เนื้อหาวันที่ : 2009-11-10 14:26:41 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 5818 views

สร้างความสามารถการแข่งขันด้วยผลิตภาพสายการผลิต

โดยทั่วไปผู้ประกอบการไม่ว่าจะเป็นภาคการผลิตหรือการให้บริการได้มีเป้าหมายสร้างผลกำไรสูงสุดให้กับองค์กร ดังคำกล่าวว่า "The goal of a firm is to make profit" ซึ่งจัดเป็นตัวชี้วัดผลการดำเนินงาน ดังนั้นผู้บริหารองค์กรจึงมุ่งให้ความสนใจต่อการบริหารทรัพยากรที่เป็นปัจจัยนำเข้า (Input) เพื่อให้เกิดการแปรรูปเป็นผลิตผล ด้วยเหตุนี้การวัดผลิตภาพจึงเป็นประเด็นที่องค์กรต่าง ๆ ให้ความสนใจ เนื่องจากผลิตภาพไม่เพียงแค่มุ่งตัวชี้วัดประสิทธิผลทางการเงิน (Financial Effectiveness) แต่ยังแสดงถึงประสิทธิภาพของการดำเนินงาน (Operation Efficient) ทำให้ผู้บริหารระดับสูงสามารถเข้าใจภาพรวมของผลการดำเนินงานธุรกิจ

โกศล ดีศีลธรรม
Koishi2001@yahoo.com

.

โดยทั่วไปผู้ประกอบการไม่ว่าจะเป็นภาคการผลิตหรือการให้บริการได้มีเป้าหมายสร้างผลกำไรสูงสุดให้กับองค์กร ดังคำกล่าวว่า "The goal of a firm is to make profit" ซึ่งจัดเป็นตัวชี้วัดผลการดำเนินงาน ดังนั้นผู้บริหารองค์กรจึงมุ่งให้ความสนใจต่อการบริหารทรัพยากรที่เป็นปัจจัยนำเข้า (Input) เพื่อให้เกิดการแปรรูปเป็นผลิตผล          

.

ด้วยเหตุนี้การวัดผลิตภาพจึงเป็นประเด็นที่องค์กรต่าง ๆ ให้ความสนใจ เนื่องจากผลิตภาพไม่เพียงแค่มุ่งตัวชี้วัดประสิทธิผลทางการเงิน (Financial Effectiveness) แต่ยังแสดงถึงประสิทธิภาพของการดำเนินงาน (Operation Efficient) ทำให้ผู้บริหารระดับสูงสามารถเข้าใจภาพรวมของผลการดำเนินงานธุรกิจ   

.

รูปที่ 1 แสดงเป้าหมายการดำเนินธุรกิจ

.

โดยทั่วไปการวัดผลิตภาพในมุมมองทางเศรษฐศาสตร์ได้ถูกแสดงด้วยสัดส่วนของผลิตผลเทียบกับปัจจัยนำเข้าซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดประสิทธิภาพ (Efficiency Concept) ส่วนคุณภาพมักกล่าวถึง ประสิทธิผล (Effectiveness) แต่ในประเด็นหลังมักไม่ค่อยให้ความสนใจในการวัดผลสำหรับบางธุรกิจ เนื่องจากการวัดทางคุณภาพมีความยุ่งยากและไม่เป็นรูปธรรม

.

โดยทั่วไปการประเมินผลงานระดับปฏิบัติการมักแสดงด้วยความถี่หรือจำนวนครั้งของการทำงานผิดพลาดที่ส่งผลให้เกิดของเสียและค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการแก้ไขงาน ระดับสายการผลิตฝ่ายงาน  

.

รูปที่ 2 โครงสร้างปัจจัยกระบวนการแปรรูป

.

