในหลาย ๆ ครั้งเราพลาดท่าเสียโอกาสที่เพราะความไม่พร้อมของทรัพยากรนั่นเอง จึงดำเนินการส่งคุณค่าให้กับลูกค้าไม่ได้
บางคนคิดว่า JIT คือ ระบบการทำงานหรือระบบการผลิต ในมุมมองของผู้เขียน JIT ไม่ใช่ระบบ แต่เป็นคุณลักษณะเชิงลอจิสติกส์ที่สำคัญอย่างหนึ่งของระบบการดำเนินงานทั่วไปคือ ถูกเวลา ถูกสถานที่ ถูกจำนวน และคุณภาพ การที่จะทำให้ระบบการผลิตหรือระบบการทำงานมีลักษณะเป็น JIT นั้น ไม่ได้มีวิธีการเดียว แต่อาจจะมีหลายวิธีการ ขึ้นอยู่กับลักษณะของผลิตภัณฑ์และการบริการ และที่สำคัญคือ อยู่ที่ความต้องการของลูกค้าด้วย เมื่อพิจารณาแล้วระบบ JIT ที่กล่าวถึงกันก็คือ ระบบลีนดี ๆ นี่เอง แล้วทำไมจึงจะต้องมีชื่อหลาย ๆ ชื่อ ทำให้การสื่อความหมายไม่ตรงกัน
เมื่อพูดถึงความเสี่ยง (Risk) เรามักจะคิดถึงความไม่แน่นอนในอนาคตต่าง ๆ ที่ทั้งที่เราคาดหวังไว้และที่เราไม่ได้คาดหวัง และเรามักจะได้ยินคำว่า "ความแน่นอน คือความไม่แน่นอน" นั่นหมายความว่า สิ่งที่มันไม่แน่นอน มันจะเกิดขึ้นแน่ ๆ อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่ไม่รู้ว่าจะเกิดขึ้นเมื่อไรและบ่อยครั้งแค่ไหน แต่ก็ขึ้นอยู่กับความน่าจะเป็น (Probability) หรือความเป็นไปได้ (Possibility) ที่จะเกิดขึ้นด้วย ยิ่งเหตุการณ์ใดมีความน่าจะเป็นสูงเท่าไร ก็มีโอกาสที่เหตุการณ์นั้นจะเกิดขึ้นมากเท่านั้น
การสั่งซื้อมีค่าใช้จ่ายที่แอบแฝงอยู่อย่างคาดไม่ถึง เช่น ค่าเครื่องเขียน แบบพิมพ์ ค่าจ้างแรงงานในส่วนของงานจัดซื้อ ค่าใช้จ่ายในการติดต่อและสานงานกับพ่อค้า ผู้จัดส่ง เป็นต้น ค่าของการสั่งซื้อจึงเป็นส่วนที่ควรคำนึงถึงในการสั่งซื้อแต่ละใบสั่งและรายการ ซึ่งไม่ยากอย่างที่คิด
สินค้าคงคลังที่เป็นพัสดุคงเหลือ มีรายจ่ายแอบแฝงอย่างคาดไม่ถึง ทำอย่างไรถึงจะรู้ว่าอะไรคือรายจ่ายที่แอบแฝง และทำอย่างไรจึงจะรู้ได้ถึงมูลค่าของการเก็บ และได้จำนวนเปอร์เซ็นต์ เพื่อนำไปเปรียบเทียบกับจำนวนพัสดุคงเหลือเฉลี่ยในปีต่อๆ ไป เพื่อให้รู้ถึงการลดค่าของการเก็บของท่านว่าดีขึ้นเพียงไร
การจัดการพัสดุโรงงานที่มีความต้องการเป็นแบบอิสระ (Independent Demand) ซึ่งไม่อาจวางแผนได้ทำอย่างไร ยุคใหม่นี้คงไม่มีผู้ใดค้านว่า การบริหารอุตสาหกรรมการผลิตที่ดีต้องใช้หลักการประหยัด ลดต้นทุนการผลิตเท่าที่จะทำได้ มีผู้กล่าวถึงการลดน้ำหนัก รีดไขมันที่ไม่มีประโยชน์ออกไปทำให้องค์การผอมลง Thin and Healthy ผอมแต่สุขภาพแข็งแรง
การออกแบบซัพพลายเชน คือ การเติมสินค้าอย่างต่อเนื่อง (Continuous Replenishment) ซึ่งเกี่ยวข้องกับผู้ขายสินค้า โดยใช้ยอดขายที่เชื่อมต่อผ่านอินเตอร์เน็ต เพื่อลดสินค้าคงคลัง การเพิ่มความเร็วในการส่งสินค้าให้ลูกค้า วิธีการนี้การตอบสนองลูกค้าอย่างรวดเร็ว ซึ่งการเติมเต็มสินค้าคงเหลือให้เพียงพอตลอดเวลา (Replenishment) ในห่วงโซ่อุปทานจำเป็นอย่างยิ่งที่จะมีการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในกระบวนการของ SCM ทำให้งานบริหารสินค้าคงเหลือมีประสิทธิภาพที่ดีกว่า
ในปัจจุบันบทบาทของการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain Management) ถือได้ว่ามีความสำคัญอย่างมากต่อธุรกิจต่าง ๆ ทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศ มีผู้เกี่ยวข้องกับห่วงโซ่อุปทานจำนวนมาก โดยมีเป้าหมายเพื่อให้องค์กรต่าง ๆ เหล่านี้ทำงานประสานกันอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถผลิตสินค้า และส่งมอบไปยังแหล่งต่าง ๆ ได้ถูกต้องตามปริมาณ สถานที่และเวลาตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ เพื่อสร้างความพึงพอใจสูงสุดให้กับลูกค้าด้วยต้นทุนที่ต่ำที่สุด
ปัจจุบันองค์กรธุรกิจส่วนใหญ่ประสบปัญหาความผันผวนที่เกิดจากปัจจัยสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ โดยเฉพาะปัญหาการส่งมอบล่าช้า ซึ่งส่งผลให้ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ดำเนินการแก้ปัญหาระยะสั้นด้วยการผลิตตามข้อมูลการพยากรณ์หรือการผลิตเพื่อจัดเก็บ แต่แนวทางดังกล่าวก่อให้เกิดความสูญเปล่า ด้วยเหตุนี้จึงได้เกิดการบูรณาการแนวคิดลีน เพื่อขจัดลดความสูญเปล่ากระบวนการลอจิสติกส์หรือลอจิสติกส์แบบลีน (Lean Logistics) โดยเฉพาะการมุ่งลดระดับจัดเก็บสต็อกและระยะเวลาการส่งมอบสินค้า
ในปัจจุบันบทบาทของการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain Management) ถือได้ว่ามีความสำคัญอย่างมากต่อธุรกิจต่าง ๆ ทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศ มีผู้เกี่ยวข้องกับห่วงโซ่อุปทานจำนวนมาก โดยมีเป้าหมายเพื่อให้องค์กรต่าง ๆ เหล่านี้ทำงานประสานกันอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถผลิตสินค้า และส่งมอบไปยังแหล่งต่าง ๆ ได้ถูกต้องตามปริมาณ สถานที่และเวลาตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ เพื่อสร้างความพึงพอใจสูงสุดให้กับลูกค้าด้วยต้นทุนที่ต่ำที่สุด
บทบาทของการจัดการห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain Management) มีความสำคัญอย่างยิ่งในธุรกิจปัจจุบันที่ต้องให้ความสนใจกับการปรับปรุงกระบวนการดำเนินธุรกิจให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ณ ปัจจุบัน การจัดการห่วงโซ่อุปทาน เป็นเรื่องที่อุตสาหกรรมต่างเล็งเห็นถึงประโยชน์ที่จะได้รับหลังจากมีการดำเนินการไปแล้ว และในกระบวนการนำเอาการจัดการห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain Management) ไปใช้จัดระบบธุรกิจให้เกิดประโยชน์ สามารถอธิบายผ่านกระบวนการทำงานขององค์กรในแง่ของฟังก์ชันการทำงาน