ระบบทำน้ำเย็นใช้ไฟฟ้า เป็นที่นิยมใช้ในอุตสาหกรรม เพื่อการปรับสภาพอากาศในโรงงาน และน้ำเย็นสำหรับกระบวนการผลิต และระบบทำน้ำเย็นก็เป็นระบบที่ใช้พลังงานสูงในอันดับต้น ๆ ของอุปกรณ์เครื่องจักรในโรงงาน ผู้ผลิตเครื่องทำน้ำเย็นก็พยายามที่จะพัฒนาเครื่องที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้นใช้พลังงานน้อยลง
การบริหารโรงงานด้วยหลักการมองเห็น (Visual Factory Management) เป็นระบบสนับสนุนการปรับปรุงผลิตภาพทั่วทั้งโรงงานด้วยการแสดงสัญญาณ แถบสี และสัญลักษณ์ในสถานที่ทำงาน เพื่อให้พนักงานได้รับทราบสารสนเทศภายในเวลารวดเร็ว การดำเนินการจะเริ่มจากกิจกรรม 5ส. เพื่อจำแนกปัญหาที่เกิดภายในที่ทำงาน
อินเวอร์เตอร์ (Inverter) หรือไดรฟ์ (Drive) เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อใช้ในการปรับความเร็ว หรือใช้งานร่วมกับระบบควบคุมความเร็วของมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับ ซึ่งมีใช้งานอย่างแพร่หลายในอุตสาหกรรม การติดตั้งอินเวอร์เตอร์ที่ไม่ถูกต้องอาจทำให้อินเวอร์เตอร์เกิดความเสียหาย ทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ หรืออาจเป็นต้นเหตุของเพลิงไหม้ได้
เมื่อพูดถึงงานเศรษฐศาสตร์วิศวกรรมแล้ว ก็มักจะเป็นงานที่เกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์ทางการเงินในงานวิศวกรรมหรือโครงการต่าง ๆ ทางอุตสาหกรรม เช่น การวิเคราะห์การลงทุนในโครงการ, การหาระยะเวลาคืนทุนของโครงการ, การหาระยะเวลาที่ดีที่สุดในการเปลี่ยนเครื่องจักร เป็นต้น โดยผู้ที่ทำการวิเคราะห์หรือมีหน้าที่ที่ต้องตัดสินใจนั้น จะต้องเลือกในสิ่งที่คุ้มค่ากับเงินที่จะเสียไป อาจจะอยู่ในรูปมูลค่าเงินปัจจุบันที่มีกำไรมากที่สุด หรือมีค่าใช้จ่ายน้อยที่สุด, ระยะเวลาคืนทุนของโครงการที่เร็วที่สุด, หรือโครงการที่มีผลประโยชน์ตอบแทนมากที่สุด
จากกระแสของแนวคิดแบบลีนและหนังสือวิถีแห่งโตโยต้าได้สร้างกระแสความต้องการที่จะเรียนรู้และนำเอาแนวคิดแบบลีนไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์แก่องค์กรของตัวเอง แต่ด้วยความซับซ้อนของปัญหาในปัจจุบันได้ทำให้แนวทางการแก้ปัญหานั้นมีความซับซ้อนตามไปด้วย หลายคนพยายามที่จะให้ความหมายของลีนให้สั้นและกระชับที่สุด แต่ก็ไม่สามารถอธิบายความหมายและกิจกรรมได้ทั้งหมด
บัลลาสต์ เป็นอุปกรณ์ชนิดหนึ่งที่ทำหน้าที่ควบคุมแหล่งจ่ายพลังงาน ให้กระแสไฟฟ้าที่ผ่านเข้าไปในหลอดไฟฟ้าให้มีค่าสม่ำเสมอ เหมาะสมกับหลอดแต่ละประเภท แต่ละชนิด และแต่ละขนาด ซึ่งเป็นอุปกรณ์จำเป็นสำหรับหลอดก๊าซดิสชาร์จ เพราะเมื่อหลอดไฟผ่านขั้นตอนการจุดติดแล้วนั้น ค่าความต้านทานของหลอดจะลดลงอย่างมาก
