ปริมาณการสั่งซื้อที่ก่อให้เกิดการประหยัดเป็นระดับของปริมาณการสั่งซื้อที่มีความเหมาะสมมากที่สุด ที่ฝ่ายจัดซื้อควรเลือกที่จะสั่งซื้อวัสดุที่ต้องการในแต่ละครั้ง ณ ตำแหน่งดังกล่าวนี้
การควบคุมวัตถุดิบ (Materials Control) (ตอนที่ 2)
ผศ.วิวัฒน์ อภิสิทธิ์ภิญโญ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน
ปริมาณการสั่งซื้อที่ประหยัด
ปริมาณการสั่งซื้อที่ก่อให้เกิดการประหยัดเป็นระดับของปริมาณการสั่งซื้อที่มีความเหมาะสมมากที่สุด ที่ฝ่ายจัดซื้อควรเลือกที่จะสั่งซื้อวัสดุที่ต้องการในแต่ละครั้ง ณ ตำแหน่งดังกล่าวนี้ ทั้งนี้เนื่องจาก ณ ระดับของปริมาณการสั่งซื้อที่ก่อให้เกิดการประหยัดนั้นเป็นตำแหน่งที่จะทำให้ต้นทุนในการเก็บรักษาวัสดุคงคลังโดยเฉลี่ยรวมมีจำนวนที่เท่ากันกับต้นทุนในการสั่งซื้อวัสดุรวมสำหรับรอบเวลาหนึ่ง ๆ หรือกล่าวให้ง่ายขึ้นได้ว่า ที่ระดับของปริมาณการสั่งซื้อที่ก่อให้เกิดการประหยัดนั้นจะทำให้มีต้นทุนเกี่ยวกับวัสดุคงคลังโดยรวมในจำนวนที่ต่ำที่สุด
ต้นทุนการเก็บรักษาวัสดุคงคลังเป็นต้นทุนที่ต้องจ่ายเงินลงทุนไปในวัสดุที่กิจการต้องการมีสำรองสำหรับรอบเวลาหนึ่ง ๆ เช่า ค่าเช่าคลังวัสดุ ค่าเบี้ยประกันภัย ค่าสาธารณูปโภค ต้นทุนในการเสื่อมสภาพ หรือล้าสมัยจากลักษณะโดยธรรมชาติของวัสดุแต่ละประเภท หรือตามฤดูกาล หรือตามปัจจัยของสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นด้านของเทคโนโลยี จนถึงพฤติกรรมของผู้บริโภคที่มีการเปลี่ยนแปลงไป รวมถึงของเสีย การถูกลักขโมย การยักยอกของบุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการดูแล การเบิกใช้ หรืออื่น ๆ
ต้นทุนเสียโอกาส เป็นต้นทุนอีกรายการหนึ่ง ไม่ใช่ต้นทุนที่ต้องมีการจ่ายเงินลงทุนไปกับตัววัสดุเหมือนกับรายการต้นทุนการเก็บรักษาวัสดุคงคลัง แต่ถือว่าเป็นต้นทุนอีกรายการหนึ่งที่มีความสำคัญอย่างยิ่งที่ควรจะต้องคำนึงถึงเช่นเดียวกับเงินจ่ายลงทุนที่ต้องใช้ไปเพื่อการมีวัสดุคงคลังในจำนวนที่ต้องการ ถ้าเงินทุนเหล่านั้นเป็นเงินทุนที่ได้มาจากการก่อหนี้สิน หรือการกู้ยืมเพื่อนำมาซื้อวัสดุคงคลังที่ต้องการ ดอกเบี้ยจ่ายที่จะเกิดขึ้นจากการกู้ยืมเงินทุนดังกล่าวจะถือว่าเป็นต้นทุนทางตรงของวัสดุคงคลัง ต้นทุนการเก็บรักษา ต้นทุนการถือครองวัสดุคงคลังเป็นสิ่งที่สามารถอธิบายได้อย่างชัดเจนว่าเหตุใดจึงต้องเป็นเช่นนั้น
