7 อุปนิสัยของโซ่อุปทาน เขียนจากแนวคิดของ Stephen Coveys ซึ่งเป็นหนังสือที่ขายดีทั่วโลกตั้งแต่ปี 1990 และได้มีการนำมาแปลเป็นภาษาไทยแล้วในชื่อว่า 7 อุปนิสัยของผู้ประสิทธิภาพสูง หนังสือเล่มนี้ได้นำเสนอสูตรสำเร็จสำหรับการสร้างความสำเร็จส่วนบุคคลและใน วิชาชีพโดยมีพื้นฐานจากการเปลี่ยนกรอบความคิด (Paradigm Shift) สำหรับบุคคลในการมองโลกและมองตัวเอง รวมทั้งการมุ่งเน้นไปที่คุณลักษณะและหลักการรวมทั้งหลักการ ในการนำไปปฏิบัติ
ความสูญเปล่า (Waste) เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นในทุกองค์กรธุรกิจโดยเฉพาะความสูญเปล่าที่เกิดขึ้นจาก การดำเนินงานที่แฝงในรูป ของเสีย ความล่าช้า และรวมถึงกิจกรรมต่าง ๆ ที่ไม่สร้างคุณค่าเพิ่ม (Non-value added) หรือผลกำไรให้กับธุรกิจ ดังนั้นการจำแนกประเภทความสูญเปล่าจึงมีบทบาทสนับสนุนการพัฒนาผลิตภาพด้วย การขจัดความสูญเปล่า โดยมุ่งแนวคิดการเพิ่มคุณค่าจากการใช้ทรัพยากรและองค์ประกอบของระบบ
ลองเปลี่ยนมุมมองจากกระบวนการธุรกิจเชิงพาณิชย์มาเป็นเชิงการทหารบ้าง เพราะนวัตกรรมต่าง ๆ ในโลกนี้เป็นผลมาจากการค้นคว้าวิจัยทางการทหาร กระบวนการธุรกิจของทหารนั้นไม่ได้มุ่งเน้นที่ผลกำไรเชิงพาณิชย์ แต่เน้นที่การได้ชัยชนะเหนือสมรภูมิรบด้วยการสูญเสียน้อยที่สุด การทำสงครามนั้นเป็นธุรกิจที่ลงทุนสูงและมีความเสี่ยงสูงโดยมีผลกระทบต่อสังคมในทุกด้าน
เป็นที่ทราบกันดีโดยทั่วไปถึงสภาวะการใช้พลังงานที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดปัญหาทางด้านการขาดแคลนพลังงานและด้านเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ ทั้งนี้เนื่องมาจากความไม่สมดุลของปริมาณการใช้พลังงานกับปริมาณที่มีอยู่จริงอย่างจำกัดในประเทศ ทำให้ต้องมีการนำเข้าด้านพลังงานจากต่างประเทศเพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการที่เพิ่มมากขึ้นทุกวัน
บริษัททั่วไปกำลังมองหาแนวทางในการลดจำนวนสินค้าหรือพัสดุคงคลังตามแนววิถีแห่งลอจิสติกส์และโซ่อุปทาน จนทำให้สินค้าคงคลังได้กลายเป็นผู้ร้าย (Evil) ในสายตาของผู้บริหารโซ่อุปทานส่วนใหญ่ เป้าหมายของการจัดการสินค้าคงคลังที่ดีก็คือ การตอบสนองต่อคำสั่งซื้ออย่างสมบูรณ์แบบด้วยการหลีกเลี่ยงการเก็บสินค้าคงคลังไว้มากเกินไป และไม่พลาดการส่งของให้ลูกค้าตามเวลานัดหมาย บริษัททั่วไปมักจะเตรียมรับมือกับสถานการณ์ธุรกิจต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ด้วยการเก็บสินค้าคงคลังไว้มากเกินไป เพราะมีประสบการณ์สินค้าขาดตลาด และส่งสินค้าได้ล่าช้า ทำให้สูญโอกาสในการขายไปอย่างน่าเสียดาย
