เนื้อหาวันที่ : 2010-07-01 17:29:57 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 6307 views

การระบุตำแหน่งของแมงกานีสที่เจือในแบเรียมไททาเนต โดยวิธีสปกโตรสโกปีการดูดกลืนรังสีเอ็กซ์

แบเรียมไททาเนต เป็นสารอิเล็กโตรเซรามิกที่รู้จักกันดี และมักจะถูกนำไปประยุกต์ใช้งานในผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น ตัวเก็บประจุ (Capacitors) และตัวรักษาระดับอุณหภูมิ (Thermistors) เป็นต้น การปรับปรุงคุณสมบัติทางไฟฟ้าของแบเรียมไททาเนตสามารถทำได้โดยการเติมโลหะทรานซิชันในกลุ่ม 3d (เช่น Mn, Fe, Co และ Ni) เป็นสารเจือ งานวิจัยส่วนใหญ่ในปัจจุบันมุ่งเน้นไปที่การศึกษาวิจัยเกี่ยวกับสารแบเรียมไททาเนตที่เจือด้วยแมงกานีส

การระบุตำแหน่งของแมงกานีสที่เจือในแบเรียมไททาเนต โดยวิธีสปกโตรสโกปีการดูดกลืนรังสีเอ็กซ์

.

สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน)

.

แบเรียมไททาเนต (BaTiO3 ) เป็นสารอิเล็กโตรเซรามิกที่รู้จักกันดี และมักจะถูกนำไปประยุกต์ใช้งานในผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น ตัวเก็บประจุ (Capacitors) และตัวรักษาระดับอุณหภูมิ (Thermistors) เป็นต้น การปรับปรุงคุณสมบัติทางไฟฟ้าของแบเรียมไททาเนตสามารถทำได้โดยการเติมโลหะทรานซิชันในกลุ่ม 3d (เช่น Mn, Fe, Co และ Ni) เป็นสารเจือ งานวิจัยส่วนใหญ่ในปัจจุบันมุ่งเน้นไปที่การศึกษาวิจัยเกี่ยวกับสารแบเรียมไททาเนตที่เจือด้วยแมงกานีส (Mn-doped BaTiO3 )

.

โดยพบว่าสามารถทำให้โครงสร้างแบบเฮกซะโกนอล (Hexagonal Polymorph) ของสารเซรามิกมีความเสถียรที่อุณหภูมิห้อง ซึ่งมีประโยชน์อย่างมากต่อการนำไปประยุกต์ใช้ในผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ โครงสร้างผลึกและคุณสมบัติของสารแบเรียมไททาเนตที่เจือด้วยแมงกานีสจะขึ้นอยู่กับตำแหน่ง โครงสร้าง ณ บริเวณรอบ ๆ อะตอม และสถานะทางวาเลนซ์ของแมงกานีสที่เติมเข้าไป ซึ่งในปัจจุบันยังไม่มีรายงานการวิจัยที่ยืนยันข้อมูลดังกล่าวได้อย่างแน่ชัด

.

.

โครงการวิจัยนี้เป็นโครงการที่ได้รับการสนับสนุนจากสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.รัตติกร ยิ้มนิรัญ จากภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นหัวหน้าโครงการ ได้ใช้เทคนิคสเปกโตรสโกปีการดูดกลืนรังสีเอ็กซ์ (X-ray Absorption Spectroscopy: XAS) ณ Beamline-8 ห้องปฏิบัติการแสงสยาม โดยใช้ทั้งสเปกตรัมในช่วง XANES และ EXAFS ร่วมกันในการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการศึกษาโครงสร้าง ณ บริเวณรอบ ๆ อะตอมของแมงกานีสในสารเซรามิกแบเรียมไททาเนต

.

รูปที่ 1 ตัวอย่างของผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากการนำไปประยุกต์ใช้งานของสารอิเล็กโตรเซรามิก

.