สำหรับขั้นแรกของการประเมินผลิตภาพจะดำเนินการติดตามวัดผลิตผล (Output) แล้วจึงพิจารณาปัจจัยนำเข้าที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการแปรรูป ประกอบด้วย วัตถุดิบ แรงงาน และปัจจัยสนับสนุนการผลิต เช่น จำนวนชั่วโมงการทำงาน เครื่องจักร อุปกรณ์จับยึด เป็นต้น โดยมาตรวัดปัจจัยนำเข้าได้มุ่งประเมินวัดผลจากองค์ประกอบหลักทางต้นทุน ประกอบด้วย

.

• แรงงาน (Labor) จัดเป็นต้นทุนทางตรง ประกอบด้วย ค่าใช้จ่ายฝึกอบรม ค่าล่วงเวลา สวัสดิการและค่าตอบแทน  เป็นต้น
• ค่าวัสดุ (Material) ประกอบด้วยต้นทุนสำหรับการจัดซื้อ ชิ้นส่วน อะไหล่ และปัจจัยสนับสนุนการดำเนินงาน

.

• การว่าจ้างตามสัญญา (Contracts) โดยประเมินจากค่าใช้จ่ายโครงการพิเศษ (Special Project) ที่ได้ว่าจ้างจากองค์กรภายนอก เช่น การดูแลบำรุงรักษา Boiler งานตรวจซ่อมใหญ่ (Overhaul) เป็นต้น โดยสัญญาว่าจ้างได้ครอบคลุมเฉพาะส่วนงานที่รับผิดชอบเป็นครั้งคราวหรืออาจว่าจ้างเป็นพนักงานด้วยสัญญาจ้างงานตามโครงการ

.

• ค่าเช่าอุปกรณ์ (Equipment Rentals) เป็นค่าเช่าอุปกรณ์สำหรับการขนย้าย เช่น เครน, Forklift เป็นต้น
• ค่าโสหุ้ยสำหรับงานบำรุงรักษา (Maintenance Overhead) เป็นค่าใช้จ่ายบุคลากรสำหรับจัดการบำรุงรักษาและควบคุมงาน ประกอบด้วย วิศวกรฝ่ายวางแผน และบุคลากรส่วนงานสนับสนุน ซึ่งค่าใช้จ่ายเหล่านี้ได้คิดแยกจากค่าใช้จ่ายศูนย์ให้บริการ (Shop Service)

.

• ค่าโสหุ้ยโดยรวมขององค์กร (Corporate Overhead) โดยทั่วไปค่าใช้จ่ายดังกล่าวมักคิดประเมินตามสัดส่วนต้นทุนรวมขององค์กร เช่น ค่าใช้จ่ายการบริหาร และค่าเสื่อมราคา

.

รูปที่ 3 องค์ประกอบต้นทุนการผลิต

.

สำหรับการตรวจประเมินผลจากโครงการปรับปรุงผลิตภาพมักแสดงผลเชิงปริมาณ ดังนั้นหัวหน้างานจึงมักทำการเปรียบเทียบด้วยผลลัพธ์ก่อนและหลังดำเนินการปรับปรุง ซึ่งตัวเลขเหล่านี้ได้ถูกใช้สำหรับเป็นตัวชี้วัดการควบคุมงานประจำวันและมาตรฐานสำหรับการร่างแผนงานหรือมาตรฐานการประเมินผล โดยสามารถคำนวณด้วยการใช้หน่วยตามประเภทของปริมาณปัจจัยนำเข้า และปริมาณผลิตผล หากใช้หน่วยวัดเดียวกันก็มีความหมายเช่นเดียวกับประสิทธิภาพเชิงวิศวกรรมที่มีค่าสูงสุด100% โดยจำแนกได้เป็นประเภทต่าง ๆ เช่น

.

- ประสิทธิภาพหน่วยของเวลา          : อัตราความพร้อมทำงาน ประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน
- ประสิทธิภาพในหน่วยปริมาณวัสดุ    : อัตราผลิตผลดี (Yield)
- ประสิทธิภาพในหน่วยของแรงงาน    : อัตราการมาทำงาน
- ประสิทธิภาพในหน่วยของผลิตภาพเชิงคุณภาพ  : อัตราส่วนของเสีย

.

