ท่ามกลางกระแสเชี่ยวกรากของวิกฤติเศรษฐกิจ "แฮมเบอเกอร์" คนที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดดูเหมือนจะเป็นประชาชนผู้ใช้แรงงาน ที่ถูกกระทำความรุนแรงโดยนายจ้างที่ถือโอกาสเอาวิกฤตเศรษฐกิจมาเป็นข้ออ้างในการเลิกจ้าง โดยเฉพาะลูกจ้างที่เป็นสมาชิกสหภาพแรงงานเมื่อเกิดข้อพิพาทระหว่างลูกจ้างกับนายจ้าง มักจะถูกเพ่งเล็งก่อนเสมอ
ชัยชนะอีกขั้นของชาวมาบตาพุดและบ้านฉาง หลังจากที่มีประกาศในราชกิจจานุเบกษา กำหนดให้ท้องที่มาบตาพุดและพื้นที่ใกล้เคียง รวมทั้งพื้นที่ทะเลภายในแนวเขต เป็นเขตควบคุมมลพิษ หากแต่การต่อสู้ยังไม่สิ้นสุด สิ่งสำคัญที่ต้องดำเนินการต่อไปคือ การจัดทำแผนปฏิบัติการเพื่อลดและขจัดมลพิษในเขตควบคุมมลพิษ
ความร้อนแรงทางการเมืองขณะนี้ดูเบาลง สิ่งที่ทุกฝ่ายควรหันมาสนใจก็คือปัญหาของชาวบ้าน ที่ผ่านมา ความเดือดร้อนของชาวบ้าน มาจากโครงการพัฒนาของรัฐแทบทั้งสิ้น การลงทุนด้วยเม็ดเงินมหาศาล อาจดูคุ้มค่าถ้าวัดเป็นตัวเงิน แต่ถ้าวัดด้วยต้นทุนทางด้านสิ่งแวดล้อมและต้นทุนด้านสุขภาพ มันอาจขาดทุนก็ได้
โครงการท่อส่งก๊าซและโรงแยกก๊าซไทย-มาเลเซีย โครงการที่สร้างความขัดแย้งมาตั้งแต่รัฐบาลชวน หลีกภัย และทักษิณ ชินวัตร จนถึงปัจจุบัน ได้รับการคัดค้านทั้งจากชาวบ้านในพื้นที่ กรรมาธิการสิ่งแวดล้อมของวุฒิสภา นักวิชาการกว่า 1,300 คนทั่วประเทศ หากแต่โครงการยังดำเนินต่อท่ามกลางเสียงคัดค้าน ใครได้ประโยชน์ใครเสียประโยชน์ ใครได้เปรียบใครเสียเปรียบ โครงการจะสร้างประโยชน์ต่อประเทศชาติได้จริงหรือไม่ คำถามคาใจที่ต้องการคำตอบ
การประชุมผู้นำกลุ่มประเทศอุตสาหกรรม และประเทศเกิดใหม่ที่ใหญ่ที่สุดในโลก 20 ประเทศ ได้กำหนดให้กองทุนการเงินระหว่างประเทศหรือไอเอ็มเอฟ เป็นกลไกหลักในการฟื้นฟูเศรษฐกิจโลก โดยนอกจากการเพิ่มวงเงินกู้ของไอเอ็มเอฟขึ้นเป็นสามเท่าสู่ระดับ 7.5 แสนล้านเหรียญสหรัฐอเมริกาแล้ว กลุ่มจี-20 ยังได้สนับสนุนเงินทุนลงในสินทรัพย์สำรองของไอเอ็มเอฟอีก 2.5 แสนล้านเหรียญสหรัฐ
เป็นที่ยอมรับกันทั่วโลกว่าลำพังการแจก การเป็นอาสาสมัคร การให้ ไม่ใช่สาระหลักของ CSR แต่เป็นในรูปแบบคุณหญิงคุณนายยุคใหม่ ถึงแม้จะให้เป็นองค์ประกอบหนึ่งของ CSR แต่ต้องประกอบด้วยการทำตามกฎหมายโดยเคร่งครัด และการปฏิบัติตามมาตรฐานและจรรยาบรรณทางธุรกิจและทางวิชาชีพ เพื่อการคุ้มครองผู้ถือหุ้น ผู้บริโภค คู่ค้า ชุมชนและสังคมโดยรวม
