วิชาเศรษฐศาสตร์มหภาคเป็นวิชาที่มีข้อโต้แย้งกันทางความคิดมากที่สุด แต่ในหลาย ๆ ทัศนะกลับทำให้เป็นวิชาที่มีการพัฒนาไม่หยุดนิ่ง การแตกแขนงทางความคิดของเหล่านักเศรษฐศาสตร์ได้ปรากฎสำนักคิดทางเศรษฐศาสตร์ทั่วทั้งยุโรปและอเมริกา
วิธีร์ พานิชวงศ์, สุทธิ สุนทรานุรักษ์, วิเชียร แก้วสมบัติ |
. |
. |
วิชาเศรษฐศาสตร์มหภาคนับเป็นวิชาที่มีข้อโต้แย้งกันทางความคิดมากที่สุดก็ว่าได้ อย่างไรก็ดีในหลาย ๆ ทัศนะกลับทำให้วิชานี้กลายเป็นวิชาที่มีพัฒนาการไม่หยุดนิ่ง การแตกแขนงทางความคิดของเหล่านักเศรษฐศาสตร์นับเนื่องจาก Sir John Maynard Keynes มาจนถึงปัจจุบัน ได้ปรากฏสำนักคิดทางเศรษฐศาสตร์ผุดขึ้นทั่วทั้งแผ่นดินยุโรปและอเมริกา |
. |
แต่สิ่งหนึ่งที่ผู้เขียนประหลาดใจคือไม่ปรากฏว่ามีสำนักคิดทางเศรษฐศาสตร์ใดในทวีปเอเชียและแอฟริกาที่ได้รับการยอมรับจากวงวิชาการเศรษฐศาสตร์ระดับสากลทั้งนี้ด้วยเหตุผลสำคัญคือวิชาเศรษฐศาสตร์ที่เราศึกษากันอยู่ทุกวันนี้เป็นเศรษฐศาสตร์ที่ได้รับอิทธิพลมาจากโลกตะวันตก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเศรษฐศาสตร์ภายใต้ระบบทุนนิยมที่เชื่อมั่นในกลไกตลาด (Market Machanism) ว่าเป็นเครื่องมือจัดสรรทรัพยากรได้ทรงประสิทธิภาพมากที่สุด |
. |
แม้ว่าหลังทศวรรษแห่งการพัฒนาเศรษฐกิจที่มาพร้อมกับองค์กรโลกบาลอย่าง World Bank และ IMF จะทำให้เศรษฐศาสตร์ในโลกตะวันออกยิ่งดูไร้ตัวตนในสายตาของนักคิดชาวตะวันตกแต่ก็มีนักเศรษฐศาสตร์ทุนนิยมหลายคนเริ่มตั้งคำถามต่อการพัฒนาเศรษฐกิจตามยุทธศาสตร์ของประเทศที่มักอวดอ้างตนว่าพัฒนาแล้ว คำถามที่มีต่อแนวทางการพัฒนาว่าเป็นเพียงแค่ความทันสมัย (Modernization) หรือเป็นการพัฒนาที่จีรังยั่งยืน |
. |
นักเศรษฐศาสตร์อังกฤษอย่าง Ernst Schumacher ได้กลายเป็นหัวขบวนทางความคิดการพัฒนาแบบยั่งยืนหรือ Sustainable Development โดยหลังจากหนังสือของเขาที่ชื่อ Small is Beautiful ถูกตีพิมพ์เมื่อปี 1973 นั้น |
. |
นับเป็นก้าวสำคัญของการศึกษาพุทธเศรษฐศาสตร์ (Buddhist Economics) ผู้เขียนเห็นว่าพุทธเศรษฐศาสตร์หรือเศรษฐศาสตร์เชิงพุทธมีความใกล้เคียงกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงซึ่งหากนักเศรษฐศาสตร์ไทยหันมาศึกษาวิจัยเรื่องนี้อย่างจริงจัง บางทีโลกในอีก 50 ปีข้างหน้าอาจจะมีระบบเศรษฐกิจแบบพอเพียง (Suffienciency System ) เข้ามาแทนที่ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมก็เป็นได้ |
. |
Ernst Fedrich Schumacher |
. |
Reaganomics เศรษฐกิจแบบเรแกนกับเหล่านักเศรษฐศาสตร์สายอุปทาน |
