ในการออกแบบระบบนิรภัยหรือระบบ SIS (Safety Instrumented System) เพื่อนำไปใช้สำหรับป้องกันความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นในอุตสาหกรรมกระบวนการผลิตประเภทต่าง ๆ ซึ่งความเสียหายเหล่านี้จะรวมไปถึงความเสียหายต่อสิ่งมีชีวิต, ต่อสิ่งแวดล้อมและความเสียหายต่ออุปกรณ์หรือผลิตภัณฑ์ที่จะได้จากกระบวนการผลิต ในอดีตที่ผ่านมา การออกแบบส่วนใหญ่แล้วผู้ชำนาญพิเศษในระบบควบคุมและเครื่องมือวัดทางอุตสาหกรรม (Control and Instrumentation) จะมีความเชื่อมั่นอยู่บนประสบการณ์ของตนเองและข้อปฏิบัติที่ดีในการออกแบบระบบป้องกันหรือระบบนิรภัย แต่ในปัจจุบันการออกแบบระบบนิรภัยกับอุตสาหกรรมกระบวนการผลิตต่าง ๆ ได้มีความต้องการถูกกำหนดขึ้นในมาตรฐานสากลที่สามารถทำได้โดยการคำนวณเกี่ยวกับปริมาณหรือจำนวนตัวเลขเพื่อใช้ยืนยันว่าระบบนิรภัยที่ทำการออกแบบนั้นมีความเหมาะสมกับความต้องการ ระบบนิรภัยที่มีใช้ในอุตสาหกรรม ดังตัวอย่าง อาทิเช่น ระบบบริหารการเผาไหม้หรือระบบ BMS (Burner Management System) มีคุณสมบัติที่ดีในฟังก์ชันการป้องกันความเสียหายด้วยตัวเอง, ระบบ SIS (Safety Instrumented System) หรือระบบนิรภัยที่ใช้ระบบไฟฟ้าและเครื่องมือวัดทางอุตสาหกรรมเป็นส่วนประกอบ ควรจะต้องถูกออกแบบให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล เช่น IEC 61508/61511, SP 84.01 หรือ NFPA
จากตอนที่ผ่านมาเราได้กล่าวถึงความรู้เบื้องต้นของการสั่นสะเทือน ค่าและตัวแปรต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง จุดวัด วิธีการวัดการสั่นสะเทือน สาเหตุของการเกิดการสั่นสะเทือนบนแนววัดต่าง ๆ ตลอดจนมาตรฐานที่ใช้ในการเปรียบเทียบระดับการสั่นสะเทือน ในตอนนี้เราจะกล่าวถึงเรื่องการวิเคราะห์ความถี่ของการสั่นสะเทือนที่ใช้กับเครื่องจักรที่ประกอบด้วยชิ้นส่วนเคลื่อนไหวมากและมีความสลับซับซ้อนมากยิ่งขึ้น
คู่มือคุณภาพ เป็นเอกสารอีกอย่างหนึ่งที่ห้องปฏิบัติการต้องทำ และเนื้อหาอย่างน้อยต้องระบุนโยบาย, เป้าหมาย ในนโยบายยังต้องกล่าวถึงเป้าหมายรวมขององค์กร รวมถึงคำมั่นสัญญาของผู้บริหารในเรื่อง การเป็นนักวิชาชีพที่ดี และการปฏิบัติตามมาตรฐานนี้ด้วย นัยว่าผู้บริหารพูดแล้วไม่คืนคำ