แผนงานที่จะทำให้ผู้ปฏิบัติงานมั่นใจได้ว่า จะได้รับความปลอดภัยในยามเกิดเหตุฉุกเฉิน เมื่อได้รับการพัฒนา และฝึกอบรมผู้ปฏิบัติงานให้เข้าใจถึงบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบที่พึงกระทำ ในยามเกิดเหตุฉุกเฉินตามแผนที่วางไว้ ก็จะส่งผลให้ความเสียหายอันจะเกิดขึ้นทั้งกับตัวผู้ปฏิบัติงานเอง โครงสร้างอาคาร และทรัพย์สินนั้น มีความรุนแรงน้อยลง รวมถึงสามารถที่จะทำการอพยพผู้คนออกจากพื้นที่อันตรายได้อย่างรวดเร็ว เป็นระเบียบ และมีประสิทธิภาพ
แผนรับเหตุฉุกเฉิน คือ แผนงานที่จะทำให้ผู้ปฏิบัติงานมั่นใจได้ว่า จะได้รับความปลอดภัยในยามเกิดเหตุฉุกเฉินขึ้น ซึ่งแผนงานนี้เมื่อได้รับการพัฒนา และฝึกอบรมผู้ปฏิบัติงานให้เข้าใจถึงบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบที่พึงกระทำ ในยามเกิดเหตุฉุกเฉินตามแผนที่วางไว้ ก็จะส่งผลให้ความเสียหายอันจะเกิดขึ้นทั้งกับตัวผู้ปฏิบัติงานเอง โครงสร้างอาคาร และทรัพย์สินนั้น มีความรุนแรงน้อยลง รวมถึงสามารถที่จะทำการอพยพผู้คนออกจากพื้นที่อันตรายได้อย่างรวดเร็ว เป็นระเบียบ และมีประสิทธิภาพ ในทางตรงกันข้าม หากเราไม่มีแผนรองรับ หรือมีการวางแผนงานอย่างไม่รัดกุมแล้วละก็ อาจจะนำมาซึ่งความสับสนในระหว่างการอพยพ การตอบสนองต่อสภาวะการณ์ฉุกเฉินอย่างไม่ถูกต้องและล่าช้า รวมไปจนถึงเรื่องน่าเศร้าชวนรันทดหดหู่ใจ ตั้งแต่การสูญเสียทรัพย์สิน และการบาดเจ็บ ตลอดไปจนถึงการล้มตายของผู้คน ซึ่งถือเป็นความสูญเสียอย่างประมาณค่ามิได้เลยทีเดียว |
. |
การทำความเข้าใจในแผนรับเหตุฉุกเฉินนี้ ไม่ใช่เรื่องยากแต่อย่างใด เพราะเกี่ยวข้องโดยตรงกับพื้นที่ปฏิบัติงาน โดยวิเคราะห์ได้จากการประเมินพื้นที่ปฏิบัติงาน และอธิบายได้ว่าจะทำอย่างไรให้ผู้ปฏิบัติงานตอบสนองต่อสภาวะการณ์ฉุกเฉินที่มีความแตกต่างกันได้ โดยการประชุมร่วมกันของตัวแทนฝ่ายบริหารและผู้ปฏิบัติงาน ถือเป็นส่วน
|
. |
องค์ประกอบของแผนรับเหตุฉุกเฉิน มี 6 ประการ ดังต่อไปนี้ |
1. การรายงานสถานการณ์ฉุกเฉิน และการเตือนภัยผู้ปฏิบัติงาน |
2. การอพยพ |
3. การหลบภัยในพื้นที่ปฏิบัติงาน |
4. การนำแผนรับเหตุฉุกเฉินมาใช้งานจริง |
5. การช่วยเหลือและปฐมพยาบาล |
6. แผนป้องกันอัคคีภัย |
. |
และเนื่องจากเนื้อหาในหัวข้อที่ 6 แผนป้องกันอัคคีภัยนั้น มีรายละเอียดค่อนข้างมาก ในขณะพื้นที่ของคอลัมน์มีจำกัด ดังนั้น ผู้เขียนจึงขออนุญาตนำเนื้อหาของหัวข้อดังกล่าวมานำเสนอในฉบับต่อไป ส่วนในฉบับนี้ เราจะมาพูดถึงกันในเฉพาะหัวข้อที่ 1-5 ดังนี้ |
. |
1. การรายงานสถานการณ์ฉุกเฉิน และการเตือนภัยผู้ปฏิบัติงาน |
เนื่องจากเหตุฉุกเฉินแต่ละประเภทมีความรุนแรงแตกต่างกันออกไป ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งโดยธรรมชาติและมนุษย์เป็นผู้ก่อให้เกิดขึ้นมา เช่น ไฟไหม้ การระเบิด น้ำท่วม แผ่นดินไหว พายุ สารพิษรั่วไหล การแพร่ของสารกัมมันตรังสี อุบัติเหตุจากสารชีวะภาพ การระบาดของเชื้อโรค ความโกลาหลจากการประท้วงของชุมชนรอบข้าง และเหตุการณ์ความรุนแรงของผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่ปฏิบัติงาน เป็นต้น ดังนั้น การรายงานสถานการณ์ฉุกเฉินและการเตือนภัยจึงเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่ง |
. |
1.1 การรายงานสถานการณ์ฉุกเฉิน |
ผู้ปฏิบัติงานควรที่จะรู้ว่า จะรายงานสถานการณ์ฉุกเฉินอย่างไร เป็นต้นว่า ใช้โทรศัพท์ภายใน อินเตอร์คอม หรือระบบสาธารณะเพื่อแจ้งให้พนักงานคนอื่น ๆ ได้ทราบถึงเหตุฉุกเฉิน รวมทั้งวิธีการแจ้งหน่วยงานราชการหรือเอกชนที่เกี่ยวข้อง ในกรณีที่จำเป็นต้องได้รับการช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน เช่น หน่วยดับเพลิง ตำรวจ หน่วยแพทย์และพยาบาลฉุกเฉิน หน่วยจัดการสารเคมี เป็นต้น เบอร์โทรศัพท์ของหน่วยงานราชการหรือเอกชนที่เกี่ยวข้องกับเหตุฉุกเฉิน ควรที่จะติดหรือวางไว้ใกล้โทรศัพท์ทุก ๆ เครื่อง และถ้าเป็นไปได้ควรเป็นหน่วยงานที่อยู่ใกล้พื้นที่ปฏิบัติงานมากที่สุด หรือที่เรียกว่าหน่วยงานท้องที่ ทั้งนี้เพื่อความรวดเร็วในการเข้าระงับเหตุการณ์ในพื้นที่ฉุกเฉินนั่นเอง |
. |
ตัวอย่าง เบอร์โทรศัพท์ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการระงับเหตุฉุกเฉิน เช่น แจ้งเหตุด่วนเหตุร้าย 191, 123 แจ้งเหตุเพลิงไหม้ ศูนย์ดับเพลิงศรีอยุธยา 199, 0-2246-0199 แจ้งเหตุฉุกเฉิน อุบัติภัยสารเคมี กรมควบคุมมลพิษ 1650 สายด่วนแจ้งเหตุ สาธารณภัย (ปภ.) ตลอด 24 ชั่วโมง 1784 แจ้งเจ็บป่วยฉุกเฉิน ศูนย์นเรนทร กระทรวงสาธารณสุข 1669 ศูนย์กู้ชีพ นเรนทร 0-2354-8222 หน่วยแพทย์กู้ชีวิต วชิรพยาบาล 1554 หน่วยกู้ชีวิต วชิรพยาบาล 4010 และ 4121 รถพยาบาลฉุกเฉิน 0-2281-1544 ศูนย์ส่งกลับและรถพยาบาล โรงพยาบาลตำรวจ 0-2255-1133-6 เบอร์โทรศัพท์ของหน่วยประสานงานเหตุฉุกเฉิน เช่น |
