กระแส CSR หรือความรับผิดชอบต่อสังคมของธุรกิจอุตสาหกรรมหรือองค์กร กำลังเป็นกระแสมาแรงที่ทุกองค์กรจะต้องรู้จักและตระหนักในความรับผิดชอบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะเป็นเครื่องมือที่จะมีส่วนช่วยสร้างความยั่งยืนแก่องค์กรธุรกิจโดยตรง
. |
CSR หรือชื่อเต็ม Corporate Social Responsibility หมายถึงความรับผิดชอบต่อสังคมของธุรกิจอุตสาหกรรมหรือองค์กร ถูกนิยามขึ้นมาจากรากฐานว่า ชุมชนหรือสังคม ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับธุรกิจโดยตรงหรือโดยอ้อม ไม่ใช่จำกัดเฉพาะลูกค้า ผู้ถือหุ้น พนักงาน หรือผู้ส่ง-ป้อนวัตถุดิบเท่านั้น |
ซึ่งการดำเนินธุรกิจมักเกิดปัญหาทางสังคมหรือช่องว่างระหว่างความคาดหวังของสังคมกับปฏิบัติการทางสังคมของภาคธุรกิจอุตสาหกรรมปัจจุบัน แม้ว่าการปฏิบัติการทางสังคมของภาคธุรกิจ/อุตสาหกรรมมีการปรับขยายเพิ่มขึ้นแล้วก็ตาม แต่ก็ยังไม่เพียงพอกับความคาดหวังของสังคม จึงยังผลให้เกิดช่องว่างเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ |
. |
CSR กำลังมาแรงเป็นกระแสไฟลามทุ่ง หรือคลื่นลูกใหม่ที่ทุกองค์กรจะต้องรู้จักและตระหนักในความรับผิดชอบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นองค์กรระดับใดก็ตาม |
. |
CSR ไม่ใช่การกระทำแบบเศรษฐีใจบุญระดับต่างๆ ที่บริจาคเงินส่วนตัวหลายพันหลายหมื่นล้าน เพื่อช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์หรือตั้งกองทุนสาธารณกุศลต่างๆ ซึ่งเป็นคนละเรื่องกัน |
. |
CSR จึงเป็นเครื่องมือใหม่ที่จะมีส่วนช่วยสร้างความยั่งยืนแก่องค์กรธุรกิจโดยตรง เพราะธุรกิจต้องรับรู้ว่าการที่สังคมหลากหลายมากขึ้น ผู้บริโภคและกลุ่มพลังต่างๆ ในสังคมมีความรู้ และยังมีความจำเป็นในการดำรงชีพต่อการมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นเกี่ยวกับปัญหาด้านสุขภาพอนามัยการศึกษา ความปลอดภัย แรงงาน และสิ่งแวดล้อม |
. |
ตลอดจนจริยธรรมต่างๆ ที่มีการสื่อสารกันอย่างทั่วถึงและแพร่หลายอย่างีวดเร็วในปัจจุบัน ยิ่งกว่านั้นระบบกติกาต่างๆ ก็เริ่มมีลักษณะการควบคุมข้ามพรมแดนในรูปสนธิสัญญาระหว่างประเทศ หรือข้อกำหนดในเรื่องการส่งออกและนำเข้ามากขึ้นภายใต้กรอบกติกาการค้าต่างๆ |
. |
การทำ CSR เป็นการแสดงความรับผิดชอบต่อยอดจากพื้นฐานความรับผิดชอบทั่วไปที่องค์กรธุรกิจควรมี 4 ด้าน ได้แก่ 1.เศรษฐกิจ 2.กฎหมาย 3.จริยธรรม 4.สาธารณกุศล ซึ่งสิ่งที่สังคมต้องการจากองค์กรคือความรับผิดชอบขององค์กรในด้านเศรษฐกิจและกฎหมาย ส่วนด้านจริยธรรมและสาธารณกุศลเป้นสิ่งที่สังคมคาดหวังจะได้รับจากองค์กร ดังนั้น การทำ CSR ของแต่ละองค์กรจะต้องเริ่มจาความรับผิดชอบให้ครบทั้ง 4 ด้านข้างต้น |