ความเดิมเมื่อตอนที่แล้วผู้เขียนทิ้งท้ายไว้ว่าในทศวรรษที่ 80 ได้เกิดศัพท์คำว่า Reaganomics ขึ้นในวงการเศรษฐศาสตร์ Reaganomics หรือเศรษฐกิจแบบเรแกนนั้นเป็นคำที่สื่อมวลชนอเมริกันบัญญัติขึ้นโดยมีความหมายเชิงนโยบายเศรษฐกิจช่วงที่ Ronald Reagan ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริการะหว่างปี 1981-1990 |
. |
ขณะที่ฝั่งอังกฤษก็ไม่น้อยหน้าโดยบัญญัติคำว่า Thatcherism หรือปรัชญาการบริหารเศรษฐกิจของนายกรัฐมนตรีหญิงเหล็กอย่าง Magarett Thatcher (1979-1990) ซึ่งนโยบายเด่น ๆ ของรัฐบาล Thatcher คือ การ Privatization หรือถ้าพูดให้เพราะหน่อยก็คือการแปรรูปรัฐวิสาหกิจนั่นเอง |
. |
ถ้าท่านผู้อ่านคุ้นกับศัพท์แปลก ๆ เหล่านี้ก็อาจจะพลอยนึกถึงคำว่า Thaksinomics หรือเศรษฐกิจแบบทักษิณ ที่ว่าด้วยนโยบายประชานิยมของรัฐบาลไทยรักไทยระหว่างปี 2001-2006 จริง ๆ แล้วศัพท์แสงเหล่านี้ฝรั่งเขาเอาชื่อผู้นำมาผสม (ภาษาสันสกฤตเรียกคำสนธิหรือ Portmanteau) กับคำว่า Economics จนเกิดเป็นศัพท์ใหม่ใช้เรียกแนวทางการบริหารจัดการเศรษฐกิจแบบผู้นำคนนั้น |
. |
ก่อนจะปรากฏคำว่า Reaganomics นั้น ได้ปรากฏกลุ่มนักเศรษฐศาสตร์ที่เชื่อว่าการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจเพื่อกระตุ้นการผลิตรวมทั้งลดปัญหาการว่างงานและเงินเฟ้อ ขณะเดียวกัน รัฐควรจะเข้าไปเล่นที่อุปทานรวมของระบบเศรษฐกิจ |
. |
คำว่าเล่นในที่นี้หมายถึงเข้าไปจัดการโดยใช้การลดภาษีเพื่อกระตุ้นแรงจูงใจด้านการผลิต นักเศรษฐศาสตร์เหล่านี้จึงถูกจัดให้อยู่ในกลุ่ม Supply Side Economists หรือนักเศรษฐศาสตร์สายอุปทาน ซึ่งนำโดย Martin Feldstein และ Arthur Laffer |
. |
คำว่า Supply Side Economics เกิดขึ้นเมื่อปี 1975 โดยคอลัมนิสต์ชื่อดังอย่าง Jude Wanniski ซึ่ง Waniski สนับสนุนให้มีการลดภาษีพร้อมกันนั้นเขาก็ได้วิจารณ์แนวทางการบริหารเศรษฐกิจของเหล่าสาวกเคนส์ที่เชื่อในนโยบายการคลังที่เน้นภาครายจ่ายและเหล่าสาวก Friedman ที่เชื่อในนโยบายการเงินอีกทั้งยังแขวะไปถึงพรรคพวก Rational Expectation อย่าง Robert E Lucas อีกด้วย |
. |
Ronald Reagan |
. |
สองแกนนำสาย Supply Side Economics |
. |
อย่างไรก็ตามรากฐานทางความคิดของเศรษฐกิจแบบเรแกน คือ ความพยายามที่จะลดขนาดรัฐบาลลง (Small Government) ตลอดจนลดภาษีหลาย ๆ ประเภทโดยเฉพาะภาษีเงินได้ (Income Tax) ซึ่งจะว่าไปแล้ววิธีการลดภาษีนับเป็นนโยบายการคลังขยายตัวหรือ Expansionary Policy ประเภทหนึ่งที่นักเศรษฐศาสตร์เชื่อว่านโยบายดังกล่าวจะช่วยกระตุ้นการลงทุนและการบริโภคอันนำไปสู่การเพิ่มผลผลิตมวลรวมและช่วยแก้ปัญหาการว่างงานในที่สุด |
. |
เมื่อหันกลับมาพิจารณานโยบายการคลังอีกครั้งโดยผ่านมาตรการทางด้านภาษีตามข้อสนับสนุนของเหล่า Supply Side Economists นั้นมีเครื่องมือสำคัญที่ชื่อ Laffer Curve ซึ่งเรียกตามผู้คิดคือ Arthur B Laffer |
