การเปลี่ยนแปลงด้านเศรษฐกิจ การเมือง สังคม กฎหมายและเทคโนโลยี ส่งผลให้ทั้งภาครัฐและภาคธุรกิจอุตสาหกรรม ต้องหันหน้ากันมาให้ความสนใจกับการบริหารงานใหม่ ๆ เพื่อให้เท่าเทียมและสามารถตามทันการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นหลาย ๆ ด้าน ถ้าอยู่เฉยอาจจะต้องเสียหายอย่างมากต่อธุรกิจ การใช้กลยุทธ์ WIN-WIN หรือเข้าสู่ชัยชนะร่วมกันเป็นหนทางที่ธุรกิจจำนวนมากให้ความสนใจ
ระบบการจัดการสินค้าคงคลังในปัจจุบันที่มีการนิยมใช้คือ แบบต่อเนื่อง และแบบสินค้าปลายงวด ซึ่งระบบการสั่งซื้อมีหลายตัวแบบในการคำนวณ ขึ้นกับสภาวการณ์ต่าง ๆ เพื่อกำหนดจำนวนที่สั่งซื้อ เวลาในการสั่งซื้อ และจุดสั่งซื้อใหม่ เพื่อใช้เป็นทางเลือกระหว่างต้นทุนค่าจัดเก็บ และต้นทุนการสั่งซื้อสินค้า นอกจากนั้นยังสามารถใช้ตัดสินใจในการพิจารณาเลือกการลงทุนให้มีต้นทุนการสั่งซื้อต่ำสุด และสามารถลดต้นทุนสินค้าคงคลังทั้งระบบในซัพพลายเชนต่ำสุด
ห่วงโซ่อุปทานเป็นการเชื่อมโยงกันระหว่างองค์กร ทรัพยากร และกิจกรรมต่างๆที่รวมถึงการก่อให้เกิดคุณค่าในรูปของสินค้าสำเร็จรูปหรือบริการให้แก่ลูกค้าทำให้คุณค่าเกิดมากที่สุดในแต่ละจุดเชื่อมโยงทำให้คุณค่าเกิดมากที่สุดสำหรับความสามารถโดยรวม การไหลของข้อมูลในกระบวนการโซ่อุปทานจะมีความสัมพันธ์กันทั้งประบวนการทั้งในด้านของลูกค้า ผู้ผลิต ผู้จัดจำหน่าย การจัดจำหน่ายเมื่อลูกค้ามีความต้องการสินค้ามากขึ้นสินค้าจะถูกจัดจำหน่ายหมดอย่างรวดเร็วโดยเฉพาะสินค้าที่ลูกค้ามีความต้องการสูง การบริหารวัสดุหรือสินค้าคงคลังให้สามารถสนองความต้องการของผู้บริโภคได้ทัน โดยการการเติมเต็มสินค้าคงเหลือให้เพียงพอตลอดเวลาจึงมีความสำคัญ
การผลิต (Production/Operations) เป็นการสร้างสินค้าและบริการโดยใช้ปัจจัยการผลิตเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า ผลผลิตที่ได้ต้องมีอรรถประโยชน์ในด้านหน้าที่ใช้สอย รูปร่างลักษณะสวยงาม ผลิตในปริมาณที่เพียงพอกับความต้องการ ทันเวลาและอยู่ ณ สถานที่ที่ถูกต้อง การบริหารการผลิต (Production/Operations Management) จึงเป็นการบริหารกระบวนการแปรสภาพปัจจัยนำเข้าให้กลายเป็นผลผลิตที่มีมูลค่า มากกว่าผลรวมของปัจจัยนำเข้าโดยใช้ระบบการบริหารการผลิต
บทบาทของ การจัดการห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain Management) ในกระบวนการการดำเนินองค์กรธุรกิจอธิบายผ่านกระบวนการทำงานขององค์กรในแง่ของฟังก์ชั่นการทำงาน ในตอนต่อไปนี้เป็นเรื่อง การสั่งซื้อสินค้าและบริการ หรือ Order Management ซึ่งเป็นการสร้างช่องทางและความสะดวกในการซื้อของลูกค้าได้ ในห่วงโซ่อุปทาน
บทบาทของ การจัดการห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain Management) ในกระบวนการการดำเนินองค์กรธุรกิจอธิบายผ่านกระบวนการทำงานขององค์กรในแง่ของฟังก์ชันการทำงาน สิ่งสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งต่อธุรกิจอีกประการหนึ่งในมุมมองของลูกค้าในปัจจุบันคือ คุณภาพการบริการ ที่ผู้ให้บริการหยิบยื่นและส่งมอบความประทับใจของการบริการที่เป็นเลิศแก่ลูกค้า