โดยทั่วไปการปรับปรุงผลิตภาพสำหรับธุรกิจภาคการผลิต หมายถึงการปรับปรุงคุณภาพ ที่ดำเนินการด้วยแนวทางปรับปรุงการออกแบบผลิตภัณฑ์และกระบวนการผลิต ตลอดจนการออกแบบงาน (Job Design) ให้เหมาะสม เพื่อลดอัตราการเกิดของเสีย ซึ่งสามารถประเมินวัดผลได้ด้วยค่าผลิตผลดี (Yield) ของผลิตภัณฑ์ที่ถูกใช้เป็นตัวชี้วัดผลิตภาพ        

.

โดยผลิตผลที่เกิดขึ้นจะต้องสอดคล้องกับข้อกำหนดเฉพาะ (Specification) ที่ประเมินจากสัดส่วนจำนวนหน่วยชิ้นงานที่มีคุณภาพดีเทียบกับจำนวนหน่วยชิ้นงานในกระบวนการเริ่มต้น ซึ่งสามารถคำนวณได้จากกระบวนการผลิตทั้งหมด โดยใช้ความสัมพันธ์

.

Yield = (Total Input) (% Good Units) + (Total Input) (1 - % Good Units) (% Reworked)

Yield = (ปัจจัยนำเข้ารวม) x (สัดส่วนผลิตผลดี) + (ปัจจัยนำเข้ารวม) x (1-สัดส่วนของดี) x (สัดส่วนงานแก้ไข)
Y   = (I) x (%G) + (I) x (1-%G) x (%R)

.
เมื่อ         I    = ผลรวมปัจจัยนำเข้าที่กระบวนการแรก
           %G   = เปอร์เซ็นต์ของชิ้นงานดี
           %R   = เปอร์เซ็นต์ของชิ้นงานบกพร่องที่ต้องแก้ไข
.

ดังนั้นค่า Yield จึงแสดงด้วยผลรวมปัจจัยนำเข้าที่ถูกแปรรูปเป็นชิ้นงานดีรวมกับสัดส่วนชิ้นงานบกพร่องที่ต้องทำการแก้ไข หากกระบวนการมีค่า Yield สูง หมายถึงกระบวนการสามารถผลิตชิ้นงานได้สอดคล้องกับข้อกำหนด โดยมีคุณภาพระดับที่สามารถยอมรับได้ เช่น หากกระบวนการผลิตประกอบด้วยชิ้นงาน 100 หน่วย

.

โดยผลิตผลได้เกิดข้อบกพร่องขึ้น 2 หน่วย จากข้อมูลดังกล่าวได้แสดงถึงค่า Yield เกิดขึ้นจากกระบวนการ 98% แต่ค่า Yield เป็นเพียงตัวชี้บ่งระดับคุณภาพผลิตภัณฑ์ ซึ่งไม่ใช่สมรรถนะผลิตภัณฑ์ที่แท้จริงในมุมมองลูกค้า 

.

.

กรณีศึกษา 1 สถานประกอบการแห่งหนึ่งได้ดำเนินกิจการผลิตชิ้นส่วนเครื่องจักรกล โดยแต่ละวันได้มีการป้อนชิ้นงานที่กระบวนการแรก 1700 หน่วย ซึ่งมีค่าเฉลี่ยสัดส่วนชิ้นคุณภาพดี 83% ส่วนชิ้นงานที่มีตำหนิ 60% สามารถดำเนินการแก้ไข (Rework) ถ้าชิ้นงานคุณภาพดีมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นเป็น 92% ให้หาค่า Yield ของผลิตภัณฑ์แต่ละวันและค่า Yield ของผลิตภัณฑ์ ?

