มารู้จัก "เบรตตัน วู้ดส์" (Bretton Woods) จะว่าไปแล้วเหตุการณ์สำคัญ ๆ ของประวัติศาสตร์เศรษฐกิจโลกในศตวรรษที่ 20 ต่อเนื่องมาถึงศตวรรษที่ 21 นั้นสะท้อนให้เห็นการร่วมมือกันแก้ปัญหาของมนุษยชาติมากขึ้น อย่าง "วิกฤตเศรษฐกิจครั้งรุนแรงที่สุด" เมื่อปี ค.ศ.1929 ทำให้มหาอำนาจทางเศรษฐกิจยุคนั้นอย่าง อังกฤษ และสหรัฐอเมริกา ช่วยกันประคับประคองวิกฤตครั้งดังกล่าวจนเป็นที่มาของการก่อตั้งองค์กรโลกบาลสององค์กรที่ชื่อ ธนาคารโลก และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ
ซีรีส์ “ท่องโลกเศรษฐกิจ” ฉบับนี้ ผู้เขียนขออนุญาตพาท่านผู้อ่านไปสังเกตการณ์การประชุมสุดยอดผู้นำของกลุ่มประเทศที่เรียกตัวเองว่า G-20 ครับ โดยสาระสำคัญของการประชุมครั้งนี้กลุ่มประเทศ G-20 ตั้งใจที่จะจัดระเบียบการเงินใหม่ให้กับโลก หรือที่รู้จักกันในชื่อของ New Bretton Woods หรือ Bretton Woods II นั่นเองครับ |
. |
มารู้จัก "เบรตตัน วู้ดส์" (Bretton Woods) |
จะว่าไปแล้วเหตุการณ์สำคัญ ๆ ของประวัติศาสตร์เศรษฐกิจโลกในศตวรรษที่ 20 ต่อเนื่องมาถึงศตวรรษที่ 21 นั้นสะท้อนให้เห็นการร่วมมือกันแก้ปัญหาของมนุษยชาติมากขึ้นนะครับ |
. |
ยกตัวอย่างเช่น "วิกฤตเศรษฐกิจครั้งรุนแรงที่สุด" หรือ The Great Depression เมื่อปี ค.ศ.1929 ทำให้มหาอำนาจทางเศรษฐกิจยุคนั้นอย่าง อังกฤษ และสหรัฐอเมริกา ช่วยกันประคับประคองวิกฤตครั้งดังกล่าวจนเป็นที่มาของการก่อตั้งองค์กรโลกบาลสององค์กรที่ชื่อ ธนาคารโลก (International Bank Reconstruction and Development) และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (International Monetary Fund) |
. |
เซอร์จอห์น เมย์นาร์ด เคนส์ (Sir John Maynard Keynes) และ นาย
สองคีย์แมนผู้มีบทบาทในการจัดระเบียบเศรษฐกิจให้กับโลกใหม่ หลังจากสิ้นสุดการประชุมสุดยอดที่เมืองเบรตตัน วู้ดส์ (Bretton Woods) มลรัฐนิวแฮมส์เชียร์ สหรัฐอเมริกา |
. |
ทั้งธนาคารโลก หรือ World Bank และไอเอ็มเอฟนั้น ล้วนเป็นผลผลิตจากการประชุมเพื่อจัดระเบียบทางการค้าและการเงินให้กับโลกใหม่ตั้งแต่ปี ค.ศ.1944 ซึ่งต่อมารู้จักกันในชื่อของข้อตกลงเบรตตันวู้ดส์ (Bretton Woods Agreement) ครับ การประชุมดังกล่าวจัดขึ้น ณ โรงแรม
|
. |