สำหรับต้นทุนบางรายการสามารถทำการสืบค้นได้จากการจดบันทึกรายการทางบัญชี ในขณะที่ต้นทุนบางรายการไม่สามารถทำได้เพราะไม่มีการจดบันทึกบัญชีไว้ เช่น ต้นทุนเสียโอกาส ซึ่งเป็นต้นทุนที่จะถูกประมาณการขึ้นว่าเมื่อไม่มีวัสดุคงคลังในจำนวนที่ต้องการใช้แล้ว คาดการณ์ได้ว่ากิจการจะสูญเสียผลประโยชน์ที่พึงได้รับจากการที่ควรจะมีวัสดุคงคลังไว้จำนวนหนึ่ง เพื่อป้องกันเหตุการณ์ที่ไม่อาจจะคาดเดาได้ ค่าเบี้ยประกันภัยเป็นต้นทุนอีกรายการหนึ่งที่สามารถประมาณได้อย่างค่อนข้างจะชัดเจนว่าควรจะเป็นเท่าใด เมื่อกิจการมีความต้องการสำรองวัสดุคงคลังจำนวนหนึ่ง ซึ่งโดยปกติทั่วไปจะทำการประเมินค่าเบี้ยประกันภัยที่จะเกิดขึ้นจากการมูลค่าของระดับวัสดุคงคลังที่เป็นที่ต้องการนั้น มักจะมีจำนวนค่าใช้จ่ายเป็นสัดส่วนเดียวกับมูลค่าวัสดุที่ถือครอง
สำหรับต้นทุนในการสั่งซื้อ เป็นต้นทุนรายการหนึ่งซึ่งมูลค่าต้นทุนที่จะเกิดขึ้นนั้นมีลักษณะพฤติกรรมที่เป็นสัดส่วนเดียวกันกับจำนวนครั้งที่ทำการสั่งซื้อวัสดุที่ต้องการ เนื่องจากปริมาณวัสดุที่มีเพื่อใช้มีจำนวนน้อย ความต้องการใช้วัสดุมีจำนวนมาก ทำให้ต้องทำการสั่งซื้อวัสดุบ่อยครั้ง โดยในแต่ละครั้งที่ทำการสั่งซื้อกิจการจะมีต้นทุนการสั่งซื้อเกิดขึ้นควบคู่ไปด้วยเสมอ ตัวอย่างรายการต้นทุนการสั่งซื้อ เช่น การขนย้าย การขนส่งวัสดุ การจัดทำเอกสารการจัดซื้อ ค่าโทรศัพท์ ค่าพาหนะ ต้นทุนการสั่งซื้อโดยรวมจะมีจำนวนเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางตรงกันข้ามกับขนาดของการสั่งซื้อ หรือปริมาณการสั่งซื้อ โดยวัสดุคงคลังมีจำนวนน้อย ต้องทำให้มีต้นทุนในการสั่งซื้อมากขึ้น เพื่อให้บริหารวัสดุหมุนเวียนได้ทันกับความต้องการใช้
แต่ถ้าวัสดุคงคลังมีจำนวนมาก จำนวนครั้งที่ทำการสั่งซื้อวัสดุคงคลังจะลดลง ต้นทุนการสั่งซื้อวัสดุจะมีจำนวนลดลงด้วย บ่อยครั้งที่มักจะมีรายการต้นทุนเสียโอกาสในการทำกำไรได้จากการจำหน่ายสินค้าได้เกิดขึ้นรวมไปด้วย โดยต้นทุนเสียโอกาสเป็นต้นทุนที่เกิดขึ้นเนื่องจาก วัสดุคงคลังมีจำนวนน้อยไม่เพียงพอต่อความต้องการ แต่ถ้ากิจการมีสินค้าคงเหลือมากเกินไป ต้นทุนเสียโอกาสจะมีโอกาสเกิดขึ้นน้อยลงด้วย หรือผันแปรไปในทิศทางเดียวกัน
