ต้นแบบของตู้ทำความเย็นขนาดจิ๋วที่ใช้แสงเลเซอร์เป็นต้นกำลัง สามารถลดอุณหภูมิลงไปได้เป็นประวัติการณ์ต่ำสุดถึง 208 เคลวิน การพัฒนาตู้ทำความเย็นขนาดกะทัดรัดแบบจิ๋วที่ใช้แสงเลเซอร์เป็นต้นกำลังที่ สามารถลดอุณหภูมิลงไปได้ถึงอุณหภูมิจุดเยือกแข็งสมบูรณ์ (Cryogenic Temperatures) ได้ก้าวกระโดดไปไกล
สิริชนก จันทร์ใบ ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ |
. |
. |
ต้นแบบของตู้ทำความเย็นขนาดจิ๋วที่ใช้แสงเลเซอร์เป็นต้นกำลัง สามารถลดอุณหภูมิลงไปได้เป็นประวัติการณ์ต่ำสุดถึง 208 เคลวิน การพัฒนาตู้ทำความเย็นขนาดกะทัดรัดแบบจิ๋วที่ใช้แสงเลเซอร์เป็นต้นกำลังที่ สามารถลดอุณหภูมิลงไปได้ถึงอุณหภูมิจุดเยือกแข็งสมบูรณ์ (Cryogenic Temperatures) ได้ก้าวกระโดดไปไกล |
. |
เป็นเพราะผลสำเร็จของงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์จากห้องทดลอง Los Alamos National Laboratory ใน เมือง New Mexico สหรัฐอเมริกา ที่ได้พัฒนาวิธีการลดอุณหภูมิของแท่งแก้วพิเศษขนาดเล็กชนิดหนึ่งให้มี อุณหภูมิต่ำได้ถึง 208 เคลวิน หรือ -65 องศาเซลเซียส ด้วยการใช้แค่แสงเลเซอร์ปั๊มผ่านแก้ว |
. |
ซึ่งถือได้ว่าเป็นอุณหภูมิที่ทำลายสถิติและเป็นการเปิด บันทึกหน้าใหม่ของวงการทำความเย็น (ข้อมูลอ้างอิงจาก Applied Physics Letters 86 154107) โดยแก้วพิเศษที่ว่าเป็นแก้วที่แฝงเอาอะตอมของธาตุ “เยทเทอเบียม” (Ytterbium) เข้าไปฝังในเนื้อแก้ว (Ytterbium-doped fluoride glass) ทำให้แก้วมีคุณสมบัติในการเรืองแสงเป็นแสงฟลูออเรสเซนต์ (Fluorescent) |
. |
“เป้าหมายที่สำคัญของเราในการพัฒนาตู้ทำความเย็นที่จุดเยือก แข็งสมบูรณ์ (Cryogenic Refrigerators) โดยใช้แสงเลเซอร์เป็นต้นกำลัง ในขั้นแรกต้องการนำไปใช้งานกับการลดอุณหภูมิของอุปกรณ์บางส่วนที่ทำงานด้วย แสงอินฟราเรด (Infrared) ในจานดาวเทียม หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ประกอบด้วยวัสดุเซมิคอนดักเตอร์ที่ใช้งาน ณ อุณหภูมิสูง เป็นต้น |
. |
โดยตู้ทำความเย็นที่ว่าต้องแข็งแรงและทนทาน อยู่ในรูปของแข็ง (Solid-state) มีขนาดกะทัดรัดและไม่สัมผัสกับการสั่นสะเทือน” กล่าวโดย Richard Epstein หัวหน้าทีมวิจัยในห้องทดลอง Los Alamos |
. |
หลักการทำความเย็นของตู้ทำความเย็นด้วยแสงเลเซอร์นั้นง่าย ดายอย่างเหลือเชื่อ เพียงแค่มีวัสดุที่เหมาะสมและปั๊มอัดแสงเลเซอร์ผ่านเข้าไปในวัสดุเพื่อให้ วัสดุดูดพลังงานจากแสงเข้าและคายพลังงานออกมาด้วยการเรืองแสงฟลูออเรสเซนต์ |
. |
โดยหลักการดังกล่าวเป็นวิธีการในการลดอุณหภูมิของวัสดุซึ่ง อธิบายได้ด้วยพฤติกรรมทางฟิสิกส์ที่ว่าด้วยพลังงานของอนุภาคโฟตอน ถ้าอนุภาคโฟตอนในแสงฟลูออเรสเซนต์ มีพลังงานสูงกว่าพลังงานของอนุภาคโฟตอนของแสงที่อัดผ่านวัสดุเพียงเล็กน้อย แล้วล่ะก็ จะพบว่าเกิดผลต่างของพลังงานในขั้นตอนการดูดและคายทำให้เกิดการสูญเสีย พลังงานสุทธิภายใน |
. |
จากหลักของการอนุรักษ์พลังงานเพื่อให้พลังงานสุทธิยังมีค่า คงที่ จึงเกิดพฤติกรรมในการทดแทนพลังงานที่สูญเสียด้วยการดูดเอาพลังงานความร้อน ส่วนหนึ่งออกจากวัสดุ และนั่นคือวิธีที่จะทำให้วัสดุเย็นตัวลง ดังแสดงระดับผลต่างของพลังงานในรูปที่ |
. |