โดยส่วนตัวแล้ว ผู้เขียนมองว่าความร่วมมือของเหล่าประเทศอุตสาหกรรมในสมัยนั้นเป็นความร่วมมือที่ต้องการพิทักษ์ “ระบบเศรษฐกิจทุนนิยม” (Capitalism) เนื่องจากนับตั้งแต่ทศวรรษที่ 40 เป็นต้นมา สหภาพโซเวียตในสมัยโจเซฟ สตาลิน (Joseph Stalin) เริ่มแผ่ขยายแนวคิดในเรื่องสังคมนิยมและคอมมิวนิสต์ไปยังประเทศต่าง ๆ ในแถบยุโรปตะวันออกรวมไปถึงจีนและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ด้วยเหตุนี้ความพยายามของเหล่าประเทศแม่แบบทุนนิยมอย่างอังกฤษและอเมริกา จึงต้องการพิทักษ์ระบบเศรษฐกิจทุนนิยมไว้ |
. |
อย่างไรก็ตามสหรัฐอเมริกาและกลุ่มประเทศยุโรปยังคงมีอิทธิพลอย่างยิ่งในการวางกฎกติกาทางเศรษฐกิจให้กับโลก โดยสหรัฐได้รับสิทธิในการเลือกคนของตัวเองเป็น "ประธานธนาคารโลก" ขณะที่กลุ่มประเทศยุโรปก็ได้รับสิทธิในการเลือกคนยุโรปดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการกองทุนการเงินระหว่างประเทศ ซึ่งคนปัจจุบัน คือ นาย
|
. |
การเงินโลกภายใต้ข้อตกลง Bretton Woods นั้นมีหลักการสำคัญ คือ ประเทศสมาชิกของไอเอ็มเอฟจะต้องใช้อัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่ (Pegged Rate) ยกเว้นสหรัฐอเมริกาประเทศเดียว ทั้งนี้ประเทศเหล่านี้จะต้องกำหนดค่าเสมอภาคหรือ Par Value ของเงินตราในประเทศตัวเองให้เทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐโดยธนาคารกลางของประเทศสมาชิกจะต้องดำเนินการซื้อขายเงินตราต่างประเทศเพื่อไม่ให้อัตราแลกเปลี่ยนของประเทศตัวเองเปลี่ยนแปลงเกิน 1 เปอร์เซ็นต์ของค่าเสมอภาค ทั้งนี้เพื่อรักษาเสถียรภาพของอัตราแลกเปลี่ยน รัฐบาลอเมริกันจะเป็นผู้รับแลกเงินดอลลาร์กับทองคำอย่างไม่จำกัดจำนวน (The Gold Convertibility Commitment) |
. |
ผลจากการที่รัฐบาลอเมริกันยินยอมที่จะรับแลกเงินดอลลาร์กับทองคำอย่างไม่จำกัดจำนวนนี้ทำให้เงินดอลลาร์สหรัฐได้รับความเชื่อมั่นเป็นอย่างยิ่งในฐานะที่เป็นเงินตราสกุลสำคัญของโลก นั่นหมายความว่าทุกประเทศเชื่อมั่นในค่าเงินดอลลาร์เพราะหากมีปัญหาสภาพคล่องก็สามารถเอาเงินดอลลาร์ที่เก็บไว้เป็นเงินสำรองระหว่างประเทศนั้นไปแลกคืนเป็นทองคำกับสหรัฐอเมริกาได้ไม่จำกัดจำนวน นับแต่นั้นมาทำให้เงินดอลลาร์เข้ามามีบทบาทแทนเงินปอนด์สเตอริงของอังกฤษ |
. |