. |
ศูนย์ประสานงานเหตุฉุกเฉิน ตลอด 24 ชั่วโมง 0-2226-4444 สถานีวิทยุชุมชน ร่วมด้วยช่วยกัน 1677 สถานีวิทยุ จส.100 1137, 0-2711-9151-8 สถานีวิทยุ สวพ. 91 ศูนย์วิทยุรามา 0-2246-0999 และ1644 ศูนย์วิทยุกรุงธน 0-2455-0088 ทั้งนี้รวมถึงเบอร์โทรศัพท์ของหน่วยงานราชการหรือเอกชนท้องที่ ที่เกี่ยวข้องกับการช่วยเหลือเหตุฉุกเฉิน เป็นต้น |
. |
1.2 ระบบการเตือนภัยผู้ปฏิบัติงาน |
การเตือนภัยผู้ปฏิบัติงานให้ทราบถึงสถานการณ์ฉุกเฉินที่เกิดขึ้น ถือเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่ง ที่จะต้องมีความรวดเร็วและถูกต้องชัดเจน ไม่สับสน เบอร์โทรศัพท์ภายในที่เชื่อมกับระบบอินเตอร์คอม สามารถที่จะประกาศให้ทราบในคราวเดียวกัน ก็เป็นวิธีที่ดีอีกวิธี
|
. |
รูปแบบของการเตือนภัยผู้ปฏิบัติงานจะส่งสัญญาณเตือนภัย โดยจะต้องมีความแตกต่างกันและสามารถจำแนกให้ผู้ปฏิบัติงานจดจำได้ถึงความหมายของสัญญาณแต่ละอย่าง ว่าบ่งบอกให้ทำการอพยพ หรือให้ปฏิบัติการอย่างใดอย่าง
|
. |
. |
รูปที่ 1 แสดงรูปแบบต่าง ๆ ของการเตือนภัย |
. |
1. การเตือนภัยด้วยสัญญาณเสียง ได้แก่ |
- ออดหรือกริ่งเป็นที่นิยมโดยทั่วไป ลักษณะเหมือนออดที่ใช้ในโรงเรียน ส่วนมากใช้ในกรณีไฟไหม้ |
- การใช้แตรจะให้เสียงที่ดังเพื่อดึงดูดความสนใจอย่างทันทีทันใด ใช้ในกรณีดึงดูดความสนใจในการที่จะบอกถึงภาวะวิกฤต |
- ไซเรนจะให้เสียงที่แหลมโหยหวน ซึ่งมักจะใช้ในกรณีที่ต้องการเริ่มให้มีการอพยพ |
- การประกาศผ่านลำโพง ผู้ประกาศสามารถที่จะพูดสดๆ หรืออัดคำพูดไว้สำหรับกรณีฉุกเฉินต่าง ๆ เหมาะสำหรับพื้นที่ปฏิบัติงานที่กว้าง ซึ่งจะบอกถึงขั้นตอนการปฏิบัติหรือชี้แนะการอพยพ |
. |
1. การเตือนภัยด้วยสัญญาณไฟ มีทั้งแบบสัญญาณไฟสว่างแบบคงที่ แบบกระพริบ หรือแบบสว่างจ้า มักใช้ในพื้นที่ที่มีระดับเสียงรบกวนสูงมากๆ โดยเฉพาะในพื้นที่ที่ใช้เครื่องป้องกันหู ซึ่งการใช้สัญญาณเสียงในการเตือนภัยอาจจะทำให้ผู้ปฏิบัติงานไม่สามารถรับรู้หรือเข้าใจคลาดเคลื่อนได้ |
. |
- แบบไฟสว่างคงที่และแบบไฟกระพริบ เหมาะสำหรับพื้นที่ปฏิบัติงานที่มีเสียงรบกวนและยากต่อการได้ยิน โดยการใช้ไฟหมุนเป็นสีต่าง ๆ หรือกระพริบ เพื่อดึงดูดความสนใจและรับทราบว่าเกิดเหตุฉุกเฉิน |
- แบบไฟสว่างจ้า เหมาะสำหรับพื้นที่ปฏิบัติงานที่มีระดับของแสงรบกวนโดยรอบสูง ซึ่งจะช่วยให้เห็นความแตกต่างมากกว่าวิธีแรก โดยใช้ Strobe lights เป็นกล่องไฟที่มีหลอดไฟความเข้มสูง (high intensity) |
. |
การเลือกใช้รูปแบบการเตือนภัย ควรพิจารณาถึงความเหมาะสมของสถานที่ปฏิบัติงาน โดยต้องเลือกใช้สัญญาณเตือนภัยที่ผู้ปฏิบัติงานทุกคนสามารถที่จะได้ยินหรือมองเห็นและรับรู้ได้ทั่วถึง ง่ายต่อการเข้าใจถึงความหมายของสัญญาณเตือนภัย ที่บ่งบอกว่าต้องการให้อพยพหรือปฏิบัติการอย่าง
|
. |
. |
นอกจากนั้นยังมีข้อควรพิจารณา ดังต่อไปนี้ |
การเตือนภัยด้วยสัญญาณเสียง สัญญาณเสียงที่ใช้ต้องมีความแตกต่างจากเสียงรบกวนโดยรอบ และต้องมีระดับเสียงแตกต่างจากเสียงรบกวนอย่างน้อย 6 เดซิเบล |
การเตือนภัยด้วยสัญญาณไฟ สัญญาณไฟต้องมีความเข้มของการส่งสว่าง ที่ใช้อย่างน้อย 75 แคนเดลา |
. |
- มีงานวิจัยพบว่าการใช้ High-intensity xenon strobe lamps (กล่องไฟที่ใช้หลอดไฟ xenon ที่มีความเข้มสูง) จะมีประสิทธิภาพสูงสุดและแสงสีขาวจะใช้ได้ผลกว่าสีอื่น ๆ ส่วนสีแดงพบว่าใช้ไม่ค่อยได้ผลแม้จะใช้ในความเข้มสูงก็ตาม |
- หลีกเลี่ยงการใช้แสงกระพริบเกินกว่า 5 ครั้ง/วินาที เพราะอาจจะไปกระตุ้นอาการของผู้ที่ป่วยในกลุ่มลมชักได้ |
- การติดตั้งอุปกรณ์เตือนภัยในส่วนที่ต้องเผชิญกับสภาวะแวดล้อมที่กัดกร่อน ควรที่จะใช้อุปกรณ์ที่ทำจากหรือเคลือบด้วยวัสดุที่ทนต่อการกัดกร่อน |
- ตำแหน่งที่ติดตั้ง ควรที่จะห่างหรือไม่ไปสัมผัสกับวัสดุหรืออุปกรณ์อื่น ๆ ที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อตัวเครื่อง |
- อุปกรณ์เตือนภัยที่ติดตั้งภายนอก ต้องมีการป้องกันการรบกวนจากสภาวะอากาศภายนอก โดยอาจใช้หลังคา ฝาครอบ หรือวัสดุอื่น ๆ ที่เหมาะสม |
- อุปกรณ์เตือนภัย ต้องยึดติดกับผนังอย่างแน่นหนา เช่น ใช้สกรูขันยึดติดกับแผงหรือตลับติดกับผนัง โดยหลีกเลี่ยงการได้รับแรงกด หรือแรงเค้นจากสายไฟหรือท่อต่าง ๆ |
- ควรติดตั้งอุปกรณ์เตือนภัยแบบสัญญาณไฟ อย่างน้อย 1 ตัวในแต่ละห้อง รวมถึงพื้นที่ที่ใช้งานโดยทั่วไป เช่น ห้องรับแขก ห้องประชุม ซึ่งสามารถที่จะช่วยให้ผู้สูญเสียการได้ยินสามารถรับรู้ภาวะฉุกเฉินได้ |
