แผนป้องกันอัคคีภัย คือ แผนงานสำหรับป้องกันเหตุเพลิงไหม้ที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งนอกจากการฝึกอบรม และทำความเข้าใจกับผู้ปฏิบัติงานให้ทราบถึงแผนการอพยพหรือหลบภัยแล้ว ยังต้องมีการเฝ้าระวัง และจัดเก็บสารเคมี วัตถุไวไฟ หรือเชื้อเพลิงต่าง ๆ ให้เป็นระเบียบแยกเป็นสัดส่วน รวมทั้งต้องมีการเตรียมแผนรับเหตุฉุกเฉินในกรณีเกิดเหตุเพลิงไหม้อีกด้วย โดยทำการพิจารณาถึงระบบป้องกันอัคคีภัย ไม่ว่าจะเป็นการพื้นฐานความรู้ต่างในการใช้เครื่องดับเพลิง ชนิดของเครื่องดับเพลิง เป็นต้น
ในฉบับที่แล้ว เราพูดถึงแผนรับเหตุฉุกเฉินในหัวข้อที่ 1-5 อันได้แก่ การรายงานสถานการณ์ฉุกเฉินและการเตือนภัยผู้ปฏิบัติงาน การอพยพ การหลบภัยในพื้นที่ปฏิบัติงาน การนำแผนรับเหตุฉุกเฉินมาใช้งานจริง และการช่วยเหลือและปฐมพยาบาลกันไปแล้ว ในฉบับนี้ เราจะว่ากันต่อในหัวข้อที่ 6 นั่นก็คือ แผนป้องกันอัคคีภัย นั่นเอง |
. |
6. แผนป้องกันอัคคีภัย คือ แผนงานสำหรับป้องกันเหตุเพลิงไหม้ที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งนอกจากการฝึกอบรม และทำความเข้าใจกับผู้ปฏิบัติงานให้ทราบถึงแผนการอพยพหรือหลบภัยแล้ว ยังต้องมีการเฝ้าระวัง และจัดเก็บสารเคมี วัตถุไวไฟ หรือเชื้อเพลิงต่าง ๆ ให้เป็นระเบียบแยกเป็นสัดส่วน รวมทั้งต้องมีการเตรียมแผนรับเหตุฉุกเฉินในกรณีเกิดเหตุเพลิงไหม้อีกด้วย โดยทำการพิจารณาถึงระบบป้องกันอัคคีภัยต่าง ๆ ดังนี้ |
. |
6.1 การใช้เครื่องดับเพลิง เมื่อเกิดเหตุเพลิงไหม้ ต้องมีการประเมินสถานการณ์ว่าจะสู้หรือหนี ซึ่งในกรณีที่เป็นเหตุการณ์เพลิงไหม้ขนาดเล็ก ไม่มีการลุกลามมากนักก็อาจประเมินหรือตัดสินใจสู้ โดยการระงับเหตุเพลิงไหม้ด้วยเครื่องดับเพลิงขนาดเล็ก การดับเพลิงดังกล่าวจะต้องปฏิบัติโดยผู้ปฏิบัติงานที่มีความรู้ และได้รับการฝึกฝนมาเพื่อระงับเหตุโดยเฉพาะ ซึ่งจะต้องเข้าใจวิธีใช้และข้อจำกัดของเครื่องดับเพลิง รวมถึงประเภทและขนาดของเพลิงไหม้ และทราบว่าเมื่อไรที่ควรจะละทิ้งหน้าที่การดับเพลิง และทำการอพยพตัวเองออกไปยังสถานที่ที่ปลอดภัย |
. |
6.1.1 การตัดสินใจว่าจะสู้หรือหนี |
. |
. |
. |
เครื่องดับเพลิง มีหน้าที่ 2 ประการ คือ ประการแรกควบคุมหรือดับไฟขนาดเล็กหรือเพลิงไหม้ในระยะเริ่มแรก ประการที่สองป้องกันเส้นทางในการอพยพให้ปราศจากการสกัดกั้นจากเพลิงไหม้โดยตรง หรือโดยอ้อมจากควันไฟหรือวัสดุที่ไหม้ไฟหรือติดไฟคุกรุ่น |
. |
การดับไฟโดยการใช้เครื่องดับเพลิงขนาดเล็ก ผู้ใช้ต้องเข้าถึงเครื่องดับเพลิงโดยเร็ว และต้องทราบถึงวิธีใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพ แม้ไฟมีขนาดเล็กแต่ก็สามารถที่จะก่อให้เกิดความเสี่ยงที่จะได้รับอันตรายได้ ไฟสามารถที่จะเพิ่มขนาดและความรุนแรงได้ภายในไม่กี่วินาที ทั้งยังสามารถที่จะสกัดกั้นทางออกของนักผจญเพลิงได้ และทำให้สภาพอากาศเต็มไปด้วยอันตราย ในขณะที่เครื่องดับเพลิงจะบรรจุสารดับเพลิงจำนวนจำกัด และสามารถปล่อยสารออกมาจนหมดได้โดยใช้เวลาแค่ไม่กี่วินาที ดังนั้นกรณีที่ใช้เครื่องดับเพลิงนักผจญเพลิงควรที่จะดับเฉพาะไฟที่มีขนาดเล็กหรือไฟไหม้ในระยะเริ่มแรกเท่านั้น ลำดับขั้นในการที่จะสู้กับไฟด้วยเครื่องดับเพลิง ควรที่จะประเมินความเสี่ยง โดยการพิจารณาจากขนาดของเพลิงไหม้ ช่องทางในการอพยพของนักผจญเพลิง และสภาพอากาศที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียงด้วย |
. |
6.1.2 ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับเครื่องดับเพลิง แบ่งเป็น 2 หัวข้อ คือ |
1) เพลิงไหม้และการทำงานของเครื่องดับเพลิง ในการที่จะเข้าใจว่าเครื่องดับเพลิงทำงานอย่างไร เราควรที่จะทำความเข้าใจเกี่ยวกับเพลิงไหม้สักเล็กน้อยเพลิงไหม้ เป็นปฏิกิริยาเคมีที่รวดเร็วระหว่างออกซิเจนและวัสดุที่ติดไฟได้ ซึ่งผลที่ได้ออกมา ก็คือ ความร้อน แสง เปลวไฟ และควันไฟ สำหรับเพลิงไหม้ที่ยังติดอยู่จะมีองค์ประกอบ 4 ส่วน ที่ต้องอยู่ด้วยกันในเวลาเดียวกัน คือ |
- มีออกซิเจนเพียงพอที่จะให้เกิดการเผาไหม้ต่อไปได้ |
- มีความร้อนเพียงพอที่จะทำให้วัสดุนั้นติดไฟได้ |
- มีแหล่งเชื้อเพลิงหรือวัสดุติดไฟได้ |
- ปฏิกิริยาเคมีที่ทำให้เกิดไฟได้ |
. |
. |