อย่างไรก็ดีระบบการเงิน Bretton Woods ก็ต้องล่มสลายเนื่องจากสหรัฐอเมริกาในฐานะเจ้าของเงินสกลุหลักเริ่มเผชิญวิกฤตดุลการชำระเงินขาดดุลเรื้อรังเป็นเวลาติดต่อกันนานถึงสิบปี (ค.ศ.1958-1968) เนื่องจากรัฐบาลสมัยจอห์น เอฟ เคเนดี้ (John F. Kenedy) และ ลินดอน บี จอห์นสัน (Lindon B. Johnson) ดำเนินนโยบายการคลังแบบขยายตัวอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะการก่อสงครามเวียดนามทำให้ดุลการชำระเงิน (Balance of Payment) ของสหรัฐอเมริกานั้นขาดดุลอย่างรุนแรง |
. |
ขณะเดียวกับที่ความสามารถในการแข่งขันของสหรัฐเริ่มถูกท้าทายจาก “ญี่ปุ่น” และกลุ่มประเทศอียู (European Union) ทั้งหลายทั้งปวงนี้ทำให้ความเชื่อมั่นต่อเงินดอลลาร์สหรัฐเริ่มลดลงเรื่อย ๆ ท้ายที่สุดประเทศสมาชิกไอเอ็มเอฟก็เริ่มนำเงินดอลลาร์ที่เก็บเป็นเงินสำรองไว้ไปแลกกับทองคำจากรัฐบาลอเมริกัน |
. |
เหตุการณ์เหล่านี้ยิ่งทำให้ค่าเงินดอลลาร์เริ่มถดถอยลงเรื่อย ๆ จนในที่สุดรัฐบาลของริชาร์ด นิกสัน (Richard Nixon) ได้ตัดสินใจถอนตัวออกจากระบบการเงิน Bretton Woods โดยสหรัฐยกเลิกการรับแลกเงินดอลลาร์กับทองคำในเดือนสิงหาคม ปี ค.ศ.1971 ซึ่งนับเป็นการล่มสลายของระบบการเงิน Bretton Woods ที่ใช้มายาวนานถึง 27 ปี |
. |
มารู้จักกลุ่ม G-20 กับข้อเสนอฟื้นฟู Bretton Woods II |
นับตั้งแต่ระบบการเงินระหว่างประเทศภายใต้ข้อตกลง Bretton Woods ล่มสลายไป การเงินระหว่างประเทศตกอยู่ในสภาวะไร้การจัดระเบียบทำให้ตลอดระยะเวลา 30 กว่าปีที่ผ่านมา เกิดวิกฤตการณ์การเงินและอัตราแลกเปลี่ยนอยู่บ่อยครั้ง โดยเฉพาะครั้งสำคัญที่สุด คือ วิกฤตการเงินเอเชียหรือ Asian Financial Crisis หรือที่รู้จักกันในชื่อ "วิกฤตต้มยำกุ้ง" โดยจุดเริ่มต้นของวิกฤตเกิดขึ้นที่ประเทศไทยเมื่อปี ค.ศ.1997 |
. |
วิกฤตการณ์ดังกล่าวนับเป็นจุดเริ่มต้นของการร่วมมือกันอีกครั้งของประเทศที่มีเศรษฐกิจขนาดใหญ่ โดยคราวนี้มี "จีน" พ่วงเข้ามาด้วยครับ ด้วยเหตุนี้เองจึงมีการรวมตัวกันของกลุ่มประเทศที่มีเศรษฐกิจขนาดใหญ่จำนวน 20 ประเทศและเรียกตัวเองว่า "กลุ่ม G- |
. |
กลุ่ม G-20 มีชื่อเต็ม ๆ ว่า Group of Twenty Finance Ministers and Central Bank Governors นั่นหมายถึงสมาชิกที่อยู่ในกลุ่ม G-20 คือ เหล่ารัฐมนตรีคลังและผู้ว่าการธนาคารกลางโดยประเทศที่อยู่ในกลุ่ม G-20 |
. |
ปัจจุบันกลุ่ม G-20 มีสมาชิกได้แก่ อาร์เจนติน่า ออสเตรเลีย บราซิล แคนาดา จีน ฝรั่งเศส เยอรมนี อินเดีย อินโดนีเซีย อิตาลี ญี่ปุ่น เม็กซิโก รัสเซีย ซาอุดิอาระเบีย แอฟริกาใต้ เกาหลีใต้ ตุรกี สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา และกลุ่มอียู |