รูปที่ 1 พฤติกรรมทางฟิสิกส์ที่อธิบายการลดอุณหภูมิลงของแก้ว ซึ่งอธิบายได้ด้วยแผนภูมิระดับพลังงานที่แสดงให้เห็นถึงหลักการลดอุณหภูมิ เนื่องจากเกิดการดูดซับความร้อนออกจากวัสดุ (ที่มา: LANL) |
. |
จากหลักการทำงานดังที่กล่าวมาจะเห็นได้ว่าการเลือกใช้วัสดุ ที่เหมาะสมเป็นส่วนประกอบที่สำคัญที่จะส่งผลต่อการเกิดความต่างของระดับ พลังงานเมื่อดูดซับแสง และ ณ ขณะนี้วัสดุที่ดีที่สุดที่สามารถเลือกมาใช้ได้คือแก้วฟลูออเรสเซนต์ที่มี ชื่อว่า “ZBLAN” ซึ่งเป็นแก้วที่ฝังไว้ด้วยอะตอมของธาตุหายาก (Doped with rare earth) |
. |
รูปที่ 2 ต้นแบบแสดงโครงสร้างภายในของตู้ทำความเย็นด้วยแสงเลเซอร์ (ที่มา: LANL) |
. |
ต้นแบบของตู้ทำความเย็นด้วยแสงเลเซอร์จากห้องทดลอง Los Alamos แสดงดังรูปที่ 2 ประกอบไปด้วยแก้ว Yb-doped ZBLAN ทรงกระบอกที่มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 8 มิลลิเมตร และมีความยาว 8 มิลลิเมตร บรรจุอยู่ภายในกล่องสุญญากาศขนาดเท่ากับกล่องไม้ขีดไฟ |
. |
โดยปลายทั้งสองด้านของแท่งแก้วจะเคลือบไว้ด้วยวัสดุฉนวนเคลือบเงากระจก (Dielectric Mirror) แก้วแต่ละแท่งนั้นจะต้องมีรูขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 1 มิลลิเมตรไว้สำหรับปั๊มอัดแสงเลเซอร์ในการลดอุณหภูมิให้ไหลผ่าน |
. |
เมื่อทีมงานวิจัยได้ทดลองปั๊มอัดแสงเลเซอร์ผ่านแก้วจากหลอด เลเซอร์ไดโอดชนิด Yb: YAG (Yttrium: Yttrium Aluminum) ที่ความยาวคลื่น 1.02 ไมโครเมตร ด้วยกำลังสูงถึง 11 วัตต์ จะทำให้แก้วเริ่มเย็นตัวลง และหลังจากนั้น 2 ชั่วโมงแก้วจะลดอุณหภูมิลงไปถึง 208 เคลวิน ซึ่งเป็นอุณหภูมิที่ต่ำที่สุดเท่าที่ตู้ทำความเย็นเคยทำได้ |
. |
ต่อจากนี้ไปหัวหน้าทีมงานวิจัย Epstein เชื่อมั่นว่าจะมีหนทางในการเพิ่มขีดความสามารถของการลดอุณหภูมิให้ได้ต่ำ กว่านี้อีก “ด้วยวัสดุหลัก คือ แก้วฝังด้วยอะตอมของธาตุเยทเทอเบียม (Ytterbium-doped materials) ที่เรากำลังใช้อยู่ ผมคาดว่าเราจะสามารถลดอุณหภูมิลงไปได้อีกกว่า 100 เคลวิน |
. |
โดยในทางทฤษฎีจะสามารถลดอุณหภูมิไปได้อีก 50 เคลวิน แต่ข้อจำกัดของการลดอุณหภูมิอยู่ที่ความบริสุทธิ์ของวัสดุหลักคือเนื้อแก้ว ที่ฝังด้วยอะตอมหายาก (Rare-earth doped materials) |
. |
เพราะสิ่งแปลกปลอมจะทำให้การเรืองแสงฟลูออเรสเซนออกมาได้ น้อยลง ทำให้ผลต่างของพลังงานสูญเสียน้อยลงและส่งผลให้การดึงพลังงานความร้อนใน เนื้อแก้วออกมาทดแทนน้อยลงเช่นกัน ดังนั้นขณะนี้เราจึงกำลังก่อตั้งโรงผลิตแก้วที่ให้ความบริสุทธิ์ในระดับสูง และนั่นจะทำให้ความสามารถในการลดอุณหภูมิดีขึ้นกว่านี้อีกมาก” |
. |
แปลและเรียบเรียงจาก • Oliver Graydon, “Opto & Laser Europe magazine” |
สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2539 www.thailandindustry.com
Copyright (C) 2009 www.thailandindustry.com All rights reserved.
ขอสงวนสิทธิ์ ข้อมูล เนื้อหา บทความ และรูปภาพ (ในส่วนที่ทำขึ้นเอง) ทั้งหมดที่ปรากฎอยู่ในเว็บไซต์ www.thailandindustry.com ห้ามมิให้บุคคลใด คัดลอก หรือ ทำสำเนา หรือ ดัดแปลง ข้อความหรือบทความใดๆ ของเว็บไซต์ หากผู้ใดละเมิด ไม่ว่าการลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดของบทความนี้ไปใช้ ดัดแปลง โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร จะถูกดำเนินคดี ตามที่กฏหมายบัญญัติไว้สูงสุด