ในช่วง 10 กว่าปีที่ผ่านมาคำว่าเอาต์ซอร์ส (Outsource) เป็นคำที่เราเริ่มได้ยินบ่อยและคุ้นหูมากขึ้นเรื่อย ๆ ทั้งในแวดวงธุรกิจทั่วไป และโดยเฉพาะอย่างยิ่งในวงการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน ทั้งนี้ก็เนื่องมาจากว่าการเอาต์ซอร์สนั้นเป็นองค์ประกอบที่สำคัญและโดดเด่นในการจัดการโซ่อุทาน
เนื้อหาในส่วนนี้จะมุ่งประเด็นไปที่การประเมินมูลค่าต้นทุน และผลประโยชน์สำหรับการตัดสินใจที่ไม่ได้เกิดขึ้นเป็นประจำ คำว่า การศึกษาปัญหาพิเศษ (Special Studies) เป็นคำที่ถูกนำมาใช้ในบางครั้งเพื่ออ้างถึงการตัดสินใจในกรณีดังกล่าวข้างต้น ซึ่งมักจะเกิดขึ้นบ่อยครั้งในระหว่างการดำเนินงานช่วงหนึ่ง ๆ การศึกษาปัญหาพิเศษในที่นี้ต้องการนำข้อมูลต้นทุนและรายได้ที่มีความเกี่ยวข้องในระหว่างทางเลือกอย่างใดอย่างหนึ่งโดยเฉพาะเท่านั้นมาพิจารณา เพื่อประกอบการตัดสินใจดำเนินการแนวทางที่มีความเหมาะสมภายใต้เงื่อนไขที่เกี่ยวข้องในขณะนั้นต่อไป
การจัดการคลังสินค้า (Warehouse Management) เป็นการจัดการในการรับ การจัดเก็บ หมายถึง การจัดส่งสินค้าให้ผู้รับเพื่อกิจกรรมการขาย เป้าหมายหลักในการบริหารดำเนินธุรกิจ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับคลังสินค้าก็เพื่อให้เกิดการดำเนินการเป็นระบบให้คุ้มกับการลงทุน การควบคุมคุณภาพของการเก็บ การหยิบสินค้า การป้องกัน ลดการสูญเสียจากการ ดำเนินงานเพื่อให้ต้นทุนการดำเนินงานต่ำที่สุด และการใช้ประโยชน์เต็มที่จากพื้นที่
ในปัจจุบัน ประเด็นทางด้านสิ่งแวดล้อมได้มีการพัฒนาขึ้นจากความสนใจในบางองค์กร มาสู่ความรับผิดชอบขององค์กรส่วนใหญ่ในการดำเนินธุรกิจ และกิจกรรมต่าง ๆ ที่จะต้องคำนึงถึงผลกระทบที่มีต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม รวมถึงการพัฒนาสินค้าและการบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพราะปัญหาทางด้านสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นทุกวันนี้ ล้วนส่งผลกระทบอย่างมากต่อทุก ๆ ภาคส่วน
แบเรียมไททาเนต เป็นสารอิเล็กโตรเซรามิกที่รู้จักกันดี และมักจะถูกนำไปประยุกต์ใช้งานในผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น ตัวเก็บประจุ (Capacitors) และตัวรักษาระดับอุณหภูมิ (Thermistors) เป็นต้น การปรับปรุงคุณสมบัติทางไฟฟ้าของแบเรียมไททาเนตสามารถทำได้โดยการเติมโลหะทรานซิชันในกลุ่ม 3d (เช่น Mn, Fe, Co และ Ni) เป็นสารเจือ งานวิจัยส่วนใหญ่ในปัจจุบันมุ่งเน้นไปที่การศึกษาวิจัยเกี่ยวกับสารแบเรียมไททาเนตที่เจือด้วยแมงกานีส
ด้วยสภาวะการแข่งขันไร้พรมแดน ทำให้องค์กรทุกภาคธุรกิจต้องมุ่งเสนอคุณค่าหรือสิ่งที่สามารถตอบสนองและสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า ด้วยเหตุนี้กระบวนการพัฒนาออกแบบผลิตภัณฑ์จึงเป็นปัจจัยขับเคลื่อนให้เกิดนวัตกรรมที่สนับสนุนความสำเร็จให้กับธุรกิจ กระบวนการออกแบบจะเริ่มจากการศึกษาความต้องการของลูกค้าเพื่อทำข้อกำหนดผลิตภัณฑ์ (Specification)
ปัจจุบันอุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้าของประเทศไทยจัดเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมพื้นฐานที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศ เนื่องจากอุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้านั้นเป็นอุตสาหกรรมที่เชื่อมโยงกับอุตสาหกรรมอื่น ๆ เป็นจำนวนมาก เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เฟอร์นิเจอร์ อาหารกระป๋อง (บรรจุภัณฑ์) เครื่องจักรกล และอุตสาหกรรมก่อสร้าง ฯลฯ ซึ่งมีมูลค่าการส่งออกโดยรวมมากกว่า 50,000 ล้านบาทต่อปี
มาตรฐาน ISO9001:2000 เป็นมาตรฐานทางด้านการพัฒนาระบบบริหารคุณภาพ ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ทั้งในองค์กรประเภทอุตสาหกรรมการผลิต และการบริการ ปัจจุบันองค์กรต่าง ๆ ในภาคบริการจำนวนมาก ได้มีการนำมาตรฐาน ISO9001:2000 มาประยุกต์ใช้แล้ว ไม่ว่าจะเป็นงานบริการด้านสาธารณสุขโรงพยาบาล โรงแรม ห้างสรรพสินค้า ร้านอาหาร ศูนย์การประชุม การสื่อสาร การขนส่ง คลังสินค้า รวมไปถึงศูนย์บริการรถยนต์
การบริหารจัดการของเสีย ของมีตำหนิ และเศษซากเป็นงานที่ท้าทายสำหรับหลาย ๆ องค์กร ไม่ว่าจะเป็นกิจการขนาดเล็กหรือขนาดใหญ่ หรือจะทำการผลิตสินค้าหรือการบริการใด ๆ ก็ตาม ผู้บริหารนั้นมุ่งเป้าหมายไปที่การปรับปรุงและการเพิ่มคุณภาพ และการลดของเสียที่อาจจะเกิดขึ้นในผลิตภัณฑ์ การบริการ หรือกิจกรรมใด ๆ ให้มีจำนวนน้อยที่สุด
ระบบควบคุมอาคารอัตโนมัติ (BMS System) เป็นระบบที่ติดตั้งทั่วไปในอาคารสูงหรืออาคารขนาดใหญ่อย่างแพร่หลายในประเทศไทย โดยได้รับความนิยมตั้งแต่ พ.ศ. 2530 เป็นต้นมา ถ้านับจนถึงปัจจุบันระบบ BMS ในบางอาคารอาจมีอายุใช้งานถึง 20 ปีแล้ว การที่จะทำให้ระบบควบคุมอาคารอัตโนมัติยังคงควบคุมระบบไฟฟ้าเครื่องกลประกอบอาคารให้ทำงานได้อย่างถูกต้องและเกิดการประหยัดพลังงาน
เนื่องมาจากปัจจุบันประเทศไทยมีความต้องการการใช้พลังงานที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จึงทำให้เกิดความขาดแคลนทางด้านพลังงาน หรือมีต้นทุนการผลิตพลังงานที่สูงขึ้น ทั้งในส่วนของผู้ผลิตพลังงานเอง หรือแม้แต่ในส่วนของภาคอุตสาหกรรมการผลิตที่ต้องแบกรับต้นทุนที่สูงขึ้น ทุกส่วนจึงมีความจำเป็นในการช่วยประหยัดการใช้พลังงาน เช่น การประหยัดพลังงานไฟฟ้า พลังงานน้ำมัน การบริหารจัดการกระบวนการผลิตให้สามารถใช้พลังงานน้อยลง หรือแม้แต่การหมุนเวียนพลังงานที่ใช้แล้วกลับมาใช้ใหม่
SPA-bus เป็นโปรโตคอลที่ถูกออกแบบ โดยบริษัท ABB Stromberg เพื่อมาใช้งานเป็นระบบฟิลด์บัส (Field Bus) ในระบบป้องกันระบบไฟฟ้า และระบบควบคุมในงานเกี่ยวกับระบบไฟฟ้าแรงสูง ระบบจะประกอบด้วยอุปกรณ์สเลฟ (Slave) หลาย ๆ ประเภท เช่น รีเลย์ป้องกัน, คอนโทรลยูนิต (CU: Control Unit) และ อะลาร์มยูนิต (Alarm Unit) ที่ใช้บัสเพื่อเชื่อมต่อกับตัวมาสเตอร์ (Master)
Muda เป็นคำคำหนึ่งในภาษาญี่ปุ่น และที่จริงแล้วคุณจะต้องรู้จักคำคำนี้แน่ เสียงที่เปล่งออกมาฟังดูแล้วอาจจะน่ากลัว และก็ควรเป็นเช่นนั้นจริง ๆ เพราะคำว่า Muda นี้ หมายถึง ความสูญเปล่า (Waste) โดยเฉพาะความสูญเปล่าที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์ซึ่งมีการนำทรัพยากรไปใช้แต่ไม่ได้สร้างคุณค่าให้เกิดขึ้น