- ติดตั้งอุปกรณ์เตือนภัยตามคำแนะนำของผู้ผลิต |
- วัดระยะติดตั้งอุปกรณ์เตือนภัย ทั้ง 2 แบบ โดยทั่วไปควรที่จะสูงจากพื้นห้องที่มีระดับสูงที่สุดประมาณ 2 เมตร หรือต่ำจากเพดานประมาณ 15 เซนติเมตร สำหรับพื้นห้องที่มีระดับต่ำกว่า |
- สำหรับอุปกรณ์เตือนภัยที่ต้องใช้มือดึง หรืออุปกรณ์เตือนภัยอื่น ๆ ที่ไม่ใช้ระบบอัตโนมัติ ต้องมั่นใจได้ว่าถูกติดตั้งในที่ ๆ ไม่มีสิ่งกีดขวางอยู่ในเป้าสายตาและสามารถเข้าถึงได้ง่าย |
- ควรที่จะมีระบบพลังงานสำรองฉุกเฉินไว้ในกรณีที่ระบบไฟฟ้าขัดข้อง |
- ตรวจสอบ ดูแล บำรุงรักษา และทดสอบความพร้อมใช้งานของอุปกรณ์เตือนภัยอยู่เสมอ และมีการสำรองอะไหล่หรืออุปกรณ์ชุดใหม่ ในกรณีที่ต้องทำการซ่อมแซมหรือเปลี่ยนใหม่ |
. |
2. การอพยพ |
2.1 การประเมินสถานการณ์ฉุกเฉิน |
อย่างที่ได้กล่าวมาแล้วในข้างต้นว่า เหตุฉุกเฉินจะมีสถานการณ์ความรุนแรงแตกต่างกันออกไป ดังนั้น ความต้องการของผู้ประกอบการที่จะให้ผู้ปฏิบัติงานตอบสนองต่อเหตุฉุกเฉิน ก็ย่อมมีความแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับชนิดของเหตุฉุกเฉิน เป็นต้นว่า ต้องการให้ผู้ปฏิบัติงานหลบภัยอยู่ในที่ที่ปลอดภัยที่ใดที่
|
. |
2.2 ประเภทของตัวอาคาร หรือสถานที่ปฏิบัติงาน เป็นปัจจัยที่สำคัญอีกอย่าง
|
1.ความแข็งแรงของโครงสร้าง ซึ่งถ้าโครงสร้างไม่มีความแข็งแรง ก็จะมีส่วนสำคัญในการขยายขอบเขตความเสียหายในกรณีเกิดลมพายุ แผ่นดินไหว น้ำท่วม ไฟไหม้ หรือการระเบิด |
. |
2.แผนผังของตัวอาคาร เป็นส่วนสำคัญอีกประการหนึ่งที่จะช่วยได้ในเรื่องของความปลอดภัย ในระหว่างเกิดเหตุฉุกเฉิน ซึ่งจะระบุถึงเส้นทางในการอพยพและทางออกฉุกเฉิน |
. |
ตัวอย่าง แผนผังอาคารแสดงถึงองค์ประกอบต่าง ๆ สำหรับใช้ในการอพยพ รวมถึงตำแหน่งของอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น เครื่องดับเพลิง อุปกรณ์ปฐมพยาบาลเบื้องต้น ซึ่งจำเป็นสำหรับกรณีฉุกเฉิน ดังรูปที่ 2 |
. |
. |
รูปที่ 2 แสดงแผนผังอาคารเส้นทางการอพยพ |
. |
1) การออกแบบทางออกฉุกเฉินขั้นต้นและขั้นที่สอง แผนผังอาคารที่ดีควรออกแบบให้มีทางออกขั้นต้นและทางออกขั้นที่สอง อย่างน้อยขั้นละ 1 ทางออก ซึ่งควรที่จะแยกห่างออกจากกัน เพื่อที่จะได้ลดโอกาสที่ทั้ง 2 เส้นทาง จะถูกสกัดกั้นโดยเปลวไฟหรือภาวะฉุกเฉินอื่น ๆ |
. |
2) ไม่ควรกำหนดให้มีทางออกฉุกเฉินในห้องน้ำ ถึงแม้ว่าในห้องน้ำจะมีประตูหรือหน้าต่าง ซึ่งสามารถจะออกสู่ภายนอกได้ แต่ก็ไม่ใช่ความคิดที่ดีที่จะออกแบบให้ทางออกนั้นเป็นทางออกฉุกเฉินสำหรับการอพยพของตึก ดังนั้น แผนผังไม่ควรอย่างยิ่งที่จะระบุให้ห้องน้ำเป็นเสมือนทางออกฉุกเฉิน |
. |
3) อพยพไปให้ห่างจากห้องที่มีวัสดุอันตราย ทางออกฉุกเฉินต้องนำการอพยพให้ห่างจากห้องที่มีวัสดุอันตราย ดังนั้นผู้ปฏิบัติงานต้องไม่ถูกบังคับให้ผ่านพื้นที่เหล่านั้นระหว่างเกิดเหตุฉุกเฉิน |
. |
4) ทางออกฉุกเฉินต้องไม่นำไปสู่ทางเดินเชื่อมต่อที่คับแคบ ทางเดินเชื่อมต่อที่คับแคบระหว่างตัวอาคาร 2 แห่งอาจมีพื้นที่ห่างไม่เพียงพอต่อความปลอดภัยในการอพยพ |
. |
5) สัญลักษณ์ที่บ่งบอกถึงทางออกต้องชี้บ่งไป ให้ใกล้ทางออกฉุกเฉินมากที่สุด สัญลักษณ์ที่อ่านได้ว่า ”ทางออก” หรือ “Exit” หรือสัญลักษณ์อื่น ๆ ที่มีความหมายเดียวกัน ควรมีลูกศรชี้เพื่อระบุถึงทิศทางติดอยู่ในทุก ๆ ที่ในทิศทางที่นำไปสู่ทางออกฉุกเฉินที่ใกล้ที่สุด |
. |
6) กำหนดจุดรวมพล สถานที่ที่เป็นจุดรวมพลที่ปลอดภัย ควรที่จะถูกกำหนดให้อยู่ภายนอกอาคาร เพื่อที่จะได้เป็นที่รวบรวมผู้ปฏิบัติงานหลังการอพยพในภาวะฉุกเฉิน สถานที่หรือจุดนี้ต้องถูกระบุอย่างชัดเจนในแผนผัง |
. |
7) ห้ามใช้ลิฟท์ในการเดินทางไปสู่ทางออกฉุกเฉิน แผนผังควรที่จะแสดงให้เห็นถึงตำแหน่งของทางขึ้น-ลงบันได และลิฟท์ และควรจะระบุให้ใช้บันไดในการออกจากอาคาร ไม่ควรใช้ลิฟท์ |
8)ระบุทางออกเฉพาะสำหรับผู้พิการที่ใช้รถเข็น ถ้าเป็นไปได้ควรจัดทางออกเฉพาะสำหรับผู้พิการที่ใช้รถเข็น และระบุลงไปในแผนผังด้วย |
9) ระบุตำแหน่งปัจจุบันของผู้ปฏิบัติงาน แผนผังควรที่จะระบุตำแหน่งปัจจุบันของผู้ปฏิบัติงานในอาคารนั้น ๆ ด้วย |
. |
ส่วนจำเป็นสำหรับเส้นทางออก |
- เส้นทางออก วัสดุโครงสร้างควรที่จะถูกติดตั้งอย่างถาวรและมีโครงสร้างของวัสดุทนไฟ ประมาณ 1 ชั่วโมง สำหรับเผชิญกับอัคคีภัย 2-3 ชั่วโมง และ 2 ชั่วโมง สำหรับการเผชิญกับอัคคีภัย 4 ชั่วโมงหรือนานกว่านั้น เส้นทางที่นำไปสู่ทางออกฉุกเฉิน และระหว่างทางออกฉุกเฉิน ต้องไม่มีสิ่งกีดขวางเส้นทางออกควรมีจำนวนที่เพียงพอ โดยมีอย่างน้อย 2 เส้นทาง ที่ผู้ปฏิบัติงานสามารถใช้ในการอพยพได้ และควรที่จะแยกห่างออกจากกัน เผื่อในกรณีที่เส้นทาง