. |
กลุ่ม G-20 ได้จัดการประชุมสุดยอดรัฐมนตรีคลังและผู้ว่าการธนาคารกลางในทุก ๆ ปี โดยการประชุมครั้งแรกจัดขึ้นที่มหานครเบอร์ลิน เยอรมนี ในปี ค.ศ.1999 สำหรับการประชุมในปี ค.ศ.2008 นั้น เมืองซานเปาโล บราซิล รับหน้าเสื่อเป็นเจ้าภาพในรอบปกติ ต่อมากลุ่ม G-20 ได้มีการประชุมนัดพิเศษอีกครั้งในเดือนพฤศจิกายน โดยหัวข้อสำคัญของการประชุมครั้งนี้ คือ การจัดระเบียบการเงินให้กับโลกใหม่ หรือ Financial Markets and the World Economy |
. |
กล่าวกันว่า "
|
. |
การประชุมสุดยอดนัดพิเศษครั้งนี้จัดขึ้นที่กรุงวอชิงตันดีซี สหรัฐอเมริกา ครับ โดยเนื้อหาหลักเน้นไปที่การจัดระเบียบการเงินระหว่างประเทศกันใหม่อีกครั้งโดยมีข้อเสนอในการหยิบระบบการเงินแบบเบรตตัน วู้ดส์ (ภาคสอง) มาปัดฝุ่นใช้อีกครั้งโดยคราวนี้เป็นการอิงไว้กับ “เงินหยวน” ของจีนแทน เหตุผลหนึ่งน่าจะมาจากการที่จีนมีเงินทุนสำรองเงินตราต่างประเทศมากเป็นอันดับหนึ่งของโลก |
. |
ภาพการประชุมกลุ่ม G-20 ที่กรุงวอชิงตันดีซี กับความพยายามที่จะแก้ปัญหาวิกฤตการเงินครั้งรุนแรงที่สุด |
. |
อย่างไรก็ตามข้อสรุปของการประชุมดังกล่าวยังไม่สามารถวางกรอบออกมาเป็นข้อตกลงแบบ Bretton Woods ได้ เนื่องจากคงต้องใช้เวลาศึกษาผลดีผลเสียมากกว่านี้ แต่ทั้งนี้กลุ่ม G-20 ได้บรรลุวัตถุประสงค์สำคัญในการประชุมครั้งนี้ คือ สามารถเข้าใจต้นตอของวิกฤตการณ์การเงินที่เกิดขึ้นรวมไปถึงการวางแนวทางเบื้องต้นที่จะรับมือกับการลุกลามของวิกฤตในอนาคต นอกจากนี้กลุ่ม G-20 ยังเห็นพ้องต้องกันว่าประเทศสมาชิกควรจะดำรงไว้ซึ่งระบบเศรษฐกิจแบบตลาดเสรีอยู่ |
. |
กอร์ดอน บราวน์ (Gordon Brown) และ นิโคลัส ซาโกซี่ (Nicolas Sarkozy) สองผู้นำจากยุโรปที่กำลังชูธงเพื่อจัดระเบียบการเงินใหม่ให้กับโลก |
. |
ท้ายที่สุดนี้ เราคงต้องติดตามต่อไปว่าแนวทางการจัดระเบียบการเงินใหม่ให้กับโลกจะมีทิศทางเป็นเช่นไร ทั้งนี้เศรษฐกิจในยุค “โลกาภิวัตน์” ล้วนมีความผันผวนอยู่ตลอดเวลาและเป็นเรื่องยากที่จะจัดการให้เศรษฐกิจของหลาย ๆ ประเทศอยู่กับร่องกับรอย…แล้วพบกันใหม่ฉบับหน้าครับ |
. |
เอกสารประกอบการเขียน |
1. เนื้อหาและภาพประกอบจาก www.wikipedia.org 2."Bretton Woods System", prepared for the Routledge Encyclopedia of International Political Economy by Dr. B. Cohen |