. |
องค์ประกอบหลักของ CSR มีหลัก 4 ประการ ดังนี้ |
1.สังคม ได้แก่ พื้นที่ที่องค์กรแสดงความรับผิดชอบ แบ่งเป็นสังคมภายในองค์กร (เจ้าของ ผู้ถือหุ้น พนักงาน) สังคมใกล้องค์กร (คู่ค้า ลูกค้า ภาครัฐ) สังคมในวงกว้าง (สังคม ชุมชน คู่แข่ง) การแบ่งมิติทางสังคมขึ้นอยู่กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย |
2.ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ได้แก่ ผู้ได้รับผลกระทบจากการดำเนินงานขององค์กร ได้แก่ ผู้ประกอบการ พนักงาน ลูกค้า ภาครัฐ ชุมชน คู่แข่งทางธุรกิจ องค์กรสาธารณกุศล |
3.ประเด็นของสังคม ได้แก่ สิ่งที่สังคมให้ความสนใจสามารถจัดแบ่งได้ตามมาตรฐานหรือแนวทางที่สังคมทำอยู่ |
4.แนวทางในการทำ CSR มี 7 แนวทาง ได้แก่ |
|
ความสำคัญและประโยชน์ของ SCR |
UNIDO มีบทบาทกระตุ้นองค์กรธุรกิจในการทำ CSR อย่างจริงจัง โดยยกเหตุผลในด้านการเติบโตอย่างยั่งยืน และการทำ CSR มีข้อดี 9 ประการคือ
|
ข้อควรพิจารณา |
ปัจจุบันบริษัทข้ามชาติมีส่วนทำให้ CSR เป็นเครื่องมือสำคัญผ่านเครือข่าย Supply Chain จนกลายเป็นมาตรฐานของธุรกิจ CSR ถูกออกแบบมาสำหรับกระตุ้นการแข่งขันและการทำกำไร และ CSR จะดีแค่ไหนก็ไม่ควรเป็นของฟุ่มเฟือยทางธุรกิจ แต่ก็เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยเฉพาะในยุคที่มีการแข่งขันบนกรอบกติกาการค้าเสรี (FTA) ที่จะมีเงื่อนไข CSR มาเป็นตัวกำหนดขีดความสามารถในการแข่งขันด้วย เพื่อป้องกันการถูกกีดกันทางการค้าก็มักจะมีมาตรการ NTBs ต่างๆ มาเป็นค่ากำหนดเงื่อนไขสกัดการแข่งขัน |
. |
แนวทางการจัดทำ CSR |
ในทุกองค์กรสามารถทำ CSR ได้ตามความเหมาะสมกับสถานภาพ โดยเริ่มจากการพิจารณาถึงผลกระทบของสิ่งที่องค์กรกำลังขับเคลื่อนอยู่ว่าส่งผลกระทบกับพื้นที่ไหน ใครบ้างมีส่วนได้ส่วนเสีย ประเด็นทางสังคมคืออะไร จะใช้แนวทางใดในการทำ CSR เพื่อกำหนดแผนการทำ CSR ขององค์กรได้อย่างเป็นระบบ เกิดความเชื่อมโยงทุกฝ่าย |
. |
สามารถตอบสนองความต้องการของสังคมและเป้าหมายธุรกิจขององค์กรได้ (Win-Win Approach) และต้องตามดูกันว่าภาครัฐจะกำหนดแนวทางการพัฒนาความรับผิดชอบต่อสังคมของธุรกิจอย่างไรบ้าง หรือภาคธุรกิจเองจะพัฒนา CSR จากแรงกดดันจากภายนอกอันเนื่องมาจากมาตรฐานต่างๆ ที่คู่ค้าสรรหามาใช้ (บีบ) |
. |
หรือจะเป็นเพราะความเข้าใจของภาคธุรกิจที่มองเห็นว่าการทำบุญทางสังคมด้วย CSR อย่างสมัครใจและมีแรงศรัทธาที่แท้จริงเป็นสิ่งที่สังคมต้องตระหนักภายใต้จิตสำนักรับผิดชอบต่อสังคมที่ดี และภาครัฐต้องกำหนดแนวทางพัฒนารองรับ ซึ่งน่าจะได้เห็นภายในอนาคตอันใกล้ |