. |
โดยแนวคิดดังกล่าวเชื่อว่าการจัดเก็บภาษีในอัตราก้าวหน้า (ProgressiveTax Rate) จะเป็นตัวทำลายแรงจูงใจในการทำงานและการลงทุนซึ่งจะทำให้การลงทุนลดลง การจ้างงานลดลง ผลผลิตมวลรวมก็จะลดลงด้วยและในที่สุดรัฐก็จะเก็บภาษีได้น้อยลงด้วย |
. |
Laffer Curve |
ประดิษฐกรรมทางความคิดของ Supply Side Economists |
. |
จากรูปแกนตั้งแสดงรายรับจากภาษีหรือ Tax Revenue ส่วนแกนนอนแสดงอัตราภาษี ซึ่งถ้าอัตราภาษีเท่ากับศูนย์รายรับจากภาษีเท่ากับศูนย์ด้วย แต่เมื่ออัตราภาษีสูงขึ้นรัฐก็จะมีรายรับสูงขึ้นด้วยและจะได้รับจากภาษีสูงที่สุดที่อัตราภาษี t* |
. |
แต่หากอัตราภาษีสูงกว่านี้แล้วรายรับจากการเก็บภาษีก็จะลดลงไปเรื่อย ๆ เพราะภาคเอกชนหรือประชาชนจะขาดแรงจูงใจในการประกอบกิจกรรมทางเศรษฐกิจและหากอัตราภาษีเท่ากับ 1 เมื่อใด (ดูในรูป) รัฐจะไม่มีรายรับจากการเก็บภาษีเลยเพราะไม่มีมนุษย์คนไหนที่อยากจะทำงานแล้วเสียภาษีให้กับรัฐทั้งหมด |
. |
เหล่านักเศรษฐศาสตร์สายอุปทานเชื่อว่า การลดอัตราภาษีจะเป็นการเพิ่มแรงจูงใจในการทำงาน การลงทุนและการผลิต ทั้งนี้การลดภาษีเงินได้จะทำให้มนุษย์เงินเดือนอย่างเราๆรู้สึกว่ามีรายได้สุทธิสูงขึ้น (Net Income) เนื่องจากเสียภาษีในอัตราต่ำลง นอกจากนี้ยังกระตุ้นให้เกิดการออมสูงขึ้นด้วย ขณะเดียวกันการลดภาษีให้กับธุรกิจทำให้ธุรกิจมีกำไรมากขึ้นเพราะภาษีเป็นต้นทุนอย่างหนึ่ง เมื่อมีกำไรเพิ่มธุรกิจย่อมลงทุนเพิ่มขึ้นด้วย |
. |
ผลกระทบอีกประการที่นักเศรษฐศาสตร์สายอุปทานเชื่อว่านโยบายดังกล่าวทำให้อัตรา เงินเฟ้อลดลงด้วยเหตุผลที่ว่าเส้น AS ในโมเดล AD-AS จะขยับมาทางขวามือทำให้ระดับราคาลดลงและเกิดสิ่งที่เรียกว่า Non inflationary real output growth |
. |
สำหรับโมเดล AD-AS นั้นเป็นโมเดลที่ล้อมาจากโมเดลของวิชาเศรษฐศาสตร์จุลภาคที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างราคาและปริมาณการผลิตสินค้าในตลาดโดยอธิบายผ่านเส้น Demand และ Supply ซึ่งเมื่อนำมาประยุกต์กับเศรษฐศาสตร์ มหภาคแล้ว จึงเป็นการอธิบายความสัมพันธ์ของระดับราคาสินค้าทั่วไปกับระดับผลผลิตมวลรวมนั่นเอง |
. |
สำหรับโมเดล AD-AS นั้นเป็นโมเดลที่ล้อมาจากโมเดลของวิชาเศรษฐศาสตร์จุลภาคที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างราคาและปริมาณการผลิตสินค้าในตลาดโดยอธิบายผ่านเส้น Demand และ Supply ซึ่งเมื่อนำมาประยุกต์กับเศรษฐศาสตร์ มหภาคแล้ว จึงเป็นการอธิบายความสัมพันธ์ของระดับราคาสินค้าทั่วไปกับระดับผลผลิตมวลรวมนั่นเอง |
. |
ตัวแบบ AD-AS ตัวแบบสำคัญของวิชาเศรษฐศาสตร์มหภาค |
. |
อ้างอิง |
1. ภาพจาก www.economyprofessor.com, http://cepa.newschool.edu/het/ และ www.wikipedia.org |