เครื่องดับเพลิงทำงานได้อย่างไร เครื่องดับเพลิง จะบรรจุสารดับเพลิง ซึ่งเป็นทั้งตัวที่ทำให้เชื้อเพลิงเย็นลง การแทนที่หรือการดึงออกซิเจน หรือหยุดปฏิกิริยาเคมีที่จะทำให้ไฟไม่สามารถลุกไหม้ต่อไปได้ ให้พิจารณาตามรูป เมื่อเราบีบด้ามจับเครื่องดับเพลิงจะเป็นการเปิดกล่องที่อยู่ด้านในซึ่งบรรจุก๊าซแรงดันสูงก็จะทำให้มีแรงขับสารดับเพลิงออกมาจากตัวกระบอกผ่านทางท่อลำเลียงและออกมาทางหัวฉีดเปรียบเทียบง่าย ๆ มีหลักการทำงานคล้ายกับกระป๋องสเปรย์ฉีดผม |
. |
2. ชนิดของเครื่องดับเพลิง ขึ้นอยู่กับประเภทของเปลวไฟ โดยที่ใช้กันอยู่ทั่วไปมีอยู่ 3 ชนิด คือ เครื่องดับเพลิงแบบใช้แรงดันอากาศอัดน้ำ เครื่องดับเพลิงแบบใช้คาร์บอนไดออกไซด์ [CO2 และเครื่องดับเพลิงแบบใช้ผงเคมีแห้ง ไม่ว่าจะเลือกใช้เครื่องดับเพลิงชนิดใด ก็ควรพิจารณาว่าผ่านการตรวจสอบจากห้องทดลองนานาชาติที่เป็นที่รู้จักกันดีหรือไม่ เช่น Underwriters Laboratories, Inc.(UL) หรือ Factory Mutual Research (FM) ซึ่งตรงตามมาตรฐานของสหรัฐอเมริกา โดยอุปกรณ์ที่ผ่านการทดสอบจากห้องทดลองจะติดฉลากและมี alpha-numeric classification ซึ่งจะสัมพันธ์กับประเภทและขนาดของไฟที่สามารถดับได้ |
. |
ตัวอย่าง ฉลาก เช่น 1-A : 10 - BC |
- ตัวอักษร (A,B และC) จะแสดงถึงชนิดของไฟซึ่งเครื่องดับเพลิงชนิดนั้น ๆ สามารถดับได้ |
- ตัวเลขด้านหน้าอักษร A จะบ่งบอกถึงอัตราการใช้น้ำสำหรับเครื่องดับเพลิงชนิดนั้น ๆ โดยทั่วไปเครื่องดับเพลิง 1 เครื่องจะแสดงถึงการใช้น้ำ 1.25 gallons / unit ตัวอย่างเช่น 4-A หมายถึง เครื่องดับเพลิงมีอัตราการใช้น้ำเท่ากับ (4 x 1.25) แกลลอน |
- ตัวเลขด้านหน้าอักษร B บ่งบอกถึงระยะพื้นที่ทำการของเพลิงไหม้ประเภท B ซึ่งผู้ที่ไม่เชี่ยวชาญในการใช้สามารถที่จะดับไฟได้ จากตัวอย่างฉลากด้านบน หมายถึง ผู้ที่ไม่เชี่ยวชาญในการใช้ สามารถที่จะใช้ดับไฟประเภท B (ไฟที่เกิดจากของเหลวไวไฟ-flammable liquid fire) ซึ่งมีขนาดของเพลิงไหม้ในเนื้อที่เท่ากับ 10 ตารางฟุตได้ |
. |
ชนิดของเครื่องดับเพลิง |
. |
. |
ประเภทของไฟ |
- วัตถุติดไฟทั่วไป เช่น ไฟไหม้กระดาษ ผ้า ไม้ ยาง และพลาสติกหลายประเภทจำเป็นที่ต้องใช้เครื่องดับเพลิงฉลาก A |
. |
- ของเหลวไวไฟ เช่น ไฟไหม้น้ำมัน แก๊สโซลีน สีบางชนิด แลกเกอร์ จารบี ตัวทำละลาย และของเหลวไวไฟต่าง ๆ ที่จำเป็นต้องใช้เครื่องดับเพลิงฉลาก B |
. |
- อุปกรณ์ไฟฟ้า เช่น ไฟไหม้สายไฟ กล่องฟิวส์ อุปกรณ์ที่ให้พลังงาน คอมพิวเตอร์ และแหล่งกำเนิดไฟฟ้าต่าง ๆ ที่จำเป็นต้องใช้เครื่องดับเพลิงฉลาก C |
. |
- วัสดุติดไฟทั่วไป ของเหลวไวไฟ หรืออุปกรณ์ไฟฟ้า เป็นเครื่องดับเพลิงสารพัดประโยชน์ใช้ผงเคมีแห้งเป็นสารดับเพลิง สามารถใช้ได้กับไฟทั้ง A, B และ C |
. |
- โลหะติดไฟ เช่น แมกนีเซียมและโซเดียม จำเป็นต้องใช้เครื่องดับเพลิงชนิดพิเศษฉลาก D |
D (Metals) |
. |
. |
เครื่องดับเพลิงที่นิยมใช้กันโดยทั่วไป |
. |
1. เครื่องดับเพลิงแบบใช้แรงดันอากาศอัดน้ำ น้ำจัดเป็นสารดับเพลิงประเภทหนึ่งที่ใช้กันโดยทั่วไปสำหรับไฟประเภท A โดยเราสามารถสังเกตได้ถึง APWE ว่ามีถังบรรจุสีเงิน ซึ่งจะเติมน้ำอยู่ประมาณ 2 ใน 3 ส่วนของถัง ที่เหลืออัดด้วยอากาศ ในบางกรณีอาจมีการเติมสารเคมีประเภทสารทำความสะอาด ลงไปในน้ำด้วยเพื่อทำให้เกิดเป็น foam โดยเครื่องมือดับเพลิงชนิดนี้จะมีความสูงประมาณ 2-3 ฟุตและมีน้ำหนัก ประมาณ 25 ปอนด์เมื่อบรรจุเต็ม เครื่องดับเพลิงชนิดนี้ จะดับไฟโดยการทำให้พื้นผิวของเชื้อเพลิงเย็นลง มีการดึงเอาความร้อนที่เป็นองค์ประกอบ
|
. |
ข้อพึงระวัง ก็คือไม่ควรใช้น้ำดับไฟที่ติดจากของเหลวไวไฟ เพราะจะใช้ไม่ได้ผลแถมยังทำให้ไฟกระจัดกระจายมากยิ่งขึ้น และไม่ควรใช้น้ำดับไฟที่ติดจากอุปกรณ์ไฟฟ้า เพราะน้ำเป็นสื่อนำไฟฟ้าที่ดีอาจทำให้ไฟฟ้าดูดได้ ถ้าจำเป็นต้องใช้น้ำดับต้องถอดปลั๊กหรือทำให้ไม่มีกระแสไฟฟ้าก่อนถึงจะใช้น้ำดับได้ |
. |
2. เครื่องดับเพลิงแบบใช้คาร์บอนไดออกไซด์ เครื่องดับเพลิงชนิดนี้ จะบรรจุคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ซึ่งเป็นก๊าซไม่ไวไฟภายใต้ความดันสูง สามารถดับไฟได้โดยการแทนที่ออกซิเจนหรือนำออกซิเจนออกไปจากองค์ประกอบของเพลิงไหม้ เป็นเพราะว่าใช้แรงดันสูงดังนั้นเวลาใช้งานอาจมีบางส่วนเป็น dry ice ออกมาจากกระบอกฉีด ซึ่งก็สามารถทำให้เกิดความเย็นในการดับไฟได้เช่นกัน โดยเราจะสามารถสังเกตได้ถึงเครื่องดับเพลิงชนิดนี้ว่ามีกระบอกฉีดแข็งและไม่มีมาตรวัดความดันตัวถังเป็นทรงกระบอกสีแดง และมีขนาดตั้งแต่ 5-100 ปอนด์หรือใหญ่กว่านั้น เครื่องดับเพลิงชนิดนี้มักพบว่าถูกใช้บ่อย ๆ ในอุตสาหกรรมยานยนต์ ห้องเครื่องยนต์กลไก ห้องทำงาน ห้อง computer labs และห้องเก็บของเหลวไวไฟ |