.
วิธีทำ   หาค่า Yield จากความสัมพันธ์ Y = (I) (%G) + (I) (1-%G) (%R)
                            Y = (1700) (0.83) + (1700) (0.17) (0.60) = 1584.4 หน่วย
         หากค่า %G เพิ่มขึ้นเป็น 92% ดังนั้นค่า Yield ที่เกิดขึ้น
                            Y = (1700) (0.92) + (1700) (0.08) (0.60)
                               = 1645 หน่วย  
.
การคำนวณต้นทุนผลิตภัณฑ์

การคำนวณต้นทุนผลิตต่อหน่วยของผลิตภัณฑ์สามารถหาได้จากผลรวมต้นทุนทางตรง (Direct Cost) กับต้นทุนงานแก้ไขหารด้วยค่า Yield แสดงด้วยความสัมพันธ์ ดังนี้

.
ต้นทุนผลิตภัณฑ์ = (ต้นทุนทางตรงของการผลิตต่อหน่วย) (ปัจจัยนำเข้า) + (ต้นทุนแก้ไขต่อหน่วย) (จำนวนหน่วย)
                           
.

เมื่อ  Kd = ต้นทุนทางตรงของการผลิตต่อหน่วย 
       I   = ปริมาณปัจจัยนำเข้า
       Kr = ต้นทุนสำหรับงานแก้ไขต่อหน่วย
       R  = จำนวนหน่วยชิ้นงานที่ต้องแก้ไข 
       Y  = ค่าผลิตผลดี (Yield)

.

สำหรับการเก็บข้อมูลชิ้นงานที่มีคุณภาพดีอาจดำเนินการด้วยการสุ่มตัวอย่าง โดยต้นทุนต่อหน่วย ประกอบด้วยต้นทุนผันแปร เช่น ค่าแรงงาน การตรวจสอบ และการจัดสรรค่าโสหุ้ย (Overhead) เช่น การออกแบบ และระบบสนับสนุนการผลิต

.

รูปที่ 4 กระบวนการจัดสรรต้นทุน

.

กรณีศึกษา 2 บริษัท ABC ได้ดำเนินธุรกิจผลิตมอเตอร์ขนาดเล็กเพื่องานอุตสาหกรรม จากข้อมูลสายการผลิตพบว่ามีต้นทุนทางตรงของการผลิตต่อหน่วย 3000 บาท โดยมีต้นทุนสำหรับงานแก้ไข 1200 บาท/หน่วย แต่ละวันทางโรงงานได้ผลิตมอเตอร์ 100 ตัว โดยมีค่าเฉลี่ยชิ้นงานที่มีคุณภาพดี 80% ซึ่งมอเตอร์ที่เกิดความบกพร่องมีสัดส่วน 50% สามารถแก้ไขให้มีคุณภาพดี   

.

เมื่อดำเนินโครงการTQM ทำให้ ABC ได้พบว่าเมื่อปัญหาในกระบวนการผลิตได้รับการแก้ไขจะสามารถเพิ่มสัดส่วนของชิ้นงานที่มีคุณภาพสอดคล้องกับข้อกำหนดถึง 90% ดังนั้นทางผู้บริหารจึงต้องการประเมินถึงผลกระทบต่อต้นทุนทางตรงต่อหน่วยของการปรับปรุงคุณภาพผลิตภัณฑ์

.
วิธีทำ คำนวณหาต้นทุนต่อหน่วยของมอเตอร์ ก่อนดำเนินโครงการ TQM 
                          
.
คำหาต้นทุนต่อหน่วยของมอเตอร์ หลังดำเนินโครงการ TQM
                          
ผลลัพธ์จากโครงการพัฒนาคุณภาพได้ส่งผลให้เกิดการเพิ่มสัดส่วนผลิตผลดีและสามารถลดต้นทุนการผลิตได้ราว 7%  
.

จากกรณีศึกษาที่ 1 และ 2 ได้แสดงการประเมินวัดผลิตภาพสำหรับกระบวนการผลิตขั้นเดียว (Single Production Process) แต่โดยทั่วไปได้มีการตรวจติดตามระดับคุณภาพผลิตภัณฑ์ตลอดทุกขั้นตอนกระบวนการผลิต ซึ่งแต่ละขั้นตอนได้เกิดงานค้างระหว่างผลิต (WIP) ดังนั้นกระบวนการผลิตที่ประกอบด้วย n ขั้นตอน สามารถประเมินค่า Yield ได้ดังนี้

.
                       Y  = (I) (%g1) (%g2) …… (%gn)
               เมื่อ    I  = ปัจจัยนำเข้าสำหรับหน่วยชิ้นงานที่ป้อนสู่กระบวนการผลิต
                      gn = งานค้างระหว่างผลิต (WIP) ที่กระบวนการ n
.