"ทักษิโณมิคส์" นั้นเป็นนโยบายประชานิยม ของรัฐบาลพรรคไทยรักไทยซึ่งบริหารประเทศไทยช่วงระหว่างปี พ.ศ.2544-2549 การบริหารประเทศภายใต้การนำของคุณทักษิณ ชินวัตร นั้นได้สร้างความเปลี่ยนแปลงขึ้นหลายอย่างให้กับประเทศไทย ด้วยรูปแบบการบริหารเศรษฐกิจผสมผสานการใช้นโยบายการคลังแบบขยายตัวในการเข้ามากระตุ้นเศรษฐกิจไทยที่ถดถอยจากภาวะวิกฤต อีกทั้งออกนโยบายใหม่ ๆ ที่ "ถูกใจ" คนกลุ่มใหญ่ในสังคมไทย ทั้งในเมืองและชนบท จนทำให้ทักษิณเป็นผู้นำที่โดดเด่นและมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนในสังคม
เริ่มต้นศตวรรษที่ 21 เศรษฐกิจโลกเผชิญหน้ากับฟองสบู่ในธุรกิจดอทคอม ขณะเดียวกับที่สหรัฐอเมริกาประสบปัญหาภัยคุกคามแบบใหม่ที่เรียกว่า "การก่อการร้ายสากล" ภายใต้การนำของ "กลุ่มอัลเควด้า" ของ นายโอซามา บิน ลาเดน ด้วยเหตุนี้เองรัฐบาลอเมริกันของประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิ้ลยู บุช จึงเริ่มดำเนินนโยบายการต่างประเทศแบบ "เหยี่ยว" ใช้กองทัพสหรัฐเข้าปฏิบัติการกวาดล้างกลุ่มก่อการร้ายโดยเริ่มจากการโค่นล้ม "รัฐบาลตอลีบัน" ในอัฟกานิสถานตามมาด้วยทำลายล้างรัฐบาลของ "ซัดดัม ฮุสเซน" ที่ครองอำนาจในอิรักมายาวนานกว่า 25 ปี :รู้จักศัพท์เศรษฐกิจในศตวรรษที่ 21 (ตอนที่ 2)
แรงงานชาวจีนที่ตกงานกว่า 20 ล้านคนเพราะโรงงานหลายพันแห่งปิดตัวลงจากพิษเศรษฐกิจตกสะเก็ด ความวิตกกังวลเรื่องความวุ่นวายในสังคมที่มีประชากรสูงถึง 1.3 พันล้านคน เป้าหมายที่จะผลักดันให้เศรษฐกิจจีนปีนี้ขยายตัวให้ได้ 8% เหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยที่ทำให้จีนจำเป็นต้องงัดวิทยายุทธที่มีอยู่ทุกกระบวนท่าขึ้นมาฟื้นฟูเศรษฐกิจ เพราะศึกครั้งนี้ใหญ่หลวงนัก
ศาลปกครองระยองมีคำตัดสินว่าคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติละเลยต่อการปฏิบัติหน้าที่ในการไม่ประกาศให้พื้นที่มาบตาพุด ตลอดจนพื้นที่ข้างเคียงที่มีปัญหาสิ่งแวดล้อมรุนแรงเป็น เขตควบคุมมลพิษ และพิพากษาให้คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติประกาศให้พื้นที่เขตเทศบาลเมืองมาบตาพุด รวม 5 ตำบล คือ ต.มาบตาพุด ต.ห้วยโป่ง ต.เนินพระ ต.มาบข่า และ ต.ทับมา รวมทั้งท้องที่ ต.บ้านฉาง อ.บ้านฉาง ทั้งตำบล เป็น "เขตควบคุมมลพิษ"
แท้จริงแล้วคุณภาพของการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจนั้นถูกสะท้อนออกมาทาง "คุณภาพชีวิต" หรือ "มาตรฐานความเป็นอยู่ของประชากรในประเทศ" (Standard of Living) ไม่ว่าจะเป็นอัตราการเกิดตาย อัตราการมีชีวิตอยู่รอดของทารก อัตราของผู้รู้หนังสือในประเทศ โอกาสในการเข้าถึงบริการสาธารณสุขของคนในประเทศรวมไปถึงการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม เป็นต้น ทั้งหมดที่กล่าวมานั้นเป็นเรื่องของการพัฒนาเศรษฐกิจทั้งสิ้น