|
. |
- ทางออกต้องนำไปสู่ภายนอกอาคารหรือที่ซึ่งปลอดภัย และต้องมีขนาดเพียงพอสำหรับจำนวนผู้อพยพ |
- ประตูทางออกควรเป็นบานพับและไม่ถูกปิดล็อกจากด้านใดด้าน
|
- ทางออกควรมีความสูงจากพื้นถึงเพดานอย่างน้อย 2.3 เมตร และมีความกว้างอย่างน้อย 71.1 เซนติเมตร |
- ระยะทางระหว่างประตูทางออกสุดท้ายไปจนถึงภายนอกอาคาร ไม่ควรเกิน 6.2 เมตร |
- เส้นทางออกไม่ควรมีวัสดุ หรือการตบแต่งใด ๆ ที่อาจติดไฟได้ง่าย หรือทำให้เกิดการระเบิดได้ |
- เส้นทางออกต้องไม่บังคับให้ผู้อพยพต้องผ่านพื้นที่อันตราย |
- เส้นทางออกควรทาสีที่มีคุณสมบัติทนไฟ |
- เส้นทางออกควรมีแสงสว่างที่เพียงพอ และควรมีระบบสำรองพลังงานฉุกเฉิน ในกรณีเกิดเหตุขัดข้องของระบบไฟฟ้า |
- ป้ายอักษรคำว่า “ทางออก“ หรือ “EXIT“ ต้องมีขนาดที่สังเกต และอ่านได้ง่าย ไม่ถูกบดบังด้วยสิ่งอื่น และตลอดเส้นทางควรมีลูกศรชี้ถึงทางออก |
- ตัวอักษรหรือสัญลักษณ์บ่งบอกถึงทางออก ควรมีความสว่างของพื้นผิว อย่างน้อย 5 foot-candles (54lux) จากแหล่งกำเนิดไฟที่เชื่อถือได้ และมีสีเด่นจำง่าย รวมถึงเรืองแสงในตัวเองหรือโดยมีค่าความเรืองแสงบนพื้นผิวอย่างน้อย 0.06 footlamberts (0.21 cd/m2) |
. |
- สัญลักษณ์ของคำว่า “EXIT“ ควรเป็นตัวอักษรเรียบง่ายและมีความสูงของตัวอักษรไม่น้อยกว่า 15.2 เซนติเมตร.และช่องไฟของตัวอักษรไม่น้อยกว่า 1.9 เซนติเมตร. |
. |
. |
2.3 ความชัดเจนของการสั่งการ และการกำหนดตัวบุคคลที่จะออกคำสั่งหรือเป็นผู้ควบคุมการอพยพ หรือปิดอุปกรณ์ เครื่องมือต่างๆ ซึ่งถ้าเปิดไว้อาจก่อให้เกิดอันตรายร้ายแรงเพิ่มขึ้น |
. |
1.การช่วยเหลือลูกค้า ผู้ปฏิบัติงาน รวมถึงคนพิการและชาวต่างชาติในการอพยพ ในแผนงาน ผู้ประกอบการควรที่จะกำหนดตัวบุคคลที่จะเป็นผู้ควบคุมในการอพยพ เพื่อที่จะช่วยในการเคลื่อนย้ายผู้ปฏิบัติงานจากพื้นที่อันตรายไปสู่พื้นที่ปลอดภัย โดยทั่วไปจะมีอัตราส่วนดังนี้ คือ 1:20 (ผู้ควบคุม 1 คน ต่อผู้ปฏิบัติงาน 20 คน) และควรจะมีจำนวนผู้ควบคุมเพียงพอตลอดระยะเวลาทำงานปกติ กรณีที่ที่ทำงานมีหลายชั้นควรมีตัวแทนผู้ควบคุมในแต่ละชั้นด้วย ในยามเกิดเหตุฉุกเฉิน ผู้ควบคุมจะรับผิดชอบในการตรวจตราที่ทำงาน ห้องน้ำ และพื้นที่อื่น ๆ และจะเป็นคนสุดท้ายที่ออกจากพื้นที่ และต้องปิดประตูเมื่อออกมา ซึ่งบุคคลเหล่านี้ต้องได้รับการฝึกฝนในทุก ๆ ส่วนของแผนผังอาคารในหลาย ๆ กรณี เช่น เส้นทางอพยพขั้นต้นถูกสกัดกั้น เป็นต้น ส่วนผู้ปฏิบัติงานที่ถูกกำหนดให้เป็นผู้ช่วยเหลือในสภาวะการณ์ฉุกเฉินควรที่จะถูกฝึกให้ทราบว่า ในการอพยพมีผู้ปฏิบัติการคนใดที่ต้องได้รับการช่วยเหลือเป็นพิเศษ (เช่น ผู้พิการ) และจำเป็นต้องใช้การช่วยเหลือแบบระบบคู่หูอย่างไรได้บ้าง สำหรับผู้ที่เข้ามาติดต่อธุรกิจ รวมถึงชาวต่างชาติและได้ลงนามเป็น Visitor ผ่านเข้าสู่พื้นที่ ควรที่จะถูกนับรวมเข้าไปในการอพยพด้วย และบรรจุอยู่ในรายชื่อเวลาที่ต้องขานชื่อหรือตรวจรายชื่อที่จุดรวมพล |
. |
2.กำหนดตัวบุคคลที่จะอยู่เป็นผู้ปิดอุปกรณ์ เครื่องมือ ที่อาจก่อให้เกิดอันตรายมากขึ้น ก่อนที่จะมีการอพยพ สำหรับผู้ผลิตรายย่อยคงไม่ใช่ปัญหาใหญ่ แต่สำหรับผู้ผลิตรายใหญ่ ซึ่งมีอุปกรณ์หลายตัวจะมีความยากลำบาก ดังนั้นควรที่จะกำหนดตัวบุคคลที่จะยังคงอยู่ด้านหลัง เพื่อที่จะใช้เครื่องดับเพลิง หรือปิดแก๊ส ระบบและอุปกรณ์พิเศษต่าง ๆ ที่อาจจะเสียหายถ้าทิ้งให้ทำงานอยู่ หรืออาจก่อให้เกิดอันตรายเพิ่มขึ้นในยามเกิดเหตุฉุกเฉิน เช่น ปล่อยสารที่เป็นพิษออกมา ดังนั้นผู้ประกอบการควรที่จะทบทวนการปฏิบัติการและกำหนดวิธีการ ความเหมาะสมและความเป็นได้สำหรับภาวะการณ์ฉุกเฉินที่แตกต่างกัน สำหรับบุคคลเหล่านี้ ต้องสามารถที่จะจดจำได้ว่าเมื่อไรที่จะต้องละทิ้งการปฏิบัติการและอพยพตัวเองให้ทันก่อนที่เส้นทางออกจะถูกสกัดกั้น |
. |
3.การนับจำนวนผู้ปฏิบัติงานหลังการอพยพ ต้องมั่นใจได้ว่า การนับจำนวนผู้ปฏิบัติงานเป็นไปอย่างรวดเร็วและถูกต้อง โดยมีการกำหนดจุดรวมพลซึ่งใช้เป็นที่รวบรวมกำลังคนหลังการอพยพ มีการกำหนดตัวบุคคลที่จะทำการนับจำนวนผู้ปฏิบัติงานหลังจากการอพยพ ขานชื่อ และต้องไม่ลืมนับผู้ที่อยู่ใช้เครื่องดับเพลิงหรือปิดอุปกรณ์ต่าง ๆ รวมถึงลูกค้าด้วย |
. |
2.4 การอพยพผ่านพื้นที่ที่มีสภาพแวดล้อมที่มีอันตรายสูง |