บ่อยครั้งที่มักจะพบปัญหาว่าวัสดุคงคลังขาดมืออันเป็นผลมาจากเงินจ่ายลงทุนของคลังวัสดุที่ควรต้องมีมีจำนวนไม่พอ การจัดจำหน่ายเกินกว่าที่คาดกันว่าจำหน่ายสินค้าได้ อาจจะทำให้เกิดการขาดแคลนวัสดุที่ต้องทำการเบิกใช้ในการดำเนินงาน การจัดตารางการผลิตไม่สอดคล้องกันกับความต้องการใช้ ความต้องการติดตั้งเครื่องจะมีจำนวนน้อยครั้งด้วย
ต้นทุนการเก็บรักษาวัสดุและต้นทุนการสั่งซื้อวัสดุจะมีการเปลี่ยนแปลงในทิศทางตรงข้ามกัน กล่าวคือต้นทุนการเก็บรักษาวัสดุจะมีจำนวนเพิ่มขึ้น ในขณะที่ต้นทุนในการสั่งซื้อจะลดลงอันเนื่องมาจากขนาดการสั่งซื้อแต่ละครั้งมีจำนวนน้อยกว่า และถ้าต้นทุนการเก็บรักษาวัสดุมีจำนวนน้อยลง ต้นทุนการสั่งซื้อจะมีจำนวนมากขึ้น สำหรับสูตรการคำนวณหาปริมาณการสั่งซื้อที่ก่อให้เกิดการประหยัดค่าใช้จ่ายได้เหมาะสม แสดงดัง
โดยกำหนดให้
U = จำนวนการใช้วัสดุสำหรับรอบเวลา
O = ต้นทุนการสั่งซื้อต่อครั้ง
I = เปอร์เซ็นต์ต้นทุนเงินลงทุนในวัสดุคงคลัง
C = ต้นทุนวัสดุต่อหน่วย
ตัวอย่างที่ 1
สมมติว่า กิจการแห่งหนึ่งมีข้อมูลเกี่ยวกับการคำนวณหาปริมาณการสั่งซื่อที่เหมาะสม ดังนี้
ดังนั้น จากข้อมูลข้างต้นจึงคำนวณหาค่าปริมาณการสั่งซื้อที่ก่อให้เกิดการประหยัดมากที่สุดได้ดังนี้
แทนค่า
จากตัวอย่างข้างต้น ปริมาณการสั่งซื้อที่ก่อให้เกิดการประหยัดที่สุดเท่ากับ 600 หน่วย ดังนั้นในหนึ่งรอบปี ต้องทำการสั่งซื้อวัสดุจำนวน 10 ครั้ง โดยแต่ละครั้งให้ทำการสั่งซื้อวัสดุจำนวน 600 หน่วย ซึ่งเป็นตำแหน่งที่จะมีผลทำให้ ต้นทุนรวมของการมีวัสดุคงคลังที่ระดับต้นทุนเหมาะสมคือ ต่ำสุด แสดงดังนี้
ตาราง แสดงปริมาณการสั่งซื้อที่ก่อให้เกิดการประหยัด
จากตารางข้างต้น จะเห็นได้ว่าที่ระดับของปริมาณการสั่งซื้อ ณ ตำแหน่งอื่น ๆ นอกเหนือไปจากปริมาณการสั่งซื้อที่จำนวน 600 หน่วยนั้นแล้ว ล้วนส่งผลกระทบทำให้จำนวนครั้งของการสั่งซื้อวัสดุรายปีมีจำนวนที่มากกว่า หรือน้อยกว่า 10 ครั้ง ซึ่งไม่ใช่ระดับที่ทำให้ต้นทุนการสั่งซื้อวัสดุมีจำนวนที่น้อยที่สุด และในขณะเดียวกันวัสดุคงคลังโดยเฉลี่ยมีปริมาณที่สูงกว่า หรือน้อยกว่า 300 หน่วย
ซึ่งไม่ใช่ระดับวัสดุคงคลังที่จะทำให้มีต้นทุนการเก็บรักษารายปีในจำนวนที่น้อยที่สุดเช่นเดียวกัน เมื่อรวมจำนวนต้นทุนทั้งสองรายการเข้าด้วยกันแล้ว และนำไปเปรียบเทียบกับจำนวนต้นทุนรวมที่ระดับของปริมาณการสั่งซื้อต่อครั้งที่ 600 หน่วย จำนวนครั้งที่สั่งซื้อรายปีคือ 10 ครั้ง วัสดุคงคลังเฉลี่ยคือ 300 หน่วย จะพบว่าที่ปริมาณการสั่งซื้อต่อครั้งจำนวน 600 หน่วยมีต้นทุนรวมน้อยที่สุด จึงถือว่าเป็นตำแหน่งที่มีความเหมาะสมที่สุดกับการบริหารต้นทุนวัสดุคงคลัง