. |
ข้อพึงระวัง กรณี CO2 ไม่แนะนำสำหรับไฟประเภท A เพราะอาจทำให้ไฟคุกรุ่นและสามารถลุกได้อีกครั้ง เมื่อ CO2 เหือดแห้งไปและไม่ควรใช้เครื่องดับเพลิงชนิดนี้ในพื้นที่จำกัดโดยไม่ได้ใส่เครื่องป้องกันระบบหายใจ |
. |
3. เครื่องดับเพลิงแบบใช้ผงเคมีแห้ง สามารถดับไฟได้โดยการเคลือบเชื้อเพลิงด้วยแผ่นเยื่อบาง ๆ ของผงต้านทานไฟ และแยกเชื้อเพลิงออกจากออกซิเจน ผงเคมีเหล่านี้จะไปขัดจังหวะการเกิดปฏิกิริยาเคมี จึงเป็นการทำให้ไฟดับได้อย่างมีประสิทธิภาพ เครื่องดับเพลิงชนิดนี้นิยมใช้สำหรับไฟประเภท B และ C และอาจจะทำเป็นชนิดสารพัดประโยชน์ได้ สำหรับใช้ได้ทั้งไฟประเภท A, B และ C โดยบรรจุผงเคมีแห้งจะมีฉลากระบุว่า อาจใช้ได้กับไฟประเภท A,B และ/หรือ C สำหรับสถานที่ใช้เครื่องดับเพลิงแบบใช้ผงเคมีแห้ง มักพบว่าถูกใช้ในหลาย ๆ พื้นที่ เช่น ห้องโถงสาธารณะ ห้องเครื่องยนต์กลไก ห้องพัก ห้องเก็บสารเคมี ห้องทำงาน ยานยนต์เพื่อการพาณิชย์ และพื้นที่อื่น ๆ ซึ่งมีของเหลวไวไฟ |
. |
6.1.3 การใช้เครื่องดับเพลิง ถ้าจำเป็นต้องให้ผู้ปฏิบัติงานทำการดับเพลิง ผู้ประกอบการจะต้องมีการให้ความรู้ เพื่อให้ทราบถึงหลักการ รวมถึงการฝึกหัดใช้เครื่องดับเพลิง และรู้ถึงอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากการสู้ไฟขนาดเล็กหรือการลุกลามของเพลิงไหม้ ดังนั้นควรที่จะมีการจัดฝึกอบรมประจำปี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของผู้ปฏิบัติงานที่ได้รับคัดเลือกเป็นนักผจญเพลิง ซึ่งถือเป็นส่วน
|
. |
6.1.4 หลักการใช้เครื่องดับเพลิง ให้สัญญาณเตือนภัยว่าเกิดไฟไหม้และเรียกนักผจญเพลิง จากนั้นสังเกตช่องทางอพยพที่ปลอดภัยก่อนเข้าถึงเพลิงไหม้ ไม่ควรให้ไฟ ความร้อน หรือควันไฟเข้ามาอยู่ระหว่างตัวนักผจญเพลิงและช่องทางอพยพ ควรเลือกใช้เครื่องมือดับเพลิงที่เหมาะสม ใช้เครื่องมือดับเพลิงในระยะห่างที่มีประสิทธิภาพสูงสุด โดยการใช้เทคนิค ดึง-เล็ง-บีบ-กราด (P.A.S.S.- ดูในหัวข้อเทคนิคการใช้เครื่องดับเพลิง) จากนั้นถอยหลังจากการดับไฟในกรณีที่มีเปลวไฟสูงขึ้นอีกครั้ง อพยพโดยด่วน ถ้าสารดับเพลิงหมดไม่สามารถดับไฟได้หรือถ้าไฟลุกลามเกินระยะเริ่มแรกของไฟ |
. |
6.1.5 เทคนิคในการใช้เครื่องดับเพลิง ดึงสลักซึ่งจะทำให้ tamper seal หลุดออก จากนั้นเล็งจับหัวฉีด (อาจเป็นท่อหรือสายยาง) ของเครื่องดับเพลิงแล้วเล็งไปที่ฐานของเพลิงไหม้ (ไม่ควรจับพลาสติกที่ติดอยู่กับท่อฉีดของเครื่องดับเพลิงประเภท CO2 เพราะจะมีความเย็นมากและอาจทำอันตรายต่อผิวหนังได้) แล้วบีบที่ด้ามจับเพื่อปล่อยสารดับเพลิง จากนั้นกราดหัวฉีดจากด้านหนึ่งไปยังอีกด้านหนึ่งที่บริเวณฐานของไฟ จนกระทั่งดับไฟได้ สังเกตดูถ้าไฟลุกอีกครั้งก็ทำตามขั้นตอนอีกครั้ง หรือกรณีถ้ามีความสงสัยหรือไม่แน่ใจในความสามารถของตัวเองที่จะสู้กับไฟขอแนะนำให้เผ่นจะดีกว่า |
. |
6.1.6 ตำแหน่งที่ติดตั้งและระยะห่างของเครื่องดับเพลิง |
เครื่องดับเพลิงจะมีประสิทธิภาพในระยะเริ่มแรกในการป้องกันการลุกลามของเพลิงไหม้ ถ้ามีการติดตั้งและใช้อย่างถูกวิธี ถ้ามีความจำเป็นต้องใช้เครื่องดับเพลิงประเภทนี้ ต้องติดตั้งอยู่ในทุกพื้นที่ที่จำเป็นของสถานที่ปฏิบัติงาน เพื่อที่จะมั่นใจได้ว่าจะได้รับการปกป้องอย่างทันท่วงที ควรที่จะมีการถามตัวเราเองว่าเครื่องดับเพลิงสามารถหยิบฉวยได้ง่ายเวลาเกิดเหตุไฟไหม้หรือไม่หรือเครื่องดับเพลิงมีสารดับเพลิงอยู่เต็มและอยู่ในสภาพพร้อมใช้งานหรือไม่ สำหรับสถานที่ติดตั้งเครื่องดับเพลิงควรเลือกติดตั้งในทุกพื้นที่ที่จำเป็นต้องมีในสถานที่ปฏิบัติงาน และง่ายต่อการหยิบใช้ยามเกิดเหตุไฟไหม้ ส่วนการเลือกใช้เครื่องดับเพลิงก็ควรจะต้องเลือกใช้เครื่องดับเพลิงตามลักษณะความเสี่ยงของประเภทและขนาดของเพลิงไหม้ ที่สามารถจะเกิดขึ้นได้ |
. |
. |
. |
. |
หมายเหตุ |