หลักการแนวคิดลีนได้ถูกประยุกต์ในองค์กรชั้นนำหลายแห่งทั่วโลกจนประสบความสำเร็จด้วยการสร้างศักยภาพการแข่งขันและผลตอบแทนให้กับองค์กร แม้ว่าลีนจะเป็นปัจจัยหลักที่สนับสนุนให้องค์กรก้าวสู่ความเป็นเลิศ แต่หากปราศจากกลยุทธ์และโครงสร้างสนับสนุนก็คงไม่อาจบรรลุประสิทธิผลในการดำเนินโครงการปรับปรุงผลิตภาพด้วยแนวคิดลีน
หากมองด้วยตาเปล่าเมื่อเกิดปรากฏการณ์ฟ้าผ่าขึ้นมา สิ่งที่สามารถสังเกตเห็น นั่นก็คือ ลำแสงกระแสฟ้าผ่าพุ่งลงสู่วัตถุที่มีความสูง (มากที่สุด) หรือลงสู่พื้นดินที่ราบโล่ง ทั้งนี้ทั้งนั้นก็จะขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมและแฟกเตอร์บังคับเป็นอย่างไร ผลกระทบจากฟ้าผ่ามิได้จำกัดอยู่แค่ความเสียหายที่เกิดขึ้นกับชีวิตและทรัพย์สินอย่างตรง ๆ เพียงเท่านั้น แต่ผลกระทบจากปรากฏการณ์ฟ้าผ่ายังแพร่วงกว้างไปมากกว่าที่เราสามารถเห็นได้ด้วยตาเปล่า บทความฉบับนี้จะพุ่งไปสู่การทำความเข้าใจในเรื่องผลกระทบจากปรากฏการณ์ฟ้าผ่าต่อคุณภาพกำลังไฟฟ้าในระบบงาน (ผลกระทบทางอ้อม)
ต้นแบบของตู้ทำความเย็นขนาดจิ๋วที่ใช้แสงเลเซอร์เป็นต้นกำลัง สามารถลดอุณหภูมิลงไปได้เป็นประวัติการณ์ต่ำสุดถึง 208 เคลวิน การพัฒนาตู้ทำความเย็นขนาดกะทัดรัดแบบจิ๋วที่ใช้แสงเลเซอร์เป็นต้นกำลังที่ สามารถลดอุณหภูมิลงไปได้ถึงอุณหภูมิจุดเยือกแข็งสมบูรณ์ (Cryogenic Temperatures) ได้ก้าวกระโดดไปไกล
ด้วยสภาวะการแข่งขันในตลาดยุคไร้พรมแดนแห่งศตวรรษใหม่นี้ได้ ผลักดันให้องค์กรธุรกิจพัฒนาศักยภาพเพื่อให้องค์กรอยู่รอดและสามารถแข่งขัน ได้อย่างยั่งยืน ดังนั้นแนวคิดการผลิตแบบลีน (Lean Manufacturing) จึงเป็นปัจจัยหลักที่สนับสนุนสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศ หรือองค์กรแห่งลีน (Lean Enterprise) โดยแนวคิดการผลิตแบบลีนได้มีพัฒนาการจากระบบการผลิตแบบโตโยต้าที่มุ่งขจัดความสูญเปล่าออกจากระบบการผลิตเพื่อสร้างคุณค่าเพิ่มให้กับ ลูกค้าซึ่งทำให้เกิดการเพิ่มผลิตภาพการดำเนินงานและส่งผลให้ต้นทุนโดยรวมลดลง ดังนั้นเป้าหมายสูงของระบบการผลิตแบบลีนจึงมุ่งสู่ความเป็นเลิศระดับ World Class ซึ่งมีมาตรวัดสู่ความเป็นเลิศทางการผลิต
Gary Convis ที่เป็นคนอเมริกันคนแรกที่ได้รับการถ่ายทอดวิถีแห่งโตโยต้าจนได้เป็นประธาน บริษัท Toyota Motor Manufacturing Kentucky (TMMK) คนแรกที่ไม่ใช่คนญี่ปุ่น มุมมองของ Gary Convis น่าสนใจในฐานะคนต่างชาติที่เข้าไปรับรู้และเรียนรู้วิถีแห่งโตโยต้า บทความนี้จึงขอนำเสนอปาฐกถาของ Gary Convis ในสัมมนาย่อยการจัดการ ที่ Grand Traverse Resort and Spa, Traverse City, รัฐ Michigan ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อ 8 สิงหาคม 2001