1.อุปกรณ์พิเศษ ผู้ปฏิบัติงานจำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล (PPE) ในการอพยพ เช่น แว่นตานิรภัย หน้ากาก หมวก รองเท้า เป็นต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดของอันตรายในสถานที่ปฏิบัติงาน ดังนั้นควรมีการประเมินพื้นที่ปฏิบัติงานเพื่อกำหนดลักษณะของอันตรายและวิธีควบคุมที่เหมาะสม รวมถึงชนิดของ PPE ให้มีความเหมาะสมกับลักษณะอันตรายนั้น ๆ ส่วนการเลือกใช้อุปกรณ์ป้องกันระบบหายใจ ควรที่จะปรึกษาผู้เชี่ยวชาญก่อนตัดสินใจซื้อ เพื่อให้เหมาะสมกับประเภทของอันตรายที่จะเกิดขึ้น โดยเชื่อมโยงกับวัสดุอันตรายที่มีอยู่ในพื้นที่ปฏิบัติงาน ถือได้ว่าเป็นสิ่งจำเป็นที่จะช่วยให้ผู้ปฏิบัติงานสามารถอพยพผ่านสภาพอากาศที่เป็นพิษ หรือภาวะขาดออกซิเจนในพื้นที่งานได้ |
. |
2.ความหมายของจุดรวมพล ขึ้นอยู่กับชนิดของเหตุฉุกเฉิน ต้องมีการระบุหรือกำหนดจุดรวมพลไว้ในแผนงาน หรือสถานที่ที่ผู้ปฏิบัติงานสามารถที่จะมารวมหรือเจอกันภายหลังการอพยพ ซึ่งจะอยู่นอกหรือในอาคารก็ขึ้นอยู่กับประเภทของอันตรายที่จะเกิดขึ้น และต้องเป็นสถานที่ที่มีพื้นที่กว้างเพียงพอสำหรับจำนวนผู้ปฏิบัติงานทั้งหมด ถ้าอยู่นอกอาคาร เช่น ลานจอดรถ เป็นต้น ควรเป็นสถานที่ที่อยู่เหนือลม การนับจำนวนผู้อพยพที่จุดรวมพลเป็นสิ่งที่จำเป็นและมีความสำคัญ ความสับสนในตำแหน่งของจุดรวมพลจะนำไปสู่ความล่าช้าในการช่วยเหลือผู้ที่ยังติดอยู่ภายในอาคาร จุดรวมพลควรเป็นสถานที่ที่ลดโอกาส หรือความเป็นไปได้ที่ผู้ปฏิบัติงานจะเป็นอุปสรรคขัดขวาง หรือเข้ามายุ่งในกระบวนการให้ความช่วยเหลือผู้ที่ติดอยู่ภายในอาคาร |
. |
3. การหลบภัยในพื้นที่ปฏิบัติงาน |
เมื่อมีการปนเปื้อนของสารเคมี สารชีวะภาพ หรือกัมมันตรังสี ซึ่งถูกปล่อยออกมาอยู่ในสภาพแวดล้อมภายนอกและอยู่ใกล้กับสถานประกอบการ ดังนั้นดูจะเป็นการปลอดภัยกว่าที่จะหลบภัยอยู่ในอาคาร ดีกว่าการอพยพออกไปข้างนอกซึ่งเต็มไปด้วยการปนเปื้อน โดยเหตุการณ์ฉุกเฉินที่เกิดขึ้นนี้อาจเป็นเพราะอุบัติเหตุ เช่น การระเบิดของ Ammonia refrigeration facility ในฝั่งตรงข้ามถนน หรือการรั่วไหลของคลอรีนจากรถบรรทุกที่พลิกคว่ำซึ่งอยู่ใกล้กับสถานประกอบการ เป็นต้น |
. |
การหลบภัยในพื้นที่ปฏิบัติงาน หมายถึง การเลือกห้องใดห้อง
|
. |
3.1 การเตรียมตัวที่จะอยู่หรือจะไป ขึ้นอยู่กับสถานการณ์และประเภทของเหตุฉุกเฉิน การตัดสินใจที่สำคัญอันดับแรก คือ จะอยู่หรือจะไป ซึ่งควรที่จะเข้าใจและมีแผนเตรียมการสำหรับความเป็นไปได้ทั้ง 2 ประการ ใช้สามัญสำนึก และข้อมูลให้เป็นประโยชน์ รีบตัดสินใจถ้ามีอันตรายอย่างฉับพลันทันด่วน ในสภาวะการณ์ฉุกเฉิน หน่วยงานราชการท้องถิ่นอาจไม่สามารถที่จะให้ข้อมูลได้มากว่าเกิดอะไรขึ้นหรือควรจะทำอย่างไร ให้ใช้ข้อมูลที่มีอยู่ประเมินสถานการณ์ ถ้ามองเห็นหมอกควัน หรือสิ่งปรักหักพังต่างๆ ภายนอกอาคาร หรือหน่วยราชการท้องที่บอกว่าในอากาศภายนอกมีการปนเปื้อนอยู่ ก็เป็นการสมควรที่จะหลบภัยอยู่ในพื้นที่ปฏิบัติงาน อย่างไรก็ตามก็ต้องพยายามติดต่อภายนอกทั้งทางโทรศัพท์ ฟังการรายงานทางโทรทัศน์หรือวิทยุ เพื่อที่จะตรวจสอบข้อมูลและข้อแนะนำอย่างเป็นทางการซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างมาก และถ้ามีความจำเป็นต้องบอกพนักงานว่าให้อพยพหรือต้องการความช่วยเหลือด้านแพทย์และพยาบาล ต้องรีบทำโดยทันที |
. |
การหลบภัยในพื้นที่ปฏิบัติงานมีสิ่งที่ต้องคำนึงในแผนงาน ดังนี้ |
- การใช้อุปกรณ์ หรือเครื่องมือเตือนภัย ให้ผู้ปฏิบัติงานได้ทราบว่าให้หลบภัยในพื้นที่ปฏิบัติงาน โดยสัญญาณนั้นควรที่จะรับทราบได้ง่ายและแตกต่างจากสัญญาณที่ใช้บ่งบอกให้ทำการอพยพ |
- การฝึกอบรมผู้ปฏิบัติงานให้เข้าใจถึงกระบวนการหรือขั้นตอนในการหลบภัย และบทบาทหน้าที่ในขั้นตอนนั้น ๆ |
. |
3.2 กระบวนการในการหลบภัยในพื้นที่ปฏิบัติงาน |
- เมื่อทราบว่ามีอันตรายหรือเหตุฉุกเฉิน ให้ใช้เครื่องมือเตือนภัยเพื่อบ่งบอกให้ผู้ปฏิบัติงานได้ทราบ อาจเป็นโทรศัพท์หรือสัญญาณเตือนภัยต่าง ๆ รวมถึงควรใช้ระบบตอบรับอัตโนมัติ เพื่อบ่งบอกให้บุคคลที่จะเข้ามาติดต่อได้รับทราบด้วย และแจ้งหน่วยงานราชการหรือหน่วยงานท้องที่ที่เกี่ยวข้อง หรือรับผิดชอบในเหตุฉุกเฉิน และผู้ปฏิบัติงานทุกคนรวมถึงแขกหรือลูกค้า โดยควรที่จะอยู่รวมกันในอาคาร จนกว่าจะมีคำสั่งแนะนำให้ออกไปภายนอกได้เมื่อปลอดภัยแล้ว |
- หยุดการทำงานทั้งหมด |
- ถ้ามีลูกค้าหรือแขกในอาคาร ให้อธิบายถึงสถานการณ์ที่เกิดขึ้น และเหตุผลที่ต้องให้หลบภัยแทนที่จะอพยพออกไปข้างนอก เมื่อผู้มีอำนาจตัดสินใจได้ตกลงใจที่จะให้หลบภัย ทุก ๆ คนต้องรีบปฏิบัติตามโดยด่วน ห้ามขับรถหรือเดินออกไปภายนอกเด็ดขาด |
- รีบปิดประตู หน้าต่าง รูระบายอากาศ ระบบกลไกการทำงานต่าง ๆ ของพัดลม ความร้อน และระบบเครื่องปรับอากาศ โดยเฉพาะระบบกลไกที่แลกเปลี่ยนอากาศจากภายนอก ต้องรีบปิดการทำงานโดยเร็วเพื่อป้องกันอากาศที่ปนเปื้อนจากภายนอกไหลเข้ามาสู่ภายใน |