- The National Fire Protection Association (NFPA) เป็นหน่วยงานระหว่างประเทศ ก่อตั้งปี 1896 เป็นที่ยอมรับกันทั่วไปว่าเป็นหน่วยงานที่ไม่หวังผลกำไร โดยมีภาระกิจในการดูแลเรื่องมาตรฐานและคิด Code ขึ้นมา รวมถึงงานวิจัยและให้การศึกษาในด้านความปลอดภัยเกี่ยวกับไฟ ไฟฟ้า และอาคาร |
- Occupational Safety & Health Administration (OSHA) เป็นหน่วยงานความปลอดภัยและอาชีวอนามัยของสหรัฐอเมริกา |
- Sprinkler System เป็นระบบเดินสายท่อฉีดน้ำซึ่งติดตั้งภายในอาคารโดยจะเปิดระบบฉีดน้ำได้เองแบบอัตโนมัติในกรณีเกิดไฟไหม้ |
. |
6.1.7 การติดตั้ง ควรติดตั้งโดยยึดติดกับตัวค้ำยันหรือติดตั้งในตู้ติดผนังโดยวัดระยะจากด้ามจับ ให้สูงจากพื้นประมาณ 3.5 – 5 ฟุต สำหรับเครื่องดับเพลิงที่มีขนาดใหญ่ให้ยึดติดต่ำกว่าโดยวัดระยะจากด้ามจับให้สูงจากพื้นประมาณ 3 ฟุต |
. |
. |
6.1.8 เครื่องดับเพลิงที่ควรหลีกเลี่ยง เป็นเครื่องดับเพลิงที่มีโครงสร้างของเปลือกที่ทำด้วยทองแดง หรือทองเหลืองที่เชื่อมติดกันโดยการบัดกรีที่ไม่แน่นหนาหรือใช้หมุดย้ำ และเครื่องดับเพลิงที่ต้องหมุนกลับหัวเพื่อ Rupture a Cartridge เริ่มใช้แรงดันที่ควบคุมไม่ได้ หรือทำให้เกิดปฏิกิริยาเคมีขับสารดับเพลิง ซึ่งรวมไปถึง Soda acid, Foam, Water-cartridge และ Carbon tetrachloride เป็นสารดับเพลิง ซึ่งสารดับเพลิงเหล่านี้จะทำให้เกิดสารพิษ และโดยเฉพาะ Carbon tetrachloride อาจทำให้เป็นมะเร็งและก่อให้เกิด Phosgene gas (อาวุธเคมีชนิด
|
. |
6.1.9 การดูแลและการบำรุงรักษา การบำรุงรักษาตามปกติและการตรวจสอบเครื่องดับเพลิงอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยทำให้มั่นใจได้ว่าจะสามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัยเมื่อคราวจำเป็น และควรมีการตรวจสอบทุก ๆ เครื่องอย่าง
|
- เครื่องดับเพลิงทุกเครื่องต้องถูกติดตั้งในที่ ๆ เหมาะสม สังเกตเห็นได้ง่าย ไม่มีสิ่งกีดขวางในการเข้าไปหยิบใช้ |
- มีฉลา
|
- มาตรวัดความดันแสดงให้เห็นว่าเครื่องดับเพลิงได้ charge เต็มที่ตามที่กำหนด (เข็มควรอยู่ในบริเวณสีเขียว) |
- สลักและ tamper seal ควรอยู่ในสภาพสมบูรณ์ไม่เสียหาย |
- เครื่องดับเพลิงอยู่ในสภาพที่ดี ไม่มีลักษณะที่บ่งบอกถึงความเสียหายของตัวเครื่อง รวมถึงการกัดกร่อน หรือการรั่วไหล |
- โยกเครื่องดับเพลิงประเภทผงเคมีแห้งเบา ๆ จา
|
. |
6.2 เครื่องดับเพลิงชนิดติดอยู่กับที่ Fixed fire extinguishing / suppression systems เป็นที่นิยมใช้กันโดยทั่วไปในสถานที่ที่มีอุปกรณ์ที่มีมูลค่าสูง หรือสำคัญอย่างยิ่ง เช่น data processing rooms ,telecommunication switches และ process control rooms. ซึ่งระบบดับไฟแบบนี้มีหน้าที่ในการดับไฟได้อย่างรวดเร็ว ป้องกันการลุกลามของไฟ และสามารถเตือนผู้ปฏิบัติงานได้ก่อนที่ความเสียหายจะกินวงกว้าง โดยในการดับไฟนั้นจะมีปล่อยกาซหรือสารเคมีดับเพลิงปกคลุมทั่วทั้งบริเวณ |
. |
. |
แสดง Fire Suppression System
|
. |
6.2.1 รูปแบบของระบบและการใช้งาน Fixed fire extinguishing systems เป็นชุดของอุปกรณ์ทางวิศวกรรมที่ทำงานร่วมกันให้มีความรวดเร็วในการตรวจจับเพลิงไหม้ เตือนผู้ปฏิบัติงาน และดับไฟก่อนที่ความเสียหายจะกินวงกว้าง โดยอุปกรณ์ทุกชิ้นในระบบต้องคำนึงถึงสิ่งเหล่านี้ คือ |
- ถูกออกแบบมาให้มีความเหมาะสมที่จะใช้งานกับอันตรายของเพลิงไหม้ที่มีลักษณะเฉพาะ เพื่อที่จะควบคุมไฟหรือดับไฟ |
- ป้องกันการกัดกร่อน โดยทำจากหรือเคลือบด้วยวัสดุป้องกันการกัดกร่อน |
- ถูกออกแบบสำหรับการเผชิญกับสภาพอากาศและอุณหภูมิที่ผิดปกติได้ |
. |
. |
แสดง Fixed fire extinguishing systems |
. |
โดยมีส่วนประกอบที่สำคัญของระบบ คือ |
- Discharge Nozzle คือ อุปกรณ์ที่ออกแบบมาเพื่อใช้ปล่อยสารดับเพลิงในอัตราและรูปแบบที่เฉพาะเจาะจงที่จะดับไฟได้อย่าง รวดเร็ว ส่วน Nozzle ถูกออกแบบมาเพื่อใช้กับ the total flooding applications จะมีรูปลักษณะคล้ายระฆังและมีจำนวนหัวฉีดสารหลายหัว ซึ่งจะสามารถกระจายสารดับเพลิงและแผ่เป็นวงกว้าง เพื่อ flood พื้นที่อย่างรวดเร็ว ส่วนมาก Nozzle ประเภทนี้จะใช้กันโดยทั่วไปใน paint spray booths, flammable liquid storage rooms หรือพื้นที่ที่มีลักษณะใกล้เคียงกัน นอกจากนั้นยังมี Nozzle ที่ถูกออกแบบมาเพื่อใช้ดับไฟเฉพาะแห่ง โดยจะมีรูปแบบการฉีดสารดับเพลิงตรงไปยังที่เฉพาะแห่งในบริเวณที่ทำงาน เช่น paint dip tanks, quench tanks หรือพื้นที่ที่มีโอกาสหกของของเหลวไวไฟ |