การดำเนินกิจกรรมภาคอุตสาหกรรมมักเกิดความสูญเปล่าจากการปฏิบัติงาน ซึ่งปัญหาส่วนใหญ่มักเกิดจากความไม่สอดคล้องในวิธีการทำงาน ดังนั้นจึงไม่น่าแปลกใจเมื่อพวกเราได้เข้าไปสังเกตการทำงานในสายการผลิตจึงมักพบเห็นแรงงานกำลังมองหาเครื่องมือหรือชิ้นงานเพื่อใช้ในกิจกรรมในสายการผลิตและนั่นคือ การเคลื่อนไหวที่ไม่ได้สร้างคุณค่าเพิ่มหรืออาจเรียกว่ามูดะ (Muda)
ทุกวันนี้เรื่องของราคาน้ำมันแพงขึ้นเป็นประเด็นหลัก ๆ ในชีวิตประจำวันของเราที่จะได้ยิน และต้องเผชิญกันอยู่ เพราะยังไงเราก็ไม่มีทางเลือกที่จะต้องใช้น้ำมันเติมใส่รถแล้วขับออกไปทำงาน หรือไม่ก็จนกว่าที่จะมีรถรุ่นใหม่ออกมาเป็นแบบที่ไม่ต้องใช้น้ำมัน ซึ่งที่จริงก็มีแล้วทั้งแบบที่ใช้ก๊าซ, รถยนต์พลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ หรือที่เราเฝ้ารอกันมาในช่วง 5 ปีที่ผ่านมานี้ คือรถยนต์ที่ใช้พลังงานจากเซลล์เชื้อเพลิง (Fuel Cell) หรือ Fuel Cell Vehicle (FCV)
ความเข้าใจในระบบธุรกิจในยุคปัจจุบันของผู้ประกอบการทั่วไปยังน้อยอยู่มาก และที่สำคัญคือ เขาเหล่านั้นไม่เข้าใจและไม่ได้มีความตระหนักในการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา (Dynamics Change) ของธุรกิจ ผู้เขียนเชื่อว่าทุก ๆ เรื่องมีความเกี่ยวโยงกันอยู่ ไม่ทางตรงก็ทางอ้อม และทุกเรื่องที่เราเรียนรู้ และได้กระทำไป ถึงแม้ว่าแต่ละเรื่องที่ดำเนินการในปัจจุบัน อดีตและที่จะดำเนินการในอนาคตจะมีความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง แต่ทุกกิจกรรมย่อมมีเป้าหมายร่วมกันเสมอ ผมเลยอยากจะอธิบายภาพรวมต่าง ๆ ในโซ่คุณค่าอีกสักมุมมองหนึ่ง
ทุกกิจกรรมในชีวิตประวันของเรา รวมทั้งการดำเนินธุรกิจล้วนมีแนวคิดของลอจิสติกส์เป็นส่วนประกอบเสมอ โดยเฉพาะกิจกรรมการเคลื่อนย้ายอันเป็นกิจกรรมของลอจิสติกส์ การเคลื่อนย้ายต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นสสาร หรือทรัพยากรเพื่อเข้าสู่กระบวนการผลิตหรือการบริการ หรือการเคลื่อนย้ายผู้คนย่อมต้องการพลังงาน และพลังงานกลที่คิดค้นโดยมนุษย์ใช้เพื่อการเคลื่อนย้ายทั้งสิ้น แต่พลังงานที่ใช้ในการเคลื่อนย้ายเหล่านั้นก็มาจากธรรมชาติอยู่ดี
ในวงการการจัดการกระบวนการธุรกิจ (Business Process Management) มักจะมีการกล่าวถึง Business Rules หรือ กฎธุรกิจอยู่เสมอ แน่นอนว่าสำหรับแนวคิดใหม่อย่าง BPM ที่ย่างก้าวเข้ามาในวงการ IT ย่อมมีมุมมองหรือคำนิยามที่แตกต่างกันออกไป บางคนให้ความหมายไปในทางการสร้างข้อจำกัดต่าง ๆ (Constraints) และที่สำคัญ Business Rules นั้นมีความสัมพันธ์กับกระบวนการธุรกิจอย่างไร