"เหล็กต้นน้ำ" เป็น "วาระเร่งด่วน" ที่ต้องรีบผลักดันให้เกิดขึ้นในเมืองไทย เพราะเป็นอุตสาหกรรมรากฐานที่เป็นหัวใจสำคัญต่อการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมต่อเนื่องอื่นๆ อีกมากมาย ช่วยเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันของไทยในเวทีโลก แก้ปัญหาระบบเศรษฐกิจของชาติได้ในระยะยาว วันนี้ขาดความชัดเจนและความจริงใจว่าต้องการให้มีโครงการนี้หรือไม่
มารู้จัก "เบรตตัน วู้ดส์" (Bretton Woods) จะว่าไปแล้วเหตุการณ์สำคัญ ๆ ของประวัติศาสตร์เศรษฐกิจโลกในศตวรรษที่ 20 ต่อเนื่องมาถึงศตวรรษที่ 21 นั้นสะท้อนให้เห็นการร่วมมือกันแก้ปัญหาของมนุษยชาติมากขึ้น อย่าง "วิกฤตเศรษฐกิจครั้งรุนแรงที่สุด" เมื่อปี ค.ศ.1929 ทำให้มหาอำนาจทางเศรษฐกิจยุคนั้นอย่าง อังกฤษ และสหรัฐอเมริกา ช่วยกันประคับประคองวิกฤตครั้งดังกล่าวจนเป็นที่มาของการก่อตั้งองค์กรโลกบาลสององค์กรที่ชื่อ ธนาคารโลก และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ
กลุ่มชาวบ้านได้รับความเดือดร้อนจากการอนุญาตทำเหมืองแร่ทองคำและเงิน เรียกร้องสิทธิที่จะมีส่วนร่วมกับภาครัฐในการอนุรักษ์ บำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ของพวกเขาเอง เพื่อให้สามารถดำรงชีพอยู่ได้อย่างปกติสุขในสิ่งแวดล้อมที่ไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพอนามัย สวัสดิภาพ หรือคุณภาพชีวิตของตน
ท่านเคยสงสัยไหม ทำไมหนอพวกคุณหญิงคุณนายทำงานแจกของสงเคราะห์มาร่วม 50 ปีแล้ว ปัญหาสังคมก็กลับยิ่งหนัก มีการรณรงค์เรื่องปลูกป่าหรือเรื่องสิ่งแวดล้อม แต่สิ่งต่างๆ กลับยิ่งเลวร้ายลง ปริมาณป่าปลูกใหม่เทียบไม่ได้เลยกับป่าถูกทำลาย ปัจจุบันเราเดาะเรียกการทำดีทำนองนี้เสียเท่ว่า CSR ซึ่งมักเป็นไปแบบ "ลูบหน้าปะจมูก" แต่ที่เลวร้ายไปกว่านั้นก็คือ บ่อยครั้งกลับเป็นการทำดีเพื่อปกปิดความชั่ว-ปกป้องคนชั่วอีกต่างหาก!
การใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงในโรงงานอุตสาหกรรมในจังหวัดสงขลา ดูจะยังเป็นที่สนใจของคนทั่วไปอยู่อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะภาพหลอนจากผลกระทบจากโรงไฟฟ้าถ่านหินที่อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง ที่ยังเป็นเรื่องราวติดปากของชาวชาวจังหวัดสงขลาอยู่บางส่วนอย่างไม่ขาดสาย