. |
. |
- Piping คือ piping network จะถูกออกแบบมาในการกระจายสารดับเพลิงไปยังพื้นที่ที่ต้องการป้องกันความเสียหาย ระบบป้องกันไฟทุกระบบต้องมี pipes และ fittings ที่เหมาะสมสำหรับอุณหภูมิที่อาจสูงเกินปกติและมีคุณสมบัติต้านทานต่อการกัดกร่อน |
. |
. |
- Control Panel คือ Control panel monitors และอุปกรณ์ต่าง ๆ ทั้งหมด รวมทั้งควบคุมสัญญาณเตือนภัยแบบเสียงและแบบแสงและกลไกในการปล่อยสารดับเพลิง โดยเมื่ออุปกรณ์แบบอัตโนมัติหรือแบบ manual ถูกใช้งานก็จะส่งสัญญาณไปยัง Control panel ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับประเภทของระบบและอันตราย ซึ่งสามารถที่จะตั้งโปรแกรมเข้าไป เพื่อส่งสัญญาณเตือนผู้ปฏิบัติงานก่อนที่จะปล่อยสารดับเพลิง เมื่อเริ่มปล่อยสารดับเพลิง ต้องทำการปิดระบบหมุนเวียนอากาศและปิดการทำงานของเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ ส่งสัญญาณเตือนไฟทั้งแบบเสียงและแบบแสง มีการแจ้งไปยังบุคคลที่รับผิดชอบระบบเรื่องเหตุฉุกเฉินได้ทราบ ปิดสัญญาณเตือนและอุปกรณ์ให้สัญญาณ ถ้าเป็นอุปกรณ์เตือนภัยหรือให้สัญญาณที่ใช้กับ total flooding system รวมถึงการเตือนก่อนที่ระบบจะปล่อยสารดับเพลิงออกมา เพื่อที่ผู้ปฏิบัติงานจะได้มีเวลาเพียงพอที่จะออกจากพื้นที่อย่างปลอดภัย มีการเชื่อมโยงกับระบบอุปกรณ์ป้องกันเพลิงไหม้อัตโนมัติ ซึ่งจะส่งสัญญาณเตือนก่อนที่ระบบจะปล่อยสารดับเพลิง |
. |
. |
- Discharge Alarm or Signaling Devices คือ ในทุก ๆ พื้นที่ที่ได้รับการปกป้องโดย Fixed extinguishing systems ต้องมี Discharge Alarm or Signaling Devices เพื่อที่จะได้เตือนให้ผู้ปฏิบัติงานทราบว่าระบบกำลังปล่อยสารดับเพลิง โดยการเตือนนี้ต้องได้ยินหรือเห็นเหนือภาวะเสียงและระดับแสงรบกวนที่อยู่โดยรอบ และถ้าใช้อุปกรณ์นี้ร่วมกับ total flooding system ต้องมีการเชื่อมต่อกับ fire detection devices โดยเป็นระบบอัตโนมัติ ซึ่งจะทำการเตือนก่อนที่ระบบจะปล่อยสารดับเพลิงออกมา เพื่อที่ผู้ปฏิบัติงานจะได้มีเวลาพอที่จะออกจากพื้นที่ทำการโดยปลอดภัย |
. |
. |
- Warning Signs & Safeguard คือ สัญลักษณ์เตือนต้องติดไว้เพื่อที่จะเตือนผู้ปฏิบัติงานล่วงหน้าเกี่ยวกับอันตรายที่อาจเกิดจากสารดับเพลิง โดยสัญลักษณ์เตือนและให้ระวังอันตราย ต้องติดที่ทางเข้าและด้านในพื้นที่ที่อยู่ในรัศมีปกป้องของ fixed extinguishing systems ซึ่งมีการใช้สารดับเพลิงที่มีความเข้มข้นที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพและความปลอดภัยของผู้ปฏิบัติงาน |
. |
. |
ข้อแนะนำในการใช้สัญลักษณ์เตือน |
1. หลีกเลี่ยงความสับสน โดยสัญลักษณ์เตือนอันตรายต้องใช้รูปแบบตามมาตรฐาน ไม่ว่าจะเป็นถ้อยคำ สี ความคมชัดและรูปภาพ |
2. ถ้อยคำที่ใช้ต้องชัดเจน อ่านง่าย และมีข้อมูลเพียงพอต่อการทำความเข้าใจ |
3. เพิ่มเติมข้อความเตือนผู้ปฏิบัติงานที่จะเข้าไปตรวจสอบภายหลังจากมีการดับเพลิงแล้ว ว่าควรใส่ชุดอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลก่อนที่จะมีการเข้าไปด้านใน เพราะอาจมีอันตรายหลงเหลืออยู่ |
. |
- Automatic Fire Detectors คือ อุปกรณ์ป้องกันอัตโนมัติที่สามารถตรวจจับควันไฟ ความร้อน เปลวไฟจากเพลิงไหม้ และเริ่มต้นเตือนภัย ถ้าอุปกรณ์นี้ถูกใช้กับ total flooding system ก็ควรที่จะมีระบบเตือนอัตโนมัติก่อนที่จะปล่อยสารดับเพลิง |
. |
. |
- Manual Discharge Station เป็นอุปกรณ์ที่ยึดติดกับผนังใกล้กับทางออกฉุกเฉิน ซึ่งจะมีระบบเสียงเตือนอัตโนมัติและปล่อยสารดับเพลิง ถ้าพื้นที่ปฏิบัติงานใช้ร่วมกับ fixed suppression system ควรมีอุปกรณ์นี้อย่าง
|
. |
. |
- Extinguishing Agent Storage ใช้เก็บสารดับเพลิงจนกว่าจะมีความจำเป็นต้องใช้ และเป็นถังบรรจุรูปทรงกระบอกที่อาจมีความดันสูงหรือต่ำก็ได้ โดยภาชนะบรรจุนี้สามารถที่จะใช้ fire suppression agents เช่น CO2 หรือ Halon เพื่อใช้ปกป้องพื้นที่ทำงาน เช่น computer room ,chemical storage หรือพื้นที่ที่มีลักษณะใกล้เคียงกัน โดยภาชนะบรรจุที่ใช้เก็บสารดับเพลิงแบบที่เติมได้ ต้องมีการตรวจสอบน้ำหนักและความดันอย่าง
|
. |
. |