สำหรับสูตรการคำนวณปริมาณการสั่งซื้อที่ก่อให้เกิดความประหยัดนั้น สามารถแสดงได้ในอีกลักษณะหนึ่ง ซึ่งจะมีความแตกต่างไปจากสูตรการคำนวณที่แสดงไว้ก่อนหน้านี้ ดังนี้
โดยกำหนดให้
U = ความต้องการซื้อหรือความต้องการใช้วัสดุ
P = ต้นทุนการสั่งซื้อวัสดุต่อครั้ง
S = ต้นทุนรายปีสำหรับการเก็บรักษาวัสดุคงคลังต่อหน่วย
จากข้อมูลในตารางข้างต้น สามารถนำมาแสดงแผนภาพ เพื่อให้เห็นลักษณะเส้นกราฟต้นทุนการเก็บรักษา และต้นทุนการสั่งซื้อ ณ ระดับของปริมาณการสั่งซื้อ ณ ตำแหน่งต่าง ๆ ได้ดังภาพต่อไปนี้
ภาพแสดงลักษณะพฤติกรรมต้นทุนการเก็บรักษาต้นทุนการสั่งซื้อ และต้นทุนรวมที่จะทำให้ทราบตำแหน่งปริมาณการสั่งซื้อที่ก่อให้เกิดการประหยัด
เมื่อไหร่จึงจะสั่งซื้อ
ปริมาณการสั่งซื้อที่ประหยัดเป็นการประมาณการว่าในแต่ละครั้งที่ทำการสั่งซื้อควรจะซื้อวัสดุจำนวนเท่าใด แต่คำถามสำคัญที่จะเกิดขึ้นตามมาของทุกองค์กรธุรกิจก็คือ เมื่อไหร่ถึงจะทำการสั่งซื้อวัสดุได้ การที่จะตอบคำถามข้างต้นนี้ไม่ใช่เรื่องยากนัก ถ้าสามารถบอกได้ว่าในการสั่งซื้อแต่ละครั้งจะมีระยะเวลารอคอยวัสดุที่สั่งซื้อไปในแต่ละครั้งนานเท่าใด กี่วัน กี่สัปดาห์ กี่เดือน วัสดุจะส่งมาถึงกิจการเรา ซึ่งก็คือช่องว่างของช่วงเวลาตั้งแต่เริ่มทำการสั่งซื้อจนกระทั่งถึงเวลาที่ Supplier ขนส่งวัสดุเหล่านั้นมาให้
เพื่อให้กิจการทำการตรวจรับนั่นเอง เมื่อทราบว่าปริมาณการสั่งซื้อเท่าใดที่ก่อให้เกิดการประหยัด รวมถึงแน่ใจว่าระยะเวลาการรอคอยที่เกิดขึ้นจะเป็นอย่างใดด้วยแล้ว จุดการสั่งซื้อ หรือจุดการสั่งซื้อใหม่ในครั้งต่อไปจะเป็นตำแหน่ง หรือระดับของปริมาณวัสดุคงคลังที่มีเหลืออยู่ในคลังวัสดุมีจำนวนเพียงพอที่จะให้ทำการเบิกใช้ได้ในระหว่างช่วงเวลาการรอคอยวัสดุจาก Supplier หรือ ณ ตำแหน่งที่ต้องการสำรองวัสดุคงคลังขั้นต่ำ
จุดการสั่งซื้อ หรือจุดการสั่งซื้อในครั้งต่อไป ทำการคำนวณหาได้ ดังนี้
1. คาดการณ์ถึงปริมาณความต้องการใช้วัสดุในแต่ละช่วงเวลาหนึ่ง ๆ
2. ช่วงเวลาระหว่างจุดเริ่มต้นของการสั่งซื้อจนกระทั่งทำการตรวจรับเสร็จ ซึ่งจะเป็นส่วนที่ถูกเรียกว่า ช่วงเวลารอคอย