ความรู้และความเข้าใจในแนวคิดของระบบลอจิสติกส์และโซ่อุปทานของธุรกิจนั้น ๆ การพัฒนาและสร้างระบบลอจิสติกส์และโซ่อุปทานเป็นโครงการการจัดการการเปลี่ยนแปลงขององค์กร ดังนั้นบุคคลใดบุคคลหนึ่ง หรือแผนกใดแผนกหนึ่งคงไม่สามารถผลักดันโครงการให้เกิดผลสำเร็จได้ บุคคลที่เป็นผู้นำองค์กรจะต้องเป็นตัวแทนการเปลี่ยนแปลง (Change Agent) โดยการทำความเข้าใจว่าธุรกิจนั้นจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงไปตามการเปลี่ยนแปลงของสังคมและธุรกิจ
ระบบแสงสว่างที่เราใช้กันอยู่ในปัจจุบัน ทั้งในภาคที่อยู่อาศัยและภาคธุรกิจอุตสาหกรรมนั้น การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยเป็นหน่วยงานหลักในการดำเนินการผลิตและจัดหาพลังงานไฟฟ้าให้กับประเทศ นับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2543 เป็นต้นมา การไฟฟ้าได้เรียกเก็บค่าไฟฟ้าจากผู้ใช้ไฟฟ้าทั้งหลาย ตามอัตราใหม่ โดยแบ่งผู้ใช้ไฟฟ้าออกเป็น 7 ประเภท
ปัจจัยทางผลิตภาพ ได้มีบทบาทในการสร้างศักยภาพการแข่งขันให้กับทุกองค์กร โดยเฉพาะองค์กรที่ดำเนินธุรกิจในภาคการผลิตที่เกิดความสูญเปล่าในกระบวนการมากมาย และส่งผลต่อผลิตภาพโดยรวมขององค์กร ด้วยเหตุนี้องค์กรจึงต้องมุ่งสร้างคุณค่าเพิ่ม ด้วยการปรับปรุงกระบวนการที่มุ่งเน้นประสิทธิผลจากกระบวนการ (Process Effectiveness)
นักวิเคราะห์ธุรกิจ (Business Analyst) มักจะพูดว่าบริษัทจะแข่งขันได้จะต้องเป็นคนแรกในตลาด (เร็วกว่า) ต้องสามารถนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพที่เหนือกว่า (ดีกว่า) และต้องเป็นผู้นำตลาดในด้านราคา (ถูกกว่า) ในอดีตบริษัทต่าง ๆ อาจจะมีคุณสมบัติต่าง ๆ เหล่านั้นได้ แต่คงจะไม่ได้ครบทั้งสามอย่างในเวลาเดียวกัน แต่ในปัจจุบันบริษัทหลาย ๆ บริษัทกำลังมุ่งมั่นที่จะมีองค์ประกอบทั้งสามให้ได้
กระแสของแนวคิดลอจิสติกส์ในปัจจุบันนั้นมาแรงอย่างต่อเนื่อง แต่ก็ยังมีความคิดและความไม่เข้าใจที่ไม่ค่อยจะตรงกันบ้าง แต่ก็มีการประชาสัมพันธ์กันมากมายว่า ถ้ามีการทำลอจิสติกส์หรือมีการนำเอาลอจิสติกส์มาใช้ในกระบวนการธุรกิจแล้วจะทำให้เกิดการลดต้นทุนและได้เปรียบเชิงการแข่งขัน ในความเป็นจริงแล้วในทุก ๆ กิจกรรมที่ดำเนินการอยู่ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมอะไรก็ตามย่อมมีกิจกรรมลอจิสติกส์อยู่เสมอ ความเข้าใจที่คิดว่า ลอจิสติกส์นั้น คือ การขนส่ง เป็นความเข้าใจผิดอย่างร้ายแรงด้วยกระแสของการเอาอย่าง
จากในตอนที่แล้วที่เราได้กล่าวถึงบทนำของความเสียหายของวัสดุและรายละเอียดของความเสียหายของวัสดุที่เกิดจากการล้าตัว (Fatigue Failure) สำหรับตอนนี้เราจะกล่าวถึงรายละเอียดของความเสียหายของวัสดุต่อในส่วนของ ความเสียหายเนื่องจากการอ่อนตัว (Ductile Failure) ความเสียหายเนื่องจากการสึกหรอ (Wear Failures) ประเภทต่าง ๆ ความเสียหายจากการเกิดโพรงไอ (Cavitations Failure) และบทนำในเรื่องความเสียหายจากการผุกร่อน (Corrosion Failures)