การปรับปรุงกระบวนการธุรกิจ (Business Process Improvement) สามารถให้ผลลัพธ์เป็นที่น่าพอใจและมีคุณค่าทางธุรกิจในเชิงการปรับตัวของ องค์กร ยิ่งปัจจุบันไม่ว่าจะดำเนินการเรื่องอะไรก็ตามจำเป็นต้องมีการนำเอา เทคโนโลยีมาใช้ สำหรับการจัดการกระบวนการธุรกิจเองก็มี เทคโนโลยีการจัดการกระบวนการธุรกิจ (BPM Technology) แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าความสามารถของกระบวนการ (Process Competency) ขึ้นอยู่กับเทคโนโลยีแต่เพียงอย่างเดียว
ปัจจุบันนี้ ถ้าใครท่านอยู่ในวงจรของการแข่งขันในธุรกิจระดับโลกคงจะเคยได้ยินถึงคำว่า Business Process Management (BPM) แต่ยังไม่มั่นใจว่าจะเข้ามาสู่วงจรการทำงานหรือการจัดการของคุณได้อย่างไร BPM จะเข้ามาเกี่ยวพันทั้งในวงการการจัดการการดำเนินงาน (Operation Management) และวงการการจัดการทางด้าน IT
ไฮโดรเจนจะมีคุณสมบัติ ไม่มีสี ไม่มีกลิ่นและไม่เป็นพิษภายใต้ความดันบรรยากาศและอุณหภูมิห้อง มีความเบากว่าทั้งอากาศและฮีเลียม เมื่อนำมาเผาไฮโดรเจนจะให้เปลวไฟสีฟ้าจาง ๆ จนเกือบมองไม่เห็น แต่ถ้าอยู่ภายใต้อุณหภูมิต่ำกว่า -253 oC ไฮโดรเจนจะเปลี่ยนสภาพจากก๊าซเป็นของเหลว [Brady 2000] [Kofstad 1992] ไฮโดรเจนแปลว่า ผู้สร้างน้ำ และเป็นโมเลกุลพื้นฐานที่ประกอบอยู่ในสสารเกือบทั้งหมดในจักรวาลนี้
ธุรกิจหรือแม้แต่ชีวิตเราเองย่อมมีการพัฒนาเจริญเติบโต การจัดการขององค์กรธุรกิจนั้นเราคงไม่หวังผลกันแค่ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันเท่านั้น แต่จะต้องวัดเปรียบเทียบระหว่างอดีต ปัจจุบันและอนาคตในภาพรวมขององค์กรว่ามีระดับวุฒิภาวะ (Maturity Level) ของการพัฒนาองค์กรอย่างไรบ้าง เหมือนกับคนเราเองที่มีสภาพเป็นเด็ก วัยรุ่น ผู้ใหญ่ที่บรรลุนิติภาวะแล้ว สภาพของวุฒิภาวะ (Maturity) ของผู้ใหญ่หรือคนที่มีอายุมากและผ่านประสบการณ์มามากย่อมมีความสามารถในการตัดสินใจได้มากกว่า
เมื่อสถานการณ์ของโลกมีความผันผวนอยู่ตลอดเวลา แนวคิดของลอจิสติกส์และโซ่อุปทานก็ได้รับการตอบรับมากขึ้นเป็นลำดับ และได้รับความสนใจในระดับนโยบายของชาติเลยทีเดียว แต่ละหน่วยงานในระดับกระทรวง หรือกรมต่าง ๆ รวมถึงสภาพัฒน์ ฯ ก็พยายามที่จะศึกษาและหาข้อมูลต่าง ๆ เพื่อที่จะกำหนดแนวทางและนโยบายด้านลอจิสติกส์และโซ่อุปทานในระดับกระทรวงเพื่อให้สอดรับกับยุทธศาสตร์ชาติทั้งหลาย