3. ระดับสินค้าคงเหลือขั้นต่ำ หรือระดับสินค้าคงเหลือเพื่อความปลอดภัย
สำหรับในกรณีตัวอย่างที่กล่าวมาตั้งแต่ต้นนั้น สมมติว่ากิจการแห่งนี้คาดการณ์ว่าระดับความต้องการใช้วัสดุในการดำเนินงานแต่ละวันเท่ากับ 400 หน่วย ระยะเวลาการรอคอยวัสดุเท่ากับ 20 วัน และวัสดุคงคลังเพื่อความปลอดภัย หรือปริมาณวัสดุขั้นต่ำที่ต้องมีสำรองไว้เท่ากับ 500 หน่วย
จากข้อมูลข้างต้น นำมาใช้ในการคำนวณหาจุดการสั่งซื้อ หรือจุดการสั่งใหม่ ได้ดังนี้
ปริมาณความต้องการใช้รายวัน x ระยะเวลาการรอคอย (400 หน่วย x 20 วัน) 8,000 หน่วย
บวก ปริมาณ หรือระดับสินค้าคงเหลือเพื่อความปลอดภัย 500 หน่วย
ปริมาณ หรือระดับวัสดุก่อนจะเริ่มทำการสั่งซื้อ 8,500 หน่วย
จุดการสั่งซื้อเป็นการประเมินค่าถึงตำแหน่งที่ควรจะทำการสั่งซื้อใหม่ในครั้งต่อไป ภายใต้เงื่อนไขที่คาดการณ์ว่าไม่ดีมากที่สุดและมีความน่าจะเป็นไปได้มากที่สุด ไม่ใช่แต่เพียงแน่ใจในระดับวัสดุคงคลังเพื่อความปลอดภัยที่จะต้องมีอยู่ในช่วงระยะเวลาของการรอคอย และไม่ใช่แน่ใจเพียงความต้องการใช้ในช่วงเวลาที่สั้นที่สุดเท่านั้น อย่างไรก็ตาม สถานการณ์นี้อาจจะเกิดขึ้นได้ถ้าวัสดุคงคลังเกิดการขาดมือ ดังนั้นจุดการสั่งซื้ออาจจะไม่ใช่ข้อมูลการคาดการณ์ที่มีความถูกต้องสมบูรณ์เสมอไป
การประเมินค่าระดับวัสดุคงคลังที่ปลอดภัย หรือระดับวัสดุคงคลังขั้นต่ำ
แนวปฏิบัติที่จะดีกว่าที่สามารถแนะนำได้คือ การถือครอง หรือระดับวัสดุคงคลังที่มีเพื่อป้องกันการเกิดวัสดุขาดมือ วัสดุคงคลังจะต้องมีเพื่อใช้ในช่วงระยะเวลาที่ไม่ได้เป็นเหตุการณ์ปกติ และวัสดุคงคลังที่มีเพื่อใช้ในระหว่างการดำเนินงานอยู่ภายใต้ระดับความต้องการที่เป็นไปโดยปกติ ดังนั้น ภายใต้สภาวการณ์ดำเนินงานที่เป็นปกตินั้น วัสดุคงคลังจะต้องไม่ยอมให้มีจำนวนต่ำกว่า หรือลดลงไปถึงระดับที่ต่ำกว่าวัสดุสำรองเพื่อความปลอดภัยซึ่งถือว่าเป็นพื้นที่จำกัดที่ควรต้องมีไว้เสมอ เพื่อเหตุการณ์ไม่ปลอดภัยที่ไม่อาจคาดการณ์ได้ แต่ถ้ารูปแบบการใช้วัสดุมีจำนวนที่สามารถทราบได้อย่างชัดเจน และระยะเวลาการรอคอยเป็นที่ทราบได้อย่างแน่ชัดแล้ว ความจำเป็นของการมีวัสดุคงคลังไว้เพื่อความปลอดภัยจะกลายเป็นสิ่งที่ไม่ต้องการอีกต่อไป
อย่างไรก็ตามในกรณีสถานการณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นความต้องการใช้ในแต่ละช่วงเวลา หรือระยะเวลาการรอคอยไม่ชัดเจน อันเป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิดการแปรปรวนได้ ดังนั้นวัสดุคงคลังจึงยังเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นต้องมีไว้ โดยรักษาระดับวัสดุเพื่อความปลอดภัยเท่ากับส่วนต่างระหว่าง ปริมาณความต้องการใช้วัสดุที่คาดการณ์ว่าจะใช้ในจำนวนที่สูงเกินกว่าวัสดุที่ต้องสำรองไว้สำหรับช่วงเวลาการรอคอยและปริมาณการใช้ที่คาดการณ์ว่าจะต้องการใช้จำนวนมากที่สุดครอบคลุมช่วงเวลารอคอย ทั้งนี้เพื่อให้ต้นทุนของการบริหารวัสดุคงคลังมีจำนวนที่น้อยกว่า
ระดับวัสดุเพื่อความปลอดภัยสามารถทำการคำนวณได้โดยใช้สูตรต่อไปนี้
ระดับวัสดุเพื่อความปลอดภัย = จุดการสั่งซื้อ หรือจุดการสั่งซื้อใหม่ - (อัตราการใช้วัสดุโดยเฉลี่ย x ระยะเวลาของการสั่งซื้อใหม่) หรือ
ระดับวัสดุเพื่อความปลอดภัย = (อัตราการใช้ที่มากที่สุด – อัตราการใช้โดยเฉลี่ย) ? ระยะเวลารอคอย
ดังนั้น จากข้อมูลข้างต้น นำมาแทนค่าในสูตรใหม่ได้ดังนี้
ระดับวัสดุเพื่อความปลอดภัย = (อัตราการใช้ที่มากที่สุด – อัตราการใช้โดยเฉลี่ย) x ระยะเวลารอคอย
= (425 หน่วย – 400 หน่วย) x 20 วัน
= 500 หน่วย
ปริมาณวัสดุคงคลังสูงสุด
ปริมาณวัสดุคงคลังสูงสุดเป็นระดับที่ต้องการให้แน่ใจได้ว่า วัสดุคงคลังจะมีจำนวนไม่เกินไปกว่าจำนวนที่จำกัดไว้ แม้ว่าอาจจะมีความต้องการใช้วัสดุในจำนวนที่น้อย หรือเร็วกว่าระยะเวลาการส่งมอบจาก Supplier ปริมาณวัสดุคงคลังสามารถคำนวณได้โดย
ปริมาณวัสดุคงคลังสูงสุด = ปริมาณการสั่งซื้อที่ก่อให้เกิดการประหยัด + วัสดุคงคลังต่ำสุด
หรือ
ปริมาณวัสดุคงคลังสูงสุด = จุดการสั่งซื้อใหม่ + ปริมาณวัสดุที่ก่อให้เกิดการประหยัดที่สุด – (ปริมาณการใช้วัสดุคงคลังต่ำสุด x ระยะเวลาสั่งซื้อใหม่ที่ต่ำกว่า)
ระดับวัสดุคงคลังที่ไม่ปลอดภัย
โดยทั่วไประดับวัสดุคงคลังที่ไม่ปลอดภัยเป็นสิ่งที่ใช้บ่งชี้ให้เห็นถึงส่วนที่ต่ำกว่าของวัสดุคงคลังเพื่อความปลอดภัย หรือส่วนที่ต่ำกว่าระดับวัสดุคงคลังที่ต่ำที่สุด ซึ่งบางครั้งขึ้นอยู่กับนโยบายในทางปฏิบัติจริงของแต่ละองค์กร ระดับวัสดุคงคลังที่ไม่ปลอดภัยเป็นการคำนวณหาค่าส่วนต่างระหว่างระดับการสั่งซื้อใหม่และระดับวัสดุคงคลังต่ำที่สุด ในอีกกรณีหนึ่งระดับวัสดุคงคลังที่ไม่ปลอดภัยจะเป็นส่วนต่างระหว่าง
ระดับวัสดุคงคลังเฉลี่ย
ระดับวัสดุคงคลังเฉลี่ยคำนวณได้โดยสูตร ดังนี้
หรือ