รูปที่ 5 แผนภาพการเกิดงานค้างระหว่างผลิต

.

กรณีศึกษา 3 บริษัท XYZ ได้ประกอบด้วยขั้นตอนการผลิตมอเตอร์ 4 กระบวนการ โดยผลลัพธ์จากการตรวจสอบแต่ละขั้นตอนการผลิตแสดงด้วยสัดส่วนค่าผลิตผลดีเฉลี่ยของคุณภาพงานระหว่างผลิตซึ่งแสดงในตารางต่อไปนี้        

.

.

ด้วยเหตุนี้ทางบริษัทจึงต้องการทราบค่าสัดส่วนผลิตผลดีของผลิตภัณฑ์ที่เกิดขึ้นแต่ละวันสำหรับการผลิตมอเตอร์100 หน่วย/วัน และต้องการทราบปริมาณหน่วยชิ้นงานนำเข้า (Input) ที่เข้าสู่กระบวนการเริ่มต้นที่ส่งผลให้เกิดชิ้นงานคุณภาพดี 100 หน่วย ?

.
วิธีทำ                      Y  = (I) (%g1) (%g1) …… (%gn)
                                 = (100) (0.93) (0.95) (0.97) (0.92)
                                 = 78.8 หน่วย
แต่ละวันกระบวนการผลิตได้ผลิตสินค้าที่มีคุณภาพดี 78.8 หน่วย
.
ปริมาณชิ้นงานที่นำเข้าสู่กระบวนการที่ก่อให้เกิด Product Yield มอเตอร์ 100 หน่วย 

ดังนั้นกระบวนการผลิตจึงต้องป้อนชิ้นงานลิตมอเตอร์ 127 หน่วยเพื่อเกิดผลิตผลดี 100 หน่วย
.

สำหรับการวัดผลิตภาพที่เชื่อมโยงกับระดับคุณภาพได้เกิดจากการบูรณาการแนวคิดดัชนีคุณภาพและค่า Product Yield เรียกว่า Quality Productivity Ratio (QPR) โดยสามารถหาได้จากความสัมพันธ์

.

.

โดยที่ดัชนีคุณภาพ ประกอบด้วย ต้นทุนทางคุณภาพ ดังนั้นสัดส่วนค่า QPR จะเพิ่มขึ้น หากต้นทุนกระบวนการหรืองานแก้ไขลดลง ซึ่งถูกใช้ประเมินสมรรถนะโดยรวมขององค์กรด้วยความสัมพันธ์ ดังนี้

.

.

ความสัมพันธ์สัดส่วน QPR ไม่เพียงแค่สะท้อนถึงคำมั่นขององค์กรที่ให้กับลูกค้าเพื่อสร้างความพึงพอใจด้วยการลดปริมาณการคืนสินค้าจากลูกค้า แต่สัดส่วนดังกล่าวยังสะท้อนถึงปัจจัยภายนอกอย่างลูกค้าด้วยตัวชี้วัดทางคุณภาพซึ่งส่งผลให้เกิดความพึงพอใจ เช่น หากธุรกิจมียอดขายรวม 50 ล้านบาท โดยมียอดสัดส่วนการคืนสินค้าประมาณ 10% ของยอดขายรวม ซึ่งมีต้นทุนการขายสินค้า 23 ล้านบาท และเกิดต้นทุนสำหรับงานแก้ไข 7 ล้านบาท ดังนั้นสัดส่วน QPR แสดงดังนี้

.

.

.