ในปัจจุบันหลายโรงงานที่มีโครงการ Six Sigma จะต้องมีจัดเตรียมบุคลากร การจัดองค์กรใหม่ การฝึกอบรมการใช้เครื่องมือ (Tools) ใหม่ ๆ สำหรับโรงงานที่การดำเนินการเรื่องลีน (Lean) ก็เช่นกัน จะมีการดำเนินโครงการในลักษณะที่คล้ายกัน แต่จะต่างกันก็ตรงรายละเอียดของการดำเนินโครงการ แต่สิ่งที่เห็นได้เด่นชัดว่ามีองค์กรจำนวนมากยังดำเนินโครงการปรับปรุงประเภทเหล่านี้อย่างแยกส่วนกันอยู่ ทั้ง ๆ ที่โครงการเหล่านี้ทั้งหมดนั้นเป็นเรื่องเดียวกัน
บทความนี้จะเน้นนำเสนอการจัดการพลังงานใน อุตสาหกรรมฟอกย้อม อุตสาหกรรมฟอกย้อม เป็นอุตสาหกรรมกลางน้ำที่เพิ่มมูลค่าให้กับสินค้า อุตสาหกรรมนี้ใช้แรงงานและเทคโนโลยีด้านเคมีสิ่งทอสูง มีโรงงานกว่า 400 แห่ง จ้างแรงงานกว่า 50,000 คน เป็นโรงงานขนาดใหญ่จำนวน 100 แห่ง (หรือ 25%ของโรงงานฟอกย้อม) มีระบบการผลิตอัตโนมัติ ส่วนอีก 300 แห่งเป็นโรงงานขนาดกลางและเล็ก ใช้เครื่องจักรเก่า
ในช่วงกลางปี พ.ศ. 2546 ถึงกลางปี พ.ศ. 2547 ที่ผ่านมา ตัวแทนจากศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ หรือ เอ็มเทค ในโปรแกรมวิจัยที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีการออกแบบ ผลิตและขึ้นรูปด้านโลหะ ได้มีส่วนร่วมในการดำเนินงานวิจัยเชิงสำรวจสภาวะและศักยภาพทางอุตสาหรรมแม่พิมพ์ หรือโครงการแผนแม่บทอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ (Masterplan of mold and die industry) ซึ่งเป็นการศึกษาอุตสาหกรรมเพื่อการนำเสนอแผนงานในการพัฒนาอุตสาหกรรม อันเป็นยุทธศาสตร์ในระดับประเทศเพื่อการเชื่อมโยงแผนงานจากรายอุตสาหกรรมสู่ภาพรวมในเชิงการผลิตของประเทศต่อไป
ด้วยความเปลี่ยนแปลงจากปัจจัยการแข่งขัน เช่น ความเร็ว ต้นทุน คุณภาพ รวมถึงการเปิดเสรีทางการค้าและความต้องการที่หลากหลายของลูกค้าได้ผลักดันให้ทุกองค์กรต้องปรับตัวเพื่อรองรับกับสภาวะดังกล่าวด้วย การลดต้นทุนดำเนินงาน การลดความผิดพลาด ลดรอบเวลาปฏิบัติงาน และการตอบสนองต่ออุปสงค์อย่างทันเวลา ดังนั้นแนวทางองค์กรแห่งลีน (Lean Enterprise) จึงได้ถูกนำมาใช้ปฏิรูปองค์กรอย่างแพร่หลายในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมา
การเริ่มก่อตั้งธุรกิจใด ๆ จำเป็นต้องมีแผนธุรกิจที่ดี มีแผนการระดมทุน มีการสร้างทีมงานที่แข็งแกร่งและเชี่ยวชาญเฉพาะสาขา บทความนี้จึงนำเสนอข้อเสนอแนะดี ๆ สำหรับผู้ที่คิดจะสร้างธุรกิจใหม่ของตัวเอง จากประสบการณ์ของ David Parker ผู้ซึ่งเป็น CEO และผู้เชี่ยวชาญด้าน Fiber-laser จาก Southampton Photonics