ตัวอย่าง 2
ต่อไปนี้เป็นตัวอย่างการคำนวณหาวัสดุคงคลังที่ระดับต่าง ๆ
ปริมาณการใช้สูงสุด 650 หน่วยต่อวัน
ปริมาณการใช้ต่ำสุด 300 หน่วยต่อวัน
ปริมาณการใช้ปกติ 500 หน่วยต่อวัน
ปริมาณการสั่งซื้อที่ก่อให้เกิดการประหยัด 75,000 หน่วย
ระยะเวลารอคอยก่อนการสั่งซื้อใหม่ 25–30 วัน
ปริมาณวัสดุคงคลังต่ำสุด (10 วันที่ระดับการใช้ปกติ) 5,000 หน่วย
ระดับส่วนต่างของวัสดุคงคลังคำนวณได้ดังนี้
ระดับการสั่งซื้อใหม่ = (ปริมาณการใช้ปกติ x ระยะเวลารอคอยปกติ) + ระดับวัสดุคงคลังต่ำสุด
= (500 หน่วย x 30 วัน) + 5,000 หน่วย
= 20,000 หน่วย
ระดับวัสดุคงคลังสูงสุด = ระดับการสั่งซื้อใหม่ + ปริมาณการสั่งซื้อที่ก่อให้เกิดการประหยัดที่สุด - ปริมาณวัสดุขั้นต่ำที่มีใช้ในรอบการสั่งซื้อใหม่
= 20,000 หน่วย + 75,000 หน่วย - (300 หน่วย x 25 วัน)
= 87,500 หน่วย
หลังจากที่ทำการสั่งซื้อ ถ้าปริมาณการใช้สูงเกินกว่าปริมาณวัสดุคงคลังเฉลี่ย หรือถ้าระยะเวลารอคอยมีช่วงเวลาที่นานกว่าที่ได้คาดการณ์ไว้ ดังนั้น วัสดุคงคลังจะมีจำนวนที่ต่ำกว่าระดับวัสดุขั้นต่ำ อย่างไรก็ตาม วัสดุคงคลังจะต้องไม่เหลือต่ำเกินไปกว่าปริมาณการใช้สูงสุดและไม่เกินไปกว่าปริมาณที่ต้องมีไว้ในระดับที่ต่ำที่สุด ในกรณีตัวอย่างข้างต้น ปริมาณการใช้สูงสุดระหว่างช่วงเวลารอคอยจะมีค่าเท่ากับ 4,500 หน่วย (30 วัน x 150 หน่วย) ดังนั้นในสถานการณ์นี้ฝ่ายจัดซื้อต้องพยายามทำการจัดซื้อจาก Supplier โดยต้องแน่ใจว่า Supplier จะสามารถจัดส่งได้ตามเงื่อนไข หรือข้อตกลงตามที่ระบุไว้ในสัญญา
ปริมาณของวัสดุคงคลังที่ระดับต่าง ๆ จากการคำนวณไว้ในตัวอย่างข้างต้น แสดงได้ดังนี้
ภาพแสดงวัสดุคงคลัง
สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2539 www.thailandindustry.com
Copyright (C) 2009 www.thailandindustry.com All rights reserved.
ขอสงวนสิทธิ์ ข้อมูล เนื้อหา บทความ และรูปภาพ (ในส่วนที่ทำขึ้นเอง) ทั้งหมดที่ปรากฎอยู่ในเว็บไซต์ www.thailandindustry.com ห้ามมิให้บุคคลใด คัดลอก หรือ ทำสำเนา หรือ ดัดแปลง ข้อความหรือบทความใดๆ ของเว็บไซต์ หากผู้ใดละเมิด ไม่ว่าการลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดของบทความนี้ไปใช้ ดัดแปลง โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร จะถูกดำเนินคดี ตามที่กฏหมายบัญญัติไว้สูงสุด