เมื่อกล่าวถึงระบบขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจปัจจุบันของไทยนั้น แน่นอน เราคงให้ความสำคัญกับกลุ่มอุตสาหกรรมการผลิต มาเป็นอันดับแรก ทั้งอุตสาหกรรมการผลิตอาหาร อุตสาหกรรมการแปรรูปสินค้าทางการเกษตร อุตสาหกรรมทางด้านยานยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ และอีกมากมายที่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่อยู่รอบตัวเรา
การบริหารงานด้านบุคคลนับได้ว่าเป็นเรื่องสำคัญ ซึ่งเป็นเรื่องราวที่มีเทคนิค วิธีการที่จำเป็นต้องศึกษาให้เข้าใจเพื่อประโยชน์ในการดำเนินการให้ได้ผล ในแง่ของประสิทธิภาพของการใช้พนักงานในทางการผลิต ความสำคัญของงานด้านการบริหารงานบุคคลในองค์กร ปัจจุบันนับได้ว่ามีขอบเขตที่กว้างขวางและมีความหมายที่มีคุณค่ามากกว่าแต่ก่อน กระทั่งได้มีการใช้ชื่อใหม่ที่มีความหมายกว้างและลึกซึ้งกว่า ว่าเป็นเรื่องราวทางด้านการจัดการที่เกี่ยวกับทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource Management)
Bioscrubbers หรือ Biotrickling Filter เป็นเทคโนโลยีการบำบัดกลิ่นโดยกระบวนการทางชีวภาพซึ่งตรงกันข้ามกับกระบวนการทางเคมีและทางกลศาสตร์โดยกระบวนการนี้จะคล้ายกับ Biofilter ที่ทราบกันโดยทั่วไป Bioscrubbers จะใช้ตัวกลางเทียม (หรือชีวมวล) ซึ่งคิดขึ้นเองและเป็นถังปิด แต่ Biofilter จะใช้ตัวกลางที่มาจากธรรมชาติ
โดยทั่วไปผู้ประกอบการไม่ว่าจะเป็นภาคการผลิตหรือการให้บริการได้มีเป้าหมายสร้างผลกำไรสูงสุดให้กับองค์กร ดังคำกล่าวว่า "The goal of a firm is to make profit" ซึ่งจัดเป็นตัวชี้วัดผลการดำเนินงาน ดังนั้นผู้บริหารองค์กรจึงมุ่งให้ความสนใจต่อการบริหารทรัพยากรที่เป็นปัจจัยนำเข้า (Input) เพื่อให้เกิดการแปรรูปเป็นผลิตผล ด้วยเหตุนี้การวัดผลิตภาพจึงเป็นประเด็นที่องค์กรต่าง ๆ ให้ความสนใจ เนื่องจากผลิตภาพไม่เพียงแค่มุ่งตัวชี้วัดประสิทธิผลทางการเงิน (Financial Effectiveness) แต่ยังแสดงถึงประสิทธิภาพของการดำเนินงาน (Operation Efficient) ทำให้ผู้บริหารระดับสูงสามารถเข้าใจภาพรวมของผลการดำเนินงานธุรกิจ
วาล์วควบคุมเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญอีกชนิดหนึ่งที่ใช้ในระบบควบคุมกระบวนการผลิตประเภทต่าง ๆ การเลือกวาล์วควบคุมที่เหมาะสมจะทำให้การควบคุมกระบวนการผลิตเป็นไปตามความต้องการ, มีอายุการใช้งานยาวนานและมีความปลอดภัยในการใช้งาน ในบทความนี้เป็นการแสดงคำแนะนำความต้องการสำหรับการเลือกใช้งานวาล์วควบคุมในอุตสาหกรรมกลั่นน้ำมัน โดยจะแสดงบรรทัดฐานในการเลือกใช้, การกำหนดรายละเอียดและการใช้งานวาล์วควบคุมที่ใช้หัวขับแบบลูกสูบ (Piston Actuator) และใช้หัวขับแบบไดอะเฟรม (Diaphragm Actuator)