กรณีศึกษา 4 บริษัท ABC ได้ดำเนินการผลิตมอเตอร์ขนาดเล็กด้วยตรงทุนกระบวนการต่อหน่วย 3,000 บาท โดยมีต้นทุนสำหรับงานแก้ไข 1,200 บาท/หน่วย แต่ละวันทางโรงงานได้ผลิตมอเตอร์ 100 ตัว และค่าเฉลี่ยชิ้นงานคุณภาพดี 80% ส่วนมอเตอร์ที่เกิดความบกพร่องสามารถดำเนินการแก้ไขให้มีคุณภาพดี ซึ่งมอเตอร์ที่เกิดความบกพร่องมีสัดส่วน 50% สามารถแก้ไขให้มีคุณภาพดี จากข้อมูลดังกล่าวทาง ABC จึง   

.

ต้องการตรวจสอบผลกระทบของตัวแปร ดังนี้
1) การเพิ่มอัตราการผลิตเป็น 200 หน่วย/วัน  
2) การลดค่าต้นทุนกระบวนการเป็น 2,600 บาท/หน่วย และต้นทุนสำหรับงานแก้ไข 1,000 บาท/หน่วย 
3) ดำเนินโครงการปรับปรุงคุณภาพที่ส่งผลต่อ Product Yield ของคุณภาพสินค้าที่สูงขึ้นเป็น 95%   
4) บูรณาการปัจจัย 2 กับ 3 ให้หาทางเลือกที่เหมาะสมที่สุด

.
วิธีทำ คำนวณหาค่า QPR จากข้อมูลพื้นฐาน =   
.
1) การเพิ่มปัจจัยนำเข้าด้วยอัตราการผลิต 200 หน่วย

จากกรณี ดังกล่าวแสดงว่าการเพิ่มปริมาณการผลิตจะไม่มีผลกระทบต่อค่า QPR
.
2) การลดต้นทุนกระบวนการลงเป็น 2,600 บาท และต้นทุนสำหรับงานแก้ไข 1,000 บาท

การลดต้นทุนกระบวนการ และ การ Rework ได้ส่งผลให้ค่า QPR สูงขึ้น
.
3) การปรับปรุงคุณภาพด้วยการเพิ่มค่ายีลด์เป็น 95%

ค่า QPR จะสูงขึ้น เมื่อเกิดการปรับปรุงปัจจัยทางคุณภาพของสินค้า
.
4) การลดต้นทุนและการปรับปรุงปัจจัยคุณภาพสินค้า

.
จากผลลัพธ์ได้แสดงว่าการลดต้นทุนและการปรับปรุงปัจจัยทางคุณภาพได้ส่งผลต่อการเพิ่มสัดส่วน QPR มากที่สุด ดังนั้นจึงเลือกแนวทางที่ 4ด้วยเหตุนี้การสร้างผลิตภาพจากความได้เปรียบสายการผลิต (Manufacturing Advantage) จึงประเมินได้จากสมรรถนะการผลิต ประกอบด้วย
.

-  Doing it right: แสดงถึงความได้เปรียบทางคุณภาพ (Quality Advantage) ด้วยการทำสิ่งที่สอดคล้องกับข้อกำหนดหรือความต้องการลูกค้า
- Doing things fast:  ความได้เปรียบจากปัจจัยความเร็ว
- Doing things on time: ความได้เปรียบจากการส่งมอบที่ตรงเวลา
- Doing things cheap: ความได้เปรียบทางต้นทุน (Cost Advantage)

สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2539 www.thailandindustry.com
Copyright (C) 2009 www.thailandindustry.com All rights reserved.

ขอสงวนสิทธิ์ ข้อมูล เนื้อหา บทความ และรูปภาพ (ในส่วนที่ทำขึ้นเอง) ทั้งหมดที่ปรากฎอยู่ในเว็บไซต์ www.thailandindustry.com ห้ามมิให้บุคคลใด คัดลอก หรือ ทำสำเนา หรือ ดัดแปลง ข้อความหรือบทความใดๆ ของเว็บไซต์ หากผู้ใดละเมิด ไม่ว่าการลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดของบทความนี้ไปใช้ ดัดแปลง โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร จะถูกดำเนินคดี ตามที่กฏหมายบัญญัติไว้สูงสุด