การใช้งาน การบำรุงรักษา และการทดสอบ |
Automatic Fire Suppression Systems โดยเฉพาะ total flooding ควรที่จะใช้งานอย่างถูกต้อง มีการบำรุงรักษา และทดสอบอยู่เป็นระยะ ๆ เพื่อที่จะรับรองความปลอดภัยของผู้ปฏิบัติงานและความมีประสิทธิภาพของระบบ การที่จะมั่นใจได้ว่าระบบดับเพลิงจะทำงานได้ดีในยามเกิดเหตุไฟไหม้ เราควรที่จะมีตรวจสอบประจำปีทุกระบบ และบำรุงรักษาให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน และต้องมั่นใจว่าได้เปิดเครื่องให้ทำงานอยู่เสมอ ยกเว้นเวลาซ่อมแซม แจ้งผู้ปฏิบัติงานและสร้างมาตรการรองรับเพื่อที่จะรับรองความปลอดภัยถ้า fixed extinguishing system ไม่ทำงานและถ้ามีการพบข้อบกพร่องหรือความเสียหายต้องรีบทำการซ่อมแซมโดยผู้ชำนาญ มีการจัดฝึกอบรมผู้ปฏิบัติงานทุกคนให้รับทราบถึงการทำงานของระบบที่ติดตั้งในพื้นที่ปฏิบัติงาน อันตรายที่เกี่ยวข้อง การปฏิบัติตัวที่ถูกต้องกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน และการตอบสนองที่ถูกต้องต่อสัญญาณเตือนทั้งแบบเสียงและแบบแสง ก่อนที่จะมีการปล่อยสารดับเพลิง |
. |
Total Flooding Applications อาศัยการปกป้องพื้นที่ภายใน โดยการ flooding ด้วยก๊าซ เช่น Carbon dioxide และ Halon ด้วยวิธีนี้จะทำให้สามารถป้องกันอุปกรณ์ไฟฟ้า และการคุกรุ่นลึก ๆ ภายในที่อาจลุกติดไฟขึ้นมาอีกครั้ง หลังจากเปลวไฟถูกดับแล้ว เพราะว่าระบบนี้จะทำให้สภาพพื้นที่ขาดออกซิเจน และมีสิ่งที่ต้องระวังเป็นพิเศษ คือ เมื่อระบบนี้ถูกใช้งานจะทำให้เกิดสภาพแวดล้อมในพื้นที่มีสารพิษได้ ดังนั้นควรที่จะใส่ใจและปฏิบัติด้วยความรอบคอบ |
. |
ข้อควรใส่ใจในทุกๆ fixed suppression systems เมื่อใช้ total flooding application |
- มีแผนการอพยพที่ปลอดภัย สำหรับพื้นที่ที่ใช้การป้องกันด้วยระบบนี้ |
- พื้นที่ที่ใช้ระบบนี้ต้องมีอุปกรณ์เตือนทั้งแบบเสียงและแบบแสง เพื่อเตือนให้ผู้ปฏิบัติงานออกจากพื้นที่โดยปลอดภัยก่อนปล่อยสารดับเพลิง |
- ติดตั้งและเชื่อมต่ออุปกรณ์ป้องกันอัคคีภัย เข้ากับระบบการเตือนภัยก่อนปล่อยสารดับเพลิง ซึ่งทำให้ total flooding system ทำงานได้โดยอัตโนมัติ |
- สัญลักษณ์เตือนต้องติดไว้ที่ทางเข้าสู่พื้นที่ที่ใช้ total fire suppression systems ซึ่งมีการใช้สารดับเพลิงที่อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพได้ เช่น Carbon dioxide และ Halon1211 เป็นต้น มีการใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล เช่น 5 – minute ”escape pack” และเตรียมพร้อมเสมอ สำหรับการเข้าไปช่วยเหลือผู้ที่ติดอยู่ในพื้นที่ซึ่งอาจได้รับอันตรายจากสารดับเพลิงที่ปล่อยออกมา |
. |
อันตรายที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยและสุขภาพ |
The Material Safety Data Sheet (MSDS) ระบุไว้ว่าเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ปฏิบัติงานควรที่จะรู้เกี่ยวกับอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากสารดับเพลิงเมื่อยามต้องมีการสัมผัส และทราบถึงวิธีป้องกันตัวเอง ผู้ปฏิบัติงานที่ต้องเข้าไปในพื้นที่ควรที่จะได้รับคำแนะนำเบื้องต้นถึงหลักการในการใช้งานของระบบซึ่งเชื่อมโยงกับการเตือนภัยและรวมถึงอันตรายที่เกี่ยวข้อง เพียงพอเท่า ๆ กับคำแนะนำเกี่ยวกับกระบวนการอพยพ |
. |
สารดับเพลิงที่ใช้กันโดยทั่วไปสำหรับ total flooding applications |
1. Carbon Dioxide ในสภาพปกติจะไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ไม่เป็นก๊าซสื่อนำไฟฟ้า หนักกว่าอากาศประมาณ 1.5 เท่า ไม่ส่งผลกระทบต่อการทำงานของอุปกรณ์ไฟฟ้า ไม่กัดกร่อน และไม่ทิ้งกากของเสีย |
การทำให้สลบ สัมผัสกับ CO2 ที่มีความเข้มข้นสูงอาจทำให้สภาพการขาดออกซิเจนได้ |
อุณหภูมิที่เย็น สัมผัสโดยตรงกับไอของเหลวระหว่างการปล่อยสารสามารถที่จะทำให้เกิดอาการบวมไหม้ที่ผิวหนังได้ |
. |
2. Halon เป็น bromo freon ซึ่งทำงานโดยการแทนที่ออกซิเจน ทำให้เกิดสภาพอากาศขาดออกซิเจน ซึ่งสามารถเป็นอันตรายต่อผู้ปฏิบัติงานได้ นอกจากนั้นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากปฏิกิริยาของ Halon ที่มีต่อพื้นผิวที่ร้อน คือ การปลดปล่อยสารพิษและสารก่อมะเร็งออกมา ดังนั้นควรที่จะใส่ใจและระมัดระวังเป็นพิเศษ |
. |
การทำให้สลบ เหมือนกับ CO2 |