การบริหารการสั่งซื้อสินค้าและบริการ หรือ Order Management ในการทำงานที่มีลักษณะเป็น Multi-Tiered Value Chain คือการทำงานร่วมกันระหว่างเรากับ Suppliers หรือ Subcontractors จำเป็นที่จะต้องมีการร่วมมือกันทั้งในด้านข้อมูลและการจัดการคำสั่งซื้อนั้น ๆ เป้าหมายเพื่อลดระยะเวลาการจัดการคำสั่งซื้อสามารถตอบวันที่ส่งสินค้าได้ทันที และสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้ขายว่าไม่มีการตอบรับคำสั่งซื้อเกินกำลังความสามารถในการผลิตและสามารถส่งมอบสินค้าได้ตามที่กำหนดโดยเมื่อมีการรับคำสั่งซื้อจากลูกค้า
ปัจจุบันนี้ระบบอุตสาหกรรมมีการขยายตัวและเติบโตขึ้น เป็นผลทำให้เกิดการแข่งขันขึ้นอย่างมากทำให้ผู้ผลิตจะต้องทำการหาวิธีการที่จะทำการตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคให้ได้มากที่สุด ซึ่งในระบบอุตสาหกรรม ความสามารถในการสร้างความแตกต่างของสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ไม่มีความชัดเจนเท่าที่ควรเมื่อเทียบกับในอดีต
การปฏิบัติงานแบบ Lean และ Six Sigma นั้นเป็นแนวคิดที่จะช่วยให้บรรลุประสิทธิภาพสูงสุดในการทำงาน หลายบริษัทได้นำทั้งสองแนวคิดมาช่วยในการลดต้นทุน และเพิ่มผลกำไร ซึ่งผลักดันให้เกิดแนวคิดบูรณาการที่ทำให้ทั้งคน เครื่องมือ เครื่องจักร และกำลังการผลิตทั้งหมดบรรลุประสิทธิภาพสูงสุดได้ ในขณะเดียวกันก่อให้เกิดประสิทธิภาพทางด้านต้นทุน
หลาย ๆ ครั้งทุกคนมองหาสิ่งที่เรียกว่า Best Practices โดยการไปฟังการบรรยายของผลสำเร็จของการจัดการลอจิสติกส์และโซ่อุปทานจากงานบรรยายหรือเสวนาตามสถานที่ต่าง แล้วก็เก็บเอาสิ่งที่ได้ฟังมาปะติดปะต่อกันเพื่อหาหนทางแก้ไขปัญหาของตัวเอง บ้างท่านก็สับสนกับตัวเองสรุปได้ว่าใช้ไม่ได้ เพราะ Best Practices ของเขาที่ได้ฟังมาใช้ไม่ได้กับของตัวเอง บางคนก็พยายามประยุกต์ใช้งานได้ผลซึ่งอาจจะเป็นเพาะความเข้าใจที่ถูกต้องหรือโชคดี
การพูดถึงการวัดและการจัดการความสามารถในการทำงาน ในระบบทั้งราชการและธุรกิจอยู่เสมอ เห็นมีทั้งที่เข้าใจและอาจจะไม่เข้าใจในความหมายของ Competency นี้ ในแวดวงราชการและการจัดการทรัพยากรมนุษย์ ของบริษัทใหญ่ ๆ ต่างก็ค้นหาวิธีการที่จะสร้าง Competency และวัด Competency ของบุคลากรของบริษัทตนเอง
เดิมทีการจัดการโซ่อุปทานจะสมมุติว่าแบบแผนของอุปสงค์เป็นสิ่งที่เกิดจากภายนอก คือไม่สามารถควบคุมได้ เพราะฉะนั้นอุปสงค์ของสินค้า หรือบริการมักถูกมองว่าเป็นตัวแปรหลักตัวหนึ่งในการจัดการโซ่อุปทาน ทำให้คิดว่าอุปสงค์จึงต้องได้รับการพยากรณ์ด้วยวิธีการทางสถิติ หรือวิทยาศาสตร์มากมายเพื่อให้ได้ค่าที่แม่นยำที่สุด
เพื่อที่จะรักษาสภาพแวดล้อมให้สมบูรณ์ที่สุดที่ TPS สามารถทำอย่างต่อเนื่องเพื่อที่จะเจริญเติบโต และความสำเร็จของทีม ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญต่อความสำเร็จของโตโยต้าในอเมริกาเหนือ TMMK เป็นโรงงานที่ใหญ่โต มีความท้าทายทางเทคนิคมากมายในองค์กรที่ซับซ้อนแห่งนี้ แต่ไม่มีอะไรตอบแทนที่ดีไปกว่าการที่เห็นคนเติบโต และพัฒนาตัวเองนำความสำเร็จมาสู่บริษัทของตนเอง
หลักการแนวคิดลีนได้ถูกประยุกต์ในองค์กรชั้นนำหลายแห่งทั่วโลกจนประสบความสำเร็จด้วยการสร้างศักยภาพการแข่งขันและผลตอบแทนให้กับองค์กร แม้ว่าลีนจะเป็นปัจจัยหลักที่สนับสนุนให้องค์กรก้าวสู่ความเป็นเลิศ แต่หากปราศจากกลยุทธ์และโครงสร้างสนับสนุนก็คงไม่อาจบรรลุประสิทธิผลในการดำเนินโครงการปรับปรุงผลิตภาพด้วยแนวคิดลีน