- จัดเตรียมอุปกรณ์ปฐมพยาบาลเบื้องต้น ไฟฉาย แบตเตอรี่ เทปกาว อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล เช่น แว่นตานิรภัย เครื่องป้องกันระบบทางเดินหายใจ เป็นต้น |
- ใช้เทปกาวแปะรอบ ๆ ขอบหน้าต่าง ประตู และรูระบายอากาศต่าง ๆ เพื่อป้องกันอากาศที่ปนเปื้อนจากภายนอกเข้าสู่ภายใน |
- เลือกห้องภายในอาคารที่อยู่เหนือชั้นแรกขึ้นไป ที่มีหน้าต่างหรือรูระบายอากาศไม่มาก และควรมีพื้นที่เพียงพอสำหรับผู้หลบภัยที่จะนั่ง ควรหลีกเลี่ยงห้องที่มีอุปกรณ์กลไกต่าง ๆ เช่น Ventilation blowers หรือท่อต่าง ๆ เพราะอุปกรณ์เหล่านี้อาจไม่ได้ Sealed จากภายนอก |
- ตรวจสอบจำนวนผู้ปฏิบัติงานและแขก รวมทั้งลูกค้าว่าครบหรือไม่ |
- พยายามติดต่อภายนอกทางโทรศัพท์หรือวิธีอื่น ๆ ที่จะให้ภายนอกได้ทราบว่าสถานการณ์และความปลอดภัยข้างในเป็นอย่างไร และรับทราบข้อแนะนำจากภายนอกว่าควรที่จะดำเนินการอย่างไรต่อไป |
. |
4. การนำแผนรับเหตุฉุกเฉินมาใช้งานจริง |
โครงร่างคร่าว ๆ ของการนำแผนรับเหตุฉุกเฉินมาใช้งานจริงหรือ EAP นั่น ไม่เพียงพอที่จะมั่นใจในความปลอดภัยของผู้ปฏิบัติงาน เมื่อจำเป็นต้องมีการอพยพหรือการหลบภัยในพื้นที่ปฏิบัติงาน เราต้องการการตอบสนองจากบุคคลที่ได้รับการฝึกอบรม ซึ่งเป็นผู้ที่สามารถตรวจตราและประสานงานในการปฏิบัติการ เพื่อที่จะมั่นใจได้ในความปลอดภัยและความสำเร็จในการอพยพ หรือการหลบภัยในพื้นที่ปฏิบัติงาน EAP จะเกิดประโยชน์ก็ต่อเมื่อ เนื้อหาในแผนงานมีการปรับปรุงให้ทันสมัย ทันต่อเหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้นในปัจจุบัน หรือในอนาคตข้างหน้า และผู้ปฏิบัติงานได้รับความรู้ ตลอดจนการฝึกอบรมที่เพียงพอ ก่อนการอพยพหรือการหลบภัยในพื้นที่ปฏิบัติงานจะเกิดขึ้นจริง โดยมีสิ่งที่ต้องคำนึงถึงดังต่อไปนี้ |
. |
4.1 การมอบอำนาจให้ดำเนินการหรือสั่งการ ถือว่าเป็นการปฏิบัติโดยทั่วไปที่จะเลือกบุคคลที่จะรับหน้าที่ในการเป็นผู้นำและประสานงาน EAP ในการอพยพหรือการหลบภัยในพื้นที่ปฏิบัติงาน เป็นสิ่งสำคัญที่ผู้ปฏิบัติงานจะทราบว่าใครคือผู้ประสานงาน และรับรู้ว่าบุคคลนั้นมีอำนาจเต็มที่ในการตัดสินใจระหว่างเกิดเหตุฉุกเฉิน ผู้ประสานงานมีบทบาทในการประเมินสถานการณ์ เพื่อที่จะกำหนดทิศทางปฏิบัติการสำหรับเหตุฉุกเฉินนั้น ๆ รวมทั้งพิจารณาว่าควรจะใช้ทางออกฉุกเฉินด้านใด ตรวจตราควบคุมกระบวนการอพยพ หรือการหลบภัยในพื้นที่ปฏิบัติงาน แจ้งและประสานงานกับหน่วยงานช่วยเหลือภายนอก รวมถึงเป็นผู้ที่ทำการปิดเครื่องมือ และอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่จำเป็น |
. |
4.2 การฝึกอบรม |
- ก่อนนำ EAP มาใช้ ผู้ประกอบการต้องมีการฝึกอบรมผู้ปฏิบัติงานอย่างเพียงพอ เพื่อที่จะสามารถช่วยเหลือให้ทำการอพยพ หรือหลบภัยในพื้นที่ปฏิบัติงาน ได้อย่างปลอดภัยและเป็นระเบียบ นอกจากนี้ การฝึกอบรมควรที่จะกระทำขึ้นเมื่อมีการปรับปรุงพัฒนาแผนงานหรือมีพนักงานใหม่เข้ามาทำงาน ผู้ปฏิบัติงานควรที่จะได้รับการฝึกอบรมเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบในแผนงาน หรือเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงแผนผังอาคาร รูปแบบของอุปกรณ์ เครื่องมือ สาธารณูปโภค วัสดุอันตราย หรือกระบวนการต่าง ๆ ที่มีผลกระทบต่อเส้นทางอพยพ หรือหลบภัยในพื้นที่ปฏิบัติงาน หรือรูปแแบบของอันตรายแบบใหม่ ซึ่งต้องการการปฏิบัติการในลักษณะเฉพาะแตกต่างกันออกไป |
. |
- การให้ความรู้แก่ผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับประเภทของเหตุฉุกเฉินที่อาจเกิดขึ้น และการฝึกอบรมให้มีการปฏิบัติที่เหมาะสมและสามารถปฏิบัติได้จริง รวมถึงปัจจัยต่าง ๆ เช่นขนาดของพื้นที่ปฏิบัติงาน และจำนวนแรงงาน กระบวนการที่เลือกใช้ วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ และแหล่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอก จะเป็นตัวกำหนดความจำเป็นในการฝึกอบรม ควรที่จะมั่นใจได้ว่าผู้ปฏิบัติงานทุกคนมีความเข้าใจในหน้าที่และองค์ประกอบของ EAP รวมถึงประเภทของเหตุฉุกเฉินที่มีโอกาสจะเกิดขึ้นได้ กระบวนการในการรายงานเหตุฉุกเฉิน ระบบเตือนภัย แผนการอพยพหรือหลบภัยในพื้นที่ปฏิบัติงาน และกระบวนการในการปิดเครื่องมือ ที่อาจก่อให้เกิดอันตรายเพิ่มเติมได้ ต้องมีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันในเรื่องของอันตรายที่มีลักษณะเฉพาะที่มีอยู่ในพื้นที่ปฏิบัติงาน เช่น วัตถุไวไฟ สารเคมีที่เป็นพิษ แหล่งกัมมันตรังสี หรือสารที่ทำปฏิกิริยากับน้ำ เป็นต้น ผู้ประกอบการต้องแจ้งผู้ปฏิบัติงานให้ทราบถึงอันตรายที่อาจเกิดขึ้นในพื้นที่ปฏิบัติงาน การสื่อสารที่ชัดเจนที่มีต่อผู้ปฏิบัติงานที่ถูกกำหนดให้มีหน้าที่รับผิดชอบในการปฏิบัติงานระหว่างเกิดเหตุฉุกเฉินจะช่วยลดความสับสนได้ |