รูปที่ 2 สถานีทดลอง XAS ณ Beamline-8 (BL-8)

.

งานวิจัยนี้ ได้ทำการทดลองโดยทำการเตรียมสาร Ba(Ti1-X MnX )O3  โดยที่ค่า X = 0.01-0.2 จากสารตั้งต้นคือ BaCO3 , TiO2  และ MnO2  โดยแปรผันค่าความเข้มข้นของ Mn ที่ 5%, 10%, 15% และ  20% เพื่อใช้ในการศึกษาสเปกโตรสโกปีของการดูดกลืนรังสีเอ็กซ์ที่ Mn K-edge ด้วยวัดแบบส่องผ่าน (Transmission Model) และทำการเก็บข้อมูลที่อุณหภูมิห้อง ผลของสเปคตรัม  XANES ของ Mn K-edge ในสาร Ba(Ti1-X MnX )O3

.

แสดงให้เห็นว่าอะตอมของ Mn ในทุกค่าความเข้มข้น  (5-20%) น่าจะเข้าไปอยู่ในตำแหน่งเดียวกันของสารเซรามิก ซึ่งสเปคตรัมของสารเซรามิกเจือที่ได้มีความคล้ายคลึงกับสเปคตรัมของ MnO2  (รูปที่ 3-4) ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความเป็นไปได้ว่าตำแหน่งของ Mn จะเข้าไปแทนที่ตำแหน่งของ Ti ใน BaTiO3  นอกจากนี้ ผลจากการวิเคราะห์ด้วย EXAFS ก็ยังแสดงให้เห็นถึงระยะห่างที่ใกล้เคียงกันระหว่าง Mn K-edge และ Ti-edge

.

ทำให้เชื่อได้ว่า Mn น่าจะเข้าแทนที่ในตำแหน่งของ Ti และยังมีข้อมูลจากการศึกษาคุณสมบัติทางไดอิเล็กทริกและเฟอร์โรอิเล็กทริก ซึ่งผลที่ได้บ่งชี้ถึงการเข้าแทนที่ในตำแหน่งของ Ti ในโครงสร้าง BaTiO3  ของ Mn งานวิจัยนี้จึงเป็นงานวิจัยแรกที่สามารถพิสูจน์ว่าอะตอมของ Mn มีการเข้าแทนที่ในตำแหน่งของ Ti ในโครงสร้าง BaTiO3  โดยอาศัยหลักฐานจากการทดลองคือข้อมูลของ XANES และ EXAFS ที่ได้ประกอบกับผลการศึกษาคุณสมบัติทางไฟฟ้าตามที่ได้กล่าวมา

.

รูปที่ 3 ผลการวัด Mn K-edge XANES Spectra ของ Ba(Ti1-X MnX )O3

.

รูปที่ 4 ผลการวัด Mn K-edge XANES Spectra ของ BaTi08 Mn02 O3  เทียบกับ MnO2

.
เอกสารอ้างอิง
1. R. Yimnirun, J. Tangsritrakul, S. Rujirawat and S. Limpijumnong
2. A.J. Moulson and J.M. Herbert, Electroceramics, 2nd  Ed., John-Wiley (2003)

สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2539 www.thailandindustry.com
Copyright (C) 2009 www.thailandindustry.com All rights reserved.

ขอสงวนสิทธิ์ ข้อมูล เนื้อหา บทความ และรูปภาพ (ในส่วนที่ทำขึ้นเอง) ทั้งหมดที่ปรากฎอยู่ในเว็บไซต์ www.thailandindustry.com ห้ามมิให้บุคคลใด คัดลอก หรือ ทำสำเนา หรือ ดัดแปลง ข้อความหรือบทความใดๆ ของเว็บไซต์ หากผู้ใดละเมิด ไม่ว่าการลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดของบทความนี้ไปใช้ ดัดแปลง โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร จะถูกดำเนินคดี ตามที่กฏหมายบัญญัติไว้สูงสุด