แนวคิดของลอจิสติกส์และโซ่อุปทานได้รับการตอบรับมากขึ้นเป็นลำดับ และได้รับความสนใจในระดับนโยบายของชาติเลย แต่ละหน่วยงานในระดับกระทรวง หรือกรมต่าง ๆ รวมถึงสภาพัฒน์ ฯ ก็พยายามที่จะศึกษาและหาข้อมูลต่าง ๆ เพื่อที่จะกำหนดแนวทางและนโยบายด้านลอจิสติกส์และโซ่อุปทานในระดับกระทรวงเพื่อให้สอดรับกับยุทธศาสตร์ชาติทั้งหลาย
ด้วยความเปลี่ยนแปลงจากปัจจัยการแข่งขัน ความเร็ว ต้นทุน คุณภาพ รวมถึงการเปิดเสรีทางการค้าและความต้องการที่หลากหลายผลักดันให้ทุกองค์กรต้องปรับตัวเพื่อรองรับกับสภาวะ การลดต้นทุนดำเนินงาน การลดความผิดพลาด ลดรอบเวลาปฏิบัติงาน และการตอบสนองต่ออุปสงค์อย่างทันเวลา
โครงการ Six Sigma ในวงการการจัดการธุรกิจและอุตสาหกรรม แต่ในทุกวงการของการจัดการ เริ่มมีการนำเอาตำแหน่ง Black Belt เข้าไปเกี่ยวข้องด้วยในการจัดการโครงการสำหรับการเปลี่ยนแปลงองค์กรธุรกิจ อาจจะเป็นตำแหน่งที่ดูทันสมัย แต่การทำงานในตำแหน่งได้อย่างเต็มที่ตามความคาดหวังไม่ใช่เรื่องง่ายเลย ไม่ใช่ทุกคนจะทำได้ ทุกคนจะต้องได้รับการฝึกฝน เพื่อเพิ่มพูนความรู้ต่อไป
โรงงานที่มีโครงการ Six Sigma ต้องจัดเตรียมบุคลากร จัดองค์กรใหม่ การฝึกอบรมการใช้เครื่องมือ โรงงานที่การดำเนินการเรื่องลีนจะดำเนินโครงการในลักษณะที่คล้ายกัน แต่ต่างกันตรงรายละเอียดของการดำเนินโครงการ องค์กรจำนวนมากยังดำเนินโครงการประเภทอย่างแยกส่วน ซึ่งโครงการทั้งหมดเป็นเรื่องเดียวกัน
ตอน การปรับความเชื่อมโยงให้ตรงกัน ในเรื่อง A ตัวที่สาม คือ การเชื่อมต่อให้ตรงกัน ดังนั้นการจัดการโซ่อุปทานที่ดีและได้ผลต้องประสานรวมหรือบูรณาการเอาความสามารถเฉพาะเรื่องให้มาทำงานร่วมกัน และประเภทเดียว คือ การจัดการความสามารถของแต่ละองค์กรให้เกิดการเชื่อมต่อเชื่อมโยงกันอย่างถูกต้องและซึ่งมีผลต่อโซ่อุปทานโดยตรงและทำให้โซ่อุปทานถึงขั้นล้มเหลวได้
จากการวิเคราะห์ ในวงการธุรกิจโลกภาครัฐหรือเอกชน ระยะสองสามปีที่ผ่านมานั้นมีการเคลื่อนไหวในแนวคิดในการจัดการธุรกิจในการประสานรวมเอาทั้ง Lean และ Six Sigma รวมเข้าไว้ด้วยกัน เพื่อจะได้ประยุกต์ใช้ในกระบวนการโซ่อุปทาน (Supply Chain Process) หรือ กระบวนการธุรกิจ (Business Process) แนวโน้มตรงนี้จึงเกิดเป็นสองแนวคิดนี้
พบกันอีกครั้งหนึ่งใน A ตัวที่สอง คือ Adapt หรือการปรับเปลี่ยน จากลักษณะพิเศษของโซ่อุปทานยุคใหม่ที่มีอีก 2 คุณลักษณะ เมื่อตลาดหรือความต้องการของลูกค้าเปลี่ยนไปในทิศทางที่มีพัฒนาการขึ้น องค์กรธุรกิจคงจะต้องปรับเปลี่ยนโซ่อุปทานเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้า อาจจะยาก แต่สำคัญมากในการพัฒนาที่จะส่งผลถึงการได้เปรียบเชิงการแข่งขันอย่างยั่งยืน
การนำแนวคิดแบบลีนมาปฏิบัติใช้งาน คือ การให้ความสำคัญของการมีส่วนร่วมของทุกคนในกระบวนการปรับปรุงการทำงาน ในหลายองค์กรมีความเชื่อว่ามีคนกลุ่มหนึ่งที่เป็นคนปฏิบัติงาน ส่วนอีกกลุ่มจะทำหน้าที่ติดตามแก้ไขปัญหาและปรับปรุงกระบวนการทำงาน สำหรับกลุ่มคนที่ทำการปรับปรุงการทำงานและกระบวนการธุรกิจ ส่วนมากตามปกติยิ่งจะไม่เป็นที่คุ้นเคยกับกลุ่มคนที่ปฏิบัติงานเสียเท่าไรนัก