. |
การฝึกอบรมโดยทั่วไปสำหรับผู้ปฏิบัติงานควรที่จะระบุสิ่งเหล่านี้เข้าไปด้วย กล่าวคือ |
- บทบาท หน้าที่ และความรับผิดชอบในการปฏิบัติงานสำหรับผู้ที่ถูกเลือกให้ปฏิบัติการในภาวะฉุกเฉิน |
- ชนิดของอันตรายต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้น และแผนการป้องกัน |
- กระบวนการในการแจ้ง การเตือนภัย และการสื่อสาร |
- กระบวนการในการตอบสนองต่อเหตุฉุกเฉิน |
- ตำแหน่งที่ตั้งและการใช้อุปกรณ์ฉุกเฉิน |
- กระบวนการในการปิดเครื่องมือหรืออุปกรณ์ต่าง ๆ ที่อาจก่ออันตรายเพิ่มเติมหากทิ้งไว้ให้ทำงาน |
. |
และพึงระลึกไว้เสมอว่า ถ้าการฝึกอบรมที่ไม่ได้รับการตอกย้ำ จะทำให้ผู้ปฏิบัติงานไม่ใส่ใจและลืมขั้นตอนต่าง ๆ ได้ จึงควรพิจารณาให้มีการฝึกอบรมประจำปี รวมไปถึงการฝึกให้ทราบถึงกระบวนการการปฐมพยาบาลเบื้องต้น การป้องกันการติดเชื้อเข้าสู่กระแสเลือดจากบาดแผล การป้องกันและห้ามปรามไม่ให้ฝ่าฝืนเข้าไปในพื้นที่อันตราย เมื่อได้มีการทบทวน EAP กับผู้ปฏิบัติงานทุกคนที่ได้รับการฝึกอบรม ตลอดจนทำการฝึกร่วมกับหน่วยงานภายนอก เช่น หน่วยดับเพลิง หรือตำรวจท้องที่ (ถ้าสามารถทำได้) แล้ว ก็จะถือว่ามีการเตรียมความพร้อมที่ดี นอกจากนี้ หลังจากการฝึกฝนปฏิบัติการทุกครั้ง ควรที่จะมีการร่วมกันประเมินถึงประสิทธิภาพในการฝึก วิเคราะห์ถึงจุดแข็ง-จุดอ่อนของแผนงาน และทำการปรับปรุงแก้ไขให้ดียิ่งขึ้นด้วย |
. |
4.3 การทบทวนแผนงาน การประสานงาน และการปรับปรุงให้ทันยุคทันสมัย |
เมื่อแผนงาน EAP เสร็จสมบูรณ์ ควรทำการทบทวนด้วยความรอบคอบกับผู้ปฏิบัติงาน และติดไว้ในที่ซึ่งทุกคนสามารถเข้าไปศึกษาได้ ผู้ประกอบการต้องมีการทบทวนกับผู้ปฏิบัติงาน ในรายละเอียดแต่ละส่วนของ EAP และแผนป้องกันอัคคีภัย บุคคลเหล่านั้นได้ตระหนัก และรับรู้ถึงวิธีป้องกันตัวเองในยามเกิดเหตุฉุกเฉิน สำหรับกรณีที่สถานประกอบการมีจำนวนผู้ปฏิบัติ งานไม่เกิน 10 คน แผนงานอาจใช้การบอกด้วยปากเปล่าได้ และจะให้ดียิ่งขึ้น ก็ควรที่จะมีการทบทวนแผนงานกับผู้ประกอบการและพนักงานรายอื่น ที่อาศัยอยู่ในอาคารหรือพื้นที่ทำงานเดียวกัน เพื่อที่จะมั่นใจได้ในเรื่องการประสานงานและเพิ่มประสิทธิภาพในแผนงาน ในกรณีที่มีความจำเป็นต้องพึ่งพาหน่วยฉุกเฉินภายนอก เช่น หน่วยดับเพลิง ตำรวจท้องที่ ก็จะเป็นการดีที่จะทำการทบทวน ถึงแผนงานและการประสานงานของทั้ง สองฝ่ายเพื่อที่จะได้รับทราบถึงประสิทธิภาพและข้อจำกัดของหน่วยงานภายนอก และทำให้หน่วยงานเหล่านี้รับทราบถึงความคาดหวังที่เราต้องการจากพวกเขาด้วย |
. |
การฝึกฝนปฏิบัติการอพยพ จะเปิดโอกาสให้ผู้ปฏิบัติงานทุกคน ได้ทำความคุ้นเคยกับกระบวนการรับเหตุฉุกเฉิน เส้นทางฉุกเฉินสำหรับการอพยพ และจุดรวมพล เมื่อยามเกิดเหตุฉุกเฉินขึ้นมาจริง ๆ ผู้ปฏิบัติงานเหล่านี้ก็จะสามารถตอบสนองได้อย่างถูกต้อง การฝึกฝนภาคปฏิบัติ จะนำไปสู่การเตรียมความพร้อมของผู้ปฏิบัติงาน รวมถึงหน่วยงานภายนอกด้วย และหลังจากเสร็จสิ้นการฝึกฝนแล้วทุกครั้ง ก็ควรที่จะมีการประเมินร่วมกันถึงประสิทธิภาพในการฝึก วิเคราะห์ถึงจุดแข็ง-จุดอ่อนของแผนงาน และทำการปรับปรุงแก้ไขให้ดียิ่งขึ้น |
. |
การเปลี่ยนแปลงกระบวนการและตัวบุคคลที่รับผิดชอบอาจเกิดขึ้นอยู่บ่อย ๆ รวมถึงความล้าสมัยของแผนงานอาจทำให้ใช้ไม่ได้ผลยามที่เกิดเหตุฉุกเฉิน ดังนั้นจึงต้องทำการทบทวนถึงเนื้อหาของแผนงานอยู่เป็นประจำ และทำการปรับปรุงให้มีความทันสมัยทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลงแผนการปฏิบัติงาน ผู้รับผิดชอบ หรือเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงแผนผังสถานที่ปฏิบัติงาน ตลอดจนรูปแบบของเครื่องมือ สาธารณูปโภค วัสดุอันตราย หรือกระบวนการต่าง ๆ ที่มีผลกระทบต่อการอพยพ หรืออันตรายชนิดใหม่ที่จะนำมาซึ่งความจำเป็นในการปฏิบัติการในลักษณะเฉพาะแตกต่างกันไป |
. |
สำหรับตึกหรืออาคารสูงควรปฏิบัติ ดังนี้ |
1) ภาระหน้าที่ความรับผิดชอบของผู้ประกอบการ เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน การอพยพผู้ปฏิบัติงานออกจากตึกสูงเป็นสิ่งที่อาจก่อให้เกิดปัญหาและเป็นอันตรายได้ ดังนั้นผู้ประกอบการจึงควรเตรียมความพร้อม เพื่อช่วยให้สามารถดำเนินการอพยพผู้คนออกจากตึกสูงได้อย่างปลอดภัยได้ ดังนี้ |
. |
- ห้ามปิดล็อกประตูหนีไฟ หรือสกัดกั้นช่องประตู ห้องโถง หรือทางขึ้น- ลงบันได |
- ทดสอบระบบสำรองและระบบความปลอดภัยอยู่เป็นประจำ เช่น ไฟฉุกเฉินและระบบติดต่อสื่อสาร และซ่อมแซมเมื่อมีการชำรุด |
