"เศรษฐศาสตร์" หลายคนมองว่าเป็นเรื่องน่าเบื่อหน่าย มีแต่ตัวเลข กราฟ สมการยุ่งเหยิง แต่ในความยุ่งเหยิงที่หลายคนเบื่อหน่าย กลับเป็นเรื่องสำคัญที่เกี่ยวข้องและปรากฎให้เห็นอยู่ในชีวิตประจำวันของทุก ๆ คน บทความนี้จะพาคุณไปทำความเข้าใจ "เศรษฐศาสตร์" มากกว่าที่คุณเคยเข้าใจ
อนาคตทรัพยากรธรรมชาติกำลังเข้าขั้นวิกฤต สถานการณ์พลังงานก็เช่นเดียวกัน หลายประเทศต่างหันหน้าพึ่งพลังงานนิวเคลียร์ โดยเฉพาะประเทศเพื่อนบ้านของไทยต่างก็มีแผนสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ประเทศไทยจะสามารถหลีกหนี้จากนิวเคลียร์ได้อย่างไร ประเทศไทยจะมีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์หรือไม่ใครตัดสิน?
ภายใต้โลกยุคหลังโลกาภิวัฒน์ เราคงปฏิเสธพลังการขับเคลื่อนของเศรษฐกิจโลกได้ยาก แต่สิ่งหนึ่งที่พวกเราอยากบอกท่านผู้อ่านว่า เราควรเน้นเรื่องความพอเพียงในการดำรงอยู่ดังพระราชดำรัสขององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงย้ำให้คนไทยดำรงชีวิตอยู่ในความพอเพียง จนสภาพัฒน์เองได้นำพระราชดำรัสของพระองค์ท่านไปเป็นกรอบคิดในการวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 9 ความพอเพียงสามารถสร้างการพัฒนาแบบยั่งยืนได้
ทุกวันนี้เราคงปฏิเสธไม่ได้ ว่า "คอมพิวเตอร์" และ "อินเตอร์เน็ต" ได้กลายเป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งในการดำรงอยู่ของมนุษย์ทั่วโลกไปแล้ว ทั้งสองสิ่งนี้สามารถประมวลความคิดความอ่านของมนุษยชาติตลอดจนเชื่อมโยงให้ผู้คนหลายพันล้านคนเข้าหากันด้วยพลังที่เรียกว่า "การสื่อสารไร้พรมแดน"
แม้รัฐบาลจะมีสัญเชิงนโยบายว่าจะแก้ปัญหาที่ดินทำกินของชาวบ้านเกษตรกร แต่จากบทเรียนการต่อสู้ของขบวนการภาคประชาชนก็ไม่ได้ละความพยายามที่จะเข้าไปติดตามตรวจสอบเกี่ยวกับความคืบหน้า โดยเฉพาะกรณีปัญหาความขัดแย้งที่ดินที่รัฐประกาศทับซ้อนที่ทำกินของชาวบ้านซึ่งขัดกับหลักสิทธิมนุษยชนและกฎหมายรัฐธรรมนูญ
จากสองตอนที่ผ่านมาผู้เขียนได้เล่าเรื่องปัญหาเศรษฐกิจสำคัญมา 8 ปัญหาซึ่งทุกปัญหาล้วนเกิดจากความไม่สมดุลของระบบเศรษฐกิจ อีกปัญหาหนึ่งที่จะไม่กล่าวถึงไม่ได้นั่นคือ เศรษฐกิจฟองสบู่ ซึ่งต้นตอของปัญหานี้เกิดจากความโลภของมนุษย์เป็นที่ตั้งนั่นเอง