อุณหภูมิที่เย็น เหมือนกับ CO2 |
สิ่งที่เพิ่มเติม คือ การสูดดมเอา halon ที่มีความเข้มข้นสูงจะมีผลต่อระบบประสาทส่วนกลาง ให้เกิดอาการตาลาย วิงเวียน หน้ามืด เจ็บแปลบในบริเวณปลายสุดของร่างกาย เช่น แขน-ขา และอาจถึงกับหมดสติได้ ผลกระทบต่อหัวใจและหลอดเลือด ในบางรายที่สัมผัสกับ halon จะเป็นสาเหตุให้เพิ่มความรู้สึกไวของหัวใจที่มีต่อการหลั่ง adrenaline ซึ่งเป็นผลให้หัวใจเต้นผิดปกติและบางรายรุนแรงถึงขั้นหัวใจวายได้ และเมื่อ halon สัมผัสกับอุณหภูมิที่สูงกว่า 900 องศาฟาเรนไฮต์จะสามารถแตกตัวและปล่อยก๊าซพิษที่มีความเข้มข้นสูงออกมาได้ |
. |
ระบบตรวจจับเพลิงไหม้อัตโนมัติ |
Automatic Fire Detection Systems เมื่อรวมเข้ากับอุปกรณ์อื่น ๆ ในการตอบสนองต่อเหตุฉุกเฉินและการอพยพ จะมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการลดความเสียหายของทรัพย์สิน การบาดเจ็บ ของผู้ปฏิบัติงานและการสูญเสียชีวิตจากไฟไหม้ในพื้นที่ปฏิบัติงาน หน้าที่สำคัญของระบบนี้ คือ ระบุหรือบ่งบอกถึงเพลิงไหม้ที่เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว และเตือนภัยผู้อยู่ในพื้นที่งานโดยใช้ “electronic sensors” ในการตรวจจับควันไฟ ความร้อน หรือ เปลวไฟ จากไฟที่เกิดขึ้นและทำการเตือนในระยะเริ่มแรกที่เกิดเหตุการณ์ |
. |
การทำงานของ Automatic Fire Detection Systems เครื่องตรวจจับเพลิงไหม้อัตโนมัติที่ใช้กันอยู่โดยทั่วไป จะมีอยู่ 3 ชนิด คือ Smoke detectors, Heat detectors และ Flame detectors |
. |
1.เครื่องตรวจจับควันไฟ จะตรวจจับอนุภาคของควันไฟทั้งที่มองเห็นและไม่สามารถมองเห็นได้ มีอยู่ 2 ชนิด คือ |
- Ionization Detectors จะบรรจุแหล่งกัมมันตรังสีเล็ก ๆ เพื่อใช้อัดประจุในอากาศให้กับห้องเล็ก ๆ โดยอากาศที่ถูกอัดประจุแล้วจะปล่อยให้กระแสไฟฟ้าจำนวนน้อย ๆ ไหลผ่านในห้องและทำให้ครบวงจรไฟฟ้า เมื่อมีควันไฟ เข้ามาในห้องก็จะไปบดบังรังสี ซึ่งจะหยุดกระแสไฟฟ้าและทำให้กลไกการเตือนภัยทำงานโดยอัตโนมัติ เครื่องตรวจจับชนิดนี้จะตอบสนองได้อย่างรวดเร็วต่ออนุภาคควันไฟที่มีขนาดเล็กมาก ๆ ซึ่งไม่สามารถมองเห็นได้ จากเปลวไฟหรือเพลิงไหม้ที่ร้อนมาก ๆ แต่อาจจะตอบสนองได้ช้ามากเมื่อมีควันไฟหนาทึบร่วมกับการคุกรุ่นหรือไฟที่มีอุณหภูมิต่ำ |
. |
. |
- Photoelectric จะมีแหล่งกำเนิดแสงและเซ็นเซอร์แสง โดยลำแสงจากแหล่งกำเนิดแสงจะไม่ไปแตะหรือกระทบกับเซ็นเซอร์แสง แต่เมื่อมีอนุภาคควันไฟผ่านเข้ามาในทางเดินของแสง บางส่วนของแสงจะกระเจิงและพุ่งตรงไปที่เซ็นเซอร์ ส่งผลให้เครื่องตรวจจับทำงานและส่งสัญญาณเตือนอัตโนมัติ เครื่องตรวจจับชนิดนี้จะมีปฏิกิริยาอย่างรวดเร็วต่ออนุภาคควันไฟที่มองเห็นได้จากไฟที่กำลังคุกรุ่น แต่จะตอบสนองได้ช้าต่ออนุภาคควันไฟที่มีขนาดเล็กร่วมกับเปลวไฟที่ร้อนมาก ๆ |
. |
. |
2. เครื่องตรวจจับความร้อน นิยมใช้ในสภาพแวดล้อมที่สกปรกหรือที่ ๆ มีผลผลิตเป็นควันหนาทึบ โดยเครื่องตรวจจับนี้อาจจะตอบสนองช้า แต่เหมาะสมสำหรับสภาวะแวดล้อมแบบนี้ เครื่องตรวจจับชนิดนี้จะมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อช่วงกว้างของการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ หรือเกินอุณหภูมิที่กำหนดไว้ล่วงหน้า โดยมีชุดของเซ็นเซอร์ที่ไวต่ออุณหภูมิที่เรียกว่า “thermistors“ ซึ่งจะลดความต้านทานกระแสไฟฟ้าเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น โดย thermistors ตัว
|
. |
. |
3.เครื่องตรวจจับเปลวไฟ เป็นอุปกรณ์ชนิดหนึ่งที่ใช้ในการเล็งหา ซึ่งจะคอยมองหาชนิดของแสงที่มีสถานะเฉพาะ (อินฟราเรด, มองเห็นได้, อุลตร้าไวโอเลต) จากเปลวไฟระหว่างการเผาไหม้ เมื่อเครื่องตรวจจับจดจำแสงจากไฟที่ลุกไหม้ได้ก็จะส่งสัญญาณเตือนอัตโนมัติ |
. |
. |
การเลือกใช้เครื่องตรวจจับเพลิงไหม้อัตโนมัติ ขึ้นอยู่กับลักษณะการลุกไหม้ของวัสดุและลักษณะของพื้นที่ที่จะใช้ป้องกัน |
- Smoke Detectors ทั้ง 2 ชนิด คือ Ionization และ Photoelectric smoke detectors ถูกออกแบบมาเพื่อใช้ในการจำแนกไฟระหว่างการคุกรุ่น หรือไฟในระยะเริ่มแรก ซึ่งจะมีความเหมาะสมกับพื้นที่ที่มี ไม้ กระดาษ ผ้า และวัสดุพลาสติก ในระหว่างที่มีการเผาไหม้ของวัสดุเหล่านี้ จะผลิตควันไฟชนิดผสมกันทั้งอนุภาคขนาดเล็กและใหญ่ ซึ่งทั้ง 2 เครื่องสามารถที่จะตรวจจับได้ เครื่องตรวจจับประเภทนี้เหมาะสำหรับพื้นที่ภายในที่มีเพดานต่ำ เช่น สำนักงาน ห้องเล็ก ๆ และห้องน้ำ หรือในที่ที่มีความสะอาดไม่ค่อยมีฝุ่น หรือความสกปรกเลอะเทอะ |