- พัฒนาแผนการอพยพออกจากพื้นที่ปฏิบัติงาน ติดแสดงให้เห็นเด่นชัดในทุก ๆ ชั้น และทบทวนอยู่เป็นระยะ ๆ เพื่อให้มั่นใจถึงประสิทธิภาพของแผนงาน |
- ฝึกฝนการปฏิบัติการอพยพอยู่เป็นระยะ ๆ |
- กำหนดและระบุจุดรวมพลภายนอกอาคาร โดยต้องเป็นสถานที่ที่ปลอดภัยและมีระยะห่างที่ปลอดภัยจากตัวอาคาร สามารถรวบรวมพลได้อย่างปลอดภัย และไม่ขัดขวางการปฏิบัติงานของทีมช่วยเหลือ |
- ระบุตัวบุคคลที่ต้องได้รับการดูแลและช่วยเหลือเป็นพิเศษ เช่น ผู้พิการ โดยกำหนดให้มีบุคคลคอยให้ความช่วยเหลืออย่างใกล้ชิดรวมถึงบุคคลสำรองด้วย |
- ระบุและทำการฝึกอบรมทักษะผู้ที่ถูกกำหนดให้เป็นผู้ควบคุมในแต่ละชั้น รวมถึงบุคคลสำรอง ซึ่งจะเป็นผู้ควบคุมการอพยพในแต่ละชั้นให้เป็นระเบียบและมีความปลอดภัยมากขึ้น |
- ต้องมั่นใจได้ว่าในระหว่างในและนอกเหนือเวลางาน ระบบเตือนภัยต่าง ๆ จะยังคงทำงานได้ตลอดเวลา โดยในยามเกิดเหตุฉุกเฉิน สัญญาณเตือนภัยต้องทำงานในทันที มีความถูกต้องและแม่นยำ ในระบบการเตือนภัยทั้งในแง่ความหมายและระยะเวลา |
- เบอร์โทรศัพท์ฉุกเฉินควรที่จะอยู่ใกล้หรือติดอยู่ที่โทรศัพท์ |
- แจ้งหน่วยงานช่วยเหลือโดยด่วนถ้ามีความจำเป็น เช่น หน่วยดับเพลิง ตำรวจหรือหน่วยช่วยเหลืออื่น ๆ ที่เหมาะสมกับเหตุการณ์ฉุกเฉินนั้น ๆ |
- กำหนดตัวบุคคลที่จะเป็นคนนับจำนวนผู้ปฏิบัติงาน ณ จุดรวมพลและแจ้งทีมช่วยเหลือกรณีที่ผู้ปฏิบัติงานหายไป |
- ให้การสนับสนุนทั้งงบประมาณและสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ที่จะช่วยให้ EAP มีประสิทธิภาพมากที่สุด |
. |
2) ภาระหน้าที่ความรับผิดชอบของผู้ปฏิบัติงาน |
- ทำความคุ้นเคยและความเข้าใจ EAP ในพื้นที่ปฏิบัติงานที่ทำอยู่ |
- รับรู้เส้นทางออกอย่างน้อย 2 เส้นทางจากทุก ๆ ห้องและพื้นที่ปฏิบัติงาน |
- จดจำเสียงสัญญาณในการเตือนภัยต่าง ๆ เช่นไฟหรือการอพยพ |
- รับทราบถึงตัวบุคคลที่ระบุให้ติดต่อยามเกิดเหตุฉุกเฉิน และวิธีในการติดต่อบุคคลเหล่านั้น |
- รู้ตำแหน่งของโต๊ะ สิ่งกีดขวางหรือลักษณะห้องต่าง ๆ ที่อยู่ระหว่างปฏิบัติหน้าที่ และรู้ถึงทางออกฉุกเฉินที่ใกล้ที่สุด 2 เส้นทางซึ่งสามารถหลบออกไปได้แม้ในยามไม่มีแสงสว่างถ้าจำเป็น |
- รู้ถึงสถานที่ตั้งของเครื่องมือหรืออุปกรณ์เตือนภัย และวิธีใช้งาน |
- รายงานทันที ถ้าพบว่าเกิดความเสียหายหรือเหตุขัดข้องกับระบบความปลอดภัยและระบบสำรอง |
. |
2.1 เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินพึงกระทำ ดังนี้ |
- ออกจากพื้นที่ทันทีอย่างเป็นระเบียบและมีสติ ปฏิบัติตามแผน EAP ตรงไปยังทางลงหนีไฟที่ใกล้ที่สุดและปลอดภัยที่สุด |
- ตั้งใจฟังคำแนะนำของระบบเตือนภัยของอาคาร |
. |
- ในที่ ๆ มีเปลวไฟ ให้คลานต่ำ ๆ อยู่ข้างใต้ควันไฟเพื่อที่จะสูดอากาศได้บางส่วน ทดสอบความร้อนที่ประตูก่อนเปิดประตูโดยการเอาหลังมืออังที่ประตู ถ้าประตูร้อนห้ามเปิดให้หาเส้นทางออกใหม่ เมื่อออกจากประตูให้ปิดประตูเพื่อสกัดกั้นไฟ และทำให้ไฟลุกลามได้ช้าลง |
- ห้ามใช้ลิฟท์ในการอพยพเมื่อตึกมีไฟไหม้ |
- ไปยังจุดรวมพลและรายงานสถานการณ์ทันที |
- ห้ามกลับเข้าไปในอาคาร ยกเว้นจะได้รับอนุญาตจากผู้ได้รับมอบอำนาจ |
. |
2.2 เมื่อติดอยู่ในอาคาร |
- ตั้งสติและตรวจตราไปรอบ ๆ |
- ติดต่อภายนอกเพื่อขอความช่วยเหลือ เช่น โทรศัพท์ (หากทำได้) |
- เปิดหน้าต่างถ้าทำได้ แต่ต้องรีบปิดหากมีควันไฟพุ่งเข้ามา |
- ดันหรือยัดผ้าหรือวัสดุอื่น ๆ รอบ ๆ รอยแยกของประตูเพื่อป้องกันควันไฟเข้ามาในห้อง |
- พยายามไปยังสถานที่ที่ทีมช่วยเหลือสามารถมองเห็นได้ และใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ หรือเสื้อโบกให้เป็นที่สังเกต |
. |
5. การช่วยเหลือและปฐมพยาบาล |
- บุคคลภายใน โดยผู้ปฏิบัติงานที่ได้รับการฝึกฝนเป็นอย่างดีทั้งในเรื่องการช่วยเหลือและการปฐมพยาบาล ควรมีการปรึกษาแพทย์เพื่อขอคำแนะนำในการจัดซื้ออุปกรณ์ปฐมพยาบาลไว้ในพื้นที่งาน |
. |
- หน่วยงานราชการหรือเอกชนภายนอก โดยหน่วยดับเพลิงตำรวจ หน่วยจัดการสารเคมี หน่วยกู้ชีวิตต่าง ๆ รวมถึงหน่วยแพทย์และพยาบาลฉุกเฉิน ควรที่จะถูกระบุไว้ในแผน EAP ด้วย เช่น อนุญาตให้หน่วยดับเพลิงท้องที่เดินสำรวจสถานที่ปฏิบัติงาน และทำความเข้าใจถึงแผนผังและรับทราบถึงตำแหน่งและประเภทของวัตถุอันตรายต่าง ๆ ในพื้นที่ปฏิบัติงาน หรือการทำข้อตกลงกับสถานพยาบาลที่อยู่ใกล้ ๆ เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกการบริการด้านการแพทย์ยามเกิดเหตุฉุกเฉิน เป็นต้น |
หมายเหตุ ผู้ที่ได้รับบาดเจ็บสาหัสจำเป็นต้องได้รับการรักษาภายใน 3-4 นาทีหลังเกิดเหตุ |
. |
เอกสารอ้างอิง |
Emergency Action Plan:EAP by U.S.Department of Labor ,Occupational Safety & HealthAdministration (OSHA) |