ถึงแม้ว่าประเทศเราจะมียุทธศาสตร์ลอจิสติกส์ที่ประกาศใช้เพื่อสร้างความได้เปรียบเชิงการแข่งขัน แต่ก็ยังมีความไม่เข้าใจในความแตกต่างระหว่างโซ่อุปทานและลอจิสติกส์ ซึ่งประเด็นนี้ยังเป็นความคิดที่ยังต้องถูกพัฒนาออกไปในวงกว้าง แต่มีข้อสังเกตว่า ถ้าไม่มีการกล่าวถึงลอจิสติกส์และโซ่อุปทานเลย ธุรกิจก็ยังคงที่จะดำเนินไปได้ และก็คงจะต้องมีผู้ชนะและผู้แพ้เหมือนเดิม
ในการผลิตสินค้าและบริการอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า ย่อมต้องการวัตถุดิบหรือชิ้นส่วนจากผู้ขายมาเป็นปัจจัยนำเข้า เพื่อให้ฝ่ายผลิตใช้ทำการผลิตให้เป็นสินค้าสำเร็จรูปแล้วส่งให้ลูกค้า ซึ่งกิจกรรมการป้อนวัตถุดิบกิจกรรมการแปรสภาพและกิจกรรมการจัดจำหน่ายสินค้าสำเร็จรูปแก่ลูกค้าได้บังเกิดขึ้นในเครือข่ายที่โยงใยหลายกิจการมาเกี่ยวข้องกัน
การบริหาร คือ การหาทางทำงานให้สำเร็จ การทำงานให้สำเร็จได้นั้น มีวิธีการอยู่มากมายหลายวิธีที่ผู้บริหารทั้งหลายได้ใช้ความรู้ ความสามารถ เลือกวิธีที่เหมาะสมตามสภาพความรู้ ความสามารถ เลือกวิธีที่เหมาะสมตามสภาพความต้องการและสภาพแวดล้อมมาใช้ให้เป็นประโยชน์ได้
สิ่งที่ทุกคนในองค์กรต้องรู้คือ หลัก 5 ประการของแนวคิดแบบลีน (Lean Thinking) ซึ่ง Jim Womack และ Dan Jones ได้ถอดรหัสแนวคิดของความสำเร็จในการทำงานของบริษัทญี่ปุ่นอย่าง Toyota จนกลายมาเป็นหลักการ 5 ประการของแนวคิดแบบลีนที่สามารถสื่อสารได้ง่ายและให้ภาพรวมทั้งหมดของการดำเนินงานขององค์กรหรือวิสาหกิจ (Enterprise)
จากกระแสตื่นตัวด้านการอนุรักษ์พลังงานอันเป็นผลพวงมาจากสภาวะโลกร้อนและโดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาราคาพลังงานซึ่งมีแนวโน้มใหญ่ที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้มีโครงการและกิจกรรมส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานต่าง ๆ เกิดขึ้นอย่างมากมายในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ทั้งที่เป็นโครงการในระดับมหภาคที่ริเริ่มโดยภาครัฐที่มีการบังคับใช้หรือรณรงค์ส่งเสริมในระดับประเทศ
สำหรับความไม่แน่นอนทั้งหลายที่เกิดขึ้นภายในองค์กรธุรกิจ การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงหรือการจัดสรรทรัพยากรภายในองค์กรเองจะต้องมีความแน่นอนมากขึ้น ยิ่งภาวะภายนอกมีความไม่แน่นอนมากขึ้นเท่าไร โอกาสที่ภาวะภายในองค์กรธุรกิจจะมีความไม่แน่นอนก็มีมากขึ้น เพราะว่าองค์กรธุรกิจไม่สามารถสร้างคุณค่าให้ได้ตรงกับความต้องการของลูกค้าได้ ธุรกิจหรือการสร้างกำไรจึงไม่เกิดขึ้น
ปัจจุบันเป็นที่ทราบกันดีว่าการปรับปรุงผลิตภาพกระบวนการได้มีบทบาทลดต้นทุนและสร้างผลกำไรให้กับธุรกิจ ดังนั้นเป้าหมายสำหรับการพัฒนาผลิตภาพกระบวนการจึงมุ่งลดอัตราของเสียและลดรอบเวลาการทำงานเพื่อสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าซึ่งส่งผลต่อการเพิ่มส่วนแบ่งตลาด (Market Share) ด้วยเหตุนี้การประเมินวัดผลด้วยมาตรวัดกระบวนการ (Process Metric) จึงถูกเชื่อมโยงกับปัจจัยมาตรวัดคุณภาพผลิตภัณฑ์และผลตอบแทนการลงทุน