. |
- Heat Detectors เหมาะสำหรับพื้นที่ซึ่งมีการใช้งานของเหลวหรือก๊าซไวไฟ หรือพื้นที่ที่ไฟจะลุกได้อย่างรวดเร็วและมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ นอกจากนั้นยังเหมาะสมกับพื้นที่งานที่สกปรก มีฝุ่น ควันมาก หรือพื้นที่ภายในที่ปราศจากลมหรือมีสิ่งป้องกันลม หรือสถานที่ทำการผลิตซึ่งมีไอ ก๊าซ และหมอกควันจำนวนมาก รวมถึงพื้นที่ที่มีอนุภาคของการเผาไหม้เป็นไปโดยปกติ เช่น ห้องครัว เตาหลอม ห้องสาธารณูปโภค โรงรถ เตาอบ เตาฟู่ หรือไอเสียจากเครื่องยนต์ |
. |
- Flame Detectors เหมาะสมกับพื้นที่ที่มีเพดานสูง และเป็นพื้นที่เปิด เช่น โกดังสินค้า และห้องโถงหรือห้องประชุมใหญ่ หรือพื้นที่ภายนอกหรือกึ่งปิดที่ซึ่งมีลมหรือกระแสลม หรือพื้นที่ที่มีการลุกลามของไฟอย่างรวดเร็ว เช่น การผลิตปิโตรเคมี ที่เก็บเชื้อเพลิง ห้องทำสี หรือพื้นที่เก็บตัวทำละลาย |
. |
การป้องกันความเสียหายของ fire detectors สำหรับ fire detectors อาจจะต้องสัมผัสกับสภาพแวดล้อมที่กัดกร่อน ดังนั้นควรจะทำจากหรือเคลือบด้วยวัสดุทนการกักกร่อน เพื่อที่จะรักษาการทำงานของอุปกรณ์ได้ ควรที่จะติดตั้งให้ห่างจากวัสดุอื่นๆ ที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อตัวเครื่องได้ หรืออาจใช้การป้องกันโดยใช้กรงครอบไว้ เครื่องตรวจจับเพลิงไหม้ที่ติดตั้งภายนอกและต้องเผชิญกับสภาพอากาศภายนอก ควรที่จะมีอุปกรณ์ป้องกัน เช่น หลังคา ฝาครอบ หรืออื่น ๆ ที่เหมาะสม ควรที่จะยึดติดให้แน่นหนากับผนัง เช่น ใช้การขันสกรูติดกับแผงหรือตลับ และไม่ให้ได้รับแรงกดหรือแรงเค้นจากการแนบชิดกับสายไฟหรือท่อต่าง ๆ |
. |
ข้อแนะนำในการติดตั้งเครื่องตรวจจับไฟ |
- ติดตั้งอย่าง
|
- ติดตั้งให้ใกล้กับตรงกลางของเพดานห้องให้มากที่สุดเมื่อใช้ 1 เครื่องต่อ 1ห้อง |
- ติดตั้งอย่าง
|
- ติดตั้งให้ห่างจากพัดลมเพดานอย่าง
|
. |
. |
ตัวอย่าง แสดงแผนผังการติดตั้ง Fire Detectors |
การบำรุงรักษาและการทดสอบ |
- หมั่นตรวจสอบดูว่ามีฝุ่น สิ่งสกปรก หรือวัสดุแปลกปลอมเข้ามาภายในอุปกรณ์เซ็นเซอร์ของเครื่องตรวจจับเพลิงไหม้หรือไม่ เพราะจะมีผลทำให้ลดความไวในการตอบสนอง ซึ่งจะไปจำกัดจำนวนเวลาในการเตือนในระหว่างเกิดไฟไหม้ เครื่องตรวจจับที่สกปรกและมีฝุ่นมากอาจจะส่งผลกระทบต่อการเตือนภัยและการทำงานเชื่อมต่อกับระบบอื่น ๆ ได้ |
- ทำการซ่อมแซมเมื่อเกิดเหตุขัดข้องในการทำงานของเครื่องตรวจจับ และบำรุงรักษาให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานอยู่เสมอ |
- เครื่องตรวจจับต้องเปิดให้ทำงานอยู่เสมอยกเว้นตอนซ่อมแซม |
- เมื่อพบว่าความไวในการตอบสนองช้าลง ควรที่จะมีการเปลี่ยนใหม่หรือทำความสะอาด |
- ทดสอบการทำงานของ fire detectors และ fire detection systems อยู่เป็นระยะ ๆ เพื่อที่จะมั่นใจได้ว่ายังทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ |
- อุปกรณ์เครื่องตรวจจับทุกชนิด ต้องกลับคืนสู่การทำงานในสภาพปกติทันทีเท่าที่จะเป็นไปได้หลังจากการทดสอบและการใช้งานจริงยามเกิดเหตุไฟไหม้ |
. |
ข้อแนะนำเพิ่มเติม |
- เมื่อ fire detection systems ถูกติดตั้ง จุดประสงค์ก็เพื่อกระตุ้นการดับไฟ หรือ suppression system และต้องถูกออกแบบมาเพื่อที่จะตอบสนองได้ทันเวลาในการควบคุมหรือดับไฟ |
- เมื่อ fire detection systems ถูกติดตั้ง จะเป็นเสมือนเครื่องเตือนให้ผู้ปฏิบัติงานอพยพ ต้องถูกออกแบบมาและติดตั้งในการเตือนสำหรับการปฏิบัติการเหตุฉุกเฉินและการหลบหนีอย่างปลอดภัยของผู้ปฏิบัติงาน |
- fire detectors ต้องไม่ทำงานหรือเตือนภัยล่าช้าเกิน 30 วินาที ถึงแม้ว่าความล่าช้าเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับความปลอดภัยในบางกรณี เช่น กรณีที่มีการใช้ fire suppression system ที่ใช้การอัดแก๊สให้ flooding ทั่วทั้งพื้นที่ก็จะมีความจำเป็นในการให้เวลาสำหรับผู้ปฏิบัติงานที่จะหลบหนีไปก่อน |
. |
เอกสารอ้างอิง |
- Emergency Action Plan:EAP by U.S.Department of Labor ,Occupational Safety & Health Administration (OSHA) |